Tuesday, 30 April 2024
ECONBIZ NEWS

โควิดซาพาเงินเฟ้อเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมีนาคม 2564 ว่า  เงินเฟ้อในเดือนมีนาคม หดตัวลงเล็กน้อย โดยลดลง 0.08% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ถือเป็นการหดตัวที่น้อยสุดในรอบ 13 เดือน หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกเริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่กลับมาเป็นบวกอีกครั้งในรอบ 14 เดือน 

รวมทั้งน้ำมันพืช และเนื้อสุกรที่ยังมีราคาสูง โดยเนื้อสุกรปรับสูงขึ้นตาม ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับมีต้นทุนในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มอาหารสด ยังหดตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยลดลงร้อยละ 1.06 ตามการลดลงของ ข้าวสาร ไก่สด ไข่ไก่ และผักสด 

ขณะที่ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ปรับลดลงตามมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค.นี้ สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตสินค้า การจัดโปรโมชั่น และอุปสงค์ที่เกิดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์ ยังได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ 0.7-1.7% (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจะมีการทบทวนอีกครั้ง

ททท. กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวกลุ่ม Expat ผ่านกีฬากอล์ฟ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐาน SHA

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟในกลุ่มชาวต่างชาติที่พานักอยู่ในประเทศไทย (EXPAT) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวของประเทศไทยในกลุ่มนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง ผ่านทางโครงการ  “STAY PLAY SAFE”

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยและทั่วโลกได้เผชิญวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยตรง เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางได้เกิดการชะงักของระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ รัฐบาลจึงได้เร่งสร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรการทางสาธารณสุขต่าง ๆ ควบคู่กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยได้ดำเนินโครงการ “STAY PLAY SAFE” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข และ หน่วยงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 

“เพื่อสร้างการรับรู้ถึงมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย AMAZING THAILAND SAFETY & HEALTH ADMINSTRATION : SHA และ การสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยปลอดภัย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวเดินทางกลับมาสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยปัจจุบันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกิจการที่เกี่ยวข้องจานวนมากที่ได้ผ่านมาตรฐาน SHA

ทั้งนี้ ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย หรือ กลุ่ม EXPAT ซึ่งถือเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพสูง จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด อาทิ กรมการท่องเที่ยว ททท. การกีฬาแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) บูรณาการการทำงานเพื่อร่วมสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นการท่องเที่ยวในกลุ่มดังกล่าว

นายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท. กล่าวว่า จากการทำงานอย่างหนักของรัฐบาล บุคลากรการแพทย์ และความร่วมมือของประชาชนชาวไทย ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนสามารถผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ตามลาดับ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ททท. ได้มุ่งเน้นในการสื่อสารไปยังนักท่องเที่ยวต่างชาติและกลุ่ม EXPAT เพื่อให้ประเทศไทยยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในใจเสมอ (TOP OF MIND) รวมทั้ง สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทยและมาตรฐานด้านสาธารณสุขของไทยในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ 

ผ่านทางกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมเดินทางท่องเที่ยวสัมผัส "ปอดกรุงเทพฯ" และ วิถีท่องเที่ยวชุมชน ณ คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชูจุดขายท่องเที่ยววิถีไทย วิถีธรรมชาติ ใกล้กรุงฯ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2563 กิจกรรมส่งเสริมการขาย “EXPAT FAIR 2020” (EXPAT TRAVEL DEAL 2020) ณ ควอเทียร์ แกลอรี ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ เมื่อวันที่ 11 – 13 กันยายน 2563 กิจกรรมเดินทางท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่ายของเชียงคานและเสน่ห์ของจังหวัดเลย เมื่อวันที่ 10 – 11 ตุลาคม 2563 และกิจกรรมเดินทางท่องเที่ยวล่องเรือไฟฟ้า คลองดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563

ซึ่ง ททท. ได้วางแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเดินทางของกลุ่ม EXPAT ที่มีความสนใจในกีฬากอล์ฟ โดยไ ด้กำห จัด กิจ THE MINISTER CUP 2 0 2 1 AMAZING THAILAND EXPAT GOLF TOURNAMENT SERIES เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยมี 2 กิจกรรม คือ

