Sunday, 27 April 2025
TodaySpecial

24 กันยายน ‘วันมหิดล’ วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

24 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย จึงถือเอาวันนี้เป็นวัน ‘มหิดล’ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ฯ

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส-พระราชธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร  และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”

25 กันยายน พ.ศ. 2537 น้ำป่าถล่ม ‘วังตะไคร้’ ฉับพลัน โศกนาฏกรรมกลืน 21 ชีวิต

วันนี้ เมื่อ 28 ปีก่อน เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของไทย เมื่อเกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากอย่างฉับพลัน ถล่มอุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ จ.นครนายก ที่คร่าชีวิตผู้คนที่มาท่องเที่ยวในวันหยุดไปถึง 21 ราย 

ช่วงบ่ายวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2537 ขณะนักท่องเที่ยวพาครอบครัวลูกหลานมาเที่ยวชมธรรมชาติในวันหยุด ผู้คนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 400-500 คน ทั้งเด็กผู้ใหญ่กำลังสนุกสนานกับการลงเล่นน้ำ ท่ามกลางฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ทันใดนั้นหตุภัยธรรมชาติจากน้ำป่าจำนวนมหึมาไหลเป็นคลื่นยักษ์ทะลักเข้าอุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก ชนิดที่ไม่มีใครได้ทันตั้งตัว 

เหตุการณ์ครั้งนั้น กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของไทย มีผู้เสียชีวิตมากถึง 21 คน ที่ถูกกระแสน้ำสีแดงขุ่นอันเชี่ยวกรากพัดพาร่างหายไปกับน้ำ

ตามข่าวระบุว่า ในวันนั้นผู้คนจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 400-500 คน ทั้งเด็กผู้ใหญ่กำลังสนุกสนานกับการลงเล่นน้ำ ท่ามกลางฝนกระหน่ำลงมาอย่างหนัก

อย่างไรก็ดี ตามรายงานข่าวระบุว่า เบื้องต้นก่อนเกิดเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ได้รับการติดต่อจากฝ่ายต้นน้ำวังตะไคร้บริเวณเขาใหญ่ว่า มีมวลน้ำป่าขนาดใหญ่กำลังตรงไปทางจุดเล่นน้ำตกวังตะไคร้

ที่สุดเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติวังตะไคร้ได้ใช้จักรยานยนต์แจ้งเตือนนักท่องเที่ยวให้ขึ้นจากน้ำแล้วได้มีการเป่านกหวีดและเรียกให้นักท่องเที่ยวขึ้นมาจากน้ำ ซึ่งบางคนต่างงงว่าเกิดอะไรขึ้น

วันที่ 26 กันยายน 2430 หรือ เมื่อ135 ปีที่แล้ว ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นได้ลงนามในปฏิญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ระหว่างญี่ปุ่นและไทย เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย มีประวัติยาวนานหลายร้อยปี แต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการโดยการลงนามในปฏิญญาทางไมตรี และการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430

ที่ผ่านมาไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่น ความร่วมมือของทั้งสองประเทศครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ ไทยได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับญี่ปุ่นให้พัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ (strategic and economic partnership)

การเยือนสำคัญในระดับพระราชวงศ์ ที่สำคัญ คือในช่วงต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรี พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และหนึ่งในประเทศที่พระองค์เลือกเสด็จพระราชดำเนินเยือน คือ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2506

ในครั้งนั้น พระองค์ทรงเสด็จเยือนกรุงโตเกียว เมืองนาโงยา จังหวัดเกียวโต และนารา และฝ่ายญี่ปุ่นได้ถวายการต้อนรับ ด้วยการนำเสด็จพระราชดำเนินไปยังโรงงานผลิตกล้องถ่ายรูป และวิทยุ เพื่อทอดพระเนตรเทคโนโลยีการผลิตของญี่ปุ่น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าฝ่ายญี่ปุ่นทราบถึงความสนพระราชหฤทัยของพระองค์เป็นอย่างดี

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่นในครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระราชไมตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ

27 กันยายน ของทุกปี ถือเป็นวันเกิดของ Google (กูเกิล) เสิร์ชเอ็นจิน อันดับ 1 ของโลก

27 กันยายน 2565 ครบรอบวันเกิด 24 ปี ของกูเกิล (Google) เว็บไซต์เสิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) อันดับหนึ่งของโลก ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี

กูเกิล ก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ (Larry Page) และเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Stanford University โดยบริษัทกูเกิลจดทะเบียนในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 แต่ทั้งสองคนเปิดตัวบริษัทของพวกเขาในโรงรถ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 ภายหลังจึงใช้วันที่ 27 กันยายนนี้เป็นวันเฉลิมฉลองวันเกิดกูเกิล

สำหรับที่มาของชื่อกูเกิล (Google) มาจากคำว่า Googol มาจากจำนวนทางคณิตศาสตร์ 1.0 × 10100 เพื่อแสดงถึงการรวบรวมข้อมูลมากมายมหาศาลในระบบคอมพิวเตอร์

แม้ว่าจุดเริ่มต้นจะมาจากการค้นหา แต่กูเกิลก็สร้างซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และสมาร์ตโฟน บางบริการปิดตัวลง แต่ส่วนหนึ่งก็ยังถูกใช้งานอย่างเป็นที่นิยม อาทิ

28 กันยายน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

ครบรอบ 105 ปี 'วันพระราชทานธงชาติไทย' เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

ประเทศไทยใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่จะมีกำเนิดและใช้มาอย่างไรไม่มีใครทราบแน่นอน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ที่เชิงอรรถแห่งหนึ่งของหนังสือ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ว่า “ธงสำหรับชาติไทยที่ใช้ในเรือ แต่ก่อนจะใช้ธงอย่างไร ข้าพเจ้าได้ตรวจค้นในหนังสือที่ฝรั่งแต่งไม่พบ มาพบในหนังสือจดหมายเหตุทูตไทยที่ลังกาทวีป เมื่อคราวพระอุบาลีออกไปให้อุปสมบทแก่ชาวสิงหล ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ ว่าใช้ธงพื้นแดงสีเดียว จึงเห็นว่าจะใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาแต่โบราณ”

พุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460 มีใจความตอนหนึ่งว่า “ธงสำหรับชาติสยามซึ่งได้ประดิษฐานขึ้นตามพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2459 นั้น ยังไม่เป็นสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรจะเพิ่มสีน้ำเงินแก่เข้าอีกสีหนึ่ง ให้เป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยามได้ใช้อยู่โดยมากนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุขทุกข์ แลเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ ช่วยกันกระทำการปราบปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลก ให้พินาศประลัยไป อีกประการหนึ่งสีน้ำเงินนี้เป็นสีอันเปนศิริแก่พระชนมวาร นับว่าเป็นสีเครื่องหมายเฉพาะพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรจะประกอบไว้ในธงสำหรับชาติด้วยประการทั้งปวง” โดยกำหนดดังนี้

29 กันยายน พ.ศ. 2540 ศาลสั่งจำคุก ‘สมพงษ์ เลือดทหาร’ ตำนานแท็กซี่ฮีโร่ ‘ผู้ลวงโลก’

วันนี้ในอดีต (29 ก.ย. 40) ศาลสั่งจำคุก ‘สมพงษ์ เลือดทหาร’ โชเฟอร์แท็กซี่ที่อ้างตัวว่าเก็บกระเป๋าเงินของนักธุรกิจต่างชาติซึ่งมีเงินกว่า 20 ล้านบาทได้แล้วนำไปคืนเจ้าของ

นายสมพงษ์ เลือดทหาร คนขับรถแท็กซี่ ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 3 ปี ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน แต่จำเลยให้การรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี 6 เดือน และศาลยังพิพากษาให้คืนเงินรางวัลที่ได้รับมาจำนวนเงินประมาณ 200,500 บาทแก่ผู้เสียหาย แต่ด้วยความประพฤติที่เรียบร้อยเป็นนักโทษชั้นดี ทำให้นายสมพงษ์ ติดคุกเพียง 1 ปี 2 เดือน

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2540 มีผู้อ้างตัวว่าเป็นรปภ. ประจำสนามบินดอนเมือง ชื่อ 'วิโรจน์' โทรศัพท์แจ้งมายังรายการวิทยุรายการหนึ่งว่า พบแท็กซี่ สร้างวีรกรรมน่ายกย่อง ด้วยการนำเงินสดกว่า 20 ล้านบาท พร้อมโฉนดที่ดินคืนให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบริเวณอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ เจ้าหน้าที่รายการรีบประกาศตามหาตัวโชเฟอร์คนซื่อทันที และนายสมพงษ์ เลือดทหาร ได้โทรศัพท์เข้ามาในรายการแนะนำตัวและเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง

30 กันยายน พ.ศ. 2395 วันก่อตั้ง ‘กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย’ โรงเรียนประจำแห่งแรกของสยาม

วันนี้ เมื่อ 170 ปี ถือเป็นวันก่อตั้ง ‘กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย’ โรงเรียนมิชชันนารีชาย ที่เป็นแบบเรียนประจำแห่งแรกของสยาม

ย้อนกลับไป เมื่อปี พ.ศ. 2380 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนในอเมริกา ได้จัดตั้งคณะกรรมการแผนกต่างประเทศขึ้น คณะกรรมการใหม่นี้ได้จัดส่งมิชชันนารีมายังประเทศสยามตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2383 มิชชันนารีเพรสไบทีเรียนคนสำคัญ ได้แก่ ศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน, ศาสนาจารย์ ดร. ซามูเอล อาร์. เฮาส์, ศาสนาจารย์ ดร. แดเนียล แมคกิลวารี, ศาสนาจารย์ เอส. จี. แมคฟาร์แลนด์ เป็นต้น ท่านเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนแห่งแรกในสยามและสภาคริสตจักรในประเทศไทยในเวลาต่อมา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ. 2394 สถานการณ์ของมิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนในแดนสยามก็ดีขึ้นมาก พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เช่าที่ดินระยะยาวที่กุฎีจีน ใกล้ ๆ บริเวณวัดอรุณราชวราราม โดยเริ่มแรกในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2395 นางแมรี่ แอล แมตตูน ได้เริ่มต้นสอนหนังสือแก่ เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ในละแวกนั้น จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน โดยศาสนาจารย์ ดร.ซามูเอล เรโนลด์ เฮ้าส์ และศาสนาจารย์สตีเฟน แมตตูน ได้ก่อตั้งโรงเรียนที่ทำการสอนตามแบบสากล เพื่อให้เด็กสยามและเด็กเชื้อสายจีนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่ทันสมัยตามแบบตะวันตก โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนคริสเตียนบอยส์สกูลที่กุฎีจีน (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) และมีซินแสกีเอ็ง ก๋วยเซียน เป็นครูใหญ่

คริสเตียนบอยส์สกูลที่กุฎีจีน (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย) ถือเป็นโรงเรียนประจำแห่งแรกในสยามและยังเป็นโรงเรียนแรกที่มีการนำระบบการศึกษาสากลมาใช้อีกด้วย

คริสเตียนบอยส์สกูลที่กุฎีจีนถือเป็นสถาบันการศึกษาแบบสากลแห่งแรกในสยาม มีอาคารและห้องเรียนเป็นหลักแหล่ง มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ชัดเจน ซึ่งนอกจากจะเรียนหัดอ่านหัดเขียนแล้ว ยังมีวิชาคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ และการสอนทางศาสนา นอกจากนี้มิชชันนารียังได้ริเริ่มให้มีการตรวจสุขภาพเด็กๆ ก่อนเข้าเรียน นับว่าเป็นมาตรการทางสาธารณสุขที่ก้าวหน้ามากในสมัยนั้น

ปีพ.ศ. 2400 คณะมิชชันนารีเริ่มตั้งหลักปักฐานที่สำเหร่ ได้มีการสร้างพระวิหาร โรงเรียน โรงพิมพ์ บ้านพักมิชชันนารี โกดังเก็บของ ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนจากกุฎีจีนมายังสำเหร่ใช้ชื่อว่า "สำเหร่บอยส์สกูล" ที่โรงเรียนแห่งนี้มีขุนนางผู้ใหญ่จนถึงพระเจ้าแผ่นดินให้ความร่วมมือสนับสนุน ส่งเด็ก ๆ มาเล่าเรียนหนังสือ ซึ่งมีทั้งเจ้านาย 2 พระองค์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 4 และพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 3 บุตรชายของอัครมหาเสนาบดี บุตรชายของพวกมหาดเล็กมาเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่สำเหร่ นอกจากนี้ชาวบ้านก็ส่งลูกหลานมาเรียน โดยพวกที่อยู่ไกลก็ได้เป็นนักเรียนประจำ กินนอนอยู่ที่โรงเรียน ส่วนใหญ่เด็กเหล่านี้จะตอบแทนโรงเรียนด้วยในการช่วยทำงานต่างๆ มากกว่าจะจ่ายเงินเป็นค่าเล่าเรียน ในปีพ.ศ. 2402 นายชื่นได้รับเชื่อเป็นคริสเตียนในคณะเพรสไบทีเรียนคนแรกและเป็นครูสอนภาษาไทยคนแรกของโรงเรียนที่สำเหร่ในเวลาต่อมา

