Friday, 28 June 2024
NEWS

สวนนงนุชพัทยา เปิดพื้นที่จัดงาน! “MICE Business Roadshow เส้นทาง Eastern Coastal Economic Rivera”

ในวันนี้สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ร่วมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดงาน “ MICE Business Roadshow เส้นทาง Eastern Coastal Economic Rivera ” โดยมี ว่าที่ ร.ต.เอนก นุรักษ์ รองประธานอุสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ผู้แทนประจำภาคกลาง และภาคตะวันออก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) , นางอำไพ ศักดานุกูลจิต สไลวินสกี้ ท่องเที่ยวและกีฬา จ.ปราจีนบุรี , นายภูริวัจน์ ลิ้มถาวรรัตน์ ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, นายขจรเดช อภิชาติตรากูล ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา เข้าร่วมประชุมงานดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำไปจัดทำเป็น Package สำหรับการประชาสัมพันธ์

ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 80 ท่าน โดยแบบการจัดงานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 Business Matching โดยมี Seller ประมาณ 30 หน่วยงาน 40 ท่าน และช่วงที่ 2 การเสวนา Debrief “Creative New Destination Eastem Coastal Rivera CVTE” ร่วมผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 80 ท่าน

นาย กัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา กล่าวต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ให้กับนักท่องเที่ยว ชาวไทย เวียดนาม กัมพูชา รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ที่สนใจโดยเชื่อมโยงเส้นทาง จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และได้อธิบายถึงความพร้อมสวนนงนุช พัทยา นอกจากความสวยงามของสวนในฐานะที่เป็น 1 ใน 10 สวนที่สวยที่สุดในโลกและ มีสวนสวย มากกว่า 40 สวน เราได้ตระหนักถึง การดูแลสุขภาพ ซึ่งสวนนงนุชพัทยาได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เรามีสวนเกษตร ปลูกผักอินทรีย์ เพื่อนำมาประกอบอาหาร ให้กับลูกค้า มีสวนสมุนไพร ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ สำหรับคนรักสุขภาพ มีคลินิกการแพทย์แผนไทย

 

คืบหน้าวัคซีน ‘ChulaCov19’ เตรียมเข้าเฟส 3 ชี้ กระตุ้นภูมิสูงกว่า ‘ไฟเซอร์’ คาดได้ใช้จริงปี 65

อัปเดต! วัคซีนจุฬาฯ ใกล้ความจริง ด้าน “หมอเกียรติ” เผยวัคซีน ChulaCov19 เตรียมเข้าเฟส 3 หากทุกอย่างตามแผนพร้อมผลิตใช้จริงเร็วสุด มิ.ย. 65 ขณะที่วัคซีนใบยา ยังขาดกลุ่มสูงอายุเข้าเป็นอาสาสมัคร เพื่อทดลองช่วง ธ.ค. นี้

จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 64 ได้อนุมัติโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 “ChulaCov19” mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีน เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน กรอบวงเงิน 2,316 ล้านบาท และเห็นชอบในหลักการโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (Baiya) กรอบวงเงิน 1,309 ล้านบาท ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (อว.) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2564

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 18 พ.ย. 64 มีการเสวนาความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ของจุฬาฯ “นวัตกรรมของไทย ความหวังของโลก” ผ่านเฟซบุ๊ก : Chulalongkorn University โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (วัคซีน ChulaCov19) กล่าวว่า ข้อมูล ณ ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไปแล้วกว่า 7.5 พันล้านโดส ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมประมาณ 3 พันกว่าล้านโดสมาจากจีน บราซิล อินเดีย ซึ่งช่วยชีวิตคนได้มาก และอีกเกือบ 2 พันล้านโดสเป็นเทคโนโลยี mRNA ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศรายได้สูง และอีกประมาณ 1 พันกว่าล้านโดสเป็นไวรัลแวกเตอร์ (Viral Vector)

