Tuesday, 30 April 2024
รถไฟจีนลาว

ฟังให้เคลียร์!! ปมดราม่าดูถูกคนลาว 'รถไฟลาว-จีน' ที่แท้เทียบ ‘ค่าบริการยุคนี้’ ทำคนทั่วไปเข้าถึงยาก

อย่าฟังความข้างเดียว 'ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้' ปมดราม่า 'รถไฟลาว-จีน' คนลาวจะไม่มีปัญญาได้นั่งเพราะราคาตั๋วรถไฟแพง ที่แท้เทียบเคียงรถไฟใต้ดิน-บนดินของไทยที่ค่าโดยสารแพง คนไทยไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ทุกคน 

ดูคลิปเต็มได้ที่ >> https://www.youtube.com/watch?v=y_qFePulPDY&feature=youtu.be

(22 ธ.ค. 64) หลังจากกรณีที่สื่อรัฐบาล สปป.ลาว ออกมาตำหนิถึงการนำเสนอข่าวของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) กรมประชาสัมพันธ์ รายการ ‘ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้’ จัดโดย ‘นายถนอม อ่อนเกตุพล’ ที่กล่าวถึงการเปิดให้บริการเดินรถไฟลาว-จีน ทำนองว่าคนลาวจะไม่มีปัญญาได้ขี่ เพราะคนลาวมีเงินเดือนน้อย แต่ราคาตั๋วรถไฟแพง จนทำให้นายถนอม ต้องออกมากล่าวขอโทษชาวลาวไปแล้วนั้น

ล่าสุดนายถนอม ได้โพสต์คลิปรายการดังกล่าว ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 64 พร้อมระบุว่า “ทั้งสื่อไทย สื่อลาว ว่าผมดูหมิ่นคนลาว โปรดฟังชัดๆ ถ้าหมิ่นเขาแล้วทำประเทศเสียหาย ผมยินดีขอโทษ! เพราะไม่มีใครที่ไม่ผิด ขอว่า อย่าฟังความข้างเดียว”

สำหรับ รายการ ‘ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้’ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายถนอม กล่าวถึง ขบวนรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวรอบปฐมฤกษ์ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา 1,035 กม. กรุงเวียงจันทน์ถึงมณฑลยูนนาน ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน อัตราค่าโดยสารจากเวียงจันทน์ - บ่อเต็น 680 - 1,510 บาท

นายถนอม กล่าวว่า...ยินดีกับพี่น้องลาวด้วยที่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงวิ่งบริการในประเทศทั้งขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร นี่คือสิ่งที่คนไทยรู้สึกว่าทำไมเรายังเปิดไม่ได้ ประเทศไทยเพิ่งสร้างได้ 3.5 กม. กรุงเทพ-โคราช 3.5 กม. แล้วเมื่อไหร่จะแล้วเสร็จ และจากโคราชระยะที่ 2 ไปถึงหนองคาย อีก 356 กม. แล้วเมื่อไหร่จะเสร็จ

โปรเจกต์ 'เชื่อมมิตร-เศรษฐกิจ' ใต้ความล้ำคิดของจีน ที่ชาติพันธมิตรถอดใจ เหตุมองจุดคุ้มจากการลงทุน

เพจ ลึกชัดกับผิงผิง โพสต์ข้อความถึงโครงการรถไฟจีน-ลาว ว่า ปี 2017 นายหยวน เจ้อเสียง หนุ่มชาวมณฑลหูหนาน (袁志祥) จบการศึกษามหาวิทยาลัย เข้าทำงานการรถไฟจีน เป็นช่วงที่กำลังก่อสร้างทางรถไฟจีน-ลาว เขาจึงถูกส่งไปทำงานที่เขตเขาที่อยู่ทางเหนือของทางรถไฟลาว 

ต่อมาไม่นาน หยวน เขารู้จักกับสาวลาวท้องถิ่นชื่ออาเฟิน (ชื่อภาษาจีน) และกลายเป็นแฟนกันในที่สุด 

ปี 2018 อาเฟินได้รับเชิญไปร่วมงานฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ นายหยวน เจ้อเสียงขึ้นเวทีร้องเพลงจีน “เจิงฝู” (征服) ที่แปลว่าพิชิต เพลงนี้พิชิตใจสาวงาม อาเฟินตัดสินใจแต่งงานกับเขา 

ปี 2019 ลูกสาวคนแรกถือกำเนิดที่อำเภอหมื่นล่า มณฑลยูนนาน พวกเขาตั้งชื่อหยวน ซืออี๋ ซึ่งมีความหมายถึงมิตรภาพจีน-ลาว 

