Sunday, 4 May 2025
ECONBIZ NEWS

“บิ๊กตู่” เคาะวงเงินกองทุนสสว.1,224 ล้าน ช่วยเอสเอ็มอี

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจาปี 65 จำนวน 1,224.8 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย (ไมโครเอสเอ้มอี) ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้อยู่รอด หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และช่วยบรรเทาปัญหาพร้อมทั้งฟื้นฟูธุรกิจ พร้อมกับสร้างความพร้อมให้เอสเอ็มอีเข้าสู่การแข่งขันได้ต่อไป 

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก สสว. เพื่อเชื่อมโยงการบริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ และขอให้การใช้เงินกองทุนส่งเสริมฯสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้เกิดความคุ้มค่า และประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยตรง และเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ยังล้าสมัยให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยให้คำนึงถึงการประกอบธุรกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 และผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนที่จะได้รับด้วย 

ส่วนในขั้นตอนการดำเนินการ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหารือร่วมกับสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)  และคณะทำงานด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการต่อยอดเศรษฐกิจ ยกระดับเอสเอ็มอี รวมถึงการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงสนับสนุนพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นเอสเอ็มอีรายใหม่ ด้วยการทำงานร่วมกันกับศูนย์บ่มเพาะต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เช่น ศูนย์ดิจิทัล ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกันเป็นระบบและไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

นายธนกร กล่าวว่า นายกฯ ยังกำชับให้เร่งแก้อุปสรรคและข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอี โดยจัดทำข้อมูลของเอสเอ็มอี ให้ชัดเจนเพื่อใช้พิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนแต่ละประเภท รวมทั้งใช้ข้อมูลการบริหารงบประมาณของในส่วนของการพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัดประกอบด้วย เพื่อเร่งสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนได้มากขึ้น รวมทั้งมอบหมาย สสว. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรออนไลน์และการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค และยืนยันรัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาหนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด 

สภาพัฒน์  เผยตัวเลขไตรมาส2/64 คนตกงานพุ่ง7.3 แสนคน ขณะที่เด็กจบใหม่ไม่มีงานทำ                                                              

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/2564 มีอัตราการว่างงาน อยู่ที่ 1.89% ลดลงเล็กน้อยจาก 1.96% ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่างงาน 7.3 แสนคน ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะต้องจับตาดูในช่วงนี้คือสิ่งที่ผู้ว่างงานโดยไม่เคยทำงานมาก่อน หรือผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 10% ซึ่งขณะนี้มีอยู่กว่า 2.9 แสนคน โดยแนวโน้มผู้ที่จบการศึกษาจากอุดมศึกษา และอาชีวะศึกษา มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากวิกฤตโควิด โดยมีผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน กว่า 20.1% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งมีอยู่ 11.7%
 
สำหรับประเด็นที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด คือเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากากรแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการที่เราใช้อยู่ในขณะนี้ ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปที่รายได้ของแรงงาน ฉะนั้น ช่วงถัดไปจะต้องมีการดูแลผู้ประกอบการให้สามารถรักษาการจ้างงานให้ได้ ซึ่งเป็นมาตรการที่จะออกมาในระยะถัดไป เพราะขณะนี้ข้อมูลยอดบัญชีคงค้างต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ก็ลดลงต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ามีการนำเงินเก็บออกมาใช้ และจะต้องมีการดูแลแรงงานที่มีการปรับตัว โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาใหม่ จะต้องมีมาตรการออกมาในการจ้างงานระยะสั้น เช่น การฝึกอบรม ทำให้สามารถหารายได้ในช่วงที่รอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
 
อย่างไรก็ตามขณะที่มาตรการช่วยเหลือการจ้างงานด้วยการจ่ายเงินคนละครึ่งจะออกมาเมื่อไหร่นั้น ขณะนี้สภาพัฒน์กำลังทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมาก็มีโครงการของรัฐที่ออกไปช่วยการจ้างงานอยู่หลายโครงการ จะต้องมาพิจารณาอีกครั้งว่าหลายๆ โครงการที่มีการจ้างงานไปแล้วในสถานการณ์เหล่านี้จะต้องมีการต่ออายุโครงการเหล่านั้น เพื่อเร่งคงระดับการจ้างงานไว้ ขณะเดียวกันมาตรการอื่น ๆ ที่จะออกมาขอให้รอติดตาม ซึ่งกำลังจะเร่งเสนอมาตรการอยู่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรักษาระดับการจ้างงานได้เช่นกัน
 
