Saturday, 11 May 2024
คณะราษฎร

'ดร.นิว' ขอบคุณ 'สมศักดิ์เจียม' ช่วยฉีกหน้ากาก 'ปรีดี' หัวหอกคณะราษฎร ผู้วางฐานล้มเจ้าฯ อย่างมีระบบ

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก มีรายละเอียดดังนี้

ฉีกหน้ากากนายปรีดีหัวหอกคณะราษฎร

นอกจากคณะราษฎรจะเป็นเผด็จการลัทธิรัฐธรรมนูญหลอกลวงประชาชน และคอยขัดขวางการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงมาตั้งแต่ต้น คณะราษฎรยังมีเป้าหมายในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย

งานนี้ต้องขอบคุณนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ได้นำบันทึกของนายปรีดี พนมยงค์ ออกมาตีแผ่ จนทำให้ประชาชนได้หูตาสว่าง และรับรู้รับทราบอย่างกระจ่างชัด คนอย่างนายปรีดีแท้จริงแล้วเป็นคนเช่นใด

จากบันทึกดังกล่าว พบว่านายปรีดีมีเจตนาล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน แถมยังเป็นรากฐานของขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ยืนยันด้วยข้อความสำคัญตอนหนึ่งจากบันทึกของนายปรีดีในหน้าที่ ๑๙ ความว่า...

"แม้ว่ากษัตริย์ยังมีผู้นับถือ แต่กษัตริย์เปนตัวแทน
สำคัญของปฏิกิริยาและจักร. เม เราต้องสู้เพื่อจุดหมายปลางทาง
คือล้มระบบกษัตริย์ แต่วิธีสู้นั้นต้องใช้ให้เหมาะสม
แก่สภาพท้องที่

เศษซากคณะราษฏร มายาคติแห่งความก้าวหน้า ที่ใช้สถาบันมา ‘ย่ำยี’ สืบทอด ‘ร่างทรง’ จนประเทศชาติยากจะไปต่อ

จริง ๆ เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่เอามาเล่าในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนหรือในช่วงใกล้วันรัฐธรรมนูญ แต่เอาเข้าจริง ๆ หยิบมาเล่าทวนความสักหน่อยก็น่าจะดี เรื่องของ ‘คณะราษฎร’ ที่มีหลายกลุ่มหัวก้าวหน้ายึดถือเป็นไอดอล และทำทุกอย่างเพื่อจะสานต่อปณิธานของคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเรื่องของการล้มล้างระบอบพระมหากษัตริย์และยึดทรัพย์สินของพระองค์มาเป็นของพวกพ้องตัวเองโดยวิธีสร้างเรื่องปลอม ๆ ตลอดเวลา ช่างก้าวหน้าจริง ๆ 

คณะราษฎรเริ่มต้นด้วยกลุ่มนักเรียนหัวนอกรุ่นก่อตั้ง 7 คน ที่กรุงปารีส นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ อันนี้หลาย ๆ ท่านคงทราบแล้ว ผสมกับทหารหัวนอกจากเยอรมันนำโดยเชษฐบุรุษ พระยาพหลพลพยุหเสนา และ พระยาทรงสุรเดช ผู้เป็นมันสมองหลักในการจัดการกำลังพล

เขาบอกกันว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่เขาว่ามันคือประชาธิปไตย เอาเข้าจริงๆ แล้วมันคือการปกครองแบบคณาธิปไตยที่ใช้การเลือกตั้งแบบปลอม ๆ จัดตั้งขึ้นมา ส่วนอำนาจจริง ๆ อยู่ในกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมาใช้

ซึ่งหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 ไม่นานสยามก็จะต้องมีรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งเช่นกัน เพราะโลกเปลี่ยนไป ทัศนคติของคนเปลี่ยนไป ซึ่งตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ก็ชี้ชัดว่าสยามใกล้จะมีรัฐธรรมนูญแล้ว โดยไม่ต้องมีการใช้กำลัง เพียงแต่พวกที่กลัวจะตกขบวนรถไฟ ชิงกระทำการก่อนเพื่อให้พวกตนได้กุมอำนาจ พอได้อำนาจแล้วทำอะไรต่อมาติดตามกัน 

