Sunday, 28 April 2024
หลอกลงทุน

‘ชัยวุฒิ’ เตือน ระวัง มิจฉาชีพ TikTok ย้ำ อย่าเชื่อชวนลงทุนผลตอบแทนสูงเกินจริง

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงปัญหามิจฉาชีพส่งข้อความ SMS ชวนทำงานผ่านแอปพลิเคชัน ติ๊กต๊อก (TikTok) ว่า ฝากเตือนพี่น้องประชาชนช่วงนี้มีมิจฉาชีพใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย รวมถึง SMS ต่าง ๆ เข้ามาหลอกลวงพี่น้องประชาชน ล่าสุดมิจฉาชีพใช้ผ่านช่องทาง TikTok เพื่อให้พี่น้องประชาชนเข้าไปลงทุน อ้างว่ามีผลตอบแทนสูงเกินจริง สุดท้ายก็หลอกลวงนำเงินประชาชนไป จึงอยากเตือนให้ระมัดระวัง ผู้ที่มาหลอกลวงมักเป็นคนที่เราไม่รู้จัก การจะลงทุนผ่านโซเชียลมีเดียควรตรวจสอบว่าบุคคลนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าอ้างถึงหน่วยงานหรือองค์กรต้องตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ถ้าท่านเอาเงินไปให้กับคนที่ท่านไม่รู้จักผ่านโซเชียลมีเดียโอกาสได้คืนน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการหลอกลวงยิ่งถ้ามีผลตอบแทนที่สูงเกินจริงหลายเท่าตัว ขณะเดียวกันก็เตือนประชาชน ให้ระวังการสเเกนผ่านมือถือ ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง ศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนกรอกข้อมูล 

ทั้งนี้ ใครที่มีปัญหาการถูกหลอกลวงผ่านแอปพลิเคชัน TikTok หรือโซเชียลมีเดียอื่น ๆ สามารถร้องเรียนมาได้ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผ่านสายด่วน 1212 เราจะพยายามแก้ปัญหาให้ทุกท่านให้ดีที่สุดนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

'ตำรวจไซเบอร์' ขยายผลทลายเครือข่ายคดีหลอกลงทุน Turtle Farm จับกุมผู้ต้องหาเพิ่มเติม ตรวจยึดของกลางกว่า 100 ล้านบาท

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเป็นภัยออนไลน์ที่ได้สร้างความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับ 1 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของมูลค่าความเสียหายจากการถูกหลอกลวงทั้งหมด 

วันนี้ (15 ก.ย. 65) เวลา 11.00 น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร., พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.มนเทียร พันธ์อิ่ม รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.รณชัย จินดามุข ผบก.สอท.1, พล.ต.ต.ออมสิน ตรารุ่งเรือง ผบก.สอท.3, นายปิยะ ศรีวิกะ ผู้อำนวยการกองคดี 2 สำนักงาน ปปง. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวกรณีการขยายผลทลายเครือข่ายหลอกลงทุน Turtle Farm จับกุมผู้ต้องหา และตรวจยึดของกลางเป็นจำนวนมาก มีรายละเอียดดังนี้

ตามที่เมื่อวันที่ (5 ส.ค. 65) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้แถลงผลการทลายเครือข่ายหลอกลงทุน Turtle Farm จับกุมผู้ต้องหาที่ได้หลอกลวงชักชวนประชาชนให้ร่วมลงทุนปลูกเห็ด กัญชา พืชกระท่อม เลี้ยงผึ้ง ฯลฯ โฆษณาผ่านแพลตฟอร์มสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยอ้างว่าผู้ที่เข้าร่วมลงทุนจะได้ผลตอบแทนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ต่อมาผู้ต้องหากับพวกอ้างเหตุขัดข้องต่างๆ ไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้เสียหายได้ ผู้เสียหายจึงแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย จากนั้นพนักงานสอบสวนปากคำผู้เสียหาย และรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 9 ราย 

ผลการปฏิบัติสามารถทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับได้ 4 ราย อยู่ระหว่างหลบหนี 5 ราย และสามารถอายัดเงินในบัญชีธนาคารที่เกี่ยวข้องกว่า 72 บัญชี อายัดเงิน ได้กว่า 17.5 ล้านบาท นั้น ต่อมาในระหว่างเดือน ส.ค.65 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. สามารถทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ ได้เพิ่มเติมอีก 2 ราย รวมจับกุมผู้ต้องหาได้ 6 ราย อยู่ระหว่างหลบหนี 3 ราย 