หลังโครงการทางรถไฟจีน-ลาวสร้างแล้วเสร็จ ครอบครัวนี้ยังอยู่ต่อในลาวอีกระยะหนึ่ง จนให้กำเนิดลูกสาวคนที่ 2 และตั้งชื่อ หยวน ซืออัน มีความหมายที่ต้องการให้จีนกับลาวเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข 

เรื่องดังกล่าวเป็นเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ลาว ที่เป็นก้าวแรกของเครือข่ายรถไฟจีน-อาเซียน ตลอดจนเครือข่ายรถไฟอาเซียน-จีน-ยุโรป 

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มีพิธีเปิดทางรถไฟจีน-ลาว ที่เชื่อมต่อกรุงเวียงจันทน์กับเมืองคุนหมิงเมืองเอกมณฑลยูนนาน ผู้นำจีนและลาวต่างมาร่วมพิธีเปิด ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญกับทางรถไฟสายนี้อย่างสูง 

ทางรถไฟจีน-ลาวช่วงที่อยู่ในลาวมีระยะทาง 414 กิโลเมตร ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่จีนในปัจจุบันเฉพาะทางรถไฟความเร็วสูงก็มีกว่า 35,000 กิโลเมตร จึงมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทางรถไฟจีน-ลาวมีความสำคัญสูงถึงขนาดที่ผู้นำทั้งสองประเทศต้องไปร่วมพิธีเปิดการเดินรถเลยหรือ? 

คำตอบคือใช่ เพราะนี่เป็นทางรถไฟที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของประชาชนลาว ประชาชนในภาคตะวันตกเฉียงใต้จีนและประชาชนอาเซียน 

มีคำถามว่า ลาวเป็นประเทศยากจนและไม่มีทางออกสู่ทะเล จะมีความสามารถปรับเปลี่ยนอนาคตของมณฑลยูนนาน กระทั่งเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเชียวหรือ? คำตอบคือ ลาวคงไม่มี แต่ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีศักยภาพแบบนี้ ทางรถไฟจีน-ลาว เป็นเพียงขั้นแรก เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟแพนเอเชีย 

ลาวเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศแบบดั้งเดิม มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เฉพาะเหมืองแร่โลหะขนาดใหญ่ก็มีกว่า 450 แห่ง ปัจจุบันขุดออกมาใช้แค่เพียง 3% เท่านั้น เพราะเมื่อขุดออกมาแล้วไม่มีทางขนส่งออกไปขาย จึงไม่มีใครกล้ามาลงทุนช่วยลาวขุดเหมืองแร่ ชาวลาวจึงเพียงเฝ้ารอคอย 

ปี 2016 รัฐบาลลาววางแผนพัฒนาระยะ 15 ปี หวังรับการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อสร้างทางรถไฟ ทำให้ลาวซึ่งเดิมเป็นประเทศที่ถูกล็อกไว้ในแผ่นดินชั้นในมาเป็นประเทศที่เป็นชุมทางภูมิภาค และการสร้างทางรถไฟนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ดังนั้น ประเทศเอเชียตะวันออกจำนวนหนึ่งก็ยินดีเข้าร่วมด้วย 

ก่อนเปิดเดินรถไฟจีน-ลาว ทั้งประเทศลาวมีทางรถไฟเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น นี่ไปทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อกับไทย เพื่อให้ความสะดวกแก่แรงงานลาวที่จะเข้าไปทำงานในไทย 

พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาวเป็นป่าไม้ เขตที่สร้างทางรถไฟพอดีอยู่ในเขตรอยต่อของแผ่นธรณีภาคยูเรเซีย (Eurasian Plate) รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชียและพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียงมีชั้นแตกหักมากมาย ทั้งเป็นแนวที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ สัดส่วนอุโมงค์และสะพานมีกว่า 70% ช่วงเดือนเมษายนถึงตุลาคม จะมีฝนตกชุก 

นอกจากนั้น ช่วงสงครามเวียดนาม เส้นทางโฮจิมินห์ส่วนใหญ่ผ่านลาว ทหารสหรัฐฯ ฝังระเบิดไว้กว่า 200 ล้านลูก จนถึงปัจจุบันยังเหลือกว่า 10 ล้านลูกที่ยังไม่ระเบิด จำนวนลูกระเบิดมากกว่าจำนวนประชากรลาวด้วย ทำให้ลาวมีพื้นที่ที่ต้องปิดไม่ให้ผู้คนเข้าไปอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้ลาวที่เป็นประเทศยากจน แต่สินค้ากลับมีราคาสูง 

