Thursday, 24 April 2025
TodaySpecial

8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 

โดยเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468

โดยตลอดรัชสมัยพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรี ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบเทศบาล ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 

ลอบสังหาร ‘จอมพล ป.’ โดยฝีมือคนใกล้ชิด รอดหวุดหวิดก่อนได้สมญา ‘จอมพลกระดูกเหล็ก’

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น ซึ่งเป็นวันที่พันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถูกลอบสังหารอีกเป็น ‘ครั้งที่ 2’ โดยการใช้ปืนยิง ซึ่งในวันที่ถูกยิงเป็นช่วงเวลาหลังการยุบสภาและก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และแม้ว่าหลวงพิบูลสงคราม ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยตรง เพราะตัวท่านเองไม่ได้ลงเลือกตั้ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่านเองเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดโดยฐานสนับสนุนทางกองทัพ

ซึ่งเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้เกิดขึ้นตอนค่ำของวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ที่บ้านพักนายทหารของท่านเอง ในกรมทหารปืนใหญ่บางซื่อ ขณะที่หลวงพิบูลสงครามและภริยากำลังแต่งตัวจะไปงานเลี้ยงรับรองที่กระทรวงกลาโหม นายลี บุญตา เป็นคนสวนและคนขับรถในบ้านได้แอบเอาปืนพกของคุณหลวงพิบูลสงครามเองที่ท่านวางไว้ในรถออกมาลอบยิงท่าน 

บังเอิญท่านกำลังยืนแต่งตัวอยู่หน้ากระจกส่องหน้าจึงได้มองเห็นก่อนที่นายลี บุญตา จะลั่นไกกระสุนนัดแรก เมื่อนัดแรกพลาด ท่านจึงวิ่งหลบออกจากห้อง โดยนายลี บุญตา พยายามวิ่งไล่และยิงซ้ำอีก แต่กระสุนก็พลาดเป้า และทหารติดตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายทหารคนสนิทของรัฐมนตรี คือ ร.อ.เผ่า ศรียานนท์ ได้วิ่งเข้าไปจับตัวมือปืนเอาไว้ได้

มือปืนรายนี้ถูกจับดำเนินคดีโยงเข้ากับกลุ่มกบฏพระยาทรงสุรเดช แต่จากคำให้การของ นายลี บุญตา นั้นดูจะเป็นเรื่องแปลก นายลี บอกว่า

“ได้อยู่กับหลวงพิบูลมา 7 ปีแล้ว ได้เงินเดือนครั้งแรก 6 บาทและขึ้นมาเป็นลำดับจนถึงวันเกิดเหตุได้เดือนละ 25 บาท หลวงพิบูลเป็นคนใจคอดี ไม่เคยดุด่าว่าจำเลยแต่อย่างใดเลย วันเกิดเหตุได้ยิงหลวงพิบูลสงคราม 2 นัดจริง นัดแรกยิงเมื่อหลวงพิบูลสงครามได้วิ่งเข้าไปอยู่อีกห้องหนึ่งแล้วปิดประตู จำเลยได้ผลักประตูตามเข้าไปยิงอีก คนที่อยู่ในห้องนั้นตลอดจนหญิงและเด็ก ต่างร้องเสียงเกรียวกราว แล้วจึงมีนายร้อยตรี ผล มาตวัดคอ แย่งปืนไป การที่ยิงนั้นเพราะเมาและไม่ได้ตั้งใจจะยิง”

โดยจากการที่ นายลี บุญตา อ้างว่า “เมา” และ “ไม่ได้ตั้งใจยิง” นั้นมีความผิดปกติไม่น้อย จาการอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจยิงหากแต่ยิงออกไปถึง 2 นัด แต่ขณะเดียวกันก็ยิงไม่โดนทั้ง 2 นัด ซึ่งดูสมเหตุสมผลกับสิ่งที่นายลี อ้างว่าตนเองนั้นเมา แต่การเมาไปหยิบปืนของนายพันเอกหลวงพิบูลสงครามมาได้อย่างไรเหมือนรู้ และถ้าไปดูคำให้การของนายทหารติดตามรัฐมนตรีที่แย่งปืนมาได้ก็ให้การว่า นายลี บุญตา วิ่งไล่ยิงเจ้านายของตัว จนวิ่งหนีแทบไม่ทัน

วันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2531 คนไทยรวมพลังทวงคืน 'ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์' กลับมาได้! หลังถูกโจรกรรมร่วม 30 ปี

