Friday, 29 March 2024
COLUMNIST

ภัยความมั่นคง ‘สหรัฐฯ’ ชิงลงมือ สอย ‘บอลลูนจีน’ ร่วงนอกชายฝั่ง หวั่นซ้ำรอย ‘Fu-Go’ บอลลูนมหาภัย เมื่อ ๗๘ ปีก่อน

เมื่อไม่นานมานี้ข่าวต่างประเทศที่ได้รับความสนใจมากๆ ข่าวหนึ่งก็คือ วัตถุบินปริศนาที่ปรากฏบนน่านฟ้าของสหรัฐฯ ซึ่งบางฝ่ายก็มโนไปว่ามันคือยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาว หรือ UFO (Unidentified Flying Object)

แต่ข้อถกเถียงเรื่อง  UFO ก็ต้องส่างซาลง เมื่อมีข่าวว่า สหรัฐฯ จัดการกับวัตถุปริศนาชิ้นนั้นด้วยการส่งเครื่องบินขับไล่แบบ F-22 ยิงมันตกที่นอกชายฝั่งของมลรัฐ South Carolina ของสหรัฐฯ

หลังจากนั้น ‘จีน’ ออกมาประท้วง ‘สหรัฐฯ’ ที่ยิงวัตถุปริศนานั้น โดยจีนอ้างว่ามันคือ ‘บอลลูนพลเรือนซึ่งไร้คนบังคับ’ และระบุว่า พวกเขาสงวนสิทธิ์ในการ ‘ตอบโต้เท่าที่จำเป็น’

การที่บอลลูนดังกล่าวเข้ามาในน่านฟ้าของสหรัฐฯ มันยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนยิ่งเลวร้ายลง โดยสหรัฐฯ นั่นคือการส่งอุปกรณ์สอดแนมเข้ามาในดินแดนของตน แต่ทางจีนกลับกล่าวอ้างว่ามันคือ ‘บอลลูน (เรือเหาะ) ที่ใช้ในกิจการพลเรือนและไร้คนขับ’ โดยเป็นบอลลูนวิจัยสภาพอากาศที่หลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหรัฐฯ ‘โดยบังเอิญ’
 

เว็บไซต์ People's Daily Online ได้รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีเรือเหาะไร้คนขับสัญชาติจีนหลุดเข้าสู่น่านฟ้าสหรัฐฯ และถูกกองทัพสหรัฐฯ ยิงตกเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 โดยอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสอดแนมของจีน 

ทางฟากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า บอลลูนเป็นเรือเหาะพลเรือนที่ใช้เป็นหลักในการวิจัยอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเกิดเหตุสุดวิสัยเนื่องจากลมแรง และมีความสามารถในการบังคับทิศทางด้วยตนเองที่จำกัด เมื่อสหรัฐฯ พบเห็นเรือเหาะ ฝ่ายจีนได้แจ้งให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบถึงลักษณะของเรือเหาะพลเรือน และจีนได้สื่อสารกับสหรัฐฯ อย่างแข็งขัน รวมทั้งทำงานร่วมกับสหรัฐฯ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงนี้อย่างเหมาะสมด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมืออาชีพ และอดกลั้น

เครื่องบินขับไล่แบบ F-22 ขณะยิงขีปนาวุธขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงแบบอากาศสู่อากาศ แบบ AIM-9X

ในส่วนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวว่า เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงหลายลำมีส่วนร่วมในภารกิจเมื่อวันเสาร์ แต่มีเพียงเครื่องบินขับไล่แบบ F-22 จากฐานทัพอากาศ Langley ในมลรัฐ Virginia เพียงลำเดียวที่ยิงบอลลูนดังกล่าว เมื่อเวลา 14:39 น. (19:39 GMT) โดยใช้เป็นเป้าหมายของขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงแบบอากาศสู่อากาศ แบบ AIM-9X ซึ่งค้นหาเป้าหมายด้วยความร้อน เพียงลูกเดียว บอลลูนซึ่งลอยอยู่ที่ความสูงประมาณ 18,300 เมตร (60,000 ฟุต) ถูกยิงตกนอกชายฝั่งมลรัฐ South Carolina ประมาณ 6 ไมล์ทะเล 

Joe Biden ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เขาได้ออกคำสั่งให้ยิงบอลลูนลง แต่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แนะนำให้รอจนกว่าจะสามารถปฏิบัติการเหนือน่านน้ำเปิด เพื่อปกป้องเศษซากที่ตกลงสู่พื้นโลกไม่ให้เป็นอันตรายต่อประชาชนสหรัฐฯ 

“เรายิงบอลลูนตกได้สำเร็จ และผมขอชมเชยนักบินของเราที่ทำสำเร็จ” ประธานาธิบดี Biden กล่าวที่มลรัฐ Maryland

บอลลูนซึ่งลอยอยู่สูงประมาณ 18,300 เมตร (60,000 ฟุต) ถูกยิงตกนอกชายฝั่งมลรัฐ South Carolina 

ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นานหลังจากรัฐบาลสหรัฐฯ สั่งระงับเที่ยวบินบริเวณชายฝั่งของมลรัฐ South Carolina เนื่องจากสิ่งที่กล่าวในเวลานั้นคือ ปฏิบัติการด้านความมั่นคงของชาติที่ไม่เปิดเผย 

หลังจากเสร็จภารกิจเครื่องบินขับไล่แบบ F-22 บินกลับฐานทัพฯ ภาพจากโทรทัศน์แสดงให้เห็นการระเบิดเพียงเล็กน้อย ตามด้วยบอลลูนที่ตกลงสู่ทะเล 

สำนักข่าว Associated Press รายงานว่ามีการดำเนินการในน่านน้ำของสหรัฐในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก และมีการกู้เศษซากของบอลลูนด้วย 

ทางสำนักข่าวรอยเตอร์อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า เศษชิ้นส่วนของบอลลูนกระจายออกไปในมหาสมุทรเป็นแนวยาวกว่า เจ็ดไมล์ (11 กิโลเมตร) โดยมีเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ หลายลำอยู่ในบริเวณนั้น


เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทำการเก็บกู้เศษซากบอลลูนของจีนซึ่งถูกยิงตกเพื่อนำไปพิสูจน์ทราบ

เจ้าหน้าที่ FBI ทำการตรวจพิสูจน์เศษซากบอลลูนของจีนซึ่งถูกยิงตก

บอลลูนตรวจสภาพอากาศของแคนาดา

People's Daily บอกว่า เหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรกในโลกที่บอลลูนเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อยู่เหนือการควบคุม ในปี 1998 (พ.ศ.2541) บอลลูนตรวจสภาพอากาศของแคนาดา ซึ่งทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้กับองค์การอวกาศแคนาดา สิ่งแวดล้อมแคนาดา และมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ของสหรัฐฯ เกิดข้อผิดพลาด เนื่องจากการทำงานผิดพลาดทางเทคนิค บอลลูนไม่สามารถลงมาได้ตามแผนและลอยข้ามประเทศแคนาดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก โดยบอลลูนลอยอยู่บนท้องฟ้าเป็นเวลา ๙ วัน เข้าสู่น่านฟ้าของหลายประเทศ และลงจอดที่เกาะ Mariehamn ของฟินแลนด์ในที่สุด

ชาว Sherpa จากเนปาล สร้างทางเดินบนภูเขาสูงในนอร์เวย์ ช่วยให้นักท่องเที่ยวดื่มด่ำบรรยากาศได้อย่างปลอดภัย