ทั้งนี้ในส่วนการจ้างงานในไตรมาส 2/64 ปรับตัวดีขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมปรับเพิ่มขึ้น 2.4% เนื่องจากแรงงานที่กลับภูมิลำเนาแล้วเข้าสู่ภาคการเกษตร ขณะที่แรงงานนอกภาคการเกษตร ปรับเพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนสาขาการจ้างงานที่มีการปรับลดลง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ส่วนชั่วโมงการทำงานปรับดีขึ้นจากปีที่แล้ว เฉลี่ย 41.6% เพิ่มขึ้น 8.8% และจำนวนผู้ทำงานที่ทำงานล่วงเวลา มีกว่า 6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 4.5 ล้านคน โดยชั่วโมงการทำงานที่ปรับเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่น ผลิตภัณฑ์เคมี ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตามมองว่ามาตรการล็อกดาวน์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบแน่นอนต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการจะเป็นผู้ว่างงานหรือไม่นั้น ขณะนี้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ก็พยายามที่จะคงการจ้างงานเอาไว้เหมือนกัน แต่อาจจะมีการลดค่าจ้าง และอาจจะมีผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาส 3 ส่วนแนวโน้มการว่างงานในไตรมาส 3 นั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะในช่วงวิกฤตที่ผ่านมามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดพื้นที่ 29 จังหวัด และรัฐบาลก็ได้ออกมาตรการเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาระยะสั้นก่อนแล้ว ฉะนั้น การจ้างงานจะต้องมาพิจารณาข้อมูลอีกครั้ง ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าแนวโน้มจะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นหรือไม่
 
“เศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบาง แต่ยังมีบางสาขาที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ส่วนภาคท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ฉะนั้น ในส่วนของผู้เสมือนการว่างงานจะยังต้องมีการเฝ้าระวังจากสถานการณ์ของสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน โดยสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูผู้ที่เป็นลักษณะเสมือนว่างงานว่าเราคงต้องมีอะไรออกมาช่วยด้วย” นายดนุชา กล่าว

'รมว.อุตสาหกรรม' เผย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชีวภาพ เดินหน้าลงทุนเฉียด 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มประเภทโรงงาน เสริมมาตรการสร้างแรงจูงใจ หนุนไทยสู่ Bio Hub ภูมิภาคอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ครม. เมื่อ 17 ส.ค. 64 ได้รับทราบข้อมูลความก้าวหน้าของมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี 2561-2570 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Model (Bio, Circular, Green Economy) ซึ่งพบว่าภาคเอกชนยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการลงทุนให้เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 

โดยคาดว่าจะมีการลงทุนเบื้องต้นกว่า 149,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร สร้างงานและรายได้ให้คนในพื้นที่ และนำไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพในอาเซียน Bio Hub of ASEAN ภายในปี 2570

สำหรับโครงการที่สำคัญประกอบด้วย โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ของบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด (GKBI) ที่ล่าสุดได้ร่วมลงทุนกับบริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชียแปซิฟิก จำกัด (NatureWorks) จากสหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดโพลีแลคติก แอซิด (PLA) กำลังการผลิตถึงประมาณ 75,000 ตันต่อปี โดยโครงการฯ ระยะที่ 2 มีมูลค่าลงทุน 21,430 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลไทยแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงต้นปี 2565 และสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ภายในปี 2567

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอ ฮับ เอเซีย ของบริษัท อิมเพรส กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ที่ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งมีนักลงทุนหลายรายจากต่างประเทศที่สนใจร่วมลงทุนในโครงการ เช่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน ฝรั่งเศส และมีแผนลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์จากกัญชาเกรดทางการแพทย์ (Medical grade)

โครงการลพบุรีไบโอคอมเพล็กซ์ ของบริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชาวไร่ จำกัด ที่จังหวัดลพบุรี มูลค่าลงทุน 32,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบโครงการและเจรจากับนักลงทุนที่สนใจ รวมถึงจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการนิคมอุตสาหกรรม Bioeconomy ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น มูลค่าลงทุน 29,705 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบทางด้านพันธุ์สัตว์ในพื้นที่รอบโครงการ และศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง เช่น น้ำตาลแคลอรีต่ำ เบกกิ้งยีสต์ (Baking yeast) จากกากน้ำตาล โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ของบริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด มูลค่าลงทุน 8,400 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA และพิจารณาแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี โดยโครงการฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นพร้อมสร้างการรับรู้กับชุมชนที่อยู่โดยรอบโครงการแล้ว

