Wednesday, 14 May 2025
NEWSFEED

ใจที่ไม่ยอมแพ้!! ‘หมอลูกหมู’ แชร์เรื่องราวต่อสู้ ‘มะเร็งต่อมน้ำเหลือง’ หลังรักษานาน 6 เดือน จนหายกลับมาเป็นปกติ

หมอลูกหมู-แพทย์หญิงณัฐรดา คชนันทน์ ผู้ป่วยมะเร็ง วัย 28 ปี ได้เปิดเพจเฟซบุ๊ก ‘พักก้อน’ เล่าเรื่องราวชีวิตที่อยู่ ๆ ก็กลายมาเป็นคนไข้ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งที่ดุและโตเร็วและสู้กันมา 6 เดือนจนโรคสงบลง 

โดยคุณหมอ ระบุผ่านเพจ 'พักก้อน' ว่า วันนี้อยากมาเล่าเรื่องในมุมของหมอที่จับพลัดจับผลูเป็นคนไข้แบบงงๆให้ได้อ่านกันค่า

เดิมทีแล้วสำหรับเรามะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือ Lymphoma ก็เป็นแค่บทนึงในตำราเรียนที่จำได้บ้างไม่ได้บ้าง เป็นคำวินิจฉัยนึงของคนไข้ที่อยู่ในความดูแล(ซึ่งแผนการรักษาก็มาจากHematologistหรืออายุรแพทย์โรคเลือดซะส่วนใหญ่)

การเขียนออเดอร์ neutropenic diet, งดผลไม้เปลือกบางก็เป็นแค่ความเคยชินที่ทำให้สำหรับผู้ป่วยที่มารับเคมีบำบัด

จนวันนึงคุณมะเร็งก็เข้ามาอยู่ในชีวิตเรา อยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน กินด้วยกัน นอนด้วยกัน หายใจไปพร้อมกัน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าในฐานะหมอ พอเราป่วยซะเองจะมีความคิดความรู้สึกต่างจากคนไข้ทั่วไปยังไงกันนะ?

สำหรับตัวเราเอง ไม่ต่างเลยค่ะ555 ออกจะกังวลมากกว่าคนไข้ทั่วไปด้วยซ้ำ

ตลอดเวลา 6 เดือนที่ป่วยและรับยาเคมีบำบัดเต็มไปด้วยความกังวล เพราะเราเห็นมาตลอดว่าถ้าคนไข้มะเร็งได้ยาเคมีบำบัดแล้วมีการติดเชื้อแทรกซ้อน อาการจะรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป เพราะฉะนั้นเวลาจะกินอะไร หรือจะทำกิจกรรมอะไร เรามักจะคิดภาพตัวเองนอนซมให้ยาฆ่าเชื้อในICUอยู่บ่อยๆ

ตอนยังทำงานอยู่เราก็ไม่ต่างกับหมอหลายคนที่อยู่เวรห้องฉุกเฉิน แล้วเจอคนไข้ที่มาด้วยภาวะที่ไม่ได้ฉุกเฉินจริง

ในช่วง 6 เดือนนั้น คนไข้ที่มีคำนำหน้าว่าแพทย์หญิงคนนี้ได้เข้าห้องฉุกเฉิน 2 ครั้ง และไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงแก่ชีวิตทั้งสองครั้ง ครั้งแรกที่บ้านพาไปส่งเพราะเพลียมาก หน้ามืด วัดความดันได้ 60/30 (พอไปวัดที่ER ปกติซะเฉยๆ) ส่วนอีกครั้งคือท้องเสีย ปวดท้อง pain score 10/10 พอไปตรวจจริงก็ปกติดี เป็นแค่อาการลำไส้แปรปรวน และทั้งสองครั้งที่ไปห้องฉุกเฉินนั้นไม่มีเจตนาอื่นใด นอกจากกลัวตายเท่านั้นแหละ

