Saturday, 29 June 2024
THE STATES TIMES TEAM

สาธารณสุข ร่วมสวนนงนุชพัทยาสานพลังเอกชนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสุขภาพดี

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 มี .ค.64 ที่สวนนงนุชพัทยา อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นายกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา ร่วมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการสานพลังเอกชนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี ดร.นายแพทย์อุทัย สุดสุข ประธานที่ปรึกษามูลนิธิอุทัย สุดสุข แพทย์หญิงศศิธร  ตั้งสวัสดิ์  ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พร้อมคณะวิทยากร และผู้บริหารพนักงานสวนนงนุชพัทยา 45 คน เข้าร่วมอบรม ระหว่างวันที่ 22 - 24 มีนาคม  2564

นายกัมพล  ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา กล่าวว่าโครงการอบรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้พนักงานทุกคนที่เข้าร่วมอบรม ได้ทราบถึงแนวทางการรักษาสุขภาพ และสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนจัดตั้งและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรมสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง และสถานีบริการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ ทันสมัย น่าสนใจ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงความรู้ด้านสุขภาพของประชาชน โดยเน้นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลง ลดภาวะแทรกซ้อน และอาการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หายหรือทุเลาลง และมีความสุขในการทำงานและการดำเนินชีวิต

ด้าน ดร.นายแพทย์อุทัย สุดสุข ในวัย 90 ปี แต่ยังมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ประธานที่ปรึกษามูลนิธิอุทัย สุดสุข กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนองค์กรเครือข่ายภาคเอกชน ให้มีส่วนร่วมในระบบสุขภาพปฐมภูมิและขับเคลื่อนการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง (สธทศ.) และขยายผลแนวคิดธุรกิจเชิงสุขภาพ เพื่อให้มีวิทยากรภาคเอกชนที่มีความรู้ สามารถไปปฏิบัติและถ่ายทอดความรู้และการปฏิบัติสู่ประชาชนทั่วไป ได้อย่างมีคุณภาพ และได้นำโครงการฯ นี้ มาจัดที่สวนนงนุชพัทยา

เนื่องจาก ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กรุณาลงนามเห็นชอบนโยบายสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม  วิถีไทย  วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2564-2570 ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้เน้น ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกคน มีสุขภาพแข็งแรง โดยนำหลักธรรมะแต่ละศาสนามาปฎิบัติ ควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน แผนไทย แผนทางเลือก โดยบรูณาการเรื่องของการดูแลสุขภาพ และน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฎิบัติ โดยเลือกสวนนงนุชพัทยา เป็นสถานที่ฝึกอบรม เนื่องจากมีความเหมาะสมและมีความพร้อม ที่จะรับนโยบายไปขับเคลื่อนและต่อยอดผู้ที่มาท่องเที่ยวจำนวนมากไดั โดยได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้น เนื่องจากมีอุปกรณ์พร้อมที่จะตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง


ภาพ/ข่าว : นิราช ทิพย์ศรี / นันทพล  ทิพย์ศรี 

ต้องพึ่งพาตัวเอง ! รมว.สาธารณสุข เผยความคืบหน้าวัคซีนโควิดของไทย ล่าสุด องค์การเภสัชกรรม ได้ทดลองวัคซีนโควิด 19 ในคน ครั้งแรกแล้ว พร้อมวางเป้าปี 65 ผลิตได้ 30 ล้านโดส

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแถลงข่าว การพัฒนาวิจัยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตายขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) เริ่มวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 พร้อมให้กำลังใจอาสาสมัครที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกในการวิจัย โดยระบุว่า

การวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ขึ้นเองภายในประเทศ เป็นการสร้างความมั่นคงและพึ่งพาตนเอง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้วิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก ผลวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า มีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี

ดังนั้นในวันนี้ อภ. จึงร่วมกับศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มศึกษาวิจัยวัคซีนในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 โดยการศึกษาวิจัยจะฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัคร รวม 460 คน และจะศึกษาวิจัยในมนุษย์ให้มีผลครบถ้วนเพื่อนำข้อมูลไปยื่นขอขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่โรงงานผลิตวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม ต. ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนด้วยไข่ไก่ฟักที่ใช้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่แล้ว

พร้อมปรับมาใช้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้ทันที คาดว่าภายในปี 2565 จะขอรับทะเบียนตำรับและเริ่มผลิตวัคซีนได้ โดยผลิตได้ 25-30 ล้านโดสต่อปี

