Friday, 16 May 2025
NEWS

กรมศุลกากร ร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เปิดตู้ของกลางซากสัตว์และสุกรเถื่อน 161 ตู้

วันที่ 5 ก.ค.65 เวลา 09.00 น. นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร มอบหมายให้นางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์ รองอธิบดีกรมศุลกากร และนายสุรเดช ตรงศิริวิบูลย์ ผู้อํานวยการสํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง มอบหมายให้ นายวาริส วิสารทานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการตรวจสอบสินค้า นายฐิติพงศ์ คำผุย ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากร 1 และนายศิริพงษ์ ศุภโกเศรษฐ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากร 2 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมคณะ ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมปศุสัตว์ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ตรวจสอบตู้ของตกค้างประเภทสุกรแช่แข็งที่ตกเป็นของแผ่นดิน จํานวน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเทียบเรือ D1 ท่าเรือแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อํ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่สํานักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง กรมศุลกากร ได้ตรวจยึดซากสุกรแช่แข็งตกค้าง ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จํานวน 161 ตู้คอนเทนเนอร์ จากการตรวจสอบ พบซากสัตว์ที่ยึดได้ทั้งหมดมีแหล่งกําเนิดจากต่างประเทศ และไม่มีแหล่งที่มาอย่างชัดเจน ประกอบกับไม่มีเอกสารรับรองการฆ่าสัตว์หรือสุขศาสตร์ของสัตวแพทย์ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดหรือพาหะของ โรคระบาดสัตว์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ 

ต่อมากรมศุลกากร ได้มีหนังสือถึงกองบัญชาการ ตํารวจสอบสวนกลาง เพื่อให้ดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งในฐานะนิติบุคคลและในฐานะส่วนตัว ในความผิดฐานนําเข้าซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ ที่ 59/2566 กรณี ขบวนการนําเข้าสินค้าประเภท ซากสัตว์ (สุกร) เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ทั้งนี้ กรมศุลกากร ได้มีหนังสือส่งมอบตู้สินค้าประเภทสุกรแช่แข็งตกค้าง ให้แก่ด่านกักกันสัตว์ชลบุรี กรมปศุสัตว์ เพื่อทําลายซึ่งภายหลังจากการตรวจสอบตู้สินค้าดังกล่าวเสร็จสิ้น ด่านกักกันสัตว์ชลบุรี กรมปศุสัตว์จะนําไปทําลาย ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกอบกับระเบียบ กรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการทําลายหรือจัดการ โดยวิธีอื่น ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ที่นําเข้าหรือนําผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ต่อไปเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่ถูกต้อง โปร่งใส สอดคล้องกับพันธกิจ ของกรมศุลกากรด้านการปกป้องสังคมและส่งเสริมเศรษฐกิจของ ประเทศ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี 0909535645

“ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ” จัดอบรมดับเพลิงซ้อมแผนอพยพหนีไฟ ประจำปี 2566 

เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ให้เกียรติมาเป็นประธาน กล่าวเปิดงาน อบรมดับเพลิงและซ้อมแผนอพยพหนีไฟ ประจำปี 2566 ของศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 

โดยมี นายจักรวาล อนุชิตพรชัย ผู้จัดการฝ่ายป้องกันการสูญเสีย ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนอำเภอบางพลี อบต.ราชาเทวะ อบต.บางพลีใหญ่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1 ตัวแทนสำนักงาน ปภ.จังหวัดสมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางพลี เจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ราชาเทวะ สาธารณสุขอำเภอบางพลี ตลอดจน เจ้าหน้าที่ดับเพลิง พนักงาน เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

โดยมีนายยรรยง เกษมวีรศานต์ ผู้จัดการทั่วไปสายบริหารศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ ร่วมให้การต้อนรับ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 8 ที่ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ ได้จัดขึ้นตามกฎกระทรวงแรงงานกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวะอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2556 

ทั้งนี้ ทางศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ของบุคลากร พนักงาน เจ้าของร้านค้า และประชาชนผู้มาใช้บริการ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด โดยในปีนี้ได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2566 การฝึกซ้อมดังกล่าว ได้มีการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง โดยให้พนักงานทำการซักซ้อม ข้อปฏิบัติหากเกินสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการอพยพบุคลากร พนักงาน เจ้าของร้านค้า และประชาชนผู้มาใช้บริการออกจากตัวอาคารสู่พื้นที่ปลอดภัย โดยศูนย์การค้าฯ มุ่งหวังเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะด้านการวางแผนการดับเพลิง วิธีการดับเพลิง การใช้อุปกรณ์ดับเพลิง การระงับเหตุอัคคีภัยในเบื้องต้น เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทดสอบระบบการป้องกันอัคคีภัยภายในศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ อีกด้วย

โดยทางด้าน รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ได้กล่าวชื่นชมศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ ที่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของบุคลากร พนักงาน เจ้าของร้านค้า และประชาชนผู้มาใช้บริการ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด ซึ่งการจัดงานนั้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและซักซ้อมให้บุคลากรมีความเข้าใจในการปฎิบัติตน เมื่อเกิดสถานการณ์จริง รวมถึงเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าฯ ได้มีความพร้อมในการเข้าระงับเหตุ มีการทดสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและเตรียมการด้านระบบสัญญาณแจ้งเหตุอัคคีภัย อีกทั้ง ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานของภาครัฐเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ถือเป็นการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เมื่อเกิดสถานการณ์จริงสามารถเข้าร่วมระงับเหตุได้ด้วยความปลอดภัยและ ถูกต้องตามขั้นตอน สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับบุคลากร พนักงาน เจ้าของร้านค้า และลูกค้าผู้มาใช้บริการ ภายในศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ สุวรรณภูมิ

คิว-ข่าวสมุทรปราการ รายงาน

ผบ.ตร.ผนึกกำลัง 20 กระทรวง พร้อมรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สื่อมวลชน กต.ตร.เปิดรณรงค์ “ร่วมใจ ต้านภัยไซเบอร์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง” สร้างการรับรู้ร่วมกัน

วันที่  5 ก.ค.66 เวลา 09.30 น. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.   พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ  ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พลเอก ธิติชัย  เทียนทอง   เสนาธิการทหาร พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง  ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. ผู้แทนกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย เครือข่ายภาคเอกชนทั้งบริษัทน้ำมัน  ห้างสรรพสินค้า และ สื่อมวลชน  และ กต.ตร. และสถานีตำรวจทั่วประเทศ ร่วมเปิดการรณรงค์ “ผนึกกำลังร่วมใจ ต้านภัยไซเบอร์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง” ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 ตร.