สวัสดีครับนักอ่านทุกท่าน วันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องราวที่น่าทึ่งและน่านับถือจากความสามารถของมนุษย์ เรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับชาว Sherpa จากเนปาลที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศนอร์เวย์ และได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘ทางเดินตามแนวภูเขา’ ไว้อย่างสวยงาม และทางนี้นี้เองก็ส่งผลให้บรรดานักท่องเที่ยวที่มาเยียนนอร์เวย์ สามารถดื่มด่ำบรรยากาศธรรมชาติรอบข้างได้อย่างเต็มอิ่ม โดยไม่ต้องกลัวว่าจะได้รับอันตรายจากการเดินท่องเที่ยวตามภูเขาสูงครับ

ก่อนอื่น ผมขออธิบายลักษณะภูเขาของประเทศนอร์เวย์ก่อนนะครับ เส้นทางท่องเที่ยวชมวิวทิวทัศน์ของนอร์เวย์เป็นเส้นทางที่ทอดยาวไปตามภูมิประเทศที่ขรุขระราว 1,850 กิโลเมตรทั่วประเทศ โดยมี ‘บันไดหิน’ หรือ บันได Sherpa เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและเป็นมิตรต่อทั้งตัวนักท่องเที่ยวและทั้งธรรมชาติ ซึ่งเริ่มสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1994 และสร้างเสร็จไปแล้วกว่า ๑๕๐ แห่ง ในพื้นที่ที่เป็นจุดชมวิว เส้นทางเดินป่า พื้นที่พักผ่อน และศาลาดูนก

Preikestolen

‘Preikestolen’ เป็นหนึ่งในเส้นทางปีนเขาที่สูงที่สุดในประเทศนอร์เวย์ โดยมีนักท่องเที่ยวราว ๆ ๓๓๑,๐๐๐ คนปีนขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2019 

ในหลาย ๆ เส้นทาง สถานที่ และทิวทัศน์ที่สวยงามจาก Preikestolen หรือ Pulpit Rock ใกล้กับ Stavanger ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนอร์เวย์ ไม่มีทางเชื่อมถึงกัน ทำให้ต้องเดินขึ้นบันไดหินที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์พอ ๆ กับทิวทัศน์บนยอดเขาตรงสุดทางเดิน

โดยผู้เชี่ยวชาญที่เรากล่าวถึงก็คือ ชาว Sherpa จากชุมชนชาวเนปาลที่อาศัยอยู่ในเทือกเขา Everest โดยได้ริเริ่มโครงการทางเดินหินธรรมชาติอื่น ๆ เกือบ ๓๐๐ โครงการในนอร์เวย์ ในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา

ผมขออธิบายเกี่ยวกับชาว Sherpa จากเนปาลก่อนนะครับ ชาว Sherpa เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ทิเบตที่มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่ของเนปาล เทศมณฑลติงกริ ในเขตปกครองตนเองทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย 

ส่วนคำว่า Sherpa หรือ Sherwa มาจากคำในภาษา Sherpa ว่า ཤར shar แปลว่าตะวันออก และ པ ปา แปลว่าคน ซึ่งหมายถึงแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของทิเบตตะวันออกนั่นเอง

ชาว Sherpa

โดยส่วนใหญ่ชาว Sherpa มักอาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกของเนปาล และเทศมณฑลติงกริ ประเทศภูฏาน และบางส่วนจะอาศัยอยู่ไกลออกไปทางตะวันตกในหุบเขาโรลวาลิง เมืองบิกู และในภูมิภาคเฮลัมบูทางตอนเหนือของกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล 

นอกจากนี้แล้วชาว Sherpa ยังอาศัยอยู่ในประเทศภูฏาน รัฐสิกขิม และทางตอนเหนือของรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย โดยเฉพาะเขตดาร์จีลิง 

ชาว Sherpa มีชื่อเสียงในด้านการปีนเขา และใช้ทักษะนี้เป็นอาชีพเลี้ยงชีพ ทำให้ชาว Sherpa เป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้นำทางและคนงานแบกหามในการเดินทางบนเทือกเขาหิมาลัย 

โดยส่วนใหญ่นักปีนเขาที่ต้องการพิชิตยอด Everest จะต้องมีชาว Sherpa เป็นผู้นำทางและเป็นลูกหาบช่วยขนสัมภาระต่าง ๆ เพราะลูกหาบชาว Sherpa สามารถแบกของใส่หลังได้มากว่าน้ำหนักตัวเอง ๒-๓ เท่าเลยทีเดียว

เหตุผลหลักที่ทำให้ชาว Sherpa มีร่างกายแข็งแกร่งนั้น เพราะพวกเขามีความจุของปอดมากกว่า และมีหัวใจที่ใหญ่กว่า ทำให้สามารถรับออกซิเจนได้มากขึ้น 

นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังทำงานร่วมกันได้ดี มีความแข็งแกร่งทางจิตใจ และมีศรัทธาที่แรงกล้า ชาว Sherpa สามารถแบกสัมภาระหนัก 60-70 กิโลกรัมเป็นเวลาหลายวันได้ในการปีนยอด Everest สถิติบันทึกน้ำหนักแบกสัมภาระของชาว Sherpa อยู่ที่ 350 กิโลกรัมบนหลังของเขา และหญิงชาว Sherpa ส่วนใหญ่ก็แข็งแรงพอ ๆ กับชาย

เมื่อเรารู้จักความสามารถสุดพิเศษของชาว Sherpa แล้ว คราวนี้มารู้จักที่มาที่ไปที่ทำให้ชาว Sherpa ได้มีโอกาสไปสร้างสรรค์ทางเดินบนภูเขาในประเทศนอร์เวย์กันดีกว่าครับ

‘Geirr Vetti’ เป็นผู้ริเริ่มนำชาว Sherpa มาทำงานในนอร์เวย์ โดยเขาเป็นเจ้าของฟาร์ม Skåri ใน Luster ซึ่งเป็นฟาร์มเก่าแก่บนเนินเขาและเป็นฟาร์มแห่งเดียวในหมู่บ้านที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี เมื่อเขาต้องการปรับปรุงฟาร์มให้ดียิ่งขึ้น เขาจึงได้จ้างคนงานจากหลายประเทศทั่วยุโรป รวมแล้ว ๑๑ ประเทศ แต่ทว่าไม่มีคนงานคนใดที่สามารถอดทนต่องานหนักได้เลยสักคนเดียว

‘Geirr Vetti’ ได้นึกถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาว Sherpa ซึ่งเป็นคนที่มีความชำนาญ และเคยชินกับการทำงานหนัก คิดได้แบบนั้นเขาก็ได้เริ่มจ้างงงานชาว Sherpa แรกเริ่มเดิมที่เขาจ้างมาเพียงแค่ 2 คนเพื่อทำงานในฟาร์ม

ต่อมา Geirr Vetti ได้เปิดบริษัทรับซ่อมและสร้างทางเดินบนภูเขาของนอร์เวย์ในพื้นที่ทุรกันดารที่เครื่องจักรเข้าไปไม่ถึง โดยใช้แรงงานของชาว Sherpa เป็นหลัก

ในปัจจุบันทุกฤดูร้อนชาว Sherpa หลายสิบคนจะมาร่วมก่อสร้างและบำรุงรักษาเส้นทางและอนุสรณ์สถานทางวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยหินในประเทศนอร์เวย์

Geirr Vetti เกษตรกรชาวนอร์เวย์วัย ๖๐ ปี เป็นผู้ริเริ่มนำชาว Sherpa มาทำงานในนอร์เวย์ 

ต่อมา Geirr Vetti ผันตัวเป็นกรรมการผู้จัดการของ Stibyggjaren ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างทางนวัตกรรมที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน Skjolden บน Sognefjord 

