Wednesday, 4 December 2024
ECONBIZ

'ชื่อฉัน' นั้นไพเราะที่สุด เรื่องเล็กๆ ที่ Starbucks 'เสก' ให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ | Story Telling EP.1

ใครจะคิดว่ากิมมิคของการเขียนชื่อลงบนแก้วกาแฟ Starbucks จะกลายเป็นวัฒนธรรมหลัก ที่สร้างความผูกพันต่อลูกค้าและช่วยต่อยอดแบรนด์กาแฟแก้วนี้ได้แบบไม่รู้จบ

.

อสังหาไทย ปี'64 เป็นอย่างไรบ้าง ? | สนามนักสู้ EP.24

จากข่าว ''LPN Wisdom' ชี้!! อสังหาฯ ยังมีลุ้น หลังรัฐ 'ไม่ล็อกดาวน์ - ลดค่าธรรมเนียม - ลดเก็บภาษีที่ดิน' เชื่อตัวเลข 64 จะ 'บวก' จะ 'ลบ' อยู่ที่ฝีมือรัฐ''

Link ข่าว : https://thestatestimes.com/post/2021012209

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 จะสามารถเพิ่มผลกำไรหรือจะติดลบ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โควิด-19 และรัฐบาลที่จะต้องแก้มือกับสถานการณ์นี้ วิเคราะห์ทิศทาง และ การแก้ไขปัญหา กับ คุณปอ ณัฐภูมิ รัฐชยากร

 

‘กรอ.พาณิชย์’ ไฟเขียว เรือใหญ่ ขนาด 400 เมตร เทียบท่าแหลมฉบัง รับสินค้าไทยส่งออกได้ สู่ประเทศปลายทาง ไม่ต้องถ่ายสินค้าลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์ โดยใช้เวลาขออนุญาต 1 วัน และมีอายุ 2 ปี คาดส่งออกไทยปีนี้ขยายตัวได้ถึง 4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและะเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ครั้งที่ 1/2564 ว่า ที่ประชุมได้มีการติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออก โดยในเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นปัญหากระทบไปทั่วโลก สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว โดยเรื่องที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้เปิดโอกาสเรือขนาด 400 เมตร

ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่ และมีสายการเดินเรืออยู่ประมาณ 6 สายการเดินเรือ เข้ามาเทียบท่าที่แหลมฉบังได้โดยไม่ต้องขออนุญาต หรือไม่ต้องอนุญาตโดยใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชน ได้หารือร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะอนุญาตให้เรือที่มีขนาดใหญ่ 400 เมตร สามารถเข้ามาเทียบท่าและรับสินค้าไทยเพื่อการส่งออกได้ โดยการขออนุญาตใช้เวลาแค่ 1 วัน และใบอนุญาตจะมีอายุ 2 ปี จะช่วยให้การส่งออกสินค้าสามารถขึ้นเรือใหญ่และไปสู่ประเทศปลายทางได้เลย จากที่จะต้องไปถ่ายลงเรือใหญ่ที่สิงคโปร์หรือท่าอื่นๆ ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่จากนี้จะเป็นการลดต้นทุนไปในตัว

ส่วนการแก้ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับสินค้าที่ไม่จำเป็นต้องส่งออกโดยการใช้ตู้ จะหลีกเลี่ยงการใช้ตู้ โดยจะใช้เรือที่ขนสินค้าส่งออกแทน เช่น ผลไม้ มะพร้าว พืชเกษตรชนิดอื่น และไม้ยางพารา เป็นต้น โดยมีการเตรียมเรือไว้จำนวนหนึ่ง จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ.2564

เพื่อลดการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ และจะส่งเสริมให้มีการนำให้เรือบรรทุกสินค้านำตู้เปล่าเข้ามา โดยมีมาตรการจูงใจ เช่น ลดค่าธรรมเนียมนำเข้าตู้เปล่า ซึ่งการท่าเรือฯ จะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยจะเป็นผู้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ คาดว่าจากเร็วที่สุดอาจเป็นวันที่ 9 ก.พ.2564

สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังจีน จะเน้นการขนส่งทางรถหรือทางบกให้มากขึ้น โดยเร่งเจรจาการขนส่งผ่านด่านของไทยไปสปป.ลาว เวียดนาม และจีน ให้ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ลงได้

นอกจากนี้ จะเร่งรัดการเปิดด่านชายแดนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีด่านชายแดนทั้งหมด 97 ด่าน เปิดแล้ว 39 ด่าน ล่าสุดจากการเจรจาของกระทรวงพาณิชย์สามารถเปิดได้อีก 1 ด่าน คือ ด่านถาวรที่บึงกาฬ รวมเป็น 40 ด่าน และตั้งเป้าจะเร่งรัดเปิดอีก 3 ด่าน คือ 1.) ด่านป่าแซง จ.อุบลราชธานี 2.) ด่านเชียงคาน จ.เลย 3.) ด่านท่าเรือหายโศก จ.หนองคาย โดยจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ครม. เพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการเป็นนโยบาย เพื่อเร่งรัดการส่งออกสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้นต่อไป

ส่วนปัญหาการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนาม ซึ่งเดิมเคยติดขัดในเรื่องกฎระเบียบในการนำรถตัวอย่างไปตรวจสอบแทบทุกล็อต ต่อไปนี้ปัญหายุติแล้ว หลังจากที่อาเซียนได้ลงนามความตกลงยอมรับร่วมสินค้ายานยนต์ (MRA) โดยได้ลงนามครบทั้ง 10 ประเทศแล้ว เหลือขั้นตอนการให้สัตยาบัน โดยไทยจะเร่งนำเข้าสภาผู้แทนราษฎรให้เร็วที่สุด คาดว่าจะทันในสมัยประชุมนี้ หากบังคับใช้ จะส่งผลต่อการส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้ง่ายขึ้น และปัญหาการขนส่งรถยนต์จากโรงงานไปท่าเรือเพื่อส่งออก ที่เดิมติดปัญหารถไม่มีป้ายทะเบียน ทำให้ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ล่าสุดหลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อยุติว่าจะไม่มีการจับกุม เพราะเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายที่สามารถทำได้