สืบเนื่องจาก คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ “คดีออนไลน์” เป็นอาชญากรรมที่ส่งผลสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชนเป็นอย่างมาก  แม้ว่า ตร.จะพัฒนาระบบแจ้งความออนไลน์ หรือร่วมผลักดัน พระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.66 แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน เพียงแค่ทำให้คดีลดน้อยลง

ผบ.ตร.เห็นว่า การที่จะป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ได้ดีที่สุดนั้น คือการสร้างความรู้    การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อกลโกงของคนร้ายบนโลกออนไลน์  จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งคณะทำงานสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยมีกิจกรรมโครงการณรงค์ต่างๆ ซึ่งทำอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด รวมถึงโครงการรณรงค์ในวันนี้ 

“ผนึกกำลังร่วมใจ ต้านภัยไซเบอร์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง” มีส่วนราชการร่วมดำเนินการ หน่วยงานระดับกระทรวง จำนวน 20 กระทรวง  ประกอบด้วย   สำนักนายกรัฐมนตรี   กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงสาธารณสุข

หน่วยงานระดับกรม จำนวน 9 กรม  ประกอบด้วย กรมที่ดิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการ
ขนส่งทางบก กรมศุลกากร กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการค้าภายใน กรมธุรกิจพลังงาน กรมสอบสวนคดีพิเศษ และกรมสรรพากร

หน่วยงานอิสระ จำนวน 4 หน่วย  ประกอบด้วย สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และสมาคมธนาคารไทย

กองทุนจำนวน 2 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย และ สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ห้างสรรพสินค้า จำนวน 4 แห่ง  ประกอบด้วย ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า ห้างสรรพสินค้าแมคโคร ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส  และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ค้าน้ำมัน จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท เชลล์(แห่งประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่(แห่งประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 

นอกจากนี้ยังมี รัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง สื่อมวลชน จำนวน 11 แห่ง คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจระดับ กองบัญชาการ กองบังคับการ และสถานีตำรวจ ทั่วประเทศ ร่วมรณรงค์โครงการโดยมีมาตรการสำคัญดังนี้ 

1) ร่วมกับทุกภาคส่วนและ กต.ตร.ในการสร้างการรับรู้ ต้านภัยออนไลน์ โดยใช้ข้อความที่เป็นสาระเดียวกันทุกหน่วยงานเป็น“ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง” เพื่อสื่อสารข้อความดังกล่าวไปยังบุคคลากรในหน่วยงาน ประชาชนที่มาติดต่อราชการ หรือลูกค้าที่มาใช้บริการหรือซื้อสินค้า 

2) ร่วมกับภาคการศึกษา อบรมให้ความรู้ภัยโกงทางไซเบอร์ พัฒนาหลักสูตรการเตือนภัยไซเบอร์ให้เหมาะสมกลุ่มเป้าหมายและอายุ พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนต้านภัยไซเบอร์สำหรับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษาในสถานบันการศึกษา

3)ร่วมกับภาคสื่อมวลชน นำเสนอข่าวเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะรายละเอียดขั้นตอนการโกง เพื่อเป็นแนวทางการป้องกัน รวมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่ข้อความ ข่าว รูป ป้ายประชาสัมพันธ์ เนื้อหาเกี่ยวกับเตือนภัยออนไลน์ระหว่างออกอากาศของช่องสื่อ

4) ร่วมกับภาครัฐ ผลิตแอพไซเบอร์วัคซีน 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์  ยังสั่งการให้ทุกกองบัญชาการระดมกวาดล้างอาชญากรรมออนไลน์ทุกประเภท ในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2566 โดยเฉพาะบัญชีม้า ซิมม้า ที่เป็นต้นตอสาเหตุ ฝากเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อเปิดบัญชีม้า ซิมม้า หากถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดจะมีโทษ 
ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ใดเป็นธุระจัดหา โฆษณา ซื้อหรือขายบัญชีจะมีจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 200,0000 บาท ถึง 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากประชาชนมีข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำผิดบัญชีม้า ซิมม้า สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันที 

นอกจากนั้น  เพื่อให้การขับเคลื่อนและกำหนดแนวทางการบังคับใช้ พ.ร.ก. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  ซึ่ง ผบ.ตร. เป็นประธานอนุกรรมการ  ได้มีการประชุมหารือร่วมกับธนาคาร สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เพื่อร่วมกำหนดมาตรการที่สำคัญ ได้แก่   กำหนดเหตุอันควรสงสัยว่ามีหรืออาจจะมีการกระทำความผิด ของสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อระงับการทำธุรกรรม และส่งต่อข้อมูลกันเป็นระบบ ช่องทางติดต่อประสานงาน ทั้ง 21 ธนาคาร ผู้ให้บริการโทรศัพท์ และ ตร.

พร้อมสั่งย้ำทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะการเพิ่ม ครูไซเบอร์ ให้เข้าถึงส่วนราชการ ภาคเอกชน สถานประกอบการ ร้านค้า ชุมชนต่าง เพื่อเข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด เพื่อให้ความรู้ประชาชน “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง” พร้อมแนะนำให้ทำข้อสอบวัคซีน และบอกต่อคนอื่นๆ ให้ทำข้อสอบ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันต้านภัยโกง 

ผบ.ตร.กล่าวว่า  “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการรับแจ้งความออนไลน์ ผ่านศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com  หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1441 นับ

ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 30 มิถุนายน 2566 พบว่ามีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์ จำนวน  287,122 คดี เฉลี่ยวันละกว่า 800 คดี รวมมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท  มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุดยังเป็นคดีเดิมๆ 5 อันดับ ได้แก่  อันดับ 1)  คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ   3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) หลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ 5) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (คอลเซ็นเตอร์) 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์  แถลงข่าวเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ  ในหลายวิธี  หลายช่องทาง  เพื่อให้ประชาชนได้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์  แต่ปรากฏว่ายังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อของคนร้ายอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงพิจารณาแล้วว่าภัยอาชญกรรมไซเบอร์เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันดำเนินการ   จึงได้เชิญหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐ  เอกสาร สื่อมวลชน  และ คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ ทำพิธีเปิดการรณรงค์ “ผนึกกำลังร่วมใจ ต้านภัยไซเบอร์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง” โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์โดยใช้ข้อความที่เป็นสาระสำคัญ เดียวกันคือ “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน รู้ทันกลโกง”

และขอประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนได้ทำแบบทดสอบ  วัคซีนไซเบอร์ จำนวน 40 ข้อ   ซึ่งได้รวบรวมมาจากกลโกงของคนร้ายและสิ่งที่ประชาชนควรรู้  เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีความรู้ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์อีกทางหนึ่ง และขอให้บอกต่อเพื่อทำแบบทดสอบเพื่อให้มีความรู้เป็นภูมิคุ้มกันภัยกันทุกคน และเพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ เชื่อว่าไซเบอร์วัคซีนนี้  ถือเป็นวัคซีนที่ดี เมื่อได้รับภูมิแม้เพียงครั้งเดียว ก็จะสร้างภูมิคุ้มกันได้ต่อเนื่องตลอดไป  ถ้าคนไทยทุกคนได้รับวัคซีนนี้อย่างทั่วถึง  จะเป็นการป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ได้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้ผ่านทาง www.เตือนภัยออนไลน์.com  Facebook https://www.facebook.com/เตือนภัยออนไลน์  หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือโทรสายด่วน 1441 “