1) กิจกรรม THE MINISTER CUP 2021 ในวันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน 2564 สนามกอล์ฟ อัลไพน์ กอล์ฟ คลับกรุงเทพฯ โดยการเชิญคณะทูตานุทูตและหอการค้าของประเทศต่าง เข้าร่วมกิจกรรมกอล์ฟเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้บริหารของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมชี้แจงถึงสถานการณ์โควิด-19 และ นโยบายการรับมือของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมถึงแนวทางของรัฐบาลไทยในการดูแลชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และ การสร้างความมั่นใจต่อชาวต่างชาติถึง ความปลอดภัยในการทำกิจกรรมกอล์ฟ และ ท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่มีมาตรฐานสุขอนามัย SHA รองรับ โดยได้รับเกียรติจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็น ประธานในพิธี

2) กิจกรรม AMAZING THAILAND EXPAT GOLF TOURNAMENT SERIES 2021 เพื่อกระตุ้นการเดินทางข้ามภูมิภาคของกลุ่ม EXPAT ในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2564 สนามกอล์ฟสยาม คันทรี่ คลับ โอลด์คอร์ส จังหวัด ชลบุรี คาดว่า กิจกรรมดังกล่าว จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่ม EXPAT ในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และสะท้อนถึงความพร้อมในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งประเทศไทย ได้ประสบความสำเร็จในการกักตัวในรูปแบบ Golf Quarantine อีกด้วย

แบงก์ชาติสำรองเงินสด 1.6 หมื่นล. รับคนเบิกใช้สงกรานต์

นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เดือน เม..นี้ ธปท. ประเมินว่า ความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ โดยธนาคารพาณิชย์จะมีการเบิกจ่ายธนบัตรจาก ธปท. ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนเทศกาลสงกรานต์เพิ่มขึ้นจากการเบิกจ่ายปกติ เป็นมูลค่าสุทธิประมาณ 16,000 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2563 ที่มีการเลื่อนวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และใกล้เคียงกับปี 2562

ทั้งนี้การประเมินดังกล่าว สะท้อนถึงมาตรการภาครัฐเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศ ในขณะที่แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย  ธปท. ยืนยันว่า จะเตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง เพื่อรองรับความต้องการไว้อย่างเพียงพอ

ประเมินใช้จ่ายหยุดยาวสงกรานต์แค่คนละ 5,700 บาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยผลสำรวจการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ พบว่า ในวันหยุดยาว 6 วันระหว่างวันที่ 10 - 15 เม.ย.นี้ การใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 5,700 บาท โดยการใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ อยู่ที่ 24,000 ล้านบาท หดตัว 4% แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายเลี้ยงสังสรรค์รับประทานอาหารมากที่สุด อยู่ที่ 9,795 ล้านบาท ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนวันหยุดเพื่อสังสรรค์กับเพื่อนและครอบครัว ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมอื่น ๆ ปรับตัวลดลงทั้งหมด

สำหรับสาเหตุของค่าใช้จ่ายที่ลดลงนั้น เป็นเพราะความกังวลเรื่องสถานการณ์โควิด-19 และความเสี่ยงในการไม่มีงานทำหรือภาระค่าครองชีพ สะท้อนแนวโน้มสถานการณ์กำลังซื้อในระยะข้างหน้าจึงยังมีความเปราะบาง ดังนั้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเวลาและรูปแบบที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในช่วงนี้

อย่างไรก็ตามจากการสำรวจมีสัดส่วน 67% ได้รับสิทธิจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน และมากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ได้รับสิทธิ เห็นว่า ปัจจัยด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมีผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายในช่วงสงกรานต์

จ่อคุยสิงคโปร์จับคู่ประเทศเดินทางท่องเที่ยว

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าจะหารือกับทางสถานทูตสิงคโปร์ เพื่อพิจารณาแนวทางการเจรจาจับคู่การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกัน (ทราเวลลบับเบิ้ล) โดยเฉพาะการดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มที่ฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 โดส และมีผลการตรวจไวรัสโควิด-19 เป็นลบ สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันได้ ซึ่งกรรีนี้อาจเริ่มดำเนินการในระยะต่อไป หลังจากรัฐบาลได้เริ่มต้นนำร่องการดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มนี้ให้เดินทางมาในประเทศไทยแบบไม่กักตัวในห้อง 7 วัน ในพื้นที่ของโรงแรมที่พักของจังหวัดภูเก็ตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา 

“กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ถึงการทำบับเบิลระหว่างเมืองต่อเมือง หรือประเทศต่อประเทศ โดยมีหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น สิงคโปร์ ซึ่งตอนนี้รับทราบข้อมูลมาว่า สิงคโปร์เองนั้นมีการทำบับเบิลกับทางประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์มาก่อนหน้านี้ หากไทยสามารถหารือกับสิงคโปร์ได้ก็อาจทำเส้นทางร่วมกันได้ แบบ 1+3 คือ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ถือว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศ โดยเฉพาะการเดินทางที่สามารถทำได้สะดวกมากขึ้น” 

ขณะเดียวกันรัฐบาลยังหาทางทำทราเวล บับเบิล ร่วมกับอีกหลายประเทศที่มีความน่าสนใจและอยู่ในอาเซียนอีกหลายประเทศ เช่น เวียดนาม ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิดน้อย จึงเป็นประเทศที่น่าสนใจที่จะทำการทราเวล บับเบิลร่วมกันได้ โดยจากนี้ไปคงต้องมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องถึงรายละเอียดและความเป็นไปได้ว่าจะทำอย่างไร เช่นเดียวกับสปป.ลาว ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านมีชายแดนติดกับไทยหลายจังหวัด และมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดน้อยเช่นเดียวกัน รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ด้วย คาดว่าการทำทราเวล บับเบิล น่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป 

ประกันสังคม เปิดรับฟังความคิดเห็นลูกจ้าง ผู้ประกันตน ในการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และผู้ประกันตน ยื่นข้อเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้มีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ซึ่งจากข้อเรียกร้องดังกล่าว นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการศึกษาแนวทาง ถึงความเป็นไปได้ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกันตนให้มากที่สุด 

ในการนี้ สำนักงานประกันสังคมจึงได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของนายจ้าง ผู้ประกันตน ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 พร้อมทั้งได้จัดทำวีดิทัศน์ เพื่อให้ผู้ประกันตนรับชมก่อนตอบแบบสอบถาม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ เช่น กรณีขอเลือกให้ผู้ประกันตน เป็นผู้มีสิทธิในการเลือกรับประโยชน์ทดแทนบำเหน็จชราภาพหรือบำนาญชราภาพ กรณีขอคืน การคืนเงินสมทบกรณีชราภาพบางส่วนเมื่อผู้ประกันตนออกจากงาน กรณีขอกู้ ให้ผู้ประกันตนนำเงินสมทบกรณีชราภาพบางส่วน มาใช้เป็นหลักประกันเงินกู้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินได้ เป็นต้น

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมจึงขอเชิญชวน นายจ้าง ผู้ประกันตน และประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมที่ http://www.sso.go.th หรือ แสดงความคิดเห็นผ่าน QR code ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สาขา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 นี้

นายกฯ ยึดหลัก “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี” ดันเพิ่มป่า - เพิ่มเศรษฐกิจ จัดสรรที่ทำกินแล้วเกือบ 7 แสนไร่ ป่าชุมชนกว่า 6 ล้านไร่ 

วันที่ 2 เมษายน 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความก้าวหน้าในการดูแลประชาชนให้มีพื้นที่ทำกินและยกระดับความเป็นอยู่ว่า ภายใต้การบริหารราชการของ พล.อ.ประยุทธ์ จัทน์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เดินหน้าการพัฒนาที่ดินเพื่อประชาชนมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอย่างมั่นคง อีกทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า โดยยึดหลัก “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี” ซึ่งรัฐบางได้ริเริ่มนโยบายใหม่ที่ครอบคลุมหลายมิติ ดังเห็นได้จาก การแก้ไขกฎหมาย พระราชบัญญัติป่าชุมชน ช่วยไม่ให้ชาวบ้านที่เก็บของป่ามาขายต้องถูกจับเหมือนในอดีต และให้อำนาจชาวบ้านในชุมชนในการตัดสินใจดูแลและใช้ประโยชน์จากป่าไม้ของชุมชนตัวเอง ณ ปัจจุบัน มีการประกาศจัดตั้งป่าชุมชนไปแล้ว 11,327 ป่าชุมชน พื้นที่ 6.29 ล้านไร่ และมีแผนการจัดตั้งป่าชุมชนใหม่ในปี 2564 อีก 300 ป่าชุมชน 