สรุป การสร้างทางรถไฟในลาวยากมากและอันตรายมาก ต้องลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูง สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรปไม่ยอมลงทุน มีแต่จีนเท่านั้นที่ตัดสินใจไปช่วย 

การสร้างทางรถไฟต้องใช้เงินทุน รัฐบาลลาวออกทุน 33% รัฐบาลจีนออก 7% บริษัทจีนในลาวออกทุน 60% หลังสร้างเสร็จ จีนเป็นฝ่ายบริหารก่อนครบอายุสัญญา แล้วจึงมอบให้แก่รัฐบาลลาว โครงการที่ทำยากมากๆ นี้แต่จีนใช้เวลา 5 ปีก็สร้างเสร็จและเปิดใช้ได้ 

ย้อนหลังทศวรรษที่ 1960 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic And Social Commission For Asia And The Pacific) หรือ แอสแคป (ESCAP) ได้กำหนดโครงการเครือข่ายทางรถไฟขนส่งสินค้าที่เชื่อมต่อทวีปเอเชียกับยุโรป ระยะทาง 14,080 กิโลเมตร ที่เริ่มจากสิงคโปร์-อิสตันบูล จนถึงยุโรป กระทั่งเชื่อมต่อกับแอฟริกา 

ปี ค.ศ. 1995 ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 5 ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สืบทอดแนวคิดโครงการดังกล่าว เสนอให้สร้างทางรถไฟระหว่างประเทศที่ออกจากคุนหมิงผ่านลาวเข้าไทยกับ มาเลเซียและสิ้นสุดที่สิงคโปร์ เหล่าผู้นำประเทศที่ร่วมการประชุมล้วนเห็นด้วย และวางแผนจะสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลา 10 ปี โดยมียอดการลงทุนกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จีนออกประมาณครึ่งหนึ่ง

แต่เรื่องนี้พูดง่ายทำยาก คุยไปคุยมาจนถึงเดือนกันยายนปี 1999 จึงมีการลงนามบันทึกช่วยจำในการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 5 อาเซียน กำหนดแผนรถไฟแพนเอเชีย 

หลังจากนั้นคุยกันอีก 4 ปี เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ที่เมืองปูซาน เกาหลีใต้ 18 ประเทศได้ลงนาม “ความตกลงระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเครือข่ายรถไฟเอเชีย” ที่มีแผนจะสร้าง “เส้นทางสายไหมเหล็กกล้า” 4 สาย เพื่อเชื่อมต่อทวีปเอเชียกับยุโรป ได้แก่ 

เส้นทางเหนือ เชื่อมต่อคาบสมุทรเกาหลี จีน มองโกเลีย คาซัคสถาน รัสเซีย ระยะทางรวม 32,500 กิโลเมตร

เส้นทางใต้ ผ่านยูนนาน พม่า อินเดีย อิหร่าน ถึง ตุรกี ระยะทางรวม 22,600 กิโลเมตร

“อลงกรณ์” เผย! ขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ ถึงมหานครฉงชิ่งแล้วใน 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 65 รอเพียงจีนเปิดด่านตรวจพืชสถานีรถไฟโมฮ่าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนานได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วันตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้เมื่อเวลา1 5.00 น. ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาโดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีนคือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วันเมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย 

เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลาการขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาลและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆโดยเฉพาะผลไม้เช่นทุเรียน มังคุด เงาะเป็นต้นโดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้วรอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันที่17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรกและเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

นายอลงกรณ์กล่าวว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมากโดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยที่ยกเป็นตัวอย่างมา ณ ที่นี้

“สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาวทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้ว รถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วันขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

'เฉลิมชัย' พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย 'จีน-ลาว'

'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย 'จีน-ลาว' ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ ด้าน 'อลงกรณ์' เผยแผนต่อไปเดินหน้าจับมือ 'ลาว-เวียดนาม' เปิดประตูอีสานสู่แปซิฟิกจากนครพนมเชื่อมท่าเรือหวุงอ๋างเพิ่มช่องทางขนส่งสินค้าเกษตรทางเรือ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (3เม.ย) ว่า การขนส่งทุเรียน 2 ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวจำนวน 1 ตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟจากสถานีรถไฟมาบตาพุตจังหวัดระยองในภาคตะวันออกสู่ประเทศจีนโดยมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุขและส.ส.ระยอง เป็นประธานการปล่อยขบวนรถเมื่อวันที่27มีนาคมได้ถึงช่วงสุดท้ายที่สำคัญมากคือการขนส่งข้ามพรมแดนลาวที่ด่านบ่อเตนสู่แผ่นดินใหญ่จีนที่ด่านโมฮ่าน มณฑลยูนนานได้ในวันนี้