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ติดตามสถานการณ์ในเมียนมา พบว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อภาคการค้าและภาคธุรกิจของไทย ยังดำเนินธุรกรรมได้ตามปกติ การค้าขายระหว่างกันยังสามารถดำเนินการได้ การค้าชายแดนก็ไม่ได้รับผลกระทบ โดยด่านสำคัญ 3 ด่าน ที่เป็นด่านถาวรในการส่งออกสินค้าของไทยทั้งด่านแม่สาย แม่สอด หรือระนอง สามารถส่งออกสินค้าได้ตามปกติ

และด่านสังขลาบุรี ที่กาญจนบุรี ที่ปิดไป คาดว่าจะสามารถเปิดด่านได้ในเร็ววันนี้ และกระทรวงพาณิชย์ยังได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่เมียนมา ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานกลับมาทุกวัน และจะอัพเดตสถานการณ์ในเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการค้า การลงทุน การทำธุรกิจ ให้ทราบผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ทุกวัน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังได้มีการประเมินสถานการณ์ส่งออกในปี 2564 โดยภาคเอกประเมินว่าการส่งออกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5-4% ส่วนกระทรวงพาณิชย์ประเมินว่ามีโอกาสที่การส่งออกจะขยายตัวได้ถึง 4% เพราะการส่งออกของไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2563 กำลงจะฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2564

‘เอ็มบีเค เซ็นเตอร์’ หรือ ที่คนไทยเรียกติดปากว่า ‘มาบุญครอง’ จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากหนึ่งในแผนการรีโนเวตศูนย์การค้าครั้งใหม่ในรอบ 36 ปีนั้น มีชื่อของ ‘ดองกิ’ ราชาแห่งร้านดิสเคาน์สโตร์จากญี่ปุ่นติดเข้ามาอยู่ในโผด้วย

นายสมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการรีโนเวตครั้งใหญ่ในรอบ 36 ปี โดยมีการปรับเปลี่ยน จัดโซนนิ่งและพื้นที่ภายในใหม่ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการเดินช็อปปิ้ง รองรับความต้องการได้อย่างตรงจุด หลังจากห้างสรรพสินค้าโตคิวได้ปิดตัวลง

สำหรับการรีโนเวตพื้นที่บางส่วนภายในศูนย์ฯ จัดวางผังร้านค้าใหม่ เพิ่มเติมร้านค้าและบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มครอบครัว

โดยแบ่งพื้นที่แต่ละชั้น ดังนี้

• ชั้น 1 จับมือกับเครือสหพัฒน์ทั้งในส่วนของไอ.ซี.ซี ,โอ.ซี.ซี. และร้านซูรูฮะ

• ชั้น 2 เปิดตัวร้านดองกิ (DON DON DONKI) สาขาแฟล็กชิฟสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงและเน้นบริการสินค้าในกลุ่มอาหารเป็นหลัก

• ชั้น 3 อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ในการเช่าพื้นที่

• ชั้น 4 เป็นโซนสินค้าไอทีทั้งหมด

ทั้งนี้ศูนย์การค้าเอ็มบีเค มีแผนเปิดตัวการรีโนเวตอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 3 นี้ ให้ได้อย่างน้อย 80% และจะเปิดได้เต็ม 100% ในช่วงปลายปี เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ ทั้งวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษา และ กลุ่มครอบครัว ซึ่งปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการราว 2-3 หมื่นคนต่อวัน โดยคาดการณ์ว่า ในช่วงไตรมาส 3 หลังวัคซีนโควิด-19 เริ่มถูกนำมาใช้ น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการในศูนย์ได้อีกครั้ง

สำหรับไฮไลท์ของการรีโนเวต เอ็มบีเค ในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะอยู่ที่การเปิดตัวร้านดองกิ สาขาแฟล็กชิฟสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ต่อจากทองหล่อ และ The Market ราชดำริ เพราะจะเป็นจิ๊กซอว์เติมเต็มการจากหายไปของโตคิวได้ด้วย

...ว่าแต่ทำไม เอ็มบีเค ถึงสนใจในตัว ‘ดองกิ’

‘ดองกิ’ หรือ ‘DON DON DONKI’ (ชื่อในไทย) ถือเป็นดิสเคาน์สโตร์ที่คนไทยที่ชอบไปเที่ยวญี่ปุ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว หรือเรียกว่าเป็นร้านที่ใครไปญี่ปุ่น ก็ต้องแวะ โดยชูคอนเซ็ปต์ ‘ร้านค้าที่ขายเฉพาะแบรนด์ญี่ปุ่น’ ที่ตั้งใจเจาะกลุ่มคนญี่ปุ่นที่อาศัยในไทย คนไทยและนักท่องเที่ยว

ฉะนั้นการที่ ดองกิ มาเปิดในไทย และรวมถึงมาเปิดใหม่ในเอ็มบีเค จึงเป็นการตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวไทยที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นบ่อยๆ นี่คือโอกาสทางตรง

ขณะเดียวกันโอกาสทางอ้อม เชื่อว่าจะมาจากการพลิกวิกฤติโควิด-19 ลามกรุง และทั่วโลกมาเป็นตัวผลักดัน หลังจากช่วงเวลานี้ในอดีตมักมีคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นจำนวนมาก แต่พอเจอโรคระบาดหนัก ก็ทำให้อดไป การได้มา ดองกิ ก็เหมือนได้ซึมซับความรู้สึกที่คุ้นเคยทดแทนไปกลายๆ

สำหรับผลตอบรับของ ดองกิ ในช่วงที่ผ่านมากับ 2 สาขาที่เปิดอยู่ ถือว่าน่าสนใจ เพราะแค่เพิ่งเข้ามาทำตลาดในบ้านเราได้ 2 ปี แต่ก็มีผลประกอบการที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยผลประกอบการ บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด

• ปี 2562 มีรายได้ 160 ล้านบาท

• ปี 2563 มีรายได้ 728 ล้านบาท

เหตุผลที่ทำให้รายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดของดองกิ มาจาก...

