มาดูคะแนนย้อนหลัง!!
เปิดสถิติย้อนหลัง การสอบ O-NET ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6!!
ต้อนรับการสอบด้วยระบบ Digital Testing ในวันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ 2568

เปิดสถิติย้อนหลัง การสอบ O-NET ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6!!
ต้อนรับการสอบด้วยระบบ Digital Testing ในวันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ 2568
เมื่อวันที่ (20 ก.พ.68) ที่ห้อง SB 0301 อาคารศรีศรัทธา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง จัดเสวนาเชิงวิชาการหัวข้อ เลือกตั้ง: อบจ.68 สะท้อนอะไร? โดยวิทยากรร่วมเสวนาอาทิ นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรมช.มหาดไทย รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ อดีตสส.นครศรีฯ นายศักดา นพสิทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเฉลียว คงตุก สื่อมวลชนอาวุโสสายการเมืองท้องถิ่นและเจ้าของคอลัมน์ ‘นายหัวไทร’ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังประมาณ 100 คน
เฉลียว คงตุก เปิดวงเสวนาด้วยข้อกังวลกับการเลือกตั้ง อบจ.หลายประเด็น เช่น บ้านใหญ่ส่งผู้สมัครไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน การเมืองใหญ่เข้าไปครอบงำการเมืองท้องถิ่น ทำให้ท้องขาดอิสระ การใช้เงินซื้อเสียงมโหฬาร แต่ กกต.ไม่รู้ไม่เห็น การจัดเลือกตั้งวันเสาร์เป็นครั้งแรก กกต.อ่อนด้อยในการประชาสัมพันธ์ เหล่านี้คือเหตุผลทำให้คนออกมาใช้สิทธิ์น้อย โหวดโต บัตรเสีย
นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรมช.มหาดไทยและอดีตสส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันนี้การจะทำให้ประเทศเข้มแข็งจะต้องทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ซึ่งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มในยุคพลเอกเปรม ติณนสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี หลังมีการเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจและในปี 2528 มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นครั้งแรกในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพมหานครที่ใช้อยู่ในปัจจุบันถือเป็นการกระจายอำนาจแรก ในขณะตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรืออบจ.นั้นเป็นตำแหน่งของผู้ว่าราชการจังหวัด
“ตอนนั้นผู้ว่าฯ สวมหมวกสองใบ คือเป็นทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกอบจ. หมวกหนึ่งเป็นตัวแทนราชการส่วนกลาง อีกหมวกเป็นส่วนท้องถิ่น นายอำเภอก็เป็นนายกสุขาภิบาล ต่อมารัฐธรรมนูญปี40 เริ่มเห็นบทบาทการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง โดยเขียนไว้ว่าให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง เริ่มจากนายกอบจ.ที่เลือกมาจากสจ. นายกเทศบาลก็เหมือนกันเลือกมาจากสท. แล้วต่อมาก็มาเปลี่ยนเป็นการเลือกตั้งโดยตรง เริ่มเลือกตั้งครั้งแรกปี44 จนถึงวันนี้ ทำให้เลือกตั้งท้องถิ่นเข้มข้นมากขึ้น”
นายนิพนธ์กล่าวต่อว่า แต่ก่อนการเลือกตั้งท้องถิ่น พรรคการเมืองไม่ค่อยเข้าไปยุ่งมาก เพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีผู้สมัครนายกอบจ.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นในนามพรรคการเมืองก็จะมีคนรับผิดชอบ อย่างน้อยในการช่วยคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมลงสมัคร หรือหากบริหารงานเกิดความผิดพลาดพรรคการเมืองก็ต้องรับผิดชอบ แต่หากสมัครนามอิสระไม่มีใครกรองให้ประชาชน เมื่อเกิดการบริหารราชการความผิดพลาดเสียหายขึ้นมา ตัวเองผ่านพ้นไปใครจะรับผิดชอบ
“เมื่อผมมาอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ในปีกกระจายอำนาจ มีกระแสไม่เห็นด้วยเหมือนกันในพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น แต่สรุปเราเห็นแนวทางนี้แล้วว่าการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงเป็นสิ่งจำเป็น ผมเชื่อตรรกะนี้ว่าถ้าท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศไทยก็จะเข้มแข็ง”อดีตรมช.มหาดไทยกล่าวย้ำ
ขณะที่ รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์และอดีตสส.นครศรีฯ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวเสริมว่า แม้ปัจจุบันการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ เพราะมีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในทุกระดับทั้งนายกอบจ. นายกเทศบาล นายกอบต. หากแต่การบริหารราชการแผ่นดินในท้องถิ่นท้องที่ยังไม่มีความอิสระยังเป็นการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ โดยนายกอบจ.ไม่มีโอกาสจัดทำโครงการฯทำโปรเจกต์ตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ต้องรอคำสั่งจากส่วนกลาง ที่สำคัญท้องถิ่นก็ไม่ได้ขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล แต่ขับเคลื่อนด้วยกระทรวงมหาดไทย ทำให้การบริหารงานท้องถิ่นผิดฝาผิดฝั่งไป