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า หากเรารอวัคซีนไปเรื่อย ๆ โดยไม่พัฒนาเองคงไม่ได้ ประเทศต่าง ๆ จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่ครบถ้วนของตัวเอง รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งทั่วโลกมีนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 มากกว่า 200 - 300 ชนิด แต่ว่า 120 ชนิดเข้าในคน และ 14 ชนิดได้รับอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยพบว่ามี 8 ชนิดที่ให้ใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์โลก โดยประเทศไทยปัจจุบันมี 6 เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ส่วนจุฬาฯ มี 2 เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม คือ mRNA และโปรตีนซับยูนิต (subunit vaccine) แม้ไทยจะช้า แต่เราจะพึ่งตัวเองได้

“สำหรับจุฬาฯ ที่พัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ปัจจุบันเรามีการเตรียมวัคซีนรุ่น 2 และ 3 ไว้กรณีรุ่น 1 ไม่สามารถใช้หากโควิดข้ามสายพันธุ์ ซึ่งทดสอบในหนูแล้ว อย่างไรก็ตาม ในการทดลองอาสาสมัครระยะที่ 1 ตั้งแต่มิ.ย. 64 ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 36 คน อายุ 18-55 ปี และอีกกลุ่ม 36 คน สำหรับอายุมากขึ้น คือ อายุ 56-75 ปี หลังจากนั้นเลือกโดสที่เหมาะสมเพื่อไปสู่ระยะที่ 2 อีก 150 คน อายุ 18-59 ปี ทั้งหมดฉีดครบ 2 เข็มตามครบ 1 เดือน ข้อมูลทยอยออกมา” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ผลสรุปเบื้องต้นภาพใหญ่จำนวน 36 คน (อายุ 18-55 ปี) วัคซีนปลอดภัย มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย แต่จะดีขึ้นประมาณ 1-2 วันครึ่ง โดยภูมิคุ้มกันกระตุ้นทั้ง B Cell และ T Cell ได้สูง ซึ่งจุฬาฯ จับมือห้องปฏิบัติการทั้ง สวทช. และมหิดล ก็ไปในทางเดียวกัน ซึ่งข้อมูลมาจากห้องแล็บที่มีการให้วัคซีนทั้งโดสต่ำ โดสกลาง และโดสสูง และมีการเปรียบเทียบกับไฟเซอร์ รวมไปถึงดูเรื่องการข้ามสายพันธุ์ ทั้งอัลฟา เบตา และเดลตา ซึ่งป้องกันได้ ยิ่งโดสสูงก็ยิ่งป้องกันได้ นอกจากนี้ ยังทดสอบในเชื้อที่สังเคราะห์ขึ้น ก็ยืนยันไม่แตกต่างจากเชื้อจริงที่เรามีการทดลอง โดยการทดลองทั้งหมดพบว่า ข้ามสายพันธุ์ได้ทั้งหมดเช่นกัน

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า สำหรับคณะกรรมการกลางทางวิชาการที่ติดตามความปลอดภัยมีการพิจารณาว่า เมื่อโรคระบาดหนักขนาดนี้ หากใช้โดสต่ำ อาจต้องบูสเร็ว จึงตัดสินใจว่า เฟส 2 จะใช้โดสสูงเป็น 50 ไมโครกรัม ซึ่งได้ผ่านการอนุมัติจาก อย. และจะนำมาเปรียบเทียบระหว่างการฉีดวัคซีน ChulaCov19 และฉีดน้ำเกลือ (กลุ่มฉีดน้ำเกลือ 29 วัน เพื่อความปลอดภัยจะได้ไฟเซอร์) ประเด็นที่น่าสนใจคือ วัคซีนนี้กระตุ้น T Cell สูงมาก สูงกว่าไฟเซอร์ 2 เท่า แม้ภูมิฯ ตกมาหลัง 4 สัปดาห์ก็ยังใกล้เคียงกับไฟเซอร์

“ขณะนี้เราทดลองผ่านเฟส 1 และเฟส 2 มาแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณ อย. มากที่ทำงานเชิงรุก และให้ข้อแนะนำแนวทางที่ชัดเจน โดยเราเตรียมเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับคู่เทียบ คือ ไฟเซอร์ ว่า เราไม่ด้อยกว่า และปลอดภัยในอาสาสมัคร โดยวัคซีนขณะนี้ผลิตในประเทศไทย เป็น เมดอินไทยแลนด์ เสร็จเรียบร้อย มีการบรรจุขวดแล้ว เหลือรอตรวจประกันคุณภาพ ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปตามแผนจะรับอาสาสมัครได้ก่อนสิ้นปี และฉีดจริงต้นปี คาดว่าจะเสร็จภายใน มี.ค. และรวบรวมข้อมูลเพื่อขึ้นทะเบียนต่อไป” ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 จุฬาฯ กล่าว