ถ้าไม่มีคณะราษฎร...ประเทศไทยคงไม่ต้องสูญเสียกษัตริย์ ถึง 2 พระองค์... รัชกาลที่ 7 คงไม่ต้องเสด็จฯ ต่างประเทศและสวรรคตที่นั้น และ รัชกาลที่ 8 คงไม่ต้องสวรรคต เพราะการลอบปลงพระชนม์ ที่เกิดจากการแก่งแย่งชิงดีในทางการเมืองของคณะราษฎรและการที่กลุ่มบุคคลที่ไม่แน่ใจว่าจะเรียกอะไรดี เพราะชื่อมันเยอะเหลือเกิน แต่ที่รู้ ๆ บูชาคณาจารย์ที่เรียกกลุ่มว่ากลุ่มนิติราษฎร พยายามใส่ร้าย ร.9 ในกรณีการลอบปลงพระชนม์นั้นก็เพราะต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์และคืนชีพ ‘คณะราษฎร’ จึงดำเนินการเสี้ยมในทุก ๆ ทาง โดยเฉพาะกรณีการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 อย่างข้าง ๆ คู ๆ แล้วเรียกหรู ๆ ใหม่ว่า ‘การปฏิรูป’

กลับมาที่หลัง 24 มิถุนายน 2475  ที่คณะราษฎร ยึดอำนาจ (การปกครอง) จากรัชกาลที่ 7 เสร็จแล้วก็พยายามจะตามมายึดพระราชทรัพย์ เพราะเพิ่งรู้ว่ารัฐไทยขณะนั้นยากจน เพราะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก บีบคั้นพระองค์ท่านจนสละราชสมบัติ ในพ.ศ.2477สละราชสมบัติได้เดี๋ยวเดียว รัฐบาลก็รีบหาทางจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ โดยมุ่งจะยึดเอา ‘พระคลังข้างที่’ 

โดยออกเป็นกฎหมายชื่อว่า ‘พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479’ และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2479 เป็นต้นมา พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แยกทรัพย์สินหรือสิทธิ ออกเป็นสองส่วนคือ ‘ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์’ .. ‘ทรัพย์สินส่วนพระองค์’ และ ‘ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน’ เอาจริง ๆ ก็ก่อนหน้าปฏิวัติ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านแยกไว้แล้วว่าอันไหนทรัพย์ส่วนพระองค์ อันไหนทรัพย์ของแผ่นดิน แต่คณะราษฎรเขาไม่แคร์

หลังจากออก พรบ. นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคลังในขณะก็ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบบัญชีพระคลังข้างที่แล้วพบว่าเงินหายไปหลายรายการ เอาจริง ๆ นะครับ ‘พระคลังข้างที่’ นั่นมันเป็นเงินของพระองค์ พระองค์จะเอาไปใช้ทำอะไรมันก็เรื่องของพระองค์ ซึ่งก็ปรากฏว่า เป็นการไปซื้อประกันภัย และเป็นเงินฝากในต่างประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

รัฐบาลของฝ่ายผู้ก่อการได้ยื่นฟ้อง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นจำเลยที่ 1 และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี เป็นจำเลยที่ 2 ให้ชดใช้เงินแก่กระทรวงการคลัง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,272,712 บาท 92 สตางค์และขอให้ศาลยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ (วังศุโขทัย) ศาลไม่อนุมัติ รัฐมนตรี ก็สั่งย้ายอธิบดีศาลแพ่งไปเสีย แล้วให้หลวงกาจสงคราม (นายพลตุ่มแดง) นำหมายศาลไปปิดและยึดทรัพย์ในวังศุโขทัย ในที่สุดศาลก็มีคำสั่งให้รัชกาลที่ 7 เป็นฝ่ายแพ้คดี (พิพากษาหลังสวรรคต) รัฐบาลสั่งยึดทรัพย์และขายทอดตลาดวังศุโขทัย แต่ขายไม่ได้ สุดท้าย กระทรวงสาธารณสุขมาเช่าใช้ จน พ.ศ. 2493 แต่สุดท้ายทางการก็ได้ถวายวังศุโขทัยคืนแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเป็นที่ประทับต่อไป

