Tuesday, 7 May 2024
รักชาติ

'กบ ไมโคร' เขียนจดหมายถึง 'ดาราสลิ่ม' อัด!! โง่ฉิบหาย ตังไม่ได้ ยังเชียร์ให้ขายแผ่นดินอีก

(5 พ.ย. 65) จากเฟซบุ๊ก 'ไกรภพ จันทร์ดี' หรือ 'กบ ไมโคร' อดีตมือกีตาร์วงร็อกชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

"จม.ถึงดาราสลิ่ม"

สวัสดีครับ ดาราสลิ่มทั้งหลายที่หัวใจยังมีนกหวีดอยู่เสมอ

นายกคนดีย์ของพวกคุณโดนถล่มเป็นขรี้เลยครับเรื่องขายแผ่นดิน 

พวกคุณก็พากันเป็นตุ๊ดตู่หลบลงรู ไม่เอาไม้แหย่ดูก็ไม่รู้ว่ายังหายใจ

ที่ผ่านๆ มา ที่ชาวต่างชาติซื้อกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ มันไม่ใช่การครอบครองโฉนดที่ดินนะ มันต่างกันมาก  

กรรมสิทธิ์ห้องชุดนั่นมันลอยตัวอยู่บนแผ่นปูนในอากาศ จะกี่ชั้นก็ว่ากันไป แต่ครั้งนี้ มันคือการซื้อผืนดิน ชาวต่างชาติจะมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดที่ดินโดยสมบูรณ์แบบ นอกจาก 1 ไร่ในชื่อตัวเอง

ยังแถมโปรพิเศษอีกนับสิบไร่ ใช้สำหรับทำกิจการส่วนต่างๆ สลักหลังบนโฉนดที่ดินจะเป็นชื่อมหาเศรษฐีต่างชาติ (หรืออาจเป็นนอมินีที่สร้างมาไม่ต่ำกว่าสิบชื่อเพื่อครอบครองที่ดินแปลงสวยๆ สิบไร่)

ฉะนั้นอย่าว่าแต่ 40 ล้านบาทต่อคน ต่อให้แม่งเอาเงินมาซื้อพันธบัตรทิ้งไว้คนละพันล้าน / 1 ไร่ ก็ไม่ควรขาย  

ผมเห็นการโต้แย้งว่า มันเกิดจากคุณชวนและคุณทักษิณสร้างบาดแผลไว้ ตู่เลยต้องมาแก้  

อดีตที่ขมขื่น!! ความเจ็บปวดใต้การปกครองของชาติอาณานิคม ส่งผลให้ ‘ชาวอินโดนีเซีย’ รักบ้านเกิดเมืองนอนยิ่งกว่าชีวิต

การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกเอาดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้ ‘กำลังทหาร’ เข้าช่วย 

สำหรับราชอาณาจักรสยาม หรือราชอาณาจักรไทยนั้น ผ่านพ้นเหตุการณ์เช่นนั้นมาด้วยพระปรีชาสามารถในพระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ คนสยามหรือคนไทยในปัจจุบัน จึงไม่เคยลิ้มชิมรสชาติของการเป็นพลเมืองของชาติอาณานิคมที่ถูกเจ้าอาณานิคมชาติตะวันตกปกครอง 

แต่สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว พวกเขามีช่วงเวลาที่เลวร้ายกับการตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมานานกว่า ๓๕๐ ปี ความเป็นอาณานิคมเพิ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 เมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้น ต่างชาติจากยุโรปซึ่งก่อนหน้านี้ถูกนาซีเยอรมันยึดครองได้พยายามกลับมายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งด้วยปฏิบัติการทางทหารถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1947 และ ค.ศ. 1948 แต่ก็ประสบความล้มเหลวทั้งสองครั้งสองครา

เหล่าต่างชาติที่เคยรุกราน ยึดครอง และแสวงหาประโยชน์จากอินโดนีเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1509 - 1948 ได้แก่ โปรตุเกส (ค.ศ. 1509 - 1595) สเปน (ค.ศ. 1521 - 1629) ดัตช์ (ค.ศ. 1602 - 1942) ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1806 - 1861) อังกฤษ (ค.ศ. 1811 - 1816) และญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942 - 1945) 

ในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ชาวอินโดนีเซียในท้องถิ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่านและการเขียน และคนในท้องถิ่นก็ยากจนลงอย่างเป็นระบบ อดอยากจนตาย และถูกเลือกปฏิบัติอย่างเลวร้าย ต่างชาติที่ยึดครองอินโดนีเซียในขณะนั้นถือว่าชาวอินโดนีเซียเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่สมควรมีชีวิตอยู่ และคาดหวังจะทำให้ชาวอินโดนีเซียเป็นทาสในอาณานิคมของตน

ทหาร-ตำรวจของเจ้าอาณานิคมปฏิบัติต่อชาวบ้านในอืนโดนีเซียช่วงเวลาที่ถูกยึดครอง

 

การบังคับใช้แรงงานในยุคอาณานิคมในอินโดนีเซีย

 

มหาสงครามอาเจะห์

สงคราม Padri ในสุมาตราตะวันตก


กษัตริย์ Sisingamaraja จาก North Sumatera ผู้นำประชาชนต่อสู้กับชาวดัตช์

เพจ ธ.ออมสิน เขตสุโขทัย แสดงจุดยืนรัก ‘ชาติ ศาสนา กษัตริย์’ หลังเจอทัวร์ลง เหตุโพสต์ภาพคนสวมเสื้อมีโลโก้พรรคต่อต้านสถาบัน

(2 ต.ค.66) ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ‘Kawin Kankeow’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

จากประเด็นการโพสต์ภาพคนสวมเสื้อซึ่งมีสัญลักษณ์คล้ายพรรคการเมืองพรรคหนึ่งปรากฏในเพจของธนาคารออมสิน เขตสุโขทัย ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารธนาคารออมสิน เขตสุโขทัยแล้ว ท่านรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยืนยันว่าท่านมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนผมก็ได้แสดงจุดยืนว่าการแสดงทัศนคติทางการเมืองในนามบุคคลเป็นเรื่องปกติ แต่ในนามองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารออมสินซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์ การแสดงสัญลักษณ์ซึ่งดูเหมือนเป็นตัวแทนของการต่อต้านสถาบันฯ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจของคนรักสถาบันฯ อย่างผมและคนไทยอีกเป็นจำนวนมาก

กรณีนี้เข้าใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องหลายคนอาจไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองจนไม่ได้ตระหนักถึงความอ่อนไหวในประเด็นนี้ หลังจากการพูดคุยกันแล้วผมได้รับการตอบรับที่ดีว่าต่อไปนี้ทางธนาคารฯ จะระมัดระวังในการสื่อสารสาธารณะให้มากยิ่งขึ้น และจะปฏิบัติตามปรัชญาของธนาคารออมสินอย่างเคร่งครัดครับ

ส่วนทางด้านเฟซบุ๊ก ธนาคารออมสิน เขตสุโขทัย ก็ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

ในฐานะของผู้บริหารสูงสุดของสาขาเขตรู้สึกเสียใจ และขอน้อมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขอยืนยันว่าธนาคารออมสินซึ่งถือกำเนิดโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 มีนโยบายให้พนักงานธนาคารทุกคนจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และแสดงออกทางการเมืองอย่างเป็นกลาง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ธนาคารออมสินพร้อมที่จะให้บริการประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะและความเชื่อ และจะดำรงตนเป็นแบบอย่างตามรอยพระราชจริยวัตรอันงดงามยิ่งของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 

โดยธนาคารออมสินจะยึดมั่นในการทำหน้าที่ธนาคารที่จะสร้างความสุขให้พี่น้องคนไทยและนำพาความเจริญเพื่อประเทศชาติพัฒนาในทุกด้านสืบต่อไป

เหตุไฉน!! นโยบายบางพรรคจากคนรุ่นใหม่ ไม่โดนใจทุกคน "ก็ใหญ่โตมาจากไหน ถึงมองสถาบันกษัตริย์ไทยไม่สำคัญล่ะ"

เด็กรุ่นใหม่ ๆ อายุยี่สิบต้น จนถึงสามสิบกลาง ๆ รวมถึงคนวัยใกล้ ๆ กันที่คิดต่างจากผมบางคน ชอบถามผมว่า เมื่อเห็นว่านโยบายของบางพรรคการเมืองที่มาจากคนรุ่นใหม่ดีถูกใจ ทำไมผมจึงยังไม่เลือกอยู่ดี ถามว่าทำไม? 