"เมื่อการทดลองประสบความสำเร็จ จะทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยดีขึ้น สามารถบริหารจัดการวัคซีนได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เราจะมีอิสระในการบริหารจัดการ การวิจัยครั้งนี้ไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเทคโนโลยีเท่านั้นแต่เป็นการที่เราสร้างวัคซีนขึ้นมาเองบนต้องขอขอบคุณอาสาสมัครในการฉีดวัคซีนวันนี้พวกคุณถือเป็นวีรบุรุษวีรสตรีในการเสียสละทุ่มเทเพื่อทดสอบวัคซีน ให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ"

สำหรับ การฉีดวัคซีนโควิด19 ชนิดเชื้อตายในอาสาสมัครครั้งนี้เป็นการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 โดยเริ่มทดลองกลุ่มแรก 18 คน และในวันนี้ ได้ฉีดในอาสาสมัคร 4 คน แบ่งเป็นช่วงเช้า 2 คน และช่วงบ่าย 2 คน ขั้นตอนจะมีการซักประวัติและเส้นหนังสือยินยอมยินดีร่วมโครงการวิจัย หลังจากนั้นก็จะตรวจเลือดอาสาสมัคร เพื่อดูค่าตับ ค่าไต เม็ดเลือดแดง ตรวจหาตับอักเสบบี ตับอักเสบซี และเอชไอวีและทำนัดหมายมารับวัคซีน

ทั้งนี้ อาสาสมัครจะต้องไม่ติดเชื้อ หรือมีประวัติติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน และไม่ใช่หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มอาสาสมัครจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อทำการสุ่มตัวอย่าง โดยผู้ดำเนินการฉีดกระทำโดยพยาบาลอิสระ และกลุ่มเฝ้าสังเกตอาการอีกกลุ่ม โดยมีการตรวจว่า 30 นาทีแรกเกิดอาการหรือไม่ และสังเกตอาการต่อ 4 ชั่วโมง ก่อนจะอนุญาตให้กลับบ้านได้

แม่เฒ่า102 ปี...ได้ร่วมโครงการเราชนะแล้ว หลังคลังจังหวัดนำทีมออกช่วยเหลือลงทะเบียนให้ถึงบ้าน

วันที่ 22 มีนาคม 2564 นางภุมรินทร์ ธนานุกูลวงศ์ คลังจังหวัดพังงา นำทีมเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยและเจ้าหน้าที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดพังงา ลงพื้นที่ศาลาเขาช้าง อ.เมืองพังงา ซึ่งได้เปิดเป็นจุดให้บริการลงทะเบียนโครงการเราชนะ กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โดยมีผู้นำท้องที่และดูแลคนพิการผู้ป่วยติดเตียง นำผู้พิการและผู้สูงอายุที่สามารถเดินทางมาได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมลงทะเบียนให้

ในส่วนของผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาได้นั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้แบ่งทีมออกติดตามผู้นำท้องที่ไปบริการให้ถึงที่บ้านซึ่งนายนิกร ชำนาญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ต.ตากแดด อ.เมืองพังงา ได้ขับมอเตอร์ไซค์นำเจ้าหน้าที่เข้าไปในสวนยางพาราลงทะเบียนให้กับแม่เฒ่าอายุ 102 ปี ชื่อนางนงลักษณ์ ณ ถลาง ที่ได้รับเงินผู้สูงอายุเท่านั้น ปัจจุบันมีปัญหาทางสายตาและการรับฟัง และเจ้าหน้าที่สามารถสแกนใบหน้าลงทะเบียนได้เป็นที่เรียบร้อย ทำให้ลูกหลานดีใจและขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่มาช่วยบริการถึงบ้าน

นางภุมรินทร์ ธนานุกูลวงศ์ เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังขยายระยะเวลาเปิดรับลงทะเบียนโครงการ "เราชนะ" สำหรับกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จากเดิมวันที่ 5 มี.ค. ออกไปถึงวันที่ 26 มี.ค.2564 เนื่องจากยังมีประชาชนกลุ่มดังกล่าวบางส่วนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ตามนโยบายของ รมว.คลัง ที่ให้มีการดูแลกลุ่มผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงคนชราที่มีปัญหาทางกายภาพ

ในส่วนของจังหวัดพังงา ได้มีแผนลงพื้นที่ในวันที่ 22 มีนาคม 2564 ที่ศาลาเขาช้าง อ.เมืองพังงา และศาลาประชาคมเทศบาลตำบลทับปุด อ.ทับปุด วันที่ 23 มีนาคม ที่หอประชุมอำเภอตะกั่วทุ่ง วันที่ 24 มีนาคม ที่ศาลาประชาคมอำเภอท้ายเหมือง วันที่ 25 มีนาคม ที่ที่ศาลาเทศบาล ต.คุระบุรี อ.คุระบุรี วันที่ 26 มีนาคม ที่ศาลาประชาคมอำเภอตะกั่วป่า และศาลาเทศบาลตำบลท่านา อ.กะปง สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเรียบร้อยในรอบนี้ สามารถตรวจสอบสิทธิได้ในวันที่ 5 เมษายน 2564 หากได้รับสิทธิจะได้รับเงินเข้าระบบในวันที่ 9 เมษายน จำนวน 7,000 บาท และใช้ได้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2564