ตำรวจไซเบอร์เผยกลโกงขบวนการซื้อขายบัญชีม้า-ซิมม้าในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เร่งตามจับกุมทั้งขบวนการ ล่าสุดจับกุมบัญชีม้าตัดวงจรหลอกลวงออนไลน์

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ สั่งการให้ตำรวจไซเบอร์ทุกกองบังคับการ เร่งติดตามจับกุมคนร้ายคดีอาชญากรรมออนไลน์ทุกประเภท  ซึ่งจากการสืบสวนพบว่าคดีออนไลน์ต่าง ๆ มักมีการใช้บัญชีม้า ซิมม้า ในการหลอกลวงพี่น้องประชาชน ดังนั้น จึงได้สั่งการให้ตำรวจไซเบอร์เร่งกวาดล้างจับกุมบัญชีม้า ซิมม้า เพื่อตัดวงจรการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก

ล่าสุด พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 และ พ.ต.อ.อภิรักษ์ จำปาศรี ผกก.1 บก.สอท.3 สั่งการจับกุมผู้ต้องหาบัญชีม้าในพื้นที่ จ.ขอนแก่น หลังสืบทราบว่ามีขบวนการซื้อขายบัญชีธนาคารผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ โดยพบว่าขบวนการดังกล่าวจะมีมิจฉาชีพใช้บัญชีทวิตเตอร์ ชื่อ “ขายบัญชี” จำหน่ายบัญชีธนาคาร พร้อมซิมโทรศัพท์มือถือแบบลงทะเบียนแล้ว หากมีผู้สนใจมิจฉาชีพก็จะให้แอดไลน์ ชื่อ “timeout” เพื่อแชทพูดคุยขายบัญชีธนาคาร พร้อมบัตรกดเงินสด (ATM) และซิมโทรศัพท์มือถือพร้อมใช้งาน ในราคา 5,000 บาท จากนั้นหากผู้สนใจตกลงซื้อ มิจฉาชีพกลุ่มนี้ก็จะให้โทรศัพท์ติดต่อกับผู้ร่วมขบวนการอีกคนใช้ชื่อว่า “นัท”ซึ่งเป็นคนประสานหาคนเปิดบัญชีม้า และซิมม้าพร้อมใช้ เพื่อนำมาจำหน่ายต่ออีกทอดเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.สอท.3 นำโดย พ.ต.ท.ประภาส ถ้ำเหม รอง ผกก.1 บก.สอท.3 และร.ต.อ.วิชัย จำปา รอง สว.กก.1 บก.สอท.3 สืบสวนและวางแผนจับกุม โดยติดต่อซื้อบัญชีธนาคาร บัตรกด เงินสด และซิมโทรศัพท์มือถือพร้อมใช้งาน จากแก๊งดังกล่าว และมีการนัดหมายส่งมอบที่หน้าบ้านหลังหนึ่ง พื้นที่หมู่ 2 ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น พบ น.ส.ศิริรัตน์ ฯ นำสินค้ามาให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแสดงตัวและจับกุม

จากการสอบสวนเบื้องต้น น.ส.ศิริรัตน์ ฯ ให้การว่า ได้รับค่าจ้างเปิดบัญชีครั้งละ 700 บาท ส่วนซิม โทรศัพท์มือถือได้ไปซื้อจากร้านสะดวกซื้อและลงทะเบียนเป็นชื่อตนพร้อมใช้งาน ซึ่งทำมาแล้ว 5 ครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงแจ้งข้อหา “เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด” ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 มาตรา 9 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ต.อ.อภิรักษ์ ฯ เปิดเผยว่า การจับกุมกวาดล้างซิมม้า บัญชีม้า ถือเป็นการตัดวงจรการหลอกลวงออนไลน์ เพราะเป็นฐานรากต้นตอของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ตำรวจไซเบอร์จะติดตามจับกุมทั้งขบวนการมาดำเนินคดีอย่างแน่นอน ทั้งนี้ เตือนพี่น้องประชาชนหากบัญชีธนาคาร หรือซิมโทรศัพท์มือถือที่ท่านให้หรือขายให้บุคคลอื่น ถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิด ท่านอาจจะถูกดำเนินคดีในฐานะเป็นตัวการร่วม หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด และหากรับจ้างเปิดบัญชีม้า หรือซิมม้าจำนวนมาก จะต้องรับโทษเพิ่มขึ้นตามจำนวนบัญชีธนาคารและซิมโทรศัพท์มือถือที่ได้ให้บุคคลอื่นนำไปใช้ในการกระทำความผิด

ทั้งนี้ หากประชาชนเคยหลงเชื่อขายซิมโทรศัพท์มือถือ หรือบัญชีธนาคาร ให้กับบุคคลอื่น ขอให้รีบไปติดต่อกับค่ายโทรศัพท์มือถือหรือธนาคารของตน เพื่อขอยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์หรือปิดบัญชีธนาคารดังกล่าวโดยเร็ว และหากพบเห็นการประกาศรับซื้อซิมโทรศัพท์มือถือหรือบัญชีธนาคาร แจ้งได้ที่สายด่วนตำรวจไซเบอร์1144 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สอบถามเพิ่มเติม : พ.ต.ท.ประภาส ถ้ำเหม รอง ผกก.1 บก.สอท.3 โทร. 08 1699 1119
*********************************************
ขอบคุณที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

‘สทนช.’ คาด ‘เอลนีโญ’ ส่งผลกระทบทำไทยแล้งนาน 2 ปี ห่วงภาคกลางต้นทุนน้ำเหลืออยู่เพียงร้อยละ​ 17​ เท่านั้น

เมื่อวานนี้ (4 ก.ค. 66) นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและการรับมือกับภาวะภัยแล้ง-น้ำท่วม โดยวิเคราะห์ว่า ปีนี้ ไทยต้องเผชิญกับภัยแล้งและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ สิ่งที่เป็นกังงวลคือเรื่องของภัยแล้ง เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันปริมาณฝนตกทั่วประเทศเฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติ คือ ร้อยละ 25 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างลงมาลุ่มเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่กลุ่มฝนจะไปตกทางภาคใต้และลุ่มแม่น้ำมูลของภาคอีสาน การบริหารจัดการน้ำจึงต้องประหยัดและทำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ พร้อมจัดหาแหล่งน้ำสำรองให้ได้มากที่สุด

ปัจจุบันแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีน้ำอยู่ร้อยละ 29 หรือ 1 หมื่น 5 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตร จัดสรรปล่อยน้ำให้ประชาชนใช้ไปแล้วร้อยละ 10 หรือประมาณ 6 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสิ่งที่ศุนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ เป็นกังวล คือการทำเกษตร เพราะหากประชาชนยังเพาะปลูกต่อเนื่อง โอกาสภัยแล้งมีโอกาสจะกระทบไปถึงปีหน้า