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐได้มีการออกระเบียบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมความต้องการผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่ผ่านหลักเกณฑ์แก่ผู้ผลิต (Converter) เพื่อให้ผู้ซื้อคนแรกที่ซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามประเภทที่กรมสรรพากรกำหนดนำไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในช่วงปี 2562-กรกฎาคม 2564 ซึ่ง สศอ.ได้ออกใบรับรองแล้วทั้งสิ้น 48 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ผลิตรวม 4 ราย

“ขณะนี้ สศอ. และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Green Tax Expense) ออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการว่ามีตลาดรองรับเพียงพออย่างแน่นอน และจูงใจให้ห้างร้านต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพทดแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ของปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดสิ้นเปลืองทั้งหมด” นายทองชัยกล่าว


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'วรวุฒิ' แนะ!! ธุรกิจไทยต้องปั้น 'Omni Channel' ชี้!! ควรทำให้ได้ใน 3-5 ปี ก่อนจีนมาตั้งฐาน

นายวรวุฒิ อุ่นใจ ผู้ก่อตั้งออฟฟิศเมท อดีตซีอีโอบริษัทซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเป็น รองหัวหน้าพรรคกล้า เข้าร่วมเป็นวิทยากร ในการสัมมนา Online business opportunities : สร้างโอกาสทางธุรกิจ ปั้นผู้ประกอบการสินค้าไทยให้ดีพร้อม จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายวรวุฒิ กล่าวว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ไม่เคยมียุคใดสมัยใดที่บังคับให้เราต้องนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะเดียวกันการเดินทางระหว่างประเทศก็ไม่มี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องปรับตัวแบบ 360 องศา ถ้าองศาไหนที่มองแล้วว่ามันดีและไปได้ก็ต้องไป 

นายวรวุฒิ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีประสบการณ์การทำงานทั้งแบบ บีทูบี บีทูซี และบีทูจี โดยเมื่อแรกตั้งออฟฟิศเมท เราจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มออฟฟิศ องค์กร และหน่วยงานราชการ ส่วนบีทูซี คือกลุ่มลูกทั่วไปที่มาพัฒนาทีหลัง เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายรายก็มีกลุ่มลูกค้าในลักษณะเดียวกันนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในภาวะที่ลูกค้าหายาก จำเป็นต้องขยายตลาดไปยังจุดที่เราไม่เคยทำ ซึ่งในปัจจุบันโอกาสทางตลาดที่น่าสนใจและกำลังมาแรงคือ 'Omni Channel' เป็นช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์ หรือแบบค้าปลีก และออนไลน์ ซึ่งช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดเอาไว้ เพื่อทำให้การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ลูกค้าคือใครและสนใจสินค้าประเภทไหน 

“สิ่งที่ยากกับการทำตลาด Omni Channel คือ ต้องมีระบบบริหารจัดการข้อมูล ที่เชื่อมต่อกันแบบแบบไร้รอยต่อ พูดง่าย ๆ คือ ในอนาคลูกค้าจะซื้อแบบรีเทลก็ได้ หรือจะซื้อออนไลน์ก็ได้ แต่การเปลี่ยนคืนสินค้า ต้องสามารถทำได้ในทุกระบบ เช่น ซื้ออนไลน์ มาเปลี่ยนหน้าร้านได้ หรือซื้อหน้าร้านก็สามารถเปลี่ยนช่องทางออนไลน์ได้ ข้อดีของตลาดแบบนี้คือ เปิด 24 ชม. วิธีนี้มันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเทรดดิ้ง และคนที่ทำตลาดแบบนี้ได้ดีที่สุดคือ อาลีบาบา แพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งที่สุดของจีน ถามว่าบ้านเราทำได้ไหม ก็ต้องบอกว่าทำได้ และต้องเร่งทำ แต่ความยากอยู่ที่ระบบปฏิบัติการและตัวฐานข้อมูล ต้องซิงค์และเชื่อมกันแบบไร้รอยต่อ ปัจจุบันยังไม่มีใครทำได้ดีเท่าจีน 