ยังไม่รวมกรณีหลังจากที่นายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการอีกหลายกรณี จนกระทั่งอำนาจเปลี่ยนมือมาสู่คณะราษฎรสายทหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งท่านผู้นี้คือไอดอลของเด็กอ้วน 3 นิ้ว อันมีวีรกรรมที่แจกแจงได้อย่างสนุก อย่างแรกคงต้องพุ่งเป้าไปที่การสร้างสัญลักษณ์ของตนเทียมอย่างเจ้า มีคฑาตราไก่ของตนเอง นำรูปของตนและภรรยาขึ้นเป็นรูปเคารพแทนพระมหากษัตริย์ พยายามสร้างตำแหน่งใหม่อย่าง สมเด็จเจ้าพญาชาย สมเด็จเจ้าพญาหญิง ซึ่งเป็นระบบฐานันดรที่คณะพวกเขาบอกว่าไม่ดี แต่ก็ทำซะเอง !!!! 

เมื่อ ‘กม.สูงสุด’ ถูกคณะราษฎรเสกเป็น ‘ของขลัง’ แห่งยุคสมัย อุปโลกน์ให้สูงส่งกว่ากษัตริย์ ทั้งที่สถานะเป็นเพียง ‘กฎหมาย’

การเกิด ‘ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ’ นั้นเกิดขึ้นโดยการรังสรรค์ของคณะราษฎร ด้วยการสร้างรัฐธรรมนูญให้มีรูปลักษณ์จับต้องได้ กลายเป็นของขลัง มีพิธีกรรมประกอบ มีพิธีรีตองเฉพาะ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรบูชา มีสถานะที่สูงส่งกว่ากษัตริย์ เพื่อรองรับฐานอำนาจของระบอบใหม่ ทำทุกๆ อย่าง เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักรัฐธรรมนูญ

แต่ไม่ทำอย่างเดียวคือ ทำให้ประชาชนได้รู้ว่ารัฐธรรมนูญคือ ‘กฎหมาย’ 

นับจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ มาจนถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ความพยายามต่างๆ ของคณะรัฐบาลและคณะราษฎรในการเผยแพร่ ให้ความรู้ เกี่ยวกับการปกครองในระบอบใหม่ โดยมีกฎหมายสูงสุดคือ “รัฐธรรมนูญ” ยังเป็นไปอย่างอิหลักอิเหลื่อ ทั้งนี้เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งภายในคณะราษฎร และระหว่างคณะราษฎรกับคณะรัฐบาล จนนำมาสู่การยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาลจาก ‘พระยามโนปกรณ์นิติธาดา’ มาเป็น ‘พระยาพหลพลพยุหเสนา’ 

รัฐบาลคณะนี้โดยการผลักดันของ ‘หลวงวิจิตรวาทการ’ ที่ต้องการเผยแพร่รัฐธรรมนูญจึงเกิดขึ้นมาอีกครั้ง

คณะทำงานนำโดย ‘หลวงประดิษฐ์มนูธรรม’ ได้ร่างแผนการที่จะเผยแพร่แนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญ รวมถึงการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ การส่งหน่วยโฆษณาการลงพื้นที่ทุกตำบล เพื่อประชาสัมพันธ์ อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนจะถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้นด้วย ‘กบฏบวรเดช’ 

เนื่องจากวิธีการให้ความรู้แบบเดิมก่อนเกิดกรณี ‘กบฏบวรเดช’ นั้น ไม่สามารถเข้าถึงและสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับประชาชนได้ การนำเสนอรัฐธรรมนูญแบบใหม่ของคณะราษฎรจึงเกิดขึ้น 

