Tuesday, 13 May 2025
NEWSFEED

อุ๊งอิ๊ง VS คุณหญิงหน่อย อาภรณ์ อุดมการณ์ ความรู้ ความรวย

เริ่มเป็นที่ชัดเจนว่า สนามเลือกตั้งครั้งต่อไปของประเทศเรา จะมีสตรีสองคนลงชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หนึ่งคือ 'คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์' หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กับสอง 'คุณอุ๊งอิ๊ง - แพทองธาร ชินวัตร' หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นับเป็นสีสันและความหวังของเหล่าสตรีบนฐานะผู้นำพรรคการเมือง แต่สิ่งน่าสนใจกว่า (ตอนนี้) อุดมการณ์สร้างประโยชน์แก่ชาติ ก็ด้วยทั้งสองมีพื้นเพมาจากครอบครัว 'Hight Rich' อาภรณ์ห่อหุ้มกายจึงควรค้นหา จับตา ทุกครั้งที่ปรากฏตัวต่อสาธารณชน

"...การแต่งกาย คือ 'แบรนด์ดิ้ง' (branding) คนไทยอาจไม่ได้แต่งตัวถูกต้องตามแบบแผนนัก แต่นี่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับบุคคลสาธารณะ เพราะการแต่งตัวบ่งบอกว่าเราเป็นใคร ถ้าจะดูนักการเมืองสมัยก่อน อย่างจำลอง ศรีเมือง ต้องใส่เสื้อผ้าม่อฮ่อมคอจีน แขนสั้น เนื้อผ้าเก่า ๆ หรือ ป๋าเปรมก็จะต้องชุดพระราชทาน ซึ่งท่านเป็นคนเผยแพร่ชุดพระราชทานในประเทศไทย และใส่ออกมาดูดี ด้วยรูปร่างและบุคลิกที่นิ่ง เป็นคนที่พิถีพิถันมาก"

ประโยคข้างต้น - 'ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์' กูรูด้านแฟชั่นและบุคลิกภาพ อดีตบรรณาธิการนิตยสาร 'Esquire' ที่ทุกวันนี้คนรู้จักในนาม 'ลุงเฮม่า' เจ้าของคอลัมน์ตอบปัญหาสารพันบนออนไลน์ เคยกล่าวอรรถาธิบายไว้

ยุคต้นของคุณหญิงสุดารัตน์ ที่เพิ่งร่วมงานทางการเมืองกับพรรคไทยรักไทย เธอย่างก้าวสู่สายตาประชาชนด้วยมาดนักธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จแล้วระดับหนึ่ง เธอเป็นหญิงไม่ห้อยท้ายนามสกุลฝ่ายชาย สวมแว่นสายตาทรงเฉี่ยว โดดเด่น สมัยนั้นมักปรากฏตัวด้วยชุดเดรสส์สีสันสะดุดตา อันหมายถึงความเป็นผู้นำท่ามกลางชายบอดี้การ์ดชุดดำดุจสตรีทรงศักดิ์และอำนาจ

แทบไม่ต่างจากยุคเปิดฤดูกาลเลือกตั้ง 2566 ที่ 'อุ๊งอิ๊ง' ลูกสาวคนสุดท้องของบ้าน 'จันทร์ส่องหล้า' เพราะเพียงแค่เสื้อโค้ทสวมขึ้นเวทียี่ห้อ 'GUCCI' แบรนด์เสื้อผ้าโปรดจากอิตาลีตัวเดียวก็ปาไปเกือบแสน (93,000 บาท) เข้าคู่กับรองเท้า 'Amina Muaddi' ซึ่งกำลังได้รับความนิยม (ผลิตจากประเทศโรมาเนีย) สนนราคา 3,100 เหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 102,412 บาทไทย

จนสื่อมวลชนต่างพากันเน้นที่ราคาเสื้อผ้ามากกว่าถ้อยคำปราศรัย

แต่การเลือกตั้งหนที่จะถึงนี้ 'หญิงหน่อย' ทำการบ้านอย่างดีล่วงหน้า ด้วยการศึกษาการแต่งกายของนักการเมืองระดับตำนานของเกาะอังกฤษ 'มาร์กาเรต แทตเชอร์' นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร จากภาพจำขุดสูทสีน้ำเงินเข้ม (Royal Blue) เข้ารูป กับกระโปรงยาวปิดเข่าสีโทนเดียวกัน ตัดกับเชิ้ตผ้าฝ้ายสีขาวด้านใน ล้วนผ่านการเลือกคัดสรรอย่างดี เพื่อภาพลักษณ์เช่นที่เห็น สมฉายา 'สตรีเหล็ก'

