‘พีระพันธุ์’ มั่นใจ ‘กฟผ.’ จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้ประเทศไทย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เชื่อมั่น ‘กฟผ.’ จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้ประเทศไทยได้

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เชื่อมั่น ‘กฟผ.’ จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้ประเทศไทยได้
เมื่อวานนี้ (7 ก.ค.67) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ และอดีตผู้สมัคร สส.เขตบางพลัด-บางกอกน้อย ประสานนำ ‘กิจกรรมให้ความรู้ทางการเงินสำหรับชุมชน’ (Financial Literacy) ภายใต้หลักสูตร ‘หลักสูตรอภินิหารทางการเงิน’ มามอบให้ชุมชนวัดไชยทิศ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567 ระหว่างเวลา 09.00 – 12.00 น.
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นโดย ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือกับ กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ คลินิกแก้หนี้โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) โดยมีคุณนวลศิริ ไวทยานุวัตติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย, ดร.ชาลิสา พุกกะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ส่วนส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ฝ่ายคลินิกแก้หนี้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด และ คุณอภิชัย สายสดุดี ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจกรรมองค์กร กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เข้าร่วมด้วย
นางรัดเกล้า กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง จึงได้ประสานความร่วมมือไปยัง ธนาคารกรุงไทย ซึ่งทางธนาคารกรุงไทย ได้มีโครงการที่ร่วมมือกับ กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ คลินิกแก้หนี้โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) นั่นคือ ‘กิจกรรมให้ความรู้ทางการเงินสำหรับชุมชน’ (Financial Literacy) ภายใต้หลักสูตร ‘หลักสูตรอภินิหารทางการเงิน’ อยู่แล้ว จึงได้ประสานกิจกรรมดังกล่าวนี้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่
โดยการให้ความรู้ในครั้งนี้ ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก การคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ให้เกิดความสมดุลมีความเข้มแข็งจากภายใน โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด กำหนดแนวทาง และจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป”
นางรัดเกล้า กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเสริมองค์ความรู้ด้านการเงินเชิงรุก (pro-active) มุ่งหวังให้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับพี่น้องประชาชนในพื้นที่จะได้เรียนรู้และเสริมสร้างภูมิปัญญาและภูมิคุ้มกันทางการเงิน สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาด้านการเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในเบื้องต้นโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 18 ครั้ง ในปี 2567 มุ่งเป้าครอบคลุมที่พื้นที่ กทม. และปริมณฑล
(8 ก.ค.67) เพจเฟซบุ๊ก ‘Salika’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย. 2567) มีภาพยนตร์ต่างประเทศได้รับอนุญาตถ่ายทำในประเทศไทย จำนวน 238 เรื่อง ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 จำนวน 6 เรื่อง แต่มีงบประมาณการถ่ายทำในประเทศไทยมากกว่า 3,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,332 ล้านบาท คิดเป็น 59.33%
โดยกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเดินทางมาจาก 31 ประเทศทั่วโลก ประเทศและดินแดนที่งบประมาณการถ่ายทำสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี
สำหรับสถานที่ถ่ายทำมี 49 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศนิยมถ่ายทำมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร 156 เรื่อง เช่น ถนนเยาวราช สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โรงหนังเก่าออสการ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นต้น
อันดับ 2 ปทุมธานี 45 เรื่อง อาทิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต ACTS Studio
อันดับ 3 ชลบุรี 33 เรื่อง อาทิ เกาะล้าน ถนนเลียบชายหาดพัทยา ปราสาทสัจธรรม
อันดับ 4 นนทบุรี 22 เรื่อง อาทิ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
อันดับ 5 สมุทรปราการ และภูเก็ต 21 เรื่องเท่ากัน โดยจังหวัดสมุทรปราการ อาทิ เมืองโบราณ ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ The Studio Park และจังหวัดภูเก็ต อาทิ เขตเมืองเก่าภูเก็ต หาดพาราไดซ์ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นต้น
(8 ก.ค. 67) นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ชี้แจงข้อเท็จจริงตามที่ได้มีข้อมูลเปิดเผยถึงการจำหน่ายหุ้นในบริษัทฯ ของตนออกไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค.67 จำนวน 14,690,000 หุ้น ที่ราคา 12.60 บาท และเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการ Forced Sell นั้น โดยระบุว่า…
1. เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 67 Sotus & Faith #1 Limited ได้ทำการขายหุ้นจำนวน 14,690,000 หุ้น ในช่วง ณ ราคาปิดตลาด (ATC) ให้กับ 1.นายชัยวิทย์ อรุณเนตรทอง และ 2.นางสิริลักษณ์ อรุณเนตรทอง โดยเป็นการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นภายในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งไม่กระทบการถือครองหุ้นโดยรวมของตน และตนยังคงถือหุ้นรวมในสัดส่วนเท่าเดิม
ทั้งนี้ การดำเนินการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต เพื่อความคล่องตัว และเหมาะสม
2. เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในกระดานและกระทบต่อนักลงทุนรายย่อย การทำการซื้อขายจะทำผ่านกระดาน Biglot หรือราคา ATC เท่านั้น เพราะหากเป็นการถูก Force Sell จริง การขายหุ้นจะต้องทำผ่านระบบ Market Matching ไม่ใช่การทำ Big Lot ดังที่ได้ดำเนินการ
3. ในวันนี้ (วันจันทร์ที่ 8 ก.ค.67) จะดำเนินการแจ้งต่อสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ตนเอง รวมถึง Sotus & Faith #1 Limited และ 1.นายชัยวิทย์ อรุณเนตรทอง และ 2.นางสิริลักษณ์ อรุณเนตรทอง เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันโดยสมัครใจ ซึ่งจะเหมือนเหตุการณ์เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ที่ได้โอนหุ้นของ EA จากชื่อของตนไปอยู่ภายใต้ชื่อ Sotus & Faith #1
4. ขอยืนยันว่ากระบวนการ Forced Sell ได้เสร็จสิ้นไปแล้วตามที่ได้มีการแถลงไปก่อนหน้านี้และไม่มีหุ้นที่มีความเสี่ยงที่จะโดน Force Sell เหลืออีกแล้ว และขอให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย และนักลงทุน โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่นำเสนอออกมาในลักษณะที่ส่อไปในทางที่จะสร้างความเข้าใจผิด และสร้างความสับสน
(8 ก.ค.67) นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการยกระดับบริการรถไฟว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมอัปเกรดบริการในส่วนของรถไฟชั้น 3 โดยแนวคิดปรับปรุงรถไฟชั้น 3 เป็นรถปรับอากาศทั้งหมด รวมถึงปรับเบาะที่นั่งให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น
ปัจจุบันพบว่าบริการรถไฟมีสัดส่วนที่นั่ง แบ่งเป็น รถบริการเชิงสังคม มีประมาณ 300-400 คัน มีขีดความสามารถบริการที่ 26 ล้านที่นั่ง/ปี แต่มีผู้ใช้บริการจริงเพียง 18.6 ล้านคนต่อปี ส่วนรถบริการเชิงพาณิชย์ มีจำนวนที่นั่งบริการได้เพียง 9 ล้านที่นั่งต่อปี จำนวนผู้ใช้บริการเต็มจำนวนและมีความต้องการเพิ่มอีกประมาณ 9 ล้านที่นั่ง
จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่พบนี้ยังมีผู้ต้องการใช้บริการรถเชิงพาณิชย์รออีกเป็นจำนวนมากแต่ รฟท.ไม่มีรถบริการได้เพียงพอ ซึ่งนโยบายขณะนี้ได้ให้ รฟท. ยกระดับรถไฟชั้น 3 ทยอยปรับปรุงเป็นรถปรับอากาศทั้งหมด ส่วนราคาที่เพิ่มขึ้นตามระเบียบ การให้บริการรถเชิงพาณิชย์ ซึ่งรัฐบาลจะดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบางให้สามารถใช้บริการได้ตามปกติผ่านบัตรสวัสดิการ ในขณะที่ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น
“ที่ผ่านมาไม่เคยทำงานแบบเชิงวิเคราะห์ แต่ครั้งนี้มีการสำรวจและนำตัวเลขมาวิเคราะห์ ทำให้เห็นภาพว่ามีผู้ต้องการใช้บริการรถเชิงพาณิชย์อีกประมาณ 9 ล้านที่นั่งต่อปี ดังนั้น เป้าหมายที่ต้องการคือเพิ่มขบวนรถเชิงพาณิชย์ให้สามารถรองรับได้เพิ่มอีกประมาณ 9 ล้านที่นั่ง เพื่อตอบสนองผู้ที่ต้องการเดินทางในขณะนี้ก่อน ขณะที่เป้าหมายสุดท้ายคือรถไฟไทยจะไม่มีรถร้อนอีกต่อไป
นายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า รฟท.ได้กำหนดแผนปรับปรุงรถโดยสารชั้น 3 (พัดลม) และได้เริ่มทยอยดำเนินการแล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงประมาณ 40 คัน โดยใช้งบประมาณปี 2567 และปี 2568 จะทยอยเข้าปรับปรุงอีกประมาณ 90 คัน หรือรวมชุดแรกประมาณ 130 คัน เนื่องจากจะต้องถอนรถออกจากบริการในเส้นทางเพื่อนำมาเข้ากระบวนการปรับปรุง ซึ่งจะต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน
หากสามารถปรับปรุงรถชั้น 3 มาเป็นขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์จำนวน 130 คันนี้ คิดเป็นจำนวนที่นั่งเพิ่มอีกประมาณ 3.2 ล้านที่นั่งต่อปี โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเปลี่ยนเบาะที่นั่งและติดระบบปรับอากาศเฉลี่ยประมาณ 6 ล้านบาทต่อคัน
(8 ก.ค.67) นายวิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เปิดเผยถึงกรณีค่ายรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จากจีน คือ BYD ลดราคาขายรถอีวีในไทยหลายแสนบาทว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า BYD ไม่ได้ขายรถอีวีในไทยในราคาต่ำกว่าทุนแปรผันเฉลี่ย เพื่อเป็นการฆ่าคู่แข่ง และยังไม่ได้บังคับให้ซัพพลายเออร์ ต้องลดราคาขายชิ้นส่วน หรืออะไหล่รถยนต์ให้กับบริษัท จึงไม่ได้เป็นการกระทำผิดตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 เพราะเท่าที่ทราบ ราคาที่ขายในไทย ยังแพงกว่าราคาที่ขายในจีน แม้ถูกกว่าที่ขายในยุโรป อีกทั้งการลดราคาดังกล่าว ไม่ได้เป็นการทำลายคู่แข่ง แต่ทำให้เกิดการแข่งขัน และผู้บริโภคได้ประโยชน์