“วันนี้ท้องถิ่นไม่ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลแต่ขับเคลื่อนด้วยมหาดไทย พอเกิดปัญหาท้องถิ่นทำอะไรได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถจัดการปัญหาสาธารณะได้ มังคุดราคาตก ชาวบ้านเคยพาไปเททิ้งหน้าอบจ. อบต.ไม๊ ก็ไปเททิ้งหน้าศาลากลาง มันสะท้อนถึงรัฐบาลรวมศูนย์ ท้องถิ่นยังทำอะไรไม่ได้ เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็ตอบคำถามที่ว่าทำไมคนจึงไปเลือกตั้งอบจ.คราวนี้น้อยกว่าปกติ เพราะเลือกไปก็ไม่มีประโยชน์ เข้าไปก็ทำอะไรไม่ได้มาก”รศ.ดร.รงค์ บุญสวยขวัญ วิพากษ์อย่างเผ็ดร้อน
ด้าน นายศักดา นพสิทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่าในการเลือกตั้งอบจ.68 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าบริบทบางครั้งนโยบายของพรรคการเมืองมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งในระดับพื้นที่เหมือนกัน อย่างบางพรรคการเมืองไม่ได้รับความนิยมในพื้นที่ภาคใต้ก็จะไม่ส่งผู้สมัครลงสมัครในนามพรรค หรืออาจมีทัศนคติก็ได้ที่ว่าในเรื่องของท้องถิ่นพรรคการเมืองไม่ควรเข้าไปสนับสนุน ควรอยู่ในระดับชาตินโยบายของประเทศเท่านั้น เพราะคำว่าท้องถิ่นหมายความว่าให้คนในพื้นที่ ให้คนในท้องถิ่นบริหารจัดการเลือกผู้นำของตัวเองขึ้นมาเป็นผู้บริหาร นั่นคือนิยามสมบูรณ์ดีที่สุดในแง่การปกครองการบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องถิ่นนำเอานโยบายบางส่วนบางตอนของพรรคการเมืองใดไปใช้เป็น ก็แล้วแต่ผู้บริหารท้องถิ่นนั้นที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในสภาพพื้นที่และบริบทของสังคม
“กกตไม่ใช่มีแค่หน้าที่จัดการเลือกตั้งให้เสร็จเท่านั้น แต่หลักการจะต้องสะท้อนการลงคะแนนผ่านการเลือกตั้งด้วย เราจะได้รู้ว่าใครเป็นคนดีที่สุดเหมาะบริหารในท้องที่ในท้องถิ่นระดับชาติมากที่สุด ไม่เช่นนั้น คนที่มีการศึกษาดี มีคุณธรรม ไม่เคยมีประวัติทุจริตคดโกงก็ไม่ได้เป็นตัวแทน บางทีคนที่เลวร้ายที่สุดก็ยังได้รับการเลือก เพราะมีหลายบริบทที่รวมอยู่ในคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง” อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าว
ส่วนนายเฉลียว คงตุก สื่อมวลชนอาวุโสเชี่ยวชาญด้านการเมืองท้องถิ่นและเจ้าของคอลัมน์ ‘นายหัวไทร’ กล่าวว่า การเลือกตั้งอบจ.คราวนี้มันสะท้อนอะไรบ้าง สิ่งที่ยังอยากพูดถึงในวันนี้ก็คือการกำหนดวันเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ซึ่งปกติจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทุกองค์กร ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและบริษัทเอกชน ยกเว้นเกษตรกรที่ไม่มีวันหยุด แต่การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นวันเสาร์ ซึ่งบริษัท ห้างร้าน โรงงาน หรือบริษัทเอกชนยังเปิดทำงานกันตามปกติ ทำให้การเลือกตั้งอบจ.ในหลายจังหวัดครั้งนี้มีการลงคะแนนเลือกตั้งน้อยเป็นประวัติการณ์
“ผมคิดว่าน่าจะเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เลือกตั้งวันเสาร์ เพราะทุกครั้งที่ผ่านมาจะมีการเลือกตั้งวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดของประชาชนคนส่วนใหญ่จะสะดวกเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ใช่วันทำงาน ผมเองให้ทีมงานไปถามเลขากกต.ทำไมจัดการเลือกตั้งวันเสาร์แล้วที่ประชุมสภาเองก็ได้มีการเชิญกกต.ไปชี้แจง ซึ่งเลขากกต.ชี้แจงว่าการที่จัดการเลือกตั้งวันเสาร์ เพราะถ้าขยับไปอีกวันเป็นวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ.เกรงว่าการเลือกตั้งจะไม่แล้วเสร็จตามกฎหมายที่กำหนดจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 45วัน อันที่จริงกกต.น่าจะร่นลงมาสักอาทิตย์ก็ได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ทางกกต.เกรงว่าผู้สมัครจะมีเวลาหาเสียงน้อย พบปะประชาชนไม่ทั่วถึง ผมไม่เชื่อในตรรกะนี้”เจ้าของคอลัมน์”นายหัวไทรกล่าวทิ้งท้าย
สรุปภาพรวมวงเสวนามีน่าสนใจ พอจะประมวลจากการสะท้อนของวิทยากร ที่ทำให้มีบัตรเสียจำนวนมาก บัตรโหวตโนเยอะ คนใช้สิทธิ์น้อย เกิดจากเหตุปัจจัยหลายประการ
ประการแรก ข่าวหน้าหูเรื่องการใช้เงินมโหฬารในการจ่ายกับการเลือกตั้ง (ซื้อเสียง) อันจะนำไปสู่การถอนทุนในอนาคต (ทุจริต) ทำให้คนเบื่อการเมือง ชัดขึ้นกับคำว่า “เงินไม่มากาไม่เป็น” วิทยากรส่วนใหญ่แนะนำว่า ถ้าเขาเอาเงินมาให้ก็รับไว้ แต่การเลือกตั้งเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน เดินเข้าสู่คูหาไม่มีใครรู้ว่าเราเลือกใคร เหตุฆาตกรรมจากการเบี้ยวกันทางการเมือง เริ่มหายไปราว 1 ทศวรรษแล้ว