มากไปกว่านั้น รัฐบาลยังได้ ปลดล็อก พระราชบัญญัติป่าไม้ อนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้หวงห้าม 158 ชนิดในพื้นที่ของตัวเอง โดยไม่ถือเป็นไม้หวงห้ามอีกต่อไป ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลยังได้เปิดให้ลงทะเบียน “ปลูกไม้มีค่า” กับกรมป่าไม้ ถ้าปลูกในที่ดินของตัวเอง มีเอกสารสิทธิถูกต้อง ก็สามารถทำไม้ ตัด แปรรูป ส่งออก หรืออื่น ๆ ได้ แต่ถ้าขึ้นอยู่ในป่า ยังถือเป็น “ไม้หวงห้าม” ปัจจุบันนี้ประชาชนปลูกไม้มีค่าและลงทะเบียนกับกรมป่าไม้แล้ว 7 หมื่นกว่าราย เนื้อที่รวม ล้านกว่าไร่ โดยมีโครงการคู่ขนานไปด้วย คือ ประชาชนสามารถนำไม้มีค่า ที่กำหนดไว้ 58 ชนิด (เช่น สัก ประดู่ พะยูง เต็ง มะค่าโมง เป็นต้น) ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรได้อีกด้วย

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีต้องการให้ประชาชนมี่ที่อยู่อาศัยและที่ทำกินอย่างมั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กลไกภาครัฐจึงต้องขับเคลื่อนในทิศทางที่ส่งเสริมโอกาสแก่ประชาชน ลดความขัดแย้ง ไม่ขัดกฎหมาย แนวคิด “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ดี” จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและประชาชน ทั้งนี้ แม้จะพบปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินซ้ำซ้อนอยู่ในบางพื้นที่ ในภาพรวมของการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้ชุมชนให้สามารถอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ / ป่าชายเลน / ที่สปก. / ที่ราชพัสดุ / ที่สาธารณะประโยชน์ นับตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน จัดสรรให้แล้ว 60,419 ราย 74,612 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 665,000 ไร่ และไม่ใช่เพียงแค่นั้น รัฐบาลยังได้ดำเนินการอย่างบูรณาการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงน้ำ ไฟฟ้า และถนน รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม เช่น การปลูกต้นไม้ในพื้นที่เป็นอาชีพเสริม เพื่อชุมชนมีรายได้เพี่มจากโครงการคาร์บอนเครดิตอีกด้วย

ปิดฉาก “คนละครึ่ง” คนกรุงมือเติบใช้สูงสุดยอดทะลุแสนล้าน

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการคนละครึ่ง ได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา จังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ สงขลา และเชียงใหม่ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 6 เดือนตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ถึงไตรมาสแรกของปี 2564 ทำให้เกิดการหมุนเวียนของการผลิตและการค้าที่เกี่ยวเนื่อง ส่งให้โครงการคนละครึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง 

ส่วนผลการใช้จ่าย พบว่า มียอดการใช้จ่ายตลอดโครงการ 102,065 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 52,251 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 49,814 ล้านบาท โดยมีผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 14,793,502 คน จากเป้าหมาย 15 ล้านคน ในจำนวนนี้มีการใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป จำนวน 13,653,565 คน หรือประมาณร้อยละ 92 ของผู้ใช้สิทธิทั้งหมด โดยมีคนใช้จ่ายครบ 3,500 บาท จำนวน 7,819,925 คน 

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ตรวจพบการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการคนละครึ่ง และได้มีการระงับการใช้แอปพลิเคชันและการจ่ายเงินร้านค้า รวมทั้งจัดส่งข้อมูลร้านค้าและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวนและดำเนินการทางกฎหมายแล้วทั้งสิ้น 749 ราย โดยมีการร้องทุกข์กล่าวโทษร้านค้าและประชาชนที่เกี่ยวข้องแล้ว 85 ราย ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบของ สตช. และ ปอศ.