1.) รูปแบบธุรกิจมีความเฉพาะเจาะจง ยากต่อการเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบร้าน การจัดวางสินค้าที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาสำรวจ และค้นหาหรือแม้แต่การใช้ปากกาเมจิก เขียนป้ายบอกราคา

2.) มอบประสบการณ์ที่แตกต่าง นอกจากจะมีสินค้าที่เป็นซิกเนเชอร์ หาไม่ได้จากที่ไหน เสน่ห์อีกอย่างของดองกิ คือ การมอบประสบการณ์ที่มากกว่ามาช้อปปิ้ง อย่างดองกิ สาขาทองหล่อ นอกจากจะมีร้านค้า ร้านอาหาร เครื่องดื่ม คาเฟ่ เบเกอรี และคาราโอเกะ ส่วนด้านบน ก็ยังทำเป็นสวนสนุก และสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ นำเข้าจากญี่ปุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งกิมมิกที่ทำให้หลายคนอยากไปเช็คอิน

สำหรับ ดองกิ ในไทยนั้น ตั้งเป้าขยายให้ได้ 20 สาขาใน 5 ปี โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงเมืองท่องเที่ยว อย่าง ภูเก็ต, เชียงใหม่ และ ระยอง อีกด้วย


ที่มา:

https://www.prachachat.net/marketing/news-605213

https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/3635479016544463/

ภาคธุรกิจเอกชน ชงรัฐตั้งคณะทำงานฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมดันเป็นวาระแห่งชาติ ระบุอยากเห็นคนไทยได้ฉีดวัคซีนตั้งแต่ ก.ค.นี้

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คือ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้เห็นชอบให้จัดทำข้อเสนอให้ภาครัฐตั้งคณะทำงานเตรียมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนในประเทศเป็นเรื่องเร่งด่วน และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติ

ทั้งนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หรือตั้งแต่เดือนก.ค.เป็นต้นไปจนถึงธ.ค.นี้ โดยให้ทำใบรับรองยืนยันการฉีดวัคซีน หรือวัคซีน พาสสปอร์ตให้กับพนักงานต่างชาติที่ทำงานในไทย และต่างด้าวโดยในส่วนของต่างด้าวและต่างชาติเอกชนพร้อมร่วมมือรัฐในเรื่องค่าใช้จ่าย โดยขอลดหย่อนภาษีเรื่องการฉีดวัคซีนโดยเป็นโมเดลในการบริหารจัดการนำร่องในภาคท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก

นอกจากนี้ กกร.ยังประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยประเมินว่า จะขยายตัวในกรอบ 1.5-3.5% การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ 3-5% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 0.8 -1% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การบินไทย จะบิน หรือ จะจอด ? | สนามนักสู้ EP.23

จากข่าว 'การบินไทยขอยื่นส่งแผนฟื้นฟูอีกรอบศาลล้มละลายกลางให้เวลาถึง 2 มีนาคมปี 64' ทางการบินไทยจะมีวิธีการรับมือกับสถานการณ์นี้ต่อไปอย่างไร เพื่อให้พ้นสถานะล้มละลาย การบินไทยจะสู้อย่างไร พบคำตอบได้ที่สนามนักสู้ กับ คุณปอ ณัฐภูมิ รัฐชยากร . สนามนักสู้ เพราะทำธุรกิจ ต้องสู้! ติดตามรายการได้ทุกวันพุธ และวันศุกร์

.

 

จากเฟซบุ๊ก Geng Sittipong Sirimaskasem ได้เรียบเรียง Speech ของ ‘ทิม คุก ซีอีโอ Apple’ ที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน และดีที่สุดครั้งหนึ่ง...จนหลายคนที่ได้อ่าน อาจจะรู้สึกว่าวันนี้ ‘อิสรภาพของเรากำลังหายไปหรือไม่ จากเทคโนโลยีที่คอยล้วงข้อมูลชีวิตเราทุกลมหายใจ’

เราเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ควรจะเป็นคือ เทคโนโลยีที่ทำงานเพื่อคุณ เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้คุณนอนหลับได้ ไม่ใช่กระตุ้นให้คุณตื่นอยู่เสมอ เป็นเทคโนโลยีที่บอกให้คุณพอได้แล้ว ให้คุณมีเวลาสำหรับสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ได้วาดรูป ได้เขียน หรือได้เรียนรู้ ไม่ใช่ขอให้คุณ refresh อีก ดูอีก

มันต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานอย่างเงียบๆ ขณะที่คุณกำลังปีนเขา หรือว่ายน้ำ แต่มันจะเตือนคุณเมื่อหัวใจคุณทำงานผิดปกติ และช่วยคุณได้เมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุล้มลง

และทั้งหมดหมายถึงการเก็บ ความลับ ความเป็นส่วนตัวที่ถือเป็นความสำคัญที่สุดลำดับที่หนึ่ง เพราะไม่ควรมีใครได้สิทธิ์ส่วนตัวของคุณไปใช้ในการสร้างโปรดักส์ที่ดี

คุณจะเรียกว่าเราไร้เดียงสาก็ได้ แต่เรายังเชื่อในเทคโนโลยีที่สร้างโดยคน เพื่อคน และทำให้คนอยู่อย่างเป็นสุข ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยากที่เราจะไม่สนใจ เพราะเราเชื่อว่าเทคโนโลยีที่ดี วัดผลได้จากความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่ดีขึ้น

ถ้าเรารับได้ว่าเรื่องการโดนล้วงข้อมูลเป็นเรื่องธรรมดาและหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคิดว่าทุกอย่างของเรานั้นสามารถรวบรวมนำไปขายได้ สุดท้ายแล้วเราไม่ได้จะเสียแค่ข้อมูล แต่เรากำลังจะเสียอิสระภาพของความเป็นคนด้วย..

นี่คือส่วนหนึ่งของ Speech โดย ทิม คุก CEO ของ Apple ที่พูดไว้ในงาน Privacy & Data Protection conference เมื่อวันที่ 28 ที่ผ่านมา

เนื้อหาค่อนข้างตรงไปตรงมา และแทงใจบริษัทอย่าง Facebook โดยตรง แต่ในฐานะ Apple users รู้สึกว่า นี่คือการยืนยันที่จะเป็น ผู้นำในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ที่นอกจากจะได้ภาพด้านนี้แล้ว ยังสร้าง Branding ที่ดีให้กับ Apple ได้อีกด้วย

ถือว่าเป็น speech ที่ยอดเยี่ยม...

