Tuesday, 23 April 2024
VIDEO

THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์ที่เก้า พบกับเรื่องราวชีวิตและการเรียน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์นี้ 

????วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน - วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน

⏰ทุกวัน เวลา 2 ทุ่มตรง 

พบกับเรื่องราวชีวิตและการเรียน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????EP.41 วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน
คุณต่าย วลินญา พรมขอนยาง Bachelor of Business Administration, AIMS INSTITUTES-Bangalore University, ประเทศอินเดีย

????EP.42 วันอังคารที่ 15 มิถุนายน
คุณนโม ปรมัตถ์ สมุทรสินธุ์ Gifted Math โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา GPA 4.00, นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2564

????EP.43 วันพุธที่ 16 มิถุนายน
คุณโอ๊ค คณิต คล้ายแจ้ง วิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด) เกียรตินิยมอันดับ 2 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

????EP.44 วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน
คุณแพท พัฒนพงศ์ แสงธรรม อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

????EP.45 วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน
คุณโอ๊ต วินิจพรรษ กันยะพงศ์ ปริญญาตรี-โท นิติศาสตร์, อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ (วิชาการออกแบบและสร้างสรรค์รายการ)

✅ดำเนินรายการโดย เจ THE STATES TIMES

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES / THE STATES TIMES

Click on Clear เขี่ยบอล เล่าเรื่องบอลก่อนเกม วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564

Click on Clear เขี่ยบอล เล่าเรื่องบอลก่อนเกม ประจำวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564

โปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลยูโร​ 2020​ วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564

20.00 น. กลุ่ม ดี : อังกฤษ - โครเอเชีย / สนาม : เวมบลีย์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

23.00 น. กลุ่ม ซี : ออสเตรีย - นอร์ธ มาซิโดเนีย / สนาม : อารีนา เนชันนาลา กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย

02.00 น. กลุ่ม ซี : เนเธอร์แลนด์ - ยูเครน / สนาม : โยฮัน ครัฟฟ์ อารีนา กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES และ เบล ขอบสนาม
.

.

Click on Clear THE TOPIC EP.2/4 จับประเด็น เน้นความรู้ ตอน ปัญหาที่ดิน คือ รากฐานของความเหลื่อมล้ำ

Click on Clear THE TOPIC EP.2/4 จับประเด็น เน้นความรู้ ตอน ปัญหาที่ดิน คือ รากฐานของความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินในมือคนมีอันจะกิน ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การกระจายอำนาจและวางแผนแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างจริงจังเท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาที่ดิน คือ รากเหง้าของปัญหาความเหลื่อมล้ำ

พบกับ มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล 

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES

.

.

Click on Clear เขี่ยบอล เล่าเรื่องบอลก่อนเกม วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2564

Click on Clear เขี่ยบอล เล่าเรื่องบอลก่อนเกม ประจำวันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2564

โปรแกรมการแข่งขันฟุตบอลยูโร​ 2020​ วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2564

20.00 น. กลุ่ม เอ : เวลส์ - สวิตเซอร์แลนด์ / สนาม : โอลิมปิก สเตเดียม กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

23.00 น. กลุ่ม บี : เดนมาร์ก - ฟินแลนด์ / สนาม : พาร์เคน สเตเดี้ยม กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

02.00 น. กลุ่ม บี : เบลเยียม - รัสเซีย / สนาม : เครสตอฟสกี สเตเดียม เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES และ เบลล์ ขอบสนาม

.

.

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 11 มิถุนายน 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 11 มิถุนายน 2564 กับ ประเด็น ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ประจำวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 10 มิถุยายน 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 10 มิถุยายน 2564 กับ ประเด็นคืบหน้าการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ศธ.ยัน เปิดเทอม 14 มิถุนายน กำหนดการเดิม

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 9 มิถุนายน 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 9 มิถุนายน 2564 กับประเด็น ปลดล็อกท้องถิ่นนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 พูดคุยสถานการณ์โควิด-19 กับคนไทยในประเทศอินเดีย

สัมภาษณ์สด คุณอภิรมย์ รอดปฐม คนไทยในประเทศอินเดีย
.

