Sunday, 30 June 2024
POLITICS

"ชุดนักเรียน" เสรีภาพบนตัวหนู ๆ

หลาย ๆ คนที่เรียนในประเทศไทยเรา คงผ่านการใส่ชุดนักเรียนกันมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยไหน และชุดนักเรียนนี่แหละ ที่มักจะถูกบ่งบอกให้เห็นถึงสถานะว่าเขาเหล่านั้นเป็น "นักเรียน" จริง ๆ

แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน อะไร ๆ ก็เปลี่ยนเด็กรุ่นใหม่มองว่าการใส่ชุดนักเรียนไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรไปกว่าการเรียนรู้ และมองว่าการใส่ชุดนักเรียนดูจะเหมือนเป็นการตีกรอบให้กับพวกเขาเสียมากกว่า

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่ม "ภาคีนักเรียนKKC" ได้ชักชวนให้นักเรียนแต่งไปรเวทไปโรงเรียน พร้อมทั้งตั้งคำถามเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียนที่พวกเขาสวมใส่ว่า...

หากใส่ชุดไปรเวทไปแล้ว ครูจะไม่ให้เข้าเรียน เพียงเพราะไม่ได้ใส่เครื่องแบบ? ถ้าหากเป็นเช่นนั้นสุดท้ายแล้วนักเรียนทั้งหลายไปเรียนเพื่ออะไรกันหากสิ่งที่ครูและผู้ใหญ่ให้ความสนใจมากกว่าการเรียนคือเครื่องแบบนักเรียน?

และถ้าหากนักเรียนไม่มีเงินมากพอจะซื้อชุดนักเรียน = ไม่มีสิทธิเข้าเรียนหรอ?

ยิ่งไปกว่านั้นประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ คือ หากใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียนจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำจริงหรือไม่?

จากการตั้งคำถามเหล่านี้ The States Times ก็เลยไปหาคำตอบ จากมุมมองของนักเรียนหลาย ๆ แห่ง ทั้งที่อยู่โรงเรียนที่เปิดโอกาสให้แต่งชุดไปรเวทไปเรียน และไม่ได้ให้ใส่ชุดไปรเวท

ผลปรากฎว่า ส่วนใหญ่มองว่าการใส่ชุดไปรเวทไปเรียนไม่ใช่เรื่องผิด หรือจะทำให้ตั้งใจและเรียนรู้ได้น้อยลง และก็ไม่เห็นด้วยกับการบอยคอตของผู้ใหญ่ที่พยายามมองว่าการไม่ใส่ชุดนักเรียนเป็นเรื่องที่ผิด

แน่นอนว่า ในมุมของผู้ใหญ่อาจจะมีเหตุผลที่ว่า ชุดนักเรียนมีไว้เพื่อความเป็นระเบียบ ทำให้เกิดการแยกแยะได้ และช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ

แต่พวกเขาก็มองว่า ชุดนักเรียนก็เป็นเหรียญที่มีสองด้านด้านหนึ่งอาจจะเหมือนที่ผู้ใหญ่ว่ามา แต่อีกด้านหนึ่งนั้นชุดนักเรียนกลายเป็นเครื่องแบบที่ริดรอนเสรีภาพในการแต่งตัวของเหล่านักเรียนไปซะเฉย ๆ

เมื่อต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตัวเองไม่ว่าจะมุมเด็กหรือมุมผู้ใหญ่ แต่ดูเหมือนหนึ่งในคำตอบของคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ชัด ๆ นั่นก็คือ...ชุดนักเรียนจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้หรือไม่? หลายคนก็ยังแอบเกาหัว!!

ผิดที่ ถูกเวลา

กรณีศึกษา​ โกยซีนการเมือง​ ผ่านเวที​ Cat Expo7

ต่อให้อุณหภูมิการเมืองบ้านเราจะร้อนแรงเหมือนแดดเผาแค่ไหน แต่คนไทยก็ใช่จะต้องกลัว​ เพราะวิธีดับเรื่องร้อน ๆ​ มันมีอยู่เยอะแยะ

เมื่อไม่กี่วันมานี้​ก็เพิ่งจะมีงานเทศกาลดนตรีที่จัดขึ้นผ่ากลางสมรภูมิการเมืองแบบคู่ขนาน​ ในชื่องาน 'Cat Expo7'​ ที่จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 - วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่สวนสนุกวันเดอร์เวิลด์ (รามอินทรา กม.10) เพื่อที่ดับร้อนของคนที่อยากฉีกหนีจากโลกการเมืองสักพัก