ผมมักตอบกลับไปยาว ๆ ว่า… 

การจะอ่านพฤติกรรมของนักการเมืองไทย ต้องอย่าดูแค่ ‘วาทกรรม’ แต่ต้องดู ‘พฤติกรรม’ ดูเจตนาลึก ๆ ที่ผ่าน ๆ มา ถ้าเราไม่ปัญญาเบา หรือมีอคติจนเกินไปก็จะมองออกได้ง่ายมาก ๆ พรรคการเมืองใดก็ตามที่ลึก ๆ กังขาสถาบันในเรื่องต่าง ๆ ไม่รู้สึกผูกพัน มองเป็นส่วนเกิน มองเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ มองไม่เห็นประโยชน์ จนถึงขั้นคิดล้มล้างทำลาย ก็จะแสดงออกถึงความเป็นปฏิปักษ์ให้สังคมเห็นในวิธีต่าง ๆ ส่วนคนที่จะเลือกพรรคการเมืองแบบนี้ ก็ต้องมีเหตุผลหนึ่งเหตุผลใดตรงกับ ‘แนวคิด’ หรือ ‘อุดมคติ’ ของพรรคการเมืองแบบนี้เท่านั้น 

แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่เลือก บางส่วนก็กลัวคนอื่นจะล่วงรู้ว่าตนเองก็แอบไม่เอาสถาบัน ไม่ได้นึกถึงว่าตนเองเกิด และเติบโตมาบนผืนแผ่นดินไทยนี้ได้อย่างร่มเย็น ผาสุข ส่วนสำคัญก็มาจากสถาบันกษัตริย์ไทย 

คำว่า ‘สถาบันกษัตริย์’ หาใช่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่คือราก คือแก่น คือความสำคัญอันดับต้นในความเป็นชาติตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยบรรพบุรุษของกษัตริย์ กับคนไทยผู้หวงแหนแผ่นดิน ร่วมกันสร้างชาติจนเป็นชาติ ทำให้คนรุ่นต่อ ๆ มามีแผ่นดินอาศัย มีเอกราช มีเสรี มีความภูมิใจ ทำให้คนไทยที่คิดดีไม่กล้าคิดเนรคุณ หรือหลงลืมบุญคุณ ‘ชาติกษัตริย์ไทย’ เพราะจะมีความเชื่อคล้าย ๆ กันว่า คนที่คิดร้ายทำลายชาติ คิดเนรคุณแผ่นดินเกิดของตนเอง ย่อมนำเคราะห์ร้าย นำความหายนะมาสู่ชีวิตของตนเองในไม่ช้าก็เร็ว

แม้จะเป็นความเชื่อส่วนบุคคลของเหล่าคนรักสถาบันชาติกษัตริย์ไทย แต่ที่ผ่านมาก็มีฉายโชว์ให้เห็นจุดจบของคนคิดล้มล้างทำลายมาโดยตลอด 

ผมเกลียดนักการเมืองน้ำเน่า เกลียดการคอร์รัปชันโกงกินทุกรูปแบบ และฝันอยากได้นักการเมืองรุ่นใหม่ที่คิดดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชนคนไทยโดยแท้จริง แต่ที่เห็นและมีอยู่ยังไม่เฉียดใกล้มาตรฐานของคนไทยที่รักสถาบันจริง ๆ เลยแม้แต่น้อย ผมอายตัวเอง ถ้าต้องได้ชื่อว่าเป็นคนไทยที่สนับสนุนการกัดเซาะ ล้มล้าง ทำลายสถาบันเบื้องสูงของตัวเอง เพราะสำหรับผม สถาบันคือความมั่นคงที่คนไทยต้องปกป้อง..รักษา ไม่ใช่สิ่งที่เสมอเทียมคนปกติแบบเรา ๆ