ดังนั้น หากเราไม่เร่งพัฒนาให้แล้วเสร็จภายใน 3 - 5 ปี หลังโควิด โอกาสที่จีนจะเข้ามาตีตลาดเป็นไปได้สูง และเมื่อถึงเวลานั้น เราจะไม่สามารถสู้เขาได้ ทั้งความพร้อมเรื่องโลจิสติกส์ ฐานข้อมูล ระบบเอไอ ที่คำนวณพฤติกรรมผู้บริโภค จีนเขานำเราไปมาก เวลานี้ผู้ประกอบการรายใหญ่และห้างดัง ๆ ส่วนใหญ่ก็ปรับตัวมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น แต่มันไม่ง่ายที่จะทำให้เสร็จในชั่วข้ามวัน ข้ามเดือน เนื่องจากต้องเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างสาขาและระหว่างแชลแนล ที่สำคัญลงทุนสูง แต่ที่น่าสนใจคือ เอสเอ็มอี จะทำได้ง่ายกว่า ด้วยความเล็กมีความยืดหยุ่นสูงระบบการคอนโทรลไม่ซับซ้อนมากนัก” นายวรวุฒิ กล่าว

นายวรวุฒิ กล่าวถึงสินค้าที่โมเดิร์นเทรดต้องการ ว่า ก็ต้องดูว่าสินค้าที่มีความต้องการสูงในเวลานั้นคืออะไร ซึ่งเชื่อว่าทุกห้างก็หากันอยู่แล้ว แต่ถ้าสินค้าเหมือนกันโอกาสเลือกมันก็จะน้อย ที่ผ่านมาสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับเอสเอ็มอีคือ เรื่องของดีไซน์แพคเกจจิ้ง สินค้าหลายตัวเป็นสินค้าที่ดีมาก แต่การตลาดสู้แบรนด์ดังไม่ได้ ทั้งการออกแบบแพคเกจ รวมถึงการออกแบบโปรโมชั่น เช่น ปัจจุบัน สินค้ากลุ่ม อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ที่มีความต้องการทางการตลาดสูง และการขายของแบบ Multi pack ก็จะเป็นที่นิยมเพราะคนนิยมซื้อสินค้าไว้คราวละมาก ๆ เพื่อไม่ต้องไปซื้อบ่อยครั้ง 

เหล่านี้คือการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคแบบชาญฉลาดก็จะสามารถครองตลาดได้ และมักจะได้รับการคัดเลือกเข้าไปอยู่ในห้าง ปัญหาของเอสเอ็มอี คือต้องตีโจทย์ให้แตก ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ถ้าเป็นอาหาร สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ รสชาติที่ลูกค้าชอบไม่ใช่เราชอบ ให้เอาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก คุณภาพจะขายตัวเองในระยะยาวโดยไม่จำเป็นต้องทำโปรโมชัน

รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ว่า ต้องพยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด การขาย บีทูบี บางครั้งเราไม่ต้องทำตลาดกับลูกค้าหลากหลายมากนัก แต่ต้องรู้ว่าใครมีอำนาจตัดสินใจซื้อ เข้าถูกคนหรือไม่ ขณะเดียวกัน ข้อมูลหลักฐานต้องเตรียมพร้อม เช่น สินค้าเครื่องไฟฟ้าต้องมี มอก. สิ่งที่ห้างกลัวคือ สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสินค้าปลอม ต้องเช็กให้ดี เพราะห้างจะเดือดร้อน 

นอกจากนี้ศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางครั้งต้องทำเป็นบิ๊กล็อต เพื่อวางจำหน่ายในสาขาของห้างทั่วประเทศ กำลังการผลิตเราพอไหม เงินทุนหมุนเวียน ที่จะนำมาใช้จ่ายมีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ยังฝากข้อคิดไว้ด้วยว่า ข้อมูลที่เราเคยทำเป็นสินค้าออนไลน์ ได้รับความนิยม เป็นอีกหนึ่งจุดขายที่สำคัญ ที่ห้างจะชอบ 

“ยุคนี้ลู่ทางที่เราจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น เราต้องพยายามไปทุกที่ เพราะโควิดจะอยู่กับเราไปอีกพักใหญ่ ถ้าเราเร่งการขายให้เกิดได้เราก็ต้องไป เรื่องออนไลน์อย่าละเลย แม้บางครั้ง เราจะยังไม่ขายก็จริง แต่การทำการสื่อสาร ช่องทางออนไลน์มีประโยชน์มาก วันนี้คนไทยใช้โซเชียลมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน ช่องนี้จึงเป็นโอกาสมาก ต้องไปคิดตีโจทย์ให้แตก โดยเฉพาะ การค้าขายแบบ บีทูบี ถ้าเราทำออนไลน์ได้แข็งแรง การจัดซื้อจะตัดสินใจง่ายมาก” นายวรวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ครม.เห็นชอบเพิ่มทุน 4.18 พันลบ. ให้ EXIM Bank มุ่งช่วยเหลือ SME ขยายตลาดในประเทศ CLMV และตลาดใหม่