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หากได้ขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉินก็ต้องรับเงื่อนไข อย. ที่เป็นมาตรฐานสากล โดยต้องติดตามคนฉีดวัคซีน ChulaCov19 อีก 3 หมื่นคน และเก็บข้อมูลความปลอดภัย ประสิทธิผลว่าได้อย่างไร แต่ความจริงคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน อาจเหลือไม่มาก ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคู่ขนาน คือ การฉีดกระตุ้นเข็ม 3 จึงต้องเริ่มเตรียมทดสอบในอาสาสมัครอายุน้อยลงด้วย

“ก่อนหน้านี้ท่านนายกรัฐมนตรี ได้มาเยี่ยมที่จุฬาฯ ซึ่งท่านรับฟังปัญหาและทางออกจริงจังมาก ผมเสนอว่า หากอยากเห็นอย่างน้อย 1 วัคซีนไทยได้ขึ้นทะเบียนในปีหน้า หากโชคดีเร็วกว่านั้นจะเป็นของขวัญปีใหม่ไทย จึงควรให้งบฯ เหมือนในต่างประเทศ โดยมีงบฯ 3 พันล้านบาทต่อ 1 วัคซีน มากองไว้ และมีระบบในการอนุมัติเงินเป็นกรอบ ขั้นตอนการอนุมัติต้องมีความคล่องตัว ซึ่งท่านได้ให้ฝ่ายสำนักงานเลขาธิการประสานกับเราตลอดเวลา ว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน ซึ่งท่านรักษาสัญญา โดยเงินที่เราขอไป 2.3 พันล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน โดย 1.3 พันล้านเป็นส่วนพัฒนาวัคซีน ทดลองในอาสาสมัคร ส่วนอีก 1 พันล้านเป็นค่าใช้จ่ายวัตถุดิบและการผลิตหลักล้านโดสขึ้นไป ทั้งหมดทำให้การทำงานง่ายขึ้น จึงต้องกราบขอบพระคุณ และจะใช้ทุกบาททุกสตางค์อย่างรอบคอบ และใช้ตามจริง” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

ทบ. จัดแถวพลขับ - รถทหาร 3,700 คัน หลังรถบรรทุกขู่หยุดขนส่งสินค้าสิ้นเดือนนี้

วันที่ 18 พ.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ตามที่ผู้ประกอบการรถบรรทุกบางส่วน เรียกร้องรัฐบาลเรื่องราคาน้ำมัน และระบุว่าจะหยุดการเดินรถขนส่งสินค้าในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งรัฐบาลกำลังบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว โดยนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้เตรียมระบบขนส่งรองรับการหยุดเดินรถและให้เหล่าทัพเตรียมการสนับสนุนรถยนต์ทหารเข้าช่วยในการขนส่งอีกทางหนึ่งนั้น ในส่วนของกองทัพบก พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้มอบหมายให้กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก, กรมการขนส่งทหารบก, กองทัพภาค และหน่วยที่เกี่ยวข้อง 

ได้รวบรวมศักยภาพด้านการขนส่งและเตรียมข้อมูลยานยนต์ทางทหาร ที่สามารถนำมาใช้ในการขนส่งสินค้ารองรับตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งได้หารือถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและแนวทางปฏิบัติในการนำรถยนต์บรรทุกขนาดต่าง ๆ พร้อมกำลังพลเข้ารับภารกิจ โดยในขั้นต้นกองทัพบกมีรถยนต์ทหารที่เหมาะสมกับภารกิจด้านการขนส่งทางถนนประมาณ 3,700 คัน แยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีน้ำหนักบรรทุก 1, 4 และ 8 ตันตามลำดับ 

‘สมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม - พสบ.ทอ.1 และสวนอาหาร 89’ มอบอาหารแก่บุคลาการทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลภูมิพล

เมื่อวันที่ 18 พ.ย.64 ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยจะดีขึ้น แต่พี่ ๆ บุคลากรทางการแพทย์ คุณหมอพยาบาล ยังคงทำงานหนัก เพราะนอกจากผู้ป่วยโควิดแล้วก็ยังมีผู้ป่วยทั่วไปเข้ารับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างเยอะกว่าปกติ  เพราะช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คนอาจจะกังวลเพราะสถานการณ์ดังกล่าว เลยชะลอไว้ก่อน

ล่าสุดวันนี้ นายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม ธวัชชัย กิตติรัตนวิวัฒน์ และประธานบริษัท 88 แปซิฟิค จำกัด กล่าวว่า "คนป่วยโควิทมารักษาหายใจเหนื่อยและพอรักษาหายใจสะดวก แต่แพทย์และพยาบาลยังคงหายใจเหนื่อยไปตลอดเวลา เพื่อผู้ป่วยกี่รุ่นต่อกี่รุ่น"

พิธียิ่งใหญ่นครรังสิต!! ‘บิ๊กแจ๊ส’ ร่วมเป็นประธานในพิธี บวงสรวงวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10:00 น. ที่บริเวณมณฑลพิธีประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี เป็นประธานวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) และพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฯ งานรำลึกเสด็จพระราชดำเนินเปิดประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ 125 ปี

โดยมี ร.ต.อ.ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต คณะผู้บริหารร่วมถึงพ่อค้าประชาชน ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในอนาคตสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ออกกำลังกายของประชาชนชาวรังสิต

โดยพิธีพราหมณ์เริ่มบวงสรวงดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ประธานได้เจิมรูปหล่อจำลอง ร.5 และจุดธูปเทียนเพื่อสักการะดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งวางพวงมาลา หลังจากนั้น พระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง  ประธานฝ่ายสงฆ์ เริ่มพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 งานรำลึกเสด็จพระราชดำเนินเปิดประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ 125 ปี ซึ่งได้พระราชทาน นามประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการรำลึกเสด็จพระราชดำเนินเปิดประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ 125 ปี

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดปทุมธานีที่เกิดขึ้นในพื้นที่เทศบาลนครรังสิต 125 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2439 พระองค์ท่านเคยเสด็จมาประทับที่นี่เปิดประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ทรงมีพระเมตตาใช้พระนามมาเป็นชื่อประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ถือว่าที่นี่เป็นประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านขึ้นมาให้ยิ่งใหญ่ให้สมกับที่พระองค์ท่านได้เสด็จมาทำเพื่อประชาชน  นับเป็นนิมิตรหมายที่ดี แล้วที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่แห่งนี้

โดยต้องขอบคุณกรมชลประทานที่อนุญาตให้ใช้สถานที่นี่ดำเนินการสร้างเป็นอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5  ต่อจากนี้ไปจะต้องมีการทำ MOU กับกรมชลประทาน เพื่อที่จะดูแลสถานที่แห่งนี้ให้สวยงานตลอดไป และเป็นที่พักผ่านของพี่น้องชาวนครรังสิต เป็นแลนด์มาร์คที่น่าภาคภูมิใจของชาวนครรังสิต วันนี้เป็นวันสำคัญของชาวปทุมธานี ฝากทางเทศบาลนครรังสิตทุก ๆ ปีควรต้องมีงานสมโภชประจำปี นำสิ่งต่าง ๆที่เคยมีกลับมา ให้เป็นสถานที่ลอยกระทง มีตลาดน้ำ รวมถึงมีการแข่งขันเรือพาย ต้องเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวนครรังสิตและชาวปทุมธานีต่อไป

 

 

เยาวชนปลดแอก โพสต์ ทะลุแก๊สหลายคนลำบาก ตกงาน ไร้บ้าน ฆ่าตัวตาย โบ้ยฝีมือบิ๊กตู่

น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ อั๋ว แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม แกนนำเยาวชนปลดแอก และม็อบที่เรียกตัวเองว่า ราษฎร โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า... 