กระทั่งจากการสืบสวนขยายผลพบว่า บริษัท พี เอ็น ดิจิทัล มาเก็ตติ้ง ออนไลน์ จำกัด มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับบริษัท ไมน์นิ่งมายน์ เอ็กซ์ จำกัด และ หจก. สถานีหลักสี่ ของกลุ่มผู้ต้องหา โดยถูกว่าจ้างให้ทำการโฆษณา สร้างภาพลักษณ์ สร้างความน่าเชื่อถือ หลอกลวงประชาชนให้มาร่วมลงทุน โดยได้รับเงินจากกลุ่มผู้ต้องหากว่า 72 ครั้ง รวมเป็นเงิน 134 ล้านบาท พงส. จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญามีนบุรีขออนุมัติศาลออกหมายค้นสถานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 จุด คือ 
1. บ้านแห่งหนึ่งในพื้นที่ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ตรวจยึดของกลาง 57 รายการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, สมุดบัญชีธนาคาร, บัตรกดเงินอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับทองคำ, นาฬิกา, โฉนดที่ดิน และเงินสด จำนวน 10.6 ล้านบาท
2. บ้านแห่งหนึ่งในพื้นที่ แขวงคลองสามวา เขตสามวาตะวันตก กรุงเทพฯ ตรวจยึดของกลาง ตู้นิรภัยบรรจุเงินสด จำนวน 88 ล้านบาท รถยนต์ ยี่ห้อ ปอร์เช่ (Porsche) สีส้ม รุ่น Boxster PDK 1 คัน

'หนุ่มใหญ่เมืองน้ำหอม' หลอกคนไทยลงทุนสินค้าแบรนด์เนม ตีสนิทผู้เสียหายหลายรายให้ตายใจ ก่อนเชิดเงิน

(5 ธ.ค. 65) พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม.,และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.สส.สตม. กวดขันจับกุมคนต่างด้าวที่แฝงเข้าอยู่ในประเทศไทยเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและภาพลักษณ์ของประเทศ โดยเน้นย้ำสถานที่พักอาศัยที่คนต่างด้าว พักอาศัย เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลต้องแจ้ง ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมง ตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522​

‘สตม.’ รวบชาวจีนสวมรอยเป็นนักธุรกิจต่างประเทศ หลังหนีหมายจับคดีฉ้อโกง เสียหายกว่า 1,400 ลบ.

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือ เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ประกอบกับนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย  อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 

ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม.,พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.สรร พูลศิริ รอง ผบช.สตม.,พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม.,พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.อาภากร โกมลสุทธิ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง ผกก.1 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ณภัทรพงศ  สุภาพร ผกก.ปอพ.บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชย พานะกิจ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม.

คดีที่ 1 'รวบหนุ่มแดนมังกรสวมรอยเป็นนักธุรกิจต่างประเทศชักชวนหลอกลงทุนความเสียหายกว่า 1,400 ล้านบาท' เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.สตม, กก.1 บก.สส.สตม. และ กก.ปอพ.บก.สส.สตม. ได้ร่วมกันจับกุมตัว MR.Shangguan หรือ นายฉางกวน (นามสมมุติ) อายุ 44 ปี ในข้อหา 'เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต' 

พฤติการณ์กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ร่วมกันสืบสวนติดตามบุคคล ราย MR.Shangguan หรือ นายฉางกวน อายุ 44 ปี ซึ่งได้รับการขอร้องให้ช่วยติดตามจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญจากสำนักงานกงสุล(ฝ่ายตำรวจ) ณ นครคุณหมิง โดยผู้ต้องหารายดังกล่าว ได้ฉ้อโกงประชาชน มีมูลค่าความเสียหาย กว่า 1,400 ล้านบาท โดยผู้ต้องหาได้เปิดบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศและทำการชักชวนให้ประชาชนเข้าทำการลงทุน ซึ่งเป็นการหลอกลวง ทางเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้สืบสวนจนทราบว่า ผู้ต้องหาได้หลบหนีไปอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้เดินทางมาตรวจสอบ พบบุคคลมีตำหนิรูปพรรณคล้าย MR.Shangguan จึงแสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

