Thursday, 25 April 2024
อินโดนีเซีย

รัฐบาลอินโดฯ บินด่วนเจรจา Merck ตั้งโรงงานผลิตยา Molnupiravir

สื่อท้องถิ่นอินโดนีเซียรายงานว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังเจรจากับบริษัท Merck ของสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิต Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) ยารักษาโควิด-19 เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตยาดังกล่าวในอินโดนีเซีย

ลูฮัต บินซาร์ ปันด์ไจตัน (Luhut Binsar Pandjaitan) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนของอินโดนีเซีย เผยว่า วันนี้ (20 ต.ค.) ตนพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อเจรจากับบริษัทผู้ผลิตยาในประเด็นดังกล่าว

พร้อมเสริมว่า อินโดนีเซียต้องการเป็นมากกว่าผู้ซื้อ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีการลงทุนและตั้งโรงงานผลิตยา Molnupiravir ในอินโดนีเซียในอนาคต

อินโดฯ ไฟเขียวใช้วัคซีนโควิด 'โนวาแว็กซ์' ผลทดลองพบป้องกันติดเชื้ออาการรุนแรง 100%

อินโดนีเซีย ชาติที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อย่างหนัก กลายเป็นประเทศแรกที่อนุมัติวัคซีนใหม่ต้านโควิด-19 ที่ผลิตโดยโนวาแวกซ์ (Novavax) บริษัทยาสัญชาติสหรัฐฯ จากคำแถลงของทางบริษัทเมื่อวันจันทร์ (1 พ.ย.)

ความเคลื่อนไหวอนุมัติครั้งนี้ จะเปิดทางให้ อินโดนีเซีย ซึ่งกำลังดิ้นรนอย่างหนักในการควานหาอุปทานวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ให้เพียงพอสำหรับประชากร 270 ล้านคน เป็นชาติแรกที่เข้าถึงวัคซีนตัวนี้ ที่ผลิตในอินเดีย ภายใต้แบรนด์ "โนวาแว็กซ์"

วัคซีนของโนวาแว็กซ์ใช้เทคโนโลยีที่ต่างจากบรรดาวัคซีนที่ได้รับความเห็นชอบและถูกกระจายไปทั่วโลกในปัจจุบัน ไม่เหมือนกับเทคโนโลยี mRNA ของไฟเซอร์/ไบออนเทค โมเดอร์นาและเคียวร์แวค ซึ่งวัคซีน 2 เข็มของโนวาแว็กซ์ พึ่งพิงเทคนิคดั้งเดิมกว่า โดยใช้โปรตีนจากส่วนของเชื้อไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรค ผสมกับตัวกระตุ้นภูมิ ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

อินโดนีเซีย ไม่ร่วมด้วยกับ 'สหรัฐฯ' เทแผนจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย

ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังเสาะหาแรงสนับสนุนจากพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ในเอเชีย อย่างญี่ปุ่นและอินเดีย ในการกำหนดมาตรการจำกัดเพดานควบคุมราคาน้ำมันรัสเซีย แต่บรรดานักวิเคราะห์มองว่า อินโดนีเซียน่าจะปฏิเสธความพยายามล็อบบี้ดังกล่าว ซึ่งคาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้

เอลิซาเบธ โรเซนเบิร์ก ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านต่อต้านเงินอุดหนุนก่อการร้ายและอาชญากรรมทางการเงิน อยู่ระหว่างเดินทางเยือนกรุงจาการ์ตา เป็นเวลา 2 วันในสัปดาห์นี้ เพื่อพบปะกับบรรดาผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเลและการลงทุน ผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงการคลัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีจากกระทรวงพลังงานและทรัพยากรเหมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของศูนย์รายงานและวิเคราะห์การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นเดียวบรรดาผู้นำภาคเอกชน

ระหว่างพบปะพุดคุยกับ โรเซนเบิร์ก ประณามสงครามที่ปราศจากการยั่วยุและไม่ชอบธรรมของรัสเซียในยูเครน และหารือถึงความพยายามต่างๆ ในการลดผลกระทบที่ลุกลามออกมาจากสงคราม ในนั้นรวมถึงความเป็นไปได้ของการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย ถ้อยแถลงของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุ

โรเซนเบิร์ก สานต่อความพยายามของ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ที่เคยเรียกร้องมาตรการนี้ระหว่างร่วมประชุมกับรัฐมนตรีคลังจี 20 และบรรดาผู้ว่าการธนาคารกลางประเทศต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม โดยคราวนั้น เยลเลน ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศรีมุลยานี รัฐมนตรีคลังอินโดนีเซีย และลูฮุท ปันด์จัยตัน ผู้ประสานงานกระทรวงกิจการทางทะเลและการลงทุน เรียกร้องให้พวกเขาสนับสนุนแผนกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย

ในตอนนั้น ศรีมุลยานี ตอบกลับเพียงว่า อินโดนีเซียจะพิจารณาผลที่ตามมาจากการจำกัดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เนื่องจากมันจะส่งผลกระทบต่อบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งหลาย รวมถึงประเทศผู้ซื้อด้วย

นอกเหนือจากอินโดนีเซีย สหรัฐฯ จะพูดคุยกับมาเลเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ด้วยเช่นกัน เพื่อโน้มน้าวให้สนับสนุนเป้าหมายของจี 7 ในการฉุดราคาน้ำมันรัสเซียให้ลดต่ำลง จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่วอชิงตันรายหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับจาการ์ตาโพสต์

ถ้าจาการ์ตาสนับสนุนข้อเสนอนี้ เจ้าหน้าที่วอชิงตัน ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนามอ้างว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับอินโดนีเซียเอง เพราะว่าปัจจุบันรัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากไปกับการอุดหนุนราคาน้ำมัน

ในปีนี้ อินโดนีเซียต้องจัดสรรงบประมาณไปแล้วกว่า 502 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 34,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากระดับ 170 ล้านล้านรูเปียห์ในปีที่แล้ว สำหรับอุดหนุนราคาพลังงาน สืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูง ขณะที่ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ยอมรับเมื่อวันอังคาร (9 ส.ค.) ว่ามาตรการอุดหนุนน้ำมันในปัจจุบันนั้นใช้เงินมากเกินไป

ณ ที่ประชุมเมื่อเดือนมิถุนายน บรรดาผู้นำจี 7 บอกว่าจะพิจารณากำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เพื่อควบคุมแหล่งเงินทุนทำสงครามของเครมลิน ด้วยที่คาดหมายว่ากลไกกำหนดเพดานนี้อาจเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 5 ธันวาคม บรรดานักวิเคราะห์คาดว่า อินโดนีเซีย ไม่น่าจะสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของจี 7 และพวกเขาคงอยากรอดูเสียก่อนว่าจีนกับอินเดีย จะเข้าร่วมในแผนการนี้หรือไม่

เกิดเหตุการณ์สุดสลดในประเทศอินโดนีเซีย ในเกมฟุตบอลลีกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา คู่ระหว่าง อาเรมา เอฟซี พบ เปอร์ซิบายา สุราบายา ที่คันจูรูฮัน สเตเดียม เมื่อแฟนบอลของทั้งสองทีมปะทะกัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 127 ราย

เกมดังกล่าวจบลงที่ชัยชนะของทีมเยือนที่บุกไปเก็บชัยเหนือเจ้าถิ่น 3-2 แต่ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อแฟนบอลทั้งสองทีมก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันอย่างดุเดือด มีการวิ่งลงมาในสนาม จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 127 ราย โดย 2 ใน 127 คนนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกด้วย

ตามการรายงานจากสื่อในประเทศอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า การก่อเหตุดังกล่าวเริ่มต้นจากแฟนบอลเจ้าถิ่นที่ไม่พอใจผลการแข่งขันในเกมนี้ โดยเริ่มจากแฟนบอลฝั่งอัฒจันทร์ด้านตะวันออกของสนามที่วิ่งไปหาเรื่องแฟนทีมเยือน ก่อนที่แฟนบอลจากฝั่งใต้จะเข้ามาร่วมด้วย ถึงแม้เจ้าหน้าที่จะมีการยิงแก๊สน้ำตา แต่ยิ่งทำให้แฟนบอลตื่นตกใจหนักกว่าเดิม

จากเหตุชุลมุนดังกล่าวทำให้แฟนบอลต้องหนีเอาตัวรอด บางคนถึงขั้นถูกเหยียบ และถูกเบียดจนหายใจไม่ออก โดยมีการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 34 ราย ส่วนที่เหลือไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล 