การเป็นคนไข้ซะเองทำให้เราเข้าใจคนไข้มากขึ้น

- เข้าใจคนไข้ที่มาห้องฉุกเฉินตอนตีสาม เพราะท้องเสีย ปวดท้อง แค่โรคลำไส้อักเสบธรรมดาที่ไม่ฆ่าใคร แต่มันสามารถปวด pain score 10/10 ได้จริงๆ ไม่มีใครอยากเข้าห้องฉุกเฉินหรอกถ้าไม่กลัวตาย (ยกเว้นมาขอยาเดิมหรือขอใบรับรองแพทย์ตอนดึกๆ อันนั้นก็ยังไม่เข้าใจเหมือนเดิม)

- เข้าใจว่าผู้ป่วยมะเร็งทุกคนต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งและต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างขนาดไหน การต่อสู้กับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด การต้องระวังตัวเองตลอดเวลาไม่ให้ป่วย แต่ละวันมันไม่เคยง่ายเลย

- เข้าใจว่าทุกคำสั่งการรักษาที่เขียนไปมันส่งผลกระทบกับชีวิตคนไข้จริงๆ หลายๆอย่างมันง่ายกับคนเขียน แต่ลำบากคนทำ เคยไม่เข้าใจว่าทำไมคนไข้เบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้ถึงไม่ยอมฉีดยาอินซูลิน จนถึงวันที่ตัวเองโดนฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว(เข้าใต้ผิวหนังคล้ายอินซูลิน) ยังรู้สึกว่ามันเจ็บ และมันลำบากจริงๆแหละ

แม้ว่าตอนนี้โรคจะสงบ กลับมาทำงานเป็นหมอเหมือนเดิมแล้ว สถานะคนไข้ก็ยังต้องติดตัวไปอีกหลายปี เพราะยังต้องเข้ารับการตรวจติดตามเป็นระยะ (แน่นอนว่าก็ยังกังวลเหมือนเดิมทุกครั้งแหละ555)

กิ่งทองใบหยก ‘ปอย ตรีชฎา’ จูงมือ ‘โอ๊ค ภควา’ เข้างานวิวาห์ชื่นมื่น จัดพิธีเรียบง่ายแบบภูเก็ตดั้งเดิม ทำเจ้าสาวน้ำตาริน

เปิดภาพบรรยากาศงานแต่งพิธียกน้ำชา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (1 มี.ค. 66) โดย เพจ ‘Baan Ar-Jor บ้านอาจ้อ’ ได้โพสต์ภาพสุดหวานชื่นของ ‘ปอย ตรีชฎา’ และ หวานใจ ‘โอ๊ค ภควา’ ซึ่งจัดตามพิธีแบบภูเก็ตดั้งเดิม สุดแสนอบอุ่น มีเหล่าบรรดาญาติมิตรสนิท ร่วมอวยพร 

 

ที่สถิตแห่งความผูกพัน ‘วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร’ ศิลปะแห่งการผสมผสาน ที่ ‘รัชกาลที่ 3’ ทรงผูกพัน ทรงรับสั่ง “ตายแล้วจะมาอยู่ที่วัดนี้”

เมื่อไม่นานมานี้ เฟซบุ๊ก ‘น้ำเงินเข้ม’ ได้โพสต์เรื่องราวถึงความผู้กพันระหว่าง ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3’ และ ‘วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร’ โดยระบุว่า

วัดที่ “ร.3” ทรงผูกพันมาก ถึงขั้นรับสั่งว่า ตายแล้วจะมาอยู่ที่วัดนี้

“ถ้าข้าตายแล้ว ข้าจะมาอยู่ที่ต้นพิกุลนี้”
คือพระราชกระแสรับรับสั่งของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับได้ว่าอยู่ในยุคแห่งความรุ่งเรืองและมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมาก เพราะล้นเกล้าฯ ทรงหาเงินเข้าท้องพระคลังได้เป็นจำนวนมาก ด้วยวิธีการระบบการจัดเก็บภาษี เช่น จังกอบ อากร ฤๅชา ส่วย ภาษีเงินค่าราชการจากไพร่ เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน และวิธีที่ทรงหาเงินมาได้มากที่สุดก็คือ การต่อกำปั่นเรือสำเภาออกไปค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งทรงสนพระราชหฤทัยและเชี่ยวชาญมาตั้งแต่ครั้งทรงเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” จนพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2) ตรัสเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว” 