แต่ไหงคนที่เข้าไปงาน​ Cat Expo7 ถึงแอบบ่นว่างานนี้โคตรร้อนกว่าเดิม แต่ร้อนที่ว่านี่คือ​ 'อารมณ์ร้อน'​

ก็จะไม่ให้ร้อนได้ไง!! งานก็ไม่ใช่งานฟรี​ คนอยากไปดูคอนเสิร์ตดีๆ​ เพื่อหนีการเมือง​ ก็ดั๊นนน... มาเจอดราม่าการเมืองบนเวทีดนตรีอีก​ เฮ้ย!! มันผิดที่

เรื่องมีอยู่ว่าช่วงเวลาของศิลปินวง​ T_047 ได้อัญเชิญแกนนำราษฎรขึ้นมาบนเวทีคอนเสิร์ตไม่ว่าจะเป็น รุ้ง, ไผ่ ดาวดิน, แอมมี่ เดอะบอตทอมบลูส์ พร้อมแกนนำคนอื่นๆ

ทั้งหมดได้มีส่วนร่วมร้องเพลงกับศิลปิน T_047 ซึ่งจริงๆ​ ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร​ และจบลงด้วยดีไร้ความรุนแรงใดๆ นอกจากการชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะราษฎรทิ้งท้าย

แต่เรื่องที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ที่การขึ้นมาร่วมร้องเพลงของแกนนำเหล่านี้ แต่มันอยู่ที่ความเหมาะสมของการกระทำที่เกิดขึ้น

เพราะถึงแม้แกนนำม็อบจะไม่ได้มาปราศรัยเต็มรูปแบบ​ แต่นี่ก็ไม่ใช่เวที​ 'ฉกฉวย'​ ซีน​ ที่หวังว่าจะมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ให้คนที่กำลังเมามันกับสิ่งที่เรียกว่า​ 'ดนตรี'​ เคลิ้มตาม

แน่นอนว่าโดยภาพรวมของงาน​ ก็มีศิลปินหลายท่านที่แสดงสัญลักษณ์ทางการเมืองในแบบของตนผ่านทางเสื้อผ้า คำพูด หรือวัตถุ แบบตรงและอ้อม

แต่นั่นก็ไม่ได้ไร้มารยาทดั่งเช่นศิลปิน T_047 ที่ชวนแกนนำม็อบขึ้นมาร่วมร้องเพลง

นี่ถือเป็นเรื่องของมารยาททางสังคม​ล้วน​ เพราะเชื่อว่าผู้กระทำย่อมรู้อยู่แล้วว่า “ผิดที่” ผิดเวลา​ แต่มันดัน “ถูกเวลา” เป๊ะ ๆ

ต่อให้ทั้งคอนเสิร์ตเป็นแฟนคลีบม็อบทั้งหมด​ ก็เชื่อเถอะว่า​ บางส่วนก็คงมิได้เห็นด้วย​ เพราะงานดนตรีควรเป็นที่ของทุกคนที่มีความชื่นชอบในเสียงเพลง และไม่ควรนำความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาเป็นประเด็น​ โดยใช้พื้นที่งานในการแสดงออก แล้วทำให้ผิดไปจากจุดมุ่งหมายที่เจ้าของงานตั้งใจที่จะจัดเทศกาลดนตรีนี้ขึ้น

การแสดงออกทางการเมืองมีมากมายหลายวิธี และก็เถียงไม่ได้ว่า “ดนตรี” นี่แหละก็เป็นอีกทางที่ใช้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แต่ความสร้างสรรค์นั้น ก็ควรต้องอยู่บนพื้นฐานของ “กาลเทศะ” ด้วย

แยกแยะเรื่องแค่นี้ยังไม่ได้​ แล้วในอนาคตใครจะกล้าให้มาแยกแยะงานใหญ่ยิ่งกว่า​ หากประเทศไทยต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ​ ล่ะ​

วาทะแห่งปี!!! จาก 'ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์'

วาทะแห่งปี!!

จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence และ Actuarial Science and Risk Management คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ย้อนอดีต 'นิรโทษกรรม' ใครผิด เดี๋ยวพลิกให้ 'ถูก' แบบไม่ต้องกลับตัว

'นิรโทษกรรม' หวนกลับมาให้ติดหูอีกครั้งท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองระอุในช่วงนี้ บางคนอาจจะเข้าใจความหมายกันบ้างทั้งเชิงลึกและเชิงผิว

แต่ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก่อนเลยว่า 'นิรโทษกรรม' คืออะไร?

