Wednesday, 30 April 2025
ECONBIZ NEWS

ซีพี ออลล์ จ่อดำเนินการทางกฎหมาย ผู้นำเข้า-เผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านสื่อออนไลน์ ด้อยค่า 7-Eleven ส่งผลทำให้ชื่อเสียงบริษัทเสียหาย

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม CPALL ออกแถลงการณ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เรื่อง การดำเนินการทางกฎหมายกรณีการนำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ข้อความหมิ่นประมาทบริษัท ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และสื่อออนไลน์ ลงวันที่ 6 กรกฎาคม

ระบุว่า ตามที่ปรากฏว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ข้อความ หมิ่นประมาท เกี่ยวกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ และยังปรากฏเพิ่มเติมว่า มีบุคคลบางกลุ่มได้ปลอม เลียนแบบ เผยแพร่ รวมถึงทำให้เสื่อมค่า (Dilution) ซึ่งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า 7-Eleven เครื่องหมายบริการของบริษัท และบริษัทในกลุ่ม ซึ่งการกระทำของบุคคลดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัท และสร้างความสับสนและเข้าใจผิดต่อบริษัทเป็นอย่างมาก

บริษัทในฐานะองค์กรเอกชน และบริษัทมหาชน ได้ประกอบธุรกิจโดยสุจริต และยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประเทศซาติ ประชาชน สังคมและชุมชน รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อย เป็นสำคัญ บริษัทยินดีเป็นอย่างยิ่งและพร้อมรับการติซมในการดำเนินงานของบริษัทในทางสุจริตและอยู่บนพื้นฐานของความจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่บุคคลทั่วไปมีสิทธิในการกระทำได้

อย่างไรก็ตาม หากการติชมหรือวิพากษ์วิจารณ์การประกอบธุรกิจของบริษัท อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง หรือข้อความหมิ่นประมาท ประกอบกับการปลอม เลียนแบบ เผยแพร่

รวมถึงทำให้เสื่อมค่า (Dilution) ซึ่งชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการของบริษัท อันส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหายทางชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และถูกทำให้เสื่อมเสียซึ่งความไว้วางใจต่อสาธารณะ

บริษัทก็มีความจำเป็นในการดำเนินการทางกฎหมายต่อบุคคลที่นำเข้าและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริง ข้อความ หมิ่นประมาท และใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการของบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บริษัทต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินการทางกฎหมายของบริษัทเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิ และประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทเท่านั้น


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

เดลต้าเอฟเฟค กกร.ผวาหั่นจีดีพีปีนี้เหลือไม่ขยายตัว

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร. เดือนก.ค. 2564 ว่า ที่ประชุม กกร. มีมติให้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือขยายตัวได้ในกรอบ 0.0-1.5% จากเดิมที่เดือนมิถุนายน ประมาณการขยายตัวในกรอบ 0.5-2.0 % หลังจากเกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่รุนแรงและยาวนานขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ทำให้ต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการระบาด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ การจ้างงานและรายได้แรงงาน ในพื้นที่ควบคุม 

ขณะเดียวกันยังพบว่ายังได้รับผลกระทบจากมาตรการจำกัดการเดินทางและข้อจำกัดในการกักตัว คาดว่ายังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในประเทศตลอดช่วงไตรมาสที่สาม และอาจจะกระทบแผนการเปิดประเทศได้ Ffp ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโควิด-19 และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐ

ส่วนการส่งออก คาดว่าจะขยายตัว 8-10% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิม 3% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด ภายใต้เงื่อนไขสามารถควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้ และการฉีดวัคซีนให้แรงงานภายใต้ ม.33 ได้ทั่วถึง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1-1.2%

'ดีพร้อม' จับมือ มหาวิทยาลัยรังสิต ปั้นนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ สู้ภัยโควิด-19 อวดโฉมเครื่องมือแพทย์ฝีมือคนไทย รับมือสถานการณ์ปัจจุบัน

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยผลความสำเร็จการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทย เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน อาทิ ตู้แรงดันบวก อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง (PAPR), เครื่อง Contactless Self Service Body Check up, ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล Tele-Health เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป จำนวน 50,000 คน หรือ 100,000 โดส

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ห่วงใยประชาชนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้น ดีพร้อม (DIPROM) จึงผลักดันมาตรการเร่งด่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่จะเพิ่มความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนนี้ คือการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการร่วมดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 25% ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้นจะสามารถรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้