ทั้งนี้ Apple ยังได้ปล่อยเอกสารที่ชื่อว่า ‘A Day in the Life of Your Data’ ซึ่งเปิดด้วย quote ของ Steve Jobs ที่เขียนว่า..

“เราเชื่อว่ามนุษย์เรานั้นฉลาด และหลายคนก็ต้องการจะแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้คนอื่น แต่ขอให้ถามเขาก่อน ถามเขาทุกครั้ง ถามจนกว่าเขาจะบอกให้หยุดถามเมื่อเขาเริ่มเบื่อกับคำถามของเรา ให้เรารู้ชัด ๆ ว่าคุณกำลังจะทำอะไรกับข้อมูลของเขา”

“I believe people are smart and some people want to share more data than other people do. Ask them. Ask them every time. Make them tell you to stop asking them if they get tired of your asking them. Let them know precisely what you're going to do with their data.”

ส่วนด้านล่างนี่คือ speech ของ ทิม คุก ช่วงที่ผมตัดมานะครับ

We believe that ethical technology is technology that works for you. It’s technology that helps you sleep, not keeps you up. That tells you when you’ve had enough, that gives you space to create, or draw, or write or learn, not refresh just one more time. It’s technology that can fade into the background when you’re on a hike or going for a swim, but is there to warn you when your heart rate spikes or help you when you’ve had a nasty fall. And that all of this, always, puts privacy and security first, because no one needs to trade away the rights of their users to deliver a great product.

Call us naive. But we still believe that technology made by people, for people, and with people’s well-being in mind, is too valuable a tool to abandon. We still believe that the best measure of technology is the lives it improves.


ที่มา:

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158974172635070&id=570720069

‘อาร์เอส กรุ๊ป’ ล่าธุรกิจ ‘กัญชง’ ดันส่วนประกอบ ‘แปรรูป’ สร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ให้เครือธุรกิจ

หลังจากกระทรวงสาธารณสุขประกาศปลดล็อคกัญชงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่จัดเป็นยาเสพติดนั้น บริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมด้านสุขภาพและความงามระดับโลก และ อาร์เอส มอลล์ (RS Mall) แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมของทุกคน บริษัทในเครือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป ประกาศความพร้อมจับมือพันธมิตร บริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในหมวดสกินแคร์ เครื่องดื่ม และอาหารเสริม ที่มีสารสกัดจากกัญชง ผ่านทุกช่องทาง ช่วยผลักดันรายได้ให้เป็นไปตามเป้าของบริษัท

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในเรื่องของกัญชงนั้น บริษัท ไลฟ์สตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของอาร์เอส กรุ๊ป มีความสนใจและมีการศึกษาเรื่องของงานวิจัยมาอยู่ตลอด โดยเฉพาะการนำส่วนต่างๆ ของกัญชงไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

เช่น ช่อดอกนำไปผลิตยา สารสกัดจากกัญชง ใบนำไปผลิตอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง น้ำมันจากเมล็ดกัญชงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง สารสกัดจาก กัญชงนำไปผลิตเป็นเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเราได้เตรียมความพร้อม โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยชั้นนำศึกษาและคิดค้นสูตรเพื่อนำกัญชงมาพัฒนาและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ทั้งในส่วนของสกินแคร์ เครื่องดื่ม และอาหารเสริม รวมถึงมีการพูดคุยกับพันธมิตรที่เป็นผู้ปลูกกัญชงเชิงพาณิชย์ โรงสกัด และผู้ผลิตไว้เรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่าทางเราและพันธมิตร ได้มีการเตรียมการมานานและมีความพร้อมทั้งการผลิตและการจำหน่ายในทันที

ในขณะที่ อาร์เอส มอลล์ แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมของทุกคน ก็เตรียมรุกตลาดพร้อมต่อยอดการขายอย่างเต็มสูบ ภายใต้กลยุทธ์ดังนี้

บังคับใช้แล้ว! ใช้น้ำมัน - สารสกัดเมล็ดกัญชงในเครื่องสำอางได้ ปลดล็อก"กัญชา" พ้นยาเสพติดใช้ได้เฉพาะทางการแพทย์

1.) อาร์เอส มอลล์ มีจุดเด่นและความเชี่ยวชาญในการเล่าเรื่องที่แตกต่าง ซึ่งกัญชงมีรายละเอียดและสรรพคุณที่ซับซ้อน จึงสามารถสร้างรูปแบบการนำเสนอได้หลากหลาย อาทิ การไลฟ์สดสาธิตวิธีการใช้ หรือการนำผู้มีประสบการณ์ในการใช้งานจริงมาร่วมให้ความคิดเห็นและแบ่งปันข้อมูล เป็นต้น

2.) จำหน่ายในทุกช่องทาง ทั้งออนแอร์ ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 และพันธมิตรช่องดิจิทัลทีวีจากหลากหลายช่องชั้นนำ และออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ www.rsmall.co.th และ Line @rsmall

3.) อาร์เอส มอลล์ มีทีมเทเลเซลล์ กว่า 500 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของสุขภาพ สามารถนำเสนอสินค้าและให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการใช้ Data and Voice Analytics มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

“ปัจจุบัน อาร์เอส มอลล์ มีฐานข้อมูลลูกค้ากว่า 1.6 ล้านราย จำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่ผ่านมา เราได้รับคำถามและความสนใจจากลูกค้าเกี่ยวกับกัญชงจากทุกช่องทางและมีการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และต่อยอดในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพที่ดี เพียงแต่ยังต้องรอรายละเอียดจากทางภาครัฐในการผลิตและจัดจำหน่ายให้ถูกต้องและปลอดภัย หากมีการปลดล็อกในส่วนนี้ เราก็มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จากกัญชงจะได้รับการตอบรับจากลูกค้าส่วนใหญ่ของเราอย่างแน่นอน” คุณสุรชัย กล่าว


