Tuesday, 7 May 2024
องค์การอนามัยโลก

‘องค์การอนามัยโลก’ ชี้!! การระบาดใกล้ถึงจุดสิ้นสุด หลัง Omicron ส่อแวว!! ทำระบาดใหญ่ยุโรปจบลง 

ฮันส์ คลูจ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ในยุโรปกำลังเข้าสู่ระยะใหม่ ซึ่งอาจนำมาสู่จุดจบของการแพร่ระบาดในยุโรป 

“เป็นไปได้ว่ายุโรปกำลังก้าวเข้าสู่จุดสิ้นสุดของโรคระบาด”

คลูจ กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีโดยเสริมว่าโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่เชื้อให้กับชาวยุโรปถึง 60% ภายในเดือนมี.ค. 65

นอกจากนี้ เมื่อยุโรปผ่านการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิครอนระลอกรุนแรงนี้ไปได้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าโลกจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ไปอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ไม่ว่าจะด้วยวัคซีนหรือการติดเชื้อ และการแพร่ระบาดจะลดลงตามฤดูกาลด้วย

“เราคาดว่าจะมีช่วงเวลาที่เงียบสงบช่วงหนึ่ง ก่อนที่โควิด-19 จะกลับมาแพร่ระบาดอีกในช่วงปลายปีนี้ แต่อาจไม่ได้กลับมาในรูปแบบของโรคระบาดใหญ่ (Pandemic)” คลูจกล่าว

ขณะที่องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคแอฟริกาได้กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในภูมิภาคลดลงเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 ซึ่งเชื้อโอมิครอนทำให้การแพร่ระบาดถึงจุดพีก

ศบค. เผย WHO ห่วงที่หลายประเทศผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมมากเกินไป หวั่นยอดติดเชื้อทำยอดตายพุ่ง

ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทยตอนหนึ่งว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ห่วงที่หลายประเทศที่กำหนดนโยบายผ่อนคลายโควิด19 มากจนเกินไป โดยให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวดอีกต่อไป ซึ่ง WHO ค่อนข้างเป็นห่วง

จึงออกมาย้ำเตือนว่าการแพร่ระบาดที่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นนั้นจะหมายถึงมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโอมิครอนที่รายงานที่แรกที่แอฟริกาเมื่อ 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกมียอดติดเชื้อไปแล้ว เกิน 90 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งปีของปี 63 จึงมีทิศทางที่ไม่เห็นด้วยกับการผ่อนคลายมากเกินไป ซึ่งประเทศที่ผ่อนคลายชัดเจนคือ เดนมาร์ก ที่เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาได้ยกเลิกมาตรการสาธารณสุขที่จำเป็นหลายอย่าง ทั้งเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ รวมทั้งในแง่การดำเนินชีวิตมีการกำหนดว่า

ส่องหลายประเทศ เริ่มคลายล็อก-ใช้ชีวิตกับโควิดเร็ว ความน่ากังวล ‘ยอดป่วย-ตาย’ ขยับหวนคืน

ปัจจุบันหลายประเทศกำลังผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด เพื่อให้ผู้คนใช้ชีวิตปกติ ล่าสุดนิวซีแลนด์ประกาศเปิดประเทศ ยกเลิกกักตัวคนเดินทาง ส่วนบริษัทใหญ่เกาหลีใต้ขอให้พนักงานตรวจหาเชื้อก่อนมาทำงาน หรืองดมาทำงาน 2 สัปดาห์ ขณะที่บังกลาเทศขยายการปิดโรงเรียนต่อไปอีก เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

แม้ในความเป็นจริง การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 จะยังคงดำรงอยู่ แต่ขณะนี้มีหลายชาติเพิ่มมากขึ้นที่ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้คนกลับไปใช้ชีวิตด้วยการปาร์ตี้ในไนต์คลับ นั่งดูภาพยนตร์ติดกัน และไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะอีกครั้ง

แนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งประเทศจำนวนมากค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มโควิด ท่ามกลางความหวังว่าการแพร่ระบาดของไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอนน่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว ซึ่งอาจถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งหลังการแพร่ระบาดที่ยาวนานเกือบสองปี และอาจนำไปสู่การรับมือกับโควิดในวิธีเดียวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัด

ยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดมานานหลายเดือน มีการประกาศผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มมากที่สุด ไม่ว่าจะในอังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงหลายประเทศที่ได้ยุติหรือผ่อนคลายมาตรการคุมเข้ม เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ที่หลายเมืองได้มีการยุติคำสั่งให้ผู้คนต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนหรือการสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ แต่ยังบังคับให้มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยในโรงเรียนและระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลกมากกว่า 370 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5.6 ล้านคน

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศยกเลิกข้อบังคับให้ผู้คนเข้ารับการกักตัวเมื่อเดินทางมาถึงนิวซีแลนด์รวมถึงเปิดประเทศอีกครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับเสียงตอบรับด้วยความยินดีจากชาวนิวซีแลนด์หลายพันคนที่ยังคงติดค้างอยู่ในต่างประเทศ และเฝ้ารอที่จะเดินทางกลับบ้าน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 นิวซีแลนด์กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการบังคับใช้มาตรการควบคุมชายแดนที่เข้มงวดมากที่สุด โดยผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศจะต้องกักตัวในโรงแรมที่กำกับดูแลโดยทหารเป็นเวลา 10 วัน

ขณะที่บริษัทใหญ่ในเกาหลีใต้บางแห่งใช้มาตรการสกัดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการขอให้พนักงานตรวจหาเชื้อก่อนมาทำงานในวันนี้ หรืองดมาทำงานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เนื่องจากคนจำนวนมากเพิ่งกลับจากการเดินทางวันหยุดปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ ตัวอย่างเช่น กาเกาคอร์ป บริษัทแอปพลิเคชันแชตรายใหญ่ ห้ามพนักงานเข้าสำนักงานจนถึงวันที่ 18 ก.พ. โดยจะยกเว้นให้เป็นบางกรณี ซึ่งต้องตรวจหาเชื้อด้วยตัวเองในพื้นที่ที่จัดไว้และมีผลตรวจเป็นลบเท่านั้น และหลังจากวันที่ 18 ก.พ. พนักงานต้องตรวจหาเชื้อก่อนมาทำงาน ด้านเอสเคอินโนเวชัน บริษัทด้านพลังงาน และแอลจีเอเนอร์จีโซลูชัน ผู้ผลิตแบตเตอรี ได้แจกชุดตรวจให้พนักงานตั้งแต่ก่อนปีใหม่ และขอให้ตรวจก่อนกลับมาทำงานตั้งแต่วันนี้ ขณะที่หน่วยงานรัฐบาลเกาหลีใต้ก็ใช้มาตรการลักษณะเดียวกัน

WHO พบ BA.2 ไม่ก่ออาการรุนแรงมากกว่า แม้จะแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าโอมิครอนตัวดั้งเดิม

องค์การอนามัยโลกระบุในวันอังคาร (22 ก.พ.) สายพันธุ์ BA.2 ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ไม่ก่ออาการรุนแรงมากไปกว่าตัวกลายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิม หรือ BA.1

มาเรีย ฟาน เคิร์คโฮฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวในช่วงถามตอบทางออนไลน์ ระบุว่า จากตัวอย่างของผู้ติดเชื้อจากหลายประเทศ "เราไม่พบเห็นความแตกต่างในความรุนแรงของ BA.1 เมื่อเปรียบเทียบกับ BA.2"

"มันมีระดับความรุนแรงพอๆ กันในความสัมพันธ์กับความเสี่ยงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และนี่ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะในหลายประเทศมีพวกมันวนเวียนอยู่จำนวนมากมายมหาศาล ทั้ง BA.1 และ BA.2" เธอกล่าว

WHO แนะยูเครน ทำลายเชื้อโรคในแล็บ ป้องกันรัสเซียโจมตีแล้วเชื้อรั่วไหล

อนามัยโลกแนะนำยูเครน ให้ทำลายเชื้อก่อโรคต่างๆ ในแล็บของประเทศ เช่น โควิด-19 เพื่อป้องกันการรั่วไหลหากแล็บถูกโจมตี

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ยูเครนทำลายเชื้อโรคที่มีภัยคุกคามสูงซึ่งอยู่ในห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขของประเทศ เพื่อป้องกัน “การรั่วไหลที่อาจเกิดขึ้น” จากผลพวงการโจมตีของรัสเซีย