.

คุณตอง ดร. ตฤณห์ โพธิ์รักษา | THE STUDY TIMES STORY EP.37

บทสัมภาษณ์ คุณตอง ดร. ตฤณห์ โพธิ์รักษา ปริญญาเอกคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยา สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
นักอาชญาวิทยา ผู้ตัดสินใจศึกษาต่อด้านอาชญาวิทยา เพื่อต่อยอดความรู้ในศาสตร์ที่สนใจ

ปัจจุบันคุณตองเป็นนักอาชญาวิทยาและอาจารย์พิเศษสอนวิชาอาชญาวิทยาและปรัชญา 

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เนื่องจากธรรมศาสตร์มีการเปิดสาขาการวิจัยทางสังคมขึ้นมาเป็นปีแรก ซึ่งงานวิจัยในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย จึงเกิดความคิดว่าน่าจะเป็นการดีถ้าเป็นรุ่นแรกที่ได้เรียน เป็นจุดเริ่มต้นให้คุณตองเข้าเรียนปริญญาตรี ในคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาการวิจัยทางสังคม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

หลังจบปริญญาตรี คุณตองได้ไปลองสอบตำรวจ เป็นได้ประมาณ 6-7 ปี หลังจากนั้นรู้สึกว่าภาพตำรวจที่วาดฝันกับงานที่ได้ทำจริงมีความแตกต่างกันมาก เกิดความรู้สึกว่านี่อาจจะไม่ใช่ทางของเรา จากนั้นสนใจอยากศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมเพิ่ม เพื่อนำมาพัฒนางานตำรวจ ซึ่งศาสตร์อาชญาวิทยาในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก จึงตัดสินใจไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ

คุณตองเล่าว่า ศาสตร์อาชญาวิทยามีมานาน 200 กว่าปี แต่มีชื่อเสียงอยู่ในฝั่งยุโรป แทบทุกมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษจะมีคณะอาชญาวิทยา แต่ในประเทศไทยมีแค่ 1-2 มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในปัจจุบัน ซึ่งการเรียนปริญญาโทที่อังกฤษใช้เวลาเรียนแค่ 1 ปีเท่านั้น แต่ช่วงเวลาที่เข้า Coursework จริงเพียงแค่สี่เดือน ส่วนเวลาที่เหลือต้องมานั่งทำวิทยานิพนธ์เอง อยู่อังกฤษรวมๆ แล้วเกือบสองปี จนสามารถจบการศึกษา Graduated M.Sc. Criminology and Criminal Justice ที่ University of Portsmouth มาได้

คุณตองเล่าว่า ด้วยความที่ไม่เคยเรียนอาชญาวิทยามาก่อน การไปเรียนที่อังกฤษเหมือนกับการปูพื้นฐานใหม่ เรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอาชญาวิทยาตั้งแต่ 200 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ยุคล่าแม่มด วิธีการค้นหาบุคคลต้องสงสัยว่าเป็นแม่มด กระบวนการลงโทษคนผิดเมื่ออดีต ต่อมาคือเรียนวิชาทฤษฎีที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทั้งหมด สาเหตุใดบ้างที่ทำให้คนๆ นึงก่ออาชญากรรม หรือเป็นอาชญากร 

สำหรับนักอาชญาวิทยาในประเทศไทย จะไปช่วยอยู่ในหลายเซคชั่นของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นไกด์แนวทางตำรวจ ศึกษาไปถึงความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของอาชญากร และการฟื้นฟูผู้ต้องขัง ให้สามารถหวนคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ

หลังเรียนจบปริญญาโทที่อังกฤษ คุณตองเริ่มรู้สึกอยากเรียนลึกไปถึงสาเหตุและจุดเริ่มต้นของการก่อตัวของอาชญากรรม จึงเข้าเรียนต่อปริญญาเอกคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยา สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นได้เป็นอาจารย์พิเศษรับสอนวิชาอาชญาวิทยา วิชาทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม 

ความแตกต่างด้านการเรียนอาชญาวิทยาที่ไทยกับอังกฤษนั้น คุณตองเล่าว่า ของอังกฤษจะเน้นสอนอะไรที่เป็นทั่วไป แต่ที่ประเทศไทยจะลงลึกในกระบวนการยุติธรรม หรือสภาพแวดล้อมของประเทศไทย การดัดแปลงความรู้จากต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย ความแตกต่างจะอยู่ที่การปรับใช้ได้จริง 

คุณตองแนะนำสำหรับคนที่สนใจศึกษาอาชญาวิทยา ว่า อาชญาวิทยา เป็นสหวิทยาการ คือไม่ใช่ศาสตร์ที่มีความเข้นข้นในตัวเอง เป็นสหวิชาที่ต้องอาศัยความรู้ในหลายๆ ด้านมาบูรณาการ จะเรียนปริญญาตรีอะไรมาก่อนก็ได้ จากนั้นค่อยไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ซึ่งมหาวิทยาลัยในไทยที่เปิด ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรังสิต 

คุณตองฝากทิ้งท้ายไว้ว่า อาวุธของเราทุกวันนี้ อยู่แค่ในมือของเรา ความรู้ทุกอย่าง หนังสือเป็นล้านเล่ม สามารถเข้าถึงได้ผ่านมือถือ ไม่จำเป็นว่าอยากมีความรู้อะไรต้องดั้นด้นบินไปถึง คณาจารย์หลายๆ ท่านที่เป็นนักอาชญาวิทยาได้เขียนบทความไว้ให้น้องๆ ได้ศึกษาเบื้องต้น มือถือเป็นเหมือนอาวุธอย่างดีในการหาความรู้ 

.

.

.

.

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2564 กับประเด็น ตามติดการฉีดวัคซีนโควิด-19 และการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คุณเบลล์ ณิชาธร ตั้งคุปตานนท์ | THE STUDY TIMES STORY EP.36

บทสัมภาษณ์ คุณเบลล์ ณิชาธร ตั้งคุปตานนท์ นักเรียนหญิงไทยคนแรกที่ได้รับเข้าศึกษาต่อที่ UC  Berkeley M.E.T. Program 
สาวน้อยมหัศจรรย์ นักดนตรีและนักกีฬา ครบเครื่องทั้งเรียนและกิจกรรม

ปัจจุบันคุณเบลล์ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี เรียน EP Program หลักสูตรที่เรียนจะเรียนเหมือนกับระดับวิทยาลัย ซึ่งจะขั้นสูงกว่ามัธยมทั่วไป ซึ่งผลการสอบ EP ก็สามารถนำไปยื่นเทียบวิชาในระดับมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งตอนนี้คุณเบลล์ยื่นเทียบได้ 13 วิชา

ขณะที่เรียนอยู่โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี คุณเบลล์ได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ ตอนเกรด 8 (ม.2) ทำกิจกรรมเป็นสภานักเรียน เกรด 9-10 เป็นประธานนักเรียนหรือประธานรุ่น และในเกรด 12 ซึ่งคือปีนี้ เป็นรองประธานของเครือโรงเรียนมัยธยมนานาชาติ 

นอกจากนี้ในกิจกรรม National Honor Society ของปีนี้ คุณเบลล์เองก็ได้เป็นประธาน สิ่งที่ทำคือ ส่งเสริม 4 ด้าน 1.) ทุนการศึกษา 2.) ความเป็นผู้นำ 3.) การบริการ 4.) การพัฒนาตัวเอง 