ภาพ/ข่าว : อโนทัย งานดี (พังงา)

เชียงราย บวชป่าชุ่มน้ำ อนุรักษ์สู่ระบบนิเวช ผลักดันเข้าสู่แรมซ่าไซ

วันที่ 22 มี.ค.64 ที่ป่าส้มแสง พื้นที่ชุ่มน้ำ บ้านป่าข่า ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย นายญาณวุฒิ สุดพิมศรี นายอำเภอขุนตาล  ได้เป็นประธานในพิธีบวชป่าส้มแสง ป่าต้นน้ำแม่น้ำอิง โดยมีนายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตและผู้ประสานงานเครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำโขงภาค เหนือ  ร่วมกับตัวแทนเครื่อข่ายองค์กรไม่แสวงผลกำไร กลุ่มรักษ์เชียงของ เครื่อข่ายนักอนุรักษ์ นายสุทธิ มะลิทอง รองผู้อำนวยการสถาบันความหลากหลาย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย รวมไปเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านบ้านป่าข่า เข้าร่วมพิธีบวชป่าในครั้งนี้

สำหรับป่าชุ่มน้ำป่าข่า เป็นป่าที่มีความพิเศษที่มีต้นชุมแสงหรือ ส้มแสง ขนาดใหญ่ ที่เป็นต้นไม้โตช้า โดยอายุกว่า 300 ปี ถือว่าเป็นวิสัยทัศน์กว้างไกล ที่ไม่เคยเห็นที่อื่น ถือว่าที่นี่เป็นที่เดียวของประเทศไทยและโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วม 1-3 เดือน มีต้นไม้อยู่ไม่กี่ประเภทที่อยู่ได้ โดย 1 ในนั้นคือต้นชุมแสง ปกติมักเจอในป่ากแม่น้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง เมื่อน้ำเอ่อขึ้นมา ซึ่งป่าชุมน้ำอิงมีพันธุ์พืช 60 - 70 ชนิด ส่วนสัตว์มีมากกว่า 200 ชนิด ช่วงนี้ชุมแสงกำลังออกออก เดือนเมษายนจะมีผล เมื่อตกลงมาจะกลายเป็นอาหารปลาและสัตว์ป่ารวมถึงนก กลายเป็นระบบนิเวศซับซ้อนและเป็นอัตลักษณ์

นายสุทธิ มะลิทอง รองผู้อำนวยการสถาบันความหลากหลาย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย กล่าวว่า ป่าบ้านป่าข่าเป็นป่าน้ำท่วมตามฤดูกาล มีน้ำเข้ามาท่วม 1-3 เดือนฤดูฝน มีต้นไม่ไม่กี่ชนิดอยู่ได้ มีต้นชุมแสง ต้นข่อย ที่ทนทานสภาวะการถูกน้ำท่วม ป่าพวกนี้เป็นป่าริมน้ำคอยดักจับตะกอน และเวลาใกล้ปากแม่น้ำเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ แม่น้ำอิงติดต่อแม่น้ำโขง ทำให้ปลาน้ำโขงเข้าแม่น้ำอิงและป่าเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัย แพร่พันธุ์ของปลา

"ป่าชุมแสงหรือส้มแสง เป็นป่าที่ทนทานและโตช้า ในป่าแห่งนี้มีอายุมายาวนาน กว่า 300 ปีถือว่าสุดยอดที่เป็นวิสัยทัศนของคนในชุมชน จริง ๆ ต้นชุมแสงมีการกระจายตัวอยู่ทุกภาค แต่การเป็นป่าผืนใหญ่มีไม่เยอะ ที่นี่เป็นจุดใหญ่ ต้นชุมแสงขนาดใหญ่ เป็นอัตลักษณ์เฉพาะเรา หาป่าชุมแสงแบบนี้จากที่อื่นไม่มีแล้ว” รองผู้อำนวยการสถาบันความหลากหลาย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย  กล่าว

ในส่วนของภาครัฐนั้นหากยกระดับเป็นพื้นที่ชุมน้ำนานาชาติได้ ก็ได้รับการสนับสนุนจากแรมซ่าไซ ชุมชนอนุรักษ์ป่าอยู่แล้ว รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เป็นกลาง รับฟังความต้องการของชุมชน ยึดในเรื่องความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ และกฎหมายรองรับควรมีความชัดเจนมากขึ้นไม่ใข่แค่มติครม.


