Saturday, 29 June 2024
NEWS FEED

จีนพร้อมรับมือ "ความบ้าคลั่ง" ครั้งสุดท้ายของทรัมพ์

ยังคงป่วนต่อเนื่อง สำหรับประธานาธิบดีเฝ้าทำเนียบคนปัจจุบัน อย่างโดนัลด์ ทรัมพ์ ที่คงเหลือเวลาในตำแหน่งอีกเพียงแค่เดือนกว่าๆ ก่อนที่จะต้องลาจากทำเนียบไปในเดือนมกราคม ปีหน้า

ถึงจะอยู่ได้อีกไม่นาน แต่ทรัมพ์ก็ยังคงมีอำนาจเต็ม ที่ยังสามารถใช้ปากกาเป็นอาวุธในการเซ็นคำสั่งประธานาธิบดีได้อยู่ ซึ่งล่าสุดในเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.2020 ที่ผ่านมา ทรัมพ์ก็ได้ตวัดปากกาเซ็นคำสั่ง ห้ามชาวอเมริกัน ไม่ว่าใครก็ตามเข้าไปลงทุนร่วม หรือทำธุรกิจกับบริษัทจีน 31 แห่ง ที่ฝ่ายกลาโหมของสหรัฐรายงานว่า เป็นบริษัทที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพจีน

บริษัทจีนทั้ง 31 แห่งนี้ นอกจากจะมี Huawei และ China Telecom แล้ว ก็ยังมีบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร พัฒนายานยนต์ ขนส่ง ทางรถไฟ และเทคโนโลยีอากาศยาน ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทของประเทศไหนก็ตาม

คำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ.2021 ก่อนวันสุดท้ายที่ทรัมพ์จะต้องลาตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ.2021ไม่กี่วัน

พอทรัมพ์เซ็นคำสั่งเปรี้ยงลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ต่างจากคนที่หยิกเล็บ เจ็บเนื้อตัวเองเหมือนกัน เพราะโลกเราทุกวันนี้มีการลงทุนหลายรูปแบบ ถึงจะไม่ได้ลงทุนร่วมกันตรง ๆ ก็อาจจะมีการลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือหุ้น ที่ผูกรวมกันหลายชั้น ซับซ้อนกันมากมาย ก็จะมาเดือดร้อนบริษัทอเมริกันที่ต้องมาตรวจเช็คว่า ได้ร่วมทุนกับบริษัทจีนที่อยู่ในลิสต์ต้องห้ามของทรัมพ์ผ่านช่องทางใด ช่องทางหนึ่งหรือไม่

ซึ่งคำสั่งนี้ เป็น Executive Order ฉบับแรกที่ทรัมพ์เซ็น หลังจากที่ผ่านช่วงเลือกตั้งมาแล้ว และหลายฝ่ายก็เริ่มเกรงว่า ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ในตำแหน่ง ท่านทรัมพ์ จะสำแดงฤทธา ดั่งเพลิงพิโรธอะไรอีก

และวันนี้สื่อตะวันตก ได้อ้างอิงรายงานของ Global Times สำนักข่าวของรัฐบาลจีน ที่ออกมาฟันธงว่า ทรัมพ์กำลังเตรียมทิ้งบอมบ์ลูกโต เพื่อเล่นงานจีนเป็นการทิ้งทวนก่อนลาตำแหน่งที่จะสร้างปัญหาหนัก(ใจ) ให้กับโจ ไบเดน ที่จะต้องมารับช่วงต่อจากเขา

และนอกจากจะแบนบริษัทชั้นนำของจีนแล้ว ไมค์ ปอมเปโอ ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ออกสื่อในช่วงเวลาใกล้เคียงกันว่า สหรัฐไม่เคยรับรองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ซึ่งถือเป็นการยั่วยุขั้นสุด ที่เป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายของความสัมพันธ์ระหว่างจีน - สหรัฐ