เข้าใจว่าคุณแพทองธารยิ่งต้องปรับตัวมากกว่า เพราะต้องออกหาเสียงด้วยการ 'อุ้มท้อง' จนกว่าจะจบการเลือกตั้ง โดยทุก ๆ ภาพ ต้องดูดี มีอุดมการณ์ สานความฝัน ดันพ่อกลับบ้าน

ลือสะพัด!! ‘ลิซ่า’ ได้รับข้อเสนอย้ายค่าย มูลค่าเกือบ 3 พันล้านบาท

ฮือฮาไปบนโลกออนไลน์ กำลังเป็นกระแสติดเทรนด์ ‘LISA LEAVE YG’ และ #GetThatMoneyLISA หลังจากมีรายงานว่า ลิซ่า แห่ง BLACKPINK ซูเปอร์สตาร์ดังชาวไทย ได้รับข้อเสนอ 81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อออกจากค่าย YG เพราะกำลังจะหมดสัญญาลงในอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้า

ตัวเลขข้อเสนอถือว่าน่าสนใจและน่าตกใจเป็นอย่างมากนั่นคือ 100,000 ล้านวอน คิดเป็นเงินไทยคือ 2,665,839,713 บาท หรือเกือบ 3 พันล้านบาท

ลิซ่า ลลิษา มโนบาล แห่งค่าย YG ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่แห่งแดนกิมจิ ประเทศเกาหลีใต้ ที่มีพี่น้องร่วมค่ายอย่าง Big Bang และ 2NE1 เธอเป็นเด็กไทยมากความสามารถ ที่ไปแจ้งเกิดโด่งดังเป็นศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปที่ประเทศเกาหลีใต้ ทั้งฮอตและมากความสามารถ สมกับเป็นไอดอลรุ่นใหม่ แถมความสวยยังโกอินเตอร์ระดับโลก

'อั้ม พัชราภา' เปิดใจถึงเรื่องความรักและการมีครอบครัว ลั่น อยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เคยขอเงินผู้ชาย

หลังข่าวเลิกรากับแฟนหนุ่ม ไฮโซพก-ประธานวงศ์ พรประภา จนเป็นที่จับตาของสังคม ล่าสุด อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ นางเอกชื่อดัง ได้มาออกงาน 'Siam Paragon Grand Celebration of Golden Prosperity 2023' ณ บริเวณ พาร์ค พารากอน ชั้นเอ็ม สยามพารากอน ก่อนเปิดใจเรื่องดังกล่าว

โดยอั้มกล่าวว่า "คืออั้มเลิกกันมาตั้งแต่ 10 ธันวาคม และก็ไม่ได้ติดต่อกันเลย เราก็ไม่รับรู้เรื่องอะไร เรื่องหึงหวง บางคนบอกอั้มหึงหวง ไม่มีเลย ไม่เคยโทรเช็ก ไม่เคยทะเลาะกันเรื่องผู้หญิง ไม่เคยมีปัญหาเรื่องนี้ และอั้มก็ไม่เคยถามเรื่องผู้หญิงด้วย"

เมื่อถามถึงสาเหตุที่เลิกกัน สาวอั้มตอบว่า “เรื่องเดิมเหมือนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ไม่มีเรื่องอื่นเลย เป็นเรื่องนิสัยที่เราไม่เหมือนกันจริงๆ พยายามปรับแล้ว ปรับไม่ได้ แล้วก็เกิดขึ้นซ้ำๆ หลายรอบมาก จนคิดว่าพอกันแค่นี้" อั้ม พัชราภากล่าว

ชวนชม!! นิทรรศการ 'แดนสนธยา 3' การคัมแบ็กสุดยิ่งใหญ่ในรอบ 4 ปี

หากใครชื่นชอบงานศิลปะ ห้ามพลาดอย่างยิ่งกับ นิทรรศการ ‘แดนสนธยา ๓’ โดยนิทรรศการนี้เป็นการกลับมาจัดแสดงผลงานอย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 4 ปี ของ ‘ช่วง มูลพินิจ’ ศิลปินผู้ได้รับฉายาว่า ‘จิตรกรผู้มองเห็นมดยิ้มสวย’ จากศิลปินแห่งชาติ และนักเขียนผู้มีชื่อเสียงของไทย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ 

