นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ช่วยผู้ว่าการ) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมทดสอบการใช้งานจริง (Pilot Test) ของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับรายย่อย (Retail CBDC) พร้อมกับเปิดให้ผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมเข้ามาพัฒนาเชื่อมต่อระบบไปพร้อมกัน โดยคาดว่าจะเริ่มในไตรมาส 2 ปี 2565 แต่จะทดลองใช้ในวงจำกัดภายใน ธปท. ก่อนที่จะขยายไปยังประชาชนทั่วไป ร้านค้าขนาดใหญ่และขยาดย่อมมีธุรกรรมการใช้จ่ายของประชาชนรายย่อยที่สูง รวมถึงผู้ให้บริการทางการเงินที่เป็นธนาคารและสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร (นอนแบงก์)
สำหรับเงินดิจิทัล แม้จะฟังดูเป็นเรื่องใหม่ แต่ที่ผ่านมาคนไทยก็ใช้จ่ายและโอนเงินไปมาผ่านระบบดิจิทัลกันมาบ้างแล้วในระดับหนึ่ง
ทว่าโครงการเงิน 'บาทดิจิทัล' ของแบงก์ชาติในครั้งนี้ จะเป็นคนละรูปแบบกันกับ 'เงินบาท' ที่เคยใช้งานในแอปพลิเคชันทั่ว ๆ ไป นั่นก็เพราะเงินใช้ในแอปฯ ทุกวันนี้ จะเรียกว่า e-Money หรือเป็นการพิมพ์ธนบัตรออกมาก่อน แล้วค่อยมาแปลงเป็นตัวเลขภายหลัง
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสั่งพิมพ์ธนบัตรออกมา ก่อนที่จะป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านทางธนาคารต่าง ๆ หรือนโยบายของรัฐ ซึ่งธนบัตรก็จะถูกเก็บเอาไว้ในคลังของธนาคารเอง รวมถึงยังถูกนำมาหมุนเวียนใช้จ่ายกันผ่านตัวกลางต่าง ๆ
แต่ถ้าเป็นสมัยก่อน ใครที่ไม่มีแอปฯ หรือระบบออนไลน์ใด ๆ ก็จะต้องไปถอนเงินสดมาใช้ จ่ายเงินกันเปลี่ยนมือไปเรื่อย ๆ ส่วนใครที่มีแอปฯ เงินเหล่านั้น ก็จะถูกเปลี่ยนจากกระดาษมาเป็นตัวเลขในแอปฯ เท่านั้นเอง
>> แต่เงินบาทที่เป็น 'บาทดิจิทัล' ที่กำลังจะมีการเปิดทดสอบใช้งานนั้น คือ เงินดิจิทัลจริง ๆ
โดยที่ธนาคารกลางจะออกเงินมาบนระบบบล็อกเชน (การออกเงินยังต้องมีสินทรัพย์อื่น เช่น เงินสด หรือทองคำ ค้ำประกันเหมือนเดิม)
แล้วเงินดังกล่าวก็สามารถป้อนเข้าสู่ระบบได้โดยตรง เช่น ผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ หรืองบประมาณประจำปี แล้วก็เข้ากระเป๋าเงินดิจิทัลของคนไทย ที่แต่ละคนก็จะมีกระเป๋าเงินดิจิทัลเฉพาะตัว
คนไทยที่จะใช้เงิน ก็สามารถเอาเงินเหล่านั้นไปจ่ายกันได้เลยเหมือนการใช้เงินสด แม้จะไม่มีแอปฯ ของธนาคารมาเป็นตัวกลางก็ตาม
แต่จะมีความแตกต่างจากเงินสดก็คือ ทุกการใช้จ่ายระหว่างกัน จะมีการบันทึกธุรกรรมลงระบบบล็อกเชนเอาไว้ตลอด ทำให้สามารถติดตามเงินได้ทุกบาท ว่าถูกใช้ทำอะไร หรือผ่านมือใครมาบ้าง เช่น หากกระเป๋าเงินบาทดิจิทัลของข้าราชการคนหนึ่ง มีเงินก้อนโตเข้ามาอย่างผิดปกติ ทางศูนย์กลางก็จะรับรู้ได้ในทันที เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บาทดิจิทัลก็ไม่เหมือนกันกับ Bitcoin เสียทีเดียว เพราะ Bitcoin หรือสินทรัพย์ดิจิทัลหลาย ๆ อย่าง เกิดขึ้นมาบนแนวคิด Decentralize ที่ไม่มีใครมาควบคุมเป็นหลัก
แต่เงินบาทดิจิทัล จะถูกดันออกมาและมีการควบคุมโดย CBDC หรือก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย นั่นเอง
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือความผันผวนของราคา ในขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัลหลาย ๆ อย่าง จะราคาขึ้นลงตามความต้องการของตลาด บางครั้งอาจจะขึ้นลง +10% และ -10% ในวันเดียว
แต่เงินบาทดิจิทัล จะถูกผูกค่ากับเงินบาทแบบ 1:1 ซึ่งก็จะมีหน่วยงานอย่างธนาคารกลาง มาคอยควบคุมในจุดนี้อยู่แล้ว เพื่อไม่ให้ราคาผันผวนจนเกินไป
สำหรับโครงการเริ่มต้นใช้งานเงินบาทดิจิทัล หรือที่แบงก์ชาติเรียกว่าโครงการ Retail CBDC นี้ น่าจะเริ่มใช้ได้ในไตรมาส 2 ปีหน้าเป็นต้นไป (2022) โดยเบื้องต้นจะเริ่มมีการปล่อยทดสอบใช้ในวงจำกัด เช่น การใช้งานกับเอกชนบางราย และนักพัฒนาที่ผ่านเกณฑ์ก่อน
อย่างไรก็ตาม หากจะตั้งคำถามว่า 'ดิจิทัลบาท' จะเป็นอนาคตของการใช้จ่ายเงินในไทยแค่ไหนนั้น ก็ต้องกลับไปมองดูว่า 'ระบบบล็อกเชน' จะเป็นอนาคตแห่งโลกการเงินแค่ไหนเสียก่อน ซึ่งหากระบบบล็อกเชนถูกพัฒนาไปถึงจุดที่โลกเชื่อมั่น แม้แต่ Bitcoin หรือสกุลเงินอื่น ๆ ก็พร้อมถูกนำมาเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนได้จริงไม่ยาก...
อ้างอิง: บทวิเคราะห์จากเพจ Billionway >> https://www.facebook.com/331394447302302/posts/1278609719247432/
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/955561
Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9