Wednesday, 15 May 2024
Y WORLD

บอร์ด กพฐ. เห็นชอบรวมโรงเรียน 10 โรง เลิกสถานศึกษา 3 โรง แนะสพฐ. บริหารจัดการโรงเรียนให้เหลือ 2 หมื่นโรง การจัดสรรงบฯ จะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธาน กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม กพฐ.ได้มีมติเห็นชอบการรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 โรง ใน 7 เขตพื้นที่การศึกษา คือ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เชียงใหม่ เขต 5 โรงเรียนบ้านกองวะ มีนักเรียนระดับชั้น ป.3-6 จำนวน 4 คน รวมกับโรงเรียนบ้านโปงทุ่ง

2. สพป.เชียงใหม่ เขต 6 โรงเรียนวัดพระบาท มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 29 คน รวมกับโรงเรียนบ้านเมืองกลาง

3. สพป.พิจิตร เขต 2 โรงเรียนวัดคลองข่อย มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 36 คน รวมกับโรงเรียนศรีประสิทธิ์วิทยา

4. สพป.เพชรบุรี เขต 1 โรงเรียนวังตะโก มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 12 คน รวมกับโรงเรียนวัดทองนพคุณ (เจริญราษฎร์วิทยาคาร)

5. สพป.นครสวรรค์ เขต 2 โรงเรียนบ้านทุ่งรวงทอง มีนักเรียนชั้น ป.1-3 และ ป.5 14 คน รวมกับโรงเรียนบ้านเนินใหม่

6. สพป.ลำพูน เขต 1 โรงเรียนบ้านทาปลาดุก มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 25 คน รวมกับโรงเรียนบ้านดอยแก้ว

7. สพป.น่าน โรงเรียนบ้านธงหลวง มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 20 คน รวมกับ โรงเรียนบ้านน้ำครกใหม่ โรงเรียนบ้านห้วยมอญสาขาใหม่ในฝัน มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 15 คน รวมกับ โรงเรียนบ้านห้วยมอญ โรงเรียนบ้านน้ำอูน มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 17 คน รวมกับ โรงเรียนบ้านนาคา และโรงเรียนบ้านกาใส มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 30 คน รวมกับโรงเรียนบ้านวังตาว

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยขี้เหล็ก สพป.เชียงราย เขต 2 โรงเรียนบ้านสระลำใย สพป.สระบุรี เขต 1 และโรงเรียนวัดบางพระ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามสถานการณ์อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง และยังสอดคล้องกับโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ด้วย

อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าในอนาคต เราควรที่จะบริหารจัดการโรงเรียนให้เหลือประมาณ 20,000 โรง จาก จำนวน 30,000 กว่าโรง เพื่อที่จะทำให้การบริหารจัดการงบประมาณเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องคงมีโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล (Stand alone) ไว้


ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/99659

รมว. อุดมศึกษา ลงนามในประกาศ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11) โดยมีสาระสำคัญคือ ให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หยุดสอน เรียนออนไลน์แทน

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ลงนามในประกาศ อว. เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11)

ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นลำดับ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังกล่าว นั้น

เพื่อให้การดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและเป็นไปตามมาตรการที่ ศบค. ประกาศกำหนด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงยกเลิกประกาศกระทรวงฯ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวัง การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 10 และกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง อว. พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ดังนี้

1. ให้สถาบันอุดมศึกษางดการเรียนการสอนในสถานที่ รวมทั้งการสอบ การฝึกอบรมหรือ กิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยให้จัดการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ และปรับวิธีการวัดประเมินผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้การจัดการศึกษามีความต่อเนื่อง และมิให้เกิดผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา

2. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วม มากกว่า 50 คน ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากจะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงาน และให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) อย่างเคร่งครัด

3. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง กำหนดมาตรการในการทำงานสำหรับ บุคลากรในสังกัด โดยให้ใช้มาตรการการทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งเพื่อลดการเดินทางและลดการสัมผัสเชื้อ โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาระดับความเสี่ยงและบริบทของพื้นที่ตามที่ ศบค.ประกาศกำหนด เพื่อกำหนดสัดส่วนการทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือการสลับวันหรือการเหลื่อมเวลา การเข้าปฏิบัติงานได้ตามควาเหมาะสมของพื้นที่

