Tuesday, 2 July 2024
POLITICS

‘กรมหลวงเกียกกายราษฎรบริรักษ์’ แบงก์เป็ดขวัญใจหนู แต่ลุงตู่อาจไม่โอ!!

แหม่!! ก็เหตุเพราะพี่เสื้อเหลืองเขาหาว่าหนูไม่รักสถาบัน ก็เลยบอกว่าอย่าใช้แบงค์ที่มีรูปสถาบัน น้องหนูสายคณะราษฎรเลยจัด ‘ธนบัตรเป็ดเหลือง’ ออกมาใช้เองซะเลยไงค้าบ!! 
.
ไอเดียสุดปั่นนี้เกิดขึ้นเมื่อเหล่าคณะราษฎรมองว่าพวกเขาควรถูกกีดกันในการใช้เงินปกติที่มีรูปสถาบัน 
.
พอเจอแบบนี้เข้า ก็เลยผลิตแบงค์ ขึ้นมาใช้กันเองซะเลย
.
โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพจคณะราษฎร ได้ปล่อยภาพคูปอง ที่ดูละม้ายคล้ายธนบัตร โดยบนหน้าธนบัตรมีภาพของ ‘กรมหลวงเกียกกายราษฎรบริรักษ์’ หรือ ‘น้องเป็ดยางตัวเหลือง’ ที่ช่วงนี้ฮอตปรอทแตกและมีบทบาทไม่ใช่น้อยในม็อบช่วงนี้ 
.
ในธนบัตรดังกล่าวแสดงให้เห็นทั้งตราคณะราษฎร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่มีพิราบขาวบินอยู่เหนือด้านบน เงื่อนไขการใช้ธนบัตร และทิ้งความแสบกวนของคณะราษฎรด้วยประโยค ‘ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน’ ทิ้งไว้ที่มุมขวาล่างของธนบัตร
.
แต่ไอเดียธนบัตรเป็ดเหลืองนี่ไม่ได้มาเล่นๆ หรือเอาไว้ล้อรั่วๆ เพราะธนบัตรน้องเป็ดเหลืองนี้สามารถใช้ได้จริง!!
.
โดยธนบัตรเป็ดเหลือง จะเป็นเหมือนคูปองแทนเงินสด ที่ชาวม็อบสามารถนำไปใช้แลกซื้ออาหารต่างๆ ได้กับเหล่ารถ CIA หรือรถขายอาหารที่ร่วมรายการในม็อบ ซึ่งมูลค่าของคูปองใช้ได้ตามมูลค่าหน้าบัตร อยู่ที่ใบละ 10บาท
.
ส่วนกำหนดการใช้งานนั้น ทางเพจคณะราษฎร ได้ประกาศว่า คูปองดังกล่าวพร้อมประกาศใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 โดยเบื้องต้นจะเริ่มประเดิมแจกที่ด้านหน้าสำนักงานใหญ่ SCB จำนวนทั้งสิ้น 3,000 ใบ
.
อย่างไรก็ตามธนบัตรดังกล่าว ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกของโซเชี่ยลถึงความไม่เหมาะสม และอาจจะผิดกฎหมายหากมีการจำหน่ายจ่ายต่อในอนาคต แต่อีกมุมก็มองว่าธนบัตรเป็ดเหลือง เป็นเหมือนคูปองในการใช้แลกอาหารที่เข้าร่วม รวมถึงเป็นการแสดงออกเชิง ‘สร้างสรรค์’ ที่แสนกวนเสียมากกว่า

ส่อง 'ม.112' ภายใต้มุมมอง 'มีชัย ฤชุพันธุ์'

เมื่อท่าน มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรามนูญว่ามาแบบนี้

.

แล้วคุณล่ะคิดว่ายังไง?

5 Facts About 'ม.112'

5 เรื่องที่อยากให้รู้ กับมาตรา 112 ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ไปดูกัน !!
 

 

สสร. ใครกันล่ะเนี่ย?

ผลการลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ก็ได้ออกมาแล้ว โดยทั้งสองญัตติที่ผ่านการลงมติล้วนเกี่ยวข้องกับการตั้งสสร. ซึ่งรายละเอียดต่างกันแค่ ‘จำนวน’ ของ สสร. เท่านั้น โดยญัตติแรก จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และญัตติที่ 2 จากพรรคร่วมรัฐบาล สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง 150 คน และแต่งตั้ง 50 คน  ว่าแต่ สสร.เป็นใครกันล่ะแล้วเคยมีเป็นครั้งแรกรึเปล่านะ ?

.

วันนี้ The States Times อยากจะพาไปย้อนดูกันสักหน่อยว่า สสร.เรามีมากี่ครั้ง แล้วเขาเหล่านี้มีบทบาทอะไรกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ?

.

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ‘สสร.’ คืออะไร ?