ผมคิดแบบนี้ เขาคิดแบบนั้น ผมและเขาเราจึงคุยกันไม่รู้เรื่อง 

10 นิสัยสุดย้อนแย้ง!! ผู้อ้างความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ สร้างภาพให้สังคมตายใจ เผลอเมื่อไรไปซบเชียร์พรรคล้มเจ้า

ผมลองสังเกตดูสังคมไทย ลงลึกไปถึงสังคมคนรอบ ๆ ตัวของผมในวงการต่าง ๆ ที่ผมมีโอกาสเข้าไปสัมผัส ไม่เว้นกระทั่ง ‘วงการเพลง’ ที่ผมรัก เริ่มตั้งแต่สังคมไทยมีพรรคการเมืองที่ ‘ย้อนแย้ง’, ‘กลิ้งกลอก’, ‘ปลิ้นปล้อน’ และเดินหน้า ‘ล้มล้างสถาบัน’ อย่างจริงจังโผล่ขึ้นมาให้เห็น แม้จะเกิดแรงสั่นสะเทือนอันจอมปลอม แต่ก็ยังสามารถกระเทาะเปลือกสำนึกอันดีงามของผู้คนจำนวนหนึ่งให้หลุดออกได้อย่างง่ายดาย จนเผยให้เห็นแก่นความนึกคิดที่แท้จริงของคนเหล่านี้ชัดเจน 

ขอยกเพียงแค่ประเด็น ‘ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ไทย’ ของคนไทย ‘นิสัยย้อนแย้ง’ มาเพียง 10 ตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้เปลือยให้เห็น ‘นิสัยที่แท้จริง’ ของคนได้ดีที่สุด

1. เหล่าเซเลบริตี้จำนวนหนึ่ง ออกงานอีเวนต์มักเลือกหยิบบทเพลงพระราชนิพนธ์ไปร้องโชว์ นักร้องอัดเสียงร้องเพลง ดาราแสดหนัง ละคร ที่เกี่ยวสถาบันกษัตริย์ เพื่อสร้างชื่อเสียง หรือเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบอาชีพจนได้รับผลลัพธ์ที่ดีในชีวิต แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

2. ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน จาก ร.9 หรือ ร.10 รวมถึงได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไทย แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

3. พูดออกตัวว่าจงรักภักดีต่อสถาบัน จนได้รับโอกาสเป็นผู้จัดกิจกรรมทางดนตรีที่เกี่ยวกับ ‘บทเพลงของพ่อ’ ทำให้มีผู้คนจดจำภาพลักษณ์ที่ดีงาม แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’ 

4. ใส่เสื้อสีเหลือง พร้อมโพสต์ข้อความในเชิงว่า ‘รักในหลวง’ ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่บ่อยครั้งให้สังคมเห็น แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

5. อาศัยใช้นามสกุลพระราชทานที่ใช้ต่อ ๆ กันมาจากต้นตระกูลต่อท้ายชื่อของตนเอง แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

6. แต่งชุดดำ ร้องห่มร้องไห้จะเป็นจะตายเมื่อปลายปี 2559 แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

7. ที่บ้าน ที่ทำงาน ติดรูปในหลวงที่ข้างฝาห้องอย่างโดดเด่น แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

8. ปากบอกรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และจะจงรักภักดีจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะได้ที่นา ที่ดินทำสวน ทำไร่ จากโครงการของในหลวงจนชีวิตพลิกฟื้น แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

9. ห้อยพระคล้องคอที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับในหลวง มีความผูกพันเชื่อมโยงถึงที่มา ความรัก พลังใจ จุดมุ่งหมาย คำสั่งสอน และการดำรงไว้เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

10. ต้นตระกูลเป็นคนต่างถิ่น ต่างด้าว ต่างเชื้อชาติ ต่างดินแดน เดินทางมาพึ่งแผ่นดินทองของพระมหากษัตริย์ไทย ได้รับความเมตตากรุณาให้มีที่อาศัย ทำกิน จนมีชีวิตที่มั่งคั่ง ร่ำรวย แต่สนับสนุน ‘พรรคล้มสถาบัน’

