Sunday, 5 May 2024
ความเหลื่อมล้ำ

‘คุณากร’ ถามรัฐบาลเหตุใดภูมิใจบัตรคนจนเพิ่ม ทั้งที่คนจนพุ่ง คนตกงานเพียบ หนี้สาธารณะเกิน 10 ล้านล้านอีก100ปี ก็ใช้หนี้ไม่หมด รวยกระจุก จนกระจาย เหลื่อมล้ำติดอันดับต้น ๆ ของโลก

นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ส.ส.สุรินทร์ และรองเลขาธิการ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลออกมายืนยันว่าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อแจกเงิน แต่เป็นโครงการที่มุ่งจัดสรรสวัสดิการให้กับประชาชนนั้น  แต่พบว่าในการลงทะเบียนบัตรคนจนรอบใหม่ ตั้งแต่วันที่ 5 - 21 กันยายน 2565 มีประชาชนลงทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 16,243,908 ราย เพิ่มขึ้นจากที่เปิดใช้บัตรคนจนครั้งแรกในปี 2559 จนถึงผู้ถือบัตรคนจนเดิมอยู่ที่ 13.3 ล้านคน นั่นหมายความว่า ภายในปีเดียวคนจนเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านคนแล้ว  แบบนี้หรือที่รัฐบาลบอกว่าเป็นความสำเร็จของโครงการบัตรคนจน ที่ลดความเหลื่อมล้ำได้

ทั้งนี้มองว่า การออกมาให้ข้อมูลของรัฐบาล เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่เข้าใจบริบทของสังคม และไม่สามารถมีโครงการดีๆเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนได้ การแจกเงินอย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ ไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำได้จริง เพราะบทวิเคราะห์ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ระบุว่า ความเหลื่อมล้ำ ของไทยมีแนวโน้มปรับขึ้นสูงเรื่อยๆ เศรษฐกิจไทยโตแบบไม่ทั่วถึง เกิดภาวะ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ สินทรัพย์ของคนทั้งประเทศมากกว่า 77% ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มนายทุนเจ้าสัว ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก

‘Bacchus Ladies’ โสเภณีรุ่นยายในเกาหลีใต้ สะท้อน ‘ความเหลื่อมล้ำ-ปัญหาสังคม’ ที่ยังไม่ได้สะสาง

Bacchus Ladies โสเภณีหญิงชราในเกาหลีใต้

สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวที่น่าสลดใจในเกาหลีใต้คือ เหตุการณ์เหยียบกันตายในงาน Halloween ในย่าน ‘อิแทวอน’ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียในเหตุการณ์นี้ทุกท่านด้วย 

ทั้งนี้ ด้วยภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้ที่เราท่านเห็นกันในปัจจุบันคือ เป็นประเทศที่เจริญแล้ว อาคารบ้านเรือนสะอาด และทันสมัย ผู้คนแลดูมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว แต่ในความจริงกลับปรากฏว่า ในเกาหลีใต้ยังมี ‘Bacchus Ladies’ (โสเภณีหญิงชรา) อยู่

ในปี ค.ศ. 2020 อัตราความยากจนสัมพัทธ์ (Relative poverty rate  ซึ่งเป็นวิธีการวัดความยากจนโดยใช้การเปรียบเทียบ มาตรฐานการดำรงชีวิตของครัวเรือนกับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของสังคมโดยเฉลี่ย) ในเกาหลีใต้อยู่ที่ประมาณ 15.3% ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (ค.ศ. 2019) อัตราความยากจนสัมพัทธ์ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของผู้ที่อาศัยอยู่โดยมีรายได้เฉลี่ยไม่ถึงครึ่งของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขยังค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ อัตราความยากจนสัมพัทธ์ในผู้สูงอายุในเกาหลีใต้ยังคงเพิ่มขึ้น ปีที่แล้ว (ค.ศ. 2021) ประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไปมีสัดส่วนประมาณ 16.5% ของประชากรเกาหลีใต้ทั้งหมด โดยคาดว่าเกาหลีใต้จะกลายเป็นสังคม ‘สูงวัย’ ในปี ค.ศ. 2025

โดยผู้ที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไปคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุจะดีขึ้นแต่ก็เพียงเล็กน้อย เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรสูงอายุยังอยู่ในเกณฑ์ของความยากจนสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (the Organization for Economic Co-operation and Development : OECD)

เกาหลีใต้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดใน OECD โดยมีผู้เสียชีวิตราว ๑๓,๐๐๐ คนในปี ค.ศ. 2020 อัตราการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุนั้นสูงเป็นพิเศษ ในปี ค.ศ. 2020 ประชากรชายสูงอายุที่มีอายุ ๘๐ ปีขึ้นไปมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด โดยมีอัตราผู้เสียชีวิต ๑๑๘ รายต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ส่วนสาเหตุของการฆ่าตัวตายก็มีความซับซ้อน 