.

- นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นเพื่อลบล้างความผิดให้กับผู้ที่กระทำผิด โดยไม่ต้องรับโทษ

- ส่งผลให้สิ่งต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นถือว่าไม่เป็นความผิด

- ไม่สามารถขุดคดีเก่าๆ มาสืบสวนได้ ถ้าหากว่าคดีเหล่านั้นได้ถูกนิรโทษกรรมไปแล้ว

- การนิรโทษกรรมจึงเป็นเหมือนกฎหมายที่สามารถทำให้ผู้กระทำผิดนั้นเป็นเหมือนผู้ไม่เคยกระทำผิดมาก่อน

.

เรียกว่าดูดีสำหรับคนมีคดีติดตัวกันเลยทีเดียว เพราะพลิกผิดเป็นถูกได้ชิลล์ ๆ มิน่าคนบางกลุ่มจึงอยากให้เกิดการนิรโทษกรรมกันนักกันหนา!! แล้วทราบหรือไม่ว่าในประเทศไทยก็มีการ 'นิรโทษกรรม' กันในช่วงอดีตมามากมายพอตัว

แล้วเกิดขึ้นมากันกี่ครั้ง?

.

การนิรโทษกรรมในบ้านเราเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 23 ครั้ง

- แบ่งเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรม 4 ฉบับ

- และพระราชบัญญัตินิโทษกรรม 19 ฉบับ

.

***ลองไล่เลียงกันไปโดยเริ่มที่พระราชกำหนดนิรโทษกรรม 4 ฉบับ***

ปี พ.ศ. 2475

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินประกาศโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ โดยให้การกระทำของคณะราษฎรที่ละเมิดกฎหมาย ไม่ถูกนับเป็นการละเมิดบทกฎหมายใด ๆ เลย

.

ปี พ.ศ. 2488

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ มีการปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมดเป็นอิสระ โดยผู้กระทำผิดไม่ว่าจะถูกฟ้องหรือไม่ให้ นับว่าพ้นการกระทำผิดทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2524

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 ออกโดยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จากเหตุการณ์พยายามรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม โดยกลุ่ม 'ยังเติร์ก' แต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น พลเอกเปรม จึงได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมกลุ่มเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อความสามัคคีของคนในชาติ

.

ปี พ.ศ. 2535

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ออกโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ โดยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ครั้งนั้นพ้นผิดทั้งหมด ทั้งประชาชนที่ชุมนุมและทหารที่ทำการปราบปรามประชาชน

.

***คราวนี้มาถึงพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม 19 ฉบับกันบ้าง***

ปี พ.ศ. 2476

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 ออกโดย พระยาพหลพลลพยุหเสนา โดยคณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนาหลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

.

ปี พ.ศ. 2489

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น ออกโดยนายปรีดี พนมยงค์ โดยยกโทษให้แก่ผู้ที่ต่อต้านญี่ปุ่นเมื่อตอนที่ญี่ปุ่นเข้ามาไทย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

.

ปี พ.ศ. 2490

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร ออกโดยนายควง อภัยวงศ์ ในขณะนั้นมีการทำการรัฐประหาร พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น ซึ่งนำการรัฐประหารโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ แต่ท้ายสุดได้ให้ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พรรคฝ่ายค้าน) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนิรโทษกรรมกับผู้ทำการรัฐประหารในครั้งนั้นทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2475

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พ.ศ.2475 แต่กลับมาใช้ช่วงปี พ.ศ.2494 ออกโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อการรัฐประหารของจอมพลป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นการรัฐประหารตัวเองเป็นครั้งแรก

.

ปี พ.ศ. 2499

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ออกโดยจอมพลป. พิบูลสงครามเนื่องจากพระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมาครบ 25 ศตวรรษ จึงมีการอภัยทานความผิดฐานกบฏจลาจล จึงได้นิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2500

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 ออกโดยนายพจน์ สารสิน เป็นการรัฐประหาร จอมพลป.พิบูลสงคราม นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จากความไม่พอใจของประชาชนต่อการเลือกตั้งที่ทุจริตและสมาชิกพรรคมนังคศิลาของจอมพลป. เสนอให้จัดการเด็ดขาดกับจอมพลสฤษดิ์ ที่แถลงให้จอมพลป.ลาออกจากตำแหน่ง จอมพลสฤษดิ์จึงทำการรัฐประหารตัดหน้าและให้นายพจน์ สารสินขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง

.