“ผมมองว่า BYD ยอมขาดทุนกำไร หรือมาร์จินของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น และผู้บริโภคได้ประโยชน์ในที่สุด อย่างไรก็ตาม ภายใต้พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า การขายราคาต่ำกว่าทุน สามารถทำได้ แต่ต้องมีเหตุผลทางธุรกิจ และทำภายในระยะเวลาที่จำกัด เช่น ล้างสต๊อกสินค้า หรือทดลองตลาดสำหรับสินค้าที่จะออกใหม่” นายวิษณุ กล่าว
อย่างไรก็ตาม กขค.ไม่จำเป็นต้องเชิญค่ายรถยนต์มาหารือ เพราะพฤติกรรมยังไม่เข้าข่ายกระทำผิดตามพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า แต่กขค.จะจับตาการแข่งขันของรถยนต์อีวีอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ผู้ประกอบการไม่เอารัดเอาเปรียบกันจนทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจ ส่วนกรณีของ BYD ที่เกิดขึ้นขณะนี้ เป็นในส่วนของผู้บริโภคที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้า ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดูแลอยู่แล้ว
ด้านนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า “กรมได้ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เพื่อส่งเสริมและการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเพื่อเสริมพลังความร่วมมือกำกับดูแลการประกอบธุรกิจให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อเสริมพลังเพิ่มศักยภาพในการกำกับดูแลและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าในประเทศให้มีความเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการ พร้อมกับดูแลประชาชนและผู้บริโภคทั่วประเทศให้ได้รับการพิทักษ์ประโยชน์ โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ สำหรับสนับสนุนการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินค้าและบริการ และใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม”
“กรมมีช่องทางการร้องเรียนผ่านสายด่วน 1569 อยู่แล้ว หากประชาชน หรือผู้ประกอบการ ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการค้า ก็สามารถร้องเรียนมาได้ หากเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า กรมก็จะส่งต่อให้ กขค.พิจารณา ซึ่งถือเป็นการช่วยกันสร้างความเป็นธรรมทางการค้า และส่งเสริมบรรยากาศการแข่งขันที่เป็นธรรม” นายวัฒนศักย์ กล่าว
(8 ก.ค. 67) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด การเกิดโรคติดต่อ และภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรงต่าง ๆ
กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบาย Smart Energy and Climate Action (SECA) : พลังงานอัจฉริยะและการดำเนินการที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการสูญเสียพลังงานอย่างไร้ประโยชน์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
ข้อมูลล่าสุดถึงเดือนเมษายน 2567 หน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมด 1,857 แห่ง ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 1,496 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82.02 ขนาดกำลังการผลิตรวม 75,806.09 กิโลวัตต์ ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 43,137.43 tonCo2/ปี สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 392,238,903 บาท/ปี โดยยังมีหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 206 แห่ง
ทั้งนี้ ภายใต้นโยบาย SECA ยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้พลังงานร้อยละ 20, ส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า (EV), การปรับปรุงและก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน (Energy Building)
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรงพยาบาล, การเพิ่มศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่ไปรับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล, การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย/น้ำเสีย โดยใช้หลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) และการรณรงค์ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยของหลายหน่วยงานคาดการณ์ว่า หากการลดก๊าซเรือนกระจกของทุกประเทศยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 2-3 องศาเซลเซียสในปลายศตวรรษนี้
ดังนั้น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะเรือนกระจกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
(8 ก.ค. 67) นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เปิดเผยว่า “ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับเลือกเป็นผู้บริหารบริษัทฟินเทคแห่งปี 2567 นับเป็นรางวัลแห่งความพยายามกว่า 6 ปีของบิทคับ กรุ๊ปและบริษัทในเครือฯ ที่มีเป้าหมายสำคัญในการมุ่งสู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศไทย
โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพร้อมกับความเชื่อของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กล้าที่จะคิดและกล้าที่จะลองทำสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น ทลายกรอบความเชื่อและความคิดที่เป็นไปไม่ได้ให้สามารถเกิดขึ้นจริง