ทว่าในการสำรวจในปี ค.ศ. 2020 ที่จัดทำขึ้นในหมู่ผู้ที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป ปัญหาทางการเงินถูกอ้างว่าเป็นสาเหตุอันดับสองสำหรับความคิดในการฆ่าตัวตายของพวกเขา รองลงมาจากปัญหาสุขภาพ

ชายสูงอายุมักมาร่วมตัวสังสรรค์กันในสวนสาธารณะ Jongmyo ในกรุงโซล

จากปัญหาที่กล่าวมา จึงทำให้ในเกาหลีใต้ มีอาชีพที่เรียกว่า ‘Bacchus Ladies’ (โสเภณีหญิงชรา) ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงในวัยตั้งแต่ ๕๐ ขึ้นไปกระทั่งบางส่วนอายุมากถึง ๘๐ ปี ที่ชักชวนชายในสวนสาธารณะหรือพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ของกรุงโซล เพื่อขายบริการทางเพศใน Motel ที่อยู่ใกล้เคียงในราคาประมาณ 20,000 ถึง 30,000 วอน ($ 18–26 USD ราว ๗๐๐-๙๐๐ บาท) หรือน้อยกว่านั้นหากชายคนนั้นเป็นลูกค้าประจำ 

โดยเหล่า ‘Bacchus Ladies’ จะแฝงอาชีพขายบริการด้วยการขายเครื่องดื่มให้พลังงาน Bacchus-F ตามสวนสาธารณะ ซึ่งเป็นที่นิยมของชายสูงอายุซึ่งกลายมาเป็นลูกค้าของพวกเขา แต่ผู้ชายอายุน้อยกว่าอาทิ ในวัย ๒๐ - ๔๐ ปี ส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นลูกค้าประจำในจำนวนที่มากขึ้นเช่นกัน (ดร.Lee Ho-Sun นักวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ระบุว่า มีหญิงประมาณ ๔๐๐ คนทำงานลักษณะนี้ในสวนสาธารณะ Jongmyo ในกรุงโซล)

การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเกาหลีใต้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 หรือที่รู้จักในชื่อปาฏิหาริย์บนแม่น้ำ Han (the Miracle on the Han River)

เชื่อกันว่าปรากฏการณ์ ‘Bacchus Ladies’ เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตการเงินในเอเชียในปี ค.ศ. 1997 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) โดยเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปัญหาทางการเงินมากที่สุด 

ซึ่งตามปกติแล้วในสังคมขงจื๊อตามประเพณีของเกาหลีใต้ พ่อแม่ผู้สูงอายุจะได้รับความนับถืออย่างสูง และเมื่ออยู่ในวัยชราสามารถพึ่งพาบุตรหลานของตนในการดูแล โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเกาหลีใต้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 หรือที่รู้จักในชื่อ ‘ปาฏิหาริย์บนแม่น้ำ’ Han (the Miracle on the Han River) นำไปสู่การถอนรากถอนโคนวัฒนธรรมนี้ในหมู่ชาวเกาหลีใต้ที่อายุน้อย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้นในสังคมและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่ตามมาอย่างรวดเร็ว 

ส่งผลให้อัตราความยากจนของผู้หญิงเกาหลีใต้อายุเกิน ๖๕ ปีอยู่ที่ 47.2% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 76.6% สำหรับหญิงสูงอายุที่โสด เงินบำนาญของรัฐที่จัดทำโดยระบบสวัสดิการของเกาหลีใต้มักไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นในวัยชรา 

Bacchus-F เครื่องดื่มชูกำลังยอดนิยมในเกาหลีใต้

อีกทั้ง วัฒนธรรมของเกาหลีใต้ที่ถูกครอบงำโดยผู้ชายมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ จนถึงยุคปัจจุบันก็ยังคงอยู่ นั่นจึงหมายความว่า ผู้หญิงที่มีอายุมากจำนวนมากจึงไม่มีเงินออมหรือเงินบำนาญส่วนตัว เพราะในวัยเยาว์พวกเธอไม่ได้รับการศึกษา และขาดโอกาสในการทำงานที่เท่าเทียมกันกับชาย 

ศาสตราจารย์ Lee Ho-Sun จากมหาวิทยาลัย Korea Soongsil Cyber ​​ในกรุงโซลได้ทำการวิจัย และพบว่า ผู้หญิงจำนวนมากที่กลายเป็น ‘Bacchus Ladies’ เข้ามามีส่วนกับการค้าประเวณีในช่วงปีแรก ๆ จากการทำงานในบาร์คาราโอเกะและโรงน้ำชา แต่การกลับไปค้าประเวณีอีกในปีต่อ ๆ มา อันมาเนื่องจากปัญหาการเงินและแรงกดดันอื่นๆ 

