Tuesday, 13 May 2025
NEWSFEED

‘การยืนเคารพ’ จากประกาศของ ‘คณะราษฎร’ สู่ความย้อนแย้งแห่ง ‘เยาวรุ่น’ ที่ดันไม่ทำตาม

เมื่อหลายวันก่อนในงานคอนเสิร์ตของ BLACKPINK มีประเด็นดราม่าเรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มี ‘คนบ้า’ คลั่งปฏิวัติคนหนึ่งออกมาห้อยโหนจนน่ารำคาญ พออ่านข้อความจากบุคคลท่านนั้นผมก็เลยรู้สึกถึงความย้อนแย้งที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอของบุคคลท่านนี้ เพราะจริงๆ คนที่บังคับให้คนต้องยืนตรงเคารพเพลงในแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้คือ กลุ่มบุคคลที่ ‘คนบ้า’ คลั่งปฏิวัติคนนี้เคารพซะเหลือเกิน นั่นก็คือ ‘คณะราษฎร’ และ 1 ในผู้ก่อการที่คลั่งการให้คนอื่นยืนเคารพตนและเพลงที่แต่งเพื่อตัวเองนั่นก็คือ ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ แต่ก่อนจะไปเล่าเรื่อง ‘บ้าๆ’ ของผู้นำชาติพ้นภัย ผมขอเล่าเรื่องของเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ก่อนนะครับ 

จุดเริ่มต้นของบทเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ นั้น สืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้มีการใช้เพลง ‘God Save the King’ ในการบรรเลงถวายความเคารพแด่องค์กษัตริย์ตามแบบอย่างธรรมเนียมการฝึกทหารจากทางฝั่งสหราชอาณาจักร 

ครั้นเมื่อถึงรัชสมัยของ ‘พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 5 พระองค์ เสด็จฯ ติดต่อกับต่างแดนสม่ำเสมอ โดยเฉพาะชาติอาณานิคม เช่น การเสด็จประพาสเกาะชวาและเมืองสิงคโปร์ในช่วงปี พ.ศ. 2414 ทหารที่นั่นก็ได้ใช้เพลง God Save the King บรรเลงเป็นเพลงพระเกียรติเพื่อรับเสด็จเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำซ้อนกันนี้ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงรับเสด็จขึ้นใหม่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ซึ่งในช่วงแรก เพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นใช้ ‘เพลงบุหลันลอยเลื่อน’ ที่มีการเรียบเรียงทำนองดนตรีขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ ‘พระประดิษฐไพเราะ’ (มี ดุริยางกูร) ได้ดัดแปลงมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า ส่วนเนื้อร้องประพันธ์โดย ‘พระยาศรีสุนทรโวหาร’ (น้อย อาจารยางกูร) นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในปี พ.ศ. 2416 มีเนื้อเพลงว่า....

‘ความ สุขสมบัติ บริวาร . เจริญ พระปฏิภาณ ผ่องแผ้ว 
จง ยืนพระชนมาน . นับรอบ ร้อยแฮ . มี พระเกียรติเพริดแพร้ว . เล่ห์เพียงจันทร’

ต่อมาใน พ.ศ.2431 ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์’ ทรงคิดจัดคอนเสิร์ต ขึ้นในงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่หน้าศาลายุทธนาธิการ (กระทรวงกลาโหม) โดยมี ‘ปโยตร์ ชูรอฟสกี้’ นักประพันธ์ดนตรีชาวรัสเซียเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตก และ ‘สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์’ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบทำนองดังนี้…

...ข้าวรพุทธเจ้าเหล่าพิริย์ผลผลา . สมสมัยกาละปิติกมล . รวมนรจำเรียงพรรค์สรรดุริยพล
สฤติมณฑลทำสดุดีแด่นฤบาล . ผลพระคุณะรักษาพละนิกายะสุขสานต์
ขอบันดาลธ ประสงค์ใด . จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย . ดุจถวายไชยฉนี้ ฯ

ต่อมาได้ทรงแก้และทูลเกล้าฯ ถวายใหม่ในงานพระราชพิธีสรง ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ’ ดังนี้…

ข้าวรพุทธเจ้า . เอามโนและสิรกราน . นบพระภูมิบาลบุญดิเรก . เอกบรมจักริน . พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง . เย็นศิราเพราะพระบริบาล . ผลพระคุณ ธ รักษา . ปวงประชาเป็นศุขสานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด . จงสฤษดิ์ดังสิทธิ์ดังหวังวรหฤทัย . ดุจถวายไชย ฉนี้ ฯ

จนมาถึง ‘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 6 เด็กๆมักจะร้อง...ฉนี้...ชะนี ไปโดยมาก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำท้ายเป็น...ไชโย มาตั้งแต่บัดนั้น

ส่วนธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์หรือโรงมหรสพในประเทศไทยนั้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยในยุคหนังเงียบ ต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมบรรเลงประกอบการฉายอยู่แล้ว และจะบรรเลงเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ถวายความเคารพเมื่อฉายจบหรือจบการแสดง โดยถือว่าเป็นสัญญาณปิดโรง ซึ่งแรกๆ คงบรรเลงอย่างเดียว ต่อมาจึงฉายกระจกพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นบนจอด้วย จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกโรงภาพยนตร์และโรงมหรสพในประเทศไทย โดยไม่มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด ย้ำนะครับ ‘ไม่มีกฎหมายบังคับ’ !!!