การปรับให้ ‘รัฐธรรมนูญ’ กลายเป็น ‘สิ่งศักดิ์สิทธิ์’ คุ้มบ้าน ป้องเมือง ควรค่าแก่การเคารพบูชามีสถานะไม่แตกต่างจาก ‘ของขลัง’ เอาง่ายๆ คือ ‘ความรู้ไม่ต้องมี’ เน้น ‘ความงมงาย’ เข้าไว้ จูงใจคนได้ง่ายกว่า และเมื่อมีความศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ไม่ให้ใครมาทำลาย 

สร้างให้ ‘รัฐธรรมนูญ’ มีค่าเท่ากับ ‘พระมหากษัตริย์’ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และเป็นหน้าที่ของชาติและประชาชนที่ต้องปกป้อง

ในเดือนธันวาคม พ.ศ ๒๔๗๖ รัฐบาลได้จัดตั้ง ‘สมาคมคณะรัฐธรรมนูญ’ โดยมีจุดประสงค์ดำเนินการในด้านการธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ สร้างความสามัคคี อบรมสมาชิก และดำเนินการด้านต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการปกครองด้วยระบอบใหม่ ไม่ให้ใครมาโค่นล้มได้ 

โดย ‘สมาคม’ ประกอบด้วย ๒ องค์กรคือ ‘ชุมนุมใหญ่’ และ ‘คณะกรรมการกลาง’ ซึ่งสมาคมนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของ ‘รัฐธรรมนูญ’ !!! 

หลังจากงานงานฉลองรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งบรรดาสมาคมฯ ภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้แต่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ยังต้องทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรงาน ซึ่งก็ตรงกับเจตนารมณ์ที่ชัดแจ้งว่าความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญนั้น แม้แต่พระมหากษัตริย์ยังต้องทรงมาร่วมงานฉลองให้

‘ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ’ โดยเฉพาะการสร้างสิ่งยึดเหนี่ยวเกิดขึ้นจากแนวความคิดของ จำรัส มหาวงศ์นันทน์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน ด้วยการเสนอให้มีการสร้าง ‘รัฐธรรมนูญจำลอง’ เป็นสมุดข่อย อัญเชิญไปยังศาลากลางจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นการเผยแพร่รัฐธรรมนูญไปด้วย ซึ่งถ้าจบตรงแค่นี้ก็น่าจะไม่เป็นไรมาก 

แต่คุณจำรัส แกไปเพิ่มมูลค่าความศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเสนอให้ ‘รัฐธรรมนูญจำลอง’ นั้นต้องวางอยู่บน “พานแว่นฟ้า” ซึ่งใช้สำหรับวางของสูง แล้วคณะรัฐบาลขณะนั้นก็เอาด้วย เพราะอยากจะทำยังไงก็ได้ให้รัฐธรรมนูญคือสัญลักษณ์สำคัญแทนพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว

รัฐธรรมนูญจำลองจำนวน ๗๐ ชุด เป็นสมุดไทยลงรักปิดทองเป็น ‘รัฐธรรมนูญ’ วางบนพาน 2 ชั้น เป็น ‘พานรัฐธรรมนูญ’ โดยในวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ ได้มีพิธีสมโภช ‘พานรัฐธรรมนูญ’ ก่อนที่จะการส่งมอบให้กับผู้แทนราษฎรแต่ละจังหวัด 

พิธีในครั้งนั้น มีสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการ เป็นประธานในพิธี ทรงเจิมพานรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ประกอบเสียงมโหรีปี่พาทย์ เสียงสวดอำนวยจากพระสงฆ์ ๗๐ รูป มีพิธีเวียนเทียนสมโภช ก่อนจะนำไปประดิษฐานร่วมกับพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ก่อนที่จะ ‘อัญเชิญ’ เพื่อไป ‘ประดิษฐาน’ ยังจังหวัดต่าง ๆ จำนวน ๖๙ ชุดและอีก ๑ ชุด จะประดิษฐานไว้ ณ ที่ทำการใหญ่ของ “สมาคมคณะรัฐธรรมนูญ” พระราชอุทยานสราญรมย์