เยาวชนที่เคยออกไปม็อบดินแดงหลายคนกำลังลำบากอย่างมากจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ หลายคนต้องตกงาน บางคนต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน เท่าที่ทราบมามีคนพยายามฆ่าตัวตายไม่ต่ำกว่า 7 คน ตอนนี้สำเร็จไปแล้ว 2 คน อีกคนช่วยทันแต่อยู่ในไอซียู

ทหารสตูล ลุยพื้นที่น้ำท่วม!! เร่งช่วยชาวบ้านขนของขึ้นที่สูงหนีน้ำ และนำรถแม็คโคลงขุดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขณะมวลน้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน

วันนี้ 18 พ.ย.2564 พ.อ. เรวัตร เซ่งเข็ม ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 / ผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 พร้อมด้วยทหาร ร่วมกับเจ้าหน้าที่หลายหน่วยลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านขนของขึ้นที่สูงหนีน้ำพร้อมทั้งได้นำรถแม็คโคเร่งขุดลอกเอากิ่งไม้ และเศษขยะที่ถูกน้ำพัดพามากีดขวางทางน้ำ อยู่ที่คอสะพาน ทำให้มวลน้ำเกิดการไหลช้า และไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน เนื่องจากสภาพอากาศท้องฟ้าในจังหวัดสตูล ยังมืดครึ้ม บางพื้นที่มีฝนตก

ในขณะที่มวลน้ำจากตามภูเขาที่ได้สะสมกับน้ำฝนที่ตกมาหลายวันไหลเข้าท่วมบ้านชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสตูล ที่เป็นเส้นทางน้ำในขณะนี้ล่าสุดน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล หลายหมู่บ้าน ชาวบ้านเดือดร้อน ทางอำเภอควนโดนประเมินบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากท้องถิ่น จำนวน 300 ครัวเรือน

 

เพชรบุรี ‘นำจิตอาสาวางถุงทราย กั้นทางน้ำห้วยกวางโจน’ หลังบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร

วันที่ 18 พฤศจิกายน นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ นักศึกษาฝึกงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร ฯ ประชาชนและจิตอาสาพระราชทานเร่งนำถุงทรายปิดขวางทางน้ำแนวสันเขื่อนอ่างเก็บน้ำห้วยกวางโจน อ.หนองหญ้าปล้อง หลังน้ำทะลักไหลทิ้งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่าจากสถานการณ์อุทกภัย ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำห้วยกวางโจน ซึ่งเป็นอ่างดินเก็บน้ำขนาดเล็ก แนวสันเขื่อนเกิดแตก ทำให้น้ำไหลบ่าทะลักเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร จึงเร่งประสานทุกภาคส่วนมาช่วยกัน เพื่อซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำให้กลับมาสู่สภาพเดิมเพื่อจะสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ หากปล่อยเนิ่นช้าไป น้ำก็จะไหลลงทะเลไปหมด พอถึงหน้าแล้ง เกษตรกรอาจจะประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากอ่างเก็บน้ำนี้เป็นอ่างเก็บน้ำต้นทุนที่เกษตรกรไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ถ้าเก็บน้ำได้ก็จะเป็นประโยชน์ในระยะยาว จึงจำเป็นต้องทำเร่งด่วน ไม่สามารถรองบประมาณจากสำนักงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นให้ชาวบ้านพ้นความเดือดร้อน

 

เผยโฉม อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 บนพื้นที่ 297 ไร่ ‘สนามม้านางเลิ้ง’ เดิม

เผยแบบจำลอง อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9 รวม 297 ไร่ บนพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ 17 พ.ย. 64 โรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน ระบุถึง สำนักพระราชวัง เผยวิดีโอแบบจำลอง อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในพื้นที่สนามม้านางเลิ้งเดิม พื้นที่ 297 ไร่ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงมอบที่ดินมูลค่าหลายหมื่นล้านนี้ ให้ประชาชนทุกคนได้ใช้อย่างเท่าเทียม

‘ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ’ ติดตามความพร้อมในการจัดงานวันกองทัพเรือ ภายใต้กรอบ รวมใจภักดิ์ รักษ์ชาติ ราษฎร์ศรัทธา เพื่อให้เป็น “กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ”