ส่วนเยาวรุ่นที่ ‘เห่าหอน’ เมื่อเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ บรรเลงขึ้นและไม่เท่ที่ต้องยืนเคารพ เพราะการยืนเคารพคือการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งบังคับโดยองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย คุณจะไม่ยืนเขาก็ได้ไม่มีใครว่าอะไร เพียงแต่คุณอาจจะเป็นคนที่โคตร ‘ไม่รู้ภาษา’ และ ‘ไม่มีการศึกษา’ เอาซะเลย สมแล้วที่ถูกจูงจมูกไปไหนก็ได้โดยง่าย 

เรื่องระเบียบต้อง ‘ยืนเคารพ’ นั้นมาเกิดในช่วง 3 ปี หลังปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร โดย ‘พระยาพหลฯ’ หัวหน้าคณะราษฎรได้ทำให้การยืนเคารพเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ในโรงภาพยนตร์เป็น ‘ระเบียบ’ ที่ต้องปฏิบัติตาม (แต่ยังไม่เป็นกฎหมาย) ซึ่ง ‘คณะราษฎรเป็นคนประกาศ’ นะครับ ย้ำ!!! 

ส่วนปฐมเหตุแห่งการ ‘บังคับยืนเคารพ’ โดยใช้ ‘กฎหมาย’ มาจาก ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ ผู้เป็นฮีโร่ของเยาวรุ่นพวกนี้ ซึ่งนายทหารและนักการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ ถึง 8 สมัย รวมระยะเวลากว่า 15 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด เป็นผู้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ, เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อวันที่ 8 กันยายน พุทธศักราช 2482 โดยมีเนื้อความว่า.....

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ, เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งสำคัญประจำชาติพึงได้รับการเชิดชูเคารพของชาวไทยทั้งมวล จึงประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดังต่อไปนี้ (ขออนุญาตแปลงเนื้อความเป็นภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน)

1. เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือลงจากเสาประจำสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวหรือนกหวีดเป่าคำนับหรือให้อาณัติสัญญาณการชักธงชาติขึ้นหรือลง ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม

2. เมื่อได้เห็นธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ ซึ่งทางการเชิญผ่านมาหรืออยู่กับที่ประจำแถวทหาร หรือหน่วยยุวชน หรือลูกเสือ ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม

3. เมื่อได้ยินเพลงชาติ ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในงานพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงานหรือที่อยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม

4. เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในโรงมหรสพหรือในงานสโมสรใดๆ ก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงาน หรือที่อยู่ในวงงาน หรือในโรงมหรสพนั้นแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม

5. เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่แสดงความเคารพดังกล่าวในข้อ 1–2–3 และ 4 นั้น พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

ประกาศมา ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2482
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

ร้องกันได้ยัง!! 'หน้าที่เด็ก' เวอร์ชัน 2023 เพลงแปลงเพื่อกลุ่มการเมือง ‘เยาวรุ่น’

เพจนักเขียนร้อยกรองชื่อดัง 'ภกฺติ' ได้เผยแพร่เนื้อร้องเพลง 'หน้าที่เด็ก' เวอร์ชัน 2023 มีเนื้อหาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มคลั่งไคล้ลัทธิการเมือง หรือกลุ่ม ‘เยาวรุ่น’ (เยาวชน + วัยรุ่น) ซึ่งมักแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าว บิดเบือนสิ่งดีในสังคมให้แปดเปื้อน 

โดยเพจ 'ภกฺติ' (ออกเสียงว่า ภักติ ซึ่งเป็นคำเดียวกับ ภักดี) ได้อิงมาจากทำนอง - คำร้องของ 'หน้าที่เด็ก' เพลงเดิม ซึ่งประพันธ์โดย 'ชอุ่ม ปัญจพรรค์' (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534) ทำนองโดย 'เอื้อ สุนทรสนาน' (บูรพศิลปิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สาขาศิลปะการแสดง) มีวง 'สุนทราภรณ์' บรรเลงและบันทึกเสียง ซึ่งนับเป็นบทเพลงที่มีอายุยาวนานที่สุดเพลงหนึ่งของไทย ไว้ดังนี้...