การอัญเชิญ ‘พานรัฐธรรมนูญ’ ก็เป็นไปอย่างเอิกเกริก ราวกับเป็นสิ่งสำคัญของชาติบ้านเมือง พอไปถึงจังหวัดต่าง ๆ ก็มีการนำขึ้นบุษบกแห่แหนให้ชมกันรอบเมือง ก่อนจะนำไปประดิษฐาน ณ ศาลากลางของจังหวัดนั้นๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าสักการะบูชา ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน และมีการปฏิญาณตนต่อหน้าพานรัฐธรรมนูญ 

จากความ ‘ขลัง’ ระดับจังหวัด ก็กระจายลงไปถึงความ ‘ขลัง’ ระดับอำเภอ ดังที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเห็นว่า “พานรัฐธรรมนูญนี้ถือว่าขลัง เผยแพร่ไปมากเก๊งตามจิตต์วิทยาว่าขลัง หรือสงวนไว้ขลัง ถ้าถือว่าแพร่หลายไปทำให้คนรู้จัก และเลื่อมใสยิ่งขึ้น ก็ควรทำให้แพร่หลายไป” 

‘พานรัฐธรรมนูญ’ ที่ได้รับไปนั้นจะต้องผ่านพิธีกรรม มีพิธีการที่สมเกียรติ เพราะถือเป็นของสูง เวลานำไปจัดงานหรือเพื่อให้ประชาชนสักการะก็ต้องมีพลับพลาสำหรับประดิษฐานอย่างโอ่โถง 

ทั้งหมดเพื่อหวังผลบั้นปลายให้ ‘รัฐธรรมนูญ’ กลายเป็นแหล่งที่มาของอำนาจอันชอบธรรมในระบอบใหม่ เทียบเคียงกับสถานะบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบเก่านั่นเอง 

นอกจากพานที่กล่าวมาแล้ว ‘ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ’ ยังมีมิติครอบคลุมออกไปอย่างหลากหลาย ลึกซึ้ง อย่างเช่น อนุสาวรีย์ก็ไม่ได้มีแค่ ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย’ ถนนราชดำเนินกลาง ก็ยังมี ‘อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ’ ที่ก่อสร้างตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ ๖ แห่ง เช่นที่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ฯลฯ อย่างวัด ก็มี ‘วัดประชาธิปไตย’ (ปัจจุบันคือวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน) 

ยังไม่รวมสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในงานปั้น งานเครื่องหมาย โดยเป็นศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ สื่อถึงระบอบใหม่ ควบคู่ไปกับงานฉลอง ‘รัฐธรรมนูญ’ ที่ยิ่งใหญ่กว่างานฉลองของระบอบเก่า 

จนกระทั่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้นำบ้านเมืองของเราเข้าสู่ยุค ‘เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย’ การยึดเอา ‘รัฐธรรมนูญ’ เป็นของขลัง ของสำคัญ ของชาติจึงค่อยๆ มลายหายไป 

จาก ๑๐ ธันวาคม พ.ศ ๒๔๗๕ มาจนถึง ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ผ่านไปแล้ว ๙๑ ปี 

ปัจจุบันประชาชนได้รู้แล้วว่า ‘รัฐธรรมนูญ’ คือ ‘กฎหมาย’ ไม่ใช่ ‘ของขลัง’ ไม่จำเป็นต้อง ‘บูชา’ แต่ถึงกระนั้น มันก็ยังไม่ได้ฝังรากลึกให้ประชาชนได้ยึดถืออย่างมีสำนึกและเข้าใจอย่างที่มันควรจะเป็น นับเนื่องมาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ 

ทำไมนะ ? 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top