ที่มา:

https://www.posttoday.com/economy/news/644176

ส่องไส้ใน ส่องออกไทย รู้แล้วจะอึ้ง ! พบผู้ส่งออก 50 อันดับแรกของไทย เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ถึง 80% มีบริษัทคนไทยเพียง 20% เท่านั้น ขณะที่จำนวนบริษัทส่งออกในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 36,164 ราย

ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ภาพรวมการส่งออกของไทย เส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี แต่บางปีก็เครื่องสะดุดติดลบบ้างจากหลายเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันของโลก

โดยปี 2563 ล่าสุด ส่งออกไทยสะเทือนจากพิษโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ทำตัวเลขส่งออกได้มูลค่า 231,468.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวลดลงจากปีก่อน -6% ส่วนในรูปเงินบาทมีการส่งออก 7.17 ล้านล้านบาท ขยายตัวลดลง -5.9% โดยปี 2563 มีบริษัทส่งออกรวมทั้งสิ้น 36,164 ราย โดยในจำนวนนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของ “ฐานเศรษฐกิจ”ที่ได้รับจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร เผยถึง ผู้ส่งออกรายใหญ่ใน 50 อันดับแรก พบสัดส่วน 80% เป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่สัดส่วน 20% เป็นบริษัทคนไทย โดยรายชื่อบริษัทส่งออก 50 อันดับแรกที่มี่มูลค่าส่งออกสูงสุดตามลำดับ ประกอบด้วย

1.) บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย)จำกัด (บจก.)

2.) บจก.วาย แอล จี บลูเลียน อินเตอร์เนชั่นแนล

3.) บจก.เอชจีเอสที (ประเทศไทย)

4.) บจก.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย

5.) บจก.เอ็มทีเอสโกลด์ (หรือห้างทองแม่ทองสุก)

6.) บจก.โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิปิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง

7.) บจก.ฮั่วเซ่งเฮง คอมโมดิทัช

8.) บจก.ซิเลซติกา (ประเทศไทย)

9.) บจก.มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย)

10.) บจก.เวสเทิร์น ดิติตอล (ประเทศไทย)

11.) บจก.บริงค์ส (ประเทศไทย)

12.) บจก.เอเชียนฮอนด้ามอเตอร์

13.) บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (บมจ.)

14.) บจก.ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย)

15.) บจก.เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย

16.) บจก.นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย)

17.) บจก.ฟาบริเนท

18.) บจก.ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์

19.) บจก.โซนี เทคโนโลยี (ประเทศไทย)

20.) บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

21.) บจก.อีซูซุมอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่น (ประเทศไทย) 22.) บจก.ไทย ไลอ้อน เมนทารี

23.) บจก.แม็กซิม อินทริเกรดเต็ด โปรดักส์ (ประเทศไทย)

24.) บจก.ไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์)

25.) บมจ.แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

26.) บจก.ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย)

27.) บจก.ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย)

28.) บจก.ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย)

29.) บจก.ยูแทคไทย

30.) บจก.มิตซูบิชิ อีเลคทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย)

31.) บจก.พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง

32.) บมจ.การบินไทย

33.) บจก.สยามมิชลิน

34.) บมจ.ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) (สาขา 1)

35.) บจก.บีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)

36.) บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล

37.) บจก.โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์)

38.) บจก.ค้าผลผลิตน้ำตาล

39.) บจก.ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

40.) ราชการกองบัญชาการกองทัพไทย

41.) บจก.แอลแอลไอที (ประเทศไทย)

42.) บจก.ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์)

43.) บจก.สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น

44.) บจก.ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม

45.) บจก.ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง

46.) บจก.เอสซีจี เพอร์ฟอร์มานซ์ เคมิคอลส์

47.) บจก.โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)

48.) บจก.แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)

49.) บจก.สแนชั่น (ไทยแลนด์)

และ 50.) บจก.แคนนอน ปราจีนบุรี (ประเทศไทย)

ทั้งนี้ในภาพรวมปี 2563 มีบริษัทส่งออกรวมทั้งสิ้น 36,164 ราย ในจำนวนนี้ที่มีมูลค่าส่งออกระดับแสนล้านบาทมีจำนวน 5 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 630,687 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.79% ของมูลค่าการส่งออกรวม

ส่วนบริษัทที่มีมูลค่าการส่งออกระดับหมื่นล้านบาท มีจำนวน 108 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 2.83 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39.47% บริษัทที่มีมูลค่าการส่งออกระดับพันล้านบาทมีจำนวน 859 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 2.28 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 31.85% มูลค่าการส่งออกระดับร้อยล้านบาทมีจำนวน 3,521 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 1.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.76% และมูลค่าการส่งออกระดับน้อยกว่าร้อยล้านบาท มีจำนวน 31,671 ราย มูลค่าการส่งออกรวม 296,655 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.13% ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม

จากข้อมูลแสดงให้เป็นว่าบริษัทที่มีมูลค่าการส่งออกสูง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยรวมถึงบริษัทส่งออกแถวหน้าของไทย ขณะที่บริษัทส่งออกของไทยโดยรวมมีมูลค่าส่งออกน้อยกว่าร้อยล้านบาทเป็นส่วนใหญ่

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ให้ความเห็นกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า การที่บริษัทส่งออกในกลุ่ม 50 อันดับแรกที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากต่างประเทศ หรือบริษัทข้ามชาติสะท้อนให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วประเทศไทยเป็นฐานผลิตให้กับประเทศอื่น

ซึ่งแม้จะช่วยเพิ่มตัวเลขส่งออกให้กับประเทศก็จริง แต่ถ้าพูดถึงเม็ดเงินที่ตกถึงคนไทยเองก็ไม่ได้มาก แต่ตัวเลขส่งออกส่วนใหญ่จะไปตกกับบริษัทแม่ต่างชาติเสียส่วนใหญ่ หากในอนาคตบริษัทแม่เหล่านี้พิจารณาลงทุนหรือขยายฐานการลงทุนในประเทศอื่นที่มีข้อได้เปรียบด้านต่าง ๆ ดีกว่าไทย การส่งออกที่เป็นของประเทศไทยหรือผู้ประกอบการไทยจริง ๆ จึงอยู่ในสถานการณ์ที่น่าห่วง

