Tuesday, 22 April 2025
POLITICS NEWS

‘ในหลวงรัชกาลที่ 7’ ไม่ยินยอมให้ผู้ใด หรือคณะใดใช้อำนาจของพระองค์ โดยปราศจากการฟังเสียงของประชาชน

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้อง ตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจ และยึดถือของข้าพเจ้า…

“ข้าพเจ้าไม่สามารถยินยอมให้ผู้ใด คณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้น ในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป

“แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยเด็ดขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘คณะราษฎร’ ขอพระราชทานอภัยโทษจากในหลวง รัชกาลที่ 7

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม…

“การที่พวกข้าพระพุทธเจ้าได้ประกาศกล่าวข้อความ ในวันเปลี่ยนแปลงด้วยถ้อยความรุนแรง กระทบกระเทือน ถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ด้วยมุ่งถึงผลสำเร็จทันทีทันใดเป็นใหญ่…

“สมเด็จพระมหากษัตริย์ตราธิราชในพระราชวงศ์จักรี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ได้ทรงมีส่วนนำความเจริญมาสู่ประเทศสยามตามกาลสมัย บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พวกข้าพระพุทธเจ้า มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท…

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสนี้ กราบบังคมทูล ขอพระราชทานอภัยโทษอีกครั้งหนึ่ง เป็นคำรบสองในถ้อยที่ได้ประกาศไป”

คณะราษฎร กราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2475

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘จอมพล ป.’ เขียน ส.ค.ส. “Please อโหสิกรรม” ถึง ‘ปรีดี’

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“Please อโหสิกรรม”

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เขียน ส.ค.ส. ถึง ปรีดี พนมยงค์ ก่อนตนถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2507

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘ลัทธิโกงกิน’ แพร่กระจายไปทั่ว อุดมคติทำงานเพื่อชาติ ไม่มีเหลืออยู่ในจิตใจ

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“เมื่อร่ำรวยไปตาม ๆ กันและถูกอิจฉา จากพรรคพวกเดียวกัน ก็ออกจากราชการโดยสมัครใจบ้าง ถูกบีบบังคับตามวิถีการเมืองบ้าง คณะเผด็จการชุดใหม่ก็ดำเนินการแบบเดียวกับชุดเก่า สร้างภาพพจน์ ฉ้อราษฎร์บังหลวง คอร์รัปชันในวงราชการ เป็นตัวอย่างแก่ข้าราชการชั้นสูง ชั้นผู้น้อยต่อไป ไม่สิ้นสุด…

“ลัทธิโกงกิน แผ่ซ่านไปทั่ววงราชการ ทั้งในเมืองหลวงและต่างจัดหวัด ข้าราชการชั้นผู้น้อยก็เอาเยี่ยงอย่างตัวเบิ้ม ๆ เขากินได้ เราก็ขอกินบ้าง คำน้อย ๆ อุดมคติทำงานเพื่อชาติ ไม่มีเหลืออยู่ในจิตใจ”

ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิทคนสุดท้ายของ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2523

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 27 มิ.ย. 2475 ต้องเกณฑ์ชาวบ้านไปฟัง ทั้งที่ไม่รู้เรื่องอะไร

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“เห็นได้ถนัด เมื่อวันประกาศรัฐธรรมนูญที่พระที่นั่งอนันต์ฯ วันที่ 27 มิถุนายน 2475 ต้องต้อนราษฎรให้เข้าฟังในพระที่นั่งกันเสียแทบแย่ และก็ได้จำนวนราษฎรสักหยิบมือเดียว ไปยืนฟังโดยไม่รู้เรื่องอะไร หากจะมีละครให้ดู และมีเจ๊กก๋วยเตี๋ยวด้วยแล้ว คนจะไปมากกว่านั้นมาก”

พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวหลังจากหลี้ภัยไปยังประเทศเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. 2482

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

หลังการปฏิวัติ มีการกว้านซื้อที่ดินจากชาวไร่นาในราคาถูก เพราะล่วงรู้ความลับทางการว่าจะมีการตัดถนนผ่าน ทำให้มีกำไรกันมากมาย

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“แต่ส่วนใหญ่มีความทะเยอทะยาน ในยศ ในตำแหน่งสูงและเงินต่อไป อีกญาติ ภรรยา และพรรคพวกช่วยหาเงิน โดยพึ่งพาอาศัยอิทธิพล และมีอภิสิทธิ์ในการประมูล ซื้อของให้ราชการ ตนเองได้กำไรมหาศาล… 