กล่าวกันว่าหลังสวรรคต เงินในท้องพระคลังยังคงมีเหลือถึง 40,000 ชั่งเลยทีเดียว นอกจากนี้เงินบางส่วนในจำนวนนี้ยังช่วยกู้แผ่นดินไว้ได้เมื่อครั้งเกิดวิกฤติในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ร.ศ. 112 กับฝรั่งเศส ซึ่งล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้รับสั่งให้ใส่ถุงแดงเก็บไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง ราวกับทรงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า 

ด้วยเหตุที่เป็นยุคสมัยที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมาก รัชกาลที่ 3 จึงทรงปรารถนาที่จะทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงบูรณะวัดวาอารามขึ้นมาใหม่หลายวัด หนึ่งในนั้นก็คือ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร อันถือกันว่าเป็นวัดประจำรัชกาล และเป็นที่มาของพระราชกระแสรับสั่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แสดงถึงความผูกพันที่ทรงมีกับวัดแห่งนี้

“วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร” เดิมชื่อ “วัดจอมทอง” เป็นวัดเก่าแก่ฝั่งธนบุรีที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมารัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาวัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ตั้งแต่ยังทรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอฯ ต่อมาเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2363 ทรงยกทัพไปสกัดพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทองแห่งนี้ จึงทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม และทรงตั้งจิตอธิษฐานให้มีชัยชนะในศึกราชการทัพครั้งนี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา จึงทรงยกทัพกลับ และเดิมทีวัดแห่งนี้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2360 หลังเสร็จศึกจึงทรงบูรณะต่อจนแล้วเสร็จและยกสถานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “วัดราชโอรส” หมายถึงตัวพระองค์เอง แล้วโปรดให้มีงานฉลองสมโภชเมื่อปี พ.ศ. 2374 

ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสฯ แห่งนี้ ทรงควบคุมงานก่อสร้างโดยพระองค์เอง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ล้วนเป็นไปตามพระราชนิยมโดยผสมผสานระหว่างไทยและจีนเข้าด้วยกันอย่างประณีต แตกต่างจากยุคสมัยในรัชกาลก่อน ๆ ดังกลอนเพลงยาวยอพระเกียรติยศที่พระยาไชยวิชิต (เผือก) แต่งทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์ ความตอนหนึ่งว่า

“วัดไหนไหนก็ไม่ลือระบือยศ เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์ทำ

ทรงสร้างด้วยมหาวิริยาธึก โอฬารึกพร้อมพริ้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราเพริศดูเลิศล้ำ ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา

จะรำพันสรรเสริญก็เกินสมุด ขอยกหยุดพองามตามเลขา
กำหนดสร้างพระอาวาสโดยมาตรา ประมาณช้านับได้สิบสี่ปี”

นอกจากนี้ จอห์น ครอว์เฟิร์ด ผู้ซึ่งเป็นแพทย์ นักการทูต และนักเขียนชาวสก็อตติช และเป็นทูตที่เดินทางเข้ามายังสยามเมื่อปี พ.ศ. 2364 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตามคำสั่งของลอร์ดเฮสติงส์ ผู้สำเร็จราชการประจำอินเดีย เพื่อให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี แต่ด้วยการแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมของครอว์เฟิร์ดทำให้การเจรจาล้มเหลวและต้องเดินทางกลับไป ได้บันทึกเรื่องราวการก่อสร้างวัดราชโอรสฯ แห่งนี้ไว้เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2365 ว่า