* เด็กเอ๋ยเด็กดี
คิดให้ถ้วนถี่อย่าเอาอย่างมัน (ซ้ำ*)

หนึ่ง ชังชาติศาสนา
สอง ปากหมาและหน้ามั่น

สาม เถียงพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นช่างกำเริบเสิบสาน

‘BLACKPINK’ สร้างประวัติศาสตร์วงการ K-pop โชว์บนเวที ‘Coachella 2023’ ในฐานะ Headliners

BLACKPINK สร้างประวัติศาสตร์เป็นศิลปินหญิง K-pop กลุ่มแรก ขึ้นโชว์บนเวที Coachella 2023 ในฐานะ Headliners

เมื่อวานนี้ (10 ม.ค. 66) เทศกาลดนตรีชื่อดังของสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยรายชื่อศิลปินที่จะเข้าร่วมในปี 2023 อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมี 4 สาววงแบล็กพิงก์ (BLACKPINK) ลิซ่า, จีซู, เจนนี่ และโรเซ่, Bad Bunny และ Frank Ocean เป็นศิลปินชั้นนำ

ในขณะที่ BLACKPINK เคยขึ้นแสดงที่งาน Coachella ในปี 2019 ปีนี้จะเป็นครั้งแรกที่พวกเธอจะได้ขึ้นเวทีในฐานะผู้นำ ช่วงเดือนเมษายนนี้ ซึ่งทำให้ BLACKPINK เป็นศิลปินเคป็อป (K-POP) กลุ่มแรกที่ได้ขึ้นโชว์บนเวที Coachella 2023 ในฐานะ Headliners

‘คำสาป-อาถรรพ์’ ของ ‘วังหน้า’ สมัยรัตนโกสินทร์ สู่ปัจฉิมบท ยกเลิก ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’

‘วังหน้า’ หรือ ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ เป็นชื่อสถานที่และตำแหน่งสำคัญของบ้านเมืองจนกระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงยกเลิกตำแหน่งสำคัญนี้ เนื่องจากกรณีขัดแย้งและไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เป็นเครื่องมือให้ฝรั่งชาตินักล่าอาณานิคมมาใช้ในการครอบงำและวุ่นวายในสยาม แต่กระนั้นเรื่องราวของ ‘วังหน้า’ ก็มีความน่าสนใจ ซึ่งผมจะขอนำมาเล่าสู่กันอ่านและผมขออนุญาตเล่าเรื่องราวเฉพาะ ‘วังหน้า’ ในสมัยรัตนโกสินทร์ดังนี้นะครับ 

“...ของเหล่านี้ กูอุตส่าห์ทำด้วยความคิดและเรี่ยวแรงเป็นหนักหนา หวังจะอยู่ชมนานๆ ก็ไม่ได้ชม ของใหญ่ของโตของกูดีๆ ของกูสร้าง ใครไม่ได้ช่วยเข้าทุนอุดหนุน กูสร้างขึ้นด้วยกำลังข้าเจ้าบ่าวนายของกูเอง นานไปใครไม่ใช่ลูกกู เข้ามาเป็นเจ้าของครอบครองขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข...” คำสาปแช่งนี้เป็นคำเล่าลือว่าออกมาจากพระโอษฐ์ของ ‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ วังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีนัยยะสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ มีพระนามเดิมว่า ‘บุญมา’ ประสูติแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยรับราชการอยู่ใน ‘กรมมหาดเล็ก’ ตำแหน่ง ‘นายสุจินดาหุ้มแพร’ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ทรงหนีภัยสงครามไปร่วมทัพกับ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ ร่วมกอบกู้บ้านเมืองจนได้เอกราช พระองค์ขึ้นชื่อว่าเป็นทหารเอกและมีบารมีมาก แถมเป็นผู้ชักนำพี่ชายของตนคือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ซึ่งขณะนั้นเป็นยกกระบัตรเมืองราชบุรี มาเข้าร่วมกองทัพจนได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ในกาลต่อมาได้ เรียกว่า ‘มีบารมีจนพี่ชายต้องเกรงใจ’