อดีตที่ขมขื่น!! ความเจ็บปวดใต้การปกครองของชาติอาณานิคม ส่งผลให้ ‘ชาวอินโดนีเซีย’ รักบ้านเกิดเมืองนอนยิ่งกว่าชีวิต

การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกเอาดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้ ‘กำลังทหาร’ เข้าช่วย 

สำหรับราชอาณาจักรสยาม หรือราชอาณาจักรไทยนั้น ผ่านพ้นเหตุการณ์เช่นนั้นมาด้วยพระปรีชาสามารถในพระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ คนสยามหรือคนไทยในปัจจุบัน จึงไม่เคยลิ้มชิมรสชาติของการเป็นพลเมืองของชาติอาณานิคมที่ถูกเจ้าอาณานิคมชาติตะวันตกปกครอง 

แต่สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว พวกเขามีช่วงเวลาที่เลวร้ายกับการตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมานานกว่า ๓๕๐ ปี ความเป็นอาณานิคมเพิ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 เมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้น ต่างชาติจากยุโรปซึ่งก่อนหน้านี้ถูกนาซีเยอรมันยึดครองได้พยายามกลับมายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งด้วยปฏิบัติการทางทหารถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1947 และ ค.ศ. 1948 แต่ก็ประสบความล้มเหลวทั้งสองครั้งสองครา

เหล่าต่างชาติที่เคยรุกราน ยึดครอง และแสวงหาประโยชน์จากอินโดนีเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1509 - 1948 ได้แก่ โปรตุเกส (ค.ศ. 1509 - 1595) สเปน (ค.ศ. 1521 - 1629) ดัตช์ (ค.ศ. 1602 - 1942) ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1806 - 1861) อังกฤษ (ค.ศ. 1811 - 1816) และญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942 - 1945) 

ในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ชาวอินโดนีเซียในท้องถิ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่านและการเขียน และคนในท้องถิ่นก็ยากจนลงอย่างเป็นระบบ อดอยากจนตาย และถูกเลือกปฏิบัติอย่างเลวร้าย ต่างชาติที่ยึดครองอินโดนีเซียในขณะนั้นถือว่าชาวอินโดนีเซียเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่สมควรมีชีวิตอยู่ และคาดหวังจะทำให้ชาวอินโดนีเซียเป็นทาสในอาณานิคมของตน

ทหาร-ตำรวจของเจ้าอาณานิคมปฏิบัติต่อชาวบ้านในอืนโดนีเซียช่วงเวลาที่ถูกยึดครอง

 

การบังคับใช้แรงงานในยุคอาณานิคมในอินโดนีเซีย

 

มหาสงครามอาเจะห์

สงคราม Padri ในสุมาตราตะวันตก


กษัตริย์ Sisingamaraja จาก North Sumatera ผู้นำประชาชนต่อสู้กับชาวดัตช์

‘อินโดนีเซีย’ เตรียมเปิดบ้านรับ ‘นักท่องเที่ยวจีน’ ด้านรมว.ท่องเที่ยว เผย ‘พร้อมต้อนรับด้วยพรมแดง’

เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ‘ซานเดียกา อูโน’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอินโดนีเซีย กล่าวว่าอินโดนีเซียพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน หลังจีนได้ปรับปรุงความเหมาะสมของกลยุทธ์การรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

โดยนาย อูโนกล่าวในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ กรุงจาการ์ตา ระบุว่า “เราพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนด้วยพรมแดง ส่วนประชาชนชาวอินโดนีเซียเพียงต้องทำตามมาตรฐานความสะอาด สุขภาพ ความปลอดภัย และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (CHSE) เช่นเดียวกับที่ทำมาตลอด”

เจ้าถิ่นเจ๋ง!!! ร้านสะดวกซื้อเจ้าถิ่นใน ‘อินโดนีเซีย’ แข็งแกร่ง!! แม้แต่ ‘7-11’ ยังต้องยอมแพ้ - ล้มเลิกกิจการ

สวัสดีนักอ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวน่าสนใจจากประเทศเพื่อนบ้านมาเล่าสู่กันฟังครับ หากพูดถึงร้านสะดวกซื้อในไทยที่เราเห็นได้บ่อย เข้าใช้บริการบ่อย ก็ต้องนึกถึง 7-Eleven ถูกต้องไหมครับ และเป็นที่รู้กันโดยทั่วว่า 7-Eleven ประสบความสำเร็จในประเทศไทยอย่างยิ่ง