 

นับเป็นระบบการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi Modal Transportation)คือใช้ทั้งระบบรางและระบบรถที่เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีที่ยังไม่สามารถขนส่งผลไม้ทางรถไฟจากลาวข้ามแดนไปด่านรถไฟโมฮ่านโดยตรงเนื่องจากจีนกำลังก่อสร้างอาคารและลานตรวจโรคพืชที่ด่านรถไฟโมฮ่านจึงต้องไปใช้การตรวจโรคพืชที่ด่านโมฮ่านซึ่งเป็นด่านใหญ่ด่านเดิมไปพรางก่อน

“ทั้งนี้ได้รายงานให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ทราบแล้วโดยท่านรัฐมนตรีได้แสดงความพอใจแผนโลจิสติกส์เกษตรที่ประสบผลสำเร็จจากการทดสอบการขนส่งทุเรียนและมะพร้าวน้ำหอมล็อตแรกจากไทยผ่านลาวไปจีนภายใต้พิธีสารผลไม้ไทย-จีนด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวโดยได้สั่งการให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายนเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอนเนื่องจากการขนส่งล็อตแรกยังมีความล่าช้ากว่าเป้าหมายรวมทั้งการจัดการเรื่องพิธีการเอกสารของหน่วยงานต่างๆ การจองขบวนรถไฟ ตารางการเดินรถ และค่าระวางการขนส่งในระบบ 'ราง-รถ' ให้สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งผลไม้บนเส้นทาง”หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเตน-โมฮ่าน”ให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อเป็นอีกทางเลือกใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยไปจีนสำหรับฤดูการผลิตปี 2565”

‘ฟรุ้ทบอร์ด’ แจ้ง ‘รถไฟจีน-ลาว’ ขนลำไยไทย 20 ตู้ ผ่านด่านรถไฟโมฮ่านสำเร็จเป็นขบวนปฐมฤกษ์

ข่าวดีประเทศไทย!! ‘ฟรุ้ทบอร์ด’ แจ้งรถไฟจีน-ลาวขนลำไยไทยล็อตแรก 20 ตู้ผ่านด่านรถไฟโมฮ่านสำเร็จเป็นขบวนปฐมฤกษ์

(2 ธ.ค. 65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าการเปิดบริการด่านรถไฟโมฮ่าน เพื่อขนส่งผลไม้ไทยด้วยขบวนรถไฟจีน-ลาว ว่า วันนี้รถไฟจีน-ลาวขนลำไยไทยล็อตแรก 20 ตู้ผ่านด่านรถไฟโมฮ่านสำเร็จเป็นปฐมฤกษ์วันนี้

‘ไทย’ รุกคว้าโอกาสธุรกิจ หลัง ‘รถไฟจีน-ลาว’ เปิดให้บริการ หวังเพิ่มทางลัดส่งออกสินค้าไทย จากหนองคายสู่ตลาดจีน

(15 เม.ย. 66) สำนักข่าวซินหัว, หนองคาย ประเทศไทย รายงานว่า นายธนภัทร ยุทธเกษมสันต์ ผู้ประกอบการไทยวัย 43 ปี ซึ่งทำธุรกิจเอ็สเอ็มอี (SMEs) ด้านไอทีในจังหวัดหนองคาย บอกเล่าความรู้สึกของการเดินทางด้วยทางรถไฟจีน-ลาวครั้งแรก ซึ่งน่าประทับใจ สะดวกสบาย และสะอาดมาก ยกเว้นเพียงการซื้อบัตรโดยสารที่ค่อนข้างยาก เพราะมีคนอยากซื้อเยอะมากเช่นกัน

ทางรถไฟจีน-ลาว ซึ่งเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2021 ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวไทยที่ต้องการเดินทางด้วยรถไฟสายนี้ในช่วงวันหยุด เช่นเดียวกับนายธนภัทรที่ขึ้นรถไฟไปยังบ่อเต็น จุดเชื่อมต่อข้ามไปยังมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สวนกระแสชาวไทยจำนวนไม่น้อยที่เลือกนั่งรถไฟไปพักผ่อนหย่อนใจในแขวงหลวงพระบาง