เมื่อได้รับการสถาปนาพระองค์ได้รับพระราชทานที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ขึ้นไปจนถึงคูเมือง เพื่อสร้างเป็น ‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ และพระองค์ยังทรงขอพื้นที่บางส่วนของวัดมหาธาตุ มาผนวกเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังอีกด้วย ถ้าเทียบขนาด ‘วังหลวง’ กับ ‘วังหน้า’ ในตอนนั้นต้องบอกว่า ‘ใหญ่’ เกือบจะเท่ากัน แล้วคุณรู้ไหม ? ว่าทำไม ? วังหน้าถึงต้องอยู่หน้าวังหลวง ว่ากันว่าการวางตำแหน่งแบบนี้ยึดตามหลักพิชัยสงครามเมื่อไปออกศึก ที่จะแบ่งเป็นทัพหน้า ทัพหลวง โดยเมื่อข้าศึกมาประชิด ทัพหน้าจะเป็นด่านแรกที่ปะทะดังนั้นบทบาทของผู้ครองวังหน้าจึงยิ่งใหญ่และสำคัญมาก ๆ (เหมาะกับนักรบอย่าง ‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ มาก ๆ ) 

‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ ทรงสร้าง ‘พระบวรราชวัง’ นี้อย่างยิ่งใหญ่และประณีตบรรจง ด้วยหวังจะได้ทรงอยู่อย่างเป็นสุขในบั้นปลายพระชนม์ชีพ แต่หลังจากดำรงพระยศกรมพระราชวังบวรฯ ได้ 21 ปี ก็ด้วยประชวรพระโรคนิ่ว เล่ากันว่าทรงทั้งห่วงและหวงพระบวรราชวังที่โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง เล่ากันว่าในวันที่พระองค์ ทรงใกล้จะเสด็จสวรรคต ทรงใคร่อยากชมพระราชวังบวรฯ ให้สบายพระทัย จึงโปรดให้เชิญพระองค์ขึ้นเสลี่ยงบรรทมพิงพระเขนย เชิญเสด็จรอบพระราชมณเฑียร และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานต่อรัชกาลที่ 1 ให้พระโอรสธิดาของพระองค์ได้ประทับอยู่ในวังหน้าต่อไป แต่ไม่ทราบคำขอนั้นเป็นอย่างไร จึงได้เกิดคำสาปแช่งที่เป็นเรื่องเล่าตามที่ผมได้กล่าวไว้ในข้างต้น 

‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ สวรรคตขณะพระชนมายุ 60 พรรษา ‘พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช’ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ตั้ง ‘สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร’ (กาลต่อมาคือ ‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’) พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ที่สอง

ครั้งนั้น ‘เจ้าคุณจอมแว่น พระสนมเอก’ ได้กราบฯ ทูลขอให้เชิญเสด็จฯ กรมพระราชวังบวรฯ พระองค์ใหม่ไปประทับ ณ พระบวรราชวังแทน แต่รัชกาลที่ 1 ไม่ทรงเห็นด้วย อาจเพราะทรงรำลึกถึงคำสาปแช่ง จึงมีพระราชดำรัสว่า “ไปอยู่บ้านช่องของเขาทำไม เขารักแต่ลูกเต้าของเขา เขาแช่งเขาชักไว้เป็นหนักเป็นหนา” จึงโปรดเกล้า ให้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม จนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์เป็นกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์เดียวที่ไม่ได้เสด็จฯประทับอยู่ที่วังหน้า และเป็นเพียงพระองค์เดียวอีกเช่นกันที่ได้สืบราชบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์คือ ‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’ รัชกาลที่ 2 

‘พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย’ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา ‘สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์’ เป็น ‘กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์’ และทรงมีพระราชดำริว่าควรย้ายไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยเป็นพระราชวังสำหรับพระมหาอุปราช ซึ่งในช่วงรัชกาลที่ 2 นี้ บรรยากาศและสภาพการณ์ต่างๆ ระหว่าง ‘วังหลวง’ และ ‘วังหน้า’ เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะทั้งล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 และ วังหน้าพระองค์นี้ ทรงสนิทกันมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ วังหน้าเองก็เสด็จฯ เข้าวังหลวง เพื่อทรงปฏิบัติข้อราชการและเข้าเฝ้าฯ ไม่ได้ขาด ‘กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์’ ดำรงพระยศอยู่ 8 ปี ก็สวรรคตในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2360 โดยมีพระชนมายุเพียง 44 พรรษา รัชกาลที่ 2 ไม่ทรงสถาปนาผู้ใดขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ในรัชสมัยของพระองค์อีก

‘พระราชวังบวรสถานมงคล’ ว่างเว้นเจ้าของมา 7 ปี กระทั่ง ‘พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2367 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ ‘กรมหมื่นศักดิพลเสพ’ (พระองค์เจ้าอรุโณทัย) พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 และมีศักดิ์เป็นสมเด็จอา (เป็นอารุ่นเล็กที่อายุพอ ๆ กัน) บวรราชาภิเษกเป็น ‘สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ’ ครองวังหน้าต่อ สำหรับคำสาปแช่งที่หวาดกลัวกันนั้น น่าจะไม่เป็นปัญหาต่อกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์นี้ ด้วยพระองค์ทรงอภิเษกกับ ‘พระองค์เจ้าดาราวดี’ พระราชธิดาใน ‘กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท’ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย แต่กระนั้นก็ทรงอยู่ในตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้เพียง 8 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้เพียง 47 พรรษา และมิได้มีพระราชวงศ์พระองค์ใดเป็นกรมพระราชวังบวรฯ จนสิ้นรัชกาลที่ 3 