ภาพ/ข่าว : ณัฐวัตร ลาพิงค์

พบผู้ป่วยโควิด รายที่ 14 เป็นคนนอย์เวย์ อายุ 74 ปี เบื้องต้นกักตัวตัวตามมาตรฐานอย่างถูกต้อง แต่ยืนยันตรวจเชื้อมีอาการ และเข้ารักษาตัวที่ขอนแก่น ผู้ว่าฯ สั่งเร่งตรวจสอบไทม์ไลน์อย่างละเอียด

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 22 มี.ค.2564 ที่ห้องประชุมแก่นชัย ชั้น 5 ศาลากลาง จ.ขอนแก่น นายสมศักดิ์  จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย นพ.สมชายโชติ  ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังผลตรวจยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ท่ามกลางความสนใจจากบุคลากรทางการแพทย์และสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

นายสมศักดิ์  จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชาวนอย์เวย์ อายุ 74 ปี  ซึ่งเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านสนามบินสุวรณภูมิ ในวันที่ 5 มี.ค. จากนั้นเข้ารับการกักตัว ในสถานที่ที่รัฐกำหนด เป็นเวลา 14 วัน โดยในวันที่ 7 มี.ค. เข้ารับการตรวจเชื้อครั้งแรกไม่พบการติดเชื้อ และเข้ารับการตรวจเชื้อครั้งที่ 2 ในวันที่ 17 มี.ค.ไม่พบการติดเชื้อเช่นกัน ก่อนจะครบกำหนดการกักตัวในวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งเจ้าตัวเดินทางกลับขอนแก่น ทันที โดยลงเครื่องที่สนามบินขอนแก่น ในวันที่ 20 มี.ค. ไฟท์เที่ยง โดยมีลูก 2 คนเดินทางมารับและกลับบ้านที่จังหวัดข้างเคียงกับขอนแก่น

“จนกระทั่งวันที 21 มี.ค.ผู้ป่วยเริ่มมีอาการบ่งชี้ โดยเฉพาะปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงให้ครอบครัวเข้ารับการตรวจที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งของ จ.ขอนแก่น แต่ด้วยมาตรฐานคุมเข้มที่จังหวัดของเรากำหนดไว้อย่างเข้มงวด ซึ่งผู้ป่วยทุกรายจะต้องรายงานข้อมูลต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ได้รับทราบซึ่ง รพ.เอกชน แห่งนี้ได้ซักประวัติและตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้ง ซึ่งผลยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงค่ำ จึงมีการส่งต่อการรักษามาที่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เข้มงวดทันที”

ขณะที่ นพ.สมชายโชติ  ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ทุกขั้นตอนเมื่อผู้ป่วยถึงทีมแพทย์ ตั้งแต่ รพ.เอกชน และส่งต่อมายัง รพ.ศรีนครินทร์ เป็นไปตามขั้นตอนการปฎิบัติงานที่เข้มงวด ตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ทำให้ขณะผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 รายที่14 ของ จ.ขอนแก่น นั้นอยู่ในการดูแลของทีมแพทย์ตามขั้นตอนของการรักษาแล้ว  ขณะเดียวกันทีมสอบสวนโรคได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบไทม์ไลน์ผู้ป่วยอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่การเดินทางมาที่ขอนแก่น ด้วยสายการบินแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้ที่นั่งใกล้ชิดกับผู้ป่วยคือ 3 แถวหน้าและ 3 แถวหลังจะต้อเข้ารายงานตัวและเข้ารับการตรวจเชื้อทันที

ขณะเดียวกันกลุ่มเสี่ยงสูง 2 คนคือคนในครอบครัวของผู้ป่วยนั้นขณะนี้ได้มีการเข้ารายงานตัวและเข้ารับการตรวจเชื้อกับทางแพทย์แล้ว ส่วนกลุ่มเสี่ยงต่ำ 17 คนนั้น ขณะนี้ทยอยเข้ารายงานตัวและเข้ารับการตรวจอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อย่างไรก็ตามขณะนี้ทีมสอบสวนโรค จะลงพื้นที่ที่บ้านของผู้ป่วย รวมทั้งการซักรายละเอียดต่างๆอย่างละเอียดเพื่อให้มาตรการควบคุมและป้องกันและการควบคุมพื้นที่เป็นไปอย่างรัดกุม

นักเรียนโรงเรียนบ้านปากคลอง เก็บมะม่วงหิมพานต์ขายเป็นรายได้เสริม เพื่อสร้างทักษะชีวิต และอาชีพของนักเรียน