ปี พ.ศ. 2501 – พ.ศ.2502

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 - พ.ศ.2502 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เหตุจากเนื่องจากการประกาศยึดอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยอ้างถึงความมั่นคงของประเทศ จากคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ การรัฐประหารในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารเงียบซึ่งก้คือการยึดอำนาจตัวเอง และได้ออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ จอมพลสฤษดิ์ ใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 17

.

ปี พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2515

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515 ออกโดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย ซึ่งเป็นการยึดอำนาจตัวเอง โดยมีการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการปฏิวัติหรือร่วมทำการปฏิวัติพ้นจากความผิดทั้งสิ้น

.

ปี พ.ศ. 2516

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จากเหตุที่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเดินขบวนเรียกร้อง ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หลังจากเหตุการณ์จึงมีการนิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2517

พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2517 ออกโดยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นการนิรโทษกรรมบุคคล โดยให้ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ที่ให้ควบคุมตัวนายอุทัย พิมพ์ใจชน นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ

.

ปี พ.ศ. 2519

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ออกโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จากเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ และให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการนิรโทษกรรมสำหรับผู้ทำการรัฐประหารในครั้งนั้น

.

ปี พ.ศ. 2520

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จากเหตุการณ์กบฏในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นความพยายามก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นำโดย พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง แต่กระทำไม่สำเร็จ หลังจากนั้นจึงได้มีการนิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2520

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนื่องมาจากการรัฐประหารนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหารนายธานินท์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นการกระชับอำนาจตนเอง ซึ่งเป็นการรัฐประหารตัวเอง และได้นิรโทษกรรมทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2519 – พ.ศ.2521

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2521 ออกโดยพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เนื่องจากเล็งเห็นว่าการดำเนินคดีแก่ผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 จะทำให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดีต้องเสียอนาคตในทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ จึงมีการนิรโทษกรรม

.

ปี พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2531

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จากเหตุพยายามรัฐประหารของนายทหารนอกราชการ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า 'กบฏทหารนอกราชการ' หรือ 'กบฏ 9 กันยา' แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการนิรโทษกรรมเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ

.

ปี พ.ศ. 2532

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532 ออกโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์

.

ปี พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ออกโดยนายอานันท์ ปันยารชุน จากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ทำการรัฐประหารพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยให้นิรโทษกรรมผู้ที่ร่วมในการรัฐประหารทั้งหมด

.

ปี พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ออกโดย นายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อยกโทษให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

.

ปี พ.ศ. 2535

พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ออกโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร เพื่อนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมพฤษภาทมิฬทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ทหารที่ปราบปรามประชาชน รวมทั้งผู้ชุมนุม

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นได้มีการนิรโทษกรรมมาหลายครั้งหลายคราว ซึ่งการนิรโทษกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเราล้วนเกิดจากเรื่องของการบ้านการเมืองทั้งนั้น โดยหวังที่จะให้การอภัยและล้างความผิดทั้งหลายของผู้ที่เคยกระทำผิด เป็นบันไดก้าวไปสู่ความสามัคคีในชาติ ช่วยลดความบาดหมางและสร้างความปรองดองแก่กันได้

แต่นั่นหมายความว่าผู้กระทำผิดที่จะได้รับโอกาสนั้น ๆ ก็ต้องทำตัวให้ถูกต้องตามกฎหมาย และสำนึกในโอกาสจากการนิรโทษกรรมที่ได้รับมาเช่นกัน

ฉะนั้นจุดประสงค์ของการนิรโทษกรรม ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่ในทางปฏิบัตินั้น การนิรโทษกรรมควรจะใช้กับคนที่ควรได้รับแค่ไหน? นั่นคือ Fact มากกว่า...

สงครามกลางเมือง!! ประตูแห่งการเลี่ยงคุกของนักการเมืองคดีอ่วม

ต่อให้เห็นต่างกันแค่ไหน ต่อให้มีม็อบกันกี่รอบ หรือกี่ครั้งยังไง
.

แต่เชื่อว่าตอนนี้ คนไทยน่าจะไม่ต้องการเห็นสิ่งที่เรียกว่า ‘สงครามการเมือง’ ในรูปแบบของม็อบชนม็อบที่อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้งแบบวันประชุมรัฐสภาที่เกียกกาย
.