การเคลื่อนไหวในช่วงสุดท้ายของรัฐบาลทรัมพ์นั้น ศาสตราจารย์ เฉิน อี้ จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น ได้ให้ความเห็นกับทาง Global Times ว่า ทรัมพ์ต้องการที่จะวางยาไบเดน ด้วยการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีน กับ สหรัฐทุกรูปแบบ ก่อนจากไป เนื่องจากทรัมพ์ดำเนินนโยบายต่อต้านจีนมาตั้งแต่ต้น ที่มีชาวสหรัฐจำนวนไม่น้อยชอบเสียด้วย และยกให้เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา ทรัมพ์ยังเคยโจมตีไบเดนว่าเป็นพวกนิยมจีน และหากโจ ไบเดน ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อไหร่ ชาวอเมริกันก็เตรียมตัวไปเรียนภาษาจีนได้เลย

ดังนั้นหากไบเดน ขึ้นมารับตำแหน่งมีอำนาจเต็มเมื่อไหร่ จะเซ็นถอนคำสั่งของทรัมพ์ก็ได้ แต่ก็จะถูกโจมตีว่า ออกคำสั่งเอื้อผลประโยชน์ให้จีน แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น นโยบายของทรัมพ์ก็จะมีผลผูกพันกับไบเดน ที่จะต้องเล่นตามเกมที่ทรัมพ์วางหมากไว้ ไม่ว่าทางไหนก็ดูไม่ดีทั้งนั้น

แต่สำหรับจีน ก็ยืนยันว่าพร้อมเสมอ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน ซึ่งตอนนี้จีนก็กำลังจับตามมองพื้นที่เขตไต้หวัน ที่คาดว่าสหรัฐน่าจะใช้กลยุทธทางทหารเข้ากดดัน และทางจีนก็ประกาศชัดเจนว่ายอมไม่ได้เสียด้วย

ดังนั้นคงต้องมาดูกันแล้วว่าช่วงเวลาที่เหลืออยู่ในวาระของประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐว่าจะระเบิดความบ้าคลั่ง ดั่งเพลิงพิโรธ ได้ร้อนแรง ปั่นป่วนถึงใจจนหยดสุดท้ายได้ขนาดไหนกัน

.

แหล่งข่าว

Global Times

https://www.globaltimes.cn/content/1206986.shtml

Independent UK

https://www.independent.co.uk/news/world/americas/us-politics/global-times-china-trump-beijing-b1724582.html

News Week

https://www.newsweek.com/china-preparing-trumps-final-madness-before-biden-state-media-says-1547907

New York Times

https://www.nytimes.com/2020/11/12/business/economy/trump-china-investment-ban.html

ตรงไหนดี พี่จะรับไปพิจารณา

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่พรรคประชาธิปัตย์  นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านการลงมติจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวาระที่หนึ่ง จำนวน 2 ร่าง ไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ว่า ต้องถือว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ซึ่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้ประกาศไว้ชัดตั้งแต่แรกเมื่อครั้งร่วมรัฐบาล คือการแก้มาตรา 256 และต่อมามีการเพิ่มเติมให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งประสบความสำเร็จมาอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญ แต่คงไม่หยุดเพียงเท่านี้เพราะทุกฝ่ายยังต้องหาความเห็นชอบร่วมกันในวาระที่สองในชั้นคณะกรรมาธิการฯ และยังมีวาระที่สามที่เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 ที่ต้องร่วมกันทำให้สำเร็จ เพราะเราจะต้องทำให้เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน และประเทศ ภายใต้การปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นายราเมศ กล่าวต่อว่า การหาความเห็นพ้องจากประชาชนก็เป็นส่วนสำคัญ ในชั้นกรรมาธิการฯนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะมีการเสนอให้รับฟังเสียงจากประชาชนให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ซึ่งจะมีผลต่อการทำประชามติที่จะเป็นไปในทิศทางที่ดี 

ส่วนร่างของภาคประชาชนหรือไอลอว์ ตนไม่อยากให้มองว่าถูกปัดตกไปทั้งหมด ความตั้งใจทำในส่วนที่ดีที่เป็นประโยชน์ ก็จำเป็นต้องนำมาประกอบการพิจารณา อาจมีบางประเด็นที่เห็นไม่ตรงกัน แต่ส่วนไหนรับได้ส่วนไหนรับไม่ได้ก็ควรหยิบยกมาพูดคุยกันก็จะเกิดประโยชน์

อย่างไรก็ตามใน 11 ประเด็นของร่างไอลอว์ มีบางประเด็นที่น่าสนใจและควรหยิบยกมาพูดคุยกันในชั้นกรรมาธิการฯ เช่นกรณีของท้องถิ่น การแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น และกระจายอำนาจอย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังอยากให้กรรมาธิการฯนำผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯที่มีนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน มาประกอบการพิจารณาด้วย  

 

คนละครึ่ง เท่าไหร่ก็ไม่พอ!