4.ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง ปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการทำงานในรูปแบบออนไลน์ หรือจัดประชุมผ่านระบบทางไกล โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาปรับระบบการบริหารจัดการและรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้อาจมีบางงานหรือกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมไม่มาก เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) หรืองานวิจัยที่สำคัญ หรืองานบริการประชาชนที่จำเป็นให้อยู่ในดุลพินิจของอธิการบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงาน

5. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง พิจารณาดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่ดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย โดยประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการและบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19 ของกระทรวง อว. (ศปก.อว.) และหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่

6. ให้โรงพยาบาลของสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติภารกิจด้านการให้บริการประชาชน บริการสาธารณะและการบริหารจัดการตามภาระหน้าที่ โดยให้มีมาตรการความปลอดภัยสูงสุดสำหรับบุคลากรในสังกัด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการในทุกระดับ

7. ให้ศูนย์ประสานงานในระดับหน่วยงานเป็นกลไกในการกำกับ ติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว รวมถึงเป็นศูนย์แจ้งเหตุและทำหน้าที่ประสาน งานภายในหน่วยงานและประสานงานกับกระทรวง พร้อมทั้งเผยแพร่สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง โดยให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างใกล้ชิด และให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ศบค. และกระทรวง อว. กำหนดอย่างเคร่งครัด

กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติให้รายงานศูนย์ปฏิบัติการและบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวง อว. (ศปก.อว.) ทราบโดยด่วน เพื่อร่วมกันควบคุมสถานการณ์ โดยของให้รายงานข้อมูลในระบบกลุ่มไลน์ที่กำหนด หรือประสานแจ้งข้อมูลได้ที่ ศปก.อว.โทร 02 354 5568 โทรสาร 02 354 5524-6

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน 2564


ที่มา: https://www.amarintv.com/news/detail/75611

"พงศธร จันทร์แก้ว" นักสังคมสงเคราะห์ด้านเด็กและครอบครัว นักเรียนทุนสหภาพยุโรป | Click on Clever EP.11

เพราะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นจึงอยากจะตอบแทนสังคมด้วยบทบาทนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมองเพื่อนมนุษย์อย่างเข้าอกเข้าใจ

.

.

คติประจำใจจาก "Shai Reshef" (ผู้ก่อตั้งและประธานของมหาวิทยาลัยประชาชน)

“When you educate one person you can change a life, when you educate many you can change the world.”

“เมื่อคุณให้การศึกษากับคนหนึ่งคน คุณเปลี่ยนชีวิตได้ แต่ให้การศึกษากับคนหลายคน คุณสามารถเปลี่ยนโลกได้”


- Shai Reshef (ผู้ก่อตั้งและประธานของมหาวิทยาลัยประชาชน)

4 สาวเพื่อนซี้ ชวนมาค่าย Chinese Camp | เพื่อนซี้หนี่ห่าว EP.9

 

4 สาวเพื่อนซี้ ชวนมาค่าย Chinese Camp ค่ายภาษาจีน ที่จะฝึกทักษะภาษาจีนเน้น ๆ กิจกรรมมันส์ ๆ พร้อมพักรีสอร์ทชิล ๆ

.

.

“แพทริเซีย ธัญชนก กู๊ด” นักแสดงสาวที่ทั้งสวย มากความสามรถ และเรียนเก่งสุด ๆ ถึงงานจะรัดตัว แต่เธอยังสามารถแบ่งเวลาเรียนและทำงานได้เป็นอย่างดี จนเรียนจบตามแผน คว้าเกียรตินิยมอันอันดับ 1 มาครองได้สำเร็จ

“แพทริเซีย ธัญชนก กู๊ด” เรียนจบปริญญาตรี จากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 (ปีการศึกษา 2561) ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.70

ถึงแม้ว่าจะต้องทำงานไปควบคู่กับการเรียน เธอก็สามารถทำทั้งสองหน้าที่ได้อย่างดีมาโดยตลอด อีกทั้งเธอได้ไปสอบ IELTS ทดสอบเกี่ยวกับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ผ่านด้วยคะแนน 8 เต็ม 9


ที่มา: https://campus.campus-star.com/variety/135816.html

คติประจำใจจาก "Benjamin Franklin" (หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา)

“An investment in knowledge pays the best interest.”

"การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด คือการลงทุนในความรู้”


- Benjamin Franklin (หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา)

ทำความรู้จัก 5 เมืองที่น่าเรียนที่สุดในเอเชีย จัดอันดับโดย QS Best Student Cities Ranking 2019 โดยพิจารณาจากค่าครองชีพ ความพึงพอใจ การจ้างงาน และมุมมองของนักศึกษา

ทวีปเอเชียถือเป็นทวีปที่มีความหลากหลายทางอารยธรรมและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ ในด้านการศึกษาทวีปเอเชียก็ไม่แพ้ทางฝั่งตะวันตก หลาย ๆ เมืองมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ 

ทำความรู้จัก 5 เมืองที่น่าเรียนที่สุดในเอเชีย จัดอันดับโดย QS Best Student Cities Ranking 2019 โดยพิจารณาจากค่าครองชีพ ความพึงพอใจ การจ้างงาน และมุมมองของนักศึกษา

โตเกียว

QS Best Student Cities Ranking 2019 จัดให้โตเกียวเป็นเมืองที่เหมาะกับนักเรียนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โตเกียวเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลกถึง 13 แห่ง และได้คะแนนอยู่ในระดับดีในด้านความพึงพอใจ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสามของศูนย์กลางทางการเงินชั้นนำของโลก (อีก 2 แห่งคือนิวยอร์กและลอนดอน)

ในด้านการสื่อสารเป็นที่ทราบกันดีว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้สื่อสารภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย ทางมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จึงเปิดคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับนักศึกษาต่างชาติด้วย

กรุงโซล
.
เมืองแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 10 ของโลก มหาวิทยาลัยทั้ง 18 แห่งในกรุงโซลต่างมีชื่อเสียงและมีจุดเด่น โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)

ฮ่องกง

ด้านการศึกษา ได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 14 ของโลก รวมถึงมีคะแนนที่สูงในหมวดการจ้างงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่ต้องการบัณฑิตจบใหม่

มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ Hong Kong University of Science and Technology (HKUST), The University of Hong Kong, The Hong Kong Polytechnic University และ The Chinese University of Hong Kong (CUHK)

เกียวโต - โอซาก้า – โกเบ

ได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 18 ของโลก
.
มหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกียวโต (สถาบันที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในญี่ปุ่น) มหาวิทยาลัยโอซาก้าและมหาวิทยาลัยโกเบ

นอกจากโปรแกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนต่างชาติได้เรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การป้องกันภัยพิบัติ อะนิเมะและมังงะ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของประเทศญี่ปุ่นเลย

สิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดฮิตของของนักเรียนต่างชาติ เพราะมีอัตราการก่ออาชญากรรมและการว่างงานต่ำ อีกทั้งได้รับการจัดอันดับ QS Best Student Cities Ranking 2019 ในอันดับที่ 20 ของโลกและมีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ National University of Singapore (NUS) และ Nanyang Technological University (NTU) นอกจากนี้มหาวิทยาลัยนานาชาติหลายแห่งยังได้เปิดสอนหลักสูตรการเรียนที่มีความหลากหลาย 


ขอบคุณที่มา:

https://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/applying-to-university/best-students-cities-in-asia/?fbclid=IwAR3AcNbzaevebn-NZByRzvXdT2WNk2mDkHFVSBRM2BIJ-9SSMFsypabAwv0
 

ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจสายงาน IT เปิดรับสมัครแล้ว!! กับโครงการพัฒนาโมเดลสะเต็มศึกษาสู่โลกอาชีพ (Career Academies) รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน อบรมหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน และ 6 เดือน