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังศิลาโบราณวัตถุล้ำค่าของไทย ซึ่งถูกลักลอบนำไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ไทยอีกครั้ง โบราณวัตถุชิ้นนี้เป็นประติมากรรมศิลาจำหลักบนทับหลังประตูของปรางค์ประธาน ด้านทิศตะวันออกของปราสาทหินพนมรุ้ง 

โบราณวัตถุชิ้นนี้ มานิต วัลลิโภดม ภัณฑารักษ์พิเศษแห่งกรมศิลปากร ได้สำรวจและบันทึกภาพไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ปรากฏว่าทับหลังชิ้นนี้นั้น หักออกเป็นสองท่อน ตกอยู่ที่เชิงประตูปรางค์ประธาน และต่อมาทับหลังทั้งสองชิ้น ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย 
 

รำลึก! วันนี้ในอดีตเมื่อ 113 ปีก่อน "พระปิยมหาราช" เสด็จฯ เปิดและวางศิลาฤกษ์ "พระบรมรูปทรงม้า" ในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 40 ปี

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซ แฟรส์ ฟองเดอร์ (Susse Frères Fondeur) ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450

พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล (Georges Saulo) ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 อันเป็นเวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง

พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย

สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังเสด็จไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว

เกิดเหตุโศกนาฏกรรม!! ‘เครื่องบินชนกันกลางอากาศ’ ที่จรรขีทาทรี เมื่อปี พ.ศ. 2539 นับได้ว่าเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ตามมาด้วยการสูญเสียกว่า 349 ชีวิต

ในวันนี้เมื่อปี 2539 ได้เกิดโศกนาฏกรรมกลางเวหาครั้งใหญ่ จากอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย โดยตำแหน่งที่เกิดเหตุ อยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา

ลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของ ‘สายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์’ เที่ยวบินที่ 763 ที่ที่กำลังจะบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพื่อมุ่งหน้าไป ‘ซาอุดีอาระเบีย’

ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของ ‘สายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์’ เที่ยวบินที่ 1907 ที่กำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยาน ‘อินทิรา คานธี’

โดยในส่วนของเครื่องบินโบอิง 747 นั้น ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีผู้โดยสาร 289 คน และลูกเรือ 23 คน ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ที่ประกอบไปด้วยผู้เดินทางไปทำงานและไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงยังมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วยอีก 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 ซึ่งเป็นเที่ยวบินเหมาลำเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

>> 5 ไทม์ไลน์ช่วงเวลาระทึกขวัญ!!

1.) คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต 

2.) ขณะเดียวกัน ด้าน ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งกำลังจะสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907 โดยไต่ระดับขึ้นไปที่ 14,000 ฟุต

3.) เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งเตือนให้เที่ยวบินที่ 1907 ทราบว่า มีเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน และให้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต

4.) แต่อันที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมา โดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับลงไปอีก

5.) มัจจุราชมาเยือน เมื่อเที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงไปอีกประมาณ 310 ฟุต ทำให้เกิดการปะทะกับเที่ยวบิน 763 เข้าอย่างจัง เครื่องทั้งสองแตกระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ

'พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5' ครั้งเสด็จเมืองตราด หลัง 'จังหวัดตราด' กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตสยาม!! ในวันนี้เมื่อปี 2450

เนื่องในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดตราด ในโอกาสที่ได้กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตอีกครั้ง หลังเสด็จกลับจากยุโรป ก่อนเสด็จนิวัตพระนคร ร.ศ. 126 หลังจากที่เมืองตราดถูกฝรั่งเศสยึดครองกว่า 2 ปี ด้วยน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้าหลวงที่ทรงเห็นประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวสยามที่อยู่ใต้ร่มฉัตรของพระองค์โดยแท้

จังหวัดตราดเคยอยู่ใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 2 ปีกว่า เหตุใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 5 ทรงยอมยกเมือง พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตร.กม. ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราดเล็ก ๆ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 2,900 ตร.กม. จนได้กลับมาอยู่ใต้การปกครองของประเทศไทย ตามสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 (จังหวัดตราดถือเอาวันนี้เป็นวันตราดรำลึก) จากนั้น วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 มีพิธีส่งมอบเมืองตราดให้กับไทย ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ยุโรป ทรงมีราชโทรเลขกลับมาถึงชาวตราดว่า

14 พฤศจิกายน ของทุกปี ตรงกับ ‘วันพระบิดาแห่งฝนหลวง’

