Tuesday, 30 April 2024
วิทยุทรานซิสเตอร์

ความจำเป็นในช่วงภัยพิบัติ ไม่ต้องจัดหนักเทคโนโลยี

กลายเป็นประเด็นอีกแล้ว หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กล่าวช่วงหนึ่งในการประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์เมื่อ 3 ต.ค. ที่ผ่านมาถึงการกำหนดพื้นที่เป้าหมายเศรษฐกิจ พื้นที่สุขภาพที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลด้านสาธารณสุข ก็ต้องดูแลให้สามารถเข้าบริการได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการให้บริการไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ก็ต้องให้ใช้ได้นานที่สุด ถ้าระบบมันล่มไปทั้งหมด การสื่อสารแจ้งข้อมูลจะทำได้ลำบาก อาจจะต้องไปใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนได้อีกทาง ซึ่งเคยใช้กันเมื่อปี 2554 เพราะตอนนั้นไฟฟ้าดับหมด ดังนั้นเราต้องเตรียมแผนตรงนี้ไว้ด้วยในกรณีที่อาจจะเกิดปัญหา

พลันที่มีคำว่า 'วิทยุทรานซิสเตอร์' หลุดออกมา ก็มีคนไทยกลุ่มหนึ่งจับตาและกล่าวว่านี่คือ 'ความล้าหลัง' และขำขันกันอย่างสนุก 

แต่กลับกันภายใต้ความขบขันนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในปัญหาแบบผู้มีองค์ความรู้รอบด้านของผู้นำกับสถานการณ์ที่เป็นจริงได้อย่างสอดคล้องมากกว่า

แน่นอนว่าในบ้านเราตอนนี้ คนอาจจะติดภาพทรานซิสเตอร์ว่าโบราณ บ้านนอก แต่จริงๆ แล้ว วิทยุพกพาที่รับสัญญาณจากอากาศที่ไม่ได้ใช้สัญญาณดาวเทียมหรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีขายในท้องตลาด ก็ล้วนแล้วแต่ใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ทั้งหมดในการรับสัญญาณ AM/FM

วิทยุทรานซิสเตอร์ ‘อุปกรณ์เอาตัวรอดยามภัยพิบัติ’ ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย เพราะหลายประเทศพัฒนาก็ใช้กัน

‘ทรานซิสเตอร์’ วิทยุพื้นฐาน ที่หลายชาติยังจัดเป็น ‘อุปกรณ์เอาตัวรอดยามภัยพิบัติ’ แม้จะเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม

แม้ ‘วิทยุทรานซิสเตอร์’ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แนะนำ จนนำมาสู่มุมมองหลายคนว่า ‘ตกยุค’ ไปแล้ว เหตุเพราะสมัยนี้การสื่อสารทุกอย่างใช้อินเทอร์เน็ตกันหมด แถมโทรศัพท์มือถือก็กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของใช้ธรรมดาสามัญไปเรียบร้อย จึงเข้าใจได้ว่าหลายคนอาจนึกไม่ออกว่าวิทยุทรานซิสเตอร์มีประโยชน์กับภัยพิบัติอย่างไร 

แต่อีกด้านหนึ่ง เชื่อหรือไม่ว่า ประเทศที่เจริญแล้วหลายชาติ ก็ยังแนะนำให้ประชาชนเตรียมวิทยุแบบนี้ซึ่งใช้แบตเตอรี่พื้นฐาน (แบบที่เราเรียกว่า “ถ่านไฟฉาย”) สำรองไว้ในแผนเผชิญภัยพิบัติด้วย

>> สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์ ready.gov ซึ่งอยู่ในความดูแลของ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ เว็บนี้ให้ความรู้กับชาวอเมริกันเรื่องการรับมือภัยพิบัตินานาประเภท โดยในหมวด “Build A Kit” หรือการเตรียมเครื่องมือเอาชีวิตรอด จะพบว่า “Battery-powered or hand crank radio and a NOAA Weather Radio with tone alert” หรือ วิทยุมือหมุนที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ และวิทยุที่มีระบบรับคลื่นสัญญาณของ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ซึ่งทำหน้าที่พยากรณ์อากาศในสหรัฐฯ (แบบเดียวกับกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย) ซึ่งเจ้า Battery-powered or hand crank radio ก็คือ “วิทยุทรานซิสเตอร์” ที่คนไทยรุ่นก่อนคุ้นเคยกันดี แถมคำแนะนำของทางการสหรัฐฯ ยังจัดให้อยู่ในหมวด “Basic Disaster Supplies Kit” หรือสิ่งของพื้นฐานที่ควรมีอีกต่างหาก