เป็นอีกหนึ่งทุนการศึกษาเต็มจำนวนที่น่าสนใจ จากศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด รับรองว่าทั้ง 2 หลักสูตรที่เปิดสอน จะช่วยเปิดโอกาสมีงานทำในหน่วยงาน และสถานประกอบการหลังจบหลักสูตร รายละเอียดทุนเพิ่มเติมดังนี้

#1 นักพัฒนาเว็บไซต์ และ Chatbot เพื่อธุรกิจออนไลน์ หลักสูตร 3 เดือน

มูลค่าทุนการศึกษา:

– Full Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร และได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ด้านที่พักอาศัย ค่าเดินทาง และค่าอาหาร ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

– Academic Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร

ระดับการศึกษา:

– สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เช่น ปวช. หรือ ปวส.

– หรือจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รูปแบบการอบรม: อบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วันจันทร์ – ศุกร์ วันละ 9 ชั่วโมง

ระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร: 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2564

คุณสมบัติผู้สมัคร:

– มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเสาร์ ที่ 31 สิงหาคม 2564

– มีสัญชาติไทย และต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย

– ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการอบรม

– ไม่เคยหรือถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติไม่เหมาะสม

สมัครได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe66cIqFcfB6xgQbhXJH2IwVhKpgjVKT6bvNjZr_mQDq9n_Mw/viewform

ปิดรับสมัคร: 23 เมษายน 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1hz6bnveGAdL7tCpB9CVj39GxwOLD7-TB/view?fbclid=IwAR3Aad7caRL7r3DetlzBis1JJgYEmd1CM4zwhnuTSD18KZS93GDL_eP8q-k

#2 นักพัฒนาซอฟท์แวร์ หลักสูตร 6 เดือน

มูลค่าทุนการศึกษา:

– Full Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร และได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ด้านที่พักอาศัย ค่าเดินทาง และค่าอาหาร ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

– Academic Scholarship ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร

ระดับการศึกษา:

– สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า เช่น ปวช. หรือ ปวส.

– หรือจะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

รูปแบบการอบรม: อบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วันจันทร์ – ศุกร์ วันละ 9 ชั่วโมง

ระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร: 1 กันยายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565

คุณสมบัติผู้สมัคร:

– มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

– มีสัญชาติไทย และต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย

– ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการอบรม

– ไม่เคยหรือถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความประพฤติไม่เหมาะสม

สมัครได้ที่: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSe66cIqFcfB6xgQbhXJH2IwVhKpgjVKT6bvNjZr_mQDq9n_Mw/viewform

ปิดรับสมัคร: 7 พฤษภาคม 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม: https://drive.google.com/file/d/1jQDJTHrIXdWWHdHgSqcI8VsJGvdHPo2U/view?fbclid=IwAR3n8cHL1IF3U5Rv1GJEh-EpCa4cqwb5NbiqAwBmPMsL0ODOLqfidVLUIic

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติม

https://www.chevronenjoyscience.com/th/career-academies


ขอบคุณที่มา: https://www.scholarship.in.th/stem-career-academies-scholarships/

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สสวท. เผยแพร่รายงานผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์) ดาวน์โหลดฟรี! พร้อมตัวอย่างข้อสอบ PISA : สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

การสอบ PISA เป็นการจัดทดสอบความสามารถในด้าน ‘การรู้เรื่อง’ (Competency) ของนักเรียนอายุ 15 ปีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก จัดทดสอบโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD)

ข้อสอบ PISA จะประเมิน ‘การรู้เรื่อง’ ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน โดยที่ไม่ได้อ้างอิงกับเนื้อหาหรือหลักสูตรใดๆ เป็นการเฉพาะ

รายงานผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์)