ตามบรรดาวัดที่เราได้เห็นมาแล้วในกรุงเทพฯ ไม่มีวัดไหน จะทำด้วยฝีมือประณีตงดงามเท่าวัดนี้ ขณะที่เราไปนั้นวัดกำลังก่อสร้างอยู่ เราได้มีโอกาสเห็นลำดับแห่งการก่อสร้าง เช่น องค์พระประธาน ก็เห็นหล่อขึ้นแล้ว แต่บางส่วนวางเรียงรายอยู่ในโรงงานแห่งหนึ่ง รอไว้ประกอบเมื่อภายหลัง ได้ทราบว่าโลหะที่ใช้ในการนี้ คือ ดีบุก สังกะสี ทองแดง เจือด้วยธาตุอื่นๆ อีกบ้างโดยไม่มีส่วนที่แน่นอนเพราะจักเป็นการยากอยู่บ้างที่จะกำหนดส่วน

คืนที่ดาวครองฟ้า!! ชวนดูปรากฏการณ์ 'ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี' เมื่อ 'เทวีแห่งความรัก' เคียงคู่ 'ครูของปวงเทวดา'

ห้วงท้องฟ้าดาราศาสตร์ไทยในระหว่างหัวค่ำวันที่ 1-3 มีนาคม พ.ศ. 2566 นี้ จะเกิดมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม 'ดาวศุกร์' เคียง 'ดาวพฤหัสบดี' ทางทิศตะวันตก อวดความสวยงามของวัตถุท้องฟ้าดังกล่าว ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงเวลาประมาณสองทุ่ม สว่างเด่นสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเพจเฟสบุ๊ก @NARITpage มีเนื้อหาโดยย่อว่า "...ช่วงวันที่ 1 ถึง 3 มีนาคม 2566 จะเกิดปรากฏการณ์ 'ดาวเคราะห์ชุมนุม' ดาวศุกร์ปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี ทางทิศตะวันตกบริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces) หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นต้นไป จนถึงเวลาประมาณ 20.00 น. สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในวันที่ 1 มีนาคม 2566 ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่เหนือดาวศุกร์ ห่างประมาณ 0.8 องศา  จากนั้นวันที่ 2 มีนาคม 2566 ดาวศุกร์จะเปลี่ยนตำแหน่งมาปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 0.6 องศา และในวันที่ 3 มีนาคม 2566 ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่เหนือดาวพฤหัสบดี ห่างกันประมาณ 1.4 องศา และค่อย ๆ ทำมุมห่างออกจากกันมากขึ้นหลังจากนี้"

'ดาวศุกร์' (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ในลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ Venus (วีนัส) ยืมมาจาก 'เทพีแห่งความรัก' ของโรมัน โดยชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่ด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ จึงเชื่อว่าดาวศุกร์น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀ หรือสัญลักษณ์แทนสตรีเพศนั่นเอง

บลิ้งค์ไทยช็อก! ราคาบัตรคอนเสิร์ต 'BLACKPINK' พุ่ง แห่ติดแฮชแท็ก #แบนlivenationth – เล็งส่งเรื่องถึง สคบ.

(1 มี.ค. 66) ติดเทรนทวิตเตอร์ยาวๆ กันเลยทีเดียวสำหรับแฮชแท็ก #แบนlivenationth หลังทางผู้จัดงานปล่อยผังละราคาบัตรคอนเสิร์ต BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] BANGKOK ENCORE ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2566 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน 

งานนี้เจอกระแสตีกลับอย่างแรง เมื่อ Live Nation Tero ปล่อยผังและราคาบัตรออกมานั้น ราคาแรงแบบสุดๆ ซึ่งบัตรวีไอพีแพ็กเกจมีราคาสูงถึง 14,800 บาทจากเดิมที่มีราคา 9,600 บาท ซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาเดิมถึง 5,000 บาท 

‘พาณิชย์’ โชว์กางเกงมวยผ้าไหมไทย สุดงาม หนุนงานศิลปหัตถกรรม - ผลักดันสู่ Craft Power

‘พาณิชย์’ โชว์กางเกงมวยผ้าไหมไทย สุดงาม เดินหน้าผลักดัน Craft Power ผ่าน 'บัวขาว' และ 'แอนนา เสืองามเอี่ยม'