สำหรับประวัติของช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2556 เป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม จบอนุปริญญาจากคณะ จิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. 2505

ผลงานที่สร้างชื่อให้กับช่วงมาจากการเขียนภาพปกและภาพประดับในหนังสือและนิตยสารชั้นนำของไทยในยุคสมัยนั้น อาทิ ช่อฟ้า, ชาวกรุง, เฟื่องนคร และสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ จนเริ่มเป็นที่รู้จักด้วยผลงานเขียนลายเส้นแบบฟรีแฮนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงได้เขียนลายเส้นที่หน้าปกหนังสือ เสเพลบอยชาวไร่ ของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ และหน้าปกหนังสือ กามนิต วาสิฏฐีด้วย จากนั้นได้ลาออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมหลังจากทำอยู่ 9 ปี เพื่อเริ่มงานใหม่ ที่บริษัทโฆษณาอีก 3 ปี และหลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นศิลปินอิสระแบบเต็มตัว

งานของช่วงในระยะแรกเริ่มจากภาพลายเส้นที่ประยุกต์ความอ่อนช้อยของลายไทย เข้ากับรูปทรงแบบเหมือนจริงได้อย่างกลมกลืน ต่อมาจึงได้พัฒนามาใช้เทคนิคสีน้ำและสีน้ำมัน แต่ยังคงเอกลักษณ์เรื่องลายเส้นผสมผสานเข้ากับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ช่วงได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างมากมายทั้งงานออกแบบ จิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง สัตว์ มนุษย์ ทั้งในแง่อีโรติก ไปจนถึงนัยการมองเห็นในวัฏสงสารของชีวิต เป็นการผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม

‘ฮาย Paper Planes’ เปิดใจ หลังมีเด็กๆ ติดตามมากขึ้น

ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่ารักมาก ๆ เลยทีเดียว เมื่อเพลง ‘ทรงอย่างแบด’ ของวง Paper Planes กลายเป็นเพลงฮิตในกลุ่มวัยรุ่นฟันน้ำนม ซึ่งเมื่อช่วงวันเด็ก (14 ม.ค.66) ที่ผ่านมา 2 หนุ่ม เซนและฮาย วง Paper Planes ก็ได้จัดแสดงโชว์กันที่สวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ สร้างความประทับใจให้กับสาวกฟันน้ำนมกันถ้วนหน้า

ทั้งนี้ ก่อนหน้าวันเด็กหนึ่งวัน รายการ WOODY FM ได้ปล่อยวิดีโอสัมภาษณ์ หนุ่มฮาย หนึ่งในสมาชิกวง Paper Planes โดยมีช่วงหนึ่งที่หนุ่มฮาย ได้กล่าวถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในฐานที่เด็ก ๆ ติดตามเยอะและยกให้เป็นไอดอล โดยหนุ่มฮายระบุว่า “ปกติเราก็มีความแบดในแบบของเรา แต่พอมีสปอตไลต์ส่องมา ก็ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น ไม่ได้ทำให้ตัวเองดูดี แต่เราทำเพื่อเด็ก ๆ”

‘เทสลา’ ประกาศ ปรับราคาจำหน่าย หวังกระตุ้นยอดขาย - จูงใจผู้บริโภค

Tesla ประกาศลดราคาจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า ในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในแถบเอเชีย ใกล้ๆ บ้านเรา ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย โดยเหตุผลในการปรับลดราคาคือ ในเอเชียรถยนต์ไฟฟ้านั้น มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ภาพรวมตลาดรถยนต์อีวียังประสบปัญหา 

และหากเจาะไปที่ประเทศจีนจะพบว่า การปรับลดราคาของ Tesla รุ่น Model Y และ Model 3 จะทำให้ราคาจำหน่ายของทั้งสองรุ่นถูกกว่าที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา 23-32% เช่น รุ่น Model 3 จากราคาเริ่มต้น 2.65 แสนหยวน เหลือ 2.29 แสนหยวน หรือราว 1.13 ล้านบาท