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางชีวภาพกล่าวว่า การเคลื่อนพลของรัสเซียเข้าไปในยูเครนและการทิ้งระเบิดในเมืองต่างๆ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อก่อโรคต่างๆ หลุดรอดออกมา หากห้องปฏิบัติการเหล่านั้นได้รับความเสียหาย

เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ยูเครนมีห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บด้านสาธารณสุขที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับวิธีบรรเทาการคุกคามของโรคอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสัตว์และมนุษย์ รวมถึงล่าสุดคือโควิด-19 ห้องปฏิบัติการในยูเครนได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และองค์การอนามัยโลก

สาธารณะสุขไทย เจ๋ง WHO ยกเป็นต้นแบบประเทศที่ 3 มีความพร้อมรับมือภาวะฉุกเฉินโควิด

25 เม.ย. 65 ที่ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเต็ล แอนด์ ทาวเวอร์ส กรุงเทพมหานคร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (นำร่อง) หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) Pilot โดยมี ดร.สมิลา อัสมา (Dr. Samira Asma) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก นพ.จอส ฟอนเดลาร์ (Dr.Jos Vandelaer) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวม 200 คน ร่วมงาน

นายอนุทิน กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการบริหารจัดการและรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 195 ประเทศ เป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศเดียวที่อยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย ที่มีความพร้อมในการรับมือการระบาดของโรคมากที่สุด เป็นผลจากการบูรณาการทำงานร่วมกัน มีการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนของภาครัฐ และทุกภาคส่วนของสังคม (Whole-government and whole society response) ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน อสม. ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ หน่วยงานด้านสาธารณสุข ภาคเอกชน และภาคธุรกิจอื่นๆ ผ่าน ศบค. ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของระบบป้องกันควบคุมโรคในประเทศไทยในการขับเคลื่อนกฎหมายการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้ประเทศไทยก้าวผ่านช่วงวิกฤติมาได้

ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr.Tedros Adhanom Ghebreyesus) จึงเชิญให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบประเทศที่ 3 นำร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า ในการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลก และไทยเป็นประเทศนำร่องที่จะได้เผยแพร่ประสบการณ์สู่สาธารณะในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก 2565 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และเกิดการพัฒนาเครื่องมือและกลไกใหม่ รองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขสำหรับใช้งานทั่วโลกในอนาคต

ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า การทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการทบทวนอย่างครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านสาธารณสุขและด้านอื่นๆ ซึ่งต้องใช้การตอบโต้จากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การฝึกซ้อมสถานการณ์สมมติ (Simulation Exercise) การสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย, การพบผู้บริหารหน่วยงานระดับประเทศ และการตรวจเยี่ยมหน่วยงานระดับปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และความท้าทายของประเทศไทยในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระยะที่ผ่านมา

WHO ซูฮก!! ยกไทยพิชิตโควิดยอดเยี่ยม ขอนำแนวทางไปปรับในระดับสากล

‘บิ๊กตู่’ ชื่นชมบุคลากรทางการแพทย์ไทย 2 ท่าน ขึ้นรับรางวัลจาก WHO ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75 พร้อมขอบคุณทีมไทยแลนด์แสดงศักยภาพด้านสาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับระดับโลก 

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ชื่นชมความสำเร็จของบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศไทย 2 ท่าน ที่ได้รับรางวัลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบด้วย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ในรางวัล Dr LEE Jong-wook Memorial Prize for Public Health และนพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ในรางวัล Sasakawa Health Prize สำหรับพิธีมอบรางวัลได้จัดขึ้นในวันเดียวกันนี้ (27 พ.ค.) ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 75  ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งในส่วนของ ศ.นพ.ประกิต ติดภารกิจไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัลด้วยตนเอง นางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา จึงเป็นผู้ขึ้นรับรางวัลแทน 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 2 ท่าน ได้รับการยกย่องจาก WHO เนื่องด้วยเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อวงการสาธารณสุข โดย ศ.นพ.ประกิต วาธีสาธกกิจ ได้ทำงานภาคประชาสังคมในการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มีผลงานเชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข เป็นจักษุแพทย์เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคจอประสาทตา ที่มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาตาบอดในประเทศไทย โดยเฉพาะภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา โดยพัฒนาวิธีการคัดกรอง ริเริ่มโครงการสำคัญๆ กระทั่งจำนวนผู้ป่วยที่ตาบอดอันเนื่องมาจากภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาลดลงอย่างมาก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับการเตือนภัยโรคฝีดาษลิงเป็นขั้นสูงสุดแล้ว โดยประกาศให้เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