ในตอนแรก ‘Bacchus Ladies’ จะหาเลี้ยงชีพด้วยการขาย Bacchus-F ซึ่งเป็นเครื่องดื่มชูกำลังยอดนิยมในเกาหลีใต้ ซึ่งขายให้กับชายสูงอายุที่ไปมักร่วมสังสรรค์กันตามสวนสาธารณะและพลาซ่าในกรุงโซล ในที่สุด ผู้ชายเหล่านี้หลายคนก็กลายเป็นลูกค้าหลักของพวกเธอภายหลังจากเปลี่ยนอาชีพมาเป็นโสเภณี

แม้ว่า การค้าประเวณีในเกาหลีใต้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และตำรวจก็ทำการตรวจตราลาดตระเวนในพื้นที่ที่มี ‘Bacchus Ladies’ แวะเวียนมาขายบริการอยู่เสมอ โดยหลัก ๆ แล้วอยู่ในเขต Jongno ทางตอนเหนือของกรุงโซล ตำรวจนครบาลแห่งกรุงโซลได้ดำเนินการปราบปรามกลุ่ม ‘Bacchus Ladies’ อยู่เป็นระยะๆ แต่หญิงที่ถูกจับกุมมักจะได้รับเพียงคำเตือนหรือถูกปรับเป็นเงินจำนวนเล็กน้อย มีหญิง ๓๓ คน รวมทั้งหญิงชราวัย ๘๔ ปีหนึ่งคน ถูกจับโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามในช่วงต้นปี ค.ศ. 2015 

หลังจากการกวาดล้างจับกุมทำให้จำนวนคนงานของ ‘Bacchus Ladies’ ลดลงเหลือประมาณ ๒๐๐ คน ตำรวจท้องที่เชื่อว่า ปัญหา ‘Bacchus Ladies’ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการปราบปราม และนโยบายดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง

‘Bacchus Ladies’ ทำให้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections : STIs) ในกลุ่มผู้สูงอายุชาวเกาหลีใต้ สาเหตุหลักมาจากการใช้สารเพิ่มการแข็งตัวของอวัยวะเพศซึ่งมักถูกฉีดเข้าเส้นเลือดของลูกค้าชายสูงอายุของ Bacchus Ladies แต่เข็มฉีดยาอาจถูกนำมาใช้ซ้ำมากถึง ๑๐ ถึง ๒๐ ครั้ง จากการสำรวจในพื้นที่ของ Bacchus Ladies ในปี ค.ศ. 2014 พบว่า 40% ของชายสูงอายุที่เป็นลูกค้า ‘Bacchus Ladies’ ติดเชื้อ ในขณะที่ยังไม่ได้ทำการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดบางโรค ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเสนอชั้นเรียนเพศศึกษาให้กับผู้สูงอายุ

ระบบประกันสังคมของเกาหลีให้ความช่วยเหลือสาธารณะและประกันสังคมสำหรับพลเมืองของเกาหลีใต้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีคุณภาพ มีชีวิตที่ดีงาม รัฐบาลได้ดำเนินโครงการประกันสังคมที่หลากหลายเพื่อสร้างมาตรฐานการครองชีพขั้นพื้นฐาน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของพลเมืองทุกคน

'รัฐบาลลุงตู่' เดินหน้าพัฒนา 'เมืองยะลา' สู่เมืองอัจฉริยะ ยกระดับเป็น 'ศูนย์กลางทางดิจิทัล' ในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้

(22 ม.ค. 66) เพจศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี - PMOC ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อยกระดับจังหวัดยะลาให้เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ โดยระบุว่า...

ยะลาเคยเป็นหนึ่งในเป้าหมายของขบวนการแบ่งแยกดินแดน จากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตเกือบ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงเวลานั้น ยะลาและอีก 2 จังหวัดชายแดนใต้ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศแห่งความหวั่นไหว เกิดเหตุการณ์ฆ่าสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ, พระสงฆ์ และประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นเวลาหลายสิบปี มีผู้สียชีวิตนับพัน อีกทั้งยังสร้างบรรยากาศแห่งความขัดแย้ง เห็นคนต่างศาสนาเป็นศัตรู

ภายใต้แนวทางการดำเนินการภาครัฐที่ใช้การพัฒนานำหน้า พัฒนาพื้นที่ สร้างสันติสุขที่ยั่งยืน ประกอบกับ 'ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี' ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจนำหน้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (3 แกนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ), เศรษฐกิจฐานราก (Local Economy), กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จังหวัดยะลาจึงมีโอกาสพลิกฟื้นสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะที่ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และมีโอกาสได้พัฒนาเมืองร่วมกัน