นอกจากนี้การปรับลดราคายังมาผลมาจากการเลิกมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากทางการปักกิ่ง ทำให้ Tesla ต้องตัดสินใจ ปรับลดราคาเพื่อกระตุ้นตลาดและจูงใจผู้บริโภคในยุคที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และโรคโควิด-19 ยังระบาด ทำให้ทุกคนต้องควบคุมค่าใช้จ่าย แต่ในการตัดสินใจครั้งนี้ ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ที่ซื้อรถยนต์ Tesla ไปก่อนหน้านี้จนเกิดการประท้วงกันที่หน้าโชว์รูม

ตำราบนแผ่นฟิล์ม 'To Sir, with Love แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ' แก่น ‘คุรุ’ ช่วย 'ว่าที่ครู' ถ่องแท้ก่อนสอนสั่งลูกศิษย์

สำหรับการอธิบายความเป็น 'ครู' แล้ว ภาพยนตร์เรื่อง 'แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ' (To Sir, with Love) นั้นเหมาะสมอย่างยิ่ง พอเหมาะและสมควร ครบถ้วนด้วยเนื้อหา อารมณ์ ศิลปะการถ่ายทอด อย่างปราศจากกาลเวลาข้องเกี่ยว - อกาลิโก

To Sir, with Love ถูกสร้างและออกฉายตั้งแต่ ค.ศ. 1967 โดยเล่าย้อนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1960 เมื่อ 'มาร์ค แธกเกอร์เรย์' (Mark Thackeray) ชายอพยพจากอาณานิคมบริติชเกียนา ไปแสวงหาโชคบนแผ่นดินอังกฤษ ด้วยกระเป๋าเสื้อผ้าติดตัวเพียงใบเดียว พร้อมปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต โดยต้องเดินเตะฝุ่นหางานนานถึงปีครึ่ง จนสุดท้ายเขาต้องหันรับงานสอนในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 'นอร์ทคีย์' (North Quay) ชั่วคราว เพื่อรับรายได้ประทังชีพ

บท ‘มาร์ค แธกเกอร์เรย์’ แสดงโดย ‘ซิดนีย์ พอยติเยร์’ (Sidney Poitier)

เนื้อหาภาพยนตร์ชี้ว่ายุคสมัยนั้น “ช่างตกต่ำ มีความเหลื่อมล้ำสูง ทั้งแง่มุมเศรษฐกิจ และชาติพันธุ์”

ครูแธกเกอร์เรย์ต้องผจญกับความไร้ระเบียบจากเหล่าบรรดาอสูรวัยรุ่นที่พ่อแม่ฝากความหวัง (หรือเพียงดันหลังเข้าโรงเรียน) ด้วยคิดว่าลูกตนคงจะห่างไกลสิ่งแวดล้อมมลพิษรอบถิ่นที่อยู่ แต่ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณของสถานศึกษา กับอนาคตซึ่งตัวเด็กเองยังมองไม่เห็น พล็อตเรื่องเช่นนี้ ภาพยนตร์ ‘แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ’ ถึงขึ้นหิ้งดราม่าฐานะตำนาน (7.6 IMDB) ตลอดกาล

สิ่งน่าชื่นชมที่สุด คือ การแสดงของ ‘Sidney Poitier’ ดาราผิวสีคนแรกที่พิชิตรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมจาก 'อะคาเดมี่ อวอร์ดส' (ออสการ์) ผู้ถูกนิยามว่าเป็น ‘กาวใจ’ ระหว่างรอยต่ออันอึดอัดขัดแย้งระหว่างนักแสดง ‘ผิวสี’ และนายทุน ‘ผิวขาว’ ณ ยุคเตาะแตะ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูด

คือ 'พอยติเยร์' ที่ 'หลุยส์ กอสเส็ตต์ จูเนียร์' บิดาของเหล่าเจ้าพ่อย่านเซาท์ไซต์ (อีกที) นักแสดงรุ่นเก๋า กับ 'แดนเซล วอชิงตัน' ดาราทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของวงการ ยกย่องเขาราวเทวรูปบูชา ด้วยประโยค "ข้าพเจ้าจักเดินตามท่านทุกฝีก้าวขอรับ - I'll Follow Your Footstep, Sir." เดียวกัน

พี่ น้อง ลูกหลาน ต่างเคารพเขาเสมือน 'ครู'