"ชัยวุฒิ" ไหว้สิ่งศักสิทธิ์ ประจำกระทรวงดีอีเอสทำงานอย่างเป็นทางการวันแรก พร้อมมอบ 5 นโยบายผู้บริหารหน่วยงานกระทรวง กำชับ ทำงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เน้นประโยชน์ถึงประชาชนโดยตรง ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันภัยทางโซเชียล

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังเข้าสักการะศาลท้าวมหาพรหม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงดีอีเอส ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อย่างเป็นทางการ โดยมีคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเข้าร่วม ว่า 

งานที่จะทำก็คงเป็นงานตามนโยบายของกระทรวงดีอีเอสที่ดำเนินการอยู่แล้ว และมีสิ่งที่นายกรัฐมนตรีฝากมาให้ช่วยดำเนินการ ตนเองไม่ใช่นักเทคนิคและไม่ใช่นักกฎหมาย มีหลายสิ่งที่ไม่รู้ และรู้บางสิ่งที่ผู้บริหารอาจจะไม่รู้โดยเฉพาะเรื่องการเมือง จึงขอให้ทุกท่านช่วยกันทำงาน โดยพยายามให้ทุกอย่างลงไปถึงประชาชน เน้นการช่วยกันพัฒนาประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้แข่งขันได้กับต่างประเทศ และมีสิ่งใดที่จะต้องการผลักดันก็ขอให้ส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม ขอให้ทุกคนทำงานให้เต็มที่ ขอให้ทำเพื่อพี่น้องประชาชน และขอให้ทำทุกอย่างให้ถูกกฎหมาย ไม่อยากให้มีการฟ้องร้องหรือเกิดความเสียหายกับรัฐบาล

สำหรับกรอบนโยบายในการขับเคลื่อนเบื้องต้นจะเน้นใน 5 เรื่องคือ

1.) การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างทั่วถึง แพร่หลาย เป็นธรรม ในทุกมิติ 

2.) การส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างแพร่หลาย ขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ส่งเสริมการพัฒนา e-service ภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้ารับบริการภาครัฐได้โดยสะดวก รวดเร็ว ไม่จำกัดสถานที่ เช่น การร่วมกับสรรพากรในการออกมาตรการทางภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ผู้ประกอบธุรกิจ, ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกด้านใบอนุญาตทำงาน วีซ่า และการพักอาศัยสำหรับ digital talent (Visa and work permit for digital talent), การพัฒนาตลาดนวัตกรรมด้วยบัญชีนวัตกรรมดิจิทัล, การส่งเสริมให้เกิดระบบ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน (Digital Identification) เป็นต้น 

3.) จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก 5G การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และการสนับสนุนให้ประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ใน internet 

4.) การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเข้าสู่โลกดิจิทัล (Trusted digital ecosystem) โดยเฉพาะเรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 

5.) การปกป้องคุ้มครองประชาชนจากการใช้ สื่อ social media และ internet ในทางมิชอบ


 

หอการค้าฯ ประเมินใช้จ่ายสงกรานต์ปีนี้เงียบเหงา

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ได้สำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 64 กกลุ่มตัวอย่าง 1,256 คนทั่วประเทศ วันที่ 22-29 มีนาคม 2564 พบว่า การใช้จ่ายเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ยังไม่คึกคัก มีมูลค่าการใช้จ่าย 112,867 ล้านบาท แม้เพิ่มขึ้น 63.6% เมื่อเทียบกับปี 63 ที่มีการใช้จ่ายต่ำสุดเพียง 69,005 ล้านบาท เพราะเป็นมาจากการระบาดของโควิด-19 และงดจัดกิจกรรมสงกรานต์ 

“สงกรานต์ปีนี้ ยังไม่คึกคัก เพราะรัฐบาลประกาศงดกิจกรรมสาดน้ำ และประชาชนยังกังวลกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 กังวลกับอุบัติเหตุ และความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงต้องการประหยัด มีหนี้สินเพิ่มขึ้น และรายได้ลดลง จึงใช้จ่ายน้อย โดยเมื่อเทียบกับปี 62 ลดลงมากถึง 16.9% อัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 56 ที่ขยายตัวสูงสุด 10.42% มูลค่า 114,119 ล้านบาท แต่หันไปวางแผนทำบุญ ทำอาหารอยู่กับบ้าน รดน้ำดำหัวและเยี่ยมญาติผู้ใหญ่มากขึ้น”  

ส่วนการเดินทาง ทั้งท่องเที่ยว และกลับภูมิลำเนา พบว่า เริ่มมีบรรยากาศการเดินทางมากขึ้น โดยผู้ตอบมากถึง 64.7% ตอบมีแผนเดินทาง แต่จะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น 3-5 วัน เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายเงิน ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งโครงการเราชนะ ท่องเที่ยวคนละครึ่ง โดยมีมูลค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเฉลี่ยคนละ 5,1800 บาท


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top