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ว่า ครม.เห็นชอบกำหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM Bank ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขั้น แต่ไม่ได้เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ.2558 สามารถใช้เงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อการเพิ่มทุนได้ และอนุมัติกรอบวงเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนฯ เพื่อการเพิ่มทุน เพื่อขยายการดำเนินงานให้แก่ ธสน. จำนวนไม่เกิน 4,189 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อมุ่งช่วยเหลือและสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ SMEs เป็นหลัก สามารถทำการค้าและการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

โดยมีเป้าหมายขยายการดำเนินงานในกลุ่มตลาด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1)ตลาดในประเทศ 2) ตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) และ3)ตลาดใหม่ (New Frontiers) เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มัลดีฟส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายสถาบันการเงินเฉพาะกิจระยะ 5 ปี (ปี 2564-2568) ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเพิ่มทุน ธสน. อย่างน้อยให้ครอบคลุมตัวชี้วัด เช่น ด้านการขยายสินเชื่อ ด้านฐานะทางการเงิน ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

ครม.ไฟเขียวคงเก็บภาษีแวตไว้ที่ 7% นาน 2 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยให้คงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีที่เกิดขึ้น เป้นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2566 พร้อมทั้งรับทราบมาตรการภาษีบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการไปควบคู่กัน เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนและผู้ประกอบการและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

สำหรับมาตรการภาษีอื่น ๆ มีดังนี้ 1. ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ การนำส่ง และการชำระภาษีอากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เงินหรือสภาพคล่องอยู่ในมือประชาชนและผู้ประกอบการให้ยาวนานขึ้น โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการสาธารณะ โดยการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการฯ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้อยู่ในมือประชาชนและผู้ประกอบการในระบบเศรษฐกิจประมาณ 181,221 ล้านบาท 

2. งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับกรณีที่ประชาชนและผู้ประกอบการไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการฯ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะภายในกำหนดเวลา หรือยื่นแบบแสดงรายการฯ ผิดพลาด สำหรับแบบที่ต้องยื่นภายในเดือนก.ย. – ธ.ค. 2564 ตามลำดับ โดยหากยื่นแบบฯ ภายใน 3 เดือน นับแต่พ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ ที่ได้ขยายออกไปข้างต้นจะได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับ โดยงดเบี้ยปรับเมื่อชำระภาษีและเงินเพิ่มครบถ้วน และลดเบี้ยปรับในอัตราต่ำสุด 2% เมื่อชำระภาษีไม่น้อยกว่า 25% ของภาษีที่ต้องชำระ

นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้ลดค่าปรับทางอาญากรณีดังกล่าวให้เหลืออัตราต่ำสุด โดยหากมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ลดเหลือ 1 บาท หากมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ลดเหลือ 2 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากค่าปรับทางอาญาเป็นการเปรียบเทียบปรับแทนการฟ้องร้องดำเนินคดี จึงไม่อาจงดค่าปรับให้ได้

กระทรวงอุตฯ ขานรับนโยบาย EV เต็มสูบ ออกมาตรฐาน 'รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และยานยนต์อัจฉริยะ' รวดเดียว 33 มาตรฐาน คาดทั้งปี ดัน 97 มาตรฐาน ตอกย้ำผู้นำด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์แห่งอาเซียน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (บอร์ด สมอ.) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ที่มีท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขานรับนโยบายดังกล่าว 

ล่าสุด บอร์ด สมอ.ได้มีมติเห็นชอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าไปทั้งสิ้น 33 มาตรฐาน ทั้งมาตรฐานรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ยานยนต์อัจฉริยะ อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ EV เพื่อเตรียมพร้อมยกระดับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ และรักษาฐานการผลิต ตลอดจนความเป็นผู้นำด้านยานยนต์และชิ้นส่วนของอาเซียนต่อไป

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) เปิดเผยว่า การประชุม บอร์ด สมอ. ในครั้งนี้ ได้มีมติเห็นชอบมาตรฐานรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า มอก. 3264-25XX หลังจากที่ได้กำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 2 มาตรฐาน คือ มอก.2952-2561 รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และ มอก. 3026-2563 รถยนต์ไฟฟ้าทั้งรถยนต์นั่ง รถบัส รถปิกอัพ และรถบรรทุก เพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม EV ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บอร์ดยังได้เห็นชอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งและยานยนต์อัจฉริยะที่เน้นด้านความปลอดภัยในการขับขี่ อาทิ มาตรฐานระบบช่วยตัดสินใจในการเปลี่ยนช่องทางเดินรถ / ระบบตรวจจับคนเดินถนนและลดความรุนแรงจากการชน / ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ / ระบบจอดรถอัตโนมัติ / ระบบไฟเตือนการห้ามล้อฉุกเฉิน และระบบลดความเสียหายจากการชนด้านหน้า 