นอกจากบริหารจัดการการใช้น้ำแล้ว ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ ยังประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรธณี เพื่อวางแนวทางร่วมกัน คือ การจัดหาแหล่งน้ำสำรอง ปรับแผนขุดเจาะน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีแหล่งน้ำบาดาลสำรองสำหรับใช้อุปโภคบริโภค 200 แห่ง แหล่งน้ำบาดาลเพื่อทำเกษตรขนาดใหญ่ 200 แห่ง และยังมีแหล่งน้ำบาดาลที่ยังใช้งานไม่ได้จะต้องซ่อมแซมปรับปรุงอีก 1 พันกว่าแห่ง

ส่วนพื้นที่รับน้ำแก้มลิง มีทุ่งบางระกำและทุ่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่ปัจจุบันยังจัดสรรน้ำให้ประชาชนในการเพาะปลูกอยู่เพื่อพร่องน้ำไว้รับมือกับน้ำหลากน้ำท่วมหากฝนตก คาดว่าการทำเกษตรของประชาชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม

ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติเน้นย้ำว่าผลกระทบจากเอลนีโญ่จะส่งผลให้เกิดภัยแล้งไปอีก 2 ปี ทุกหน่วยงานจึงต้องมีความพร้อมรับมือบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน จะพยายามไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด หากพื้นที่ไหนเช่นนอกเขตชลประทาน น้ำอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอก็จะจัดหาน้ำเข้่ไปช่วย ทั้งนี้มีความกังวลในพื้นที่ภาคกลางมากสุด โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตติ์ แควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เนื่องจากมีการใช้น้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในปริมาณมาก โดยปัจจุบันภาคกลางเหลือน้ำต้นทุนอยู่เพียงร้อยละ 17 เท่านั้น

‘พลายประตูผา’ ช้างไทยอีกเชือกในศรีลังกา สภาพผอม-อิดโรย หลังถูกพาตัวออกนอกวัด เพื่อเลี่ยงไม่ให้เจอทีม จนท.ไทย

เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 66 เหล่าคนรักช้างเป็นห่วง หลังมีข่าวพบ ‘พลายประตูผา’ 1 ใน 3 ช้างไทยในศรีลังกา ถูกพาตัวไปนอกพื้นที่วัด เพื่อเลี่ยงไม่ให้เจอกับคณะทีมงานไทย ก่อนจะมีภาพพ่อพลายแพร่ออกมาว่อนเน็ต ว่าสภาพผอมอิดโรยชรามากแล้ว

‘พลายประตูผา’ เป็นช้างไทยมีอายุประมาณ 49 ปี ที่ทางการไทยส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี ตั้งแต่ พ.ศ.2522 จนถึงปัจจุบันนี้รวมเวลา 44 ปี ที่พลายประตูผาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา

ซึ่งตามข้อมูลพลายประตูผา อยู่ที่วัด Sri Dalada Maligawa เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา แต่เมื่อมีข่าวว่าจะมีคณะของไทยเข้าเยี่ยม ทางวัดได้พาพลายประตูผาย้ายไปที่อื่น อ้างว่าช้างกำลังตกมัน ไม่ให้เข้าเยี่ยม

ด้าน ดร.ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาพระพุทธศาสนา-วิทยาลัยสงฆ์ ชาวไทยที่อยู่ศรีลังกา ได้ออกตามหาพลายประตูผาจนพบ พร้อมวอนให้ช่วยพาพลายประตูผากลับไทยด้วย

โดย ดร.ชญาน์นันท์ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก ข้อความส่วนหนึ่งว่า…

“ให้พลายประตูผาได้รับเพียงการเยี่ยมเยียนก็ยังดี เพื่อช่วยคลายโซ่ที่มัด 3 ขาจนเป็นแผล มีรอยแผลยับเยินและรีบใช้ยาดี รวมถึงทีมสัตวแพทย์ช่วยกันรักษานะคะ… กล้าหาญเพื่อพลายประตูผาอีก 1 เชือกที่กำลังรอคอยคนไทยนะคะ เอาใจช่วยพ่อพลายประตูผา ให้ได้รับการดูแลให้ดีกว่า หรือจะให้ดีที่สุด ให้พ่อพลายได้กลับไทยสู่บ้านเกิดด้วยนะคะ”

'ส.ว.สมชาย' เผยความในใจ หลังเพลงสรรเสริญพระบารมี กึกก้องรัฐสภา ลั่น!! ขอเป็นปรากฏการณ์ใหม่แด่คนไทยผู้จงรักกล้าลุกขึ้นยืนร้องเพลงนี้

ไม่นานมานี้ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

#ความในใจ ส.ว.รวมใจ 
#เพลงสรรเสริญพระบารมี 
#แม้เหลือคนเดียวทั้งโรงเราก็จะยืน 

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2566 พวกเรา ส.ว. ทุกคนตกลงใจกัน โดยขอทำผิดธรรมเนียมเดิม จึงประสานเร่งด่วนยังผู้เกี่ยวข้อง เพื่อทราบว่า สมาชิกจะขอร้องเพลงสรรเสริญ ในงานพระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภาต่อหน้าพระองค์ท่าน เดิมตั้งใจและประสานงานว่า จะขอร้องเพลงในช่วงส่งเสด็จ แต่อย่างไรไม่ทราบ ผิดคิวนัดหมายตั้งแต่ต้น ทันทีที่ดนตรีบรรเลงขึ้นในช่วงรับเสด็จ ใครบางคนขึ้นต้นเสียงเริ่มร้องขึ้น ส.ว. ทุกคนก็เปล่งเสียงร้องตามกันดังขึ้นกึกก้องห้องประชุมต่อหน้าพระพักตร์โดยมิได้นัดหมาย 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คงทรงแปลกพระทัยเล็กน้อยกระมัง ขณะที่สมเด็จพระราชินีฯ ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยตลอดเวลา เมื่อทรงมีพระราชดำรัสเปิดประชุมรัฐสภาต่อสมาชิกรัฐสภาจบเรียบร้อยแล้ว จึงถึงคิวนัดหมายจริง ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกครั้ง

สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่างร่วมร้องเพลงนี้กันอย่างพร้อมเพรียงกึกก้องจากหัวใจ ยังความปลื้มปิติยิ่งแก่พวกเราเหล่าสมาชิกที่อยู่ให้พระราชพิธี และถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจโดยมีพี่น้องประชาชนคนไทยที่จงรักภักดีได้ร่วมรับฟังและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีไปพร้อมกัน