แต่ถึงแม้ว่า 7-Eleven จะประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายในหลาย ๆ ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ แต่ใน ‘อินโดนีเซีย’ แล้วนั่น กลับเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก และไม่มีทีท่าว่าจะสามารถเจาะตลาดร้านสะดวกซื้อของประเทศนี้ได้

เหตุผลหลัก ๆ ที่เป็นเช่นนั้น คือ ‘อินโดนีเซีย’ มีเครือข่ายร้านค้าสะดวกซื้ออยู่แล้ว เช่น ‘Indomaret’ และ ‘Alfamart’ ที่สามารถพบเจอได้เกือบทุก ๆ ๑ กม. หรือน้อยกว่านั้น และร้านค้า ๒ เจ้านี้จะกระจายตัวอยู่ตามเมืองใหญ่หรือเมืองเล็ก ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ 7-Eleven ทำแล้วได้ผลดีในประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ร้านสะดวกซื้ออย่าง Lawson's และ Family Mart ก็ใช้วิธีการนี้ด้วยเช่นกัน

นอกจาก 7-Eleven จะนิยมเปิดร้านสะดวกซื้อภายในอาคาร สำนักงาน หรือในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน โดยกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ที่ Indomaret และ Alfamart ตั้งอยู่ หวังให้มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้ว 7-Eleven ยังอัปเกรดร้านให้เป็นร้าน ‘ระดับพรีเมียม’ โดยมีบริการสถานที่นั่งรับประทานอาการ ดื่มเครื่องดื่ม และมี Wi-Fi ให้ใช้ฟรีอีกด้วย

ดูเหมือนว่ากลยุทธ์นี้จะดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้ แต่ก็เพียงแค่ในระยะแรกที่เป็นกระแสเท่านั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไปผู้คนมักจะเข้ามาซื้อเพียงเครื่องดื่มที่มีราคาถูก เพียงหวังจะได้นั่งในร้านเพื่อใช้ Wi-Fi ฟรีเป็นเวลาหลายชั่วโมง ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ 7-Eleven มีรายได้น้อย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสูง (ค่าไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และค่าเช่าพื้นที่ในพื้นที่ระดับพรีเมียม) 

7-Eleven เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษา อายุระหว่าง 18 - 25 ปี โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะใช้ 7-Eleven เป็นสถานที่แฮงก์เอาต์ และสถานที่ท่องเที่ยวทั้งในกลางวันและกลางคืน (24 ชม.) โดยมีการนำเสนอรายการอาหารและเครื่องดื่มของ 7-Eleven แบบดั้งเดิมเช่น Slurpee และของว่างพร้อมกับอาหารท้องถิ่นและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงฮิตในกล่มวัยรุ่น

ในปี ค.ศ. 2020 7-Eleven มีสาขามากถึง 70,750 แห่งทั่วโลก แต่ร้าน 7-Eleven แต่กลับไม่มีสักสาขาเดียวในอินโดนีเซีย เนื่องจากในปี ค.ศ. 2017 7-Eleven ได้ประกาศปิดสาขาทั้งหมด หลังเข้ามารุกธุรกิจในประเทศนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 

การดำเนินงานของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะดำเนินงานผ่านผู้ให้บริการท้องถิ่นคือ PT Modern Internasional ซึ่งจัดการบริการที่ตรงกันข้ามกับร้านสะดวกซื้อในอเมริกาที่เน้นการซื้อกลับบ้านและของกินเล่นยามดึก หลังเริ่มธุรกิจได้ไม่นาน บริษัท PT Modern Internasional ก็เริ่มขยายตัวภายในกรุงจาการ์ตา โดย 7-Eleven เปิดสาขาแห่งที่ 21 ภายในปี ค.ศ. 2010 และมีสาขาครบ 100 แห่งในปี ค.ศ. 2012 