‘สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ’ ได้ทรงซ่อมแซมพระวิมานทั้ง 3 หลัง โดยมีการถือปูนเสริมไม้และทรงสร้างพระที่นั่งเป็นท้องพระโรงใหม่อีก 1 องค์ ถ่ายแบบอย่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง ทรงขนานนามว่า ‘พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย’ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่จัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

ครั้นในรัชสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราช ‘เจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรศรังสรรค์’ เป็น ‘วังหน้า’ แต่แตกต่างด้วยการแก้เคล็ดก่อนตั้งด้วยว่า ‘กรมขุนอิศเรศรังสรรค์’ มี ‘พระชะตากล้า’ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เฉลิมพระเกียรติยศเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งและมี ‘พระราชพิธีบวรราชาภิเษก’ ขึ้นเป็น ‘พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว’  (ซึ่งผมจะนำมาเล่าแยกในบทความลำดับต่อ ๆ ไปนะครับ) 

เจ้าชายนักประดิษฐ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ผู้สร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

เมื่อช่วงปีใหม่ผมมีโอกาสได้ไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามวิถีของชาวพุทธ โดยได้ไปสักการะ 'พระพุทธอังคีรส' ประธานพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คำว่า 'อังคีรส' มีความหมายว่า 'มีพระรัศมีเปล่งออกมาจากพระวรกาย'

พระพุทธรูปองค์นี้ หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อต้นรัชกาลที่ 5 ด้วยกะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท เป็นทองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เมื่อยังทรงพระเยาว์ เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงนำไปประดิษฐานที่พระปฐมเจดีย์ แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2415 ซึ่งใต้ฐานบัลลังก์ของ 'พระพุทธอังคีรส' นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมสรีรางคารของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พุทธลักษณะของ 'พระพุทธอังคีรส' ประกอบด้วยพระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก ไม่มีอุษณีษะ (ปุ่มด้านบนศรีษะ) มีพระรัศมีขนาดใหญ่เป็นเปลว พระกรรณสั้นเหมือนมนุษย์ปกติ ไม่ยาวเหมือนพระพุทธรูปทั่วไป การครองจีวรห่มเฉียง มีริ้วแบบธรรมชาติ สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่เหมือนผ้าสังฆาฏิที่ใช้จริงแบบพระสงฆ์ทั่วไป นักวิชาการให้ความเห็นกันไว้ว่านี่คือพระพุทธรูปที่มีลักษณะ 'เทวดาครึ่งมนุษย์' ที่งดงาม ไร้ที่ติ ถึงตรงนี้ใครกันหนอ ? คือผู้ปั้นและหล่อ 'พระพุทธอังคีรส' องค์นี้ 

'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' พระองค์คือช่างปั้นและช่างหล่อท่านที่ผมสงสัยนั่นเอง พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของ 'พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์' ต้นราชสกุล 'ดวงจักร' เมื่อแรกประสูติ ทรงพระนามว่า 'หม่อมเจ้าดิศ' พระบิดาของพระองค์นั้น ทรงกำกับ 'กรมช่างหล่อ' (เป็น DNA จากพ่อสู่ลูกแน่ ๆ อันนี้ผมคิดเองนะ) ในรัชสมัยของ 'พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว' โดย 'ช่างหล่อ' เป็นหนึ่งในกลุ่ม 'ช่างหลวง' ที่เรียกกันว่า 'ช่างสิบหมู่' 

โดย 'ช่างหล่อ' มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหล่อโลหะ เช่น การหล่อกลองมโหระทึก หล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ การหล่อพระพุทธรูปโลหะทำได้โดยการใช้ขี้ผึ้งทำเป็นหุ่นแล้วละลายขี้ผึ้งจนเกิดที่ว่างในแม่พิมพ์ แล้วจึงเทโลหะหรือทองที่กำลังหลอมละลายเข้าแทนที่ จะได้เป็นรูปหล่อโลหะสำริด เรียกวิธีนี้ว่า 'ไล่ขี้ผึ้ง' ซึ่งก็คืองานวิจิตรศิลป ประเภทงานประติมากรรมนั่นเอง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญมาก ๆ ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเชื่อได้ว่า 'พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' คงจะได้เรียนรู้ ศึกษา และสั่งสมประสบการณ์ จาก 'พระบิดา' ของพระองค์นั่นเอง 