รวมทั้งมาตรฐานสินค้าประเภทอื่น ๆ อีกด้วย เช่น มาตรฐานเคเบิลเส้นใยนำแสง ไดร์เป่าผม เครื่องหนีบผม เครื่องดัดผม เครื่องม้วนผม เครื่องเล่นสนาม และแผ่นฉนวนความร้อน เป็นต้น ทั้งสิ้น 46 มาตรฐาน ซึ่งได้กำชับให้ สมอ. เร่งดำเนินการประกาศใช้มาตรฐานดังกล่าวให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งให้ไปศึกษาและจัดทำมาตรฐานเรือไฟฟ้า เพื่อเร่งประกาศเป็นมาตรฐานให้เร็วที่สุดอีกด้วย

นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่รัฐบาลได้มีนโยบายเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าออกมา สมอ. ได้ประกาศมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้วทั้งสิ้น 82 มาตรฐาน และอยู่ระหว่างจัดทำอีก 15 เรื่อง คาดว่าทั้งปีนี้น่าจะประกาศได้ 97 เรื่อง โดยในส่วนของมาตรฐานที่เกี่ยวกับยานยนต์อัจฉริยะ เช่น ระบบตรวจจับคนเดินถนน ระบบลดความเสียหายจากการชนด้านหน้า ระบบตรวจจับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ฯลฯ  จะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถและใช้ถนน สมอ.จะได้พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดให้รถทุกคันต้องติดตั้งระบบดังกล่าวต่อไป


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

สภาอุตฯ เสนอมาตรการป้องกันควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม 4 ข้อ ก่อนเศรษฐกิจและประเทศพังพินาศ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสนอมาตรการป้องกันควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม 4 ข้อ กำหนด Bubble and Seal ภาคอุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานเดียว จัดตั้ง Factory Quarantine (FQ) ไปจนถึง Factory Accommodation Isolation (FAI) ให้เพียงพอกับแรงงาน และจัดสรรวัคซีนเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ก่อนเศรษฐกิจและประเทศพังพินาศ

23 ส.ค. 64 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยกำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤติและส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนของประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเกิดการติดเชื้อในโรงงานเป็นจำนวนมากเช่นกัน สภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะองค์กรหลักภาคเอกชนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ ได้จัดทำ “มาตรการควบคุมโควิดในภาคอุตสาหกรรม” เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและอาการรุนแรง พร้อมรักษากำลังการผลิตให้มากที่สุด ซึ่งโรงงานที่ดำเนินการอย่างถูกต้องจะไม่ถูกปิด หากยังสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่แพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ติดโควิดไม่ต้องปิดโรงงาน” แบ่งออกเป็น 4 ข้อ ดังนี้ คือ...

1.) มาตรการ Bubble and Seal สำหรับภาคอุตสาหกรรมต้องมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติ ได้จริงและเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกพื้นที่ โดยให้สุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK สม่ำเสมอ 10% ของจำนวนพนักงาน ทุก 14 วัน โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่าย และให้พนักงานผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำสามารถกลับเข้ามาทำงานใน Bubble ในโรงงานตามปกติ 

2.) สถานประกอบการที่มีพนักงาน 300 คนขึ้นไป เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง Factory Quarantine และ Factory Accommodation Isolation โดยให้มีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงาน และเสนอให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งโรงพยาบาลแม่ข่ายในแต่ละพื้นที่ประกันสังคม เพื่อให้บริการโรงงานในพื้นที่ ณ จุดเดียว ตั้งแต่การตรวจหาเชื้อไปจนถึงส่งต่อผู้ป่วยเข้าไปในระบบการรักษา เพื่อลดขั้นตอนในการหาโรงพยาบาล

3.) สำหรับสถานประกอบการที่มีพนักงานต่ำกว่า 300 คน ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมจัดตั้ง Community Quarantine (CQ), Community Isolation (CI) (ศูนย์พักคอยและแยกกักตัว) ให้เพียงพอกับแรงงาน โดยให้มีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 5% ของจำนวนพนักงานในพื้นที่ 

4.) จัดสรรวัคซีนตามเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยจัดสรรตามลำดับความสำคัญทางสาธารณสุข การป้องกันโรค และเศรษฐกิจใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่อายุ 40-59 ปี กลุ่มพนักงานในสถานประกอบการที่มีติดเชื้อมากกว่า 50% จนต้องปิดกิจการ และกลุ่มพนักงานในอุตสาหกรรมสำคัญยิ่งยวด