ฉากน่าประทับใจจากหนัง (ภาค 1 หรือ 2 ไม่แน่ใจ - ผู้เขียน) คือตอนที่ครูมาร์คพานักเรียนวัยห้าวออกเผชิญโลกภายนอก (คล้ายๆ การเรียนรู้นอกห้อง หรือเชยๆ ก็ทัศนศึกษา) ละแวกโรงเรียนหลังทัวร์พิพิธภัณฑ์ ท่านเรียกประชุมกลุ่มตรงริมฟุตปาธ แล้วให้โจทย์นักเรียนหนุ่มผิวขาวหัวโจกของห้องเดินไปทักหญิงสูงวัยถือร่มรีรอข้ามถนน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกแห่งสยาม

วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปีคือ ‘วันเด็ก’ แห่งชาติ ซึ่งเป็นวันสุขของเด็กๆ ที่จะได้สัมผัส รถถัง เครื่องบิน อาวุธยุทโธปกรณ์ เก้าอี้นายกฯ เก้าอี้ผู้ว่า ฯลฯ คือเรียกว่าได้ฝันเป็นอาชีพนั้นๆ อย่างมีความสุข พอนึกถึงมุมนี้ ก็มีอีกมุมหนึ่งที่ผมได้รำลึกถึงคือ เจ้านายที่เป็นยุวชน ซึ่งวัยเด็กของพระองค์คือการเรียนรู้เพื่อปกครองบ้านเมือง เป็นยุวชนที่มีมุมมองของขัตติยะ แม้ในท้ายที่สุดพระองค์จะมิได้ขึ้นครองราชย์เนื่องจากทรงสวรรคตไปเสียก่อน

‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร’ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกแห่งสยาม คือเจ้านายพระองค์นั้น พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชสมภพแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2421 โดยพระนาม ‘มหาวชิรุณหิศ’ แปลว่า ‘มงกุฎเพชรใหญ่’ ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษได้ว่า ‘Crown Prince’ คือ ‘พระราชสมภพมาเพื่อสวมมงกุฎ’ 

ภายหลังการเสด็จทิวงคตของ ‘กรมพระราชวังบวรวิเศษไชยชาญ’ เมื่อ พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และทรงสถาปนาตำแหน่ง ‘สยามมกุฎราชกุมาร’ เพื่อเป็นองค์รัชทายาทแทน โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่า ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและอาจทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจสับสน ส่วนพระราชอิสริยยศ ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช’ ซึ่งเรียกว่า ‘สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า’ ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นตำแหน่งที่สอดคล้องตามแบบอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในนานาอารยประเทศที่มีราชประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นมกุฎราชกุมารดำรงตำแหน่งรัชทายาท

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2430 พระชนมายุ 9 พรรษา 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ ให้ ‘สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช’ เป็นอธิบดีอำนวยการพระราชพิธีมหาพิชัยมงคลสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าราชกุมารพระองค์ใหญ่ การพระราชพิธีครั้งนี้ เป็นการพิธีพิเศษใหญ่ยิ่ง สมควรจะมีการเฉลิมพระเกียรติยศต่อการพระราชพิธีให้สมควรแก่กาลสมัยด้วย 

สมเด็จฯ กรมพระภาณุพันธุวรเดชได้ทรงคิดให้มีการเลียบพระนคร เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ออกประทับพลับพลาหน้าท้องสนามไชย พระราชทานเหรียญที่ระลึกในการพระราชพิธี การแห่เรือกระบวนพยุหยาตราในท้องน้ำ แล้วแข่งเรือคล้ายกับพระราชพิธีกาศวยุช

พระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ทำแพลงสรง เครื่องประดับพระมณฑปและเครื่องพิธีต่างๆ ทั้งยังให้ซ่อมแซมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทสำหรับตั้งการพระราชพิธี รวมทั้งตกแต่งซ่อมแซมเรือกระบวน เครื่องต้นสำหรับทรงแห่สมโภช และให้มีศุภอักษร ท้องตราถึงหัวเมืองประเทศราช เมือง เอก โท ตรี จัตวา ให้ทราบการกำหนดพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระให้ทราบการกำหนดพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระปรมาภิไธยครั้งนี้ โดยมีพระราชพิธีรวมทั้งสิ้นถึง 9 วัน

เมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา ในปี พ.ศ. 2433ได้มีพระราชพิธีโสกันต์อย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 8 วัน ก่อนที่ในปีเดียวกัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2434 โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศ วริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จนถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2434 จึงลาผนวช

พระองค์เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เช่น เสด็จฯ ออกรับฎีกาที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวาย / เสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีและพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีเผด็จศกมหาสงกรานต์ / การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก / การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันคล้ายวันประสูติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว / การเชิญพระอัฐิกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) / ทำบุญสดับปกรณ์ / การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา

ต่อมาเมื่อได้สถาปนาพระอิสริยยศเป็น ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร’ นอกจากจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจดังเดิมเหมือนเมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระลูกยาเธอแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เสด็จฯ ประพาสหัวเมืองเยี่ยมเยือนทุกข์สุขราษฎร รวมถึงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เช่น เสด็จฯ ออกรับอาร์ชดยุกลิโวโปลด์แห่งออสเตรียและคณะ พร้อมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี / ทรงเป็นสภานายกกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ / เสด็จ ฯ พระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนสุนันทาลัย (เพียบเลย) 

และเมื่อ พระพุทธเจ้าหลวง ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดการทหารบก ทหารเรือ ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบแบบแผน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่ง ผู้บัญชาการทั่วไป ซึ่งตรงกับตำแหน่งภาษาอังกฤษว่า ‘คอมมานเดออินชิฟ’ โดยให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับตำแหน่ง แต่โดยที่ทรงเห็นว่ายังทรงพระเยาว์ จึงให้ตราพระราชบัญญัติตั้งกรมทหารควบคู่ไว้ด้วยเพื่อช่วยการจัดระเบียบให้เป็นแบบแผนเดียวกัน

นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง!! รู้จัก ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ หัวหน้าคณะวิจัยและพัฒนาโมเลกุล ‘มณีแดง’

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร หัวหน้าคณะผู้วิจัยและพัฒนา โครงการ ‘มณีแดง’

สวัสดีนักอ่านที่น่ารักทุกท่าน ใครที่ติดตามเรื่องเล่าของผมเป็นประจำก็จะรู้ว่าหลายครั้งหลายคราผมได้หยิบยกเหตุการณ์ในอดีต หรือแม้แต่บุคคลที่สร้างวีรกรรมต่าง ๆ ในอดีตมาเขียนเล่าเรื่องให้ทุกท่านได้อ่านกัน และส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องหรือบุคคลในต่างประเทศ

พอมานั่งตรึกตรองดูแล้ว ผมอยากจะเล่าเรื่องของคนไทยบ้าง และอยากเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันให้มากขึ้น หันซ้ายหันขวาผมก็เจอเรื่องและบุคคลที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ หัวหน้าคณะผู้วิจัยและพัฒนา โครงการ ‘มณีแดง’ 

สำหรับใครที่ตามข่าวแนว ๆ วิทยาศาสตร์ก็อาจจะเคยได้ยินชื่อ ‘มณีแดง’ กันมาบ้าง และคงตาลุกวาวเมื่อรู้ว่า ‘มณีแดง’ เปรียบดังยาอายุวัฒนะ

ก่อนจะอธิบายว่าทำไม ‘มณีแดง’ เปรียบดังยาอายุวัฒนะ นั้น ผมขอแนะนำประวัติคร่าว ๆ ของ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ ผู้ค้นพบและวิจัยมณีแดงก่อนนะครับ

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย อาจารย์ประจำ และอดีตหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ผู้เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์ มีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการศึกษาการอณูพันธุศาสตร์โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก และสภาวะเหนือพันธุกรรม (Epigenetic) ที่เป็นกลไกสำคัญในการเกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ มะเร็ง โรค autoimmune และโรคชรา

ที่สำคัญ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ เป็นหัวหน้าคณะผู้วิจัยและพัฒนาโมเลกุล ‘มณีแดง’ หรือ RED-GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) และนอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยจำนวนมากที่สำคัญ เช่น

๑. การค้นพบ DNA ของไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก ในปัจจุบันใช้การวัดปริมาณ EBV ของ DNA ในน้ำเหลืองเพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก

๒. ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของสาย DNA เบสซ้ำเพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์ (2-8) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกัน ตรวจกรองวินิจฉัยและรักษา มะเร็งและความชราในอนาคต

๓. ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส (9-13) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการตรวจกรองและวินิจฉัยมะเร็งในอนาคต

๔. ค้นพบรอยฉีกขาดของ DNA ที่ดี (14-17) ที่อาจมีประโยชน์ป้องกันความไม่เสถียรของจีโนม ความชราและมะเร็ง น่าจะทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกันการเกิดมะเร็งและความชราในอนาคต

อ่านเพียงเท่านี้ ก็ต้องยกนิ้วโป้งให้ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ เลยทีเดียว เพราะผลงานที่ศึกษานั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก นอกจากผลงานที่ยกมาบอกเล่าข้างต้นแล้ว ผลงานที่เด่นและเป็นที่สนใจของคนในสังคมมากก็คือ การวิจัย ‘มณีแดง’ ที่คนเปรียบเปรยว่าเป็นเหมือนยาชะลอวัย นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า การวิจัยและพัฒนาโมเลกุล ‘มณีแดง’ ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สกว. สวทช. และ วช. สำหรับทีมวิจัยฯ นอกจากบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว มีรายนามคณะนักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :

๑. ผศ.ดร. จิรพรรณ  ทองสร้อย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ศึกษาการตรวจวัด รอยแยกของ DNA
๒. ศาสตราจารย์ ดร. นพ. นิพนธ์ ฉัตรธิพากร และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สถานที่และคำแนะนำในเรื่องการย้อนวัยของหนูชรา
๓. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเลี้ยงและวิเคราะห์หมู
๔. อาจารย์ ดร. สรวงสุดา สุภาสัย ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาหนูพาร์กินสัน และหนู อัลไซเมอร์
๕. ผศ.ดร.สุกัญญา เจริญพร และคณะ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาลิงแสม

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะผู้วิจัยได้รายงานการค้นพบ DNA ของเชื้อไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) หรือ EBVDNA ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาการตรวจติดตามผลการรักษา โดยที่ EBVDNA จะหายหมดไปหากไม่มีเนื้อมะเร็งโพรงหลังจมูกหลงเหลือ และหากพบมี EBVDNA ในน้ำเหลืองแสดงว่ามีการกลับเป็นซ้ำเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกประมาณ ๖ แสนคนทั่วโลก ได้ประโยชน์จากการตรวจหา EBVDNA ในน้ำเหลือง

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะผู้วิจัยเริ่มรายงานค้นพบการเปลี่ยนแปลงสภาวะเหนือพันธุกรรมของสาย DNA เบสซ้ำในเซลล์มะเร็ง ในผู้ชรา และในโรคอื่น ๆ เช่น กระดูกผุ โรค SLE หรือรู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง การศึกษาต่อเนื่องทำให้รู้กลไกและบทบาทที่ส่งผลต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรค ทั้งจาก ความไม่เสถียรของจีโนมและการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันคณะผู้วิจัย กำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้เกี่ยวกับ สภาวะเหนือพันธุกรรมของสาย DNA เบสซ้ำ มาพัฒนาเป็นยารักษามะเร็ง ป้องกันความพิการจากความชรา และการตรวจกรองมะเร็งที่พบบ่อย นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังเป็นผู้ค้นพบสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส และกำลังกำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้นี้ไปใช้วินิจฉัยและการตรวจกรองมะเร็งในอนาคต

ส่วนผลงานวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะผู้วิจัยรายงานการค้นพบรอยฉีกขาดของ DNA ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน รอยฉีกขาดของ DNA ที่รู้จักกันจะทำให้เซลล์ตายหรือกลายพันธุ์ แต่รอยฉีกขาดที่ค้นพบกลับน่าจะมีประโยชน์ต่อเซลล์ทำให้จีโนมเสถียร ไม่แก่และไม่เป็นมะเร็ง เป็นการค้นพบกลไกต้นน้ำของความชราบริเวณรอยแยก (youth-DNA-gap) ตรงจุดที่มี DNA แมดทิเลชัน (DNA methylation) ดังนั้นการเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลที่รอยฉีกขาดนี้อาจนำไปสู่การป้องกันการแก่และมะเร็งในอนาคต 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top