(1 มี.ค. 66) นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ดำเนินการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวที่แสดงให้เห็นถึงพลังของงานศิลปหัตถกรรมไทย หรือ Craft Power ดึงเสน่ห์แห่งภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดทางการค้าและสร้างความหลากหลายทางการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงเป็นที่มาของการจัดงาน 'Andaman Craft Festival' ในวันที่ 12 มี.ค. 2566 ณ ลานมังกร จังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิด 'Hand on the smile with Thai Craft' มอบรอยยิ้มและความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนด้วยงานศิลปหัตถกรรมไทยและความเป็นมิตรของคนไทย โดยมั่นใจว่านอกจากจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ยังจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในตลาดสินค้าของขวัญของที่ระลึกในจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ภาคใต้ เกิดเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท

‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ภัยทันสมัยในม่านควัน หรือวาทกรรมที่ถูกปั้นเพื่อให้คนกลัว

“...แวดวงนักกลืนควันในอดีต เวลาจุดบุหรี่สูบก็ต้องสูบให้หมดมวน แต่บุหรี่ไฟฟ้าสูบคำสองคำก็พอ ทำให้ลดการสูบลง” คือคำพูดของเด็กหนุ่มใกล้ตัวที่คุยกับผม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ได้รับความนิยมอย่างสูงในแวดวงนักกลืนควันวันนี้ ทั้งที่รู้อยู่เต็มบอกว่ามันก็มีอันตรายไม่แตกต่างจากบุหรี่ (จริง)

บรรพบุรุษของบุหรี่รุ่นแรกมีหน้าตาค่อนไปทางซิการ์ คือ มวนโตและห่อพัน (ใบยาสูบ) ด้วยใบยา (อีกที) และดูเหมือนจะมีมาก่อนในดินแดนเม็กซิโกและอเมริกากลาง ราวศตวรรษที่ 9 ซึ่งก็คือบริเวณที่ชาวมายาและแอซเท็กเริ่มสูบยา รวมถึงใบยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทกับพิธีกรรมทางศาสนา โดยพบหลักฐานภาพวาดบนเครื่องปั้นดินเผาและภาพแกะสลักบนวิหาร เป็นภาพนักบวชหรือเทพเจ้ากำลังสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งซิการ์กับบุหรี่คือ วัฒนธรรมของชนชาวพื้นเมืองแถบแคริบเบียน, เม็กซิโก, อเมริกากลาง และใต้ ก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลกเพียงไม่กี่ทศวรรษ

“สูบบุหรี่แก้ขวย ช่วยเข้าสังคม” คือคำโฆษณาจากรัฐบาลยุคมาลานำไทย เชิญชวนให้คนสูบบุหรี่ (ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ) นัยว่าช่วยพัฒนาประเทศทางอ้อม ด้วยภาพลักษณ์ของการสูบบุหรี่ยังดูโก้เก๋ ทันสมัย มีอารยะ

คนไทยโบราณไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีของติดตัวกันแทบทุกคน สำหรับสตรีไทย คือ ‘กระทายหมาก’ หรือ ‘เชี่ยนหมาก’ ส่วนของบุรุษก็คือ ‘กลักบุหรี่’ หรือ ‘กระป๋องใส่บุหรี่’ ที่ยังไม่ได้มวนพร้อมสูบ สมัยนั้นเวลาจะสูบบุหรี่สักที ก็ต้องนั่งมวนต่อมวน แล้วจุดด้วยไฟที่เกิดจากการตี ‘หินเหล็กไฟ’ จนเกิดประกายติดใส่นุ่นในหลอดที่มีพร้อมอยู่ข้างกาย จึงจะได้สูบบุหรี่สำเร็จได้ดังใจนึก

บุหรี่หรือยาสูบ เคยถูกใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนควบคู่กับ ‘หมาก - พลู’ โดยเห็นได้จากคำกล่าว “หมากพลู บุหรี่” รับแขกบนชานเรือนของตน ก่อนการแพทย์และสาธารณสุขจะล่วงรู้ถึงภัยร้ายของควันบุหรี่ จนกระทั่งสังคมก็เริ่มเสื่อมความนิยมต่อ ‘บุหรี่’ ลงเป็นลำดับ

