ไขปริศนา!! เพราะเหตุใดจึงไม่มีการจัดการกับร่างนักปีนเขา ซึ่งเสียชีวิตบนเขาเอเวอเรสต์
ข้อมูลอ้างอิงตัวเลขจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ มีผู้เสียชีวิตขณะพยายามปีนขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์มากถึง ๓๐๕ ราย ร่างของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มากกว่า ๒๐๐ ร่าง ยังคงอยู่บนเอเวอเรสต์ บางร่างก็ไม่เคยถูกพบมาก่อน บางร่างก็ต้องทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ ‘เครื่องหมาย’ ที่น่าสะพรึงกลัวตลอดเส้นทางสู่ยอดเขา และบางร่างจะถูกพบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเมื่อสภาพอากาศบนยอดเขาเอเวอเรสต์เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ มีนักปีนเขาที่หวังจะประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์สูงถึง ๑๐,๑๘๔ ราย แต่มีแค่บางคนที่สามารถพิชิตสำเร็จได้หลายครั้ง จึงมีผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์สำเร็จเพียง ๕,๗๓๙ คน แม้ว่าจำนวนนักปีนเขาที่เสียชีวิตบนภูเขาจะมีเป็นจำนวนมาก แต่คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเพียง 3% สำหรับยอดเขาเอเวอเรสต์ นั่นหมายความว่า นักปีนเขาประมาณหนึ่งคนในสามสิบสามคนจะจบลงด้วยความตาย
ทำไมพวกเขาถึงทิ้งร่างของนักปีนเขาที่เสียชีวิตบนเอเวอเรสต์ไว้มากมาย? ทำไมไม่จัดการกับร่างเหล่านั้นอย่างถูกต้องตามประเพณี? บ้างก็อ้างว่า ร่างอยู่ที่นั่นเป็นเหมือนเครื่องหมายอ้างอิงแสดงเส้นทางให้นักปีนเขาคนอื่น ๆ
แต่แน่นอน นี่ไม่ใช่เหตุผลที่ฟังขึ้น เพราะความจริงแล้วจุดอ้างอิงนั้นจะมีประโยชน์อย่างไร ในเมื่อจุดนั้น ๆ มีเพียงหิน และน้ำแข็งปกคลุม เมื่อร่างผู้เสียชีวิตถูกทิ้งไว้จึงดูไม่แปลกจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ อีกทั้งร่างพวกนั้นอยู่ในเขตที่เรียกว่า ‘แดนมรณะ’ นั่นคือระดับความสูงที่มนุษย์จะเสียชีวิตหากปราศจากออกซิเจนในทุกวินาทีที่อยู่บนนั้น
โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถรับมือกับระดับความสูงมาก ๆ ได้นาน เพราะความสูงประมาณ ๙,๐๐๐ เมตร เท่ากับระดับความสูงการบินของเที่ยวบินโดยสารระยะสั้น แม้จะมีออกซิเจนเสริม
ทุกสิ่งที่มนุษย์ต้องทำกลายเป็นความพยายามอย่างน่าเหลือเชื่อ เพราะต้องทำเรื่องที่คิดว่าง่ายที่สุด (ในสถานการณ์ปกติ) ระหว่างการปีนเพื่อไต่ความสูงในระดับสูงมาก ๆ ขนาดนั้น เช่น การดื่ม การกิน การย่อยอาหาร การนอนหลับ และรักษาบาดแผล ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการใช้ออกซิเจนของบรรดานักปีนเขาเหล่านั้นทั้งสิ้น
แต่หากนักปีนเขาเข้าสู่เขตมรณะแล้ว ก็จะมีคำเตือนที่ว่า ควรจะใช้เวลาอยู่ในบริเวณนั้นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่มีการจัดการกับร่างของบรรดานักปีนเขาที่เสียชีวิตบนเอเวอเรสต์
แต่หากร่างผู้เสียชีวิตอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ และครอบครัวของนักปีนเขาที่เสียชีวิตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ ทีมงานก็จะพยายามเก็บกู้ร่างของพวกเขาออกมา ซึ่งต้องแลกกับความเสี่ยงที่สูงมาก ๆ ของนักปีนเขาที่ขึ้นไปเก็บกู้ จึงมีค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งแรงงานของนักปีนเขาชาวเชอร์ปาในท้องถิ่นและค่าชั่วโมงบินของเฮลิคอปเตอร์
หรือไม่เช่นนั้นร่างของผู้เสียชีวิตก็อาจจะถูกผลักลงจากหน้าผาหรือรอยแยกเพื่อให้พ้นสายตา ซึ่งถือว่าเป็นการฝังร่างตามแบบนักปีนเขาที่สง่างาม สมความภาคภูมิของเหล่าบรรดานักปีนเขา
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วร่างนักปีนเขาที่เสียชีวิตจะถูกทิ้งไว้ที่จุดเดิมตรงที่พวกเขาเสียชีวิต เพราะไม่มีใครที่จะยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อกู้ร่างของนักปีนเขาที่เสียชีวิตเหล่านั้น และนั่นถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดใจ แต่ใครที่เลือกเป็นนักปีนเขาแล้ว และยินดีที่จะปีนเพื่อขึ้นไปบนนั้นย่อมรับรู้เรื่องนี้ดี
