Monday, 29 April 2024
รถไฟความเร็วสูง

‘ก้าวไกล’ ถกปัญหา ‘คนจนเมืองขอนแก่น’ ปมไล่ที่ ทำรถไฟความเร็วสูง แต่ไร้เยียวยา

ฟังคนขอนแก่น ‘วีรนันท์’ ว่าที่ผู้สมัครสส.เขต 1 ขอนแก่นนำทีม ‘ก้าวไกล’ ตั้งโต๊ะถกปัญหา ‘คนจนเมืองขอนแก่น’ เผยโครงการ ‘รถไฟฟ้า’ เส้นอีสานไล่ที่ไร้เยียวยา กระทบกว่า 10,000 ครอบครัว ‘วิโรจน์’ จ่อตั้งกระทู้ถาม ‘ศักดิ์สยาม’ ด้าน ‘อภิชาติ’ รับนำเข้ากมธ.ที่ดิน เตรียมเชิญหน่วยงานชี้เเจง

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ ชุมชนมิตรภาพริมทางรถไฟ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล, อภิชาติ ศิริสุนทร และสุรวาท ทองบุ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เดินทางไปรับฟังเสียงสะท้อนปัญหาจากพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟต่อกรณีที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง โดยมี วีรนันท์ ฮวดศรี ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 จังหวัดขอนแก่น พรรคก้าวไกล ตัวเเทนจากเครือข่ายสลัมสี่ภาค และประชาชนที่ได้รับผลกระทบร่วมกันจัดวงเสวนาโต๊ะกลมเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่อกรณีดังกล่าว

วิโรจน์ กล่าวในวงเสวนาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแม้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีสัญญาเช่า แต่รัฐจะทำเป็นไม่รู้เรื่องแล้วใช้กฎหมายมาปิดปากเพื่อจัดการประชาชนไม่ได้ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเอาเรื่องที่รัฐไม่พูดถึงมาอยู่บนโต๊ะเพื่อเปิดให้มีการเจรจาและหาทางออกร่วมกัน  

“เบื้องต้นพรรคก้าวไกลมอบหมายให้ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ขอนแก่น สรุปเรื่องราวเข้ามา เพื่อเป็นข้อมูลข้อเท็จจริงในการตั้งกระทู้ถามต่อไปยัง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ตอบและชี้แจงถึงมาตรการของการเยียวยารวมถึงความชัดเจนของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหานี้ ทราบว่าประชาชนจำนวนมากไม่มีสัญญาเช่า ไม่มีโฉนดที่ดิน แต่ในการพัฒนาเมืองประชาชนก็ไม่ได้ต่อต้าน จึงอยากให้ทางรัฐเข้าใจหัวอกของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย ผมอยากเห็นเมืองที่คนตัวเล็กตัวน้อยสามารถอยู่ร่วมในเมืองได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่เมืองที่พัฒนาแต่ความศิวิไลซ์ อยากเห็นเมืองที่มีการแบ่งปันพื้นที่ให้กับประชาชนรากหญ้าอย่างเป็นธรรมและเข้าใจวิถีชีวิตที่เขาเคยอยู่ ไม่ใช่เป็น Smart City แต่ผู้อยู่อาศัยได้รับความเดือดร้อน รัฐมองแผ่นดิน แต่ไม่มองประชาชนที่อยู่อาศัยไม่ได้” วิโรจน์ กล่าว 

'ไทยรักษา'​ ชี้!! โซเชียลไทยแขวะรถไฟมือสองญี่ปุ่นถี่ แต่อวยรถไฟลาว เพราะหวังแค่ดูถูกประเทศตัวเอง

เฟซบุ๊กเพจ​ ไทยรักษา​ ได้โพสต์ข้อความ​ ระบุว่า... 

เราจะอวยรถไฟลาว เพื่อมาดูถูกประเทศตัวเองไปเพื่ออะไร ?

ขอถามคนไทยทุกคนว่า ถ้าวันนี้!! ไทยไม่รับบริจาครถไฟมือสองของญี่ปุ่น แล้วเรามีรถไฟเหมือนที่ลาวใช้ คนไทยจะโอเคมั้ย .... 

รถไฟความเร็วสูงอะไร ! วิ่งได้แค่ 160 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งมาตรฐานของรถไฟความเร็วสูงจริง ๆ​ คือ ใช้ความเร็วได้ตั้งแต่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป 

ถ้ารถไฟความเร็วสูงของไทย วิ่งได้แค่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแค่นี้ วันนี้คนไทยจะว่ายังไง ?  