ผมคงไม่เล่าพระประวัติของพระองค์มากนัก แต่จะเล่าถึงความสามารถของพระองค์และงานปั้นที่พระองค์ได้ทรงปั้นไว้ดีกว่า 

เริ่มต้นในรัชสมัยของ 'พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว' รัชกาลที่ 4 ซึ่งในช่วงนั้น ฝรั่งเศสและอังกฤษ พยายามหาทางจะยึดครองสยามให้ได้ แต่เมื่อถึงช่วงเวลาวิกฤติก็เกิดเหตุพลิกผันที่ทำให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างอัศจรรย์ พระองค์จึงทรงดำริว่า เป็นไปได้ว่าน่าจะมีเทพยดาคอยพิทักษ์รักษาสยามอยู่ จึงสมควรจะสร้างรูปสมมติของเทพยดาองค์นั้นขึ้นเพื่อสักการบูชา จึงได้มีพระบรมราชโองการ ให้ 'พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ' เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็น 'หม่อมเจ้าดิศ' รับราชการในกรมช่างสิบหมู่ ได้เป็นนายช่างเอกออกแบบเทพยดาองค์หนึ่ง ตามพระราชดำริของพระองค์ ซึ่งใช้คติ 'มเหศักดิ์' หรือเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมืองมาจินตนาการแล้วปั้นขึ้นเป็น 'เทวรูปยืน' ทรงเครื่องต้น พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระในท่าประทานพร มีขนาดสูง 8 นิ้ว หรือ 20 เซนติเมตร เป็นที่พอพระราชหฤทัยของ ร.4 เป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นแล้วถวายพระนามว่า 'พระสยามเทวาธิราช'

'Born Pink World Tour' ที่สนามศุภชลาศัย ไม่คู่ควรกับ BLACKPINK ขนาดนั้นเชียวหรือ?

ท่ามกลางเสียงอื้ออึงก่อนการมาถึงของ 'BLACKPINK' เพื่อ 'Born Pink World Tour' ที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 7 - 8 มกราคม พ.ศ. 2566 นี้ โดยประเด็นพูดถึงบนโลกออนไลน์นั้นก็คือสถานที่จัดงาน - สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ (The National Stadium of Thailand) ระดับตำนานของประเทศไทย ที่แสดงความคิดเห็นเชิงติเตียนว่าไม่เหมาะสมด้วยข้อความระบายอารมณ์ต่าง ๆ นานา

แต่หากมองย้อนกลับไปในอดีต 'สนามศุภชลาศัย' ได้ถูกใช้เพื่องานกิจกรรมอันหลากหลายทั้งระดับชาติ อาทิ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (เคานต์ดาวน์) งานระดับนานาชาติ เช่น กีฬาซีเกมส์, มหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ฟุตบอลโลก (หญิง) รวมถึงงานระดับศรัทธามหาชนกับพิธีบูชามหามิสซา เนื่องในวโรกาสที่ 'สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส' เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อสี่ปีก่อน

แต่ใช่ว่าสนามศุภฯ จะรับงานจับฉ่ายรายตลาดนัดก็หาไม่ เพราะขนาดร็อกกรุ๊ปทรงเสน่ห์อันดับหนึ่งของโลก 'Bon Jovi' ยังจำใจต้องไปกางเวทีเล่นที่สนามกีฬากองทัพบก หรือแม้แต่อัจฉริยะดนตรีอย่าง 'ฟิล คอลลินส์' ก็ยังอับปัญญาหาทางเข้าสนามศุภชลาศัยไม่เจอ จนต้องระเห็จไปโชว์ที่สนามเดียวกัน ด้วยคำปฏิเสธ "ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่" สั้น ๆ ประโยคเดียว

จะมีก็เพียง 'King of Pop' ผู้ล่วงลับ กับอภิมหาโปรเจกต์ 'MICHAEL JACKSON DANGEROUS WORLD TOUR LIVE IN BANGKOK 1993' เท่านั้น ที่ลอดผ่านซุ้มประตูเข้ามาจัดแสดงดนตรีลือลั่นโลกครั้งนั้นได้ (24 และ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536)

ขอนอกเรื่องหน่อย เพราะคำว่า "โรคเลื่อน" เกิดขึ้นและได้รับความนิยมก็ช่วงคอนเสิร์ต ไมเคิล แจ็คสัน นี่เอง โดยเดิมกำหนดวันแสดงไว้ 2 รอบ 24 - 25 สิงหาคม แต่พอคอนเสิร์ตรอบแรกจบลง ราชาเพลงป็อป (ซึ่งอยู่ระหว่างการทำงานที่ไทย) ถูกกล่าวหาจากสำนักงานตำรวจ Los Angeles สหรัฐอเมริกา ด้วยข้อหากระทำการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก โดยเจ้าหน้าที่ได้บุกตรวจค้นบ้านพักของเขา จึงเป็นที่มาของการเลื่อนโชว์อีกสองครั้งสองคราในช่วงเวลาสองวัน โดยสื่อมวลชนไทยนำท่าเต้น ‘ลูบเป้า’ อันเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว มาผูกโยงเข้ากับคำ ‘โรคเลื่อน’ แฝงนัยถึงอวัยวะบางชิ้นซึ่งมิได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร

จาก 'มกร' ความทรงจำเลือนลางกาลก่อน สู่ 'มังกร' ผู้ครอบครองความเชื่อปัจจุบัน

แรกเริ่มเดิมทีชื่อเดือน 'มกราคม' มีรากศัพท์มาจากคำว่า 'มกร' ตามความเชื่อแบบฮินดูคติ แต่ทำไมปัจจุบันจึงเพี้ยนเป็น 'มังกร' ซึ่งคือภูมิปัญญาของบูรพาวิถี ไยความเชื่อจากสองรากเหง้าที่ตั้งห่างกันเกินกว่า 7,500 กิโลเมตร จึงเดินทางมาบรรจบรวมกันเป็นหนึ่ง ณ ดินแดนสยามแห่งนี้

ในเรื่องดังกล่าว รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ (ตะวันออก) แห่งราชบัณฑิตยสถาน เคยอธิบายไว้ว่า "คนไทยเรามักสับสนระหว่างคำว่า 'มกร' กับ 'มังกร' แม้จนถึงปัจจุบันเราก็ชอบคิดว่า มกร หรือ มังกร เป็นสัตว์ในเทพนิยายชนิดเดียวกัน แต่ถ้าหากดูตามหลักฐานดั้งเดิม คนไทยสมัยโบราณย่อมจะรู้จัก 'มกร' มาก่อน"

มกร (ออกเสียงว่า มะ-กะ-ระ หรือ มะ-กอน) คำจากภาษาสันสกฤต ตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้ความหมายว่า "...เป็นสัตว์ตามจินตนาการของช่างอินเดียโบราณ มีลักษณะต่างๆ กันไป เช่น ในสมัยแรกส่วนหัวคล้ายจระเข้ มีจะงอยปากงอไปทางด้านหลังคล้ายงวงช้างขนาดสั้น มีฟันแหลมคม มีขาคล้ายสิงโตหรือสุนัข ท่อนหางทำเป็นอย่างหางปลา"

"คนโบราณจินตนาการกันว่า มกร คือจระเข้มีงวง มีสี่ขา โดยจากหลักฐานพบเห็นได้ตามรูปสลักบนปราสาทหินแถบนี้ บนทับหลังก็พบบ่อย ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ก็มี โดยมกรอาจผสมผสานกับสัตว์ตำนานชนิดอื่น เช่น มกรคายนาคบนศิลปะแบบถาลาบริวัต หรือประทับยืนบนแท่นแล้วคายวงโค้งออกมาจากปาก มกร ยุคถาลาบริวัตนี้ตัวจะกลมๆ ป้อมๆ น่ารัก" รศ.ศานติ กล่าว

ช่างศิลป์โบราณต่างจินตนาการว่าทั้ง มกร และ มังกร คือเทพเจ้าแห่งท้องทะเล (น้ำ) โดยรวมจับเอาลักษณะของสัตว์หลากหลายชนิดมาผสมเข้าด้วยกัน ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ โดย 'มกร' มีส่วนปากคล้ายจระเข้ มีงวงเหมือนช้าง ลำตัวและหางเหมือนปลา ยุคหลังๆ ยังเพิ่มลักษณะของสัตว์อื่นๆ ปะปนตามมาอีกหลายชนิด ตามแต่จินตนาการของช่าง เช่น สิงโต แพะ กวาง นาค มังกร ฯลฯ ล้วนแต่เป็นสัตว์ซึ่งมีความหมายทางมงคลทั้งสิ้น

ส่วน 'มังกร' ตามปรากฎของพจนานุกรมประเทศจีน (ปัจจุบัน) ให้ความหมายไว้ว่า "...มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูคล้ายหูวัว มีปีกเหมือนนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียง (ตี) ฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักษณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน แต่บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ”

‘พระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9’ ศูนย์รวมใจแห่งใหม่ที่ในหลวง ร.10 พระราชทานเพื่อปวงชน