ในปี ค.ศ. 2013 บริษัทมียอดขายสูงสุดประมาณ 78 แห่งจากร้านค้าทั้งหมด 190 แห่ง ดูเหมือนว่าอนาคตของ 7-Eleven ในอินโดนีเซียจะสดใส แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ เนื่องจากประสบปัญหาที่แก้ไม่ตกเพราะลูกค้าไม่ยอมใช้เงินในร้าน แม้ว่าจะมีลูกค้าจำนวนมากใน 7-Eleven แต่ก็จ่ายเงินซื้อเครื่องดื่มเพียงแก้วเดียว แล้วนั่งนาน ๆ หลายชั่วโมง 

บริษัท PT Modern Internasional ได้ออกมาบอกด้วยว่า “ยอดขายที่ขาดหายไปเป็นเพราะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งรายเดิมและรายใหม่ เช่น Family Mart และ Alfamart”

‘พงษ์ภาณุ’ ชี้สงครามการค้า ‘สหรัฐฯ - จีน’ พาอุตฯ หลัก แห่ย้ายฐานการผลิต ชี้!! ‘อินโดฯ - เวียดนาม’ ที่มั่นใหม่ แนะ!! ‘ไทย’ เร่งคว้าโอกาสก่อนตกขบวน

สงครามการค้า 'จีน-สหรัฐฯ' ระเบียบโลกสั่นคลอน โลกาภิวัฒน์ถดถอย อินโดนีเซียและเวียดนามได้ประโยชน์เต็มๆ จากนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด แล้วไทยจะยืนอยู่ตรงไหน???

(30 เม.ย.66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้มุมมองต่อเศรษฐกิจของโลกและภูมิภาคอาเซียน ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 66 โดยระบุว่า...

จากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งสหรัฐฯ มองว่า จีน จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญทั้งในด้านเทคโนโลยีและการทหาร เพราะฉะนั้น ทางสหรัฐฯ จึงได้แบนสินค้าจากจีน ด้วยการอ้างเหตุผลสารพัด ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จนถึงปัจจุบัน แม้จะเปลี่ยนผู้นำคนใหม่แล้ว สถานการณ์ก็ยังคงเหมือนเดิม 

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่การแบนสินค้าจากจีนเท่านั้น แต่ในช่วงที่ผ่านมา แบรนด์สินค้าจากฝั่งสหรัฐฯ ที่เคยมีฐานการผลิตใหญ่อยู่ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น แอปเปิล ไนกี้ และอีกหลายแบรนด์ ก็ได้เริ่มทยอยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะมองว่า ฐานการผลิตในจีนเริ่มไม่มีความมั่นคง ไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบการปกครองที่เป็นเผด็จการ ธุรกิจในประเทศถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง มีความสุ่มเสี่ยงมากขึ้น

แน่นอนว่า หากแบรน์ใหญ่ ๆ เหล่านี้ เลือกฐานการผลิตประเทศใด ย่อมสร้างรายได้ และสร้างงานให้กับประเทศนั้น ๆ ได้อย่างมหาศาล ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ประเทศในอาเซียนต่างพยายามนำเสนอจุดแข็งของประเทศเพื่อดึงดูเม็ดเงินการลงทุนจากแบรนด์สินค้าเหล่านั้น

นายพงษ์ภาณุ ระบุว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มองว่ามีอยู่ 2 ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่จะได้รับผลประโยชน์อย่างสูงมากกว่าชาติอื่น ๆ นั่นก็คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม 

เหตุที่มองเช่นนั้น เพราะว่า ประธานาธิบดี โจโค วิโดโด หรือ โจโควี ของอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้นำประเทศมา 10 ปี และกำลังจะครบเทอมในปีหน้า เป็นคนที่วางตำแหน่งประเทศอินโดนีเซียได้ยอดเยี่ยมมาก...

ข้อแรก วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เปิดเสรีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเต็มที่

ข้อสอง เป็นประเทศที่มีนโยบายการต่างประเทศที่เป็นอิสระ ที่สำคัญตัวผู้นำประเทศยังสามารถคุยได้กับทุกฝ่าย นับเป็นผู้นำประเทศเพียงไม่กี่คนที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้นำถึง 4 ประเทศ ประกอบด้วย โจ ไบเดน, สีจิ้นผิง, วลาดีมีร์ ปูติน และ โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ในปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นคนเดียวที่มีโอกาสพบผู้นำ 4 คนภายในปีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้นำประเทศอินโดนีเซียคนนี้ ได้รับการยอมรับมากเพียงใด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top