ดาวน์โหลดฟรี >> https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/

PISA 2018 เป็นรอบการประเมินที่เน้นการอ่านเป็นการประเมินหลักครั้งที่สามถัดจาก PISA 2000 และ PISA 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนรู้ด้านการอ่านของนักเรียนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป รายงานฉบับนี้จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประเมิน PISA 2018 ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาต่อไป

https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/

------------------------------------

ตัวอย่างข้อสอบ PISA : สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก

ฝึกทำโจทย์ >> https://pisaitems.ipst.ac.th/quiz_global

ขณะนี้ทาง OECD ได้อนุญาตให้เผยแพร่ข้อสอบ "สมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก" จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่

1. การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

2. เรื่องเล่าเพียงเรื่องเดียว

3. เสื้อผ้าตามหลักจริยธรรม

4. นักกีฬาโอลิมปิกผู้ลี้ภัย

5. นโยบายด้านภาษา

ข้อสอบนี้เป็นข้อสอบวัดสมรรถนะการอยู่ในสังคมโลก ซึ่งเป็นนวัตกรรมการประเมินใหม่ที่มีในรอบการประเมิน PISA 2018 โดยข้อสอบดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้วและเป็นลิขสิทธิ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD)

จัดทำโดย : ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ที่มา:

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=3830429316993428&id=145276782175385&sfnsn=mo

เปิด (ปม) ภาคการศึกษา EP.2 : การต่อสู้ฝ่าฟันกับเด็กนับหมื่น สู่การคัดเลือกหลักพัน เป้าหมายสู่โรงเรียนมีชื่อ หรือไขว่คว้าการได้มาซึ่งโอกาส ในรั้วโรงเรียน ‘เตรียมอุดมศึกษา’

การศึกษาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ของชีวิต นอกจากการอบรมเลี้ยงดูแล้ว พ่อแม่ที่มีความพร้อมหลายท่านได้เตรียมเส้นทางการศึกษาที่ดีให้กับลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ  ในปัจจุบัน การศึกษาไม่ต่างกับการแข่งขันแย่งชิง เพราะความคาดหวังและค่านิยม ที่ต้องได้เข้าเรียนในโรงเรียนดัง เรียนดี กิจกรรมเด่น มีพรสวรรค์รอบด้าน เข้าถึงโอกาส มีสภาพแวดล้อม เติบโตในสังคมที่ดี  จึงไม่แปลกใจที่ทั้งตัวเด็กและผู้ปกครองฟันฝ่าทุกวิถีทาง เพื่อที่จะส่งลูกเข้าไปอยู่ในโรงเรียนแถวหน้าของประเทศ

หลายคนที่ผ่านช่วงวัยมัธยมศึกษามา น่าจะรู้จักหรืออาจเคยไปลองสนามสอบมาแล้วด้วยซ้ำ กับสนามสอบขนาดใหญ่ที่สุดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา มหกรรมการสอบของเด็กนับหมื่น ความฝันก้าวต่อของเด็กมัธยมปลาย การต่อสู้ที่ต้องดิ้นรน เพื่อเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ ‘โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา’

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (สพม.1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 64 ที่ผ่านมา ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ทำการจัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 ตั้งแต่เวลา เวลา 08.30 - 14.00 น. โดยการสอบครั้งนี้มีผู้เข้าสอบ จำนวน 12,765 คน จากทั่วประเทศ โดย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เปิดรับนักเรียน 1,520 คน ใน 8 แผนการเรียน

จากสถิติ ผู้เข้าสมัครสอบ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 12 ปีย้อนหลัง พบว่า จำนวนผู้เข้าสมัครสอบแตะหลักหมื่นทุกปี เด็กจำนวนมากฟิตเตรียมตัวอ่านหนังสือ ทำโจทย์มาเป็นปี ๆ เพื่อเป้าหมายเดียว ขณะที่บางคนก็อยากมาลองสนามสอบ วัดฝีมือ ถือเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตของเด็กสายสามัญ ผ่านการสนับสนุนและผลักดันของพ่อแม่ผู้ปกครอง เหตุใด เด็กทั้งหลายต้องต่อสู้ แข่งขันกับคนนับหมื่น สู่การเป็นผู้ถูกคัดเลือกในจำนวนหลักพัน