พล.ร.อ.สุทธินันท์ สมานรักษ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการจัดงานวันกองทัพเรือ ติดตามความพร้อมในการเตรียมการจัดงานวันกองทัพเรือประจำปี 2564 ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ โดยมี พล.ร.ท.ก้องเกียรติ  สัจวุฒิ รองเสนาธิการทหารเรือ ประธานอนุกรรมการจัดงานรับรองวันกองทัพเรือให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ผช.ผบ.ทร. ได้ชมการซักซ้อมขั้นตอนของกิจกรรมในห้องเจ้าพระยา ที่สำคัญประกอบด้วย

             - การมอบรางวัลบุคคลดีเด่นกองทัพเรือ

             - การมอบรางวัลแก่ผู้ทำประโยชน์ให้แก่กองทัพเรือ

             - การแสดงของกองดุริยางค์ทหารเรือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ

             - ภาพยนตร์สารคดี เนื่องในวันกองทัพเรือ ประจำปี 2564 “LUCKY:Beyond the sea in my sight”

โดยการสื่อสารผ่านกิจกรรมทั้งหมดภายใต้กรอบแนวคิด รวมใจภักดิ์ รักษ์ชาติ ราษฎร์ศรัทธา ตามเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารเรือ เพื่อให้เป็น “กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ” โดยจะทำการถ่ายทอดกิจกรรมผ่าน Facebook Fanpage:Royal Thai Navy ในวันที่ 19 พ.ย.64 อีกด้วย

วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญยิ่งของกองทัพเรือ ด้วยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียนนายเรือ ณ พระราชวังเดิม ธนบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 กองทัพเรือจึงได้ถือเอาวันมิ่งมงคลนี้เป็น “วันกองทัพเรือ” 

สำหรับในปีนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน ตรงกับวันเสาร์ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดงาน กองทัพเรือได้อนุมัติให้จัดงานวันกองทัพเรือในวันศุกร์ที่ 19 พ.ย.64๑๙ โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้เตรียมการจัดงานให้เป็นไปอย่างสมเกียรติภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับในพื้นที่ส่วนกลาง ได้กำหนดให้มีกิจกรรม ประกอบด้วย

             - การทำบุญตักบาตร ณ ลานหน้าอาคาร กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม

             - พิธีสักการะและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม และวังนันทอุทยาน

             - พิธีสงฆ์และพิธีทักษิณานุประทาน ณ ท้องพระโรงพระราชวังเดิม และการรับประทานอาหารกลางวัน ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ

 

‘ทิพานัน’ แจ้งลูกหนี้กยศ. ไม่ต้องหนี ‘ยธ.-กยศ.’ จัดไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ธ.ค.นี้

‘ทิพานัน’ แจ้งลูกหนี้กยศ. ไม่ต้องหนี ไม่มีมาคุยกันได้ เผย ยธ. - กยศ. เตรียมจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี ธ.ค. นี้ บรรเทาความเดือดร้อนลูกหนี้การศึกษา

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส. ทิพานัน ศิริชนะ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยปัญหาลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาภาระลูกหนี้ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด 

'นายกสมาคมสื่อ' จับมือ 'ภาครัฐ เอกชน' มอบอุปกรณ์เฝ้าระวังโควิด ให้ จนท.ด่านหน้าภาคใต้ - โควิดยังอ้วม PPE ขาดแคลน  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย  นายอะหมัด รามันห์สิริวงศ์ ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ประจำจังหวัดยะลา นายอับดุลฮาดี เจะยอ ข่าวสดยะลา นายนิแอ สามะอาลี นักประชาสัมพันธ์ สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา น.ส.เลขา เกลี้ยงเกลา สำนักข่าวอิศรา กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ ลงพื้นที่ มอบ อุปกรณ์เฝ้าระวังโควิด-19  และ ขนมเด็ก กล่องโควิด แคร์ ถุงยังชีพ ให้ เจ้าหน้าที่ ด่านหน้า รพ.สต. อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ ต.ลูโบ๊ะยือไร อ.มายอ ต.วัด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี , ต.ยะหา จ.ยะลา , ต.สะบ้ายอย จ.สงขลา โดยมี ผู้นำในพื้นที่ จ.ยะลา จ.สงขลา และ นายซุลกิฟลี สาหะ ผอ.รพ.สต.วัด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พร้อมด้วยทีมอสม.ต.วัด และนายหมาด โต๊ะปะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.วัด รับมอบ

กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก นายแพทย์ฆนัท ครุธกูล นายกสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ นายเฉลิมชัย ครุอำโพธิ์ เจ้าของธุรกิจโรงโม่หิน บริษัท เขาบันไดนางศิลา จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. กองบัญชาการกองทัพไทย ,หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา โดย นพค.42 สนภ.4 นทพ.  พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต.นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพทูรย์  บรรณาธิการบริหารเนชั่นทีวี สำนักข่าวอิศรา ข่าวสดยะลา นักประชาสัมพันธิ์ จ.ยะลา คุณปัตมา บาเหม

ในส่วนของกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ ซึ่งเป็นองค์กรร่วม ระหว่างสื่อ ข้าราชการ ครู ทหาร ตำรวจ ในพื้นที่ ร่วมทำกิจกรรมดีๆ ช่วยเหลือชาวบ้าน แยกได้ดังนี้  1.ร้องเรียน ด้านพฤติกรรม เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลากรอาสาสมัครของรัฐ จำนวน 3,953 ราย  2.ร้องขอความช่วยเหลือ  ปรับปรุง อาหาร การบริหารจัดการ  ในศูนย์ LQ  , HQ และ SQ  จำนวน 4506 ราย 3.ร้องขอเครื่องมืออุปกรณ์การเฝ้าระวังและป้องกันโควิด และ รถยนต์เพื่อเข้าระบบการรักษา 3,956 ราย 4.ร้องขอความช่วยเหลือ ให้ปลอบผู้สูงอายุ และเด็ก กินยา ป้องกันตัวเอง จูงใจให้เกิดการรักษา และฉีดวัคซีน จำนวน 3,437 ราย 5.ร้องขอความช่วยเหลือด้าน ยาสามัญประจำบ้าน อาหารแห้ง จำนวน 6,897 ราย

รวมทั้งหมด มีร้องเรียน และ มี ผู้เดือดร้อน  ในด้านต่างๆ จำนวน 22,749 ครอบครัว ทีมได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ และ ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว จาก วันที่ 7 มี.ค.64 ถึงวันที่ 10 พ.ย.64  ในจำนวนนี้ ยังไม่รวม เคสที่ร้องเรียนและ อยู่ระหว่าง ตรวจสอบก่อนให้ความช่วยเหลือ อีก  767 ราย นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า พวกเราเป็นเหมือนตัวกลาง ที่นำสิ่งของทั้งหมด เพื่อเฝ้าระวังโควิด-19 และ ขนมเด็ก ที่นำมามอบให้เจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอาศัยผู้ ที่จิตกุศล บริจาค โดยอาศัย กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ ซึ่งเป็นการ รวมตัว ของ สื่อมวลชน หลายเขนง และจากหลากหลายอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ รวมตัวทำกิจกรรมดีๆช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่เข้าใจพื้นที่ รู้ปัญหา ก็ได้นำสิ่งของที่ได้รับ บริจาค จากผู้ที่มีจิตศรัทธา มามอบให้ เจ้าหน้าที่ องค์กร ภาคประชาชนต่าง จะได้นำไปใช้ เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19  

สิ่งที่เรากังวล ตอนนี้ คือการติดเชื้อในครัวเรือที่ยังมีข้อข้างสูง โดยเฉพาะวันนี้ ในพื้นที่ตรงนี้ หลายหมู่บ้านหลายอำภอหลายตำบล ที่ถือว่า ยังมีผู้ติดเชื้อ ข้องข้างสูง หวังว่า สิ่งของเล็กๆน้อยๆ ที่ได้รับจากผู้บริจาคมา เราเป็นสื่อกลาง กลไกเล็กที่น่าจะมีส่วนในการลดการระบาดของโควิด-19 อย่างเป็นลำดับ จนที่น่าพอใจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินส่วนพระองค์ช่วยเหลือสถานศึกษาที่ใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม  สถานที่กักตัว และ ศูนย์พักคอยในจังหวัดเพชรบูรณ์ 