การมีรถไฟของลาว ทำให้ลาวต้องกู้เงินจากจีนมาลงทุน จีนถือหุ้นกว่า 70% ส่วนลาวที่เป็นเจ้าของประเทศ กลับถือหุ้นแค่ 30% แถมยังต้องเอาเหมืองทอง 5 แห่ง ที่เป็นสมบัติของชาติ ไปค้ำประกันจีนไว้ด้วย

‘สมศักดิ์’ เผย ลาวมีพัฒนาการก้าวกระโดด หลังมีรถไฟความเร็วสูงทำรายได้ 3.66 ล้าน / วัน

‘สมศักดิ์’ เผยลาวมีพัฒนาการก้าวกระโดด ความเป็นอยู่ดีขึ้น หลังสร้างรถไฟความเร็วสูงทำรายได้ 3.66 ล้านต่อวัน ชี้คนไทยบางกลุ่มยังไม่เข้าใจประโยชน์ ต้องอธิบาย-รับฟังความเห็นให้มากขึ้น

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้มีโอกาสเดินทางไปปฏิบัติราชการด้านยาเสพติดที่ สปป.ลาว เสร็จเรียบร้อยทางการของสปป.ลาว ได้เชิญคณะไปนั่งรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีระยะทางวิ่ง 420 กิโลเมตร มีสถานีจอด 10 สถานี แต่ในขณะนี้ยังเปิดใช้แค่ 4 สถานี โดยจะวิ่งให้บริการตั้งแต่สถานีต้นทางเมืองเวียงจันทน์ไปจนถึงสถานีปลายทางเมืองบ่อเต็น คิดค่าโดยสาร 1,500 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 3.50 บาท รถไฟความเร็วสูงสามารถบรรทุกสินค้าได้บางประเภท บรรทุกผู้โดยสารได้ 700 คนเศษ จะมีการวิ่งทั้งระยะสั้นและยาว โดยแบบสั้นไปกลับ เริ่มตั้งแต่สถานีเวียงจันทน์จนถึงสถานีหลวงพระบาง ค่าโดยสาร 1,000 บาท เมื่อคำนวณไปกลับต่อ 1 เที่ยวจะได้เงิน 1.5 ล้านบาท ส่วนแบบยาวระยะทางไปกลับ จะได้เงิน 2.16 ล้านบาท รวมเป็น 3.66 ล้านบาทต่อวัน นอกจากนี้ยังทราบว่าอีก 6 เดือน จะมีรถไฟความเร็วสูงเพิ่มขึ้นอีก 1 ขบวน ซึ่งคนลาวให้ความสนใจหันมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก

‘เพื่อไทย’ จี้ ‘บิ๊กตู่’ เร่งรถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน เย้ย ถ้าไม่มีรัฐประหารเสร็จนานแล้ว

‘เพื่อไทย’ จี้ ‘บิ๊กตู่’ เร่งรถไฟความเร็วสูง เชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์-จีน เย้ย หากไม่มีรัฐประหาร โครงการนี้เสร็จไปแล้ว ชี้ ยิ่งช้าไทยยิ่งเสียโอกาส แนะ เจรจาประเทศจีนหาทางเร่งเร็วขึ้น

เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 65 นายกฤษฎา ตันเทอดทิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย อดีตรองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่ได้ให้ข้อมูลชี้ให้เห็นผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากโครงการรถไฟความเร็วที่เชื่อมต่อจากประเทศจีนมายังกรุงเวียงจันทน์ ซึ่งทำให้ประเทศลาวได้ประโยชน์อย่างมาก มีนักท่องเที่ยวจีนเข้าลาวเป็นจำนวนเป็นล้านคนแล้ว รวมทั้งยังมีการขนส่งสินค้าระหว่างกันจำนวนหลายแสนตัน ส่งเสริมการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยวอย่างมาก แต่เพราะความล่าช้าและความด้อยประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยล่าช้าทำได้เพียง 3.5 กม. แต่ใช้เวลาในการสร้างนานถึง 2 ปี 6 เดือน เสียค่าใช้จ่ายไปมหาศาลแต่ไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด เป็นความเสียโอกาสของประเทศไทยอย่างมาก 

หากเริ่มทำสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้ท่านอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ป่านนี้รถไฟความเร็วสูงของไทยคงเชื่อมต่อจากประเทศจีนถึงกรุงเทพมหานครแล้ว และ คงมีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเข้าประเทศไทยเป็นล้าน ๆ คนเช่นกัน ซึ่งจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยที่กำลังย่ำแย่ในปัจจุบันได้

เพจดัง ไขข้อเท็จจริงเวนคืนที่ทำรถไฟความเร็วสูง หลังมีคนปั่นกระแสค้านเวนคืนที่สร้างสถานีโคราช

เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีมีการปั่นกระแสคัดค้านการเวนคืนที่ดินบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง สถานีนครราชสีมา โดยระบุว่า 

ขอบเขตการเวนคืน ที่คุณอาจจะเข้าใจผิด!!!