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลังได้ประกาศให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเพิ่มเติมอีกครั้ง รอบที่ 3 จำนวน 722,598 สิทธิ์ โดยเป็นการรวบรวมสิทธิ์คงเหลือจากผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิในรอบที่ผ่านมา

โดยจะเปิดลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 6:00 น. ซึ่งพบว่า เวลา 07.25 น. เหลือ 0 สิทธิแล้ว ดังนั้นผู้ที่ลงทะเบียนไม่ทันจะต้องรอการประกาศเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลังอีกครั้งว่า จะเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้งหรือไม่

ผ่าวิธีคิด...โครงการคนละครึ่ง

ถ้าเปรียบ ‘โครงการคนละครึ่ง’ เป็นมวย ต้องบอกเลยว่า มุมน้ำเงิน นำโดยรัฐบาล ออกหมัดฮุคหนนี้ได้เข้าเป้าจะแจ้งดีเหลือเกิน เพราะกระแสตอบรับจากโครงการดังล่าว ‘เริ่ดม๊าก!’ ชาวบ้าน ร้านค้า รวมไปถึงประชาชนทุกหน่วย พร้อมใจกันร่วมโครงการ

 

งานนี้กรรมการข้างเวทีถึงกับต้องให้คะแนนหมัดนี้จากรัฐบาลที่เข้าตา หลังจากที่รัวหมัดแย็บ (จนเหนื่อย) มาพักใหญ่ เอ้า! อะไรดีก็ว่าดีเน๊อะ ของทุกอย่างต้องวัดกันที่รูปธรรมชัดเจนนี่แหละ อ้อ! อีกอานิสงค์หนึ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ก็คือ คนไทย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ปรับตัวเข้าถึงเทคโนโลยีกันมากขึ้นอีกด้วย

 

แต่หากถามว่า แล้วทำไมโครงการนี้ถึงได้กลายเป็นหมัดเด็ดของรัฐบาลได้ The States Time ประเมินให้รับทราบกัน 6 ข้อต่อไปนี้

ส.ว. คนแรก ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์

วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563  ที่รัฐสภาในการประชุมร่วมรัฐสภาที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาลงมติรับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เลขาธิการรัฐสภาได้เริ่มขานชื่อสมาชิกรัฐสภาเรียงลำดับตามตัวอักษร ก่อนที่สมาชิกแต่ละคนจะขานมติว่า รับ-ไม่รับ-งดออกเสียง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละร่าง ตั้งแต่ร่างที่ 1 - 7

ทั้งนี้เมื่อการลงมติผ่านไปได้ 200 คน สมาชิกรัฐสภา ทางฝั่งรัฐบาล และส.ว. ส่วนใหญ่ ลงมติรับหลักการ ร่างที่ 1 - 2 ตามที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และส.ส.ฝ่ายค้านเสนอและในส่วนของร่างอื่นๆ ลงมติงดออกเสียงณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ลงมติรับหลักการทั้ง 7 ร่างตามที่ได้แสดงจุดยืนร่วมกันไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสำหรับทางฝั่งส.ว.นั้น พบว่า นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ส.ว. ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์

หนูพร้อม...พี่ก็พร้อม!!

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลา 15.30 น.​ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่ห์บางส่วน​ เริ่มมีการจัดตั้งแถว​ เพื่อรอรับมือม็อบราชประสงค์เย็นนี้ ตรงบริเวณหน้าอาคารนิมิตบุตร​ สนามกีฬาแห่งชาติ

ศบค.ไฟเขียวต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 45 วัน !