ทั้งนี้ จากการเยี่ยมชมการดำเนินงานของทางมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมีการจัดระบบการให้บริการคัดกรองและการให้บริการฉีดวัคซีน โดยแยกพื้นที่อย่างชัดเจน ทำให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการให้บริการประชาชนด้านต่าง ๆ จึงได้นำต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมจากดีพร้อมมาใช้งานจริง ณ จุดบริการ ทั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ตู้แรงดันบวก สำหรับตรวจคัดกรอง (Swab Test) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถอยู่ภายในตู้ระหว่างการตรวจคัดกรองเชื้อจากประชาชนที่อยู่ภายนอกได้อย่างสะดวกและปลอดภัย อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง PAPR สำหรับป้องกันระบบทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เครื่อง Contactless Self Service Body Check up เครื่องตรวจสุขภาพเบื้องต้น แบบลดการสัมผัส ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล Tele-Health สำหรับติดตามข้อมูลสุขภาพและระบบหุ่นยนต์ตรวจสุขภาพใช้ในการวัดความดันโลหิตและติดต่อแพทย์เฉพาะทางสำหรับปรึกษาอาการเบื้องต้น

โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ สามารถนำไปขยายผลสำหรับใช้ในการป้องกันและการตรวจคัดกรองบุคลากรในสถานประกอบการและภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 แล้ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทย ยังได้มีการต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ อาทิ เครื่อง Auto CPR, ชุด Smart Infusion Pump, ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด, เครื่องช่วยพยุงผู้สูงอายุ สำหรับการใช้งานในสถานพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ รวมทั้งชุมชน ซึ่งเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพไทย โดยมีผู้ประกอบการที่มีความสามารถและพร้อมนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดผลิตในเชิงพาณิชย์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ต้นแบบอีกด้วย นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติม

นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มหาวิทยาลัยรังสิต รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นถึงความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ จึงได้มุ่งมั่นที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สามารถรองรับกับความต้องการใช้งานที่หลากหลายได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิต โดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีบทบาทในการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาโดยตลอด โดยครั้งนี้ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ผลงานจากความร่วมมือกันได้ถูกนำมาใช้งานจริง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการประชาชนในมิติที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

รวมทั้ง ยังสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ณ คลินิกเทคนิคการแพทย์ อาคารวิทยาศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาคารนันทนาการ 14 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป จำนวน 50,000 คน หรือ 100,000 โดส ภายในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมให้บริการตามเป้าหมาย

โดยปัจจุบันได้มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 15,000 คน ส่งผลให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งเพิ่มความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยทั้งด้านอุปโภคและบริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึงกว่า 300 ล้านบาทต่อเดือน และจะสูงถึงกว่า 700 ล้านบาทต่อเดือนเมื่อฉีดวัคซีนได้ครบตามเป้าหมาย 50,000 คน นายอาทิตย์ กล่าวทิ้งท้าย


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ครม.เห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สูงสุดรายละ 100,000 บาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารที่เปิดในห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ ภัตตาคาร ร้านที่มีลักษณะเป็นบูธ ไม่ใช่เป็นร้านแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น หาบเร่ แผงลอย รถเข็น โดยธนาคารออมสินจะสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท

โดยให้วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุด 100,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก โดยไม่ต้องค้ำประกัน

ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามมาตรการครั้งนี้ รัฐบาลจะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 100% สำหรับเอ็นพีแอล ที่ไม่เกิน 50% ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 2,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป ซึ่งมาตรการนี้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ครม.เห็นชอบไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมาณ 4 หมื่นราย


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ครม.ออกสินเชื่ออิ่มใจ ช่วยร้านอาหารรายละแสน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารที่เปิดในห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ ภัตตาคาร ร้านที่มีลักษณะเป็นบูธ ไม่ใช่เป็นร้านแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น หาบเร่ แผงลอย รถเข็น โดยธนาคารออมสินจะสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท 
โดยให้วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุด 100,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก โดยไม่ต้องค้ำประกัน

ทั้งนี้ในการดำเนินการตามมาตรการครั้งนี้รัฐบาลจะชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 100% สำหรับเอ็นพีแอล ที่ไม่เกิน 50% ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 2,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท  โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป ซึ่งมาตรการนี้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ครม.เห็นชอบไปจนถึงวันที่  31 ธ.ค. 64 คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมาณ 4 หมื่นราย

โควิดพังดัชนีเชื่อมั่น!! ลดต่อเนื่องเดือนที่ 3 'อุตฯ' วอนรัฐเร่งฉีดวัคซีนให้ถึง 70% ด่วน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือนพฤษภาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563

สำหรับปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต รวมทั้งการแพร่ระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างในหลายพื้นที่ จนภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุม COVID-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้ง 4 จังหวัดภาคใต้ อาทิ...

>> มาตรการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเวลา 30 วัน

>> มาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร เป็นต้น

>> นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังทำได้อย่างจำกัด และไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังอ่อนแอ ด้านการส่งออกสถานการณ์การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ ทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้ายานยนต์ ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือ (Freight) ที่ทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ยังเป็นปัจจัยที่ผู้ส่งออกมีความกังวล

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกของไทยที่มีทิศทางดีขี้น สะท้อนจากดัชนีฯ คำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย ทำให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาท ที่อ่อนค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เป็นปัจจัยบวกต่อผู้ส่งออกทำให้สินค้าไทยถูกลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ขณะเดียวกันผู้ส่งออกยังมีรายได้ในรูปเงินบาทมากขึ้น

จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,364 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2564 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 59.6 สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ร้อยละ 47.4 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 37.2 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 58.2, และอัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 43.5 ตามลำดับ

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 90.8 จากระดับ 91.8 ในเดือนพฤษภาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม รวมทั้งการกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดอาจทำได้ยาก

ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังชะลอตัวลง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าและรายได้ของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ต้องเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องจากการขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

 

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ

1.) เร่งการจัดหาวัคซีนคุณภาพและเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศในทุกกลุ่มอาชีพก่อน พิจารณาเปิดประเทศเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

2.) ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างจนกระทบต่อภาคการผลิตการส่งออก

3.) ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งกิจการทุกประเภทเพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

4.) ภาครัฐควรจัดหา Soft loan พิเศษ ช่วยเหลือ SMEs กลุ่ม NPLs โดยอาจกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ SMEs กลุ่มนี้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น อาทิ กำหนดดอกเบี้ยพิเศษ หรือจัดทำเกณฑ์พิจารณาสำหรับ NPLs ที่มีโอกาสรอด เป็นต้น

5.) ออกมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคร้อยละ 30 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดตามคาดจากโควิดระลอกสาม

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. 2564 พบว่า ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกสาม ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต รวมทั้งการแพร่ระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างในหลายพื้นที่ จนภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุม ทำให้ดัชนีปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือนก่อน โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนก.ค. 2563

ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,364 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศในเดือนมิ.ย. 2564 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมัน 59.6% สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ 47.4% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 37.2% ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก 58.2% และอัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ 43.5%

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 90.8 จากระดับ 91.8 ในเดือนพ.ค. 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด ที่ยังไม่คลี่คลายซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม รวมทั้งการกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดอาจทำได้ยาก ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังชะลอตัวลง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าและรายได้ของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องจากการขาดเงินทุนหมุนเวียน

ธอส. ออก 7 มาตรการช่วยลูกค้าเจอผลกระทบโรงงานระเบิด 

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธอส. ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิด-เพลิงไหม้ โรงงานย่านกิ่งแก้ว สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านอยู่อาศัยหรือผลกระทบด้านรายได้จากเหตุการณ์ในพื้นที่ดังกล่าว ภายใต้กรอบวงเงินรวมของโครงการ 500 ล้านบาท ผ่าน 7 มาตรการเร่งด่วน โดยผู้ที่ต้องการเข้าร่วมมาตรการสามารถติดต่อได้ที่สาขาของ ธอส. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ถึงภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564

สำหรับ 7 มาตรการเร่งด่วน จะพิจารณาตามระดับความเสียหาย ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย

1.) สำหรับลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่หลักประกัน หรือรายได้จากการประกอบอาชีพได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ สามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.01% ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี

2.) ให้กู้เพิ่มหรือกู้ใหม่ ดอกเบี้ยปีแรก 1% ต่อปี

3.) ลูกหนี้ที่หลักประกันเสียหาย ให้ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ดอกเบี้ย 0% ต่อปี 4 เดือน ไม่ต้องชำระเงินงวด 4 เดือนแรก 