ขอบเขตการเวนคืน มีไว้เพื่อสำรวจพื้นที่ ก่อนการเวนคืนจริง!!! ไม่ใช่เวนคืนทั้งหมด!!! อย่าพึ่งตีตนไปก่อนไข้!!!

โดยแอดมินเพจ ระว่า บอกตามตรง ว่าผมเห็น Content จากทางโคราช (ขอไม่อ้างถึงเพจ) มาหลายวัน แล้วเหนื่อยใจจากความไม่เข้าใจ (หรือตั้งใจปั่นกระแสคัดค้านก็ไม่ทราบ) 

โดยการเอาภาพแผนผังขอบเขตการเวนคืนเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทาบกับ ภาพถ่ายดาวเทียม จาก Google Map แล้วมาให้ดูว่ามีการเวนคืนกว้างถึง 800 เมตร 

ซึ่งมีการทาบไปบนพื้นที่ในเขตพื้นที่หนาแน่น ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีการตกใจ และทักมาหาผม ถามว่าบ้านเค้าจะโดนเวนคืนมั้ย?? ทำไมต้องเวนคืนมากขนาดนั้น?? และก็ด่าโครงการรถไฟความเร็วสูง มากมาย บางคนลามไปถึงจะเตรียมประท้วงคัดค้านการเวนคืนกันแล้ว

ผมเลยขอมาให้ข้อมูลที่ “แท้จริง” กับทุกคนก่อนว่า อันนี้เป็นแนวเขตเพื่อ “สำรวจ” ไม่ใช่เวนคืนทั้งหมด การที่ต้องออกพื้นที่มามากกว่าการใช้งานจริงๆ เพื่อไม่ต้องให้ขอมติครม. และ ออก พรฏ. บ่อยๆ (ซึ่งออกยากมาก) ดังนั้นต้องทำให้กว้าง เพื่อความสะดวกในการปรับแก้ไข หรือเวนคืนเพิ่มเติมตามความจำเป็นของโครงการ เท่านั้น!!!!

มาดูรายละเอียดพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา (โคราช) “จริงๆ” ตามแบบกันก่อนครับ

ตำแหน่งสถานีใช้พื้นที่สถานีเดิม และเขตพื้นที่ของการรถไฟเดิม โดยสร้างเป็นสถานี 3 ชั้น

ซึ่งสถานีนครราชสีมา จะมีลักษณะคล้ายกับสถานีบางซื่อรวมรถไฟทั้ง 2 ระบบ คือรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมี 3 ชั้น 

ชั้นที่ 1 โถงพักรอคอย และทางเข้าอาคาร

ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชลารถไฟทางไกล

ชั้นที่ 3 ชานชลารถไฟความเร็วสูง

สถานที่ตั้งสถานีใหม่อยู่บริเวณย่านสถานีรถไฟนครราชสีมาในปัจจุบัน (ขยับไปทางชุมทางถนนจิระประมาณ 160เมตร) และมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเล็กน้อย

ภาพ Render ของสถานีนครราชสีมา
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629142004190949/?d=n

ซึ่งในภาพผมก็ได้เอาผังสถานีที่จะมีการใช้งานจริง รวมถึงการเวนคืน มาให้อ่านแล้วลองพิจารณาดูครับ ว่าเค้าจะเวนคืนเต็ม 800 เมตร ตามเอกสารจริง ๆ มั้ย???

ไปดูแผนผังจริงได้ที่สถานีรถไฟนครราชสีมา (โคราช)

รายละเอียดการเวนคืน ตาม พรฏ. เวนคืน

โดยตาม พรฏ. เวนคืนเล่มนี้ก็ได้เขียนจุดประสงค์ การเวนคืนไว้

มาตราที่ 3 “ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้าง ทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา)”

มาตราที่ 6 ให้เริ่มต้นเข้า”สำรวจ” ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดิน ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

มาตราที่ 7 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน

หมายเหตุ ท้าย พรฏ. เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็ว แก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค “สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน”ในท้องที่ดังกล่าว “เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทาการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์” ที่ต้องได้มา โดยแน่ชัด

'รถไฟความเร็วสูง' และ 'รถไฟรางคู่' แตกต่างกันอย่างไร?