‘สสร.’  หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ หน่วยงานที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้วเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานนี้มักจะมีขึ้นตอนที่เรามีแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วเราอยากจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรหรือต้องการประสานประโยชน์ ให้ตรงตามความต้องการทุกฝ่าย  จึงเกิดการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาโดยจะปฏิบัติหน้าที่เพียงในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้นซึ่งในบ้านเราก็มีการจัดตั้ง สสร.มาแล้วทั้งหมด 4 ชุดด้วยกัน ได้แก่

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 1

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ต่อสภา และให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดแรกนี้ได้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 2

จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐะรรมนูญและให้เป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ และยังทำหน้าที่ในการคัดเลือกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกทั้งยังมีอำนาจที่จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ตนเองจัดทำด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 3

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยชุดนี้มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยกำหนดเวลาร่างภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน โดยในการร่าง สสร. ต้องคำนึงถึงความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้ สสร. กำหนดพื้นฐานที่จะพาไปสู่การปฏิรูปการเมืองโดยปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป รัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดที่ 3 นี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 4

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 18) และต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน และการร่างรัฐธรรมนูญในชุดนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยการลงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นมีรัฐธรรมนูญที่ผ่านการร่างจาก ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ’หรือ สสร. มาแล้วทั้งหมด 4 ฉบับด้วยกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน จากการร่างบนพื้นฐานความเห็นของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนทุกคนแล้วยังเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดความร้อนระอุในการเมืองและประสานประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างแท้จริงอีกด้วย

Who is อบจ.

ก่อนจะเลือกตั้ง อบจ. 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้มาทำดูกันก่อนดีกว่าว่าเขาเหล่านี้มีที่มายังไงแล้วมาทำอะไรให้กับพี่น้องประชาชนกันบ้าง

.

‘ ประชามติ ’ ไม่ได้มีที่เดียวในโลก

ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลักแต่ในขณะเดียวกันก็เคารพในสิทธิและเสียงของข้างที่น้อยกว่า ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเนื่องจากในสังคมมีคนมากมายต่างความคิด ความเห็นกัน ถ้ารัฐตัดสินเพียงฝ่ายเดียวก็จะดูเหมือนการมัดมือชกไปสักหน่อย รัฐจึงต้องมีการเปิดพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิของตน

จึงเกิดรูปแบบที่เรียกว่า ‘ ประชามติ ’ เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกฎหมายหรือนโยบายต่างๆของรัฐซึ่งประชามติ ก็เป็นรูปแบบนึงที่หลายๆประเทศนำมาใช้ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้รูปแบบของประชามติเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็นชอบด้านการเมือง วันนี้ The States Times อยากจะพาทุกคนไปดูว่า ‘ ประชามติ ’ ในแต่ละประเทศเป็นยังไงและมีความแตกต่างกันอย่างไร

.

เครดิตภาพ : https-//www.teenvogue.com/story/the-american-flag-was-sewn-in-part-by-a-teenage-black-girl

.

เริ่มที่ประเทศแรกประเทศที่ใครๆต่างก็รู้จัก ‘ ประเทศสหรัฐอเมริกา ’ ที่ใช้ระบบการปกครองแบบ สหพันธรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ประเทศนี้เขาใช้ประชามติแค่ในระดับมลรัฐเท่านั้น โดยใช้ 2 แบบ คือการให้ออกเสียงประชามติที่เริ่มต้นจัดทําโดยฝ่ายนิติบัญญัติและการออกเสียงประชามติที่เสนอโดยประชาชน ซึ่งทั้งสองแบบเรื่องที่เสนอขึ้นมาจะนำไปใช้ได้หรือไม่ได้ก็ต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชนก่อนดังนั้นการใช้กระบวนการประชามติในสหรัฐฯจึงถือว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้ประชาชนนั้นได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงแม้จะในระดับมลรัฐก็ตาม

อย่างในกรณีของการลงประชามติในระดับมลรัฐ ซึ่งมีขึ้นที่รัฐออริกอน ที่มีการลงประชามติให้มีการยกเลิกโทษความผิดทางอาญา สำหรับการครอบครองยาเสพติดร้ายแรง เช่นเฮโรอีน หรือโคเคน สำหรับใช้ส่วนตัวในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

.

เครดิตภาพ : https-//th.investing.com/news/economic-indicators/article-22708

.