อย่างไรก็ตาม หากสังเกตให้ดี จะพบว่าเริ่มมีการกำหนดเป้าหมายในการเคลื่อนไหว ที่สะท้อนความพยายามแบบยั่วยุปลุกปั่นจากม็อบราษฎรออกมาสารพัดแนวมากขึ้น ซึ่งทุกๆ ครั้งก็ทวีความดุเดือดจนเริ่มทำให้ประชาชนอีกฟากที่เห็นต่างเริ่มเกิดความไม่พอใจ 
.

...และก็หวังที่จะให้เกิดความรุนแรงแบบ ‘ม็อบชนม็อบ’ 
.

พอเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ‘นักการเมืองบางกลุ่ม’ ที่มีคดีรอให้ขาก้าวเข้าตาราง ก็อาจจะหยิบยกมาเป็นข้ออ้างในการขอลี้ภัยไปต่างประเทศ เพื่อหลบหนีคดีอาญาต่างๆ ได้โดยง่าย
.

เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าขบคิด หลังจาก ทิพานัน ศิริชนะ อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกมากล่าว โดยอิงกรณีที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าออกมาระบุถึงการทำนำมาตรา 112 มาบังคับใช้เป็นการราดน้ำมันบนกองไฟของสถานการณ์ต่อจากนี้
.

ทิพานัน มองว่า “พฤติกรรมนี้มาจากกลุ่มบุคคลที่คอยฉกฉวยผลประโยชน์จากการชุมนุม โดยเฉพาะการวางแผนให้กลุ่มผู้ชุมนุม เคลื่อนไหวไปในสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์และการแสดงออกที่เข้าข่ายคุกคาม อาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันและฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่งผลให้กลุ่มประชาชนผู้จงรักภักดี เกิดความไม่สบายใจ และทนไม่ไหว ไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวกับการนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาบังคับใช้ นายธนาธรจึงไม่ควรเบี่ยงเบนประเด็นไปใส่ร้ายว่ามาตรา 112 เป็นชนวนเหตุ เช่นเดียวกับที่นายธนาธรมักจะอ้างว่าถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ทั้งที่นายธนาธรรู้ตนเองดีว่ากระทำผิดกฎหมายในการถือครองหุ้นสื่อ ให้เงินกู้ผิดกฎหมายกับพรรค”
.

ฉะนั้นเกมนี้ หากจะเป็นการเปิดศึก เพื่อกรุยทางให้รอดจากคดีส่อคุกที่ติดตัว มันก็มีความเป็นไปได้ทั้งหมดเหมือนกัน เพียงแต่คนที่เจ็บตัว จะรู้หรือไม่ว่า พวกเขาทำไปเพื่อใคร?
.

แน่นอนว่านาทีนี้กระแสสังคมในโลกโซเชียลไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้า เรียกว่า ‘ไม่เอาทุกม็อบ’ และพยายามเตือนให้กลุ่มประชาชนปกป้องสถาบันอยู่ในที่ตั้ง ไม่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะเสี่ยงอาจมีผู้ไม่หวังดี สร้างสถานการณ์ 
.

ที่สำคัญคณะกรรมการสมานฉันท์ เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางทางการเมืองกำลังเริ่มเดินหน้า โดยมีการประกาศโครงสร้างของคณะกรรมการออกมาแล้ว ซึ่งมี ‘โควต้าตัวแทนของกลุ่มผู้ชุมนุม’ ด้วย 
.

ฉะนั้นหากมีกลไกที่ถูกต้องแล้ว ควรยุติความขัดแย้งด้วยกระบวนการเจรจาจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่า...

รู้จัก ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ ใน ‘10 บรรทัด’ (A4)

1.‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ คือ ทรัพย์สินที่ตกทอดมาตั้งแต่ราชวงศ์จักรี

2.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ตกมาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน

3.จากนั้นจะถูกตั้งเป็น ‘สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ ที่มีกระทรวงการคลังดูแล

4.ทรัพย์สินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้กับการช่วยเหลือประชาชน

5.อีกส่วนหนึ่งนำมาลงทุนเมื่อได้ผลกำไรจะนำมาถวายต่อในหลวงตามสมควร

6.นอกเหนือจากนั้นจะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน

7.ส่วน ‘ทรัพยสินส่วนพระองค์’ คือ ทรัพย์สินส่วนตัวของในหลวง ที่นำไปใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย

8.แต่ก็ต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐรวมไปถึงมูลนิธิต่างๆ ที่ในหลวงก่อตั้งขึ้นด้วย

9.ส่วน ’ทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี’ อยู่ใต้การดูแลจาก ‘กรมธนารักษ์’ เช่น ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลต่างๆ

10.ทรัพย์สินส่วนนี้มีงบปีละ 2,000 ล้านบาทให้แก่สำนักพระราชวัง แต่ยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกฯ โดยตรง

พาส่อง​ 'ไอเทม'​ พร้อมบวกของม็อบ​ 25​ พ.ย.63

ร่างกายต้องการปะทะ!!