การยกระดับเตือนภัยครังนี้หมายความว่า WHO มองว่าการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุขทั่วโลกในระดับสำคัญ ซึ่งจำเป็นต่องใช้การตอบสนองเชิงประสานงานระหว่างประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปมากกว่านี้และไม่ให้มันกลายเป็นโรคระบาด

ถึงแม้ว่าการประกาศของ WHO จะไม่ได้บังคับให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ออกมาตรการแต่อย่างใด แต่มันเป็นการเรียกร้องให้มีการตอบสนองอย่างเร่งด่วน WHO ทำได้เพียงออกคำชี้แนะและแนวทางต่อรัฐสมาชิกเท่านั้น หน้าที่ของรัฐสมาชิกคือการรายงานเหตุการณ์ที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุขโลก

เมื่อเดือนที่แล้ว หน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาตินี้ประกาศภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองต่อโรคฝีดาษลิง แต่การติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บีบให้ เตโวโดรส อัดฮาโนม เกอเบรออีเยอซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกต้องออกคำเตือนขั้นสูงสุด

WHO เผย 'โควิด-19' ใกล้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ย้ำ!! อย่าการ์ดตก - ควรฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง 100%

(15 ก.ย. 65) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกไม่เคยเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของโรคโควิด-19 เท่านี้มาก่อน ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิดมายาวนานหลายปี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6 ล้านคนทั่วโลก

ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการขององค์การอนามัยโลก กล่าวในงานแถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์เมื่อวันพุธตามเวลาในสวิตเซอร์แลนด์ว่า ตอนนี้การระบาดของโรคโควิดยังไม่จบสิ้น แต่เริ่มมองเห็นจุดจบของโรคโควิดแล้ว ทั่วโลกยังคงจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อคว้าโอกาสในครั้งนี้ไว้ เฉกเช่นนักวิ่งมาราธอนที่ไม่หยุดวิ่งแม้มองเห็นเส้นชัยที่ใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ แต่จะวิ่งให้เร็วขึ้นด้วยพลังทั้งหมดที่มีอยู่ ทั่วโลกก็ไม่ควรการ์ดตกแม้มองเห็นจุดจบของโรคโควิดที่ใกล้เข้ามา เพราะหากเป็นเช่นนั้น สถานการณ์ระบาดก็จะย่ำแย่ลง

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! มุมมอง 3 องค์กรระดับโลก ยก ‘ไทย’ สุดยอดประเทศแห่งการฝ่าวิกฤติ

(8 ก.พ. 66) เมื่อเวลา 11.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์ข้อความบนเฟซบุ้คส่วนตัว ว่า ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาลนี้ ขอรวบรวมมุมมองของชาวโลกที่มีต่อบ้านเมืองของเรา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย และความสำเร็จในแง่มุมต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการทำงานและฝ่าวิกฤตร่วมกันมาอย่างสมัครสมานสามัคคีของทีมประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยคนไทยทุกคน จากทุกภาคส่วน ดังนี้

1.) องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นอันดับที่ 44 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพในการขจัดความยากจน การศึกษาที่มีคุณภาพ การสุขาภิบาลและแหล่งน้ำสะอาด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม ตลอดจนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

2.) ธนาคารโลก (World Bank) จัดทำรายงาน "ตามติดเศรษฐกิจไทย : นโยบายการคลังเพื่อสังคมที่เสมอภาค และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ธันวาคม 2565” โดยระบุว่านโยบายการคลังของไทยมีประสิทธิภาพสูงกว่าประเทศอื่น สามารถช่วยบรรเทา ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำได้ดี โดยในระยะสั้นนั้นใช้มาตรการทางภาษี เงินช่วยเหลือ และการอุดหนุนรายได้ครัวเรือน สามารถกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนในระยะยาวใช้การสนับสนุนงบประมาณด้านสาธารณสุข ส่งเสริมการศึกษา และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างมียุทธศาสตร์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top