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

สสว. และ SME D Bank เดินหน้าช่วยเหลือเอสเอ็มอีธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ขยายสิทธิ์ยื่นกู้ “โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย” ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ในพื้นที่นำร่องเปิดการท่องเที่ยว เพิ่มเป็น 35 จังหวัด

สสว. และ SME D Bank เดินหน้าช่วยเหลือเอสเอ็มอีธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ขยายสิทธิ์ยื่นกู้ “โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย” ดอกเบี้ย 1% ต่อปี ในพื้นที่นำร่องเปิดการท่องเที่ยว เพิ่มเป็น 35 จังหวัด ใช้เกณฑ์เสียภาษีพิจารณา หนุนเข้าถึงแหล่งทุนง่ายและรวดเร็ว แนะรีบแจ้งความประสงค์ภายใน ส.ค.นี้ 

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า จากที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ SME D Bank ร่วมดำเนินการ “โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย” วงเงิน 1,200 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ 1% ต่อปี ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม ห้องพัก เกสต์เฮ้าส์ และธุรกิจสปาที่ตั้งอยู่ในโรงแรม เกสต์เฮาส์ ใน 10 จังหวัด พื้นที่นำร่องเปิดการท่องเที่ยว และกลุ่มธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร ใน 29 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง ลงทุน ขยายกิจกรรม ปรับปรุง ซ่อมแซม ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ โดยเปิดแจ้งความประสงค์ยื่นกู้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการแจ้งความประสงค์จำนวนมาก 

อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่าง ๆ เช่น สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย  สมาคมภัตตาคารไทย สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหาร สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เป็นต้น ทำให้ สสว. และ SME D Bank เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนที่ผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว (supply chain) กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง ดังนั้น จึงเปิดกว้างขยายให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว มีสิทธิ์ยื่นกู้โครงการดังกล่าว ดังนี้  

- ธุรกิจโรงแรม ห้องพัก เกสต์เฮาต์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว (Supply Chain) ได้แก่ ธุรกิจนำเที่ยว-ทัวร์ ธุรกิจคมนาคมขนส่ง ธุรกิจสปา และธุรกิจค้าส่งค้าปลีก จำหน่ายสินค้าที่ระลึก ธุรกิจนันทนาการ และธุรกิจเพื่อความบันเทิง 

- ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร ได้แก่ เครื่องดื่ม ร้านกาแฟ ขนม เบเกอรี่ เป็นต้น

โดยตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องเปิดการท่องเที่ยว และจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม 35 จังหวัด ประกอบด้วย 1.) กรุงเทพมหานคร 2.) กาญจนบุรี  3.) ชลบุรี 4.) ฉะเชิงเทรา 5.) ตาก  6.) นครปฐม 7.) นครนายก 8.) นครราชสีมา 9.) นราธิวาส 10.) นนทบุรี 11.) ปทุมธานี 12.) ประจวบคีรีขันธ์  13.) ปราจีนบุรี  14.) พระนครศรีอยุธยา 15.) เพชรบุรี 16.) ปัตตานี 17.) เพชรบูรณ์  18.) ยะลา 19.) ระยอง 20.) ราชบุรี 21.) ลพบุรี 22.) สงขลา 23.) สิงห์บุรี 24.) สมุทรปราการ 25.) สมุทรสงคราม 26.) สมุทรสาคร 27.) สระบุรี 28.) สุพรรณบุรี 29.) อ่างทอง 30.) ภูเก็ต 31.) กระบี่  32.) พังงา 33.) สุราษฎร์ธานี 34.) เชียงใหม่ และ 35.) บุรีรัมย์ หรือที่จะมีประกาศเพิ่มเติมในอนาคต   

สำหรับผู้ประกอบการที่ได้เคยแจ้งความประสงค์ยื่นกู้ในโครงการดังกล่าวเข้ามาแล้ว แต่ธุรกิจไม่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายเดิม แต่เข้าค่ายอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ปรับใหม่ ธนาคารจะนำข้อมูลกลับมาพิจารณา เพื่อพาเข้าสู่กระบวนการอำนวยสินเชื่อต่อไป  

ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณา ยังให้สิทธิ์พิเศษเช่นเดิม  โดยดูจากแค่หลักฐานการเสียภาษีในปี 2563 หรือ 2562 ที่ผ่านมา ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น 