Geirr Vetti ใน Khunde ได้รับการต้อนรับด้วยการเจิมหน้าผาก

แม้ความสัมพันธ์ของ Geirr Vetti กับชาว Sherpa จะเป็นนายจ้างและลูกจ้าง แต่ชาว Sherpa กลับรักและให้การต้อนรับ Geirr Vetti อย่างดีเมื่อครั้งที่เขาไปเยือนเนปาล

Geirr Vetti กลายเป็นที่รู้จักกันดีใน Khunde และ Sherpas ถือว่าเขาเป็นสมาชิกของครอบครัว โดยชาว Sherpa เรียกเขาว่า ‘ลุง’ และในภาพถ่ายจากปี ค.ศ. 2014 จะเห็นว่า เขาได้รับการต้อนรับอย่างเอิกเกริก ทุกคนในหมู่บ้านใส่ชุดประจำชาติ เป่าแตรยาวต้อนรับ รวมถึงพระสงฆ์ก็ยังมาต้อนรับเขา และไม่น่าแปลกใจที่เขาได้รับความนับถือยกย่องจากชาว Sherpa เพราะงานต่าง ๆ ที่ชาว Sherpa ได้ทำในนอร์เวย์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ทำให้พวกเขาสามารถส่งเงินจำนวนประมาณ 25 ล้านโครนนอร์เวย์ (ราว ๘๒ ล้านบาท) ให้กับครอบครัวของพวกเขาได้ ทำให้มาตรฐานการครองชีพที่จำเป็นได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น

Geirr Vetti ยกย่องให้ชาว Sherpa เป็นชนชาติเหนือมนุษย์  โดยเขาระบุว่า "ชาว Sherpa เกือบจะเหนือมนุษย์ พวกเขาพัฒนาจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงานบนที่สูง พวกเขาได้สร้างคุณูปการอันล้ำค่าไว้เป็นมรดกบนภูเขาของนอร์เวย์"

งานซ่อมและสร้างทางเดินในนอร์เวย์เริ่มเป็นแหล่งรายได้ในช่วงนอกฤดูกาลปีนเขาของชาว Sherpa โดย Nima Nuri Sherpa หัวหน้าทีมจากชุมชน Kunde ในเขต Solukhumbu ของเนปาล กำลังทำงานในเทือกเขา Lyngen Alps ทางตะวันออกของ Tromsø เพื่อเปิดเส้นทางใหม่ขึ้นภูเขาใหม่ร่วมกับทีมชาว Sherpa อีก ๗ คนจากหมู่บ้านเดียวกัน ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือน ทีมงานของเขาสร้างบันไดมากกว่า ๔๐๐ ขั้น ทำจากหินในท้องถิ่นหนักถึง 500 ตัน และเคลื่อนย้ายแผ่นหินหนักหนึ่งตันสำหรับแต่ละขั้นด้วยมือ หลังจากที่เฮลิคอปเตอร์ขนหินมา 

"ชุมชนของเราขนส่งทุกอย่างเข้าและออกจากภูมิภาคด้วยตัวเองหรือด้วยจามรีมาโดยตลอด และธรรมเนียมเหล่าได้สืบทอดกันมาทุกชั่วอายุคน" Nima Nuri Sherpa กล่าว 

"โดยปกติแล้วงานประจำของเราคือเป็นไกด์นำทางให้นักปีนเขา แต่การสร้างเส้นทางบนภูเขานั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าและให้ประโยชน์กับผู้คนได้มากกว่ากับ และในปัจจุบันนอร์เวย์ถือว่าเป็นบ้านหลังที่สองของเรา และนี่...คือสิ่งที่ดี"

‘Franja Partisan’ โรงพยาบาลลับ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ ‘อนุสรณ์สถาน’ มรดกโลกของสโลวีเนีย

ผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงไม่ค่อยคุ้นกับประเทศ ‘สโลเวเนีย’ สักเท่าไหร่ หากแต่พูดถึงประเทศยูโกสลาเวียก็คงพอคุ้นอยู่บ้าง จริง ๆ แล้ว สโลเวเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย ซึ่งล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1992 

แต่เดิมสโลเวเนียเป็นรัฐเอกราช ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 ประชาชนชาวสโลวีนตัดสินใจก่อตั้งรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ ต่อมาเดือนธันวาคม ค.ศ. 1918 รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บรวมตัวกับราชอาณาจักรเซอร์เบียกลายเป็นราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นราชอาณาจักรยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1929) 
 

ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สโลวีเนียถูกยึดครอง โดยเยอรมนี อิตาลี และฮังการี และมีพื้นที่เล็ก ๆ อยู่ในการปกครองของรัฐเอกราชโครเอเชียซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี 

หลังจากนั้นสโลวีเนียก็เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียซึ่งเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ประเทศเดียวในกลุ่มตะวันออก ซึ่งไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกติกาสัญญาวอร์ซอ และล่มสลายหลังจากสงครามยูโกสลาเวีย ในปี ค.ศ. 1990

กลุ่มผู้นำของ Slovene Partisans จากซ้าย : Boris Kraigher, Jaka Avšič, Franc Rozman, Viktor Avbelj และ Dušan Kveder.

หลังจากรู้จักประเทศสโลวีเนียไปแล้ว คราวนี้มารู้จักสถานที่ที่มหัศจรรย์ในประเทศนี้กันบ้างนะครับ นั่นคือ ‘โรงพยาบาล’ Franja Partisan (Partizanska bolnica Franja ในภาษาสโลวีเนีย) เป็นโรงพยาบาลลับของกองกำลังพลพรรคชาวสโลเวเนีย (Slovene Partisans) ซึ่งทำการสู้รบเพื่อต่อต้านกองทัพนาซีเยอรมันและกองกำลังฟาสซิสต์อิตาลีในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

โรงพยาบาลลับแห่งนี้ตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน Dolenji Novaki ใกล้ ๆ กับเมือง Cerkno ทางตะวันตกของสโลวีเนีย ดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1943 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

โรงพยาบาล Franja Partisan ให้การรักษาผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมากมาย มีทั้งทหารจากฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ แม้ว่ากองกำลัง Wehrmacht (กองทัพเยอรมัน) ได้พยายามค้นหาโรงพยาบาลแห่งนี้หลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยถูกค้นพบเลย และปัจจุบันโรงพยาบาล Franja Partisan กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้รับการคุ้มครองให้เป็นอนุสรณ์สถานทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญระดับชาติ

แผนผังและหมายเลขของอาคารโรงพยาบาลก่อนการถูกทำลาย

โดยโรงพยาบาลแห่งนี้ประกอบไปด้วย 
1. กระท่อมสำหรับผู้บาดเจ็บ หลุมหลบภัย
2. หน่วยแยก
3. กระท่อมปฏิบัติการ
4. ค่ายทหารแพทย์
5. หน่วยเอ็กซเรย์
6. ร้านขายเปลหาม
7. ห้องครัว
8. กระท่อมสำหรับผู้บาดเจ็บ ห้องรับประทานอาหาร
9. กระท่อมสำหรับผู้บาดเจ็บ ร้านค้า และเวิร์กช็อปของช่างไม้
10. ห้องพักพนักงาน
11. ห้องน้ำ และ ห้องซักรีด
12. สถานพยาบาล
13. ถังเก็บน้ำ
14. โรงไฟฟ้า
15. อาคารสำหรับฝังแขนขา
16. บังเกอร์เหนือ Pasica Gorge