'รถไฟความเร็วสูง' เป็นรถไฟที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น มีความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ 'รถไฟรางคู่' นั้น เป็นรถไฟแบบดั้งเดิมที่ได้รับการขยายเพิ่มจำนวนรางมากขึ้นเป็น 2 เส้น ซึ่งรถไฟแบบดั้งเดิมนี้ สามารถขนย้ายได้ทั้งผู้โดยสาร และสินค้าในขบวนเดียวกัน ตามแต่การเชื่อมต่อขบวนรถไฟ

ในอดีตที่ผ่านมา การรถไฟของไทย ใช้รถไฟแบบดั้งเดิมทั้งเพื่อการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมรถไฟที่เปลี่ยนแปลงไป รถไฟความเร็วสูงได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว และได้รับการยกย่องว่าเป็น 'ยานพาหนะแห่งศตวรรษที่ 21' มีความสามารถที่จะขนส่งผู้โดยสารในระยะทางที่ไกลขึ้นได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่สามารถเอื้อมถึง

ได้นั่งแน่! ไม่นานเกินรอรถไฟความเร็วสู่สายอีสานและรถไฟเชื่อมสามสนามบิน | TIME TO KNOW EP.4

TIME TO KNOW EP.4

ไม่นานเกินรอรถไฟความเร็วสู่สายอีสานและรถไฟเชื่อมสามสนามบิน

.

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

ไขข้อข้องใจ 'รถไฟความเร็วสูง' เชื่อม 'ไทย-ลาว-จีน' เหตุผลที่ทำไมไทยต้องเป็นจีน และเหตุใดถึงล่าช้า

(20 มี.ค. 66) 'อ.ต่อตระกูล' รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง รถไฟความเร็วสูง เชื่อม ไทย-ลาว-จีน ที่สร้างไปได้มากแล้ว ว่า

รถไฟความเร็วสูง เชื่อม ไทย-ลาว-จีน ลงทุนด้วยเงินไทย สร้างโดยช่างไทย โดยใช้จีนให้เป็นผู้ออกแบบและเป็นที่ปรึกษา เป็นการเลือกที่ถูกต้องที่สุด ในระยะยาวเราจะมีความรู้ ความชำนาญก่อสร้างได้ด้วยตนเอง และไม่ต้องเอาที่ดินและทรัพยากรชาติไปประกันเงินกู้จีนแบบที่ลาวทำ

อีก 4 ปี จะเสร็จ วิ่งได้ถึงโคราช

ขณะนี้พร้อมสร้างต่อไปให้ถึงหนองคายเพื่อข้ามไปเชื่อมรถไฟสายลาว-จีน

หลังจากโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีการสนทนาสอบถามถึงเหตุผลที่ทำไมต้องให้จีนออกแบบ แล้วทำไมถึงยังดูล่าช้าจากลูกเพจ ซึ่งเรื่องนี้มีคำตอบว่า...

วิศวกรไทยเราสามารถออกแบบเสาและทางวิ่งได้ แต่เราออกแบบระบบควบคุมและสร้างตัวรถไฟไม่ได้ พวกนี้เราต้องซื้อและจีนทำได้ดีและถูกสุด ล่าสุดอังกฤษยังให้จีนไปสร้างให้เลย เราและประเทศในโลกนี้ ไม่มีใครชำนาญการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงมากเท่าจีน

คืบหน้า สถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี ล่าสุด ระบบฐานราก – เสาอาคาร คืบแล้ว 60%

(29 มี.ค. 66) เพจโครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure ได้โพสต์ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - นครราชสีมา ช่วงสระบุว่า ความคืบหน้าสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีแรกที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว คือ สถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี 

ซึ่งสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี มีการย้ายตำแหน่งสถานีจาก บริเวณจุดตัดถนนพหลโยธิน ไปอยู่บริเวณจุดตัดเลี่ยงเมืองสระบุรี ด้านหลังห้าง โรบินสันสระบุรี

ซึ่งมีการศึกษาและเปรียบเทียบ ประโยชน์ และปัญหาต่างๆ ของ ตำแหน่งเดิม และตำแหน่งใหม่ไว้ใน EIA ตามลิ้งค์นี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=630481400723676&id=491766874595130

รูปแบบโครงสร้างสถานี
ชั้นที่ 1 ชานชลารถไฟทางไกล (อนาคต)
ชั้นที่ 2 พื้นที่ขายตั๋วและเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร
ชั้นที่ 3 พื้นที่รอคอยรถไฟความเร็วสูง
ชั้นที่ 4 ชานชลารถไฟความเร็วสูง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top