อดีตที่ขมขื่น!! ความเจ็บปวดใต้การปกครองของชาติอาณานิคม ส่งผลให้ ‘ชาวอินโดนีเซีย’ รักบ้านเกิดเมืองนอนยิ่งกว่าชีวิต

การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกเอาดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้ ‘กำลังทหาร’ เข้าช่วย 

สำหรับราชอาณาจักรสยาม หรือราชอาณาจักรไทยนั้น ผ่านพ้นเหตุการณ์เช่นนั้นมาด้วยพระปรีชาสามารถในพระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ คนสยามหรือคนไทยในปัจจุบัน จึงไม่เคยลิ้มชิมรสชาติของการเป็นพลเมืองของชาติอาณานิคมที่ถูกเจ้าอาณานิคมชาติตะวันตกปกครอง 

แต่สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว พวกเขามีช่วงเวลาที่เลวร้ายกับการตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมานานกว่า ๓๕๐ ปี ความเป็นอาณานิคมเพิ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 เมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้น ต่างชาติจากยุโรปซึ่งก่อนหน้านี้ถูกนาซีเยอรมันยึดครองได้พยายามกลับมายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งด้วยปฏิบัติการทางทหารถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1947 และ ค.ศ. 1948 แต่ก็ประสบความล้มเหลวทั้งสองครั้งสองครา

เหล่าต่างชาติที่เคยรุกราน ยึดครอง และแสวงหาประโยชน์จากอินโดนีเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1509 - 1948 ได้แก่ โปรตุเกส (ค.ศ. 1509 - 1595) สเปน (ค.ศ. 1521 - 1629) ดัตช์ (ค.ศ. 1602 - 1942) ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1806 - 1861) อังกฤษ (ค.ศ. 1811 - 1816) และญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942 - 1945) 

ในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ชาวอินโดนีเซียในท้องถิ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่านและการเขียน และคนในท้องถิ่นก็ยากจนลงอย่างเป็นระบบ อดอยากจนตาย และถูกเลือกปฏิบัติอย่างเลวร้าย ต่างชาติที่ยึดครองอินโดนีเซียในขณะนั้นถือว่าชาวอินโดนีเซียเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่สมควรมีชีวิตอยู่ และคาดหวังจะทำให้ชาวอินโดนีเซียเป็นทาสในอาณานิคมของตน

ทหาร-ตำรวจของเจ้าอาณานิคมปฏิบัติต่อชาวบ้านในอืนโดนีเซียช่วงเวลาที่ถูกยึดครอง

 

การบังคับใช้แรงงานในยุคอาณานิคมในอินโดนีเซีย

 

มหาสงครามอาเจะห์

สงคราม Padri ในสุมาตราตะวันตก


กษัตริย์ Sisingamaraja จาก North Sumatera ผู้นำประชาชนต่อสู้กับชาวดัตช์

ชาวบาหลีต่อสู้กับผู้รุกรานจากต่างชาติ

เจ้าชายอันตาสารีผู้นำประชาชนต่อต้านอำนาจอาณานิคมในกาลิมันตันตะวันตก (เกาะบอร์เนียว)

 

Kapitan Pattimura ผู้นำประชาชนของเขาต่อต้านอำนาจอาณานิคมใน Maluku

 

เจ้าชาย Diponegoro (ชุดขาว) ต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมในชวา


ชาวอินโดนีเซียต่อสู้กับมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมในศตวรรษที่ 20

ด้วยเหตุทั้งหมดทั้งมวลนี่เองจึงทำที่ชาวอินโดนีเซียในหมู่เกาะ Nusantara ทั้งหมดลุกขึ้นต่อต้านและสู้กลับต่อผู้รุกรานจากต่างชาติอย่างหนักเพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพเป็นเวลาหลายร้อยปีผ่านการต่อสู้นองเลือด จนกระทั่งอินโดนีเซียรวมเป็นหนึ่งและได้รับเอกราชและอิสรภาพในที่สุดในปี ค.ศ. 1945

นั่นเป็นการอธิบายด้วยว่า ทำไมชาวอินโดนีเซียไม่ต้องการใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ดัตช์ หรือสเปน เป็นภาษาแรกหรือแม้แต่ภาษาที่สอง และเลือกที่จะใช้ภาษาประจำชาติของตนเองแทน อันเนื่องมาจากความขมขื่นของการใช้ชีวิตในยุคอาณานิคม

และเรื่องราวเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาในราชอาณาจักรสยาม และราชอาณาจักรไทย มายาวนานกว่า ๒๕๕ ปี หลังจากกรุงศรีอยุธยาล่มสลายใน ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จึงยากยิ่งที่จะอธิบายเรื่องราวของ ความเป็นชาติเอกราช และการมีอธิปไตยเสรีต่อเนื่องกันมาด้วยระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับอายุของประเทศของสหรัฐอเมริกา ให้อนุชนคนไทยได้เข้าใจ


👍 ติดตามผลงาน อาจารย์โญธิน มานะบุญ เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/author/ดร.โญธิน%20มานะบุญ