ห้วงเวลานี้ ถือเป็นเวลาที่คนรอบตัวจะถูกกระเทาะเปลือก จนเปลือยให้เห็นมิติที่ลึกกว่าที่เคย สิ่งที่อาจจะยังไม่แน่ใจในใครสักคนในเรื่องตรรกะ, วิธีคิด และแก่นแท้ของสำนึก ก็จะได้รับคำตอบที่ชัดเจน ดูคนให้ดูห้วงเวลานี้จะเห็นนิสัยของคนชัดที่สุด 

ลองหันไปสำรวจดูว่า รอบ ๆ ตัวคุณ มีคนที่คล้าย ๆ ใน 10 ข้อนี้กี่คน?

ห่างได้ ห่างเลย รับประกันว่าชีวิตดี

‘รมว.พีระพันธุ์’ ชื่นชมการแสดง ‘ปราการเวลา The Theatre’ สร้างความตระหนักรู้ ‘ความเสียสละ-รักชาติ’ ของบรรพบุรุษไทย

(18 มี.ค. 67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga’ ระบุว่า…

“เมื่อวาน (16 มี.ค. 67) ผมมีโอกาสไปชมการแสดง ‘ปราการเวลา The Theatre’ ที่จัดโดย อบจ. สมุทรปราการ ที่มีคุณนันทิดา แก้วบัวสาย เป็นนายกฯ ร่วมกับกองทัพเรือ นำแสดงโดยคุณนพพล โกมารชุน ศิลปินแห่งชาติ กับคุณแพนเค้ก เขมนิจ ร่วมกับนักแสดงทุกรุ่นวัยจำนวนมาก

“ผมรู้สึกดีใจและยินดีเป็นอย่างมากที่มีโอกาสไปชมการแสดงครั้งนี้เพราะทำให้เราได้ย้อนนึกไปถึงอดีตที่ทำให้เรามีปัจจุบันในวันนี้ว่าชาติไทยของเราต้องฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคและวิกฤติการณ์มาเพียงใดถึงมาเป็นไทยที่เป็นปึกแผ่น ประชาชนอยู่ดีกินดีในทุกวันนี้

“การแสดงนี้ ไม่เพียงน่าตื่นตาตื่นใจ สวยงามตระการตา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทำให้เราได้เห็นถึงความรักชาติ ความเสียสละ และความสามัคคี ของบรรพบุรุษทั้งพลเรือนและทหาร ได้ตระหนักรู้ซาบซึ้งในพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคที่ทั่วทั้งภูมิภาคกำลังเผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่มีแสนยานุภาพทางอาวุธและวิทยาการเหนือกว่า ทำให้เราสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้องรวมถึงเงินค่าปรับสูงจนต้องนำเงินถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้

“พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แม้จะทรงโทมนัสยิ่งแต่ทรงไม่ท้อถอย ทรงทุ่มเททุกอย่างเพื่อรักษาเอกราชของสยามเอาไว้ นำไปสู่การปฏิรูปประเทศในทุกด้าน จนสยามสามารถดำรงความเป็นไทยมาได้ลงจนถึงทุกวันนี้โดยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของพวกฝรั่งชาติตะวันตกนักล่าอาณานิคม
เหล่านี้ทำให้เราต้องคิดให้มากขึ้นว่าปัจจุบันและอนาคตเราคนไทยจะต้องรักชาติ รักสถาบัน ต้องสามัคคี และเอาประโยชน์ชาตินำหน้าเพื่อคงความเป็นชาติไทยของเราให้คงอยู่ตลอดไป 

“ผมอยากให้มีกิจกรรมหรือการแสดงแบบนี้ให้คนรุ่นหลังเด็กรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ถึงอดีตและความเป็นมาของชาติให้มากขึ้น และขอชมเชยผู้จัดงานและนักแสดงทุกคน ขอให้กำลังใจและขอบคุณที่ร่วมกันทำกิจกรรมรักชาติแบบนี้ครับ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top