4.) ลูกหนี้ที่มีผลกระทบด้านรายได้ ให้ประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี ดอกเบี้ย 1% ต่อปี

5.) กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรให้ผ่อนชำระดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี

6.) ที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหลังซ่อมแซมไม่ได้ให้ปลอดหนี้ในส่วนของอาคาร

และ 7.) ลูกค้าที่หลักประกันได้รับความเสียหาย อาทิ กระจกแตก เกิดรอยร้าวตามตัวอาคาร ให้แจ้งเคลมความเสียหายได้โดยพิจารณาจ่ายค่าสินไหมให้ตามมูลค่าของความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินทุนประกันอาคาร

ลุ้นพาณิชย์ชงครม.ดันไทยเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบ Video Conference ติดตามกรณีของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ว่า ทางคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จะนำเสนอผลการศึกษาข้อสังเกตคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP เสนอให้กับที่ประชุมครม.พิจารณาหรือไม่ หลังจากคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเห็นว่าไทยควรเข้าร่วมเป็นสมาชิก เพราะจะได้รับประโยชน์ และหากไม่เข้าร่วม จะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

ส่วนวาระอื่น ๆ คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เกี่ยวกับการขออนุมัติกรอบวงเงินตามมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ วงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดควบคุมไวรัสโควิด-19 ฉบับที่ 25 ทั้งแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบประกันสังคม และนอกระบบ ในกิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร กิจกรรมสาขาศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และกิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ ในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากมาตรการนี้ได้ผ่านการเห็นชอบในหลักการแล้ว

ขณะที่ กระทรวงการคลัง เสนอยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระดับประเทศระหว่างประเทศไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย ฉบับที่ 3 สำหรับปี 2564-2568 ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลัง เสนอการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 2 และ กระทรวงกลาโหม เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำสายไฟลงใต้ดินเพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก

พท.บี้ “ประยุทธ์” ลาออกหลังแก้โควิดเหลว จ่อเอาผิดตาม กม.ฐานประเมินเลินเล่อ จงใจปล่อยคนตาย

พรรคเพื่อไทยจัดเสวนา “วิกฤตโควิด-19 : ทางออกก่อนถึงทางตัน” โดยมีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และประธานอนุกรรมการนโยบายสาธารณสุข พรรคเพื่อไทย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมเสวนา

นายพิชัย กล่าวว่า ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยจะมาถึงจุดที่เละเทะขนาดนี้ได้ จากฝีมือการบริหารของรัฐบาลและผู้นำที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จนพล.อ.ประยุทธ์ดูเหมือนจะหมดสภาพแล้ว บอกตรง ๆ ว่าไม่แปลกใจ เชื่อมาตลอดว่าด้วยหลักคิดที่ย่ำแย่ของพล.อ.ประยุทธ์ต้องทำประเทศเละแน่ แต่ไม่คิดว่าจะเละได้มากและเร็วขนาดนี้ ส่วนสภาวะเศรษฐกิจจะยิ่งทรุดหนัก เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะฟื้น ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงเหลือ 1.8% โดยที่ธนาคาร CIMB บอกว่าถ้ายังคุมโควิดไม่อยู่ เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวได้ไม่ถึง 1% และ ธปท.ยังได้ลดการคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจของปีหน้าเหลือเพียง 3.9% ซึ่งอาจจะต่ำกว่าได้อีก ซึ่งเมื่อรวม 2 ปีแล้วก็ยังต่ำกว่าเศรษฐกิจปี 63 ที่ติดลบถึง -6.1% เสียอีก ตอนนี้พลเอกประยุทธ์กลายเป็น โมฆะบุรุษของประชาชนส่วนใหญไปแล้ว จึงอยากเสนอ 7 ทางออกดังนี้

1.) เร่งสั่งซื้อวัคซีน mRNA เช่น ไฟเซอร์และโมเดอร์นารวมแล้วประมาณ 60 ล้านโดสให้เข้ามาเร็วที่สุด ระงับการซื้อวัคซีนซิโนแวคได้แล้ว เพราะไม่เกิดประโยชน์ และต้องเร่งฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าโดยด่วน

นายพิชัย กล่าวต่อว่า 2.) จัดการให้มั่นใจว่าวัคซีนแอสตราเซเนกาจะส่งมอบตามจำนวนที่ตกลง พร้อมเปิดสัญญาให้ประชาชนรับรู้ เพราะข้อมูลล่าสุดบอกว่าโรงงานผลิตได้ไม่ครบจำนวนที่คาดหมาย ถ้าจำเป็นก็ต้องห้ามการส่งออกเพื่อใช้วัคซีนเพื่อกระจายฉีดให้ประชาชนในประเทศก่อน