จากประวัติที่ยาวนาน ประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงสถิติและผลงานที่สร้างชื่อมารุ่นต่อรุ่นของเด็กเตรียมอุดมศึกษา อาจเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมเด็กจำนวนมากถึงใฝ่ฝัน ดิ้นรนเข้ามาเรียนที่นี่ 

งานแนะแนวโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เปิดเผยสถิติผลการเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ที่เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2563 พบว่า คณะที่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา เลือกเรียนมากสุด 10 อันดับ ได้แก่

1. คณะแพทยศาสตร์ 2. คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ 3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4. คณะอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ 5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี/เศรษฐศาสตร์/บริหาร 6. คณะนิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์/ศิลปกรรมศาสตร์ 7. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ 8. คณะเภสัชศาสตร์ 9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 10. คณะสัตวแพทยศาสตร์ 

ส่วนมหาวิทยาลัยที่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษาเลือกไปเรียนต่อ 9 ลำดับสูงสุด ได้แก่

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยมหิดล 3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6.  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8. มหาวิทยาลัยศิลปากร  9. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

แม้กระทั่งทุนทั้งในและต่างประเทศที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยม อาทิ ทุนเล่าเรียนหลวง ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ ทุนกระทรวงต่างประเทศ ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทุนรัฐบาลญี่ปุ่น นักเรียนเตรียมอุดมศึกษาก็เป็นกลุ่มที่สามารถคว้าโอกาส เป็นตัวแทนที่ได้รับคัดเลือกเป็นจำนวนมากทุกปี 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเหลื่อมล้ำมีอยู่ทั่วทุกที่ในสังคม ไม่เว้นแม้แต่ในระบอบการศึกษา จึงไม่แปลกใจ ที่เด็กและผู้ปกครองหลายคนต่างดิ้นรน ผลักดันตัวเองและลูกหลานเข้าไปอยูในจุดที่สามารถเข้าถึงโอกาส จะเห็นได้ว่า ทุนที่หลายคนใฝ่ฝัน มหาวิทยาลัยแนวหน้าของไทย รวมทั้งแนวโน้มการศึกษาต่อในต่างประเทศ เด็กเตรียมอุดมศึกษาไม่เคยต้องผิดหวัง แทบจะกวาดเรียบในทุกสนาม

เกิดข้อคำถามที่น่าสนใจว่า ทำไมการได้รับโอกาสทางการศึกษาถึงกระจุกตัวอยู่แค่ที่โรงเรียนมัธยมปลายชั้นนำอันดับ 1 แห่งนี้ ทั้ง ๆ ที่การยกระดับมาตรฐานโรงเรียนมัธยมควรจะกระจายตัว ขยายโอกาสไปสู่โรงเรียนอื่น ๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

เด็กมัธยมปลายหัวกะทิในโรงเรียนประจำจังหวัดบางคน มีศักยภาพไม่ต่างจากเด็กในเมืองหลวง แต่พวกเขาอาจไม่สามารถรับรู้ถึงโอกาส การเข้าถึงทุน เพียงเพราะไม่มีต้นทุนทางข้อมูล ไม่มีเครือข่าย ไม่มีรุ่นพี่ ไม่มีผู้ปกครองสนับสนุน ไม่รับรู้ข่าวสาร ไม่มีความพร้อม ไม่มีติวเตอร์ดี ๆ ไม่มีต้นทุนต่อยอด หากฉุกคิดถึงความเหลื่อมล้ำในจุดนี้ ก็นำไปสู่คำถามต่อมาคือ แล้วเป็นหน้าที่ของใครที่ต้องหาหนทางความเสมอภาค การจัดการมาตรฐานของโรงเรียนมัธยมให้เท่าเทียม หรือเป็นหน้าที่ของเด็กที่ต้องดิ้นรนด้วยตัวเอง?

อ้างอิงข้อมูล: งานแนะแนวโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926058

.

.

วิกฤตโควิดทำร้านหนังสือในจีนปิดกิจการกว่า 1,500 แห่ง แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กลับมีจำนวนร้านหนังสือ ‘เปิดใหม่’ มากกว่า 4,000 แห่งในปี 2020 ‘กรุงปักกิ่ง’ ครองแชมป์มีร้านหนังสือเปิดใหม่มากที่สุด

1.) วิกฤตโควิดทำให้ร้านหนังสือในจีนแบบมีหน้าร้าน ‘ปิด’ กิจการไปกว่า 1,500 แห่ง แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กลับมีจำนวนร้านหนังสือ ‘เปิดใหม่’ มากกว่า 4,000 แห่งในปี 2020

2.) กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีนยังคงครองอันดับเมืองชั้นนำด้านร้านหนังสือของประเทศ มีร้านหนังสือเปิดใหม่ 639 แห่ง

3.) กรุงปักกิ่งจึงได้รับรางวัล ‘เมืองหลวงแห่งร้านหนังสือ’ ประจำปี 2020 มอบโดย...สมาคมผู้จัดจำหน่ายหนังสือและวารสารแห่งประเทศจีน และสถาบันวิจัยการพิมพ์เป่ยต้าว

4.) ปักกิ่งสมควรได้ตำแหน่งนี้จริงๆ เพราะร้านหนังสือส่วนใหญ่มีการปรับปรุงพัฒนาสินค้ารวดเร็วมาก ทั้งนี้เพราะมีหลังบ้านดี มีการสนับสนุนเชิงนโยบาย นำนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้

5.) ร้านหนังสือในปักกิ่งอีกกว่า 30 แห่ง ยังได้รับรางวัลร้านหนังสือที่มียอดขายและบริการยอดเยี่ยม และประยุกต์ใช้นวัตกรรมยอดเยี่ยมอีกด้วย

6.) ในช่วงวิกฤตโควิด ร้านหนังสือแบบมีหน้าร้านได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะค่าใช้จ่ายด้านการจัดการ มีต้นทุนค่าเช่าที่ แต่ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจหนังสือในจีนใช่ว่าจะเงียบเหงา เพราะร้านค้าหนังสือออนไลน์แข่งขันกันเข้มข้นมาก

7.) ด้วยเหตุนี้ ร้านหนังสือยุคนี้ต้องดำเนินควบคู่กันไปทั้งหน้าร้านและออนไลน์ กิจกรรมจำเป็นที่ต้องมีคือ การไลฟ์สตรีมมิ่ง เพื่อเพิ่มยอดขายและชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงวิกฤตโควิด

ขอบคุณภาพและข้อมูล จาก...China sees growth in bookstores despite COVID-19 epidemic | www.xinhuanet.com/english/2021-03/31/c_139847629.htm


ที่มา: https://www.facebook.com/178839832836368/posts/791961954857483/?sfnsn=mo

ผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ อดีตนักพูดรางวัลระดับประเทศ "ธีร์วัฒน์ ชูรัตน์" | Click on clever Ep.10

 

เปิดเคล็ดลับการพูดของผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่ ฝีมือไม่ธรรมดา จากประสบการณ์การแข่งขันด้านการพูดได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย สู่อาชีพผู้ประกาศข่าว ที่นอกจากอาศัยทักษะการพูดแล้ว ยังต้องพัฒนาตัวเองด้านอื่น ๆ ในทุก ๆ วัน

.

คติประจำใจจาก "Mortimer J. Adler" นักเขียน นักปรัชญา นักวิชาการชาวอเมริกัน

“Reading is a basic tool in the living of a good life.”

"การอ่าน เป็นพื้นฐานของการมีชีวิตที่ดี"


Mortimer J. Adler (นักเขียน นักปรัชญา นักวิชาการชาวอเมริกัน)

แต่งประโยคจากคำศัพท์ภาษาจีน กับ 4 สาวเพื่อนซี้ | เพื่อนซี้หนี่ห่าว EP.8

4 สาวเพื่อนซี้ เล่นเกมแต่งประโยคจากคำศัพท์ภาษาจีน ภายในเวลา 10 วินาที งานนี้ใครจะแพ้ ใครจะชนะ ไปเอาใจช่วยกัน!! พร้อมจัดเต็มคำศัพท์ภาษาจีนที่สาว ๆ ยกมาฝาก

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top