หลายท่านคงสงสัยว่าโรงพยาบาลแห่งนี้รอดพ้นสายตาของนาซีเยอรมันไปได้อย่างไร คำตอบก็คือโรงพยาบาล Franja Partisan สร้างขึ้นในภูมิประเทศที่ทุรกันดารในช่องเขา Pasica อันห่างไกลทางตะวันตกของสโลวีเนียครับ 

นอกจากนี้ ทางเข้าของโรงพยาบาลถูกซ่อนอยู่ในป่า และสามารถเข้าถึงโรงพยาบาลได้ด้วยสะพานเท่านั้น สะพานสามารถยืดและหดได้ หากศัตรูอยู่ในบริเวณใกล้เคียงก็จะมีการหดซ่อนสะพานเพื่อรักษาความลับของทางเข้าสู่โรงพยาบาลลับ 

ส่วนในการเข้าสู่กระบวนการรักษา ผู้ป่วยจะถูกปิดตาระหว่างการเคลื่อนย้ายไปยังโรงพยาบาล ทำให้ไม่รู้เส้นทางเข้าโรงพยาบาลที่แน่ชัด นอกจากนี้ รอบๆ โรงพยาบาลแห่งนี้ยังล้อมรอบไปด้วยทุ่นระเบิดและรังปืนกล และด้วยที่รอบๆ พื้นที่มีต้นไม้จำนวนมากจึงช่วยอำพรางอาคารจากการสอดแนมทางอากาศ

คุณพ่อตัวอย่าง!! ‘Fred Vautour’ ภารโรงผู้อุตสาหะ ตลอด 2 ทศวรรษ เพื่อให้ลูกๆ ได้เรียนใน ‘Boston College’

สวัสดีครับ นักอ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมมีเรื่องราวดีๆ มานำเสนอาให้ทุกท่านได้อ่านอีกเช่นเคย ที่ผ่านมา ผมมักจะหยิบยกเรื่องราวของพ่อ-แม่ ครู หรือบุคคลที่ทำประโยชน์เพื่อคนอื่นๆ จนกลายเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีมาเล่าบ่อย ๆ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ขอหยิบยกเรื่องราวของ Fred Vautour ภารโรงของ Boston College ที่อุทิศตนตลอด ๒๒ ปี เพื่อให้ลูกๆ ของเขาได้เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งนี้ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร มาติดตามกันครับ

ต้องบอกก่อนว่า Boston College (BC) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1863 และแม้ Boston College จะถูกจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย R1 แต่ก็ยังใช้คำว่า ‘วิทยาลัย’ นำหน้าอยู่ เพื่อสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ของสถาบันแห่งนี้ในฐานะวิทยาลัยศิลปศาสตร์ขนาดเล็ก ที่เปิดสอนในระดับหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

John F. Kerry อดีตวุฒิสมาชิก, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ พรรค Democrat ศิษย์เก่าของ Boston College

นอกจากนี้ ก็ยังมีศิษย์เก่าที่มีชื่อในหลายสาขาอาชีพ ได้แก่ ผู้ว่าการรัฐ เอกอัครราชทูต สมาชิกสภาคองเกรส นักวิชาการ นักเขียน นักวิจัยทางการแพทย์ นักแสดง Hollywood นักกีฬาอาชีพ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 


The Eagles ทีมอเมริกันฟุตบอลของ Boston College

ไม่เพียงเท่านั้น ทีมอเมริกันฟุตบอลของ Boston College คือ The Eagles สีของพวกเขาคือสีน้ำตาลแดงและสีทอง และตัวนำโชคของพวกเขาคือ Baldwin the Eagle ยังได้เข้าแข่งขันใน NCAA Division 1 ในฐานะสมาชิกของ Atlantic Coast Conference (ACC) 

ทีมฮ็อกกี้น้ำแข็งของ Boston College

ส่วนทีมฮ็อกกี้น้ำแข็งของ Boston College ทั้งชายและหญิงได้เข้าแข่งขันกันในลี้คฮอกกี้อีสต์ ทีมฮอกกี้น้ำแข็งชายของ Boston College ชนะการแข่งขันระดับชาติถึง ๕ รายการ

หลังจากกล่าวถึงความโดดเด่นและน่าสนใจของ Boston College แล้ว ก็พอจะเข้าใจได้แล้วว่าทำไม Fred Vautour ถึงอยากให้ลูกๆ ของเขาเข้าเรียนที่นี่ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความพยายามตลอด ๒๒ ปีของคนเป็นพ่อ

‘ศุภชัย’ มองเกม ‘ก้าวไกล’ ค้านย้าย ‘หมอสภัทร’ เข้าตำรา ‘น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า’ ของคนพวกเดียวกัน

‘ศุภชัย ใจสมุทร’ ตั้งข้อสังเกต ‘ก้าวไกล’ ออกตัวคัดค้าน ย้าย ‘หมอสุภัทร’ เข้าตำรา น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ชี้ โยกย้ายข้าราชการโดยไม่กลั่นแกล้งถือเป็นเรื่องปกติ

กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งย้ายนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ จากผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา ประธานชมรมแพทย์ชนบทไปเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลา ซึ่งไม่ห่างไกลกันมากนัก

ต้องยอมรับความจริงว่า ในช่วงที่นายแพทย์สุภัทร นั่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ ได้ปรับปรุงระบบบริการ การบริหารจัดการโรงพยาบาลจะนะไปมากจนเป็นที่พอใจของประชาชน

อีกบริบทหนึ่งของนายแพทย์สุภัทร คือการขับเคลื่อนทางสังคมในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท และมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ ที่มีเยาวชนกลุ่มรักษ์บ้านเกิดจะนะ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการคัดค้าน ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การผลักดันของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อให้เกิดเมืองต้นแบบของเหลี่ยมเศรษฐกิจ และนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ เป็นหนึ่งในสี่ของเมืองเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ถ้านิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะเกิดขึ้นจริง จะเกิดการลงทุนหลายแสนล้าน เกิดการจ้างงานหลายหมื่นอัตรา จะเกิดท่าเรือ ภายใต้การลงทุนของภาคเอกชน

แต่เมื่อมีกลุ่มคัดค้าน ทางภาครัฐก็ต้องรับฟังความคิดเห็นที่รอบด้าน ทำให้โครงการนี้ยังชะลออยู่ โดยอยู่ระหว่างการศึกษารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (SEA) โดยนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี ว่า เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2565 สศช.ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ในการจัดทำ SEA แผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี วงเงินค่าจ้าง 28.22 ล้านบาท 

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะเริ่มต้นศึกษา SEA แผนแม่บทฯดังกล่าว ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2566 โดยใช้เวลาศึกษานาน 18 เดือน หรือแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2567 ขณะที่การจัดทำ SEA ครั้งนี้ จะมีการจัดเวทีประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรวม 40 เวที และมีผู้เข้าร่วมฯไม่น้อยกว่า 3,000 คน แบ่งเป็นปี 2566 จำนวน 32 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,100 คน และปี 2567 จำนวน 8 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 900 คน 

'สภาพัฒน์ฯ' พยายามที่จะให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทในครั้งนี้เพื่อลดความขัดแย้ง และความซ้ำซ้อนในการทำงานลง เบื้องหากแผ่นแม่บทการพัฒนาพื้นที่สงขลา และ ปัตตานีแล้วเสร็จ จะมีการคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้สภาพัฒน์ฯคาดกการณ์ว่า หากแผนออกมาแล้วจะเกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ในพื้นที่ภาคใต้ที่มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

สภาพัฒน์ใช้คำว่า แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่สงขลา-ปัตตานี เข้าใจได้ว่ายังไม่เลือกพื้นที่ แต่ประชาชนทั่วไปรับรู้กันหมดแล้วว่า จะเกิดขึ้นในสามตำบลของอำเภอจะนะ ย่านตำบลตลิ่งชัน ต.สะกอม นั่นแหละ