ถึงแม้ยะลาจะไม่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจมากมายนัก แต่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Asset) หรือ Soft Power และต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติอยู่มากมาย ซึ่งชาวยะลาร่วมใจกันใช้ต้นทุนเหล่านี้ในการสร้างเมืองขึ้นใหม่ สร้างโอกาส สร้างรายได้แก่ชาวยะลาได้อย่างทั่วหน้า

นอกจากนี้ จังหวัดยะลา ยังอาศัยโอกาสจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) มาใช้ในการพัฒนาเมืองตามแนวคิด ไทยแลนด์ 4.0 ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกอบกับการส่งเสริมการสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้เมืองยะลามีการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะดังนี้ 

>> Smart Governance

เทศบาลยะลาได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Yala Mobile Application เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ด้วยแนวคิดรัฐบาลโปร่งใส่ (Open Government) ของรัฐบาล อีกทั้งยังสามารถรับทราบข่าวสารการให้บริการภาครัฐ และร้องเรียนผ่านแพลตฟอร์มไลน์

>> Smart Economy

เทศบาลยะลาได้พัฒนาเศรษฐกิจเชิงเทคโนโลยี โดยสร้าง platform ที่ชื่อว่า 'หลาดยะลา' สร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ด้วยการเป็นสื่อกลางในการให้บริการค้าขายออนไลน์ พร้อมบริการขนส่งในพื้นที่ผ่านวินมอเตอร์ไซด์ 

นอกจากนี้ เทศบาลยังจัดอาสาสมัครชุมชนเข้าไปช่วยสอนวิธีการใช้งาน เพื่อแก้ปัญหาความไม่รู้ ไม่เข้าใจของประชาชนบางส่วนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอีกด้วย

‘มิลลิ’ โพสต์ถึงความเหลื่อมล้ำ ยกเคสเก็บเงินเที่ยวตปท. ทำ‘ชาวโซเชียล’ เสียงแตก!! ย้อนถาม “ใช้ตรรกะอะไร”

มิลลิโพสต์ความเหลื่อมล้ำ เทียบความลำบาก เก็บเงินเที่ยวตปท. ของคนเราไม่เท่ากัน ทำชาวเน็ตเสียงแตก

เป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา มิลลิ หรือ ดนุภา คณาธีรกุล หนึ่งในศิลปินผู้ออกมา ‘Call Out’ เสมอได้ทวีตข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัว กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประเทศไทย

สาวมิลลิ โพสต์ในทวิตเตอร์ @millimdk ระบุข้อความว่า “เข้าใจคำว่า แกไปจะไปเที่ยวตปท บินเลยวันพรุ่งนี้ได้ทันที กับฉันที่ต้องเก็บตังค์ให้พอดีเพื่อไปเที่ยวป่ะ ความเหลื่อมล้ำที่แกไม่เคยมองเห็นมันอ่ะ แกช่วยเข้าใจทีเตง”

แต่ทว่างานนี้ ทำชาวเน็ตแตกออกมาเป็นหลายมุมมองพากันโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อน บางคนเผยว่า ความเหลื่อมล้ำมันไม่ใช่เรื่องของฐานะทางการเงิน แต่ความเหลื่อมล้ำมันคือการที่ปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเข้าถึงได้เท่าเทียมกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะสิทธิด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บางคนเผยว่า การได้ไปเที่ยวต่างประเทศวัดความเหลื่อมล้ำไม่ได้ ชาวต่างชาติหลาย ๆ ประเทศก็ต้องมีการวางแผนการเก็บเงินเดินทางทั้งนั้น ต่อให้เศรษฐกิจดี พื้นฐานการใช้ชีวิตหรือพื้นฐานทางการเงินของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอยู่ดี

‘ก้าวไกล’ ปลุก ‘นศ. มธ.รังสิต’ ตื่นรู้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ย้ำ รัฐสวัสดิการที่ดีสามารถพาไทยออกจากวิกฤตได้

(23 มี.ค. 66) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในรายวิชา TU101 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในหัวข้อเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจและสังคมไทย ความเหลื่อมล้ำ การเข้าสู่สังคมสูงวัย ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง และความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ขึันมาในประเทศไทย เพื่อรองรับปัญหาเหล่านี้

ในช่วงหนึ่งของการบรรยาย นายธนาธรชี้ให้เห็นว่าปัญหาหลักที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่ คือ ปัญหาอัตราการเกิดของประชากรที่ต่ำลง และการเข้าสู่สังคมสูงวัย จะมีผลกระทบที่รุนแรงขึ้นตราบที่ประเทศไทยยังคงมีความเหลื่อมล้ำมหาศาลเช่นในปัจจุบันดำรงอยู่ และทั้งหมดจะยิ่งตอกย้ำปัญหากับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทยให้รุนแรงขึ้น จากการมาถึงจุดอิ่มตัวไม่สามารถไปต่อได้แล้วของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