ด้านคุณสมบัติผู้ยื่นกู้ ต้องเป็นสมาชิก สสว. กรณียังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ สสว. สามารถขอขึ้นทะเบียนก่อนได้ ( http://members.sme.go.th/newportal/ ) เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มรายย่อย (Micro) และขนาดย่อม (Small) ตามนิยามของ สสว. อีกทั้ง ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือเงินทุนในโครงการพลิกฟื้นฯ โครงการฟื้นฟูฯ หรือกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ รวมถึงต้องไม่เป็นหนี้ NPLs ไม่ถูกดำเนินคดี และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 

ส่วนหลักประกัน บุคคลธรรมดา ใช้บุคคลที่น่าเชื่อถือค้ำประกัน นิติบุคคล ใช้กรรมการผู้มีอำนาจแทนนิติบุคคลค้ำประกัน  

วงเงินกู้ สำหรับบุคคลธรรมดา พิจารณาจากการชำระภาษี ภ.ง.ด.90 ในปี 2562 หรือ 2563 ที่สูงกว่า และความเป็นเจ้าของสถานประกอบการ สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท หากจำนวนเงินที่ชำระภาษี 0-10,000 บาท วงเงินกู้สูงสุด 100,000 บาท, จำนวนเงินที่ชำระภาษี 10,001-20,000 บาท วงเงินกู้สูงสุด 200,000 บาท และจำนวนเงินที่ชำระภาษีมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป วงเงินกู้สูงสุด 300,000 บาท  กรณีมีสถานประกอบการเป็นของตัวเองหรือบุคคลในครอบครัว ให้วงเงินเพิ่มอีกลำดับละ 50,000 บาท แต่รวมแล้วสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับนิติบุคคล ไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายในงบการเงินปี 2562 หรือ 2563 ที่สูงกว่า สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท  

นางสาวนารถนารี เผยด้วยว่า ความคืบหน้าการดำเนินโครงการดังกล่าว นับตั้งแต่เริ่มเปิดแจ้งความประสงค์จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา มียอดแจ้งความประสงค์เข้าเกณฑ์ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วกว่า 1 ใน 3 ของวงเงินทั้งหมด และเมื่อมีการขยายกลุ่มเป้าหมาย คาดว่า ความต้องการสินเชื่อจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก โดยการพิจารณาจะใช้กระบวนการมาก่อนมีสิทธิ์ก่อน (First Come First Serve) กำหนดปิดรับแจ้งความประสงค์ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2564 นี้เท่านั้น หรือเมื่อเต็มวงเงิน 

ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สนใจ ขอให้รีบดำเนินการแจ้งความประสงค์โดยเร็ว ก่อนที่วงเงินจะเต็ม ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ สแกน QR Code ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ หรือคลิก https://qrgo.page.link/VF6Ka รวมถึง เว็บไซต์ของ SME D Bank, Line OA : SME Development Bank และแอปพลิเคชั่น : SME D Bank สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ส่งออกโต! สวนโควิด เดือนก.ค.พุ่ง 20.27% สูงสุดรอบ 11 ปี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกของประเทศในเดือนก.ค. 2564 ว่า การส่งออกในเดือนนี้ขยายตัวเป็นเดือนที่ 10 ถือว่าสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยอยู่ที่ 20.27% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่ากว่า 22,650.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออกเดือนนี้แม้ว่าจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิดในหลายประเทศทั่วโลกกลับมาอีกครั้ง จึงทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบไปบ้าง ส่วนทั้งปี ยังคงเป้าหมายการส่งออกของไทยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4% หรือคิดเป็นมูลค่า 240,727 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าสินค้า อยู่ที่ 22,467.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นบวก 45.94% โดยไทยยังได้ดุลการค้าในเดือนกรกฎาคม 64 อยู่ที่ 183.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกและนำเข้าในช่วง 7 เดือนของปี 2564 ตั้งแต่เดือนม.ค. – ก.ค. 2564 โดยเป็นยอดส่งออกทั้งสิ้น 154,985.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.20% ส่วนการนำเข้ามียอดอยู่ที่ 152,362.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 28.73% ทำให้ไทยเกินดุลการค้าช่วง 7 เดือนอยู่ที่ 2,622.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

สำหรับสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดียังคงเป็นสินค้าในกลุ่มอาหารสด ผลไม้ไทยของไทยหลายตัวยังมีความต้องการของตลาดโลกสูงขึ้น รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่น ถุงมือยางที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นส่งผลดีกับราคายางพาราของไทยในช่วงนี้ดีขึ้นด้วย รวมถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยเริ่มส่งออกได้มากขึ้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top