ผู้ต้องหารับว่าตน คือ MR.Shangguan อายุ 44 ปี ไม่มีหนังสือเดินทางจริง และรับว่าได้หลบหนีเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางธรรมชาติเข้ามาที่ประเทศไทย  จึงได้ให้ดูหมายจับประเทศจีน รับว่าเป็นบุคคลเดียวกันในหมายจับดังกล่าวจริง และจากการตรวจค้นตัว พบโทรศัพท์มือถือที่ติดตัวมาจากประเทศจีน,เอกสาร

'ชัยวุฒิ' เสนอ 'อาเซียน' จับมือตั้งหน่วยงานข้ามชาติ ขจัด 'หลอกลวงลงทุนออนไลน์-แก๊งคอลเซ็นเตอร์'

(9 ก.พ. 66) นาย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เป็นผู้เเทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลครั้งที่ 3 ที่ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูตประจำกรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย 

นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ
 

'สืบสวนนครบาล' บุกรวบ 'ตั้ม' แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลวงเหยื่อให้รัก หลอกร่วมลงทุนผ่านแอปหาคู่

(15 ก.พ. 66) ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก โดยชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. ได้สืบสวนทราบว่าเมื่อเดือน มกราคม 2565 ชุดปฏิบัติการ PCT 5 ได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ซึ่งถูกหลอกไปทำงานเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เมืองสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา ต้องหาเงินไถ่ตัวกลับบ้านเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท จึงขอความช่วยเหลือจาก พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ PCT ที่ 5 เข้าช่วยออกมาได้ และได้สืบสวนขยายผลจนทราบว่า นายตั้ม เทียนทะเล หนึ่งในสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำหน้าที่ลวงให้รักแล้วหลอกร่วมลงทุน Forex ผ่านแอปพลิเคชั่น Tinder ผบ.ตร. จึงเร่งรัดสืบสวนจับกุมคนร้ายรายนี้ทั้งในและต่างประเทศ

วันที่ 15 ก.พ. 66 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผบช.น., พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง, พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.บช.น., พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น., พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์, พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. และ พ.ต.ท.สมพงษ์ เกตุระติ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปฏิบัติการที่ 5 กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. ได้ร่วมกันจับกุมตัวนายวิทวัฒน์ ฉัตรชฏานุกูล อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดสระแก้ว ที่ จ.87/2565 ลงวันที่ 10 ก.พ. 2565 ข้อหา “ร่วมกันเป็นอั้งยี่, มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ” โดยสามารถจับกุมตัวได้ที่บริเวณกลางซอยรามคำแหง 54 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 ก.พ. เวลาประมาณ 13.30 น. ที่ผ่านมา

สืบเนื่องจาก ม.ค. 2565 ชุดปฏิบัติการ PCT 5 ได้รับการประสานและช่วยเหลือผู้เสียหาย (ขอสงวนนาม) ว่าถูกหลอกไปทำงานเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เมืองสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา โดยได้รับการติดต่อให้ไปทำงานเป็นพนักงานบ่อนคาสิโน ในประเทศกัมพูชา จะได้รับเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท เข้าประเทศกัมพูชาผ่านช่องทางธรรมชาติ จากนั้นจะมีรถมารับ แต่เมื่อไปถึงแล้วกลับไม่เป็นไปตามข้อตกลง มิหนำซ้ำให้ไปทำงานร่วมขบวนการหลอกลวงคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนจีนเป็นหัวหน้าขบวนการ โดยให้ตนใช้แอปพลิเคชั่นทินเดอร์ และลาซาด้า แสดงตนเป็นผู้หญิงเพื่อหลอกลวงคนไทยด้วยกัน

จากนั้น เมื่อติดต่อกับเหยื่อที่เป็นคนไทยได้สักพักก็จะแนะนำให้ร่วมลงทุน โดยที่ตนไม่สมัครใจ และไม่อยากทำ และตนเองต้องการจะกลับบ้านที่ประเทศไทย แต่ไม่สามารถกลับได้ เนื่องจากหัวหน้าที่เป็นคนไทย ชื่อนายปอ หนวดงาม หรือ นายสุคนธนารักษ์ นาคจันทร์ บอกว่าถ้าจะกลับประเทศไทยได้ต้องหาเงินมาไถ่ตัว จำนวน 100,000 บาท ผู้เสียหายไม่มีเงิน จึงได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจาก พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ หน.ชุดปฏิบัติการ PCT ที่ 5 กับพวกจึงได้รายงานให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ทราบพร้อมประสานทางการประเทศกัมพูชา ช่วยเหลือผู้เสียหายออกมาจากสถานที่ดังกล่าวได้