จึงทำให้ประเทศไทย มีความต้องการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา โดยนำปัญหาสังคมมาสร้างเป็นความต้องการ พัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเพิ่มผลิตภาพให้กับประเทศ สร้างงานที่มีคุณภาพเพื่อรองรับคนจบใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำและสังคมสูงวัยไปพร้อม ๆ กัน

“แต่เศรษฐกิจจะเติบโตอย่างเป็นธรรมหรือไม่ สุดท้ายเป็นเรื่องที่แยกไม่ออกจากเรื่องของการเมือง และการจัดสรรภาษี ว่าจะกระจายดอกผลให้คนส่วนใหญ่หรือคนส่วนน้อยในสังคม อำนาจเมื่อกระจุกตัวอยู่ที่ใครก็ตาม ทรัพยากรก็มักจะกระจุกตัวอยู่ที่คนกลุ่มนั้น การสร้างประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนเท่านั้น ที่จะสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้” นายธนาธรกล่าว

ส่วนในช่วงบ่ายวันเดียวกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต น.ส.พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ก็ได้รับเชิญให้มาเป็นผู้บรรยายพิเศษ ในรายวิชา TU101 และได้บรรยายถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยเช่นกัน โดยเน้นไปที่ด้านการเมือง ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุนขนาดใหญ่กับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากประชาชน ที่จะสังเกตได้ว่าหลังการรัฐประหารทุกครั้ง จะมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เติบโตขึ้นมาจากการได้สัมปทานพิเศษจากอำนาจ รัฐฯ เสมอ เช่น ในกรณีของกลุ่มทุนพลังงานกลุ่มหนึ่ง ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดขึ้นมาจากนโยบายพลังงานในยุครัฐบาลรัฐประหารและรัฐบาลทหารจำแลงเมื่อเร็ว ๆ นี้

น.ส.พรรณิการ์ ยังกล่าวด้วยว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนนี้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อให้ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนำประเทศไทยออกจากปัญหาที่กำลังรุมล้อมอยู่ตอนนี้ แต่ที่สำคัญคือการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะไม่ใช่ทุกรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะมีเป้าหมายในการแก้ความเหลื่อมล้ำ และกลุ่มทุนใหญ่จำนวนมากต่างก็คอยให้การสนับสนุนทุนแก่พรรคการเมืองใหญ่ของทุกฝ่ายอยู่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะยังคงอิงแอบอยู่กับอำนาจรัฐฯ ได้ต่อไปไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง

ส่อง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ใน ‘สวิตฯ’ ประเทศในฝันของหลายคน ที่แลกกับความทุกข์ทนของ ‘ผู้เสียภาษี’ ไปดูแลคนไร้จิตสำนึก

(8 พ.ค. 66) ผู้ใช้งานติ๊กต็อก บัญชี ‘KornnikarThewie’ ได้โพสต์วิดีโอพูดถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น โดยระบุว่า...

วันนี้เทวีได้อ่านข้อมูลจากเพจนึง เกี่ยวกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งส่วนตัวเทวี บอกตรงๆ ว่าเห็นด้วยมากๆ และมันก็เป็นอะไรที่บังเอิญมาก หรืออาจจะไม่บังเอิญก็ได้ เพราะเมื่อเช้านี้เพื่อนคนสวิตฯ ของเทวีก็เพิ่งพูดเรื่องนี้เหมือนกัน 

เพจนี้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับสวิตเซอร์แลนด์ ว่า “ที่สวิตฯ เนี่ยจะไม่มีสลัมและไม่มีเด็กไร้บ้าน ไม่มีเคสที่เด็กยากจนและไม่มีทุนเรียนต่อต้องมาเรี่ยไร เราจะไม่มีวันได้ยินข่าวแบบนี้ที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่ก็จะมีสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้าบ้าง”

อันนี้คือถูกต้องและสิ่งที่ถูกต้องมากกว่านั้นอีก คือเมื่อเช้านี้ เพื่อนผู้บริหารบริษัทของเทวี ที่มาจากสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งตอนนี้อยู่ที่บ้านเทวี ก็จะเตรียมกลับไปสวิตฯ พรุ่งนี้ เขาบอกว่า เขาเหนื่อย เขาเอือม กับการที่ประเทศของเขาให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ จนคนในประเทศเหนื่อยล้ากับการที่จะต้องช่วยเหลือ และทำให้ทุกอย่างมันเท่าเทียมกัน 