ด้านดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การที่ภาคการส่งออกของไทยส่วนใหญ่อยู่ในมือของบริษัทต่างชาติแม้จะช่วยสร้างงานและสร้างเงินให้กับประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นในหลายประเด็น เช่น การผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของบริษัทไทยยังใช้เทคโนโลยี หรือใช้นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ายังไม่มาก

ทำให้มูลค่าการส่งออกยังไม่สูง, ในสินค้าเกษตร หรือเกษตรแปรรูป ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยี หรอนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามาก ส่วนใหญ่ยังส่งออกในรูปวัตถุดิบ หรือแปรรูปเล็กน้อย และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ที่เข้ามาลงทุนในไทยไม่ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย ผิดกับ FDI ที่ไปลงทุนในจีนจะถูกบังคับเงื่อนไขให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ทำให้จีนมีการพัฒนาสินค้ารุดหน้าไปกว่าไทยมาก เป็นต้น

"สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งทำเพื่อผลักดันมูลค่าการส่งออกให้เพิ่มขึ้น ได้แก่

1.) ประเมินตัวเองว่าอยู่ตรงไหนของอุตสาหกรรม 4.0 เพราะบางคนอาจจะยังอยู่ 1.0 2.0 หรือ 3.0 ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาช่วยมาก ซึ่งต้องเร่งปรับตัว

2.) ปรับโครงสร้างการการผลิตให้ตอบโจทย์เทรนด์ของโลกในเรื่องเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว)

3.) บริหารจัดการต้นทุนให้ต่ำสุดและประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด และ

4.) รัฐบาลต้องประกาศตัวเองว่าจะผลักดันสินค้าใดของไทยบ้างให้เป็นสินค้าโปรดักส์แชมป์เปี้ยนของโลก และมีแผนงานยุทธศาสตร์ในการผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม

รมว.อุตสาหกรรม สั่งปล่อยกู้ช่วยเอสเอ็มอี ดอกเบี้ย 1% ใช้วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท จากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ให้กู้สูงสุดรายละ 5 ล้านบาท ระยะเวลานาน 7 ปี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เร่งออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบการไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ ในโครงการสินเชื่อเสริมพลังสร้างอนาคตเอสเอ็มอีไทย ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่าย หรือลงทุน ขยาย ปรับปรุง กิจการ ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

สำหรับโครงการนี้ จะมีการปล่อยสินเชื่อผ่านกองทุนดังกล่าว คิดอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ระยะเวลากู้นานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ยื่นกู้ได้ถึง 30 ก.ย. นี้ คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นผู้ผลิตสินค้าหรือการให้บริการ ที่มีการจ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 200 ล้านบาท

ส่วนการค้าปลีกหรือการค้าส่ง ต้องจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน มูลค่าไม่เกิน 100 ล้านบาท ต้องมีระบบบัญชีเดียว หรือแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว มีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 12 งวด โดยผู้ขออนุมัติสินเชื่อไม่เป็นหนี้เอ็นพีแอล ไม่ถูกดำเนินคดี และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ณ วันที่ยื่นใบคำขอเข้าร่วม

SMEs อ่อนแรงกำลังสอง พรรคก้าวไกล ดันแก้กฎหมายช่วย | สนามนักสู้ EP. 22

"จากข่าว พรรคก้าวไกล ดัน 4 มาตรการกู้ชีพ SMEs - ท่องเที่ยว ยื่นแก้ไข 'พ.ร.ก.ซอฟท์โลน' อุ้มธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อม 'สินเชื่อคืนภาษี 10 ปี' พยุงธุรกิจท่องเที่ยว

Link ข่าว : https://thestatestimes.com/post/2021011520

SMEs อ่อนแรงกำลังสอง ในยุคโควิดระบาดซ้ำ หาแหล่งเงินทุนมาหมุนต่อได้อย่างไร ปรับตัวอย่างไร พรรคก้าวไกลเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อช่วยธุรกิจ SMEs มาดูกัน

 

 

ไทยเบฟ ร่อนแถลงการณ์ชี้แจงข่าว เตรียมแยก ‘ธุรกิจเบียร์’ มูลค่า 3 แสนล้านบาท IPO ตลาดหุ้นสิงคโปร์สัปดาห์ ยืนยันยังไม่มีการตัดสินใจใด ๆ หลังมีข่าวลือถึงกรณีดังกล่าวหลายครั้ง

จากกรณีที่ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด”(มหาชน) หรือ “ไทยเบฟ” ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” วางแผนแยก “ธุรกิจเบียร์” ยื่นแบบรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) เพื่อเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ภายในอาทิตย์หน้า โดยคาดว่ามูลค่าธุรกิจเบียร์ที่จะนำเข้าจดทะเบียนมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท

https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-28/thaibev-said-to-near-singapore-ipo-filing-for-10-billion-unit

ล่าสุด ไทยเบฟ ได้ออกแถลงการ ชี้แจงกระแสข่าวดังกล่าว โดยในเอกสารแถลงการณ์ระบุว่า การนำธุรกิจเบียร์เข้าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เป็นตัวเลือกหนึ่งของแผนเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ ขณะนี้ยังเป็นเพียงการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาเท่านั้น

พร้อมย้ำว่า บริษัทยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการจะเข้าตลาดหรือไม่ รวมไปถึงกำหนดการต่างๆ

ขณะเดียวกันยังเตือนให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนอย่างระมัดระวัง

สำหรับธุรกิจเบียร์ ที่จะแยกออกมาจากกลุ่มไทยเบฟ มีโรงงานในประเทศไทย รวมไปถึงส่วนของการถือหุ้นใน Sabeco ที่บริษัทได้ซื้อหุ้นไปในช่วงปี 2017 ด้วยมูลค่ากว่า 4,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มีการประเมินธุรกิจเบียร์ของเครือไทยเบฟ อาจมีมูลค่าสูงสุดถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นหุ้นของผู้ผลิตเบียร์ที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของภูมิภาคนี้ทันที ซึ่งนอกจากแบรนด์ ‘เบียร์ช้าง’ แล้ว ไทยเบฟยังเป็นผู้ผลิตเบียร์ภายใต้แบรนด์เฟเดอร์บรอย ,อาชา ,ฮันทส์แมน ,แบล็ค ดราก้อน ,แทปเปอร์ รวมถึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเบียร์เวียดนาม ‘ไซ่ง่อนเบียร์’ อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ข่าวลือเรื่องไทยเบฟ จะนำ ‘ธุรกิจเบียร์’ ทำ IPO ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ มีมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และทางไทยเบฟก็ได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวทุกครั้ง