วันนี้ปลื้มปิติและอิ่มเอมใจมากครับ ที่ภารกิจเร่งด่วนของพวกเราในฐานะสมาชิกวุฒิสภาและพสกนิกรผู้จงรักภักดี สำเร็จลุล่วงงดงามยิ่ง แม้จะดูผิดธรรมเนียมจากเดิมไปบ้าง เพราะเป็นการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีพร้อมดนตรีบรรเลงในงานรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเท่าที่ผมเคยเข้าร่วมพิธีมาอย่างน้อย 3-4 ครั้ง ในระยะเวลา 17 ปีที่ทำหน้าที่สมาชิกสภาแห่งนี้ แต่เชื่อมั่นว่า เสียงร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เกิดขึ้นวันนี้จะจารึกในหัวใจพวกเราตลอดไป และจะเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่คนไทยผู้จงรักภักดีจะกล้าลุกขึ้นยืนร้องเพลงนี้ร่วมกันให้ดังกึกก้องตลอดไป เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า พวกเราจะทำหน้าที่ปกป้องชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ และประชาชนตลอดไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
สมชาย แสวงการ
สมาชิกวุฒิสภา

ผบ.ตร.พร้อม พระธรรมวชิรเมธี ร่วมภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ 'มินิธัญญารักษ์' สถานฟื้นฟูฯ ผู้ติดยาเสพติด ผุดโครงการนำร่องตั้งศูนย์บำบัดฟื้นฟูตามแนวทางแพทย์สมัยใหม่ คืนคนดีสู่สังคม ผู้ประกอบการรับไม้ต่อสร้างอาชีพเพื่อความยั่งยืน

วันนี้ (4 ก.ค.66) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พร้อมด้วย  พระธรรมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค 1 เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร , พระราชธรรมเมธี เจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี  เจ้าอาวาสวัดโค้งสนามเป้า, นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย , นายแพทย์ยงยศ  ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข , นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร  รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ,พล.ต.ท. ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.ณัฐ สิงห์อุดม ผบช.ตชด., พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.ภ.2 , พล.ต.ต.ผดุงศักดิ์ รักษาสุข ผบก.ภ.จว.จันทบุรี พร้อมส่วนราชการ ผู้นำชุมชน แขกผู้มีเกียรติร่วมพิธี และเปิดโครงการจัดตั้งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว “มินิธัญญารักษ์” ณ ศูนย์จันทารักษ์ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน 115 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี

การจัดตั้งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว “มินิธัญญารักษ์” เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ที่กำหนดให้ปัญหายาเสพติด เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไข ซึ่งโครงการนี้สามารถสนับสนุนงานของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยในด้านการบำบัด ฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ที่ผ่านการบำบัดจากสถานพยาบาลยาเสพติด เข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพและฟื้นฟูสภาพทางสังคม โดยใช้สถานที่และกำลังพลของ ตชด.และภาคีเครือข่ายร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการภายใต้การดูแลของจังหวัด ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ประกอบการ โรงงานจะเข้ามารับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เข้าทำงานให้สามารถมีอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ต่อไป

ซึ่งโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับโครงการชุมชนยั่งยืน และโครงการค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด ผู้มีอาการทางจิตและผู้ป่วยจิตเวช นำเข้าบำบัดรักษาตามประมวลกฎหมายยาเสพติด และ พ.ร.บ.สุขภาพจิตฯ โดยบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งดำเนินการทั่วประเทศประสบความสำเร็จ สามารถส่งคืนผู้เสพเป็นคนดีสู่สังคม ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืน 15 หมู่บ้าน/ชุมชน เป้าหมายประชากรที่ต้อง X-RAY 7,913 คน ดำเนินการครบ 100 เปอร์เซ็นต์ พบสารเสพติด 196 คน นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดในชุมชนตนเองฯ และค้นหาอีก 749 หมู่บ้าน/ชุมชน พบว่า มีผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด และผู้ป่วยจิตเวชที่มีสาเหตุจากการใช้ยาเสพติด รวมกว่า 1,973 คน เพื่อเข้าโครงการฯ ต่อไป

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ กล่าวว่า “ขอชื่นชมโครงการจัดตั้งสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว “มินิธัญญารักษ์” จ.จันทบุรี ซึ่งเกิดขึ้นจากดำริของ พระธรรมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค 1 เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร นำคณะสงฆ์ในพื้นที่ ร่วมกับ ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายร่วมกัน ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู  ตามกระบวนการทางการแพทย์แบบใหม่ โดยมุ่งเน้นที่จะฟื้นฟูผู้ป่วยแบบบูรณาการหลายมิติ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ดังนั้น การลงนามความร่วมมือและเปิด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดระยะยาว “มินิธัญญารักษ์” ในครั้งนี้ จะเป็นการวางระบบการทำงานแบบบูรณาการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ได้ปรับสภาพร่างกาย จิตใจ และมีทัศนคติที่ดี สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งจะได้นำโมเดลความสำเร็จนี้ ขยายไปใช้ในพื้นที่อื่นๆต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดความยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาลต่อไป”

เปิด 7 สัญญาณเตือน ที่ทำให้ลูกคุณเปลี่ยนไป หลัง ‘เพื่อน-โรงเรียนใหม่’ เปลี่ยนเขาเป็น ‘เหยื่อ’

(4 ก.ค. 66) หลังจากที่ทุกสถานศึกษาได้เปิดเรียนมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง เด็กๆ หลายคนอาจจะกำลังปรับตัวการกับการเข้าเรียนในโรงเรียนแห่งใหม่ หรือเจอเพื่อนใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่อาจจะมีการไม่เข้าใจ ทะเลาะ หรือกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่บางครั้งก็อาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) มีวิธีแนะนำสำหรับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ควรสังเกตอาการของลูกหลาน หากมีพฤติกรรมเหล่านี้ ควรสอบถามและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาจมีความเป็นไปได้ว่าบุตรหลานของท่านจะถูกทำร้ายที่โรงเรียน

1.) บาดแผลตามร่างกาย
รอยแผลที่เกิดจากการถูกทำร้ายบางครั้งอาจจะเป็นรอยช้ำนิดหน่อย แต่เป็นรอยฟกช้ำที่ดูผิดปรกติ เช่น รอยถูกหยิก หรือหูที่บวมแดง รอบบวมตามแขน ขา เป็นต้น

2.) พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
อาจมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกจากเดิม ตกใจง่าย มีปัญหาการเข้ากับเพื่อน หรือไม่ยอมไปโรงเรียน หรือแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การนอนสะดุ้งจากฝันร้าย หรือกลับไปฉี่รดที่นอนอีกครั้ง

3.) ความเงียบไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป
เด็กหลายคนที่ถูกทำร้ายเลือกที่จะเงียบมากกว่าโวยวาย เพราะเด็กกลัวว่าเขาจะถูกทำร้ายมากขึ้น หรือแม้แต่กลัวว่าจะเข้ากับสังคมที่โรงเรียนไม่ได้ เด็กบางคนเลือกที่จะเงียบ เมื่อลูกเกิดเงียบจนผิดปกติ คุยน้อยลงจนน่าแปลกใจ หรือถามคำตอบคำแทนที่จะร่าเริง ให้คิดว่าอาจจะเกิดเรื่องขึ้นได้