ต่อมา เมื่อผู้เสียหายได้เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ชุดสืบสวนจึงได้ร่วมกันสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานส่งให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จนสามารถเสนอพยานหลักฐานต่อศาล เพื่อพิจารณาออกหมายจับผู้ร่วมขบวนการได้ทั้งหมด 26 ราย หนึ่งในนั้น คือ นายวิทวัฒน์ ฉัตรชฏานุกูล อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดสระแก้ว ที่ จ.87/2565 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ซึ่งต้องหาว่า กระทำความผิดฐาน “ร่วมกันเป็นอั้งยี่, มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ” โดยการสืบสวนมีพยานหลักฐานที่เชื่อมโยงถึง/พิสูจน์ทราบได้ว่า นานยวิทวัฒน์ ทำหน้าที่เป็นพนักงานในขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ คอยทำหน้าที่หลอกเหยื่อ ตลอดจนเมื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินชุดสืบสวนสามารถพิสูจน์ทราบได้ว่านายวิทวัฒน์ ได้รับเงินค่าจ้างการทำงานจากตัวการที่กระทำความผิดในขบวนการ

จากการสอบสวน ผู้ต้องหาให้การว่า เดิมทีตนทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และการ์ดพาร์ทไทม์ ตามบริษัท และตามสถานบันเทิงต่าง ๆ แต่เงินเดือนไม่พอใช้จ่าย ต่อมามีคนรู้จัก ชื่อบังมัท ชื่อไลน์ว่า 'มาดาระ' มีหน้าที่จัดหางานต่าง ๆ ได้แนะนำให้ทราบว่า มีงานเกี่ยวกับเว็บพนันออนไลน์ในฝั่งประเทศเพื่อนบ้านรายได้ดีให้ทำ หากสนใจจะแนะนำให้รู้จักคนที่จะพาไปทำ โดยบังมัทได้ให้ผู้ต้องหาแอดไลน์บุคคล ชื่อต้าร์ เพื่อติดต่อ หลังจากผู้ต้องหาติดต่อพูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับงานดังกล่าวกับคนชื่อต้าร์แล้ว คนชื่อต้าร์แจ้งรายละเอียดว่า ขณะนั้นมีงานเป็นแอดมินเว็บพนันอยู่ที่ฝั่งกัมพูชา ทำหน้าที่คอย ถาม-ตอบ รับฝาก-ถอนเงิน ได้รับค่าจ้างเดือนละประมาณ 24,000 บาท มีที่พักและอาหารให้ฟรี ผู้ต้องหาจึงเกิดความสนใจและตกลงที่จะไปทำงานดังกล่าว

ตำรวจไซเบอร์ ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีหลอกลงทุน Forex TRB พบผู้เสียหายมากกว่า 300 ราย ความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับ นายเตคุณ กับพวก รวม 5 ราย ที่ได้ร่วมกันหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายหลายรายให้ร่วมลงทุนเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Forex) ผ่านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ FXTRB ดังต่อไปนี้

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อประชาชนจากภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนประชาชนให้ร่วมลงทุน อ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง    

เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับไปยัง พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน ขยายผลหาความเชื่อมโยงในดดี ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

คดีดังกล่าวเมื่อประมาณเดือน มี.ค.64 จนถึงปัจจุบัน ผู้เสียหายหลายรายถูกผู้ต้องหากับพวกชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินสกุลต่างๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือเว็บไซต์ secure.elitefundgroup.com โดยมีนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ FXTRB เป็นผู้ดำเนินการนำเงินของที่ผู้เสียหายไปลงทุนเก็งกำไรค่าเงินสกุลต่างๆ มีการแอบอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ซึ่งหากมีการซื้อขายได้กำไร หรือขาดทุน ผู้เสียหายสามารถตรวจสอบผ่านบัญชีผู้ใช้ของตนได้ ในช่วงแรกผู้เสียหายสามารถถอนเงินได้ตามปกติ ต่อมาเมื่อประมาณเดือน ส.ค.65 ไม่สามารถถอนเงินได้ จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวงและได้รับความเสียหาย จึงแจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ thaipoliceonline.com ให้ดำเนินดดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย

ต่อมาจากการสืบสวนสอบสวนพบว่า บัญชีธนาคารที่รับโอนเงินของผู้เสียหายมีการโอนเงินเข้าออกเป็นจำนวนมากผิดปกติวิสัย โดยผู้ต้องหากับพวกไม่ได้มีการนำเงินไปลงทุนตามที่กล่าวแต่อย่างใด กลับนำไปใช้จ่ายส่วนตัว และมีการนำเงินลงทุนของผู้เสียหายรายใหม่ หมุนเวียนไปให้กับผู้เสียหายรายเก่า ทำให้เชื่อว่าลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนจริง พงส.บก.สอท.1 จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 5 ราย ในข้อหา “ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ” ต่อมาเมื่อ 17 ม.ค. 66 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. สามารถทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย พร้อมตรวจยึดของกลางหลายรายการ ส่ง พงส.ดำเนินคดีตามกฎหมายในเวลาต่อมา

กระทั่งเมื่อปลายเดือน ก.พ.66 ที่ผ่านมา พงส.บก.สอท.1 ได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวไปยังพนักงานอัยการ สำนักงานคดีเศรษฐกิจ และทรัพยากร เพื่อพิจารณาดำเนินในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไปแล้ว

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอฝากเตือนประชาชนถึงแนวทางการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

 

อย่าหลงเชื่อ!! ‘โจรไซเบอร์’ อาละวาด!! ปั่นข่าวปลอมอ้างชื่อสถาบันการเงิน ‘ออมสิน’ เจอศึกหนัก ทั้งหลอกลงทุน-ปล่อยเงินกู้

‘กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ เผยตัวเลข‘ข่าวปลอม’สัปดาห์ล่าสุด ประชาชนแห่สนใจเรื่องการลงทุนและการปล่อยกู้วงเงินสูง-ดอกเบี้ยต่ำ หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นสถาบันการเงิน โดยเฉพาะ‘ธนาคารออมสิน’ และหน่วยงานด้านการลงทุนอื่นๆ ขณะที่ข่าวปลอม‘กรมการขนส่งทางบก’รับต่ออายุใบขับขี่ และทำใบขับขี่เร่งด่วนผ่านไลน์ ทำก่อนจ่ายทีหลัง ขึ้นแท่นข่าวปลอมที่คนสนใจสูงสุด เตือนประชาชนต้องมีสติ ตรวจสอบข้อมูลให้ครบทุกด้านอย่าหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

(12 มี.ค. 66) นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประจำวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2566  พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,207,100 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 210 ข้อความ แบ่งเป็นข้อความที่มาจาก Social listening จำนวน 180 ข้อความ ข้อความที่มาจาก Line Official จำนวน 29 ข้อความ และข้อความที่มาจาก Facebook จำนวน 1 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 127 เรื่อง

ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 ข่าวปลอมเรื่องนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดีและความมั่นคงภายในประเทศจำนวน 49 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข่าวปลอมเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 44 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 ข่าวปลอมเรื่องภัยพิบัติ จำนวน 11 เรื่อง
กลุ่มที่ 4 ข่าวปลอมเศรษฐกิจ จำนวน 23 เรื่อง

สำหรับข่าวปลอมทั้ง 4 กลุ่มมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องโควิด-19 จำนวน 3 เรื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลเชิงลึก (Insight) ยังพบข้อน่าเป็นห่วงและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีการกระจายข่าวปลอมเกี่ยวกับการเงินเป็นส่วนใหญ่ ทั้งเรื่องการปล่อยสินเชื่อ การให้เงินกู้ หรือชักชวนลงทุน โดยอ้างชื่อสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคข่าวสารออนไลน์อย่างมาก รวมทั้งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการ ทั้งประกันสังคม ส่งข้อความให้ประชาชน ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาโควิด และกรมการขนส่งทางบกรับต่ออายุใบขับขี่ และทำใบขับขี่เร่งด่วนผ่านไลน์ ทำก่อนจ่ายทีหลัง