ประเทศต่อมาคงหนีไม่พ้นประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่ไม่ได้มีดีแค่ธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังเด่นเรื่องประชาธิปไตยทางตรงของพี่เขาอีกด้วย ซึ่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ปกครองในรูปแบบสมาพันธรัฐ ระบบการเมืองของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นเป็นระบบ ‘ ประชาธิปไตยทางตรง ’ อันเป็นกลไกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และด้วยความกระตือรื้อร้นของพลเมืองจึงทำให้เกิดการใช้ระบบประชาธิปไตยทางตรงบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการให้พื้นที่กับประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นอย่างมาก การออกเสียงประชามติในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไม่เหมือนประเทศไหน ๆ เพราะคนที่ตัดสินว่าจะลงประชามติในเรื่องไหนบ้างไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นรัฐธรรมนูญที่จะมีการกำหนดเรื่องที่ต้องออกเสียงประชามติไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การออกเสียงประชามติยังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการเรียกร้องจากประชาชนอีกด้วย จะเห็นได้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เองก็ได้นำกระบวนการออกเสียงประชามติมาใช้บ่อยครั้งเพราะด้วยตัวกฎหมายที่ส่งเสริมและประชาชนที่ให้ความสนใจ จึงทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง 

ตัวอย่างในการลงประชามติที่เรียกร้องจากประชาชน ในเรื่องรับแผนประกันเงินเดือนขั้นต่ำของประเทศสวิสเซอร์แลนด์  ถึงแม้ว่าผลของประชามติจะถูกปัดตกไป แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง

.

เครดิตภาพ : https://www.posttoday.com/world/584840

.

การออกเสียงประชามติในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย กึ่งประธานาธิบดี ในปัจจุบันเรื่องที่นำมาให้ประชาชนออกเสียงประชามติมีทั้งหมด 4 กรณี ซึ่ง 3 กรณีเป็นเรื่องระดับประเทศ และอีกกรณีคือเรื่องท้องถิ่นทั่วไป แบ่งได้ง่ายๆคือ การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับร่างกฎหมาย การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในดินแดน และการออกเสียงประชามติระดับท้องถิ่น ซึ่งทั้ง 4 กรณีล้วนผ่านความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ การออกเสียงประชามติในประเทศฝรั่งเศส จึงเป็นกระบวนการที่มีความสําคัญเป็นอย่างมาก ที่จะเปิดโอกาศให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วยการปรึกษาหารือกับผู้บริหารประเทศ โดยผ่านการตั้งคำถามหรือขอความเห็นในร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ 

อย่างเช่นการลงประชามติปกครองตนเองของแอลจีเรียซึ่งนับว่าเป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในดินแดน

จากประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมาให้ดูนี้ จะเห็นได้ว่าทุกประเทศล้วนปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนมากและให้อำนาจสูงสุดกับประชาชน ด้วยการให้สิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐเพื่อตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกับตัวประชาชนโดยตรง 

.

ดังนั้น ‘ ประชามติ ’ จึงเป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นเพื่อพื้นที่ในการมีส่วนร่วมและรับฟังเสียงของผู้ที่มีอำนาจที่สุดนั่นก็คือ   ‘ ประชาชน ’

เรื่องม็อบ ๆ ที่เหมาะกับแค่ 'บางวัย'

เมื่อม็อบไม่ใช่ที่ของทุกคน พามาดูเรื่องม็อบ ๆ ที่เหมาะกับแค่ 'บางวัย'

Thailand is the land of compromise.

The States Times ได้รวบรวมความพยายามรัฐบาลไทย ปรองดองแต่ไหนถามใจเธอดู!!

สมานฉันท์สมชื่อหรือเอาเท่ห์

ในช่วงนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองบ้านเราร้อนระอุมากขึ้นทุกที และดูเหมือนจะร้อนขึ้นเรื่อยๆไม่มีหยุด จากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ แต่เมื่อการเรียกร้องเริ่มมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป คงหนีไม่พ้นต้องมีคนเข้ามาห้ามมวย เพื่อช่วยคลี่คลายความขัดแย้งอันร้อนระอุนี้ให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

แล้วใครล่ะจะเป็นคนที่เข้ามาห้ามมวยระดับประเทศ ? ในความขัดแย้งต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประเทศ กรรมการห้ามมวยก็มีมาหลาย ๆ ต่อหลายชื่อต่างกันไปในแต่ละยุครัฐบาลก็เท่านั้น แต่ถ้าพูดถึงในช่วงเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น "คณะกรรมการสมานฉันท์"

ซึ่งนำทีมโดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา "ชวน หลีกภัย" ที่ได้รับมอบหมายจากสถาบันพระปกเกล้าให้วางโครงสร้างคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์หาทางออกให้ประเทศ

ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์นี้จะเข้ามามีบทบาทในการเปิดเวทีให้คู่ขัดแย้งได้พูดคุยถึงปัญหาและหา "ตรงกลาง" ให้กับทั้งสองฝ่าย โดยให้ทั้งสองฝ่ายมาถกปัญหากันด้วยเหตุและผล เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ซึ่งจุดประสงค์ในการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้นมาจากการที่ต้องการให้คนในประเทศไม่ทะเลาะกันและปรองดองกันในที่สุด แต่สุดท้ายเมื่อตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมาแล้วจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้จริงอย่างชื่อหรือเปล่าล่ะ ?