4.) อารมณ์รุนแรง
การถูกทำร้ายร่างกายนั้นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ๆ และยังอาจจะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น เหม่อลอย ขี้ลืม สมาธิสั้น โกรธโมโหง่าย ฉุนเฉียวง่าย ที่อาจจะเกิดจากความคับข้องใจที่ต้องการระบาย บางคนแสดงออกด้วยความก้าวร้าว ต่อต้าน

5.) เริ่มมีการใช้ความรุนแรง
เห็นว่าการใช้ความรุนแรงอย่างการทำร้ายร่างกายทำให้เกิดผลดีได้ เช่น การที่เห็นเพื่อนโดนครูตีแล้วหยุดดื้อ หรือการที่เพื่อนโดนครูหยิกแล้วหยุดคุยกัน ทำให้เด็กแปรผลของพฤติกรรมทางลบนั้นเป็นเรื่องบวก ทำให้เกิดการเลียนแบบโดยใช้ความรุนแรง เพราะเขามองว่าความรุนแรงยุติปัญหาได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ๆ

6.) ขาดความมั่นใจ
ถ้าอยู่ ๆ ลูกเคยทำอะไรได้ แต่กลับไม่กล้าทำ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเอะใจสักนิดว่าเกิดอะไรขึ้นที่โรงเรียนหรือไม่ อาจจะต้องใช้วิธีให้กำลังใจก่อนจะค่อย ๆ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พร้อมกับให้คำแนะนำ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และให้แนวคิดที่ถูกต้อง

7.) การกินและการนอนที่เปลี่ยนไป
เด็กที่ถูกทำร้ายอาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมหลายอย่าง เด็กอาจจะเศร้าจนกินได้ไม่มากเท่าเดิม หรือนอนฝันร้าย นอนสะดุ้ง ปัสสาวะรดที่นอน เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอะใจว่าอาจจะเกิดเรื่องไม่ดีที่โรงเรียนอย่างแน่นอน

การตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในวัยเด็กนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ หลายคนอาจคิดว่าโตขึ้นเด็กคงลืมได้ แต่แท้จริงแล้วความรุนแรงนั้นจะแฝงอยู่จนเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้น พวกเขาจะเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา เพราะเรียนรู้ในวัยเด็กว่า ความรุนแรงนั้นยุติปัญหาได้จริง ดังนั้นจึงขอให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรสังเกตอาการของลูก ๆ หลาย ในเบื้องต้น เพื่อป้องกันเด็กถูกทำร้าย และป้องกันตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในโรงเรียน

‘4 หนุ่ม’ วงแตก!! แก๊สกระป๋องหม้อไฟชาบูระเบิด รู้สึกกลัว!! แต่ในมือยังถือ ‘ถ้วย-ตะเกียบ’ แน่น

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 66 ผู้ใช้ติ๊กต็อกที่ใช้ชื่อว่า ‘a2tuinho100991’ โพสต์คลิปวิดีโอไว้เป็นอุทาหรณ์สายชาบูทั้งหลาย เผยว่า ขณะกำลังนั่งกินชาบูหม้อไฟพร้อมกับเพื่อนรวม 4 คน แต่ความอร่อยต้องมาสะดุด เมื่อที่บริเวณใส่ขวดแก๊สเปิดออก หลังจากนั้นไม่ถึง 3 วินาที เตาระเบิดทันทีทำให้ 3 หนุ่มวิ่งหนี แต่อีก 1 หนุ่มยังอึ้งกับเหตุการณ์และที่มือยังถือถ้วยและตะเกียบไว้แน่น

โดยเจ้าของคลิป ยังระบุข้อความไว้ว่า “มองย้อนกลับไปตอนนี้ยังรู้สึกกลัวอยู่ ระวังกันด้วยนะทุกคน สบายดี”

สช.นราธิวาส จัดพิธีเปิดและส่งมอบนักศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เชื่อมสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ

นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับ คณะ นักศึกษาภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย ณ ห้องประชุมใยลานี  ชั้น 3 อาคาร 16 โรงเรียนดารุสสาลาม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส นายสนั่น เปิดเผยว่าโครงการที่จัดขึ้นถือว่าเป็นโครงการที่ดีมากถือว่าเป็นครั้งแรกของสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส นอกจากจะเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างประเทศอินโดนีเซียที่เปรียบเสมือนเป็นบ้านพี่เมืองน้องของเราแล้วยังทำให้น้องน้องเยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ที่แปลกใหม่ของอินโดนีเซีย และสามารถนำประสบการณ์สิ่งดีในพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้ของเรา กลับไปเผยแพร่ให้กับพี่น้องในประเทศอินโดนีเซียได้รับรู้ต่อไป

ทางด้านนายภิญญา รัตนวรชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การจัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-สาธารณรัฐอินโดนีเซียมีวัตถุประสงค์ คือ เป็นการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีต่อกันโดยใช้กระบวนการจัดการศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การศึกษาซึ่งกันและกัน พัฒนาศักยภาพและทักษะทางภาษา และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของทั้ง 2  ประเทศ และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ…

สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส เห็นความสำคัญของการสร้างมาตรฐานการจัดการศึกษา เพื่อยกระดับความสำเร็จในการจัดการศึกษากับต่างประเทศ จึงได้จัดโครงการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนของสาธารณรัฐอินโดนีเชีย โดยได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาไทย-สาธารณรัฐอินโดนีเชีย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งจากการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จะดำเนินการส่งนักศึกษาเข้าแลกเปลี่ยนในโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส ซึ่งในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวน 75 คน มีระยะเวลาในการแลกเปลี่ยนจำนวน 3 เดือน ระหว่างวันที่กรกฎาคม 2566 ถึง 2 ตุลาคม 2566 มีโรงเรียนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 38 แห่ง โดยเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 26 แห่งและสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส จำนวน 12 แห่ง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดป้องกันและปราบปรามการแข่งรถในทาง มอบหมาย ผู้ช่วย ผบ.ตร.ขับเคลื่อน วาง 9 มาตรการเข้ม แก้ไขปัญหาเด็กแว้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ที่ตระหนักและให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการแข่งรถในทางของเด็กและเยาวชน (เด็กแว้น) อันเป็นปัญหาที่สร้างอุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน และสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชนในชุมชนและสังคม จึงได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการแข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปข.ตร.) โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. เป็น ผอ.ศปข.ตร. และมี พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็น รอง ผอ.ศปข.ตร. เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการแข่งรถในทาง โดยใช้นโยบายบังคับใช้กฎหมาย ใน 4 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการก่อนเกิดเหตุ มาตรการขณะเกิดเหตุ มาตรการสอบสวนขยายผล และมาตรการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวว่า วันนี้ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อน ศปข.ตร. และกำหนดแนวทางมาตรการปฏิบัติในห้วงต่อไปในปี พ.ศ.2566 โดยมีผู้แทนหน่วย บช.น., ภ.1 - 9 และ บก.ทล. พร้อมด้วยหัวหน้าสถานีตำรวจ 1,484 สถานีทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล รับฟังรายงานการบันทึกข้อมูลในระบบ CRIME และสถิติการดำเนินการ สถิติการร้องเรียนผ่านทางศูนย์รับแจ้งเหตุ 191 และ 1599 พร้อมการวิเคราะห์จัดกลุ่มความเสี่ยงของพื้นที่ สน./สภ. และสรุปผลการป้องกันปราบปราม ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการแข่งรถในทางที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ และความคืบหน้าการจ่ายเงินรางวัลเบาะแส เป็นต้น

พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวต่อว่า ได้กำหนดมาตรการปฏิบัติและกำชับให้หน่วย บช.น., ภ.1 - 9 และ บก.ทล. นำไปขับเคลื่อนเพื่อป้องกันและปราบปรามการแข่งรถในทางและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงต่อไปในปี พ.ศ.2566 โดยกำชับให้เพิ่มความเข้มในการปฏิบัติ ดังนี้

1. ให้ทุกหน่วยระดมกวาดล้างจับกุมและเพิ่มความเข้มในมาตรการป้องกันปราบปรามการแข่งรถในทาง ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น การรวมกลุ่มหรือมั่วสุมในลักษณะหรือโดยพฤติการณ์ที่น่าจะเป็นการนำไปสู่การแข่งรถในทาง โดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายใน 4 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการก่อนเกิดเหตุ มาตรการขณะเกิดเหตุ มาตรการสอบสวนขยายผล และมาตรการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

2. เร่งรัดกวดขันตรวจสอบการกระทำความผิดทุกช่องทาง และเพิ่มความเข้มในการระดมกวาดล้างจับกุม ทั้ง ONLINE เช่น คลิปการแข่งรถ, การขับรถที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย, ร้านค้าออนไลน์ ฯลฯ และ ON GROUND เพิ่มความเข้มออกตรวจตรา แหล่งมั่วสุม จุดนัดหมาย ร้านจำหน่ายอะไหล่ ร้านซ่อมดัดแปลงสภาพรถ ร้านแต่งซิ่ง โรงงานและร้านขายท่อไอเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน ตลอดจนเส้นทาง ถนนที่มีความเสี่ยงในพื้นที่ ฯลฯ ดำเนินการตามกฎหมายกับตัวการ และสอบสวนขยายผลไปยังผู้สนับสนุน เช่น ผู้ผลิต จำหน่าย ประกอบ ดัดแปลง ยุยงส่งเสริม Admin page และกองเชียร์ ตรวจยึดรถต้องสงสัย พร้อมจัดทำประวัติผู้กระทำผิดและมีพฤติกรรมเสี่ยง

3. กรณีมีการชักชวนรวมกลุ่มมั่วสุมแข่งรถในทาง หรือออกทริปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล วันหยุดราชการและวันหยุดต่อเนื่อง ในห้วงเดือน ก.ค. - ส.ค.66 ให้ดำเนินการตามมาตรการที่ ตร. กำหนด ตั้งแต่พื้นที่ต้นทาง พื้นที่กลางทาง จนถึงพื้นที่ปลายทาง ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อกวดขันวินัยจราจร ตรวจสอบและป้องปรามให้ครอบคลุม และให้หน่วยพื้นที่ต้นทางประชาสัมพันธ์กับ Admin Page ให้ระงับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และประชาชนที่พักอยู่ริมทางและลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ หากมีการรวมกลุ่มออกทริปท่องเที่ยวเกิดขึ้นแล้ว ให้ สน./สภ. บูรณาการกำลังทุกฝ่ายให้ยุติกิจกรรมพร้อมติดตามจับกุมให้ได้โดยเร็ว หากเกี่ยวข้องในหลายพื้นที่ ให้บูรณาการข้อมูลและการปฏิบัติ ระหว่างพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 

4. ในช่วงเปิดภาคเรียน ให้ดำเนินโครงการ เปิดโรงเรียน เปิดโรงรถ พร้อมทั้งเครือข่ายเยาวชนก่อการดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้ ป้องปรามและปรับเปลี่ยนเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ให้กลับตัวเป็นคนดี มีจิตอาสา มุ่งสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

5. ให้ความสำคัญการรับแจ้งเหตุและร้องเรียนในทุกช่องทาง โดยให้ กก.สส.บก.น./ภ.จว. ร่วมกับงานสืบสวน ของ สน./สภ. เร่งรัดตรวจสอบและดำเนินการ เน้นการสืบสวนหลังเกิดเหตุให้ได้ตัวผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีทุกราย เพื่อป้องปรามไม่ให้กลับมากระทำความผิดอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับแจ้งเหตุทางศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจสอบทุกเหตุ แล้วรายงานให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบตามความเป็นจริง 

6. ในห้วงที่ผ่านมา พบว่าสถิติการรับแจ้งเหตุฯ ของบางหน่วย มีแนวโน้มสูงขึ้น ให้หน่วยทุกระดับนำข้อมูลการรับแจ้งเหตุและพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ของศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191, 1599 และข้อมูลในระบบ CRIMES มาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนและกำหนดมาตรการในการป้องกันปราบปรามเหตุเพื่อป้องกันเหตุและลดอุบัติเหตุ ให้เท่าทันต่อสถานการณ์ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสืบสวนจับกุมให้ได้ทุกราย 

7. ให้ผู้บังคับบัญชาสุ่มตรวจและทดสอบการปฏิบัติ กรณีเมื่อได้รับแจ้งเหตุแข่งรถในทาง ผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 และช่องทางอื่นๆ เพื่อทดสอบการดำเนินการทั้งระบบ เช่น การรับแจ้งและประสานงาน การเดินทางไปที่เกิดเหตุ การเข้าระงับเหตุและดำเนินคดี การรายงานผลการปฏิบัติ เพื่อกระตุ้น แก้ไขปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติ 

8. แสวงหาความร่วมมือ ข้อมูลและเบาะแสจากเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่และช่องทางอื่นๆ ทุกช่องทาง ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนรับทราบ กรณีผู้ให้ข้อมูลหรือเบาะแสที่สามารถนำไปสู่การจับกุมความผิดแข่งรถในทาง จะได้รับค่าตอบแทน รายละ 3,000 บาท โดยสามารถแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสได้ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191, สายด่วน 1599 และ ศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร.