‘ก้าวไกล’ ขวางย้าย ‘หมอสุภัทร’ 

โดย 'ก้าวไกล' ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วย ปมย้าย 'หมอสุภัทร' พร้อมเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข ทบทวนคำสั่ง

โดยแถลงการณ์ระบุว่า พรรคก้าวไกลขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว และขอตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการโยกย้ายด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากนายแพทย์สุภัทรเป็นข้าราชการที่ทำงานเป็นปากเสียงแทนประชาชน มีความกล้าหาญในการแสดงความเห็นคัดค้านผู้มีอำนาจ และเปิดเผยข้อมูลสาธารณสุขที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนคำสั่งดังกล่าวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและประชาชน

ด้านนายแพทย์สุภัทร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุตอนหนึ่งว่า ปี 2563 ผมรับภารกิจเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทอีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่ทักท้วงเสนอแนะเรื่องราวใน สธ. อาทิ การไม่เห็นด้วยต่อนโยบายกัญชาเสรี การโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม การบริหารจัดการโควิดและวัคซีน การไม่ลงนามงบส่งเสริมป้องกันปี 2566 หรือ การซื้อ ATK ที่มีข้อสงสัย สิ่งเหล่านี้สร้างความหงุดหงิดต่อใครบางคน จนนำมาสู่คำสั่งให้ย้ายผมให้ได้ก่อนยุบสภา

จริง ๆ การจะย้ายผมไม่ยากเลย เพียงแค่ปลัดกระทรวงสั่งย้ายตามอำนาจที่ท่านมี (แต่ต้องมีเหตุมีผลด้วยนะ) แต่เพราะตำแหน่งผมเป็นตำแหน่งวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ไม่มีเกณฑ์ที่ต้องถูกย้ายตามวาระ เหตุความผิดที่ต้องถูกย้ายก็ไม่มี ผมเองก็ไม่ได้สมัครใจย้าย ปลัดกระทรวงจึงไม่กล้าเซ็นเอง เพราะกลัวผิดกฎหมายอาญา ม. 157 ก็เลยต้องมีการสั่งการให้ผู้ตรวจราชการเป็นคนเซ็น ใครลงนามจะได้เลื่อนชั้นรวดเร็ว เรื่องราวจึงโกลาหล

เมื่อการโยกย้ายนายแพทย์สุภัทร มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง พรรคก้าวไกลคัดค้านเรียกร้องให้ทบทวน เจ้าตัวก็ไม่เต็มใจ แต่อาชีพรับราชการการโยกย้ายถือเป็นเรื่องปกติ และไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งแห่งหนใดก็สามารถแสดงความคิดเห็น จุดยืนได้อยู่แล้ว นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย จึงออกมาตั้งข้อสังเกตผ่านโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Suphachai  Jaismut) ว่า 

Enemies in Love ตำนานรักต้องห้ามของ ‘Powell- Albert’ ในยุคที่การ ‘เหยียดสีผิว-เชื้อชาติ’ รุนแรง

Alexis Clark ผู้เขียน

สวัสดีครับนักอ่านทุกท่าน วันนี้ผม ดร.โญธิน มานะบุญ มีเรื่องราวอันเป็น ‘ตำนานรักต่างสีผิวและเชื้อชาติ’ ที่เป็นรักแท้และสุดที่จะลึกซึ้งมาเล่าให้ฟังครับ ความพิเศษของเรื่องนี้คือเป็นเรื่องราวความรักต้องห้ามที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเรื่องราวรักต้องห้ามนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นโดย Alexis Clark 

ก่อนจะเข้าเรื่องขอยกคำนำของหนังสือเล่มนี้ของ Darren Walker ประธานมูลนิธิฟอร์ดที่เคยกล่าวไว้ว่า “Enemies in Love ไม่ใช่เรื่องสั้นที่เล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เราคิดว่าเรารู้ แต่ Alexis Clark ได้เล่าเรื่องราวที่เราไม่เคยรู้เลยเกี่ยวกับเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา โดยเล่าผ่านเรื่องราวความรักที่น่าเหลือเชื่อ (แต่เป็นความจริงและยากจะลืมเลือน)”

Enemies in Love เป็นเรื่องราวความรักต่างเชื้อชาติที่เกิดขึ้นระหว่าง ‘Elinor Powell’ นางพยาบาลชาวอเมริกัน-แอฟริกันที่ทำงานในกองทัพสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กับ Frederick Albert นายทหารเสนารักษ์ในกองทัพ NAZI ของ Hitler ซึ่งถูกฝ่ายสัมพันธมิตรจับตัวได้ในอิตาลี และส่งไปยังค่ายเชลยศึกกลางทะเลทรายแอริโซนา 

เช่นเดียวกับพยาบาลผิวสีคนอื่น ๆ Elinor ได้รับมอบหมายให้ทำงานระดับรองในเมืองทางตะวันตกที่เต็มไปด้วยฝุ่น แดดอบอ้าว และความโดดเดี่ยว โดยกองทัพสหรัฐฯ คิดว่า โอกาสที่พยาบาลผิวดำกับเชลยศึกผิวขาวชาวเยอรมันจะรักกันนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้และไม่มีวันเกิดขึ้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว Elinor และ Frederick กลับมีความสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่การเหยียดเชื้อชาติรุนแรงมาก อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มีสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ดูเหมือนเหตุการณ์แวดล้อมจะไม่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของพวกเขาแม้แต่นิด เรื่องราวความรักของ Elinor และ Frederick ถูกนำมาเขียนเรียบเรียงโดย Alexis Clark นักข่าว ผู้ซึ่งทำการสัมภาษณ์และการวิจัยทางประวัติศาสตร์เป็นเวลาหลายปี และได้ปะติดปะต่อเรื่องราวที่น่าทึ่งนี้ออกมาเผยแพร่ให้สาธารณชนรับรู้

โดยรายละเอียดของเรื่องราวนี้ ระบุไว้ว่า... ‘Elinor Powell’ เป็นพยาบาลชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่เข้าร่วมกองทัพสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1944 ซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เธอเป็นหนึ่งในพยาบาลผิวสีเพียง ๓๐๐ คนที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมหน่วยพยาบาลกองทัพบกภายใต้โควตาที่เข้มงวด ทั้งนี้เธอได้รับยศร้อยตรีในหน่วยพยาบาลของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ค่ายเชลยศึกฟลอเรนซ์ มลรัฐแอริโซนา โดยเธอต้องช่วยเหลือดูแลเชลยสงครามซึ่งเป็นทหารเยอรมันนาซีที่ถูกจับในยุโรปและแอฟริกาเหนือด้วย

เนื่องจากมีกฎว่าพยาบาลผิวสีไม่มีสิทธิ์ให้การรักษาทหารอเมริกันผิวขาวจนกว่าจะถึงปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1945) แต่เพราะกองทัพกลัวว่า พยาบาลผิวขาวและทหารซึ่งเป็นเชลยสงครามจะมีความสัมพันธ์กัน จึงได้เปลี่ยนให้พยาบาลผิวสีเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในค่ายเชลยศึกฟลอเรนซ์แทนโดยต้องทำงานภายใต้กฎที่เข้มงวด

‘Operation Solomon’ ปฏิบัติการ ‘อพยพชาวยิว’ จากเอธิโอเปียสู่อิสราเอล สร้างสถิติขนส่งผู้โดยสารทางอากาศมากที่สุดในโลก