นายธนภัทร ตระหนักถึงโอกาสสำคัญที่เพิ่มขึ้นหลังจากทางรถไฟจีน-ลาว เปิดบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดน เมื่อวันพฤหัสบดี (13 เม.ย.) เพราะกลายเป็นช่องทางลัดสู่ตลาดจีนสำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดหนองคาย ที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอย่างกรุงเทพมหานคร

นายธนภัทร ชี้ว่า คนหนองคายไม่จำเป็นต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อขึ้นเครื่องบินไปจีนอีกแล้ว ซึ่งช่วยลดระยะทางระหว่างชุมชนธุรกิจและตลาดจีน โดยเขากำลังจับตามองพื้นที่บางส่วนของอวิ๋นหนาน ที่อาจเป็นตลาดส่งออกชั้นดีสำหรับสินค้าไทยจากหนองคาย เช่น แคว้นปกครองตนเองสิบสองปันนา กลุ่มชาติพันธุ์ไท ซึ่งมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับไทย

เมื่อวันพฤหัสบดี (13 เม.ย.) นายธนภัทร เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า เขาหวังขยายตลาดสำหรับสินค้าไทย เพราะตลาดจีนมีขนาดใหญ่มาก และหวังว่าทางรถไฟสายนี้จะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หรือแม้แต่กรุงปักกิ่ง

นอกจากนี้ การบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนของทางรถไฟจีน-ลาว สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนได้มากขึ้น นายธนภัทรจึงหวังว่า บริการนี้จะช่วยเปิดโอกาสสำหรับการร่วมงานกับธุรกิจจีนด้วย โดยเขาหวังว่าผู้ประกอบการจากจีนจะมาที่หนองคาย เพราะตัวเลขผู้ประกอบการที่มีมากขึ้นหมายถึงโอกาสที่เพิ่มมากตามไปด้วย

‘ทางรถไฟจีน-ลาว’ หนุนธุรกิจ ‘หนองคาย’ คึกคัก ขนส่งร่นเวลา-จ้างงานสะพัด-นักท่องเที่ยวหนาตา

เมื่อวันที่ (17 เม.ย.66) สำนักข่าวซินหัว เผยว่า จังหวัดหนองคายของไทยได้ร่วมแบ่งปันความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์กับเพื่อนบ้านฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงอย่างลาว นับตั้งแต่ทางรถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนเมื่อวันพฤหัสบดี (13 เม.ย.) อันเป็นวันเทศกาลที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับไทยและลาว

จิรนันท์ สกุลตั้งไพศาล ที่ปรึกษาสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย กล่าวว่าผู้ประกอบการจำนวนมากในภาคการท่องเที่ยวท้องถิ่นเริ่มได้รับการสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยเกี่ยวกับบริการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนของทางรถไฟจีน-ลาว

ความสนใจใคร่รู้นี้ไม่ได้สร้างความแปลกใจแก่จิรนันท์ ผู้บริหารโรงแรมในหนองคาย เนื่องจากเธอพบเห็นนักท่องเที่ยวชาวไทยหลั่งไหลข้ามพรมแดนช่วงวันหยุด เพื่อสัมผัสประสบการณ์ทางรถไฟจีน-ลาว นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคม 2021

“ชาวไทยจะเดินทางมาหนองคายเพื่อสอบถามวิธีขึ้นรถไฟจีน-ลาว บางครั้งเรามีลูกค้าเยอะเกินกว่าจะให้บริการได้” จิรนันท์ระบุ

นักท่องเที่ยวจำนวนมากจะพักค้างคืนในหนองคายก่อนเดินทางไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ของลาวที่อยู่ห่างราว 20 กิโลเมตร โดยแผนการเดินทางนี้ช่วยกระตุ้นธุรกิจโรงแรมของจิรนันท์และภาคการท่องเที่ยวท้องถิ่นที่ต้องการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

ด้าน มนนิภา โกวิทศิริกุล ประธานหอการค้าจังหวัดหนองคาย แสดงความหวังว่านักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาลาวจะเดินทางมาท่องเที่ยวต่อในหนองคายและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยหนองคายกำลังเตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจีน รวมถึงจัดเตรียมการขนส่งและพนักงานที่พูดภาษาจีนเพิ่มขึ้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top