ส่วนของชมรมที่เข้าร่วม 1.) นวัตกรรมและการออกแบบ มีการออกแบบเครื่องมือการทำงานโดยใช้  Design Thinking (ความคิดแบบสร้างสรรค์) ในการแก้ปัญหา มีการทำกิจกรรมต่างๆ ระดมทุน เพื่อบริจาคให้กับเด็กที่ด้อยโอกาส 2.) การเงินและการลงทุน สอนเรื่องของการเล่นหุ้น ปกติจะมีไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์การลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ แต่ด้วยสถานการณ์โควิดจึงไม่ได้ไป
 
ในส่วนของกิจกรรมที่นอกเหนือจากเรื่องการเรียน คุณเบลล์ยังเป็นทีมกัปตัน Soccer และเคยเข้าร่วมกิจกรรมการโต้วาทีภาษาอังกฤษ ได้รับรางวัล รวมทั้งขึ้นเวที TEDx Talks 

เทคนิคการเรียนและการจัดสรรเวลาของคุณเบลล์ อยู่ที่การจัดตารางให้ดี แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.) การเรียน 2.) โปรเจคและชมรมในโรงเรียน 3.) โปรเจคและชมรมนอกโรงเรียน 4.) อื่น ๆ เช่น กีฬา ดนตรี 

คุณเบลล์แนะนำแอพที่มีชื่อว่า todoist สำหรับทำ To do list จัดตารางเวลาสิ่งที่ต้องทำ ส่วนในคาบเรียนแนะนำให้จดและเขียนชีทให้มาก ในการติวสอบ ข้อไหนผิดคุณเบลล์จะลิสต์มาและทำใหม่ทั้งหมด พร้อมแนะนำว่า เราควรโฟกัสข้อที่ผิด หรือข้อที่ไม่แน่ใจให้เยอะที่สุด และทำซ้ำๆ ซึ่งการทำซ้ำเป็นสิ่งที่ดีมาก 

ขณะนี้คุณเบลล์ตอบรับเข้าศึกษาต่อ UC Berkeley MET Program ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง MET เป็นโปรแกรม ที่ร่วมกันระหว่างหลักสูตรวิศวกรรม และธุรกิจ และเมื่อจบแล้วจะได้รับปริญญาทั้ง 2 สำหรับคุณเบลล์เน้นเรียนระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสายการผลิตเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ 

เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกที่นี่ เพราะคุณเบลล์เคยไปเรียนซัมเมอร์ที่ UC Berkeley มาก่อน มีความชื่นชอบ อีกทั้งไม่ชอบเรียนเฉพาะทฤษฎีเพียงอย่างเดียว อยากเรียนโดยการทำกิจกรรม ซึ่ง UC Berkeley MET Program ตอบโจทย์ นอกจากนี้ คุณเบลล์ถือเป็นนักเรียนหญิงคนแรกที่ได้เข้าเรียนใน MET Program

คุณเบลล์คิดว่าโปรแกรมนี้น่าจะทำให้คุณเบลล์มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ เพื่อในอนาคตจะได้เป็นนักธุรกิจได้ด้านเทคโนโลยีอย่างที่ฝันไว้ แล้วการที่มหาวิทยาลัยนี้อยู่ใกล้กับ Silicon Valley ยิ่งตอบโจทย์ เพราะเป็นโอกาสดีที่จะเรียนรู้เรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยี

สำหรับเทคนิคการเตรียมตัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยระดับโลกของคุณเบลล์ มองว่า การเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ เราอาจเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่ง ต้องนำเสนอให้เห็นถึงคุณค่าและลักษณะเฉพาะ บางครั้งการเก่งทุกเรื่องอาจจะทำให้ดูเหมือนไม่มีโฟกัส สำหรับตัวคุณเบลล์ที่ทำกิจกรรมหลายอย่าง แต่ว่าสุดท้ายแล้วทุกๆ อย่างสามารถไปด้วยกันได้ผ่านการเขียน Essay ให้ชัดเจนว่าแต่ละกิจกรรมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร นอกจากนี้คะแนนต่างๆ ต้องอยู่ในระดับสูง ส่วนการเขียน Essay ต้องมี personal story ที่จริงใจ ไม่ได้แต่งขึ้นมาเอง