นอกจากนี้ ในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาทาง ไทยเบฟ ได้เคยออกมาปฏิเสธข่าวของสำนักข่าว Reuters และสื่อในประเทศสิงคโปร์ถึงการนำธุรกิจธุรกิจเบียร์เข้า IPO มาแล้ว โดยกล่าวว่ายังไม่มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ มีการประเมินว่า หากไทยเบฟ นำ ‘ธุรกิจเบียร์’ ระดมทุนครั้งใหม่ จะเป็นการเสนอขายหุ้นที่มีมูลค่ามากที่สุดของสิงคโปร์ ในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ที่บริษัท “ฮัทชิสัน พอร์ต โฮลดิงส์” (Hutchison Port Holdings) มีการขายหุ้นไอพีโอ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.7 แสนล้านบาท) เมื่อปี 2554

'เพชร - อาสิระ' ผู้ปั้นวงการมวยไทย จนติดใจคนทั่วโลก | Game Changer เก่งพลิกเกม EP.1

เมื่อสนามมวย ถูกยัดให้เป็น ‘ต้นตอ’ ก่อโรค

บาป ที่ไม่ได้ก่อ แต่สุดท้ายก็โดนยาแรงแบบเต็ม Max

ฝ่าวิกฤติ ‘แม็กซ์’ มวยไทย ปรับเชิง ‘ชก’ นอกสังเวียน ปั้นคอนเทนต์ออนไลน์ ประคองธุรกิจจาก ‘บาป’ ที่ไม่ได้ก่อ

เพชร – อาสิระ เตาะเจริญสุข ‘บิ๊กบอส’ แห่ง บริษัท แม็กซ์ มวยไทย จำกัด

.

กระทรวงคลัง คาดเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวเพียง 2.8% จากเดิมเคยประเมินจะขยายตัวราว 4.5% เนื่องจากได้รับผลกระทบโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ เชื่อมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะช่วยเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ได้ปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2564 จากเดิมที่ประเมินว่าจะขยายตัวได้ 4.5% ลดลงเหลือขยายตัว 2.8% เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในช่วงต้นปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย

.

ทั้งนี้ สศค. ประเมินว่า ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด คือ ภาคการท่องเที่ยว เดิมประเมินว่าในปีนี้ จะมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามา 8 ล้านคน ลดเหลือเพียง 5 ล้านคน ส่งผลให้รายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงตามไปด้วย จากเดิมคาดมีรายได้อยู่ที่ 3.3 แสนล้านบาท เหลือเพียง 2.6 แสนล้านบาท หรือลดลงไป 22.1%

.

ส่วนปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นอยู่ที 5.2% แนวโน้มค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยทั้งปี 29.9 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกคาดขยายตัว 6.2% และนำเข้าคาดขยายตัว 7.8%

.

อย่างไรก็ดี มีสัญญาณบวกจากการได้รับวัคซีนของประชากรในประเทศต่าง ๆ ในระยะต่อไป ประกอบกับภาครัฐได้ดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ และมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ประกอบกับคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ในส่วนที่เหลืออย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการจ้างงานให้เพิ่มสูงขึ้นได้ และจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป

กระทรวงพาณิชย์ เปิด 12 ธุรกิจที่น่าจับตามองปี 2564 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตยุค New Normal และ Next Normal : อี-คอมเมิร์ซ โลจิสติกส์ ธุรกิจเกี่ยวกับสุขอนามัย และธุรกิจเทคโนโลยีที่รองรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 2 ครั้งในประเทศไทย ทำให้ธุรกิจต่างได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลงชั่วคราวจากการเว้นระยะห่างทางสังคม

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคฯ ประกอบกับประชาชนมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตหลายด้าน ทำให้การใช้จ่ายเกิดการชะลอตัว และมีความระมัดระวังเรื่องการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ และกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศโดยรวม ทำให้ธุรกิจกลับมาประกอบธุรกิจ และขยายการลงทุนอีกครั้ง ซึ่งในปี 2563 ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ต่างหันมาประกอบธุรกิจที่สอดรับกับการใช้ชีวิตยุค New Normal มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย ธุรกิจทางการแพทย์ และธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ”

“สำหรับปี 2564 การดำเนินชีวิตของผู้คน และการประกอบธุรกิจได้ก้าวไปอีกขั้นจากวิถีปกติใหม่ (New Normal) เป็นวิถีปกติถัดไป (Next Normal) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทำการวิเคราะห์ธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นธุรกิจดาวเด่นที่น่าจับตามองในปี 2564 จำนวน 12 ธุรกิจ

โดยได้ทำการวิเคราะห์จากข้อมูลทางธุรกิจของกรมฯ ตั้งแต่สถิติจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ จำนวนธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ สถานที่ตั้ง งบการเงิน ผลการประกอบธุรกิจ และข้อมูลปัจจัยทางธุรกิจและเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกกรมฯ ร่วมกับความสอดคล้องจากข้อมูล และผลการศึกษาจากหน่วยงานวิจัยด้านธุรกิจอื่นๆ เช่น ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฯลฯ เป็นต้น”

รมช.พณ. กล่าวต่อว่า “12 ธุรกิจดาวเด่นที่น่าสนใจในปี 2564 ประกอบด้วย

1) ธุรกิจการค้าออนไลน์ (e-Commerce)

2) ธุรกิจแพลตฟอร์ม สำหรับการเป็นตลาดกลางออนไลน์

3) ธุรกิจสื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) และ ออฟไลน์ (Offline)

4) ธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของ (Delivery)

5) ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์

6) ธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

7) ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม

8) ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์

9) ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

10) ธุรกิจพัฒนาโปรแกรม Software และ Application

11) ธุรกิจการเงิน Fintech และ e-Payment

12) ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เช่น ร้านสะดวกซัก เครื่องเติมเงิน เครื่องเติมน้ำ”