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธินโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงผลประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งที่ 8 เป็นเวลา 45 วัน โดยจะขยายเวลาคร่อมช่วงเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2563 - 15 มกราคม พ.ศ.2564 โดยมีเหตุผลว่าเพื่อเป็นการควบคุมตามมาตรการทางสาธารณสุข และในช่วงเวลาดังกล่าวตะมีการแข่งขันกีฬาแบดมินตันโลก ที่จะมีผู้เดินทางเข้ามาในประเทศจำนวนมาก จึงต้องดูแลให้ครอบคลุม

บาดเจ็บ 55 ปะทะ เมื่อวาน

ศูนย์เอราวัณรายงานผู้บาดเจ็บม็อบหน้าสภา 55 คน ด้าน ประธานสภา แจงเอ่ย "ขอบคุณ" ทุกฝ่ายไม่เลือกปฏิบัติ ขอให้เชื่อสภายังเป็นพึ่งของปชช.

 

เมื่อเวลา 11.45 น. ที่รัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมนายแทนคุณ จิตต์อิสระ เลขานุการคณะทำงานประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันแถลงถึงภาพรวมการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

 

โดย นพ.สุกิจ กล่าวว่า ประธานสภามีความห่วงใยต่อผู้ชุมนุมโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา และได้มอบหมายให้ตนและทีมงานให้ติดตามดูแลให้การช่วยเหลือต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

 

โดยรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมของศูนย์เอราวัณ มีผู้บาดเจ็บรวม 55 คน ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา 32 คน, ถูกยิง 6 คน, มีอาหารป่วยขณะชุมนุม 4 คน และบาดเจ็บอื่น ๆ 13 คน ซึ่งได้กระจายรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่าง ๆ

 

ซึ่งตนและทีมงานได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาส่วนมากจากแก๊สน้ำตาและได้เดินทางกลับบ้านแล้ว ส่วนรายที่บาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงที่โคนขาซ้ายตอนที่ตนไปก็กำลังเข้ารับการผ่าตัดอยู่

 

ด้านนายแทนคุณ กล่าวว่า "เมื่อวานตนได้มีโอกาสตามนายชวน หลีกภัย ไปดูแลในพื้นที่โดยรอบของรัฐสภา ขอยืนยันว่านายชวนได้มีความเป็นห่วงเป็นใยทุกฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่สภา ตำรวจ รวมทั้งผู้ชุมนุมด้วย ได้ตั้งทีมให้ไปดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนั่นก็สะท้อนถึงความเป็นห่วงเป็นใยอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

 

และคำว่าขอบคุณที่ท่านกล่าวนั้น ท่านกล่าวว่าขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ ซึ่งก็สะท้อนกลับมาที่สภาว่าจะต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีในเมื่อเจ้าหน้าที่ ประชาชนได้ทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ไม่ได้เป็นการกล่าวขอบคุณฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือเป็นการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายเดียว และได้กำชับให้ดูแลทุกฝ่ายให้ดี"

 

นายแทนคุณ กล่าวอีกว่า "เป็นความไม่สบายใจของพวกเราที่ทำงานในสภา ที่เหตุการณ์ชุมนุมใช้อาวุธที่รุนแรงซึ่งเข้าใจว่าการชุมนุมกับการดำเนินวิถีประชาธิปไตยเป็นของคู่กัน เราเองเข้าใจในสิทธิเสรีภาพแต่ก็มีความเป็นห่วง และโชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต ครั้งนี้เป็นการชุมนุมที่มีการกระทบกระทั่งกันแต่โชคดีที่เรามีสื่อมวลชนคอยจับตา ทำให้เราเห็นภาพหลักฐานว่าใครทำอะไรอย่างไร

 

ทั้งนี้ในวันนี้จะมีการโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนอยากให้ประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้เชื่อมั่นและเคารพในกติกาในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ไขปัญหาโดยใช้รัฐสภาที่เป็นภาษีของประชาชนได้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง แตกแยกทางการเมืองโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการจาบจ้วงสถานบัน ตนมองว่าเป็นประเด็นที่แหลมคมและนำมาซึ่งความเจ็บซ้ำน้ำใจของแต่ละฝ่าย ขอให้ระมัดระวังในท่าทีหรือถ้อยคำซึ่งเป็นสิ่งที่ประธานสภามีความห่วงใยว่าอยากให้สื่อสารว่าสภายังเป็นที่พึ่งที่หวังโดยเฉพาะนายชวนยังเป็นเสาหลักของประชาธิปไตยในขณะนี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top