>> ประเทศอังกฤษ เว็บไซต์ redcross.org.uk ของสภากาชาดแห่งสหราชอาณาจักร (British Red Cross) เลือกหมวด “Get Help” จากนั้นไปที่หัวข้อ “how to prepare for emergencies.” และหัวข้อ “How to make an emergency kit” ซึ่งจะพบว่า หนึ่งในอุปกรณ์ที่กาชาดเมืองผู้ดีแนะนำให้ประชาชนเตรียมไว้เผื่อเหตุฉุกเฉินคือ “Battery-operated radio and spare batteries, or a wind-up radio.” ก็คือวิทยุทรานซิสเตอร์ โดยมีทั้งแบบใส่แบตเตอรี่และแบบมือหมุน

>> ประเทศออสเตรเลีย เว็บไซต์ infrastructure.gov.au ของกระทรวงโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การพัฒนาระดับภูมิภาค การสื่อสารและศิลปะ เผยแพร่บทความ ‘How travellers can prepare for emergencies or natural disasters’ แนะนำให้คนที่เดินทางท่องเที่ยวเตรียมอุปกรณ์จำเป็นเผื่อต้องเผชิญกับเหตุฉุกเฉินซึ่งรวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยหนึ่งในนั้นคือ ‘Pack a portable battery powered AM radio and a spare set of batteries. หรือก็คือ ‘วิทยุรับคลื่น AM แบบพกพาพร้อมแบตเตอรี่สำรอง’ ก็หมายถึงวิทยุทรานซิสเตอร์ แถมภาครัฐแดนจิงโจ้ยังเน้นคำว่า ‘AM radio’ อีกต่างหาก (ซึ่งก็เป็นเพราะในระบบวิทยุดั้งเดิม-อนาล็อก มี 2 ระบบ คือ AM กับ FM โดย AM เป็นคลื่นความถี่ที่ส่งไปได้ไกลกว่าเคลื่อน FM แม้คุณภาพเสียงจะด้อยกว่าคลื่น FM ก็ตามนั่นเอง โดยบทความ ‘เครื่องรับวิทยุ AM FM ดิจิทัล’ จาก บริษัท ไลท์ แอนด์ ซาวด์ บิสิเนส จำกัด ผู้รับจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบแสง-สี-เสียง ระบุว่า การใช้งานคลื่นเอฟเอ็มจะใช้กับการส่งวิทยุกระจายเสียงและเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร ซึ่งการส่งวิทยุระบบ FM จะให้คุณภาพเสียงดีกว่าระบบ AM กล่าวคือ ย่านความถี่ที่ใช้ในการส่งจะเป็นอิสระกับชั้นบรรยากาศและการสอดแทรกของสัญญาณรบกวน คลื่นในย่านความถี่นี้ไม่สามารถสะท้อนกับชั้นบรรยากาศได้ทำให้ระยะทางในการส่งจะใกล้กว่าระบบ AM เพราะย่านความถี่ AM สามารถจะหักเหในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ทำให้คลื่นเดินทางได้ไกลกว่า)

'อดีตทูตฯ นริศโรจน์' เอือม!! สังคมไทยฟังไม่ได้ศัพท์ ทั้งที่นายกฯ พูดชัด ต้องมีทรานซิสเตอร์ช่วงไฟฟ้าไม่มี

(5 ต.ค. 65) นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้ให้สัมภาษณ์กับ THE STATES TIMES กรณี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แนะนำให้ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชน รองรับระบบเตือนภัยล่ม จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งท่านนริศโรจน์แสดงความเห็นว่า...

"พวกคุณตามนายกฯ ไม่ทันกันเอง นายกฯ ท่านรู้ ท่านเรียนเรื่องนี้มา จะไปใช้บลูทูธ ถ้าไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเทอร์เน็ต พวกนี้ตายหมด วิทยุทรานซิสเตอร์นอกจากใช้ถ่านแล้ว บางรุ่นยังใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผมเคยอยู่สเปน, ลาว, อาร์เจนตินา เคยใช้ชีวิตแถวละตินอเมริกา เค้าก็ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์เตือนภัยในช่วงภัยพิบัติทั้งนั้น ตอนภัยพิบัติฟุกุชิมะ ที่ญี่ปุ่น ไฟฟ้าดับทั้งเมือง คุณจะเอาอะไรฟังข่าวสาร ถึงขนาดที่ญี่ปุ่นระบุว่า ในถุงอุปกรณ์สำหรับการดำรงชีวิต ต้องมีวิทยุทรานซิสเตอร์ ต้องมีถ่านไฟฉาย ต้องมี first aid 