นายมนัส  สัจจสุจริตกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านร่าหมาด และรักษาราชการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากคลอง อำเภอเกาะลันตา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ เปิดเผยว่า โรงเรียนบ้านปากคลอง เป็นโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในพื้นที่ใกล้ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศร้อนอบอ้าว จึงทำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่ปลูกเอาไว้ จำนวนกว่า 20 ต้น  มีผลออกมาเยอะมาก  

ทางโรงเรียนได้ฝึกสร้างทักษะอาชีพให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะชีวิตด้วยการสร้างงานในสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน  โดยการเก็บ มะม่วงหิมพานต์ขาย สร้างรายได้เสริมให้กับนักเรียนอีกทางหนึ่ง โดยมีแม่ค้า หรือชาวบ้านในชุมชนมารับซื้อในโรงเรียน  ซึ่งมีราคาจำหน่ายดังนี้ ผลติดเมล็ด ขายกิโลกรัมละ 35 บาท ผลเอาเมล็ดออก กิโลกรัมละ 20 บาท และเมล็ดอย่างเดียว กิโลกรัมละ 60 บาท   

ทั้งนี้  มะม่วงหิมพานต์เป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์ทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นใบ ผล ต้น เมล็ด ยาง เปลือก  เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์มีแมกนีเซียมสูง  ช่วยในการทำงานของหัวใจ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงาน ช่วยป้องกันอาการหมดเรี่ยวแรงได้เป็นอย่างดี  ผลและใบของมะม่วงหิมพานต์มีสรรพคุณช่วยลดไข้ ยางจากต้นช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน เปลือกจากต้นช่วยแก้อาการปวดฟัน ใช้กลั้วคอล้างปาก น้ำคั้นจากผลใช้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะได้ ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบแก่นำมาบดใส่บริเวณที่เป็นแผล

ในภาคใต้ยังนิยมนำใบอ่อนของมะม่วงหิมพานต์มาเป็นผักกินกับอาหารได้อย่างอร่อย  นำผลมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด และนำเมล็ดไปอบ เพื่อทานเป็นของว่างกินเล่นได้อย่างดีอีกด้วย  สนใจสั่งซื้อมะม่วงหิมพานต์ ติดต่อได้ที่นายมนัส  สัจจสุจริตกุล หมายเลขโทรศัพท์  087-9114068 


ภาพ / ข่าว  ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง (กระบี่)  / นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ (หาดใหญ่ สงขลา)

กรมประมง เปิดเวทีจัดเสวนา “ความสำเร็จของฟาร์มทะเลและเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดสงขลา” พร้อมมอบเงินอุดหนุนพัฒนาอาชีพ 15 ชุมชน ประมงท้องถิ่นและปล่อยกุ้งกุลาดำ กว่า 1 ล้านตัว ลงทะเลสาบสงขลา

หาดจันทร์สว่าง (หาดปลาไก่) ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา กรมประมงจัดพิธีเปิดโครงการเสวนาสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นระดับจังหวัด ในหัวข้อ “ความสำเร็จของฟาร์มทะเลและเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดสงขลา” โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ นายเดชอิศม์ ขาวทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 สงขลา เป็นประธาน มีนายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วยนายปัญญา จินดาวงศ์ นายอำเภอสิงหนคร ข้าราชการ คณะครูและนักเรียน รวมถึงพี่น้องชาวประมงจาก 15 ชุมชนในพื้นที่ จำนวนกว่า 500 คน เข้าร่วม

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 25 ว่าด้วยเรื่องของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในที่จับสัตว์น้ำในเขตประมงทะเลชายฝั่ง โดยกำหนดให้กรมประมงดำเนินการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในเรื่องการมีส่วนร่วม การรวมกลุ่ม การให้คำปรึกษาแก่ชุมชน การเผยแพร่ความรู้ในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของชุมชน ฯลฯ ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กรมประมงได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านชายฝั่งไปแล้วกว่า 459 ชุมชน เช่นโครงการพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้าน , โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร , โครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมง

กรมประมงจึงกำหนดจัดโครงการเสวนาสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นระดับจังหวัด ช่วงระหว่างเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564 ในพื้นที่ 23 จังหวัดชายทะเล เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนประมงท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์และบทเรียนจากการดำเนินงานพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งชองชุมชนประมงชายทะเล และแนวทางการขับเคลื่อนเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในการบริหารจัดการประมงทะเลอย่างยั่งยืน อีกทั้ง เป็นการกระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ภายในงานมีการเสวนา ในหัวข้อ “ความสำเร็จของฟาร์มทะเลและเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดสงขลา” พิธีมอบเงินอุดหนุนพัฒนาอาชีพ 15 ชุมชน กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ได้แก่ กุ้งกุลาดำ จำนวน 1 ล้านตัว โดยปล่อยในทะเลชายฝั่งบริเวณหาดจันทร์สว่าง และขบวนคาราวานเรือประมงพื้นบ้าน จำนวน 20 ลำ ยังได้นำกุ้งกุลาดำ (500,000 ตัว) ไปปล่อยในเขตอนุรักษ์และเขตสร้างแหล่งอาศัยสัตว์น้ำของชุมชนอีกด้วย อีกทั้งยังมีการมอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ผู้แทนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น จำนวน 10 ชุมชน เพื่อนำไปบริหารจัดการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติของชุมชนให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ชาวประมงพื้นบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างทั่วถึงทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้นจากการประกอบอาชีพประมง และชุมชนประมงเกิดความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้

นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ทางการประมงมากมาย อาทิ มาตรฐานประมงพื้นบ้านยั่งยืน มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในอ่าวไทย เขตทะเลหลวง เขตทะเลชายฝั่ง การบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางระบบนิเวศ การตลาด (ปลากะพง) โรคสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชาวประมง อีกด้วย

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์และบทเรียนจากการดำเนินงานพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมงชายทะเล เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐ ภายใต้บริบทและวิถีของชุมชน เกิดความมั่นคงในอาชีพประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน หวังเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านทั้ง 23 จังหวัด เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรประมงของชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืนของอาชีพประมงภายใต้ความยั่งยืนของทรัพยากร ตามนโยบายที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำให้กรมประมงบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องชาวประมง


ภาพ/ข่าว : นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์  หาดใหญ่ สงขลา

ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 446 นำกำลังพลลาดตระเวนตรวจสอบป่าต้นน้ำ แม่น้ำสุไหงโก-ลก

พ.ต.ท.อเนชา ตาวันผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 446 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสพร้อมร.ต.ต.สมยศ หนูเอียดหัวหน้าชุดเฝ้าตรวจชายแดน 4408 พร้อมกำลังพล 4407 และ 4408 ร่วมลาดตระเวนตรวจสอบป่าต้นน้ำแม่น้ำสุไหงโก-ลกและลาดตระเวนสำรวจหลักเขตแดนที 72 ณ.หมู่ที่ 2 บ้านภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสและพักค้างแรม 1 คืนทีบริเวณหลักเขตแดนที่ 74            

วัตถุประสงค์ของการลาดตระเวนตรวจสอบป่าต้นน้ำในครั้งนี้เพื่อดูแลการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและขบวนการพาคนข้ามเขตแดน แรงงานต่างด้าวและคนไทยทีติดอยู่ในประเทศมาเลเซียเข้ามาและเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิค 19 อีกด้วย


ภาพ/ข่าว : แวดาโอ๊ะ หะไร นราธิวาส

นักเรียนสตูล เนรมิตผืนดินร้างในโรงเรียน เป็นทุ่งทานตะวันแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในชุมชนสร้างรายได้

วันนี้ 22 มีนาคม 2564 นักเรียน ครู รวมถึงผู้ปกครอง กำลังสนุกสนาน เพลิดเพลินกับการถ่ายรูปกับทุ่งทานตะวันที่ชูช่อดอกเหลืองอร่าม ท้าแสงแดด บนพื้นที่ 2 ไร่ บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านาท่าแลหลา  ต.กำแพง  อ.ละงู  จ.สตูล สร้างความสุข และเกิดการเรียนรู้ของนักเรียนภายใต้แนวคิด  การจัดกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนหลักการความคุ้มค่า  "ทุกตารางเมตรคือแหล่งเรียนรู้"

โดยแปลงทานตะวันแห่งนี้เกิดขึ้น  โดยคณะครู และนักเรียนต้องการให้ทุกพื้นที่ของโรงเรียนใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งฝึกทักษะอาชีพ ฝึกนิสัยความรับผิดชอบ การช่วยเหลือกัน การทำงานเป็นทีม และเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน แปลงทางตะวันแห่งนี้ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือ ของนักเรียน คณะครู และผู้บริหาร โดยนักเรียนแต่ละชั้นเรียนร่วมกันรับผิดชอบ  ตั้งแต่กกระบวนการแรก พรวนดิน  ลงเมล็ดพันธุ์  รดน้ำ ดูแลจนเบ่งบานสวยงาม  ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยได้รับการสนับสนุนจากชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