ประการต่อมา การที่นักการเมืองบ้านใหญ่เข้าไปจัดการ บงการส่งผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่ประชาชนต้องการ จึงเลือกที่จะโหวตโน เพราะผู้สมัครยังไม่โดนใจพอ
ประการต่อมา คือที่พรรคการเมือง นักการเมืองระดับชาติเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นขาดความเป็นอิสระ ผิดหลักการกระจายอำนาจ แม้วิทยากรบางคนจะเห็นแย้งว่า เมื่อพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง พรรคการเมืองก็ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนด้วยกับผลของการกระทำ
ประการที่สี่ ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อการจัดเลือกตั้งว่าจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม เพราะเห็นมามากแล้ว ประชาชนรู้กันทุกหย่อมหญ้าว่ามีการซื้อเสียง แต่ กกต.หน่วยงานจัดการเลือกตั้งกลับไม่รู้ไม่เห็น ทำให้ประชาชนหมดหวังกับองค์อิสระอย่าง กกต. จะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมา กกต.ไม่เคยจับทุจริตการเลือกตั้งได้ด้วยตัวเอง รอให้คนนำหลักฐานไปร้องเรียนถึงจะดำเนินการสอบสวน ไม่มีการสืบด้วยตัวเอง กลไกผู้ตรวจการเลือกตั้งก็ทำงานไม่ได้ผล
ประการที่ห้า การจัดการเลือกตั้งวันเสาร์เป็นครั้งแรก ทั้ง ๆ ที่เป็นวันทำงาน ผู้มีสิทธิ์บางคนไม่สามารถละจากงานเพื่อไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้ ทำให้ยอดผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา กกต.อ้างว่า ถ้าจัดเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ จะหมิ่นเหม่ถ้ามีเหตุฉุกเฉินจะจัดการเลือกตั้งไม่แล้วเสร็จในกรอบ 45 วัน จริง ๆ กกต.ร่นมาอีกอาทิตย์หนึ่งก็ยังได้ แต่ กกต.กลับกลัวว่า จะมีเวลาให้หาเสียงน้อย ซึ่งเป็นตรรกะที่จะรับฟังได้
ประการที่หก การไม่จัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า สำหรับผู้ที่มีภารกิจ ไม่สามารถมาลงคะแนนเสียงได้ในวันเสาร์ทำให้เขาต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการ จะถูกปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง จะลงสมัครอะไรก็ไม่ได้ไประยะหนึ่ง
นี้คือประเด็นหลัก ๆ ที่มีการพูดคุยกันในวงเสวนา ‘เลือกตั้ง อบจ.68 สะท้อนอะไร’ ก็สะท้อนให้เห็นปัญหามากมายที่จะต้องปรับแก้กันต่อไปในอนาคต
ช่วงนี้กระแสต่างด้าวเข้ามากลืนชาติ แย่งธุรกิจคนไทยได้ลุกลามบานปลายนอกจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงมาสู่แนวทางอื่น ๆ แล้ว วันนี้เอย่าขอเสนอวิธีกลืนชาติของต่างด้าวแบบต่าง ๆ มาให้อ่านกัน
วิธีที่ 1 รุกพื้นที่ขยายเผ่าพันธุ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ประเทศรอบบ้านเราใช้โดยการเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย จับจองพื้นที่ และออกลูกหลานจากนั้นให้ลูกหลานพยายามได้สัญชาติไทย หรืออย่างน้อยก็ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้บัตรประชาชนไทยมา ซึ่งล่าสุดเอย่าได้ข่าวว่าราคาซื้อขายบัตรประชาชนแถว อ. พบพระและ อ. ท่าสองอย่างราคาดีดขึ้นจากเดิมที่เคยมีกลุ่ม CDM และ PDF หนีเข้ามาไทย หลังจีนเทาถูกปราบปรามอย่างหนักทำให้ทั้งจีนเทาและพม่าเทาหนีมาเอาบัตรไทยแลนด์เป็นอันมาก
วิธีที่ 2 สร้างสังคมของชนชาติขึ้นมาในชุมชน ดังที่เกิดขึ้นกับชาวยิวใน อ. ปาย หรือกลุ่มจีนเทาในเมืองใหญ่ โดยกลุ่มนี้มีเงินจะเอาเงินจ้างนอมินีแล้วใช้นอมินีมาซื้อทรัพย์สินและเริ่มการลงทุนจากนั้นก็จะหาวิธีติดสินบนรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทยอีกที หรือเพื่อจุดประสงค์คืออยู่ไทยได้นานขึ้น
วิธีที่ 3 คือใช้ที่วิธีกล่อมโดยใช้ความเหมือนทางภาษา วัฒนธรรมและศาสนามาเป็นตัวทำให้ชุมชนยอมรับและช่วยผลักดันคนกลุ่มนี้ให้เป็นคนไทยดังเช่นที่เกิดในหมู่บ้านตามชายแดนกัมพูชา หรือเพื่อจะดึงคนไทยให้ออกห่างเพื่อตั้งรัฐอิสระดังเช่นที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ตอนนี้
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนใช้เวลาบ่มเพาะนานนับสิบปีแต่แม้จะใช้เวลานานคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีจิตสำนึกของความเป็นไทย เพียงแต่เขาต้องการใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นพลเมืองไทยเท่านั้น
เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่เป็นปัญหาที่ลุกลามไปทั่วโลกจน ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์จับจุดนี้มาหาเสียงและยกประเด็น American First มาเป็นจุดที่สร้างคะแนนเสียงให้เขา ประเด็นคือเราคนไทยจะให้คนกลุ่มนี้เข้ามาใช้สิทธิประโยชน์หรือเราควรจะมาปกป้องสิทธิของคนไทยเราบ้างหรือยัง
(22 ก.พ. 68) Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ได้โพสต์คลิป โดยมีใจความว่า ...