“บางคนรู้ความลับราชการในการตัดถนนหนทาง ทั้งในพระนครและหัวเมือง ก็รีบให้ภรรยาและพรรคพวกกว้านซื้อที่ดิน ไร่นา ซึ่งมีราคาต่ำในบริเวณที่จะตัดถนนไป…

“เขาฉลาดใช้ถ้อยคำอธิบายให้ผู้ขายสมัครใจขาย โดยอ้างว่าราคาที่เสนอซื้อนั้นสูงแล้ว เป็นที่ดินไม่มีประโยชน์…เจ้าของไร่นาไม่ฉลาดนัก หลงกลคำพูด...ต่อมาไม่ถึง 6 เดือน ทางการตัดถนนผ่านเข้าไป เขามีกำไรหลายล้านบาท บนกองน้ำตาของชาวไร่ชาวนา”

ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิทคนสุดท้ายของ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2523

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การปฏิวัติไม่ได้เกิดจากความยากจนข้นแค้น การเก็บภาษีอากร หรือความปรารถนาของประชาชน

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ตามที่มีคนเข้าใจว่าที่เกิดปฏิวัติเนื่องมาจากการเพิ่มภาษีอากร และความยากจนข้นแค้นของราษฎรนั้น ไม่มีมูลแห่งความจริงเลย ราษฎรไทยกลัวเจ้าและกลัวนายของเขาทั้งหมดยังกับหนูและแมว…

“...กับที่กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งนี้ย่อมจะต้องราบรื่นอยู่แล้ว เพราะราษฎรมีความต้องการอยู่พร้อมแล้วนั้น ก็ไม่ถูกต้องอีกเหมือนกัน แม้ทุกวันนี้ (พ.ศ. 2482) ความไม่เข้าใจ และความไม่เอาใจใส่ของราษฎรเรา…”

พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวหลังจากลี้ภัยไปยังประเทศเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. 2482

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

หลังการปฏิวัติ เกิดการกอบโกยทรัพย์จนร่ำรวย ซ้ำยังกดขี่ประชาชนไม่ให้สนใจการเมือง

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“เขากดขี่บังคับโดยปริยายไม่ให้ราษฎรเดินดินสนใจในการเมือง เขาผูกขาด ตัดทอน อำนาจปวงชนไปสู่อุ้งมือและกรงเล็บของเขา ตำรวจใหญ่ สร้างอิทธิพล อำนาจทั่วทุกมุมเมือง ขณะเดียวกัน ภรรยา ญาติ ต่างเริ่มกอบโกยเงินอย่างลับ ๆ…

“เมื่อกอบโกยร่ำรวยกันพอควรแล้ว บางคนสำนึกตัวว่า สร้างภาพพจน์ที่เลวลงไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็เริ่มถอยห่าง สละอำนาจเพราะจิตสำนึกในทางดีงาม มีศีล มีธรรม มีสัจจะ”

ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิทคนสุดท้ายของ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2523

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘ปรีดี พนมยงค์’ ยอมรับทำการปฏิวัติ ทั้งที่เข้าใจประชาชนไม่มากพอ

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี…

“ในปี ค.ศ. 1932 ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่
ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน และครั้นข้าพเจ้ามีความชัดเจนมากขึ้นข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ”

ปรีดี พนมยงค์
ให้สัมภาษณ์ ณ บ้านอองโตนี กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2522

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

‘ลัทธิฉ้อราษฎร์บังหลวง’ ลุกลาม ไม่มีใครสนใจจะปราบ มีแต่จะยึดเป็นเยี่ยงอย่าง

มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้าง #ร่างที่เป็น

2475: การเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และการให้อภัย

“ลัทธิฉ้อราษฎร์บังหลวงแพร่ขยายลุกลามใหญ่โต เพราะกินโกงแล้วก็รวยไป ครอบครัวสนุกสุขสำราญ ส่งลูกหลานไปเรียนเมืองนอกเป็นทิวแถว มีคฤหาสน์ใหญ่โตยิ่งกว่าวัง ไม่เห็นมีใครสนใจจะปราบ เพราะปราบไม่ลง กำลังเอาเยี่ยงอย่างกันต่อ ๆ มา…

“การฉ้อราษฎร์บังหลวงแพร่ขยายเต็มที่ ถึงบุคคล ข้าราชการตัวน้อย ๆ บางคนก็เริ่มรู้จักวิธีหาเงินเข้ากระเป๋าตนเอง โดยไม่ละอายใจที่เป็นไปได้ ในทางเลวร้ายถึงเพียงนี้  ก็เพราะมิได้สำนึกถึงคติพจน์ 'จงทำงาน เพื่อตอบแทนบุญคุณชาติ'”

ร.อ.สำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิทคนสุดท้ายของ พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) กล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2523

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธ์ กลุ่มวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top