นายสนั่น หวันสมัน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านท่าแลหลา กล่าวว่า เดิมทีโรงเรียนแห่งนี้ พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ว่าง ทางคณะกรรมการสถานศึกษาคณะครูผู้ปกครองมีแนวคิดว่าโรงเรียนแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ ลูก ๆ หลาน ๆ ของเราในชุมชน พร้อมทั้งผู้ปกครองที่เข้ามามีส่วนร่วมในโรงเรียน ทุกตารางเมตรของโรงเรียนคือแหล่งเรียนรู้โดยเฉพาะพื้นที่ว่างเปล่า เราจึงปลูกดอกไม้เพื่อให้เด็กมีความรับผิดชอบ ในโรงเรียนร่วมกัน ร่วมกันใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใช้สอยเพราะโรงเรียนของเราเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่เยอะแต่ทุกตารางเมตรก่อให้เกิดประโยชน์ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง

ในส่วนของพื้นที่ตรงนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลก็เข้ามามีส่วนร่วม เป็นจุดเช็คอิน  เพื่อดึงคนจากภายนอกมาเที่ยวในชุมชนในตำบลของเราได้ด้วย  ตรงนี้เราไม่ได้เรียกร้องขอค่าบริการต่าง ๆ  แต่ในส่วน ของผู้มีจิตศรัทธา ก็ร่วมกันบริจาคสมทบทุนเพื่อให้กับลูกหลานในชุมชนในโรงเรียนเพื่อเป็นค่าดูแลได้ สำหรับดอกทานตะวันนี้จะแบ่งบานยาวไปจนถึงช่วงสงกรานต์ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ทุกวันฟรี

รวมทั้งทางโรงเรียนเองนั้นต้องการที่จะเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อให้หมู่บ้านบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนมีรายได้  รวมทั้งตำบลกำแพงนี้มีการท่องเที่ยว และการทำของฝากหลาย ๆ จุด และจะนำโรงเรียนแห่งนี้เป็นจุดเส้นทางการมาเที่ยวอีกด้วย เพราะปัจจุบันนี้ ของฝากในพื้นที่ทั้งขนม และสิ่งของขายได้จากนักท่องเที่ยวเดือน ๆ หนึ่งได้ 3,000 – 10,000 บาท หากมีดอกทานตะวัน ยิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาอีกด้วย


ภาพ/ข่าว  นิตยา แสงมณี  ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

“ดาวม็อบ” แสงสว่างจากธรรมศาสตร์

ปีนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 87 ปี แต่ดูเหมือนช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ ‘ธรรมศาสตร์จะร้อนแรง’ เป็นพิเศษ อย่างที่หลายคนติดตามข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นม็อบสารพัดม็อบก็ดี เหล่าแกนนำม็อบก็ดี อาจารย์ และรวมถึงผู้สนับสนุนจากหลายฝั่งหลายฝ่ายก็ดี พอเชื่อมโยงกันให้ดี ๆ อ้าว ! ถนนทุกสาย วิ่งเข้า วิ่งออก จากคำว่า ‘ธรรมศาสตร์’ แทบทั้งสิ้น ?!

เสมือนเป็น ‘โมเดลลิ่งการเมือง’ ดาวม็อบจากคณะนั้น อาจารย์ผู้เป็นแนวหลังจากคณะนี้ หรือศิษย์ผู้พี่ที่คอยให้กำลังใจจากคณะโน้น และอีกบลา ๆ ๆ

มันอาจจะร้อนแรงดี สำหรับคนกลุ่มหนึ่ง แต่มันก็เป็นเครื่องหมายคำถาม สำหรับคนอีกหลาย ๆ กลุ่ม ที่ต่างตั้งคำถามกลับมาระดับเบา ๆ ถึงหนักมาก ‘ที่นี่เป็นมหาวิทยาลัย บ่มเพาะการศึกษาเป็นพื้นฐาน แต่ที่กำลังทำและเป็นอยู่นั่น มันคืออิหยัง ?’

เรื่องทุกอย่างล้วนมีที่มา เมื่อมีผล ก็ต้องมีเหตุ ย้อนกลับไปเดย์วัน หรือวันแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ด้วยชื่อก็ชัดเจนในตัวระดับหนึ่ง แต่เดิมชื่อของมหาวิทยาลัย คือ ‘มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง’ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 จากเจตนารมย์ของ ศ.ปรีดี พนมยงค์

ในครั้งนั้น ทั้งอาจารย์ปรีดี และคณะราษฎร มีมุ่งหมายที่จะ ‘ยกระดับ’ การศึกษาของประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองของประเทศที่เพิ่งเปลี่ยนใหม่ ดังตามประกาศของคณะราษฎร บางท่อนบางตอนที่ว่า ‘การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ 