3.) เร่งกระจายการฉีดวัคซีนที่มีคุณภาพให้เร็วและมากที่สุด กำหนดวันเปิดประเทศที่พร้อมและทำได้จริง ไม่ใช่ขายฝัน เพื่อเอกชนจะได้เตรียมพร้อมและทำการตลาดรองรับได้

4.) จัดวิธีการเยียวยาใหม่ ยกเลิกการแจกเงินสะเปะสะปะแจกหว่าน

5.) เร่งออกซอฟท์โลน 0% ให้ภาคธุรกิจเพื่อสอดคล้องกับการเปิดประเทศ เพื่อภาคธุรกิจจะได้มีเงินทุนฟื้นฟูและดำเนินธุรกิจต่อได้

6.) เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปิดสวิตช์ ส.ว.อย่าปล่อยให้ประเทศเดินไปสู่ความวุ่นวายและถึงทางตัน เมื่อประชาชนไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์แล้ว แต่ ส.ว.จะพยายามจะดึงดันกัน

7.) พล.อ.ประยุทธ์และรัฐบาลต้องออกไปได้แล้ว เพราะล้มเหลวเกินเยียวยา ไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับคนในประเทศและต่างประเทศได้แล้ว รัฐบาลที่เคยโม้ว่าเป็นดรีมทีมกลายเป็นรัฐบาลฝันร้ายของประชาชนไปแล้ว นี่เป็นทางออกที่เร่งด่วนและสามารถทำได้จริง ก่อนจะถึงทางตันที่ประเทศจะยิ่งล้มเหลวหนักและเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ความดื้อรั้นและเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่งสุดและดีสุด ประเทศถึงได้ย่ำแย่สุดๆจนมาถึงจุดนี้ ถ้าหากมาถึงขั้นนี้แล้วยังคิดไม่ได้ก็แย่แล้ว แสดงว่าไม่ได้เห็นแก่ความยากลำบากของประชาชนเลย 

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่บนเหว และทุกคนจะตกลงไปตายหากไม่มีการจัดการสถานการณ์ที่ถูกต้อง โดยสัญญาณที่กำลังบอกว่าเรากำลังจะตกเหว คือ

1.) รัฐบาลชุดนี้ โดย ศบค.ไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้ และส่งต่อเชื้อเหล่านี้ไปต่างจังหวัดทั่วประเทศอีก ระบบทางการแพทย์ และทางสาธารณสุขเรากำลังจะล่มสลาย

2.) ระบบทางการแพทย์เราไม่สามารถรับมือไหวแล้ว

3.) เราไม่มีวัคซีนที่ดี ที่มีประสิทธิภาพที่ป้องกันการแพร่เชื้อได้

4.) เราไม่มีทิศทางที่ชัดเจนว่าเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร

ทั้งนี้ ตนขอเสนอ 4 เรื่องให้กับประเทศนี้ คือ

1.) ขอเรียกร้องให้ประชาชนสามารถตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองได้ และต้องพยายามให้สถานบริการตรวจเชื้อได้ได้มากที่สุด

2.) เราต้องสามารถจำกัดคนติดเชื้อได้ ต้องแยกคนติดเชื้อ ออกจากคนไม่ติดเชื้อให้ได้ เราต้องปรับแผน เช่น กักตัวที่บ้านโดยมีทีมคอยดูแล

3.) วัคซีนเฉพาะหน้า เพราะวัคซีนเรามีจำกัด โดยในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ วัคซีนที่ผลิตในประเทศต้องใช้ในประเทศก่อน และคุณต้องกำหนดเป้าหมายฉีดแบบโฟกัสจุด เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง คุณจะหว่านแหไม่ได้เพราะวัคซีนเรามีจำกัด โดยต้องหาวัคซีน mRNA มาฉีดให้คนกลุ่มนี้ด้วย

นอกจากนี้ ศบค.ต้องรีบจัดหาวัคซีนทุกตัวให้เข้ามาเร็วที่สุด ตนเรียกร้องให้ยกเลิกซิโนแวค อาจจะติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์เป็นอารยะขัดขืนเลยว่า ถ้าเป็นซิโนแวคไม่ฉีด ยอมตายจากโควิดดีกว่าที่จะตายจากความอัปยศจากการบริหารงานไม่เป็น ให้รู้ไปเลยว่าคุณฆ่าพี่น้องประชาชนอย่างเลือดเย็น