คุณเบลล์เล่นเครื่องดนตรีฮาร์ป โดยมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจมาจาก เมื่อ 5 - 6 ปีที่แล้ว ได้เดินทางไปที่โรสการ์เด้น รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา และได้พบกับนักเล่นดนตรีพิณ รู้สึกว่ามีออร่าออกมาเหมือนนางฟ้า เสียงไพเราะ ทุกอย่างดูดีไปหมด หลังจากกลับมาเมืองไทยจึงได้เริ่มต้นเรียนฮาร์ป และมาเรียนแบบส่วนตัวกับอาจารย์ Tong Juan Wang ซึ่งที่ผ่านมาคุณเบลล์เคยแสดงเดี่ยวฮาร์ปในงานเลี้ยงภายในของบริษัท OMEGA นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลและได้รับคำเชิญไปเล่นที่งานต่างๆ มากมาย 

ถึงแม้ว่าการเล่นฮาร์ปจะได้ไปแสดงหลายที่และได้รับรางวัลมากมาย แต่คุณเบลล์อยากสร้างเรื่องของ Social impact ให้มากขึ้น จึงนึกถึง Harp Therapy การใช้ดนตรีบำบัด ซึ่งจากการทำโครงการในโรงพยาบาลมา มีผลว่า ความเครียดของผู้ป่วยลดลงมากถึง 78%  หลังได้รับฟัง Harp Therapy คุณเบลล์เองดีใจมากที่มีส่วนช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูทางความรู้สึกและสุขภาพจิต

สุดท้ายหากมีน้องๆ คนไหนอยากติดตามหรือสอบถามเรื่องเรียน สามารถติดตามคุณเบลล์ได้ทาง Instagram: @bbellebellexx หรือ อีเมลล์ [email protected] 

.

.

.

.
 

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2564 กับประเด็น D-DAY ฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ครั้งประวัติศาสตร์ และคุยสดๆ กับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์ที่แปด พบกับเรื่องราวชีวิตและการเรียน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????THE STUDY TIMES STORY สัปดาห์นี้ 

????วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน - วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน

⏰ทุกวัน เวลา 2 ทุ่มตรง 

พบกับเรื่องราวชีวิตและการเรียน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

????EP.36 วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน
คุณเบลล์ ณิชาธร ตั้งคุปตานนท์ นักเรียนหญิงไทยคนแรกที่ได้รับเข้าศึกษาต่อที่ UC  Berkeley M.E.T. Program

????EP.37 วันอังคารที่ 8 มิถุนายน
คุณตอง ดร. ตฤณห์ โพธิ์รักษา ปริญญาเอกคณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยา สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

????EP.38 วันพุธที่ 9 มิถุนายน
คุณจ๋า สุจิตรา มหาคุณ เจ้าของ StudyWiz สถาบันแนะแนวการศึกษานานาชาติ

????EP.39 วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน
คุณนุ่น บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผู้ประกาศข่าว Thai PBS

????EP.40 วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน
คุณโอ สุพิชญา ณ สงขลา ปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ เอกคหกรรม สาขาอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นักแสดงอิสระ

✅ดำเนินรายการโดย เจ THE STATES TIMES

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES / THE STATES TIMES

Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/3 ตอน ประวัติศาสตร์ชาตินิยม คือ การแบ่งแยกคนชาติพันธุ์ออกจากความเป็นคนไทย 

Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/3 ตอน ประวัติศาสตร์ชาตินิยม คือ การแบ่งแยกคนชาติพันธุ์ออกจากความเป็นคนไทย 

การไม่ยอมรับว่าสังคมไทยเป็นพหุทางวัฒนธรรม ทำให้คนชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ ถูกแบ่งแยกออกไปโดยปริยาย แล้วคนเหล่านั้นมักจะถูกละเมิดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