สำหรับข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 3 - 9 มีนาคม 2566 ดังนี้
อันดับที่ 1 เรื่อง เพจ Asaia money ของธนาคารออมสิน ปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่
อันดับที่ 2 เรื่อง ออมสินให้เงินทุน เปิดให้กู้สินเชื่อประชาชนสุขใจ ง่าย ๆ ผ่านมือถือ
อันดับที่ 3 เรื่อง เพจเฟซบุ๊กชื่อ “สินเชื่อ ออมสินประกันสังคม” เปิดให้กู้สินเชื่อสวัสดิการ ไม่ต้องมีคนค้ำ วงเงินสูงอันดับที่ 4 เรื่อง เพจเฟซบุ๊กรับต่ออายุใบขับขี่ ผ่านการรับรองโดยกรมการขนส่งทางบก

‘ตร.ไซเบอร์’ แจ้งความคืบหน้าคดีหลอกลงทุน ‘Turtle Farm’ ยอดความเสียหายรวม 2 พันล้าน เตือน ปปช.อย่าหลงเชื่อ

(24 มี.ค. 66) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับ บริษัท ไมน์นิ่งมายน์ เอ็กซ์ จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัดสถานีหลักสี่ โดยนางสาวฐานวัฒน์ กับพวก รวม 9 ราย ที่ได้ร่วมกันหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายหลายรายให้ร่วมลงทุนเพาะเห็ด ปลูกพืชกระท่อม เลี้ยงผึ้ง หรือการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อประชาชนจากภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนประชาชนให้ร่วมลงทุน โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว โดยได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามการกระทำความผิด บังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับไปยัง พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน ขยายผลหาความเชื่อมโยงในคดี ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

เมื่อประมาณเดือน พ.ย. 64 - ก.ค. 65 ผู้ต้องหากับพวกได้สร้างโรงเพาะเห็ดขึ้นมาหลายโรง ในพื้นที่ จ.สกลนคร ประกาศโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมลงทุนเพาะเห็ด ปลูกต้นกระท่อม และเลี้ยงผึ้ง โดยอ้างว่าผู้ที่เข้าร่วมลงทุนจะได้ผลตอบแทนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยมีเงื่อนระยะเวลาในการลงทุน เช่น โครงการฝากเลี้ยงเห็ดเยื่อไผ่ ใช้เงินลงทุน 264,360 บาท ในเดือนที่ 3 จะได้รับเงินปันผล 108,640 บาท/เดือน หรือโครงการฝากเลี้ยงกระท่อม ใช้เงินลงทุน 275,000 บาท ในเดือนที่ 8 จะได้รับกำไร 150,000 บาท/เดือน โดยมีการสร้างความน่าเชื่อถือ โดยการทำสัญญาระหว่างผู้ร่วมลงทุนกับผู้ต้องหา มีการใช้บุคคลสำคัญ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมาร่วมโฆษณาชักชวน มีการสร้างภาพว่าฟาร์มดังกล่าวได้รับรางวัล ทำให้ผู้เสียหายรายหลายหลงเชื่อ และนำเงินมาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก

ซึ่งกลุ่มผู้ต้องหาไม่ได้มีการดำเนินการตามที่ชักชวนแต่อย่างใด กระทั่งเมื่อถึงกำหนดผู้ต้องหากับพวกอ้างเหตุขัดข้องต่าง ๆ ไม่สามารถจ่ายเงินผลตอบแทนได้ เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเสียหายและมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย

คดีดังกล่าวพนักงานสอบสวน บก.สอท.3 ได้ดำเนินการสอบสวนสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานมาโดยตลอด ได้ขออนุมัติศาลขอออกหมายจับผู้ต้องหากับพวก รวม 9 ราย ในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกง และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ปัจจุบันสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 7 ราย อยู่ระหว่างติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี 2 ราย และที่ผ่านมาสามารถทำการตรวจยึดทรัพย์สิน และอายัดเงินในบัญชีที่เกี่ยวข้องได้เป็นจำนวนมาก

ต่อมาเมื่อ 3 ต.ค. 65 พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวน ครั้งที่ 1 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ โดยมีผู้เสียหาย 119 ราย ความเสียหาย 60 ล้านบาท และเมื่อ 22 ธ.ค.65 ได้สรุปสำนวนการสอบสวน ครั้งที่ 2 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ มีผู้เสียหาย 1,001 ราย ความเสียหายกว่า 703 ล้านบาท ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างสรุปสำนวนการสอบสวน ครั้งที่ 3 ปัจจุบันมีผู้เสียหายอีกกว่า 1,000 ราย ความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถส่งสำนวนการสอบสวนได้ภายในเดือน เม.ย. 66 เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