จริงๆ แล้ว การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นเรื่องที่ยุติธรรม แต่บางคนที่ไม่มีงานทำ เพราะเขาเลือกงานอยู่ ขณะเดียวกันก็ไม่คิดหันมาดูแลตัวเองก่อนด้วย ก็ไม่มีใครอยากช่วยเหลือขนาดนั้นหรอกค่ะ เพราะเหมือนไปช่วยคนที่ไม่ได้รู้สึกสำนึกรู้คุณคนที่ต้องเสียภาษี 

เกี่ยวกับเรื่องนี้เทวีมีเคสที่ประสบกับตัวเองเยอะมาก ซึ่งอันนี้พูดจากประสบการณ์จริงของตัวเอง สมัยตอนอยู่สวิตเซอร์แลนด์ใหม่ๆ เทวีก็ได้รับสวัสดิการที่มาจากเงินภาษีของคุณสามี เพราะเราไปในฐานะของการเป็นภรรยาของคนสวิตฯ คุณรู้ไหมคะว่าความเจ็บปวดมันเริ่มขึ้น และทำให้เทวีเข้าใจคนสวิตฯ จริงๆ ตอนที่เทวีได้สวัสดิการนี้แหละค่ะ 

เขาให้ไปเรียนฟรี คือ คำว่าเรียนฟรี เทวีไม่ได้จ่ายเงินเอง ก็อาจจะเรียกมันว่าเรียนฟรี แต่จริงๆ แล้วคือ สามีชำระภาษีและคนสวิตฯ ทุกคนชำระภาษี เพื่อเอากองทุนตรงนี้มาเป็นกองทุนที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 

เช่นเดียวกันกับที่สวิตเซอร์แลนด์ จะไม่มีคนจนที่ไม่มีอะไรกิน เพราะยังไงก็แล้วแต่ เขาจะไม่ปล่อยให้คุณอดตาย เขาจะช่วยคุณอย่างเต็มที่อย่างดีที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ ด้วยการเอาภาษีมาแบกภาระตรงนี้ 

กลับมาในเรื่องของสิ่งที่เทวีได้รับรู้ก็คือ เทวีได้รับสวัสดิการให้ไปเรียนภาษาเยอรมัน ซึ่งก่อนหน้านี้คุณสามีจะจ่ายเงินให้เรียน เป็นคอร์สเรียนที่ไม่ได้เรียนฟรี ซึ่งมันเป็นเงินเยอะมากถ้าเราจ่ายเองคือ 10 สัปดาห์ ประมาณแสนกว่าบาท ต่อ 1 คอร์ส แล้วการเรียนมันก็จะมีหลายคอร์ส พอคอร์สที่ 2 สามีเริ่มรู้สึกแล้วว่ามันหนักมาก จ่ายไม่ไหว จึงส่งเทวีให้เข้ารับสวัสดิการของภาครัฐ 

แล้วก็มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เทวีต้องร้องไห้ และไม่อยากไปโรงเรียนอีกเลย ทั้งๆ ที่เทวีเป็นคนที่รักเรียนมาก เพราะเพื่อนในห้องของเทวีบางคนอยู่ในประเทศเขามา 30 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง และยังพูดภาษาเขาไม่ได้ แล้วก็ไปเรียน (ยังคงไปเรียน) เพียงเพื่อรับสวัสดิการตรงนี้ เขาไม่อยากได้ความรู้ เขาเพียงแค่อยากได้เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เขาเป็นค่ารถไปโรงเรียนในแต่ละวัน จ่ายเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันในแต่ละวัน และมันดีสุดยอดที่เขาไม่ต้องทำงาน เพราะว่าเขายังไม่ได้ภาษา เขาก็จะทำงานไม่ได้ นี่แหละคือความเหลื่อมล้ำกับคนที่จ่ายเงินภาษี 

ว่าแล้ว...พอเราหันมาดูประเทศไทย มีความเหลื่อมล้ำไหม ทุกที่มีความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทยของเรามีขนาดใหญ่และประชากรก็มีเยอะมาก ซึ่งเยอะกว่าสวิตเซอร์แลนด์ไม่รู้กี่เท่า การที่เราจะดูแลและควบคุมทุกอย่างให้ได้ตามที่เราต้องการ มันจึงเป็นไปได้ยาก และถ้าดูแลก็จะเหมือนด้านมืดในสวิตเซอร์แลนด์ที่เทวีเล่ามา 

‘จีน’ สั่งชาวแบงค์ งดใช้แบรนด์เนม-อวดไลฟ์สไตล์หรูหรา หวังลดความเหลื่อมล้ำ หลังประเทศเผชิญปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง

ถึงคิว ‘ชาวแบงค์’ และสถาบันการเงินต่างๆ แล้ว ที่จะต้องโดนใบเหลืองจากรัฐบาลจีน ในการสอดส่อง ไลฟ์สไตล์หรูหรา ใช้ของแบรนด์เนม ราคาแพง ว่าจะเป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ดีต่อสังคมจีน ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคือง และการว่างงานของเด็กจบใหม่ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาคธุรกิจการเงินของจีน นับเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก มีมูลค่าสูงกว่า 57 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเส้นเลือดสำคัญของเศรษฐกิจจีน จึงไม่แปลกใจว่า กลุ่มคนทำงาน หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาธุรกิจการเงิน จะเป็นกลุ่มที่ได้ค่าจ้างตอบแทนสูงมากในจีน

และด้วยรายได้ที่ดีกว่าอาชีพอื่นๆ และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดูมั่งคั่ง และมั่นคง จึงนำไปสู่ไลฟ์สไตล์ที่ดูหรูหรา การเลือกใช้ของราคาแพง เพื่อให้ดูดีมีระดับ สวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของชาวจีนส่วนใหญ่ที่ยังต้องทำงานหนัก รายได้เดือนชนเดือน หรือยังหางานไม่ได้ ทำให้กลุ่มคนทำงานในแวดวงการเงิน ถูกมองเป็นชนชั้นสูงอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมจีน

ด้วยเหตุนี้ องค์กรเฝ้าระวังการฉ้อโกงของรัฐบาลจีน ได้ออกมาประกาศว่าจะขจัดแนวคิดของ ‘ชนชั้นสูงทางการเงิน’ ตามค่านิยมตามแบบตะวันตก ที่มุ่งแสวงหา ‘รสนิยมระดับไฮเอนด์’ มากเกินไป

จึงมีคำสั่งภายในองค์กรการเงิน และธนาคารตั้งแต่ขนาดใหญ่ จนถึงขนาดกลาง ไม่ให้บุคคลากรในทุกระดับ อวดโชว์ไลฟ์สไตล์โก้หรูจนเกินงาม ด้วยการโพสต์ภาพมื้ออาหารหรูๆ กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องประดับราคาแพงของตนลงในโซเชียล เพื่อหลีกเลี่ยงกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม
.
พนักงานธนาคารขนาดกลางแห่งหนึ่งของจีนเล่าว่า มีคำสั่งจากหน่วยงานให้เจ้าหน้าที่ทุกคนงดใช้กระเป๋า หรือสิ่งของแบรนด์เนมในที่ทำงาน รวมถึงการเข้าพักในโรงแรม 5 ดาว เมื่อต้องเดินทางไปทำงานต่างเมือง

นอกจากข้อห้ามการใช้ข้าวของหรูหราแล้ว เบี้ยเลี้ยงที่ไม่จำเป็น และโบนัสอาจต้องถูกตัดด้วย

แหล่งข่าวภายในเปิดเผยว่า ธนาคารขนาดใหญ่อย่าง Industrial and Commercial Bank of China (ICBC) และ China Construction Bank Corp (CCB) มีแผนที่จะลดเบี้ยเลี้ยงพิเศษสำหรับพนักงานภายในปีนี้ หลายสถาบันการเงินอาจต้องปรับลดโบนัสลงตั้งแต่ 30% - 50%

การปรับลดเบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือการออกข้อบังคับให้คนทำงานในองค์กรการเงินใช้ชีวิตเรียบง่าย สมถะ เป็นผลพวงจากนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน ของรัฐบาลจีนที่เล็งเป้ามาที่ภาคธุรกิจการเงิน และมีการแต่งตั้งองค์กรเฝ้าระวังการฉ้อฉลในภาคการเงินโดยเฉพาะในยุคของ ‘สี จิ้นผิง’ เทอม 3 เพื่อตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของรัฐบาลจีนทั้งแนวคิด และทางการเมือง

แต่อีกนัยยะหนึ่ง ที่สถาบันการเงินต่างๆ จำเป็นต้องตักเตือนพนักงานของตนเรื่องการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย หรือการใช้สื่อโซเชียลโพสต์รูปอวดการใช้ชีวิตที่ทำให้หลายคนอิจฉา อาจทำเพื่อป้องกันไม่ให้สะดุดตาองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นของรัฐบาลจีน ที่กำลังตรวจสอบหนักอยู่ในขณะนี้

ดังเช่นกรณีการหายตัวไปของนายเป่า ฟาน นักลงทุน และผู้ก่อตั้งบริษัท China Renaissance เมื่อไม่นานมานี้ ที่ต่อมาทราบแต่เพียงว่า กำลังเก็บตัวเพื่อให้ความร่วมมือกับทีมสอบสวนคดีทุจริตของรัฐบาลจีน นอกจากนี้ ยังมีมหาเศรษฐีในธุรกิจการเงินจีนอีกจำนวนมากที่จำเป็นต้องหายหน้าไปจากสื่อ เมื่อต้องพัวพันกับคดีทุจริต หรือการตรวจสอบจากรัฐบาลจีน อาทิ กั่ว กวงฉาง ผู้ก่อตั้งบริษัท Fosun International ‘เสี่ยว เจี้ยนหัว’ นักลงทุนสัญชาติจีน - แคนาดา เจ้าของบริษัท Tomorrow Holding และเป็นที่รู้จักกว้างขวางของคนวงในรัฐบาลจีน แต่สุดท้ายถูกตัดสินจำคุก 13 ปี ด้วยข้อหาฉ้อโกง และ คอร์รัปชัน รวมถึง แจ็ก หม่า เจ้าของธุรกิจ Alibaba ที่ต้องหายหน้าจากสื่อจีนนานเกือบ 2 ปี ในช่วงที่จีนเริ่มตรวจสอบธุรกิจ Fin Tech

ดังนั้น นโยบายการลดค่านิยมหรูหรา ฟุ่มเฟือยในกลุ่มคนทำงานในองค์กรธนาคาร และ สถาบันการเงิน อาจจะไม่ได้ช่วยเรื่องการลดช่องวางทางสังคมหรือปัญหาการว่างงานในจีนแต่อย่างใด แต่ช่วยในด้านการลดกระแสสังคมที่มองว่าเป็นกลุ่มทุนชั้นสูง ที่มักถูกครหาว่าสร้างแนวคิดในการใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ หรือไม่ก็เป็นการป้องกันตัวไม่ให้สะดุดตาจากองค์กรตรวจสอบทุจริตของภาครัฐ ที่มักจบลงด้วยคดีความที่ยุงยากตามมานั่นเอง

เรื่อง : ยีนส์​ อรุณรัตน์

อ้างอิง : Channel News Asia / BBC
 

‘Free YOUTH’ เหน็บ!! ‘VAT’ คือภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ หากเพิ่มจาก 7% เป็น 10% คนรายได้น้อยแบกภาระเต็มๆ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 66 ภายหลังจากมีกระแสข่าวว่าสภาพัฒน์เสนอจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT จากเดิม 7% เพิ่มเป็น 10% ก็ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในโลกออนไลน์ รวมถึงเพจ ‘เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH’ กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกัน โดยระบุว่า…

“VAT คือภาษีที่สร้างความเหลื่อมล้ำ”

การที่ไม่นานมานี้สภาพัฒน์เสนอขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 10% นั้น โดยอ้างว่าต้องการเก็บเพื่อนำมาจัดสรรสวัสดิการให้คนสูงวัยในอนาคต คือการพยายามขูดรีดคนรากหญ้า แทนที่จะเป็นการลดงบกองทัพ หรืองบที่ไม่ได้มีความจำเป็นแก่การพัฒนาประเทศเพื่อนำมาสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าให้กับคนทุกวัย

VAT คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น สาเหตุที่ VAT ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาษีที่ไม่เป็นธรรม เพราะ ‘ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงเท่ากับผู้ที่มีรายได้สูง’ ทำให้หากมีการขึ้นภาษี VAT ไปมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ เราจึงสามารถเรียกได้ว่า VAT คือ ‘ภาษีแห่งความเหลื่อมล้ำ’

หากยกกรณีตัวอย่าง 
คุณซื้อสินค้าหนึ่งในราคา 40 บาท
หาก VAT เป็น 10% คุณจะเสียอีก 4 บาท
จากอัตราปัจจุบันที่ 7% คุณจะจ่ายอีกประมาณ 2.8 บาท

ความต่างในด้านเงินจำนวนนี้ดู ๆ แล้วอาจไม่เยอะมาก แต่หากนึกถึงคนจนที่มีรายได้น้อยมาก ๆ หากสิ่งของหลายรายการ นั่นก็อาจเป็นเงินหลายบาทสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ในวันหนึ่ง เขาอาจหาเงินได้ไม่กี่บาท

‘การเก็บภาษีขั้นบันได’ คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้มีรายได้โดยอ้างอิงตามช่วงของรายได้นั้น ๆ ผู้ที่มีรายได้ต่ำจะต้องจ่ายภาษีในอัตราต่ำ และผู้ที่มีรายได้สูงจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูง ทำให้เป็นกลไกหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ด้วยค่าครองชีพที่สูงเกินกว่าใครหลายคนจะรับไหว การเพิ่มภาษี VAT ให้มากไปกว่าเติม จึงยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก ‘ภาษีขั้นบันได’ จึงถือว่าเป็นคำตอบให้กับการแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสังคมไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top