พบกับ มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล 

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES
.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คุณไบร์ท ชนปทิน พลาพิภัทร | THE STUDY TIMES STORY EP.35

บทสัมภาษณ์ คุณไบร์ท ชนปทิน พลาพิภัทร ปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง 2 ใบ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ GPA 4.00 The University of Texas at Austin, สหรัฐอเมริกา
เมื่อทำเหตุผลถูก ผลก็จะถูกตาม เรียนในสิ่งที่รัก แล้วเราจะทำได้ดี

ปัจจุบันคุณไบร์ทเป็นผู้บริหารบริษัท Premier Education ทำในหลายยูนิตที่เกี่ยวกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ในการไปเรียนต่อต่างประเทศ (อเมริกา, อังกฤษ) โรงเรียนกวดวิชา Premier Prep ช่วยนักเรียนชิงทุนการศึกษา เรียนต่อโปรแกรมอินเตอร์ในประเทศไทย เป็นต้น

ย้อนกลับไปสมัยมัธยม คุณไบร์ทเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นตัวแทนฟิสิกส์โอลิมปิกระดับนานาชาติ และระดับเอเชีย ได้ประสบการณ์ที่ดี เพราะได้เจอเพื่อนที่มีความสนใจในวิชาคล้ายๆ กันจากประเทศต่างๆ มีคอนเนคชั่นกับเพื่อนในหลายประเทศ การเป็นตัวแทนฟิสิกส์โอลิมปิก ใช้เวลาเตรียมตัวกว่า 3 ปี มีทั้งการเข้าค่าย เก็บตัว เข้าเรียน และฝึกทำโจทย์

คุณไบร์ทเป็นนักเรียนทุน ปตท. สผ. ได้ทุนเรียนในระดับปริญญาตรี การตัดสินใจชิงทุนมาจากความสนใจในวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ทำให้รู้ตัวว่าอยากเรียนในแนวทางของวิศวะ จนพบว่า ปตท. สผ. ให้ทุนไปเรียนต่อวิศวกรรมด้านปิโตรเลียม ซึ่งใช้ความรู้ด้านฟิสิกส์ค่อนข้างเยอะ คิดว่าน่าจะเหมาะกับความสนใจและศักยภาพ จึงตัดสินใจเลือกสาขานี้

ปกติแล้วการให้ทุนรูปแบบนี้จะเป็นการให้ทุนร่วมกับก.พ. การสอบและรับสมัครจะผ่านก.พ. ทั้งหมด โดยเลือกสมัครได้สองทุน การสอบของสายวิทย์ จะสอบในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) ภาษาอังกฤษ ไทย และสังคม แนวข้อสอบจะเป็นแนวเขียน จำเป็นต้องอ่านข่าว และใช้การอ่าน การวิเคราะห์เขียนลงไป เพื่อแสดงให้เห็นความสามารถในการคิด และการใช้ Critical Thinking

คุณไบร์ทเลือกเรียนวิศวกรรมปิโตรเลียม ที่ The University of Texas at Austin ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นอันดับ 1 ในสายวิศวกรรมปิโตรเลียม จากนั้นได้ศึกษาข้อมูลพบว่า คณะเศรษฐศาสตร์มี coursework หลายตัวที่ทับซ้อนกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ใน 4 ปี คุณไบร์ทสามารถเรียนจบครบ requirement ของทั้งสองเมเจอร์ ทำให้ได้ปริญญาตรีสองใบ คว้าเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง  GPA 4.00 อีกด้วย

คุณไบร์ทเล่าว่า ด้วยความที่หอพักอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยมาก ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง รวมทั้งอาศัยการวางแผนล่วงหน้า จัดตารางดีๆ ซึ่งตอนนั้นคุณไบร์ทก็ทำกิจกรรมค่อนข้างเยอะ เช่น เป็นประธานสมาคมนักเรียนไทย แต่สามารถบาลานซ์การเรียนและกิจกรรมได้ 

สำหรับเทคนิควิธีคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้ คุณไบร์ทกล่าวว่า ถ้าเราทำเหตุให้ถูก เดี๋ยวผลดีๆ จะตามมาแน่นอน การทำเหตุให้ถูก หมายความว่า เราตอบตัวเองให้ได้ว่าเราทำไปทำไม เพราะอะไร เกียรตินิยมหรือ GPA 4.00 ไม่ใช่เป้าหมายที่คิดว่าต้องทำให้ได้ แต่พยายามจัดตารางให้ดี พยายามหาทาง หาวิธี คิดว่าตอนนั้นมีแรง มีกำลังใจที่จะทำ เพราะมันมาจากเหตุที่ถูกต้องว่าอยากเรียนเพื่อความรู้จริงๆ   

ข้อดีของการเรียนในระบบอเมริกาที่คุณไบร์ทชื่นชอบคือ จะมีส่วนของคะแนนเก็บ และคะแนนสอบย่อยค่อนข้างเยอะ ทำให้ไม่สามารถทิ้งวิชาไหนได้ ต้องทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ผลที่ตามมาคือไม่ต้องไปอ่านหนังสืออัดเยอะในช่วงท้าย 

เคล็ดลับในการเรียนของคุณไบร์ท คือ ต้องรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง ใช้ให้ถูกจุด หลายๆ อย่างจะง่ายขึ้นเยอะ อาศัยการเรียนและการถามในห้อง ไม่ทิ้งหัวข้อที่ไม่เข้าใจไว้จนเป็นดินพอกหางหมู เคลียร์ความไม่เข้าใจของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

หลังกลับมาเมืองไทย ปัจจุบันคุณไบร์ทเป็นผู้บริหารบริษัท Premier Education ทำในหลายยูนิตที่เกี่ยวกับการศึกษา จากประสบการณ์ของคุณไบร์ท พบว่า ผู้ปกครองและน้องๆ หลายคน มักจะมองหาบริการทางการศึกษาระยะสั้น บริษัทของคุณไบร์ทจึงพยายามทำสิ่งที่มีผลดีระยะยาวต่อเด็ก เช่น กลุ่มของมัธยมปลาย ทำออกมาเป็นสองโปรแกรมหลัก คือ EduSmith  ที่จะช่วยให้เด็กไปได้ไกลที่สุดตามศักยภาพของตัวเอง และ Premier Prep เน้นเรื่องของการปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ พร้อมๆ กับการให้ Critical Thinking 

ทิ้งท้ายสิ่งที่อยากผลักดันด้านการศึกษาในประเทศไทย ภาพปัญหาหลักที่คุณไบร์ทมองเห็นคือ มหาวิทยาลัยกับภาคมัธยม หรือประถม บางทีอาจไม่ได้มีการประสานงานกันมาก มหาวิทยาลัยอยากได้นักเรียนที่มีทักษะแบบหนึ่ง ขณะที่ชั้นมัธยมเรียนมาอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น หลักสูตรมัธยมไม่รองรับกับการสอบกลุ่มที่มหาวิทยาลัยต้องการ กลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับนักเรียน 

ภาพที่อยากเห็นคือ การสื่อสารที่ชัดเจนว่าอยาจะให้เด็กเติบโตมาโดยมีทักษะอะไรบ้าง การรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยควรจะสอดคล้องกันกับการพัฒนานักเรียนในระดับมัธยม เพื่อเป็นการลดภาระให้กับนักเรียน เพราะเวลาว่างนอกเหนือจากการเรียน นักเรียนควรมีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองในด้านอื่นๆ ที่สนใจด้วยเช่นกัน


.

.

.
 

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2564

Click on Clear เที่ยงตรง ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2564 กับประเด็นสถานการณ์โควิด-19 มาเลเซียกับคนไทยในปีนัง

สัมภาษณ์สด คุณชลิดา สุขสร้อย CEO บริษัท ปีนัง เอ็ดดูเคชั่นเซนเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

.

.


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top