‘บิ๊กโจ๊ก’ รับเรื่อง เจ้าของแฟรนไชส์ดังหลอกลงทุน หลังเหยื่อร่วมตัวเข้าร้องทุกข์ เสียหายรวม 4 ล้านบาท

เมื่อไม่นานนี้ ที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต กลุ่มผู้เสียหายร้อง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความ เปิดเผยว่า ได้พากลุ่มผู้เสียหายมาร้องทุกข์กล่าวโทษนายมณฑล ทองคำ เจ้าของแบรนด์ ‘ย่างให้’ ซึ่งมีพฤติการณ์คือ เดินสายออกสื่อหลายรายการ ทั้งทางโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ พร้อมให้สัมภาษณ์ว่าธุรกิจประสบความสำเร็จ เปิดสาขามากกว่า 400 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงมีการนำภาพศิลปิน ดารา นักแสดงชื่อดังหลายคนมาโพสต์ในเพจเฟซบุ๊กว่า มีคนดังชื่อชอบในแบรนด์ของตัวเองและมาร่วมลงทุนในธุรกิจจำนวนมาก ธุรกิจได้ทำจริง ประสบความสำเร็จจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้คนหลงเชื่อ และเข้ามาลงทุนในแบรนด์ด้วย

กลุ่มผู้เสียหายเชื่อใจและนำเงินมาร่วมลงทุน แต่กลับไม่ได้เงินปันผล ไม่มีการแบ่งผลกำไร และไม่พบการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่ได้คุยกันไว้ และเมื่อผู้เสียหายมีการสอบถาม กลับถูกลบออกจากกรุ๊ปไลน์

หลังจากที่ผู้เสียหายได้ลงทุนไป ก็ได้มีการตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าธุรกิจมีการจดทะเบียนจริง แต่เจ้าของแบรนด์ไม่ได้มีการจดชื่อผู้เสียหายบางรายเข้าไปในรายชื่อผู้ถือหุ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้ อีกทั้งปัจจุบันเจ้าของแบรนด์ได้ปิดเฟซบุ๊กส่วนตัวและปิดเพจธุรกิจไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้

เบื้องต้นจากการรวบรวมกลุ่มผู้เสียหาย ขณะนี้ประมาณ 13 คน ที่หลงเชื่อคำโฆษณานี้และเข้าร่วมลงทุน ยอดความเสียหายเบื้องต้นกว่า 4 ล้านบาท เฉลี่ยรายละตั้งแต่ 200,000-1,000,000 บาท คาดว่าอาจจะมีผู้เสียหายเพิ่มอีก

ด้านนายต๋อง หนึ่งในผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่เสียเงินมากที่สุด 1,000,000 บาท เล่าว่า เจ้าของแบรนด์หลอกว่ามีหุ้นอยู่ 20 ตัว ตัวละ 200,000 บาท ตนเองจึงได้ร่วมลงทุนไป 5 ตัว เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท โดยเจ้าของแบรนด์ได้กล่าวอ้างว่าลงทุนแค่ 7,000 บาท ก็สามารถปลดหนี้ 10 ล้านบาทได้ภายใน 6 เดือน และคืนทุนได้ภายใน 1 เดือน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน ก็ยังไม่ได้รับเงินใด ๆ

เจ้าของธุรกิจอ้างว่าติดช่วงโควิด-19 จึงไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ จึงรอไปเรื่อย ๆ และยังเชิญชวนให้ลงทุนเพิ่มเติมในบริษัทลูกอีก โดยอ้างว่ามีบริษัทน้ำดื่มยักษ์ใหญ่รายหนึ่งเข้ามาร่วมลงทุนด้วย จึงจะได้เงินปันผล แต่หลังจากตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมและสืบทราบว่า พบว่าเจ้าของแบรนด์ได้มีการเปิดบริษัทที่ 2 และนำไปขายให้กับบริษัทดังต่อ เพื่อให้เป็นการรับช่วงทำแบรนด์ต่อจากนายมณฑล ไม่ใช่การทำแบรนด์บริษัทลูกอย่างที่บอกกับผู้เสียหาย และหลังจากผ่านไป 2 ปีก็ยังไม่ได้รับเงินปันผลแม้แต่บาทเดียว อีกทั้งยังมีปัญหากับภรรยาจนถึงขั้นเลิกรากันไป


ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/news/content/326084


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top