ย้อนไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 หรือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สำหรับพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.9 หรือ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งอยู่ในอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต มีขนาดความสูงถึง 7.7 เมตร หรือขนาด 4 เท่าครึ่งของพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หันพระพักตร์ไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถนนศรีอยุธยา หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฐานพระบรมรูปตั้งอยู่บนลานรูปไข่ ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นผังแปดเหลี่ยม ตามคติพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันเป็นสัญลักษณ์เบื้องแรกแห่งการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ส่วนแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง 8 เหลี่ยมมีแผ่นจารึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อนำพาประเทศชาติอยู่ดีมีสุข อันก่อให้เกิดความผูกพันและความจงรักภักดีที่ประชาชนมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของไทยที่ไม่มีชาติใดเสมอเหมือน

ทั้งนี้ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เขตดุสิต มีชื่อเต็มว่า ‘อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร’ มีพื้นที่ทั้งหมด 297 ไร่ เป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมสามแยกนางเลิ้ง ล้อมรอบด้วยถนนสวรรคโลก ถนนศรีอยุธยา ถนนพระรามที่ 5 และถนนพิษณุโลก ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต

‘หนึ่งคนว่าย หลายคนให้’ ปันน้ำใจ ‘พี่น้องชาวไทย’ สู่ ‘พี่น้องชาวลาว’

หลายครั้งหลายคราที่เราได้เห็นคนในวงการบันเทิงออกมาทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เช่น ‘บิณฑ์ บันลือฤทธิ์’ ที่อาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะไฟไหม้ น้ำท่วม และทุกเรื่องที่ช่วยได้ก็จะเข้าไปช่วยเหลืออย่างสุดกำลัง หรือแม้แต่ ‘พี่ตูน-อาทิวราห์ คงมาลัย’ ที่ก่อนหน้านี้ได้ออกมาจัดกิจกรรมวิ่งการกุศลเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือโรงพยาบาล และยังมีคนในรวมถึงบุคคลในวงการบันเทิงอีกหลายท่านที่ขออภัยที่ไม่ได้เอ่ยนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่สังคมไทยต่างภาคภูมิใจในจิตอาสาของพวกเขาทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามในปีนี้ ถ้าจะให้พูดถึงจิตอาสาอีกคนในวงการบันเทิงที่สร้างกระแสสะเทือนสังคมได้สุด ๆ ก็คงหนีไม่พ้น ‘โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์’ นักร้อง-นักแสดงชื่อดัง ที่ได้ออกมาประกาศโครงการว่ายน้ำข้ามโขง เพื่อระดมทุนซื้อเครื่องมือแพทย์มอบให้กับโรงพยาบาลนครพนม และโรงพยาบาลแขวงคำม่วน สปป.ลาว ภายใต้ชื่อโครงการ ‘One Man & The River หนึ่งคนว่าย หลายคนให้’ โดยตั้งเป้ารับยอดบริจาคไว้ที่ 17 ล้านบาท

หลังจากที่ประกาศโครงการออกไป กระแสตอบรับก็มีทั้งดีทั้งร้ายปะปนกันไป มีบางคนที่ไม่สนับสนุนการว่ายน้ำข้ามโขงในครั้งนี้เพราะมองว่าอันตรายเกินไป อีกทั้งจะกลายเป็นภาระให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องระดมคนมาดูแล บางคนก็สนับสนุนเป็นอย่างดีเพราะเชื่อมั่นในฝีมือและความตั้งใจของโตโน่

กราดยิงหนองบัวลำภู โศกนาฏกรรม ทำคนไทยหัวใจสลาย

วันที่ 6 ตุลาคม 2565 ได้ถูกจารึกไว้ให้เป็นอีกหนึ่งวันสุดสลดที่คนไทยทุกคนแทบหัวใจแตกสลาย เมื่อเกิดเหตุเศร้ากราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่จังหวัดหนองบัวลำภู ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างน้อยเกือบ 50 ราย ก่อนผู้ก่อเหตุจะยิงตัวตายพร้อมลูกและภรรยาในเวลาต่อมา 

ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ก็มีรายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ไปยังหนองบัวลำภู เพื่อทรงเยี่ยมผู้บาดเจ็บและให้กำลังใจครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นการส่วนพระองค์ 

ทั้ง 2 พระองค์ ทรงทุกข์ใจ กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ เพราะผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเด็ก ๆ นั่นจึงทำให้ทรงประสงค์ไปเยี่ยมราษฎรทันที พร้อมทั้งรับผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์

สำหรับลำดับเหตุการณ์โศกนาฏรรมครั้งนี้จะพบว่า คนร้ายเป็นตำรวจนอกราชการ อายุ 34 ปี ตำแหน่งสุดท้ายในทางราชการ คือ ผบ.หมู่ (งานป้องกันและปราบปราม) สภ.นาวัง ก่อนถูกจับกุมตัวพร้อมของกลางยาบ้า ทำให้ถูกไล่ออกจากราชการเมื่อ 17 มิ.ย. 2565


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top