ซึ่งเบื้องหลังของรางวัลนี้ต้องขอมอบให้กับพนักงานทุกคนที่ตั้งใจเดินหน้าไปสู่ความเชื่อเดียวกัน คือ การเป็นสะพานแห่งวงการฟินเทคที่เชื่อมไปสู่โอกาสให้กับคนไทย”
ทั้งนี้ รางวัล ‘CEO of the Year Awards 2024’ เป็นการคัดเลือกผู้บริหารองค์กรแห่งปีที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและสามารถผลักดันองค์กรสู่ความสำเร็จในระดับเอเชียแปซิฟิกได้อย่างโดดเด่น
‘ท๊อป จิรายุส’ เป็นผู้บริหาร 1 ใน 17 รายชื่อที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้และเป็นผู้บริหารคนไทยเพียงคนเดียว โดยได้รับรางวัล FinTech CEO of the Year 2024 สำหรับผู้บริหารที่มีความโดดเด่นในด้านฟินเทค
(9 ก.ค. 67) ไม่นานมานี้ ผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่องคนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ประจำไตรมาสสองของปี 2567 โดยเก็บข้อมูลประชาชนทั่วไปจำนวน 1,228 คน ในช่วงวันที่ 18-28 มิ.ย.2567 (เปรียบเทียบกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ในเดือน มี.ค.67) พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้...
- ร้อยละ 43.9 เห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคตมากที่สุด ลดลงร้อยละ 8.4 จากการสำรวจครั้งก่อน
- ร้อยละ 38.7 มีความรู้ ความสามารถ รวมถึงทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ ลดลงร้อยละ 5.9 จากการสำรวจครั้งก่อน
- ร้อยละ 59.9 ไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากการสำรวจครั้งก่อน โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50.4 กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน รองลงมาร้อยละ 45.1 บอกปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง, ร้อยละ 43.6 ไม่มีเงินทุนมากพอ, ร้อยละ 31.1 บอกน้ำมันเชื้อเพลิงต่าง ๆ ราคาสูงขึ้น และ ร้อยละ 27 บอกขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ
(10 ก.ค.67) นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางเข้าหารือกับประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และคณะ ร่วมหารือ ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถนนนางลิ้นจี่ กรุงเทพ
รมว.พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า "ตนได้ให้นโยบายตั้งแต่วันแรกของการรับตำแหน่งว่า อยากเห็นกระทรวงอุตสาหกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการ และนักลงทุนให้เกิดความคล่องตัว อะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องจัดการให้เรียบร้อย ซึ่งในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งในกระบวนการออกใบอนุญาตที่เร็วขึ้น ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทำให้ธุรกิจแข็งแรงขึ้น และสิ่งที่เน้นย้ำ คือ เรื่องของนโยบาย Green Productivity เพื่อตอบโจทย์กติกาโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายที่กระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องจับมือกับ ส.อ.ท. เพื่อฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน"
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึง นโยบายบริหารงาน ส.อ.ท. ในช่วงปี 2567 – 2569 ว่า ต้องยอมรับว่า จากกติกาใหม่ของโลก ตลอดจนข้อตกลงทางการค้า FTA และการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดั้งเดิมมาสู่อุตสาหกรรมใหม่ของ 22 อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหามาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นเราได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม โดยมี 4 คณะทำงาน ประกอบด้วย...
1) คณะทำงานยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต (S-Curve & Industry Transformation) เพื่อสร้างกลไกและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านภาคอุตสาหกรรม สู่ยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนพัฒนาเอสเอ็มอีให้เข้าถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่เหมาะกับกิจการและประเภทอุตสาหกรรม
2) คณะทำงานการพัฒนาอุตสาหกรรม (Circular Economy และ Climate Change) เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียว ร่วมขับเคลื่อนภารกิจ End of Waste พัฒนาระบบและกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรม ผลักดันและขับเคลื่อน Circular Material Hub, Circular Economy Model Sandbox ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยมุ่งสู่ Carbon Neutrality & Climate Change
3) คณะทำงานอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการประกอบกิจการและมาตรฐานของภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้กับภาคอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนปรับปรุงผังเมืองทั่วประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
และ 4) คณะทำงานพัฒนาอุตสาหกรรม SME เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน