Monday, 6 May 2024
ชุดนักเรียน

สืบสานกว่า 100 ปี!! ‘เครื่องแบบนักเรียน’ เมื่อแรกมีในไทย สู่ความภาคภูมิใจแห่งสถาบันศึกษา 

การแต่งเครื่องแบบมีพื้นฐานจากการแต่งตัวให้เข้ากับกาลเทศะ ความเหมาะสมของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เครื่องแบบของนักเรียนชายส่วนใหญ่ ประกอบด้วยกางเกงขาสั้นหรือกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตสีขาว ขณะที่เครื่องแบบนักเรียนหญิงจะต่างกันในแต่ละประเทศและระบบการศึกษาของโรงเรียน อีกทั้งมีการออก พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน มาบังคับใช้ด้วย เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัย และเป็นการคุ้มครอง มิให้บุคคลอื่นใดแต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่มีสิทธิที่จะแต่ง

โรงเรียนในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นก็ทรงให้มีโรงเรียนสำหรับสามัญชนตามมา และได้มีพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน ปี 2482 ออกมาบังคับใช้

หลังจากใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวมาเป็นเวลานาน พบว่าบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงยกเลิกพระราชบัญญัติฯ ปี 2482 แล้วให้ใช้ พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 แทน โดยกำหนดให้มีเครื่องแบบนักเรียนไว้เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อประโยชน์ในการประหยัดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย

สำหรับวิวัฒนาการของเครื่องแบบนักเรียนไทย ดร.อาทร จันทวิมล อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษาหอประวัติศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการได้เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ยุคแรกของการศึกษาไทย การเรียนการสอนมีขึ้นที่วัดโดยพระเป็นผู้สอนหนังสือ ต่อมาเมื่อมีโรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ เกิดขึ้น ก็มีการบังคับใช้ เครื่องแบบนักเรียน ตามมา

ส่วนที่มาของเครื่องแบบนักเรียน พบว่าในปี ค.ศ.1846 ได้ปรากฏภาพเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดของอังกฤษ (โอรสพระราชินีวิคตอเรีย) ทรงแต่งชุดกะลาสีเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์ ชุดดังกล่าวจึงกลายเป็นที่นิยมของเด็กๆ ทั่วโลก จากนั้นมีการนำชุดกะลาสีไปเป็นแบบฟอร์มชุดนักเรียนในสหรัฐอเมริกา และแพร่ขยายต่อไปยังเยอรมนี  ญี่ปุ่น และประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเรามีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย อาทิ ในยุคหนึ่ง เครื่องแบบนักเรียนไทยในยุคหนึ่งต้องสวมหมวกด้วย โดยเกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหมวกที่ทำด้วยวัสดุหลายรูปแบบ ฯลฯ ถือว่าเป็นยุคที่นักเรียนสวมหมวกเป็นเครื่องแบบเป็นยุคแรก 

บางโรงเรียนใช้เครื่องแบบเป็น "ชุดราชปะแตน" นอกจากนี้ยังพบว่ามีบางโรงเรียนมีเครื่องแบบนักเรียนคล้ายชุดทหาร นั่นคือ "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย" เนื่องจากโรงเรียนนี้มีจุดเริ่มต้นจากโรงเรียนในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นโรงเรียนเป็นการฝึกหัดบุคคลเข้ารับราชการทหาร เครื่องแต่งกายจึงใช้แบบทหาร

ต่อมาโรงเรียนถูกเปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน เครื่องแต่งกายของนักเรียนจึงเปลี่ยนไป โดยในยุคแรกเครื่องแบบนักเรียนใช้เป็น "เสื้อราชปะแตน นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวสีขาวพับขอบบน รองเท้าหนังสีดำ"

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เครื่องแบบโรงเรียนนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นกางเกงตัดเป็นจีบ รูดเลยหัวเข่าคล้ายโจงกระเบน ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบเป็นกางเกงขาสั้นแคบสีดำ เสื้อคงเดิม และสวมหมวกยาวปีกกลมคาดแถบผ้าสีเหลือง ตรงกลางหน้าหมวกมีเข็มกลัดโลหะอักษร สก. จากนั้นเครื่องแบบนักเรียนถูกเปลี่ยนอีกครั้ง กลายเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว กางเกงขาสั้นสีกากี และพัฒนามาเป็นกางเกงขาสั้นสีดำ

เสี่ยงผิดกฎหมาย!! 'ทนายรัชพล' เตือน!! นทท.ฮิตใส่ชุดนักเรียน อาจผิดกฎหมาย หากปักชื่ออักษรย่อ แล้วตรงกับชื่อของโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง

ทนายรัชพล ออกโรงเตือนใส่ชุดนักเรียนทั้งที่ไม่ได้เป็นนักเรียน ผิดกฎหมาย-เสี่ยงถูกปรับ หลังเกิดเทรนด์ใหม่คนจีนฮิตใส่เที่ยวไทย

กลายเป็นกระแส Soft Power ของประเทศไทย เมื่อนักท่องเที่ยวและดาราซุปตาร์คนดังชาวจีนที่ได้เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย ต่างแห่ซื้อชุดนักเรียนไทยสวมใส่ถ่ายภาพเผยแพร่บนโลกโซเชียล จนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวจีน ส่งผลทำให้ร้านขายชุดนักเรียนย่านบางลำพูขายดีขึ้นกว่าเดิม

เฉลย 'เทรนด์ชุดนักเรียน-นักศึกษา' ฮิตในหมู่ต่างชาติ เพราะ อิทธิพลความน่ารักที่โพสต์อวดกันในโซเชียล

หากใครตามโซเชียลบ่อยๆ ก็คงจะได้เห็นรูปนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสวมใส่ชุดนักเรียนไทยเดินท่องเที่ยวในไทยเป็นแน่ ไม่ว่าจะใส่คนเดียวแล้วถ่ายรูป หรือใส่กันเป็นกลุ่มแล้วถ่ายรูปเป็นแก๊ง คนไทยเราเห็นก็เอ่ยชมว่าน่ารักน่าเอ็นดู และภาคภูมิใจที่ได้เห็นชาวต่างชาติ นิยมชมชอบความเป็นไทยของเรา ที่นอกเหนือจากอาหารและสถานที่ท่องเที่ยว

เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีหนึ่งคลิปที่เป็นไวรัลและโด่งดังใน TikTok อย่างมา โดยเป็นคลิปที่ชาวตะวันตก ได้สัมภาษณ์คนสิงคโปร์และจีนที่ในชุดนักเรียนไทย ท่องเที่ยวในภูเก็ต โดยเจ้าของคลิปได้ถามคำถามนักท่องเที่ยวทั้งสองดังนี้

คำถาม: พวกคุณมากจากไหน
นักท่องเที่ยว: ฉันมาจากสิงคโปร์ค่ะ ส่วนเพื่อนมาจากประเทศจีน

คำถาม: พวกคุณใส่ชุดอะไรกันครับ ชุดนักเรียนใช่ไหม?
นักท่องเที่ยว: ใช่ค่ะ ชุดนักเรียนค่ะ

คำถาม: ทำไมถึงใส่ครับ?
นักท่องเที่ยว: เป็นเทรนด์ที่จีนค่ะ ที่นิยมใส่ชุดนักเรียนไทยกัน 

คำถาม: แล้วพวกคุณได้เทรนด์นี้มาจากไหนครับ?
นักท่องเที่ยว: นักแสดงชาวจีนที่มาเที่ยวไทย เขาใส่ชุดนี้แล้วก็ถ่ายรูป รู้สึกว่าน่ารักดี เราเลยไปซื้อมาใส่กัน นักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ตและกรุงเทพแล้วใส่ชุดนักเรียนก็เยอะมากเช่นกัน

คำถาม: ใส่เพราะชอบใช่หรือไม่? หรือเพราะติ๊กต็อก?
นักท่องเที่ยว: ที่ใส่เพราะมันน่ารักค่ะ ถ่ายรูปกัน 

‘คุณหญิงบุญเลื่อน’ อดีต ผอ.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้เอาตำแหน่งเป็นหลักประกัน ช่วยให้ นร.ไม่ต้องปักชื่อที่ชุด

จากกรณี ‘หยก’ เยาวชนหญิงวัย 15 ปี จำเลยคดีมาตรา 112 ที่มีอายุน้อยที่สุด นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้แต่งกายด้วยชุดไปรเวทเข้าเรียน และได้ถูกเชิญตัวออกจากโรงเรียน จนเกิดเป็นกระแสดรามาขึ้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 66 เฟซบุ๊กเพจ ‘บูรพาไม่แพ้’ ได้โพสต์ข้อความถึงเรื่องเครื่องแบบชุดนักเรียน ที่กำลังมีประเด็นในสังคมอยู่ ณ ขณะนี้ โดยระบุว่า…

“ทำไม #ชุดนักเรียน ของโรงเรียน #เตรียมอุดมศึกษา จึงไม่มีชื่อโรงเรียน,เลขประจำตัว หรือชื่อนักเรียนปักติดอยู่บนเสื้อ? (เป็นเสื้อสีขาว ติดเข็ม ‘พระเกี้ยวน้อย’ เท่านั้น)

ช่วงปี 2516 กรมสามัญศึกษาได้ออกระเบียบบังคับให้ทุกโรงเรียนปฏิบัติเหมือนกันหมด คือให้นักเรียนทุกคนต้องปักชื่อย่อของโรงเรียน และชื่อของตนเองหรือเลขประจำตัวบนเสื้อ เพื่อจะทราบได้ว่า เรียนที่ไหน? และเมื่อทำผิดแล้ว จะได้ตามตัวได้ถูกคนถูกตัว

แต่นักเรียนโรงเรียนเตรียมฯ ไม่ต้อง เพราะ ผอ. ขณะนั้น เข้าชี้แจงกับทางกระทรวงว่า นักเรียนของโรงเรียนเตรียมฯ ดี และเรียบร้อยอยู่ในระเบียบทุกคนไม่จำเป็นต้อง มีชื่อโรงเรียนหรือชื่อนักเรียนติดที่อกเสื้อ 

อธิบดีฯ ก็ถามกลับมาทันทีว่า “แล้วคุณหญิงจะเอาอะไรมาเป็นหลักประกัน”
ผอ. ตอบว่า “โต๊ะกับเก้าอี้ตัวหนึ่ง”

อธิบดี ถึงกับอึ้ง 

แล้วโต๊ะกับเก้าอี้ 1 ตัวนั้นสำคัญอย่างไร?

เป็น ‘โต๊ะ’ และ ‘เก้าอี้’ ของผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในขณะนั้น
‘คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู’

นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้ ด้วยเกียรติของ ตอ. จึงเป็นโรงเรียนเดียวในประเทศไทย ที่นักเรียนไม่ต้องปักชื่อของโรงเรียน หรือชื่อของตนเองไว้ที่อกเสื้อ โดยมีคำสั่งจากผู้อำนวยการ อาจารย์คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ว่านักเรียนเตรียมฯ ทุกคนจะต้องติดตราสัญลักษณ์พระเกี้ยวน้อยที่อกเสื้อ หากใครถอดพระเกี้ยวออก จะถูกลงโทษ

คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู กล่าวว่า “นักเรียนเตรียมฯ แค่เห็นข้างหลังก็รู้ว่าเป็นนักเรียนเตรียมฯ”

ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ ‘คุณปลื้ม’ พิธีกร และผู้ดำเนินรายการข่าว กล่าวถึงกรณี ‘หยก-ธนลภย์’ เยาวชนอายุ 15 ปี

จากประเด็นถูกไล่ออกจากโรงเรียน หลังจากสวมชุดไปรเวทและย้อมสีผมไปเรียน ผ่านรายการ ‘The Daily Dose Live! ยามเช้า’ เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 66 ว่า…

“ผู้ใหญ่คนไหนที่ให้ท้ายคุณ เขาไม่ได้รักคุณ นั่นคือข้อเท็จจริง ผู้ใหญ่คนไหนที่ตักเตือนคุณ ให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เพื่ออยู่ร่วมกับสังคมได้ นั่นคือ คนที่รักคุณจริงๆ”

 

‘อภิชาติ ดำดี’ ชี้ประเด็นเรื่อง ‘ชุดนักเรียน’ กำหนดไว้เพื่อให้ ‘อยู่ร่วมกัน’ ได้ในสังคมเดียวกัน

เมื่อวานนี้ (16 มิ.ย.) นายอภิชาติ ดำดี อาจารย์นักพูด นักจัดรายการชาวไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกระบี่ ได้โพสต์ข้อความ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็น เรื่องชุดนักเรียน โดยมีใจความว่า ...

จ า ก ใ จ แ ม่
๐ ขอตังค์แม่ไปโรงเรียนเพียรศึกษา
แต่ละบาทกว่าแม่หาเอามาได้
ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำทำเท่าใด
สู้สุดใจเพื่อให้ลูกปลูกปัญญา
๐ หิ้วปิ่นโตกับกระเป๋าใบเก่านั้น
มื้อกลางวันประหยัดไว้ไม่ซื้อหา
กับข้าวไม่เลิศล้ำธรรมดา
ตามประสาแม่ทำให้พอได้กิน
๐ ชุดนักเรียนนั้นเล่าเออเธอกับฉัน
ใส่เหมือนกันเก่าใหม่ไม่หยามหมิ่น
สวมเครื่องแบบฝึกไว้ให้เคยชิน
เมื่อขาดวิ่นแม่ซ่อมให้ไม่รีบซื้อ
๐ ลูกเอ๋ย...ไม่ได้ใส่ชุดไปรเวท
ก็ทำเกรดขึ้นได้มิใช่หรือ
เราก็มีหนึ่งสมองและสองมือ
เร่งฝึกปรือสร้างวินัยให้ชีวา
๐ ไม่มีชุดมากมายอย่างใครเขา
ชุดนักเรียนของเราก็เข้าท่า
ถ้ามานะหมั่นเพียรเรียนวิชา
ก็ก้าวหน้าแม้ชุดเราเก่ากว่าใคร...
อภิชาติ ดำดี 
16 มิ.ย. 2566

 

‘มาร์ค พิทบูล’ อัดคลิปเดือด ซัดปมดราม่า  ชี้ ‘ชุดนักเรียน’ มันคือความเท่าเทียม ไม่ใช่การกดขี่ 

ยังคงเป็นประเด็นดราม่าที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ กรณีดราม่าเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ โดยการแต่งตัวไปรเวทและย้อมสีผมไปเรียน ซึ่งมีหลายฝ่ายออกมาเคลื่อนไหวมีทั้งเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย ล่าสุด "มาร์ค พิทบูล" ได้ออกมาโพสต์คลิปวีดีโอ ผ่าน TikTok @pitbullmark เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยระบุว่า 

การมีชุดนักเรียนมันเป็นยังไง มันจะตายหรือไง ชุดนักเรียนมันคือความเท่าเทียม ไม่ใช่การกดขี่ ทุกคนใส่ชุดเหมือนกัน ถ้าให้ต่างคนต่างใส่ เด็ก ๆ ก็จะเกิดการแข่งขัน บ้านรวย บ้านจน

ย้ำว่า กฎระเบียบบางอย่างเพื่อความปลอดภัยของตัวนักเรียนเอง "เด็กเปรต" พร้อมยกตัวอย่างว่า ถ้าใส่ชุดนักเรียนไปไหนมาไหน ปลอดภัยแน่นอน เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใหญ่เห็น และช่วยคุ้มครอง

และพูดถึงการใช้เสรีภาพเกินขอบเขต ถ้าโดนครูตี ใช้ความรุนแรง ก็พร้อมที่จะปกป้อง คุณทำมาหากินเองเมื่อไหร่ จะมีใครไปยุ่งกับคุณ 

‘ซ้งกี้ วีร่า’ โพสต์ความประทับใจใน ‘ชุดนักเรียน’ ย้ำ การอยู่ในกฎระเบียบ ทำให้เข้าใจ การอยู่ร่วมกันในสังคม

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ‘ซ้งกี้ วีร่า’ ได้โพสต์ข้อความบรรยายความรู้สึกประทับใจ ในการสวมใส่ชุดนักเรียน โดยได้ระบุว่า ...

เล่าเรื่องจริงของตนเองสมัยเรียนนิดนึง 
ตอนผมม.1(ปี40) พ่อถูกโกง ล้มละลาย ไม่มีเงินใช้ ก่อนล้ม ผมมีชุดนักเรียนใหม่ๆ โคร่งๆเพื่อให้ใช้ได้นานที่สุดอยู่ 2 ชุด ใส่สลับ ซักผึ่งอยู่เกือบเทอม จนอ.ที่ปรึกษา อ.เสริมศรี เปลี่ยนบางยาง เขาไม่รู้สังเกตุเห็นอะไร สงสัยเสื้อมันเลอะมีรอย เขาเลยเรียกเข้าไปคุย
 “อึ้งเอ้ย มีชุดนักเรียนกี่ชุด ครูมีของรุ่นพี่ๆเขาบริจาคไว้ ชุดไหนเธอใส่ได้ เธอเอาไปนะ … รองเท้าก็มีเอาไปด้วย” 

ตั้งแต่นั้นมา ผมก็ไม่ได้ซื้อชุดนักเรียนอิกเลย ใส่เก่าๆมาเรื่อย สิ่งที่ผมโดนล้อประจำคือ เสื้อเหลือง รองเท้าขาด แต่ผมไม่ได้รู้สึกอะไร เพราะผมรู้ว่ามันไม่จำเป็น บ้านจน ก็ทนเอา แม่ผมสอนมาทั้งเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม ถ้าโรงเรียนเขามีระเบียบยังไง เราไหว เราก็ทำตาม เพราะ “อั๊วส่งลื้อไปเปงนักเรียง ในโรงเรียนที่ดีที่สุดแล้ว ลื้อก็แค่เรียนก็พอ ผมก็ตัดให้ตามระเบียบ ชุดก็แต่งให้เรียบร้อย ครูเห็น ใครเห็นก็รักลื้อ”

จนขึ้น ม.4 แม่ซื้อให้ใหม่ 2 ชุด และก็ยังเอาตัวเก่าๆที่ยังไหวมาปักเสมาเพิ่ม ใช้ไป ไม่คิดอะไร แต่พอม.4 นี่สิ เริ่มมีเรียนพิเศษละ ผมก็ชุดไปรเวทไปเรียนปกติ แต่สิ่งที่ผมเจอคือเพื่อนๆถามว่า “ซ้ง มึงไม่มีเสื้อผ้าใส่หรอ เห็นใส่ซ้ำๆ เดิมๆ เก่าๆ” เราแม่งทั้งเจ็บทั้งอาย ด้วยวัยตอนนั้น รู้อยู่แล้วครับขอป๊าม้าซื้อใหม่ ไม่ได้แน่นอน แว่นที่ใส่ยังรับต่อจากพี่ๆเลย5555 

ผมเริ่มเลยครับ รับจ้างทุกออย่าง ขายน้ำเต้าหู้ ส่งปาท่องโก๋ รับหิ้วสินค้า รับซื้อของ อดอาหารกลางวัน เพื่อ? ใช่ครับ เก็บเงินซื้อยีนสักสองตัว เสื้อสัก 3-4 ตัว เพื่อใส่สลับไปเรียนพิเศษ ไม่ให้เพื่อนแซว ส่วนวันธรรมดาถ้ามีเรียน ผมจะแต่งแต่ชุดนักเรียนไปครับ ไม่เปลี่ยนชุด เหม็นก็ช่างมัน 5555
มานึกย้อน ไอ้ชุดพวกนั้น แม่งไม่มีผลต่อการเรียนเลยครับ แต่สิ่งที่ผมคิดเสมอคือ
1. ผมภูมิใจในชุดสถาบันการศึกษาและทรงผมที่แสนจะรักษาความสะอาดง่ายของผม
2. เมื่ออยู่ในชุดนักเรียนผมเท่ากับเพื่อนที่รวยมากๆหลายๆคน แม้มันจะเก่า มันก็เท่ากันครับ
3. การอยู่ในกฎระเบียบของสถาบัน มันทำให้ผมและพวกผม เข้าใจการอยู่ร่วมในสังคมที่มีกติกาครับ
ผมไม่ทราบว่าโรงเรียนอื่นสอนหรือบังคับอะไรบ้าง แต่โรงเรียนผมสอนให้พวกผมเคารพกติกาสังคม เรียนรู้การมีอิสระมากมายภายใต้กรอบระเบียบ เพื่อความสงบสุขในการใช้ชีวิต ครับ
สวนกุหลาบฯ

รักเพื่อน เคารพพี่ ดูแลน้อง เคารพครู กตัญญูพ่อแม่ สนองคุณแผ่นดินครับ

 

เด็กนักเรียนยากไร้ ได้คนใจบุญ พาไปหาซื้อชุดนักเรียน เจอเฮียเจ้าของร้านใจดี ร่วมบริจาค กระเป๋า-ถุงเท้า ให้อีก 5 คู่

ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า KruPim Ananya ได้โพสต์ข้อความเล่าถึงความประทับใจ กับความมีน้ำใจของคนไทย ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน โดยมีใจความว่า ...

เมื่อวานบังเอิญไปเจอเด็กชายคนหนึ่ง ยืนข้างทางด้วยชุดนักเรียนที่ขาด กระดุมไม่มีต้องใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้กางเกงขาดสกปรก เห็นแล้วเดินผ่านไม่ได้จริงๆเลยต้องหยุดถามไถ่ จนนำไปสู่การไปหาซื้อชุดนักเรียนมาให้ และได้เข้าไปในร้าน #ทวีภัณฑ์กาฬสินธุ์ เฮียใจดีมากลดราคาชุดนักเรียนให้จนตกใจ และยังร่วมบริจาคกระเป๋านักเรียนและถุงเท้านักเรียนอีก5คู่ เรานี่น้ำตาไหลเลย ไหว้แล้วไหว้อีกขอบคุณในน้ำใจ ขอให้กิจการเจริญรุ่งเรืองจนชั่วลูกชั่วหลานนะคะ ต่อจากนี้ไปจะขอสนับสนุนอุดหนุนร้านนี้จนกว่าลูกชายจะไม่ใส่ชุดนักเรียนนักศึกษาแล้ว 🙏ฝากเป็นอีกหนึ่งร้านในใจของท่านผู้ปกครองนะคะ🙏เราต้องสนับสนุนคนทำดีค่ะ🥰
 

จีน ปิ๊งไอเดีย ติดแบรนด์ ดีไซน์ชุดนักเรียน  ให้โดดเด่น ทันสมัยกว่าเดิม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี 

เพจเฟซบุ๊ก ไทยคำจีนคำ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ชุดนักเรียนในประเทศจีน โดยระบุว่า ...

ช่วงนี้ประเทศมีประเด็นร้อน เกี่ยวกับ "ชุดนักเรียน" กันเยอะเลย

เมืองจีนเองก็มี และกลายเป็นปัญหาถกเถียง ส่วนใหญ่ในทำนองว่าทำไมชุดนักเรียนของเด็กจีนมันดู "เชย" จังเลย 🤔

โดยเฉพาะเมื่อนำไปเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่น คนจีนยิ่งรู้สึกว่าตัวเองล้าหลังในเรื่องนี้

ยุคนี้หลายอย่างในจีนมีการนำข้อมูลตัวเลข หรือ Data เข้ามาจับ พบว่าธุรกิจชุดนักเรียนของจีน มีมูลค่าถึง 120,000 ล้านหยวน (6 แสนล้านบาท)

เพราะนักเรียนเขาเยอะ และเป็นกฎหมายที่บังคับให้ทุกโรงเรียนต้องใช้ชุดนักเรียน 

สำหรับเจตนาของข้อกฎหมายตัวนี้ คือเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในสถาบันการศึกษา

และข้อสำคัญคือสร้างความ "เท่าเทียม" ให้ทุกคนใส่เสื้อผ้าเหมือนกัน ไม่ต้องแต่งหรูดูดีเกินไปมาอวดมาโชว์กัน

อย่างไรก็ดี ด้วยความที่เศรษฐกิจของจีนเติบโตมาตลาดหลายสิบปีหลัง และการเมืองค่อนข้างนิ่ง เพราะปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์มายาวนาน

ทำให้นอกจากจะไม่มีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกชุดนักเรียนเหมือนในประเทศอื่นแล้ว กลับมีการตั้งคำถามว่า "ทำไมไม่เพิ่มมูลค่าให้กับชุดนักเรียน?"

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ "ดีไซน์" การออกแบบให้มีสไตล์โดดเด่น ทันสมัยกว่าเดิม

รวมถึงการ "ติดแบรนด์" ให้แบรนด์สินค้าเสื้่อผ้าดัง ๆ ได้เข้ามาผลิตชุดนักเรียนให้กับแต่ละโรงเรียน 🏫

แล้วแต่ว่าโรงเรียนแต่ละแห่ง มีกำลังซื้อมากน้อยเพียงใด นั่นเพื่อเป็นการเปิด "โอเพ่น" การทำการค้าการขายในตลาดนี้ 

ลดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นให้น้อยลง เพราะจากข้อมูลพบว่า ชุดนักเรียนทั่วประเทศจีน มีเพียง 1% ที่ผลิตแบบติดแบรนด์ โดยบริษัทที่มีชื่อเสียง

ที่เหลือเป็นการผลิตแบบ "ไม่ติดแบรนด์" ถามว่าใครจะไปผลิตให้กับโรงเรียนไหนได้บ้าง ก็ต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้บริหาร

เข้าไปวิ่งเต้นพูดคุย และตกลงกันอย่างไร ผู้ปกครองและนักเรียนก็ไม่ค่อยรู้ที่มาที่ไป รู้ตัวอีกทีก็ได้ชุดนักเรียนแบบเชย ๆ ไม่สวย แต่จำใจต้องใส่มาใช้งาน

เสียงเรียกร้องให้มีการปฏิวัติภาพลักษณ์ของชุดนักเรียน ยังรวมไปถึงชุดว่ายน้ำ, ชุดพละ

โดยรัฐบาลเป็นผู้ออกมาขับเคลื่อนในสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง เร้งเร้าให้ภาคเอกชน และโรงเรียนต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และการรับรู้ของประชากรจีนในรุ่นต่อไป

พูดภาษาชาวบ้านคือ พอจีนเริ่มมีตังค์ ก็เริ่มให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ความสวยงามมากขึ้น

หลายปีต่อเนื่องมาแล้ว ในเมืองจีนมีการจัดการแข่งขันประกวดออกแบบชุดนักเรียน โดยขายคอนเซปต์ นำเสนอ จัดแฟชั่นโชว์ ถ่ายทอดสดผ่านสื่อ

ทำให้ชุดนักเรียนมีคุณค่าไม่ต่างจากเสื้อผ้าสวมใส่ทั่วไปในวาระอื่น ๆ

ด้วยประชากร 1.4 พันล้านคน และรัฐบาลผลักดันจริงจัง ทำให้อุตสาหกรรมชุดนักเรียนของจีนกำลังเติบโตไปในทิศทางที่ดี

และเมื่อการค้าขายคึกคักมากขึ้น มันจะส่งผลเป็นวัฏจักรไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากจะลบภาพจำของ "ชุดนักเรียนเชย ๆ" ได้แล้ว จีนยังมีหน้ามีตามากขึ้นในเวทีนานาชาติ พร้อมกับเงินในกระเป๋าของพลเมืองที่มากขึ้น

โรงเรียนไหนมีกำลังซื้อ จะใช้ชุดนักเรียนที่หรูหน่อย ก็ให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยินยอม

โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก ปรับเปลี่ยนตามความสามารถของผู้ปกครอง ไม่มีการบังคับกัน แต่ทั้งประเทศไม่จำเป็นต้องใช้ชุดนักเรียนแบบเดียวกัน 

สำคัญคือรัฐบาลเขาได้ยินเสียงบ่นของประชาชน เขานำเสียงบ่นกลับไปวิเคราะห์ออกมาเป็นรายละเอียด

และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขทันที ไม่มองว่าเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย

แม้แต่ชุดนักเรียนของเด็ก ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จีนเขามองข้าม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top