แม้ในช่วงแรก การศึกษาที่ว่า จะมุ่งเน้นที่วิชากฎหมายและการเมือง แต่เป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะในเวลานั้น การจะหาครูบาอาจารย์ หรือที่เรียกว่า ‘ผู้รู้’ นั้น คงไม่ใช่เรื่องง่าย ทว่าต่อมา ในช่วงปี พ.ศ. 2495 ชื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ก็ถูกเปลี่ยน โดยตัดคำว่า วิชา และการเมืองออก เหลือไว้เพียง ‘มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ พร้อมการขยับขยายภาควิชาและคณะเรียนให้มากขึ้น

ไม่ว่าเบื้องลึก เบื้องหลัง จะเป็นอย่างไร นั่นเป็นเรื่องของอดีต แต่สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ เมื่อมีวิชาให้เรียนมากขึ้น ประชาชนก็จะได้รู้มากขึ้น และกว้างขึ้น แต่ถึงกระนั้น ไม่ว่าจะธรรมศาสตร์ชื่อสั้น หรือธรรมศาสตร์ชื่อยาว ภาพที่ถูกติดเอาไว้ เหมือนรักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ การเมือง

ธรรมศาสตร์ กับ การเมือง อยู่คู่กันมาอย่างแยกไม่ออก

ไม่แปลก หากจิตวิญญาณของการสร้างแต่แรกเริ่ม จะยังคงอบอวลอยู่ในสถานที่แห่งนี้ มองในมิติกลับกัน การมีสถานที่ที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญให้กับเรื่องใด ๆ ถือเป็นความสำเร็จของผู้สร้าง และกับสถานที่แห่งนั้น รวมทั้งกับคนรุ่นหลังไว้เพื่อศึกษา

เพียงแต่ เมื่อเวลาผ่านไป ภาพที่ติดกับมหาวิทยาลัย กลับถูกนำไปใช้ในบริบททางการเมืองอีกมากมาย ดีร้ายสลับกันไปอย่างแยกไม่ออก แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดและแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ คือ ‘แบรนด์ธรรมศาสตร์‘ ที่ผูกติดกับการเมือง หากว่ากันในโลกการตลาด ถ้าแบรนด์แข็งแรง จะหยิบจับโฆษณาอะไรก็ทำได้โดยง่าย เพียงแต่ปัญหาสำคัญคือ คนที่หยิบจับแบรนด์ไปทำอะไรนั้น เอาไปทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองแค่ไหน อย่างไร ?

จึงเป็นที่มาของ ‘ธรรมศาสตร์ร้อนแรง’ ในวันนี้

ประวัติศาสต์ในอดีตมักสะท้อนเรื่องราวอยู่เสมอว่า มีกลุ่มคนไม่กี่คนนักหรอก ที่มักก่อปัญหาให้กับคนหมู่มาก ฉันใดฉันนั้น เวลานี้จึงมีไม่กี่คนนักหรอก ที่กำลัง ‘สุมไฟ’ ให้กับสถาบัน โดยสวนทางเจตนารมย์แรกเริ่ม ในการก่อตั้งขึ้นมาไปสิ้น

‘โง่เพราะขาดการศึกษา...’ แต่พอฉลาดขึ้นมา จึงทำแบบนี้หรือ ?

ปัจจุบัน ‘ธรรมศาสตร์’ มีคณะที่เปิดทำการสอนกว่า 19 คณะ มีวิทยาลัยและสถาบันที่แยกย่อยลงไปอีกมากมาย และประการที่สำคัญ มีบัณฑิตที่ผลิตออกไปนับแสนนับล้านคน คงเป็นการไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย หากคนที่ได้ชื่อว่า เป็นศิษย์ร่วมสถาบัน คนที่ถูกประสิทธิ์ประสาทวิชาจากสถาบันแห่งนี้ คนที่เดินออกไปทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมในบริบทอื่น ๆ อีกมากมาย จะถูกปรามาสว่า เป็นธรรมศาสตร์แบบเดียวกัน

แม้ ‘การเมือง’ จะเป็นเรื่องของทุกคน แต่เรา หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย ก็ไม่จำเป็นต้องมี ‘การเมือง’ อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่แค่รู้ว่า หน้าที่อันจริงแท้นั้น ควรทำอะไร และวางบทบาทอย่างไรให้ถูกที่ ถูกเวลา และเหมาะสมตามบริบทสังคม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุ 87 ปี โลกหมุนรอบตัวเองมา 31,755 รอบ มีผู้คนหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านสถานที่แห่งนี้มานับไม่ถ้วน วันนี้ชาวธรรมศาสตร์เชิดหน้ามองตึกโดม ที่ผ่านวันเวลาและความปวดร้าวทางการเมืองมาหลายต่อหลายครั้ง ตึกเก่าหลังแรกของสถาบันยังคงอยู่ คนต่างหากที่เปลี่ยนไป ไม่มีอะไรจีรัง แม้แต่การเมือง...


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top