และ 4.) ล็อกดาวน์หรือไม่ ต้องตรวจทุกคน ไม่จำเป็นต้องปิดสถานที่ แต่ต้องตรวจทุกคน และต้องมีทีมเฝ้าระวังเข้าสอบสวนโรค ดำเนินการกักกันตัวภายใน 24 ชั่วโมง ตนเรียกร้องให้ กทม.ดำเนินการเขตละ 3 ทีม

“ประเด็นสำคัญที่สุด ผอ.ศบค.ต้องออก ถ้าไม่ลาออก เราจะใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการคุณ เหมือนที่อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาฯ เสนอว่าท่านประมาท เลินเล่อ ปล่อยให้เชื้อแพร่กระจาย และจงใจปล่อยให้คนตายอย่างต่อเนื่อง ถ้าคุณไม่ออกด้วยจิตสำนึก หรือโนธรรมของคุณเอง ก็ต้องใช้มาตรการทางกฎหมายหรือมาตรการทางสภาฯ” นพ.ชลน่าน กล่าว

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญคือรัฐบาลใช้การทหารนำการสาธารณสุข การสาธารณสุข มีแพทย์ทางเลือก มีทางเลือกในการรักษา การทหาร ไม่มีทางเลือก มีแต่รวดเร็ว รุนแรง เปลี่ยนแปลงได้ เลยได้เห็นการออกประกาศตอนตี 1 ใช้ความมั่นคงนำการสาธารณสุข ระวังม็อบมากกว่าระวังโรค ระบบรำวงต้องเลิก ศบค.ชุดเล็กไปชุดใหญ่ แก้ปัญหาไม่ทันโรค ล็อกดาวน์ผิดพลาด เยียวยาล้มเหลว วางแผนวัคซีนผิด ชนิดยอมรับเองเลย ถ้าหาวัคซีนดี ๆ มาฉีดให้ประชาชนตั้งแต่แรกปัญหาคงไม่หนักขนาดนี้ แต่กลับผิดซ้ำซาก ทำตัวเหมือนร้านข้าวราดแกง บังคับทุกคนต้องกินแกงฟักไก่เหมือนกันหมด ทั้งที่มีคนที่พร้อมและอยากกินกุ้งแม่น้ำล็อบสเตอร์ แต่ห้ามสั่งกับข้าวหมดยังไงก็ต้องกินแกงฟักไก่ เป็นผู้ร้ายปากแข็ง ถามยี่ห้อไหนมีหมด กำลังจะเข้ามาหมด จนคนสงสัยว่าเป็นวัคซีนทิพย์ เพราะไม่มีวันเวลาที่ชัดเจน วัคซีนบางยี่ห้ออยู่ดี ๆ ก็หายไลน์ไม่ตอบ สะท้อนวิธีคิดแบบทหาร คือไม่ผ่อนปรน ไม่มีทางเลือก เคยทำอย่างไร ก็ทำแต่อย่างนั้น วันนี้รัฐบาลถึงทางตัน ต้องถอยยาว ไปต่อไม่ได้แล้ว โดยขอเสนอทางถอยดังต่อไปนี้ 

1.) เร่งฉีดวัคซีน mRNA ให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าโดยเฉพาะพื้นที่สีแดง

2.) แก้ไขปัญหาการบริหารจัดการวัคซีน นำเข้าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดทุกสายพันธุ์ให้กับประชาชน

3.) เร่งตรวจเชิงรุก โดยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจเชื้อด้วยตัวเอง และเตรียมระบบรองรับการดูแลผู้ติดเชื้อที่บ้าน

4.) เร่งเยียวยาประชาชนเดือนละ 5,000 บาท อย่างน้อย 3 เดือน เร่งชดเชยเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ทั้งการยกเว้น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ ลดหรือหยุดดอกเบี้ยสำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ

และ 5.) ยกเลิก ศบค.ไม่ต้องมีทั้ง ศบค.ชุดเล็ก ชุดใหญ่เพราะล่าช้า ไร้ประสิทธิภาพ กลับไปใช้โครงสร้างการทำงานปกติ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้ปัญหาวิกฤตได้รับการแก้ไข ตราบที่ยังคงคิดเหมือนเดิม ทำแบบเดิม สถานการณ์ข้างหน้าจะวิกฤตมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนยากที่จะแก้ไข