'โชห่วยโคราช' เผย!! 'ทรานซิสเตอร์' รุ่นฮิตขายดี หลัง 'นายกฯ' แนะเตรียมพร้อมไว้รับเหตุฉุกเฉิน

'วิทยุทรานซิสเตอร์' ยี่ห้อดัง 'ธานินทร์' รุ่นยอดฮิตเริ่มขาดตลาด หลังโชว์ห่วยแห่ซื้อไปขายในชนบท ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า รับกระแสนายกฯแนะนำให้เตรียมไว้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

เมื่อ (5 ต.ค. 2565) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้ประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ กับผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา และในตอนหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในกรณีที่เกิดปัญหาฉุกเฉินระบบการสื่อสารล่ม หน่วยงานราชการต่าง ๆ แจ้งข้อมูลให้ประชาชนทราบได้ยากลำบาก อาจจะต้องใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชน เหมือนกรณีเหตุน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่เกิดไฟฟ้าดับหมด และใช้การสื่อสารแจ้งเตือนประชาชนผ่านวิทยุทรานซิสเตอร์ได้ผลมาแล้วนั้น ซึ่งทำให้เกิดกระแสแชร์ต่อเรื่องนี้ในโซเชียลกันอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นไวรัลอยู่ในขณะนี้นั้น

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปที่ร้าน เตีย แซ ฮวด ริมถนนมิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นร้านขายปลีก และขายส่งวิทยุทรานซิสเตอร์เก่าแก่ของเมืองโคราช พบว่ามีลูกค้าซึ่งเป็นร้านโชว์ห่วยจากต่างอำเภอ เดินทางมาเลือกซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์เพื่อนำไปขายต่อกันอย่างคึกคัก

โดยนายจิน เซ็ง อายุ 55 ปี เจ้าของร้าน เตีย แซ ฮวด เปิดเผยว่า เดิมทีนั้นร้านของตนเอง เป็นร้านขายปลีกและขายส่งวิทยุทรานซิสเตอร์ ยี่ห้อ 'ธานินทร์' มานานกว่า 30 ปีแล้ว ต่อมาก็เริ่มนำเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้ออื่น ๆ มาขายเพิ่ม แต่หากย้อนไปเมื่อ 20 - 30 ปีก่อน วิทยุทรานซิสเตอร์ จะได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะวิทยุทรานซิสเตอร์ยี่ห้อธานินทร์ รุ่นTF-268 ซึ่งเป็นรุ่นในตำนาน จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะสามารถรับฟังคลื่นวิทยุได้ 2 ระบบ คือระบบ FM และ AM ที่ชาวบ้านจะซื้อไปฟังเพลง ฟังข่าว ตามท้องไร่ ท้องนา ได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากมีน้ำหนักเบา และคงทน โดยจะนิยมใช้คู่กับถ่านไฟฉายตรากบ

'ดร.เสรี - ปู จิตกร' นิยามแซ่บ 'วิทยุทรานซิสเตอร์' 'หลุมดักควาย' ที่นึกว่าตัวเองฉลาด แต่มีปัญญาจำกัด

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักสื่อสารมวลชน ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า “นิยามใหม่ของวิทยุทรานซิสเตอร์ คือ “หลุมดักควาย” พอลุงตู่แนะนำให้ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการติดตามข่าวสารในยามระบบโทรคมนาคมล่ม ไฟฟ้าดับ เราได้เห็นควายตกหลุมหลายตัว นึกว่าตัวเองฉลาด ออกมาแซะว่าลุงตู่โบราณ ตกยุค แท้ที่จริงไม่รู้จริงว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาก็ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในภาวะฉุกเฉินกันทั่วโลก” 

ขณะที่ ปู จิตกร บุษบา คอลัมนิสต์ชื่อดัง ก็ได้อธิบายถึง 'ทรานซิสเตอร์' ไว้ในเฟซบุ๊กว่า “นายกประยุทธ์ ท่านมีประสบการณ์ตรง รู้ว่าบางพื้นที่ ประชาชนเดือดร้อนลำบาก จากเหตุไฟดับ อินเทอร์เน็ตล่ม และต้องแจ้งเตือน สื่อสารถึงประชาชน ผ่านทาง 'วิทยุกระจายเสียง' ซึ่งก็คือคำว่า 'ทรานซิสเตอร์' ที่กำลังบ้วนถุยใส่กันอยู่นี่แหละ วิทยุกระจายเสียงมีทั้งระบบเอเอ็มและเอฟเอ็ม ที่สู้กับสภาวะฝนฟ้าคะนองได้สบายๆ” 

ของจำเป็นที่ถูกลืม!! วิทยุทรานซิสเตอร์ ไม่ล้าสมัย! | THE STATES TIMES Y WORLD EP.8

ของจำเป็นที่ถูกลืม!!