ที่ห้องประชุมพัฒนาศักยภาพการศึกษาและอาชีพ โรงเรียนอนุบาลเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทานเงินส่วนพระองค์ ให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆปรับสถานศึกษาเป็นโรงพยาบาลสนาม  สถานที่กักตัว   หรือศูนย์พักคอย ให้แก่ผู้ป่วย โควิด-19 ภายในจังหวัดเพชรบูรณ์

โดยมี  นายกฤษณ์ คงเมือง  ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นประธานในพิธีมอบเงินพระราชทาน และ นายไท พานนนท์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กล่าวรายงาน  พร้อมด้วย  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 สำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์  และ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้รับเงินพระราชทาน เข้าร่วม

นายไท พานนนท์  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กล่าวว่า  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามในแต่ละพื้นที่ ไม่เพียงพอ  กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ปรับสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นโรงพยาบาลสนาม  สถานที่กักตัว  และศูนย์พักคอย  ตามนโยบายของรัฐบาลและช่วยเหลือประชาชน   เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วง กรกฎาคม จนถึงปัจจุบัน  และเมื่อวันที่  4  สิงหาคม 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ  พระราชทานเงินส่วนพระองค์เพื่อให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา ที่ปรับเป็นโรงพยาบาลสนาม  สถานที่กักตัว  หรือศูนย์พักคอยให้แก่ผู้ป่วย โควิด-19  

 

“บิ๊กแก้ว” กำชับจนท.เข้มงวดมาตราการป้องกันโควิด-19 เทศกาลลอยกระทงทุกพื้นที่

พล.ต. ธีรพงศ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาล ได้อนุมัติให้หน่วยงานสามารถจัดงานประเพณีลอยกระทง เพื่ออนุรักษ์ สืบสานและส่งเสริมประเพณีลอยกระทงที่ทรงคุณค่า โดยอาศัยหลัก COVID-Free Setting (มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร) และ Universal Prevention (การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล) นั้น

พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ผบ.ทสส./หน.ศปม.) มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงขอให้แต่ละพื้นที่ ที่จะจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 36 ) ด้านการกำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้สถานที่ กิจการ หรือการดำเนินกิจกรรมในเขตพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว สามารถเปิดดำเนินการได้ ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เช่น มาตรการป้องกันกำรติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ รวมทั้งการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยภายในเขตพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และการกำหนดมาตรการเพิ่มเติมของแต่ละจังหวัด

พร้อมทั้งให้ยึดถือข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37 ) โดยข้อกำหนดฉบับนี้เป็นการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค และรวบรวมบรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการต่าง ๆ ที่ได้ประกาศไว้แล้วในข้อกำหนดฉบับก่อนหน้าโดยจำแนกออกเป็นพื้นที่สถานการณ์ที่แตกต่างลดหลั่นกันตามความรุนแรงของการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์ที่จะผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ให้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การดำเนินกิจการและกิจกรรมของบุคคลและสถานที่ต่าง ๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อรักษาสมดุลด้านความมั่นคง ทางสาธารณสุขกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติให้ได้มากที่สุด

 

'โฆษกทร.' เผย พร้อมสนองนโยบาย นายกฯ นำรถของขส.ทร. มาดัดแปรง ใช้ขนส่งสินค้า แทนรถบรรทุกประท้วงหยุดวิ่ง 1 ธ.ค.นี้

พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ กล่าวถึง กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ออกมาระบุอาจจำเป็นต้องใช้รถทหารขนส่งสินค้า หากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย พร้อมผู้ประกอบการรถบรรทุก หยุดประท้วงเดินรถ ในวันที่ 1 ธ.ค.เพื่อประท้วงให้ลดราคาดีเซลเหลือ 25 บาท/ลิตรว่า กองทัพเรือ โดย กรมการขนส่งกองทัพเรือ มีความพร้อมสนองนโยบายของรัฐบาลในทุกเรื่องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่มีต่อประชาชน

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top