สวัสดีปีใหม่นักอ่านทุกท่านของ THE STATES TIMES หวังว่าปีนี้จะเป็นปีที่สดใสและทุกท่านจะมีความสุข ร่ำรวย และแข็งแรงกันทุกคนนะครับ

สำหรับปีใหม่นี้ ผม อาจารย์โญธิน มานะบุญ ก็ยังคงมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาเล่าให้ทุกท่านได้อ่านกันเช่นเคย เรื่องราววันนี้เกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารบนเครื่องบินที่มากที่สุดในโลกครับ

การขนส่งผู้โดยสารบนเครื่องบินภายในหนึ่งเที่ยวบิน และขนคนได้มากที่สุดในโลก จนโด่งดังและเป็นสถิติโลก เกิดขึ้นในภารกิจปฏิบัติการโซโลมอน หรือ Operation Solomon ซึ่งถือว่าเป็นปฏิบัติการที่เหนือขีดจำกัดของมนุษยชาติเลยทีเดียว

แต่ก่อนจะเกิดปฏิบัติการโซโลมอน เคยมีปฏิบัติการคล้าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งคือ ‘ปฏิบัติการ Moses’ และ ‘ปฏิบัติการ Joshua’ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ชาวยิวในเอธิโอเปีย หรือที่เรียกว่า Beta Israel ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิภาค Gondar ของที่ราบสูงเอธิโอเปีย มีอาชีพชาวนาและช่างฝีมือ อพยพไปยังอิสราเอล ซึ่งการอพยพทั้ง 2 ครั้งนั้นรัฐบาลเอธิโอเปียยินยอมให้เกิดขึ้นเพื่อแลกกับอาวุธและการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ และมีชาวยิวไม่มากที่สามารถอพยพไปได้ 

สำหรับ Operation Solomon (מבצע שלמה, Mivtza Shlomo) นั้น เป็นปฏิบัติการลับทางทหารของอิสราเอลเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 ถึง 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เพื่อส่งชาวยิวในเอธิโอเปียไปยังอิสราเอลโดยขนส่งทางอากาศ ด้วยเที่ยวบินตรงของเครื่องบินอิสราเอลจำนวน ๓๕ ลำ เช่น C-130 ของกองทัพอากาศอิสราเอล และเครื่องบิน Boeing 747 ของสายการบิน El Al ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของอิสราเอล ในครั้งนั้นได้ทำการขนย้ายชาวยิวเอธิโอเปียจำนวน ๑๔,๓๒๕ คนไปยังอิสราเอลภายใน ๓๖ ชั่วโมง 

โดยเครื่องบิน Boeing 747 ของสายการบิน El Al ลำหนึ่งได้บรรทุกคนอย่างน้อย ๑,๐๘๘ คน รวมถึงทารกแรกเกิดอีกสองคน (เกิดระหว่างการขนส่ง) และถือเป็นสถิติโลกที่มีผู้โดยสารมากที่สุดบนเครื่องบินโดยสาร ทั้งนี้มีเด็กแปดคนถือกำเนิดในระหว่างกระบวนการขนส่งทางอากาศในปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย

Mengistu Haile Mariam อดีตประธานาธิบดีของเอธิโอเปีย

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปฏิบัติการโซโลมอนต้องเริ่มขึ้นก็เพราะในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลเอธิโอเปียของ Mengistu Haile Mariam เริ่มเสื่อมอำนาจและใกล้จะถูกโค่นล้มโดยกลุ่มกบฏ Eritrean และ Tigrayan ซึ่งทำลายเสถียรภาพทางการเมืองของเอธิโอเปียอย่างมาก ทำให้องค์กรชาวยิวทั่วโลก เช่น American Association for Ethiopian Jewish (AAEJ) รวมทั้งรัฐบาลอิสราเอลเป็นกังวลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชาวยิวเอธิโอเปีย บวกกับอำนาจที่น้อยลงเรื่อย ๆ ของรัฐบาล Mengistu จึงได้เปิดโอกาสให้ชาวยิวในเอธิโอเปียสามารถอพยพไปยังอิสราเอลได้

โดยก่อนหน้านี้ ในปี ค.ศ. 1990 รัฐบาลอิสราเอลและกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ตระหนักถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เลวร้ายลงของเอธิโอเปีย จึงได้วางแผนการลับ ๆ เพื่อขนส่งชาวยิวทางอากาศไปยังอิสราเอล 

สหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการโซโลมอนในครั้งนี้ด้วย โดยหลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับการเรียกร้องจากผู้นำชาวยิวอเมริกันจากองค์กร American Association for Ethiopian Jewish (AAEJ) ที่ระบุว่า “ชาวยิวเอธิโอเปียกำลังตกอยู่ในอันตราย” 

สหรัฐอเมริกามีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องการอพยพชาวยิวเอธิโอเปียของรัฐบาลเอธิโอเปียอย่างมาก โดยรัฐบาลเอธิโอเปียได้รับแรงกระตุ้นจากจดหมายของประธานาธิบดี George H. W. Bush (ผู้ซึ่งเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการ Moses และปฏิบัติการ Joshua ก่อนหน้านี้ในครั้งนั้นประธานาธิบดี Mengistu ตั้งใจจะอนุญาตให้มีการอพยพเพื่อแลกกับอาวุธเท่านั้น)

Rudy Boschwitz วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ที่เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ

นอกจากนี้ ทางสหรัฐฯ ยังส่งกลุ่มนักการทูตอเมริกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการแก่รัฐบาลอิสราเอลและเอธิโอเปีย นำโดย Rudy Boschwitz วุฒิสมาชิก, Irvin Hicks รองผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกิจการแอฟริกา, Robert Frasure ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการแอฟริกาแห่งสภาความมั่นคงแห่งชาติจากทำเนียบขาว และ Robert Houdek อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ณ กรุงแอดดิสอาบาบา 

Boschwitz ถูกส่งไปเป็นทูตพิเศษของประธานาธิบดี Bush เขาและทีมงานได้พบกับรัฐบาลเอธิโอเปียเพื่อช่วยเหลืออิสราเอลในการจัดการขนส่งทางอากาศ 

นอกจากนี้ Herman Cohen ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแอฟริกายังมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเขาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศของสงครามกลางเมืองในเอธิโอเปีย 

Cohen ได้ทำข้อตกลงต่าง ๆ กับ Mengistu เอาไว้ และเพื่อตอบสนองต่อความพยายามของนักการทูตอเมริกัน รักษาการประธานาธิบดีแห่งเอธิโอเปีย Tesfaye Gebre Kidan ได้ตัดสินใจที่จะอนุญาตให้มีการอพยพชาว Beta Israel ทางอากาศ 

การเจรจารอบปฏิบัติการนำไปสู่การอภิปรายโต๊ะกลมในลอนดอนในที่สุด ซึ่งจัดทำคำประกาศร่วมโดยนักรบเอธิโอเปียซึ่งตกลงที่จะจัดประชุมเพื่อเลือกรัฐบาลเฉพาะกาล 

ชุมชนชาวยิวระดมเงิน 35 ล้านดอลลาร์เพื่อมอบให้กับรัฐบาลในเอธิโอเปียเพื่อให้ชาวยิวเอธิโอเปียสามารถอพยพไปยังอิสราเอลได้ เงินที่ได้ไปเป็นค่าใช้จ่ายที่สนามบินในกรุงแอดดิสอาบาบา

เมืองงามในหุบเขา สำรวจเมือง ‘อันติกัว’ ในประเทศกัวเตมาลา ดื่มด่ำบรรยากาศที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาไฟ

“Travel isn’t always pretty. It isn’t always comfortable. Sometimes it hurts, it even breaks your heart. But that’s okay. The journey changes you; it should change you. It leaves marks on your memory, on your consciousness, on your heart, and on your body. You take something with you. Hopefully, you leave something good behind.” – Anthony Bourdain

ทางหลวงกว้างสี่เลนฉีกออกจากเมืองหลวง การจราจรคับคั่ง แม้กระทั่งเมื่อค่อย ๆ คดเคี้ยวขึ้นเขารถราก็ยังเยอะอยู่ดี คนขับรถบัสหมุนพวงมาลัยอย่างคล่องแคล่วโดยไม่ชะลอความเร็ว รถแล่นผ่านโค้งเหล่านั้น ผู้โดยสารท้องถิ่นรู้วิธีเอนตัวเองให้ได้องศาเหมาะสม ในขณะนักท่องเที่ยวต่างชาติโดนแรงเหวี่ยง ไหลไปยังอีกด้านจนแทบตกจากเบาะ ไม่ใช่สิ่งที่น่าตระหนกตกใจแต่อย่างใด แต่กลับเป็นเรื่องชวนหัวแทน 

ปลายทางครั้งนี้ คือเมืองงามในหุบเขาแห่งประเทศกัวเตมาลา (Guatemala) โอบล้อมด้วยภูเขาไฟ ชื่อเมืองอันติกัว อันที่จริงชื่อเต็มคือ อันติกัวกัวเตมาลา (Antigua Guatemala) หมายถึงเมืองโบราณแห่งประเทศกัวเตมาลา ค่าที่เคยเป็นเมืองหลวงเก่าเมื่อราวห้าร้อยปีก่อน คงความเป็นศูนย์รวมทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอยู่ได้สองร้อยปี แต่เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว จึงประสบกับหายนะทางธรรมชาตินับครั้งไม่ถ้วน 

แผ่นดินไหวในปี 1773 นับเป็นครั้งรุนแรงสุด ตึกรามพังถล่ม ได้รับความเสียหายมากจนทางการในสมัยนั้นเห็นว่าเกินกว่าจะซ่อมหรือสร้างขึ้นใหม่ จึงตกลงกันย้ายเมืองหลวงไปยังที่ราบสูงห่างออกไปราวสี่สิบกิโลเมตร ซึ่งก็คือกรุงกัวเตมาลาซิตี้ (Guatemala City) นั่นเอง

เมื่อถนนไต่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุด ก็ค่อย ๆ ลดระดับลง พลขับรถบัสคันเดิมยังฉวัดเฉวียนอย่างชินทาง ภาพภูเขาไฟเริ่มเผยให้เห็นนอกหน้าต่างรถ รูปทรงสามเหลี่ยมสมมาตรมีพลังเย้ายวนชวนให้ใจเต้นโครมครามอยากเข้าไปสัมผัสในระยะใกล้กว่านี้ ใครบางคนเคยเล่าให้ฟังว่าสามเหลี่ยมเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ทรงพลังที่สุด จึงไม่แปลกใจเลยที่สถูป เจดีย์ทางฝั่งเอเชีย ปิรามิดทั้งที่แอฟริกาอย่างอียิปต์ และปิรามิดชาวมายาในทวีปอเมริกาทั้งหลายจึงมีลักษณะไม่ต่างจากภูเขาไฟ

การจราจรติดขัดทันทีที่ถึงบริเวณทางเข้าเมือง เมื่อหลายร้อยปีก่อนนับว่ากว้างขวางแน่นอน แต่ยุคนี้รถราเยอะ ถนนกว้างเท่าเดิมนั้นกลับแคบไปถนัด ในเมื่อขยายถนนไม่ได้ จึงต้องแก้ไขโดยการเดินรถทางเดียว ก้อนหินนำมาเรียงเป็นพื้นถนนตะปุ่มตะป่ำ กระเด้งกระดอนกันครู่หนึ่งก็ถึงท่ารถ ผู้โดยสารลงจากรถ แยกย้ายกันไปยังสถานที่ตามที่ตั้งใจไว้

เมืองนี้ตั้งอยู่ที่ความสูงราวพันห้าร้อยเมตรจากระดับน้ำทะเล โอบล้อมด้วยภูเขา โดยมีภูเขาไฟสามลูกตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง ลูกที่เห็นได้ชัดกว่าใคร คือภูเขาไฟอะกวา (Volcan Agua) อีกลูกที่คนนิยมเดินเทร็กขึ้นไปยังปากปล่องของมัน คือภูเขาไฟอะคาเตนังโก (Volcan Acatenango) จุดประสงค์หลักก็เพื่อชมการประทุในระยะใกล้ของภูเขาไฟโฟยโก (Volcan Fuego) ซึ่งอยู่ใกล้กันนั่นเอง

แม้จะคล้ายกับเมืองเก่าสไตล์โคโลเนียลอื่น ๆ แต่เอกลักษณ์ซึ่งแตกต่างมาก คืออาคารหลายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโบสถ์เก่าแก่ซึ่งกระจายกันอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในเมืองนั้นอยู่ในสภาพซากปรักหักพัง เป็นอนุสรณ์สถานซึ่งอนุรักษ์ไว้ให้คงลักษณะเช่นนั้น โดยไม่มีการสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงพลังรุนแรงแห่งธรรมชาติ คนที่เห็นจะได้เข้าใจอดีตของที่นี่ ดีกว่ากลบร่องรอยด้วยตึกใหม่ซึ่งคล้ายของเดิมมากกว่ากันเป็นไหน ๆ

สำหรับใครที่เพิ่งมาเที่ยวกัวเตมาลาเป็นครั้งแรก การมาตั้งต้นการเดินทางในประเทศนี้ ณ อันติกัวนั้นนับว่าสมเหตุสมผลโดยประการทั้งปวง เพราะโดยบรรยากาศในตัวมันเองที่แสนจะผ่อนคลาย มีความปลอดภัยสูง กับบรรดาสิ่งอำนวยความสะดวกสารพันที่รองรับ ล้วนช่วยให้รื่นรมย์ในช่วงปรับตัวกับวัฒนธรรมใหม่ได้เป็นอย่างดี

ย่านใจกลางเมืองเก่าเหมาะสำหรับเริ่มต้นสำรวจอะไรต่อมิอะไร อาจจะเริ่มต้นที่แลนด์มาร์กสำคัญ คือซุ้มประตูสีเหลืองซานตาคาตารินา (Santa Catarina Arch) นักท่องเที่ยวมักมากระจุกกันบริเวณนี้ ทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ขายต่างเห็นเป็นโอกาสดีในการเสนอขายสินค้าที่ระลึกจำพวกสร้อยคอ กำไล ภาพวาด หมวก คนขายผลไม้หั่นชิ้นใส่ถุงหรือรถเข็นขายไอศกรีมทรงรถบัสฉบับย่อก็ประจำอยู่แถวนั้นด้วยเช่นกัน เวลาถ่ายเซลฟี่หรือให้ใครถ่ายภาพคู่กับสัญลักษณ์ประจำเมืองโดยมีภูเขาไฟอะกวาเป็นฉากหลังแล้วโพสต์ขึ้น ใครต่อใครบนโลกโซเชี่ยลเห็นปุ๊บก็รู้ปั๊บว่านั่นคืออันติกัว ใกล้กันนั้นคือโบสถ์ลาเมอร์เซ็ด (La Merced Church) ซึ่งก็คุมโทนผนังด้านนอกด้วยสีเหลืองและขาวเช่นกัน ข้างในเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ ยกเว้นช่วงที่มีการประกอบพิธีมิสซา เพื่อเปิดโอกาสให้ศาสนิกชนได้ร่วมพิธีกันอย่างสงบเรียบร้อย เสร็จกิจกรรมทางศาสนาแล้วก็เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้ตามปกติ