1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 วันคล้ายวันเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว... ทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2394 และ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริรวมพระชนมายุ 64 พรรษา 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระสุขภาพพลานามัยดียิ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระอาการป่วยและเป็นผลให้เสด็จสวรรคตเกิดจากไข้ป่าที่ทรงไปติดเชื้อมา ในช่วงเดือนที่เสด็จไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ที่ หว้ากอ หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯได้ 5 วันทรงประชวรไข้จับ

ตลอดระยะเวลาที่ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา 18 ปี พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวง แก่อาณาประชาราษฎร์และประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์โดยสังเขป ดังนี้

ด้านการทำนุบำรุงประเทศ ... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นหลายสาย เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง เพื่อการคมนาคมภายในประเทศ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นที่เขามหาสมณะและพระราชทานพระนามว่า พระนครคีรี

ด้านการปกครอง ... โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งตำรวจนครบาลขึ้น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ... พร้อมกับทรงจัดตั้งศาลยุติธรรม และโปรดเกล้า ฯ ให้แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น โดยได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติและกฎหมายต่างๆ มากถึง 500 ฉบับ
 

2 ตุลาคม ‘วันละความรุนแรงสากล’ ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ ‘มหาตมะ คานธี’ ผู้ริเริ่มปรัชญาและหลักการไม่ใช้ความรุนแรง

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ร่วมกันลงมติให้วันที่ 2 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันแห่งการไม่ใช้ความรุนแรงสากล เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ มหาตมะ คานธี (2 ตุลาคม 1869) ผู้ที่ริเริ่มปรัชญาและหลักการไม่ใช้ความรุนแรง 

ทั้งนี้ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้กำหนดวันนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั่วโลก ตระหนักถึงการไม่ใช้ความรุนแรง และเพื่อให้เกิดสังคมที่มีความสันติสุข มีความอดทนอดกลั้น และเข้าใจหลักการไม่ใช้ความรุนแรงอย่างลึกซึ้ง

ตามคำนิยามขององค์กรอนามัยโลก “ความรุนแรง (violence)” คือการใช้กำลังหรือพลังทางกายข่มขู่ เพื่อให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตัวเอง ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต การทำร้ายจิตใจ

และความรุนแรงนั้นสามารถเกิดได้แทบทุกที่บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์ใหญ่ ๆ อย่างสงคราม หรือแม้แต่ในที่ที่น่าจะปลอดภัยที่สุด อย่างเช่น ในบ้าน หรือในครอบครัว และสิ่งที่ตามมาหลังจากความรุนแรงได้เกิดขึ้น นั่นก็คือ จะมีคนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะทางร่างกาย หรือทางจิตใจ

ดังนั้น ในวันที่ 2 ตุลาคมของทุกปี จึงถูกกำหนดให้เป็น “วันปลอดความรุนแรงสากล” หรือ International Day of Non-Violence ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ มหาตมะ คานธี 2 ตุลาคม ค.ศ.1869 (พ.ศ. 2412)  ผู้ที่ริเริ่มปรัชญาและหลักการไม่ใช้ความรุนแรง 

โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้คนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงให้ตระหนักรู้ถึงผลเสียมากมายที่จะตามมาหลังจากที่ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกด้วย

3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสบังคับสยาม ลงนามยกดินแดน ต้องเสียพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

วันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นอีกหนึ่งวันที่ลูกหลานไทยต้องจดจำ เมื่อสยามต้องกลืนเลือดทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพ” ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ที่ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 

ในครั้งนั้น ฝรั่งเศส ได้บังคับสยามลงนามยอมรับว่าดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทรบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นหลักประกัน 

โดยหลังจากการลงนามนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ทั้งโดยวิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น จนทรงพระประชวรและทรงคิดว่าอาจสวรรคต ยิ่งไปกว่านั้นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ส่งผลทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง จนถึงกับน้ำพระเนตรไหล 

แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงหักพระทัยได้ ทรงรับสั่งเป็นเชิงปรารภว่า "การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อยตามชายพระราชอาณาจักรซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้น ก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่ รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top