.

พาส่อง​ 'ไอเทม'​ พร้อมบวกของม็อบ​ 25​ พ.ย.63

มืออาชีพฝุดๆ

‘กรมหลวงเกียกกายราษฎรบริรักษ์’ แบงก์เป็ดขวัญใจหนู แต่ลุงตู่อาจไม่โอ!!

แหม่!! ก็เหตุเพราะพี่เสื้อเหลืองเขาหาว่าหนูไม่รักสถาบัน ก็เลยบอกว่าอย่าใช้แบงค์ที่มีรูปสถาบัน น้องหนูสายคณะราษฎรเลยจัด ‘ธนบัตรเป็ดเหลือง’ ออกมาใช้เองซะเลยไงค้าบ!! 
.
ไอเดียสุดปั่นนี้เกิดขึ้นเมื่อเหล่าคณะราษฎรมองว่าพวกเขาควรถูกกีดกันในการใช้เงินปกติที่มีรูปสถาบัน 
.
พอเจอแบบนี้เข้า ก็เลยผลิตแบงค์ ขึ้นมาใช้กันเองซะเลย
.
โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพจคณะราษฎร ได้ปล่อยภาพคูปอง ที่ดูละม้ายคล้ายธนบัตร โดยบนหน้าธนบัตรมีภาพของ ‘กรมหลวงเกียกกายราษฎรบริรักษ์’ หรือ ‘น้องเป็ดยางตัวเหลือง’ ที่ช่วงนี้ฮอตปรอทแตกและมีบทบาทไม่ใช่น้อยในม็อบช่วงนี้ 
.
ในธนบัตรดังกล่าวแสดงให้เห็นทั้งตราคณะราษฎร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่มีพิราบขาวบินอยู่เหนือด้านบน เงื่อนไขการใช้ธนบัตร และทิ้งความแสบกวนของคณะราษฎรด้วยประโยค ‘ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน’ ทิ้งไว้ที่มุมขวาล่างของธนบัตร
.
แต่ไอเดียธนบัตรเป็ดเหลืองนี่ไม่ได้มาเล่นๆ หรือเอาไว้ล้อรั่วๆ เพราะธนบัตรน้องเป็ดเหลืองนี้สามารถใช้ได้จริง!!
.
โดยธนบัตรเป็ดเหลือง จะเป็นเหมือนคูปองแทนเงินสด ที่ชาวม็อบสามารถนำไปใช้แลกซื้ออาหารต่างๆ ได้กับเหล่ารถ CIA หรือรถขายอาหารที่ร่วมรายการในม็อบ ซึ่งมูลค่าของคูปองใช้ได้ตามมูลค่าหน้าบัตร อยู่ที่ใบละ 10บาท
.
ส่วนกำหนดการใช้งานนั้น ทางเพจคณะราษฎร ได้ประกาศว่า คูปองดังกล่าวพร้อมประกาศใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 โดยเบื้องต้นจะเริ่มประเดิมแจกที่ด้านหน้าสำนักงานใหญ่ SCB จำนวนทั้งสิ้น 3,000 ใบ
.
อย่างไรก็ตามธนบัตรดังกล่าว ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกของโซเชี่ยลถึงความไม่เหมาะสม และอาจจะผิดกฎหมายหากมีการจำหน่ายจ่ายต่อในอนาคต แต่อีกมุมก็มองว่าธนบัตรเป็ดเหลือง เป็นเหมือนคูปองในการใช้แลกอาหารที่เข้าร่วม รวมถึงเป็นการแสดงออกเชิง ‘สร้างสรรค์’ ที่แสนกวนเสียมากกว่า

ส่อง 'ม.112' ภายใต้มุมมอง 'มีชัย ฤชุพันธุ์'

เมื่อท่าน มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรามนูญว่ามาแบบนี้

.

แล้วคุณล่ะคิดว่ายังไง?

5 Facts About 'ม.112'

5 เรื่องที่อยากให้รู้ กับมาตรา 112 ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ไปดูกัน !!
 

 

สสร. ใครกันล่ะเนี่ย?

ผลการลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ก็ได้ออกมาแล้ว โดยทั้งสองญัตติที่ผ่านการลงมติล้วนเกี่ยวข้องกับการตั้งสสร. ซึ่งรายละเอียดต่างกันแค่ ‘จำนวน’ ของ สสร. เท่านั้น โดยญัตติแรก จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และญัตติที่ 2 จากพรรคร่วมรัฐบาล สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง 150 คน และแต่งตั้ง 50 คน  ว่าแต่ สสร.เป็นใครกันล่ะแล้วเคยมีเป็นครั้งแรกรึเปล่านะ ?

.

วันนี้ The States Times อยากจะพาไปย้อนดูกันสักหน่อยว่า สสร.เรามีมากี่ครั้ง แล้วเขาเหล่านี้มีบทบาทอะไรกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ?

.

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ‘สสร.’ คืออะไร ?

‘สสร.’  หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ หน่วยงานที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้วเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานนี้มักจะมีขึ้นตอนที่เรามีแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วเราอยากจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรหรือต้องการประสานประโยชน์ ให้ตรงตามความต้องการทุกฝ่าย  จึงเกิดการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาโดยจะปฏิบัติหน้าที่เพียงในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้นซึ่งในบ้านเราก็มีการจัดตั้ง สสร.มาแล้วทั้งหมด 4 ชุดด้วยกัน ได้แก่

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 1

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ต่อสภา และให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดแรกนี้ได้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 2

จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐะรรมนูญและให้เป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ และยังทำหน้าที่ในการคัดเลือกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกทั้งยังมีอำนาจที่จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ตนเองจัดทำด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 3

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยชุดนี้มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยกำหนดเวลาร่างภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน โดยในการร่าง สสร. ต้องคำนึงถึงความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้ สสร. กำหนดพื้นฐานที่จะพาไปสู่การปฏิรูปการเมืองโดยปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป รัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดที่ 3 นี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 4

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 18) และต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน และการร่างรัฐธรรมนูญในชุดนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยการลงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นมีรัฐธรรมนูญที่ผ่านการร่างจาก ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ’หรือ สสร. มาแล้วทั้งหมด 4 ฉบับด้วยกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน จากการร่างบนพื้นฐานความเห็นของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนทุกคนแล้วยังเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดความร้อนระอุในการเมืองและประสานประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างแท้จริงอีกด้วย

Who is อบจ.

ก่อนจะเลือกตั้ง อบจ. 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้มาทำดูกันก่อนดีกว่าว่าเขาเหล่านี้มีที่มายังไงแล้วมาทำอะไรให้กับพี่น้องประชาชนกันบ้าง

.

‘ ประชามติ ’ ไม่ได้มีที่เดียวในโลก

ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยึดถือเสียงข้างมากเป็นหลักแต่ในขณะเดียวกันก็เคารพในสิทธิและเสียงของข้างที่น้อยกว่า ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเนื่องจากในสังคมมีคนมากมายต่างความคิด ความเห็นกัน ถ้ารัฐตัดสินเพียงฝ่ายเดียวก็จะดูเหมือนการมัดมือชกไปสักหน่อย รัฐจึงต้องมีการเปิดพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิของตน

จึงเกิดรูปแบบที่เรียกว่า ‘ ประชามติ ’ เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกฎหมายหรือนโยบายต่างๆของรัฐซึ่งประชามติ ก็เป็นรูปแบบนึงที่หลายๆประเทศนำมาใช้ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้รูปแบบของประชามติเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็นชอบด้านการเมือง วันนี้ The States Times อยากจะพาทุกคนไปดูว่า ‘ ประชามติ ’ ในแต่ละประเทศเป็นยังไงและมีความแตกต่างกันอย่างไร

.

เครดิตภาพ : https-//www.teenvogue.com/story/the-american-flag-was-sewn-in-part-by-a-teenage-black-girl

.

เริ่มที่ประเทศแรกประเทศที่ใครๆต่างก็รู้จัก ‘ ประเทศสหรัฐอเมริกา ’ ที่ใช้ระบบการปกครองแบบ สหพันธรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ประเทศนี้เขาใช้ประชามติแค่ในระดับมลรัฐเท่านั้น โดยใช้ 2 แบบ คือการให้ออกเสียงประชามติที่เริ่มต้นจัดทําโดยฝ่ายนิติบัญญัติและการออกเสียงประชามติที่เสนอโดยประชาชน ซึ่งทั้งสองแบบเรื่องที่เสนอขึ้นมาจะนำไปใช้ได้หรือไม่ได้ก็ต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชนก่อนดังนั้นการใช้กระบวนการประชามติในสหรัฐฯจึงถือว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้ประชาชนนั้นได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริงแม้จะในระดับมลรัฐก็ตาม

อย่างในกรณีของการลงประชามติในระดับมลรัฐ ซึ่งมีขึ้นที่รัฐออริกอน ที่มีการลงประชามติให้มีการยกเลิกโทษความผิดทางอาญา สำหรับการครอบครองยาเสพติดร้ายแรง เช่นเฮโรอีน หรือโคเคน สำหรับใช้ส่วนตัวในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

.