.

วิทยุทรานซิสเตอร์ ‘อุปกรณ์เอาตัวรอดยามภัยพิบัติ’

.

ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย เพราะหลายประเทศพัฒนาก็ใช้กัน!

.

พักดราม่าไปรู้ประโยชน์ของวิทยุได้ใน THE STATES TIMES Y World

'อ.ไชยันต์' ชี้ สื่ออังกฤษยังแนะปชช.พกวิทยุทรานซิสเตอร์ สะท้อน 'บิ๊กตู่' เป็น 'กัปตัน' ที่สามารถรักษาความปลอดภัยได้

(22 ต.ค.65) ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า...

แม้ผมจะขอให้ ลุงตู่ วางมือทางการเมือง

(ซึ่งผมก็ยังเห็นเช่นนั้นอยู่)

แต่ผมยอมรับว่า ท่านไม่ได้เป็นแค่เพียง “รปภ”

แต่เป็นทั้ง “กัปตันที่สามารถรักษาความปลอดภัย” ได้ในเวลาเดียวกัน ครับ

เรื่องวิทยุทรานซิสเตอร์

“The public would be advised to use car radios or battery-powered receivers to listen to emergency broadcasts on FM and long-wave frequencies usually reserved for Radio 2 and Radio 4.”

จาก หนังสือพิมพ์ the Guardian วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2565

ทั้งนี้ อ.ไชยันต์ ได้ให้มุมมองดังกล่าว โดยสะท้อนจากประเด็น เมื่อวันที่ 18 ต.ค.65 ที่สำนักข่าว The Guardian อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าว BBC โดยรายงานว่า สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับนานหลายชั่วโมง ซึ่งถ้าหากรัสเซียปิดท่อแก๊สทั้งหมดที่ส่งมายังยุโรป โรงไฟฟ้าในสหราชอาณาจักรอาจต้องงดจ่ายกระแสไฟฟ้าวันละ 3 ชั่วโมง ระหว่าง 16.00 - 19.00 น. โดยเฉพาะในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวมาก แถมยังเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีกระแสลมมากพอในการสร้างกระแสไฟฟ้าจากกังหันลม

ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤตขาดแคลนพลังงาน อาจส่งผลกระทบให้สหราชอาณาจักรต้องประสบปัญหาไฟดับนานมากถึง 36-48 ชั่วโมง กว่าจะสามารถกู้ระบบพลังงานกระแสไฟฟ้าให้กลับมาใช้งานได้ปกติ ซึ่งวิกฤตไฟฟ้าดับจะเกิดขึ้นเกือบทั่วประเทศ ทั้งในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และเวลส์ ยกเว้นไอร์แลนด์เหนือที่ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตพลังงาน เนื่องจากไอร์แลนด์เหนือ ได้รับพลังงานไฟฟ้าจากประเทศไอร์แลนด์

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว BBC ได้เตรียมร่างหนังสือสำหรับออกอากาศแจ้งเตือนไปยังประชาชนในสหราชอาณาจักร ให้เตรียมรับมือกับวิกฤตไฟฟ้าดับ ซึ่งจะทำให้ระบบต่างๆ ใช้งานไม่ได้ เช่น เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต ระบบการเงินธนาคาร สัญญาณไฟจราจร และระบบบริการสาธารณะต่างๆ อีกมากมาย ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

>> พร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนในสหราชอาณาจักร เตรียมจัดหาวิทยุทรานซิสเตอร์ (battery-powered receivers) สำหรับรับฟังข้อมูลข่าวสารในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือจะใช้วิทยุภายในรถยนต์ในการรับฟังข้อมูลข่าวสารก็ได้เช่นกัน โดยสถานนีวิทยุ Radio 2 และ Radio 4 ของ BBC จะแจ้งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบสัญญาณวิทยุ FM


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top