โดยทั้ง 12 ธุรกิจ สามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มธุรกิจได้ ดังนี้

1) กลุ่มธุรกิจด้านการค้าและการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ‘ธุรกิจการค้าออนไลน์ (e-Commerce)’ ‘ธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการเป็นตลาดกลางออนไลน์’ และ ‘ธุรกิจสื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline)’ โดยธุรกิจในกลุ่มนี้ มีการเติบโตที่สอดคล้องและเกื้อหนุนกันกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนในปัจจุบัน ที่มีการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากช่วงก่อนหน้านี้และช่วงที่เกิดมีการแพร่ระบาดของโควิด-19

ซึ่งสะท้อนจากจำนวนธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการจัดตั้งธุรกิจใหม่ เช่น ‘ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ’ ที่มีการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ จากปีละ 310 ราย ในปี 2561 มาเป็นปีละ 798 ราย ในปี 2563 ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสและความท้าทายให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ เข้ามาดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น”

2) กลุ่มธุรกิจด้านขนส่ง โลจิสติกส์ และบรรจุภัณฑ์ เช่น ‘ธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของ (Delivery)’ ‘ธุรกิจขนส่ง โลจิสติกส์ (Logistic)’ และ ‘ธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging)’ โดยเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลดีจากพฤติกรรมการบริโภคในการซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์ และการเติบโตของกลุ่มธุรกิจด้านการค้า และการตลาดออนไลน์

ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน สังเกตได้จากแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างมาก เช่น ธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของ (Delivery) มีรายได้ตลอดปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึงร้อยละ 57 และธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ (Logistic) มีกำไรตลอดปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึงร้อยละ 116 เป็นต้น”

3) กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ สุขอนามัย และการแพทย์ ได้แก่ ‘ธุรกิจบริการทางแพทย์และความงาม’ ‘ธุรกิจเครื่องมือแพทย์’ และ ‘ธุรกิจเวชภัณฑ์ยาและขายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์’ เป็นกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลดีจากพฤติกรรมของคนในสังคมที่ใส่ใจเรื่องของสุขภาพและการแพทย์ รวมทั้ง ความระแวดระวังจากการแพร่ระบาดของโรคฯ ที่เกิดขึ้น

ซึ่งสะท้อนจากจำนวนธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากการจัดตั้งธุรกิจใหม่ เช่น ‘ธุรกิจเครื่องมือแพทย์’ ที่มีการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ จากปีละ 68 ราย ในปี 2561 มาเป็นปีละกว่า 114 ราย ในปี 2563 และ ‘ธุรกิจเวชภัณฑ์ยาและขายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ และทางการแพทย์’ ที่มีการเติบโตของการจัดตั้งธุรกิจใหม่ จากปีละ 945 ราย ในปี 2561 มาเป็นปีละกว่า 1,158 ราย ในปี 2563 เป็นต้น”

4) กลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการใช้งานในในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ‘ธุรกิจพัฒนาโปรแกรม Software และ Application’ ‘ธุรกิจการเงิน Fintech และ e-Payment’ ‘ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เครื่องซักผ้า เครื่องเติมเงิน และเครื่องเติมน้ำ’ จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ตอบสนองต่อการบริโภคของคนในสังคม เพื่ออำนวยความสะดวกและพัฒนาการให้บริการต่างๆ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

สังเกตได้จากแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างมาก เช่น ‘ธุรกิจการเงิน Fintech และ e-Payment’ มีกำไรตลอดปี 2562 เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น จากปี 2561 ถึงร้อยละ 324 และ ‘ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เครื่องซักผ้า เครื่องเติมเงิน และเครื่องเติมน้ำ’ มีกำไรตลอดปี 2562 เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึงร้อยละ 94 เป็นต้น”

“ธุรกิจดาวเด่น 12 ธุรกิจ มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และมีธุรกิจคงอยู่ทั้งสิ้น 65,738 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 812,213.46 ล้านบาท แบ่งเป็น * ธุรกิจการค้าออนไลน์ (e-Commerce) จำนวน 2,487 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 29,243.10 ล้านบาท * ธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการเป็นตลาดกลางออนไลน์ จำนวน 739 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 6,259.39 ล้านบาท

* ธุรกิจสื่อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) และ ออฟไลน์ (Offline) จำนวน 9,877 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 47,323.49 ล้านบาท * ธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของ (Delivery) จำนวน 797 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 3,651.61 ล้านบาท * ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ จำนวน 28,346 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 362,115.54 ล้านบาท * ธุรกิจออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จำนวน 1,846 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 51,502.69 ล้านบาท

* ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม จำนวน 4,380 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 25,510.57 ล้านบาท * ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ จำนวน 809 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 11,308.12 ล้านบาท * ธุรกิจเวชภัณฑ์ยาและธุรกิจขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ จำนวน 10,001 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 76,628.46 ล้านบาท * ธุรกิจพัฒนาโปรแกรม Software และ Application จำนวน 5,891 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 189,387.10 ล้านบาท

* ธุรกิจการเงิน Fintech และ e-Payment จำนวน 113 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 6,344.62 ล้านบาท และ * ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เช่น ร้านสะดวกซัก เครื่องเติมเงิน เครื่องเติมน้ำ จำนวน 452 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 2,938.77 ล้านบาท”

“ทั้งนี้ คาดว่าปี 2564 นี้ การประกอบธุรกิจของภาคธุรกิจจะมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น โดยต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลกระทบจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าต่อไปได้

รวมทั้ง ขอแนะนำว่าผู้ประกอบการที่กำลังจะลงทุนประกอบธุรกิจ และกำลังมองหาธุรกิจที่น่าสนใจ ซึ่ง 12 ธุรกิจดังกล่าวข้างต้น น่าสนใจเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากกระแสธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยมแล้ว ความชื่นชอบและความถนัดเป็นอีกคุณสมบัติที่ต้องคำนึง เนื่องการลงทุนมีความเสี่ยง การลงทุนทำธุรกิจต้องมีรอบคอบให้มากที่สุด” รมช.พณ.กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top