โดยแนวทางในตอนนี้มีด้วยกัน 2 แนวทาง ทางแรกมีคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ 7 หรือ 5 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยฝ่ายที่มีอำนาจตัดสินใจหรือจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผุ้ชุมนุม ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่มีองค์ประกอบครบทุกฝ่าย

ในส่วนของทางที่สองคือการเสนอ "คนกลาง" จากแต่ละฝ่ายเพื่อมาเป็นคณะกรรมการหรือประธานรัฐสภาสรรหาบุคคล หรือจะตั้งประธานคณะกรรมการโดยการทาบทามมาเป็นคณะกรรมการ

ในตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปมาว่าจะใช้แนวทางไหนหรืออาจมีการนำทั้งสองแนวทางมาผสมกันเพื่อให้เกิดความลงตัวมากขึ้น ถ้าเกิดมาในแนวทางนี้จริงก็คงเป็นการหาทางออกที่ผ่านเสียงจากทุกฝ่าย

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าไม่มีฝ่ายค้านไหนเข้าร่วมสังฆกรรมด้วย หรือง่าย ๆ "ไม่เอาด้วย" เพราะหลายฝ่ายกลับมองว่าเป็นการซื้อเวลาให้รัฐบาลมากกว่า

ถ้าคณะกรรมการสมานฉันท์เป็นเหมือนกับการหงายการ์ดปรองดองอย่างรัฐบาลต่างๆที่ผ่านมา ก็ไม่ต่างจากการเป็นฟูกลดแรงกระแทกให้กับทางฝั่งรัฐบาลหรือเป็นการซื้อเวลาเสียมากกว่าการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ที่สุดท้ายแล้วข้อเสนอหรือรายงานต่าง ๆ ถูกดองหรือนำออกมาใช้เพียงน้อยนิด สุดท้ายถ้าเป็นไปในรูปแบบเดิมการตั้งคณะกรรการสมานฉันท์ก็มีขึ้นเพื่อลดแรงกระแทกจากผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เท่านั้น

การเมืองที่ไม่จบลงแค่ ‘ ม็อบ ’

“ ศิลปะ “ เป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับมนุษย์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปในสังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงเรื่องการเมือง ศิลปะจึงเป็นกระบอกเสียงของประชาชนที่สะท้อนความเห็นผ่านการเรียกร้องอย่างมีชั้นเชิงจากความสร้างสรรค์ในศิลปะ เมื่อเห็นแบบนี้แล้วม็อบก็คงไม่ใช่ทางออกเดียวที่จะแสดงความเห็นหรือแสดงจุดยืน

.

The States Times จึงได้รวม 4 ผลงานศิลปะที่สะท้อนภาพทางการเมืองที่ไม่ได้มีเพียงแค่ ‘ ม็อบ ’ จากศิลปินสุดเจ๋งที่ใช้ศิลปะมาแสดงออกอย่างแสบสันและสร้างสรรค์

.

.

A Show of Hands - Htein Lin
ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชาวพม่า สื่อสารผ่านปูนปลาสเตอร์ที่หล่อจากมือของอดีตนักโทษทางการเมือง สะท้อนให้เห็นถึงความโหดร้ายที่รัฐบาลพม่าได้หยิบยื่นให้กับอดีตนักโทษเหล่านี้
.
Credit : https://www.albrightknox.org/art/exhibitions/htein-lin-show-hands

.

.

Israeli & Palestinian Pillow Fight- Banksy
ผลงานจากศิลปินชื่อดังระดับโลกที่ฝากผลงานเสียดสีแสนเจ็บแสบไว้ตามผนังตึกบ้านเรือนต่างๆเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับผลงาน Israeli & Palestini-an Pillow Fight ภาพสะท้อนของสงครามที่มีเพียงกำแพงกั้น ของสงครามอิสราเอลและปราเลสไตล์
.
Credit : Facebook Banksy

.

.

Politicians' Lies - Marco Melgrati
ผลงานสุดกวนจากศิลปินอิสระชาวอิตาเลียน
ผู้เสียดสีการเมืองผู้จิกกัดนักการเมืองผ่านภาพวาดที่ว่าด้วยคำโกหกต่างๆที่ออกมาผ่านฉากหน้าที่อยู่ในรูปแบบนักการเมือง
.
Credit : Facebook Marco Melgrati

.

.

Carcass - Petr Pavlensky
ศิลปะแสดงสดจากศิลปินชาวรัสเซีย ที่ทุ่มสุดตัวด้วยการนอนเปลือยกายในลวดหนามเพื่อแสดงให้เห็นถึง จุดยืนในการต่อต้านนโยบายที่จำกัดเสรีภาพของประชาชนจากรัฐบาลของรัฐเซีย
.
Credit : https://www.saatchigallery.com/art/art-riot.php


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top