สภาพอากาศที่รุนแรงในเขตมรณะ สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดนักปีนที่เข้าไปในเขตนี้ถึงเสียชีวิตที่นั่นเพียงลำพัง หรือต่อหน้าต่อตาเพื่อนนักปีนเขาด้วยกัน เพราะเมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้นแล้ว และเห็นชัดเจนว่ามีคนกำลังจะตาย เพื่อนนักปีนเขาก็คงพยายามทำทุกวิถีทางในอันที่จะให้ความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายก็ช่วยไม่ได้ และก็ต้องปล่อยให้พวกเขาตายไปอย่างน่าเสียใจ สาเหตุก็เพราะพวกเขาอยู่ในเขตมรณะนานเกินไป นี่จึงเป็นเรื่องที่นักปีนเขาเอเวอเรสต์ทุกคนต้องรู้และต้องยอมรับ
อีกสิ่งที่สมควรต้องกำจัดจากยอดเขาเอเวอเรสต์ก็คือ ขยะและปฏิกูลนับเป็นพัน ๆ ตัน
เมื่อทราบสาเหตุการเสียชีวิตของนักปีนเขาไปแล้ว ต่อมาเรามารู้จักร่างของนักปีนเขาที่เสียชีวิตบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในแวดวงนักปีนเขาที่พยายามพิชิตเอเวอเรสต์กันบ้าง
Tsewang Paljor หรือ Green Boots
๑) Tsewang Paljor หรือ Green Boots เป็นนักปีนเขาชาวอินเดียที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. 1996) ก่อนการนำร่างของเขาออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ ร่างของ Green Boots อยู่ใกล้ถ้ำที่นักปีนเขาทุกคนต้องผ่านเพื่อขึ้นไปบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ร่างของเขากลายเป็นจุดสังเกตที่น่าสยดสยองและสะเทือนใจ และยังเป็นสัญลักษณ์สำหรับวัดระยะทางด้วยว่าใกล้กับยอดเขามากน้อยเพียงใด เขามีชื่อเสียงจากรองเท้าสีเขียวของเขา และนักปีนเขาประมาณ 80% มักจะหยุดพักตรงที่มีศพของ Green Boots จึงเป็นเรื่องยากที่จะไม่คิดถึงศพของ Green Boots ที่นอนอยู่ตรงนั่น (ปัจจุบันร่างนี้ได้รับการเก็บกู้แล้ว)
Rob Hall
๒) Rob Hall เป็นมัคคุเทศก์ในบริษัทของเขาเองชื่อว่า Adventure Consultants
Scott Fischer
๓) Fischer เป็นมัคคุเทศก์อีกคนหนึ่งที่เสียชีวิต
Shriya Shah-Klorfine ศพถูกคลุมด้วยธงชาติแคนาดา
๔) Shriya เป็นสตรีชาวแคนาดาวัย ๓๓ ปี ซึ่งเกิดในประเทศเนปาล ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. 2012) เธอประสบความสำเร็จในการพิชิตยอดเขา แต่ไม่สามารถกลับลงมาได้ ในปีนั้นมีนักปีนเขาเสียชีวิตถึง ๑๒ คน ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ภัยพิบัติเอเวอเรสต์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เธอถ่ายภาพและวิดีโอบนยอดเขา ใช้เวลา ๒๕ นาทีบนยอดเขา โดยใช้ออกซิเจนจนหมด เมื่อกลับลงจากยอดเขาโดยต้องปีนลงจากเขานานกว่า ๑๗ ชั่วโมง เธอจึงหมดแรงและเสียชีวิตลงที่ความสูงมากกว่า ๘,๐๐๐ เมตร ร่างของเธอถูกคลุมด้วยธงชาติแคนาดา หลายเดือนต่อมาร่างของเธอจึงจะถูกนำลงมาจากเขา โดยถูกนำมาไว้ที่ Camp2 ด้วยเฮลิคอปเตอร์
Francys Arsentiev ฉายา Sleeping Beauty
๕) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ (ค.ศ. 1998) Arsentiev นับเป็นสตรีอเมริกันคนแรกที่พิชิตยอดเขา
เอเวอเรสต์โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนบรรจุขวด ซึ่งเธอสามารถประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อพร้อมกับ Sergei สามีของเธอ
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่ได้ใช้ออกซิเจนจากขวดบรรจุทำให้พวกเขาต้องใช้เวลาในการปีนขึ้นและลงจากยอดเขานานกว่าปกติ และเมื่อถึงเวลาที่พวกเขากำลังกลับลงมา สภาพอากาศโดยรอบก็เปลี่ยนไปกลายเป็นสภาพอากาศแปรปวนอย่างหนัก จนเธอพลัดหลงกับสามี และเป็นสาเหตุให้ Arsentiev เสียชีวิตระหว่างการกลับลงมาที่ Camp 6 ส่วน Sergei สามีของเธอซึ่งพลัดลงกันเมื่อกลับมาถึง Camp 6 แล้ว ได้นำขวดบรรจุออกซิเจนกลับขึ้นไปตามหาเธอ แต่ก็ต้องเสียชีวิตด้วยอีกคน
👍 ติดตามผลงาน อาจารย์โญธิน มานะบุญ เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/author/ดร.โญธิน%20มานะบุญ