อีกจุดที่คนมักไปพักผ่อนหย่อนใจกันตลอดทั้งวัน คือสวนสาธารณะและลานน้ำพุกลางเมือง ม้ายาวกระจายตัวอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เหมาะสำหรับนั่งสังเกตอากัปกิริยาผู้คน บรรดานกพิราบมีความสุขกับการจิกกินอาหารที่คนโปรยลงพื้นให้ บางส่วนลงไปเกาะขอบน้ำพุ เล่นน้ำอาบน้ำกันโดยไม่ได้เกรงกลัวใครจะมาจับหรือทำร้าย นักท่องเที่ยวอุดหนุนคนเข็นขายของขบเคี้ยวเล่นประเภทถั่วชนิดต่าง ๆ ลุงช่างภาพโพลารอยด์ถือป้ายเรียกลูกค้าที่ต้องการภาพที่ระลึกแบบด่วน ๆ เวลาค่ำมักมีพวกผู้หญิงชนเผ่าเดินเร่ขายลูกโป่งติดไฟกะพริบ เด็กน้อยมักรบเร้าพ่อแม่ให้ซื้อให้ บางค่ำมีนักเป่าแซ็กโซโฟนมาเปิดหมวกบรรเลงเพลงรวมฮิตร่วมสมัยสไตล์โรแมนติกเสริมบรรยากาศการนั่งในสวนอีกด้วย 

รักนิรันดร ‘Yasuo Takamatsu’ ชายผู้ดำน้ำตามหาภรรยา ที่หายตัวไปจากเหตุสึนามิที่ญี่ปุ่น ในปี 2011

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2011 เกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิโทกุที่พัดถล่มชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น ทำให้ผู้คนราว ๆ หนึ่งในสี่ล้านคนต้องสูญเสียบ้าน และคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ ๒๐,๐๐๐ คน และเหยื่อจากสึนามิครั้งนั้นมากกว่า ๒,๕๐๐ รายยังคงสูญหาย


Yasuo Takamatsu ก็เป็นหนึ่งในผู้สูญเสียจากเหตุการณ์สินามิครั้งนั้นเช่นกัน โดยเขาได้สูญเสีย Yuko ภรรยาสุดที่รักของเขา 

ขณะเกิดเหตุสินามิ Yasuo อยู่กับมารดาที่โรงพยาบาลในเมืองใกล้เคียง ไม่ได้รับอนุญาตให้กลับไปยังเมืองที่ถูกคลื่นยักษ์สึนามิทำลายล้าง ซึ่งในเวลานั้น ตึกรามบ้านช่อง รถยนต์ และเรือตกปลาจำนวนมากถูกทำลาย และโรงพยาบาลซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาถูกกำหนดให้เป็นศูนย์อพยพ โดยมีผู้คนหลายร้อยคนไปพึ่งพิงที่โรงพยาบาลแห่งนั้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวได้ไม่นาน

หลายเดือนภายหลังจากภัยพิบัติผ่านพ้นไป Yasuo ก็พบเพียงโทรศัพท์ของภรรยาในลานจอดรถของธนาคารที่เธอทำงานอยู่ เขากล่าวถึงความ ‘น่าหดหู่ใจ’ ที่ต้องคิดถึงการมีชีวิตอยู่โดยไม่มีภรรยา 

หากย้อนกลับไปยังวันที่เกิดเหตุสึนามิ ขณะที่ภรรยาของเขากำลังทำงานอยู่ เธอได้ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ เธอถามผู้เป็นสามีว่า “คุณสบายดีไหม” และในข้อความสุดท้ายของเธอถึงสามีมีเพียงข้อความว่า “ฉันอยากกลับบ้าน” และหลังจากนั้นเธอก็ขาดการติดต่อ

Yasuo ได้ใช้เวลาค้นหาภรรยาบนบกนานกว่าสองปีครึ่งภายหลังสึนามิถล่มแผ่นดินใหญ่ และยังคงพยายามค้นหาเธอทุกวิถีทาง จนในที่สุด Yasuo Takamatsu ในวัย ๕๗ ปี ก็เริ่มเรียนดำน้ำในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 จนได้รับใบอนุญาตในการดำน้ำระดับสูงเพื่อค้นหาภรรยาของเขา

เดิมที Yasuo Takamatsu เป็นพนักงานขับรถบัส และไม่ชอบการดำน้ำ แต่ด้วยความต้องการที่จะค้นหาภรรยาให้พบ จึงกลายเป็นเรื่อง ‘บังคับ’ ให้เขาดำลงในมหาสมุทรไปโดยปริยาย

อดีตที่ขมขื่น!! ความเจ็บปวดใต้การปกครองของชาติอาณานิคม ส่งผลให้ ‘ชาวอินโดนีเซีย’ รักบ้านเกิดเมืองนอนยิ่งกว่าชีวิต

การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกเอาดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้ ‘กำลังทหาร’ เข้าช่วย 

สำหรับราชอาณาจักรสยาม หรือราชอาณาจักรไทยนั้น ผ่านพ้นเหตุการณ์เช่นนั้นมาด้วยพระปรีชาสามารถในพระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ คนสยามหรือคนไทยในปัจจุบัน จึงไม่เคยลิ้มชิมรสชาติของการเป็นพลเมืองของชาติอาณานิคมที่ถูกเจ้าอาณานิคมชาติตะวันตกปกครอง 

แต่สำหรับชาวอินโดนีเซียแล้ว พวกเขามีช่วงเวลาที่เลวร้ายกับการตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมานานกว่า ๓๕๐ ปี ความเป็นอาณานิคมเพิ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 เมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้น ต่างชาติจากยุโรปซึ่งก่อนหน้านี้ถูกนาซีเยอรมันยึดครองได้พยายามกลับมายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งด้วยปฏิบัติการทางทหารถึงสองครั้งในปี ค.ศ. 1947 และ ค.ศ. 1948 แต่ก็ประสบความล้มเหลวทั้งสองครั้งสองครา

เหล่าต่างชาติที่เคยรุกราน ยึดครอง และแสวงหาประโยชน์จากอินโดนีเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1509 - 1948 ได้แก่ โปรตุเกส (ค.ศ. 1509 - 1595) สเปน (ค.ศ. 1521 - 1629) ดัตช์ (ค.ศ. 1602 - 1942) ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1806 - 1861) อังกฤษ (ค.ศ. 1811 - 1816) และญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942 - 1945) 

ในช่วงที่ตกเป็นอาณานิคม ชาวอินโดนีเซียในท้องถิ่นไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่านและการเขียน และคนในท้องถิ่นก็ยากจนลงอย่างเป็นระบบ อดอยากจนตาย และถูกเลือกปฏิบัติอย่างเลวร้าย ต่างชาติที่ยึดครองอินโดนีเซียในขณะนั้นถือว่าชาวอินโดนีเซียเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่สมควรมีชีวิตอยู่ และคาดหวังจะทำให้ชาวอินโดนีเซียเป็นทาสในอาณานิคมของตน

ทหาร-ตำรวจของเจ้าอาณานิคมปฏิบัติต่อชาวบ้านในอืนโดนีเซียช่วงเวลาที่ถูกยึดครอง

 

การบังคับใช้แรงงานในยุคอาณานิคมในอินโดนีเซีย

 

มหาสงครามอาเจะห์

สงคราม Padri ในสุมาตราตะวันตก


กษัตริย์ Sisingamaraja จาก North Sumatera ผู้นำประชาชนต่อสู้กับชาวดัตช์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top