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน นายกัว เจียคุณ ได้กล่าวแถลง กรณี การส่งตัวชาวจีน จาก ‘เมียวดี’ ในประเทศ ‘เมียนมา’ ว่าประเทศจีน กำลังร่วมมือกับไทย เมียนมา และประเทศอื่น ๆ ผ่านความร่วมมือ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยใช้มาตรการที่ครอบคลุม เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและในระยะยาว เพื่อปิดกั้นช่องทาง ใช้ก่ออาชญากรรม ในประเทศที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันปราบปราม แก๊งฉ้อโกงและการพนันออนไลน์ ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างประเทศในภูมิภาค
(22 ก.พ. 68) ‘อ.สมภพ พอดี’ โพสต์ข้อความระบุว่า …
อุดมศึกษา ในไทย ไต้หวันและสิงคโปร์ และเศรษฐกิจ รายได้ คุณภาพชีวิต อนาคต
ไทย ประเทศขนาดกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ มีก๊าซธรรมชาติ มีประชากร 70 ล้านคน ปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีต่อคนประมาณ $7,200 ไต้หวัน เกาะเล็ก ๆ ไม่มีทรัพยากรมากมาย ไม่มีนํ้ามัน ไม่มีก๊าซ มีแต่ผู้คน มีประชากร 23.4 ล้านคน ปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีต่อคนประมาณ $33,000 หรือมากกว่าไทยประมาณ 5 เท่า
สิงคโปร์ เกาะขนาดจิ๋ว ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย นํ้าจืดยังมีไม่พอ ไม่มีนํ้ามัน ไม่มีก๊าซ มีแต่ผู้คน มีประชากร 6 ล้านคน ปัจจุบันมีผลผลิตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีต่อคนประมาณ $85,000 หรือมากกว่าไทยประมาณ 12 เท่า
ปัจจุบัน นักเรียนในทั้ง 3 ประเทศเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ตามสาขาวิชาด้วยสัดส่วนต่อไปนี้
สิงคโปร์
1. ธุรกิจ การบัญชี การเงิน ประมาณ 26%
2. วิศวกรรม ประมาณ 23%
3. คอมพิวเตอร์และไอที ประมาณ 20% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. วิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ประมาณ 14%
5. สังคมศาสตร์ทุกสาขา ไม่รวมกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ประมาณ 10%
ไต้หวัน
1. วิศวกรรม ประมาณ 28%
2. ธุรกิจ การบัญชี การเงิน ประมาณ 22%
3. คอมพิวเตอร์และไอที ประมาณ 20% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. วิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ประมาณ 16%
5. สังคมศาสตร์ทุกสาขา ไม่รวมกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ประมาณ 7%
ไทย
1. สังคมศาสตร์ทุกสาขา ไม่รวมกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ประมาณ 32%
2. ธุรกิจ การบัญชี การเงิน ประมาณ 20%
3. คอมพิวเตอร์และไอที ประมาณ 12% และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. วิทยาศาสตร์ด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ประมาณ 12%
5. วิศวกรรม ประมาณ 8%
สิงคโปร์
มีนศ.รัฐศาสตร์ปีหนึ่ง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่าง NUS, NTU และ SMU ประมาณ 1,400 คนในแต่ละปี ประมาณ 80% จองนศ.เหล่านี้เป็นคนสิงคโปร์ ดังนั้นจึงมีนศ.สิงคโปร์เข้าเรียน รัฐศาสตร์ ประมาณปีละ 1,100 คน ถ้าสิงคโปร์มีประชากรเท่ากับ ไทย หรือ มากกว่าที่เป็นอยู่ 12 เท่า จะมีนศ.เข้าเรียน รัฐศาสตร์ ประมาณปีละ 13,200 คน
ไต้หวัน
มีนศ.รัฐศาสตร์ปีหนึ่ง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่าง NTU, NCCU, NTNU, TU และอื่น ๆ ประมาณ 2,200 คนในแต่ละปี ถ้าไต้หวันมีประชากรเท่ากับ ไทย หรือ มากกว่าที่เป็นอยู่ 3 เท่า จะมีนศ.เข้าเรียน รัฐศาสตร์ ประมาณปีละ 6,600 คน
ตัวเลขทั้งหมดด้านบนเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน สังคมที่จะพัฒนาไปข้างหน้าทางเศรษฐกิจได้ สร้างรายได้ คุณภาพชีวิตที่ดี อนาคตที่ดีให้ผู้คนได้ จะต้องเริ่มจากการสร้างคนที่มีความรู้ที่นำไปใช้สร้างธุรกิจอุตสาหกรรม ความรู้ที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจได้สูง สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ต้องไม่ปล่อยให้คนไม่มีความรู้ที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือประโยชน์น้อย ไม่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ ตัวเลขโกหกไม่ได้
ไทย
มีนศ.รัฐศาสตร์ปีหนึ่ง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอย่าง จุฬา, ธรรมศาสตร์, เกษตร, มช., รามคำแหง และอื่นๆ ประมาณกี่คนในแต่ละปีก็ไม่รู้เพราะหาข้อมูลไม่ได้ เอไอสารพัดยี่ห้อก็ไม่รู้ รู้แค่ว่ามากเกินไปมาก มากเกินความจำเป็น เรียนแล้วอาจจะคลั่งอุดมการณ์โง่ๆ อย่างเช่น คนเท่ากัน คอมมี่คือพัฒนาการสูงสุดของประชาธิปไตย ฯ วิกลจริต หรือโง่จนไม่รู้ว่ามนุษย์มีแค่สองเพศคือหญิงกับชาย หรือไม่รู้ว่าไม่มีใครจ้างใครไปทำงานเพราะมีความรู้เรื่องทฤษฎีการเมือง เท่านั้น
(22 ก.พ. 68) ธนาคารโลก เผยแพร่รายงานติดตามเศรษฐกิจไทย กุมภาพันธ์ 2568 โดยได้ประเมินเบื้องต้นว่ามาตรการเงินอุดหนุน 10,000 บาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตรอบแรกสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 14 ล้านคน หรือประมาณ 42% ของประชากรในกลุ่มรายได้ต่ำสุด อาจช่วยกระตุ้นการเติบโตของ GDP ในปีพ.ศ. 2567 ได้ประมาณ 0.3% โดยอิงจากตัวคูณทางการคลังที่ 0.4
อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวนี้มาพร้อมกับต้นทุนทางการคลังที่สูงถึง 145,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.8% ของ GDP
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นในปีพ.ศ. 2568 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าปัจจัยภายนอกจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.6% ในปีพ.ศ. 2567 เป็น 2.9% ในปีพ.ศ. 2568 (แผนภาพที่ ES 5 และ ตาราง ES 1) โดยมีการฟื้นตัวของการลงทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจแม้ว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้าง โดยคาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดได้ภายในกลางปีพ.ศ. 2568
ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจะได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเงินอุดหนุน (ดิจิทัลวอลเล็ต)
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการบริโภคอาจเผชิญอุปสรรคจากวงจรการลดหนี้และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น ในด้านการค้า การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน แม้ว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกจะอยู่ในภาวะขาขึ้นก็ตาม
สำหรับปีพ.ศ. 2569 คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยมีอัตราการขยายตัวประมาณ 2.7% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะแตะระดับศักยภาพได้ภายในปีพ.ศ. 2571
ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดในปี พ.ศ. 2568 คาดว่าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากรายรับของภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวและต้นทุนการขนส่งที่ลดลง โดยคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเพิ่มขึ้นจาก 2.4% ของ GDP ในปีพ.ศ. 2567 เป็น 3.6% ของ GDP ในปีพ.ศ. 2568 ด้วยแรงหนุนจากการค้าภาคบริการ อย่างไรก็ตามดุลการค้าสินค้าคาดว่าจะปรับลดลงเล็กน้อยเนื่องจากอุปสงค์ด้านการส่งออกที่ชะลอตัวลงจากคู่ค้าหลัก
สำหรับปีพ.ศ. 2568 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 0.4% ในช่วงปีที่ผ่านมาเป็น 0.8% แต่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและราคาอาหารคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ครัวเรือนที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการบริโภคและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ในทางตรงกันข้าม ราคาพลังงานคาดว่าจะปรับตัวลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันโลกที่อ่อนตัวลดลง
ด้วยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการเร่งบริหารงบประมาณ การดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยคาดว่าการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3% ของ GDP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็น 3.1% ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 หลังจากเกิดความล่าช้าในการอนุมัติงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยเน้นไปที่การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้งบประมาณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตมูลค่า 450,000 ล้านบาทที่รัฐบาลประกาศไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 140,000 ล้านบาทสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของมาตรการและแหล่งเงินทุนโดยรวมภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ยังคงไม่ปรากฏอย่างชัดเจน
ธนาคารโลกประเมินว่า นโยบายการคลังของประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสามประการ ได้แก่ การตอบสนองต่อความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การฟื้นฟูการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน
โดยคาดว่าระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นเป็น 64.8% ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมีแนวโน้มเข้าใกล้เพดานหนี้สาธารณะที่ 70% ของ GDP ภายในอีกห้าปีข้างหน้า
แม้ว่าระดับหนี้สาธารณะของประเทศไทยยังคงมีความยั่งยืนทางการคลังโดยมีหนี้สกุลเงินต่างประเทศในระดับต่ำ (1.0% ของหนี้ทั้งหมด) และมีต้นทุนการระดมทุนที่ค่อนข้างต่ำ แต่แรงกดดันในการใช้จ่ายทางสังคมและการลงทุนของภาครัฐในทุนมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ และมาตรการกระตุ้นการบริโภคเพื่อการเติบโต เช่น โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ได้เพิ่มแรงกดดันทางการคลัง ทั้งนี้ข้อเสนอแนะสำคัญในการเพิ่มความยืดหยุ่นทางการคลังท่ามกลางความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น มีดังนี้:
• ปรับลดการอุดหนุนพลังงานที่ไม่เป็นธรรมต่อการกระจายรายได้ (เช่น ในภาคการขนส่ง ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม) ซึ่งส่งผลให้กองทุนน้ำมันของรัฐขาดดุล โดยควรเปลี่ยนไปเน้นการให้ความช่วยเหลือทางสังคมและการโอนเงินแบบมุ่งเป้ามากขึ้นเพื่อสนับสนุนครัวเรือนที่เปราะบางและบรรเทาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• เพิ่มรายได้จากภาษี ส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างพื้นที่ทางการคลัง แม้ว่าการจัดเก็บรายได้ภาครัฐจะปรับตัวดีขึ้นถึง 16% ของ GDP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แต่ก็ยังคงต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง จึงจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ควบคู่ไปกับการลดความยากจน เช่น การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและการนำมาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ร่วมกัน เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีมาตรการอื่นๆ ได้แก่ การขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การปรับลดแรงจูงใจทางภาษีที่ไม่จำเป็น การขยายการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่ง การปรับปรุงการปฏิบัติตามภาษี และการนำภาษีคาร์บอนมาใช้
• เร่งการลงทุน การลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีใหม่ และทุนมนุษย์ที่สนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนและกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคที่ล้าหลังได้ (ดูบทที่ 2 เรื่องนวัตกรรมท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลง: เสริมความแข็งแกร่งให้แก่ SMEs และสตาร์ตอัป และรายงานเศรษฐกิจโลกประจำประเทศไทย มิถุนายน 2567: การปลดล็อกศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง)
ธนาคารโลก ยังระบุอีกว่า แม้ว่าแนวทางการผ่อนปรนมาตรการทางการเงินอย่างระมัดระวังจะเหมาะสมในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่การดำเนินมาตรการที่สมดุลระหว่างการบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือนอย่างตรงเป้าหมายและการลดข้อจำกัดด้านสินเชื่อให้น้อยที่สุดควบคู่ไปกับรักษาเสถียรภาพทางการเงินก็ยังคงมีความจำเป็น ในระยะต่อไป
การกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดสำหรับการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือหนี้ควรเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การออกจากโครงการในอนาคต (Exit Strategy) เพื่อลดความไม่แน่นอนของเจ้าหนี้และสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการเงิน ผู้ดำเนินนโยบายจำเป็นต้องรักษามาตรฐานการกำกับดูแลที่สำคัญ (Prudential Regulations) อย่างระมัดระวัง
เช่น กรอบการจำแนกความเสี่ยงของสินเชื่อ (Loan Classification Framework) ข้อกำหนดในการจัดสรรเงินสำรอง (Provisioning Requirements) และมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากล รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนคำจำกัดความหรือการจำแนกประเภทที่อาจบั่นทอนความเข้มแข็งของระบบการกำกับดูแล
ทั้งนี้มาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจควรเป็นการดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูปนโยบายระยะยาวและเชิงโครงสร้างโดยหน่วยงานที่มีอำนาจในภาคการเงิน อาทิการปรับปรุงการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน (Financial Consumer Protection) และการนำกรอบการกู้ยืมอย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending Framework) เช่น การกำหนดขีดจำกัดอัตราส่วนการชำระหนี้ (Debt Service Ratio Limits) และการใช้กรอบการกำกับดูแลเชิงมหภาค (Macroprudential Framework) เป็นต้น
(22 ก.พ. 68) บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท อิมแพค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด เดินหน้าสนับสนุนแนวคิด ‘ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว’ ผ่านกิจกรรม Sustainable Herbal Station Campaign 2025 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม 2568 ภายในบริเวณพื้นที่รับรองของงาน “แถลงข่าวและประชุมผู้เข้าร่วมงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46”
แคมเปญนี้มุ่งเน้นการกระตุ้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานพก ขวดน้ำแบบพกพา มาใช้แทนขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เพียงแสดงขวดน้ำของท่าน ก็สามารถรับเครื่องดื่มสมุนไพรสดชื่น ฟรี! ทันทีที่จุดให้บริการภายในบริเวณงาน
การร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ และอีเวนต์ ที่ต้องการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน เพราะทุกการเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นที่ตัวเรา มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแคมเปญรักษ์โลก Sustainable Herbal Station Campaign 2025ร่วมกันการสร้างโลกที่ดีขึ้น ด้วยการพกขวดน้ำ ลดขยะพลาสติก เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนต่อไป
สำหรับงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46 จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 24 มีนาคม – 6 เมษายน 2568 ที่จะถึงนี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี
(22 ก.พ. 68) เพจ ‘สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...