แต่หากดูตามสถิติ ‘นักสูบหน้าใหม่’ ก็ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยหันหาสิ่งที่เรียกว่า ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ มากขึ้น ๆ และด้วยความเชื่อว่า ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ มีภัยต่อร่างกายน้อยกว่า ‘บุหรี่’ จริง

'ปาท่องโก๋' ที่คุ้นเคย แท้จริงชื่อ 'อิ่วจาก้วย' เกิดจากความแค้นต่อ '2 ผัวเมีย' กบฏขายชาติ

'ปาท่องโก๋' เป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทาน ไม่ว่าจะในอาหารมื้อเช้า หรือกินเล่นเป็นขนม จับคู่กับเครื่องดื่มทั้งชา กาแฟ หรือเครื่องเคียงรสชาติเลิศอย่าง นมข้นหวาน สังขยา ฯลฯ ต่างก็ลงตัวเข้ากันและอร่อยสุดๆ

เราเข้าใจตรงกันว่า ปาท่องโก๋ หมายถึง แป้งทอดที่ประกบคู่กันกรอบนอกนุ่มใน หรือมีบางร้านดัดแปลงเติมความสร้างสรรค์เป็นรูปไดโนเสาร์ หรือ มังกร หรือรูปร่างอื่นๆ ที่สะดวก

แต่ความรู้ด้านหนึ่งที่มีการเข้าใจผิดในเรื่องของภาษาและการเรียกตามความนิยม นั่นคือ แท้จริงแล้ว 'ปาท่องโก๋' ที่เป็นภาษากวางตุ้ง แปลว่า 'ขนมน้ำตาลขาว' เป็นขนมชนิดหนึ่งของคนกวางตุ้ง รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อสัมผัสคล้ายกับขนมถ้วยฟู

แต่ลักษณะของปาท่องโก๋ที่คนไทยเรียกกันนั้น คือ 'อิ่วจาก้วย' หรือ 'อิ้วจาก๊วย' เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ขนมทอดน้ำมัน ซึ่งตรงตามลักษณะของ 'ปาท่องโก๋' แบบที่เราเรียกติดปาก 

'อิ่วจาก้วย' มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เป็นภูมิปัญญาที่คนจีนบ่มเพาะความคิดผสมความเคียดแค้น ก่อนจะกลายมาเป็นอาหารยอดนิยมอย่างในปัจจุบัน

ขอย้อนกลับไปในสมัยซ่งใต้ที่มีเมืองลิ่มอันเป็นเมืองหลวง (ราชวงศ์ซ่งมี 2 ยุค คือ ซ่งเหนือ ค.ศ. 960-1127 และซ่งใต้ ค.ศ. 1127-1279) ยุคนั้นราชวงศ์ซ่งใต้กำลังมีศึกปะทะกับประเทศไต้กิม โดยซ่งใต้ในขณะนั้นมี 'งักฮุย' หรือ 'เย่ว์เฟย' เป็นยอดขุนพล ที่นอกจากเก่งกาจด้านการรบที่สามารถต่อต้านทัพศัตรูได้ทุกครั้ง งักฮุยยังเป็นคนดีมีคุณธรรม จงรักภักดี รักชาติยิ่งชีพ จนเป็นที่นิยมรักใคร่ของคนจีนทั้งประเทศ

พ่อค้าประชาธิปไตย

เร่ค้าประชาธิปไตยไม่รู้จบ  กี่ล้านศพทบแผ่นดินสิ้นความฝัน
ยื่นมือแทรกให้แตกร้าวเข้าบีบคั้น  ใช้เชิงชั้นดันสงครามให้ลามรุก

ปักธงลงตรงไหน-ฉิบหายหมด  เลี้ยวลดคดในข้อก็ปั่นปลุก
ประชาธิปไตยปลอมเข้าย้อมคลุก  เคยวกฉุกคิดไหมในเรื่องนี้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top