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง 

เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ซึ่งโครงการฝนหลวงนี้ มีประโยชน์ต่อราษฎรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิธีการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน ได้ในยามแล้งน้ำ

โครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค รวมไปถึงการใช้ในทางเกษตรกรรม เนื่องจากสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งพบได้บ่อยในฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยความแห้งแล้งเกิดจากการคลาดเคลื่อนของฤดูตามธรรมชาติ เช่น ฤดูฝนล่าช้าหรือหมดไวกว่าปกติ

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงศึกษาสภาพอากาศ ลักษณะต่าง ๆ รวมไปถึงภูมิประเทศของไทย ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ทำให้อยู่ในอิทธิพลของมรสุมทวีปเอเชีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝนและเป็นฤดูเพราะปลูกประจำปีของประเทศไทย พระองค์จึงดำริว่าจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดฝนตกได้

ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนมั่นพระทัย ใน พ.ศ. 2499 จึงได้พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้ ม.ล. เดช สนิทวงศ์ การรับสนองพระราชดำริ

88 ปี การเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ‘ครั้งแรก’ และ ‘ครั้งเดียว’ ของไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่งในประเทศไทย และเป็น "การเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" ตราบจนปัจจุบัน โดยเกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476

ที่มาของการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังที่เหตุการณ์กบฏบวรเดชยุติลงในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาว่ารัฐบาลได้ปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อบ้านเมืองสงบแล้ว จำต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

ในขณะนั้นประเทศไทย (ยังคงใช้ชื่อว่า สยาม) แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด มีจังหวัดทั้งสิ้น 70 จังหวัด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แล้ว สามารถเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่หนึ่ง ได้ทั้งหมด 78 คน โดยส่วนใหญ่จะสามารถเลือกผู้แทนฯ ได้จังหวัดละคน 

มีบางจังหวัดที่มีผู้แทนฯ ได้มากกว่าหนึ่งคน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดนครราชสีมา มีผู้แทนฯ ได้ 2 คน ขณะที่จังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้แทนฯ ได้ 3 คน ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดอัตราประชากร 200,000 คนต่อการมีผู้แทนฯ ได้หนึ่งคน และบวกรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นอีก 78 คน รวมทั้งสิ้นเป็น 156 คน

ย้อนรอย 41 ปี เหตุสะเทือนขวัญกลางกรุง ‘คลังแสงบางซื่อ’ ระเบิด

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เกิดเหตุสะเทือนขวัญคนไทยทั้งประเทศ นั่นก็คือเหตุ ‘คลังแสงบางซื่อ’ ระเบิด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า 38 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 350 คน

ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้การระเบิดครั้งนี้มีความรุนแรงอย่างมากก็เพราะ นี่คือการระเบิดของจรวดกว่า 4,800 ลูก สร้างแรงสั่นสะเทือนมหาศาลกินพื้นที่ไปกว่า 3-5 กิโลเมตร!!

โดยหลังเกิดเหตุมีการพบเศษชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์กระจัดกระจายทั่วบริเวณ แต่เนื่องจากรายงานว่ามีการระเบิดจากจรวดหลายพันลูก ที่ล้วนเป็น “จรวดทำลายรถถัง” และ “ระเบิดทำลายติดปีกเครื่องบิน” 

จึงทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยถึง ความรุนแรงของการระเบิดที่ควรมีรัศมีที่กว้างกว่านี้ รวมไปถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ที่อาจถึงหลักหลายร้อยเสียด้วยซ้ำ

ซึ่งได้มีผู้อยู่ในเหตุการณ์ ออกมาเปิดเผยถึงเหตุระเบิดที่ยิ่งตอกย้ำให้ข้อสังเกตนี้ อาจเป็น ‘ความจริง’ โดยได้เล่าว่าตนอยู่ในเหตุการณ์เพราะอาศัยในบ้านพักราชการที่นั่น ซึ่งเหตุร้ายในครั้งนี้เกิดขึ้น ในเช้าวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 10 โมงเช้า 

วันนี้ในอดีต ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’ ก่อการปฏิวัติรัฐประหารตนเอง จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร!!

หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 ‘จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจ ได้แก่ ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ที่เขียนจดหมายในนาม ‘นายเข้ม เย็นยิ่ง’ ถึง ‘ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง’ (หมายถึงจอมพลถนอมนั่นเอง)

จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้ ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

จอมพลถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตเป็นจำนวนมาก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top