9. กรณีมีการจัดการแข่งขันรถ อันมีลักษณะเป็นเทศกาลประจำในพื้นที่ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกการจราจร และป้องกันอุบัติเหตุอย่างใกล้ชิด
          
พล.ต.ท.ประจวบฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความมุ่งหวังที่จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามการแข่งรถในทางและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ประชาชนได้รับความสะดวกในการการเดินทาง ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน และความเดือดร้อนรำคาญของประชาชนในชุมชนและสังคม ตลอดจนสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ ทุ่มเทสรรพกำลังอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชนและสังคม

ผู้ป่วยเป็นปลื้ม!! โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น โรงพยาบาลรัฐที่บริการดีแบบเสมอต้นเสมอปลาย

(4 ก.ค. 66) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาริกา โพธิรุกข์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมายบริหารพัสดุและทรัพย์สิน ม.มหาสารคาม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘Darika Phothiruk’ ชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น ระบุว่า…

พาพ่อมาหาหมอ พี่ รปภ. จัดการจราจรดูแลดีมาก ทันทีที่จอดรถ เปิดประตู ถามคำแรก "คุณตาไหวไหม" (ลงเองได้ไหม) ปิดประตูให้ ดูรถให้ เป็น รพ. รัฐที่ไม่เหมือนรัฐ ดีเสมอตั้งแต่พ่อมาเป็นคนไข้แรกๆ จน
ปัจจุบัน เยี่ยมจริงๆ

รวมพลัง!! เทศบาลนครสมุทรปราการ ร่วมกับ ทสม.จังหวัดสมุทรปราการ จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทำความสะอาดวัดในเขตพื้นที่

นางประภาพร อัศวเหม นายกเทศมนตรีนครสมุทรปราการ พร้อมด้วย นางสาวชนม์ทิดา อัศวเหม ประธานเครือข่าย อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรปราการ (ทสม.จังหวัดสมุทรปราการ) นำคณะสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่เทศบาลนครสมุทรปราการ

ร่วมกันทำกิจกรรม Big Cleaning Day ในเขตพื้นที่เทศบาลนครสมุทรปราการ ตามแนวทางของโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข พัฒนาวัด ด้วยแนวทาง 5 ส โดยกำหนดจัดโครงการ รวม 5 วัดในเขตพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมวันแรกนั้น เป็นการทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบภายในบริเวณวัดชัยมงคล ประกอบด้วย การฉีดล้างทำความสะอาดพื้น และการทำความสะอาดห้องน้ำวัด

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการรักษาดูแลทำความสะอาดภายในศาสนสถาน จุดบริการห้องน้ำสาธารณะที่ประชาชนมาใช้บริการ รวมถึงบริเวณพื้นที่ต่างๆ ภายในวัด ซึ่งถือเป็นการทำนุบำรุงศาสนสถานให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความสะดวก และพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาทำบุญปฏิบัติธรรมหรือร่วมกิจกรรมประเพณีทางศาสนาในวัดได้อย่างสบายใจและสุขภาพอนามัยที่ดี ด้วยความห่วงใยจากคณะผู้บริหารเทศบาลนครสมุทรปราการ 

ทุกวินาทีคือชีวิต! ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ นำส่งอวัยวะหัวใจ ครั้งที่ 71 “ผบ.ตร. - รอง ผบ.ตร.” ชมเชยเป็นตำรวจมืออาชีพ ยกเป็นตัวอย่าง “สุภาพบุรุษจราจร”

วันนี้ (4 ก.ค.66) พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเสริมสร้างภาพลักษณ์ตำรวจจราจร ศูนย์บริหารงานจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศจร.ตร.) เปิดเผยว่า ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ กองบังคับการตำรวจจราจร อำนวยความสะดวกการจราจรเร่งนำส่งอวัยวะหัวใจส่ง รพ.ศิริราช ได้ทันเวลา

ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริฯ ได้รับการประสานงานจากศูนย์บริจาคอวัยวะ รพ.ภูมิพล ผ่านศูนย์วิทยุจราจรโครงการพระราชดำริ แจ้งว่าขอสนับสนุนนำอวัยวะหัวใจจาก รพ.ภูมิพล ส่งยัง รพ.ศิริราช หลังจากรับแจ้ง ตำรวจโครงการพระราชดำริฯ ได้นำกำลังตำรวจไปรอรับที่ รพ.ภูมิพล เพื่ออำนวยความสะดวกการจราจร เร่งนำส่งอวัยวะหัวใจไปยัง รพ.ศิริราช รวมถึงได้รับความร่วมมือจากตำรวจจราจร สน.ท้องที่ ในเส้นทางทุกพื้นที่ และผู้ใช้เส้นทางที่ช่วยเปิดทางให้จนภารกิจชีวิตในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

พล.ต.ท.นิธิธรฯ กล่าวว่า ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริฯ ได้เปิดเส้นทางนำส่งอวัยวะหัวใจ ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่ผ่าตัดหัวใจของผู้บริจาค จนกระทั่งปลูกถ่ายให้ผู้รับ มีเวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น (อวัยวะหัวใจหากทำการผ่าตัดออกมาจากร่างกายของผู้บริจาคแล้วจะอยู่ได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง นับจากเวลาที่ปิดทางเดินเลือดในการผ่าตัดหัวใจของผู้บริจาค จนกระทั่งเปิดให้เลือดผ่านหัวใจใหม่ในร่างกายของผู้รับการปลูกถ่าย)  จึงเป็นภารกิจที่ต้องแข่งกับเวลา โดยกรณีนำส่งอวัยวะหัวใจในครั้งนี้ นับเป็นรายที่ 71 แล้ว ที่ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริฯ นำส่งอวัยวะลุล่วงจนแพทย์สามารถปลูกถ่ายหัวใจ ต่อชีวิตใหม่ให้กับผู้รับบริจาคได้ 

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผอ.ศจร.ตร. ได้ชมเชยการปฏิบัติหน้าที่ของทีมตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ มีทักษะคล่องแคล่ว สามารถให้ความช่วยเหลือ เป็นที่พึ่งของประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ซึ่งถือเป็นหนึ่งตัวอย่างของตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตอาสาบริการ มีมาตรฐานสากล ตามแนวทางการสร้าง “สุภาพบุรุษจราจร” ที่ ศจร.ตร.กำลังขับเคลื่อนสร้างมาตรฐานตำรวจจราจรทั่วประเทศ เพื่อยกระดับการบริการประชาชน สร้างความเชื่อถือศรัทธา และนำไปสู่การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในที่สุด

นอกจากนี้ พล.ต.ท.นิธิธร ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังมีผู้รอรับการบริจาคอวัยวะอยู่มากกว่า 6,000 คนทั่วประเทศ จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วย เพราะการบริจาคอวัยวะแก่เพื่อนมนุษย์ คือที่สุดแห่งการให้ โดยตำรวจจราจรพร้อมสานต่อเจตนารมณ์ของผู้บริจาค และเติมเต็มความหวังของผู้รับบริจาค เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชีวิตใหม่ อำนวยความสะดวกนำทางส่งต่ออวัยวะสำคัญ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อประสานงานตำรวจโครงการพระราชดำริฯ ได้ที่ โทร.1197 กองบังคับการตำรวจจราจร


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top