จากพัฒนาการล่าสุดในสงครามรัสเซีย-ยูเครน เห็นได้ชัดว่าทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปตามที่เพจนี้เขียนเอาไว้ตั้งแต่สองปีที่แล้ว
กล่าวคือเมื่อสหรัฐเปลี่ยนผู้นำใหม่ก็เปลี่ยนนโยบายใหม่ ประเทศที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นสนามรบหรือดำเนินการสงครามตัวแทนภายใต้รัฐบาลหนึ่ง สามารถถูกสหรัฐทิ้งแบบไร้ค่าภายใต้รัฐบาลใหม่
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วกับประเทศไทยในยุคสงครามเวียดนาม นี่คือบทเรียนที่เพจใช้เป็นหนึ่งใน argument ในการดึงโทนี่กลับมาจัดตั้งรัฐบาลอนุรักษ์นิยม เพื่อยับยั้งสีส้มที่ในขณะนั้นมีแนวทางพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสนามรบและเบี้ยในสงครามตัวแทนของสหรัฐกับจีน
จะให้ตั้งฐานทัพสหรัฐในไทยมายันกับฐานทัพเรือจีนในเขมรอะไรใช่มั๊ย ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจะได้เป็นยูเครน 2 มากในห้วงเวลานั้น สุ่มเสี่ยงมากที่จะถูกใช้แล้วทิ้ง
จากทุกอย่างที่ทรัมป์และ J D Vance พูดออกมาในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่าทั้ง ปธน. และ รอง ปธน. สหรัฐตามอ่านเพจนี้อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปี ทั้งสองท่านพูดและทำตามที่เพจนี้เขียนเอาไว้ทุกอย่าง ยูเครนถูกทิ้งแบบเบี้ยที่หมดประโยชน์ ยุโรปถูกด่าว่าโว๊คและโง่ เซเลนสกี้ถูกด่าว่าเป็นตัวตลกสิ้นคิดเห็นแก่เงิน ด่าตามบทความและคอมเม้นต์ของลูกเพจ เพจนี้ทุกอย่าง
พวกเราคือผู้นำทางความคิดของรัฐบาลสหรัฐที่มาก่อนกาลถึงสองปี
(22 ก.พ. 68) ฮุนได โมบิลิตี้ ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนอนาคตแห่งยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยข้อเสนอสุดพิเศษสำหรับ IONIQ 5 รุ่นปี 2024 ในราคาเริ่มต้นเพียง 1.399 ล้านบาท ตอบรับกระแส EV ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย IONIQ 5 ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของยนตรกรรมพลังงานสะอาดที่ผสานนวัตกรรมล้ำสมัย สมรรถนะทรงพลัง และการขับขี่ที่สะดวกสบายในการขับขี่ไว้อย่างลงตัว ตอกย้ำความสำเร็จด้วยการคว้ารางวัล World Car of the Year ในปี 2022
IONIQ 5 ถูกสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม E-GMP (Electric Global Modular Platform) ที่ออกแบบมาเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ช่วยให้พื้นที่ภายในกว้างขึ้น พร้อมยกระดับประสิทธิภาพการขับขี่ โดยมีตัวเลือก 2 รุ่น ได้แก่ รุ่น Premium Standard Range ใช้แบตเตอรี่ขนาด 58 kWh ขับเคลื่อนล้อหลัง (RWD) ให้กำลังสูงสุด 170 แรงม้า และระยะทางขับขี่สูงสุด 384 กม. ตามมาตรฐาน WLTP ส่วน รุ่น Exclusive Long Range ใช้แบตเตอรี่ขนาด 72.6 kWh กำลังสูงสุด 217 แรงม้า สามารถวิ่งได้ไกลถึง 481 กม. พร้อมอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.4 วินาที
IONIQ 5 มาพร้อมเทคโนโลยี Ultra-Fast Charging รองรับกำลังชาร์จสูงสุด 350 kW ทำให้สามารถชาร์จจาก 10-80% ได้ภายในเวลาเพียง 18 นาที และยังมีระบบ V2L (Vehicle-to-Load) ที่ช่วยให้รถสามารถจ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกได้ เพิ่มความสะดวกสบายให้กับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่
ในด้านดีไซน์ IONIQ 5 โดดเด่นด้วย Parametric Pixel Design ที่ถ่ายทอดเอกลักษณ์ของ Hyundai Pony ผสานความทันสมัยอย่างลงตัว ไฟหน้าและไฟท้ายดีไซน์พิกเซลสุดล้ำ กันชนหน้า V-Shape ล้อขนาด 19 นิ้ว พร้อมหน้าจอสัมผัสขนาด 12.3 นิ้ว รองรับ Apple CarPlay และ Android Auto และระบบเสียง BOSE Premium Sound
เพื่อให้ทุกการเดินทางปลอดภัยยิ่งขึ้น IONIQ 5 มาพร้อม Hyundai SmartSense ระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ อาทิ Smart Cruise Control with Stop & Go ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ Blind-Spot Collision Warning ระบบเตือนมุมอับสายตา Forward Collision-Avoidance Assist ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ และ Lane Keeping Assist ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน
IONIQ 5 คือเจ้าของรางวัลระดับโลก ได้แก่ World Car of The Year, World EV of The Year และ World Car Design of The Year จากงาน World Car Awards 2022 ตอกย้ำความสำเร็จและมาตรฐานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากฮุนได
ฮุนได โมบิลิตี้ ประเทศไทย ขอเชิญทุกท่านมาสัมผัสประสบการณ์ขับขี่สุดล้ำของ IONIQ 5 ได้แล้ววันนี้ที่ IONIQ Agency ทั่วประเทศ
(22 ก.พ. 68) สว.ออกอาการลุกลี้ลุกลนเกินเหตุ ล้ำหน้าถึงขั้นจะถอดถอนรัฐมนตรียุติธรรม โดยไม่ได้ดูข้อเท็จจริงการได้มาของตัวเอง
ลุกลี้ลุกลนเกิน สว.ชุดน้ำเงิน หลังดีเอสไอ จ่อรับไว้เป็นคดีพิเศษ จากการถูกร้องเรียน ‘ฮั้ว’ จัดทำโพย และผลการเลือกเป็นไปตามโพย 138 คน จาก 140 คน ติดสำรองอยู่อีก 2 คน
ลุกลี้ลุกลน เพราะเมื่อข่าวจาก พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม และอธิบดีดีเอสไอออกมาว่า จะขอรับทำเป็นคดีพิเศษ สมาชิกวุฒิสภาสายน้ำเงินที่กำลังจัดสัมมนากันอยู่ที่หวดสวนสน หัวหิน กลางคืนร้องรำทำเพลงกันสนุกสนาน แต่พอมีข่าวดีเอสไอจะรับทำเป็นคดีพิเศษ รีบแจ้งกำหนดการแถลงข่าวโต้ดีเอสไอทันทีในเวลา 10.00 น.
เดิมให้ พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา แถลงเพียงคนเดียว แต่พอเช้าขึ้นมาถึงเวลาแถลงข่าวตามนัด สว.เดินมายืนเรียงหน้ากันเต็มหมด รวมถึงมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภาด้วย เข้าใจว่าได้มีการประเมินสถานการณ์แล้ว ‘ค่อนข้างแรง’ ต้องตั้งการ์ดดี ๆ กับข้อกล่าวหาหนัก ‘อั้งยี่-ซ่องโจร’ อันเป็นคดีอาญา ไม่ใช่คดีผิด พรป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาอย่างเดียวแล้ว สมาชิกวุฒิสภากะเล่นหนักถึงขั้นถอดถอนรัฐมนตรียุติธรรม
สำหรับเนื้อหาในหนังสือลับด่วนที่สุด ซึ่งดีเอสไอแจ้งไปยัง กกต. ระบุว่า การสืบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีขบวนการจัดตั้งให้ได้มาซึ่ง สว. มีการวางแผนให้มีผู้สมัครระดับอำเภอ กลุ่มละ 5 คน รวม 100 คน ในระดับอำเภอ 928 อำเภอ ค่าตอบแทนระดับอำเภอ 5,000 บาท ระดับจังหวัด 10,000 บาท ระดับประเทศ 4 หมื่นถึง 1 แสนบาท และถ้าได้ สว.มากกว่า 120 คน จะได้เพิ่มจำนวน 100,000 บาท
หลังจากวันที่ 16 มิ.ย.67 ภายหลังผ่านการคัดเลือกระดับจังหวัด ขบวนการได้นัดหมายผู้สมัครระดับประเทศ ไปจัดทำโพยฮั้ว สว. ในพื้นที่ 3 จังหวัด มีการจ่ายมัดจำ 2 หมื่นบาท ส่วนที่เหลือจะได้รับหลังการรับรองผลการสืบสวนยังพบโพยฮั้ว สว. มีหมายเลข จำนวน 2 ชุด กลุ่มละ 7 คน รวม 140 คน โดยพบผู้สมัครอยู่ในขบวนการประมาณ 1,200 คน สำหรับโพยฮั้ว 2 ชุด พบว่าเป็นผู้ได้รับเลือก 138 คน และอยู่ในลำดับสำรอง 2 คน
ดีเอสไอประสงค์ที่จะรับดำเนินการสอบสวนในส่วนที่พบการกระทำผิดทางอาญาไว้ดำเนินการ เนื่องจากกลุ่มขบวนการมีการวางแผนที่สลับซับซ้อน กระทำการอุกอาจมิได้เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ยังไม่ได้พิสูจน์ทราบอีกจำนวนมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการรวบรวมหลักฐานเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบร่องรอยการติดต่อสื่อสาร เส้นทางการเงิน สถานที่จัดประชุม วางแผน สถานที่พบปะติดต่อ พิสูจน์ทราบกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอที ที่เข้ามาร่วมสนับสนุนการ กระทำความผิดของกลุ่มขบวนการ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ มีความพร้อมด้านบุคลากร และเครื่องมือทางด้าน เทคโนโลยีที่จะใช้ในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ทราบเครือข่าย และองคาพยพของกลุ่มขบวนการทั้งหมด นอกจากนี้ พยานสำคัญอาจจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการให้ความคุ้มครองพยาน เพราะเหตุที่พยาน อาจเกรงกลัวต่ออันตรายแก่ชีวิตร่างกาย
ประเด็นคือ สมาชิกวุฒิสภา ควรจะได้พิจารณาข้อเท็จจริงให้แจ่มชัดว่า ข้อกล่าวหาเป็นอย่างไร ผิดกฎหมายไหนบ้าง แล้วพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงว่า มีฮั้วจริงไหม มีโพยให้เลือกจริงหรือไม่ นัดไปรวมพลกันสามจังหวัดเพื่อรับโพย และซักซ้อมกันจริงหรือไม่ รับเสื้อสีเหลือง นั่งรถตู้มาด้วยกันจริงหรือไม่
แต่สมาชิกวุฒิสภาชุดสวนสนกลับรีบลุกขึ้นมาตอบโต้ และชี้ไปด้วยว่าดีเอสไอไม่มีอำนาจทำคดีนี้ ซึ่งอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าดีเอสไอจะรับส่วนไหนไปทำ แต่กลับออกอาการเกินเหตุ จริงๆ ก็แค่ยุงรำคาญตอนหัวค่ำ แต่กลับ ยิงสลุตออกไปถึงขั้นจะยื่นถอดถอนรัฐมนตรีทวี สอดส่อง มันล้ำหน้านะ