น.ส.อรุณี กล่าวว่า ในสถานการณ์แบบนี้ ทางออกที่เราควรพิจารณา คือการใช้อำนาจทางกฎหมายผ่านองค์กรตุลาการ เนื่องจากความผิดพลาดและล้มเหลวในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิดของรัฐบาล ตลอด 1 ปีกว่าที่ผ่านมา และพล.อ.ประยุทธ์ในฐานะ ผอ.ศบค.ต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะอำนาจในการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้กฎหมายจะได้ให้เกราะคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่รัฐตามมาตรา 17 ยกเว้นความผิดทางแพ่งทางอาญาและทางวินัยต่อเจ้าหน้าที่รัฐ แต่การจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้า ทางเลือกวัคซีนที่ไม่หลากหลาย และความหละหลวมของรัฐบาลตั้งแต่มีการระบาดมาเกิดขึ้น ตั้งแต่ระลอก 1-3 จนถึงระลอกที่ 4 ที่มีสายพันธุ์อินเดีย ที่แพร่ได้ไวและมีอัตราการติดเชื้อในปอดสูง ยอดคนตายพุ่งสูงตั้งแต่เม.ย.-ก.ค.รวมมากกว่า 2000 คน และมีอาการหนัก 2147 ราย แม้แต่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ปลอดภัย

ทั้งนี้ พรรคพท.เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เรามองว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ประมาท เลินเล่อ ละเว้นและล่าช้าในการบริหารสถานการณ์ในยามวิกฤติแบบนี้ พรรคพท.จะใช้กระบวนการทางกฎหมาย เอาผิดรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ งดเว้นหน้าที่ที่พึงต้องกระทำ และจงใจที่จะกระทำให้เกิดความเสียหายกับประชาชน เราจะศึกษาข้อกฏหมายและทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องชีวิตประชาชน และเอาผิดพล.อ.ประยุทธ์ให้ได้ 

น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า เรื่องที่ขอพูดถึงในการหาทางออกจากวิกฤต ถือเป็นมุมมองความห่วงใยในอนาคตของเด็กไทยก่อนจะสายเกินไป จากการประเมินของ กศส.ในเบื้องต้นปี 64 จะมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษา ประมาณ 70,000 คนภายในสิ้นปี เพราะผู้ปกครองตกงาน โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพโรงแรม งานบริการ ภาคการท่องเที่ยว ร้านอาหาร และอีกหลายอาชีพ ครัวเรือนที่ยากจนต้องแบกรับภาระด้านการเรียนสูงกว่า 4 เท่า ค่าเดินทาง ค่าอุปกรณ์ นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาด้วยความยากจนแบบเฉียบพลันตั้งแต่ปี 63 แต่รัฐบาลกลับไม่เคยเตรียมความพร้อมของเด็กไทยเลย ตั้งแต่มีการระบาดตลอด 1 ปีกว่าที่ผ่านมา ปัญหายังคงอยู่ที่เดิม ตนจึงขอเสนอกระทรวงศึกษา

1.) จัดสรรงบประมาณอุดหนุนกับกลุ่มเด็กเปราะบาง ยากจน ในต่างประเทศอย่างรัฐนิวยอร์กมีโครงการให้ยืมไอแพดและระบบซิมการ์ดให้เด็กที่ยากจน เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่พรรคเพื่อไทยในสมัยท่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็เคยเสนอและตระหนักเห็นความสำคัญเรื่องนี้มาก่อน

2.) ยกเลิกการสอบวัดผลทุกระดับในสถานการณ์แบบนี้   เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความกดดันและถูกกีดกันจากระบบการศึกษา

3.) ส่งเสริมการเรียนการสอนแบบ Active Learning มากขึ้น กำหนดรูปแบบการเรียนที่เด็กเสนอ Project Base ของตนเองตามความถนัด เพื่อพัฒนา Soft Skill ขอบตนเอง

และ 4.) เน้นเนื้อหาที่จำเป็นในวิชาพื้นฐานที่ควรรู้ แต่เพิ่มเติมเนื้อหาที่จะพัฒนาทักษะด้าน DQ Digital Intelligent ความฉลาดทางด้านดิจิตอล นอกจากทางด้าน IQ และ EQ โดยเด็กสามารถเรียนได้จากฐานข้อมูลที่มี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top