เครดิตภาพ : https-//th.investing.com/news/economic-indicators/article-22708

.

ประเทศต่อมาคงหนีไม่พ้นประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่ไม่ได้มีดีแค่ธรรมชาติที่สวยงาม แต่ยังเด่นเรื่องประชาธิปไตยทางตรงของพี่เขาอีกด้วย ซึ่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ปกครองในรูปแบบสมาพันธรัฐ ระบบการเมืองของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นเป็นระบบ ‘ ประชาธิปไตยทางตรง ’ อันเป็นกลไกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และด้วยความกระตือรื้อร้นของพลเมืองจึงทำให้เกิดการใช้ระบบประชาธิปไตยทางตรงบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการให้พื้นที่กับประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นอย่างมาก การออกเสียงประชามติในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ไม่เหมือนประเทศไหน ๆ เพราะคนที่ตัดสินว่าจะลงประชามติในเรื่องไหนบ้างไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นรัฐธรรมนูญที่จะมีการกำหนดเรื่องที่ต้องออกเสียงประชามติไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การออกเสียงประชามติยังสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการเรียกร้องจากประชาชนอีกด้วย จะเห็นได้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เองก็ได้นำกระบวนการออกเสียงประชามติมาใช้บ่อยครั้งเพราะด้วยตัวกฎหมายที่ส่งเสริมและประชาชนที่ให้ความสนใจ จึงทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง 

ตัวอย่างในการลงประชามติที่เรียกร้องจากประชาชน ในเรื่องรับแผนประกันเงินเดือนขั้นต่ำของประเทศสวิสเซอร์แลนด์  ถึงแม้ว่าผลของประชามติจะถูกปัดตกไป แต่ก็แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง

.

เครดิตภาพ : https://www.posttoday.com/world/584840

.

การออกเสียงประชามติในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย กึ่งประธานาธิบดี ในปัจจุบันเรื่องที่นำมาให้ประชาชนออกเสียงประชามติมีทั้งหมด 4 กรณี ซึ่ง 3 กรณีเป็นเรื่องระดับประเทศ และอีกกรณีคือเรื่องท้องถิ่นทั่วไป แบ่งได้ง่ายๆคือ การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับร่างกฎหมาย การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในดินแดน และการออกเสียงประชามติระดับท้องถิ่น ซึ่งทั้ง 4 กรณีล้วนผ่านความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้ได้ การออกเสียงประชามติในประเทศฝรั่งเศส จึงเป็นกระบวนการที่มีความสําคัญเป็นอย่างมาก ที่จะเปิดโอกาศให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วยการปรึกษาหารือกับผู้บริหารประเทศ โดยผ่านการตั้งคำถามหรือขอความเห็นในร่างกฎหมายหรือนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ 

อย่างเช่นการลงประชามติปกครองตนเองของแอลจีเรียซึ่งนับว่าเป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติระดับชาติเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในดินแดน

จากประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมาให้ดูนี้ จะเห็นได้ว่าทุกประเทศล้วนปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนมากและให้อำนาจสูงสุดกับประชาชน ด้วยการให้สิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐเพื่อตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลกับตัวประชาชนโดยตรง 

.

ดังนั้น ‘ ประชามติ ’ จึงเป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นเพื่อพื้นที่ในการมีส่วนร่วมและรับฟังเสียงของผู้ที่มีอำนาจที่สุดนั่นก็คือ   ‘ ประชาชน ’

เรื่องม็อบ ๆ ที่เหมาะกับแค่ 'บางวัย'

เมื่อม็อบไม่ใช่ที่ของทุกคน พามาดูเรื่องม็อบ ๆ ที่เหมาะกับแค่ 'บางวัย'

Thailand is the land of compromise.

The States Times ได้รวบรวมความพยายามรัฐบาลไทย ปรองดองแต่ไหนถามใจเธอดู!!


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top