Tuesday, 30 April 2024
กระทรวงดีอีเอส

‘ชัยวุฒิ’ รมว.ดีอีเอส ลุยต่อเนื่องสั่งการ NT เร่งจัดระเบียบสายสื่อสารหลายพื้นที่ใน จ.หนองคาย ประกาศปีหน้าเก็บสายลงใต้ดินครบ

7 ส.ค. 2565 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (ดีอีเอส) ลงพื้นที่ตรวจสภาพความเรียบร้อยสายสื่อสารพื้นที่จังหวัดหนองคาย บริเวณถนนประจักษ์ และถนนมีชัย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาสายสื่อสาร ไม่เป็นระเบียบ

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ โดย บมจ. โทรคมนาคมเเห่งชาติ (NT) ดำเนินการโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรับปรุงภูมิทัศน์ของเทศบาลเมืองหนองคาย เส้นทางถนนประจักษ์ (จากแยกเวียดนามอนุสรณ์ ถึงแยกวัดโพธิ์ชัย) ระยะทาง 1,600 เมตร และดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว และล่าสุดอยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนของโครงการนำสายสื่อสารลงดินถนนมีชัย ระยะทาง 5,000 เมตร และถนนประจักษ์ (จากแยกวัดโพธิ์ชัย ถึงซอยหลังวัดโพธิ์ศรี) ระยะทาง 1,556 เมตร

‘ชัยวุฒิ’ เปิดการประชุมสหภาพไปรษณีย์เอเชียฯ ระดมความเห็นยกระดับบริการขนส่งยุคดิจิทัล

ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการประชุมใหญ่สหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 13 (13th APPU Congress)  

วันนี้ (29 สิงหาคม 2565) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานพิธีเปิด การประชุมใหญ่สหภาพไปรษณีย์แห่งเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 13 (13th APPU Congress) ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า กรุงเทพฯ

ประเทศไทย โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้รับความไว้วางใจ จากสหภาพไปรษณีย์ฯ เป็นประธานสภาบริหาร(Executive Council – EC) ต่อเนื่องเป็นเวลา 4  ปี ทำหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ รวมถึงวางระเบียบการบริหารงานของสหภาพฯ ทำให้ประเทศไทยมีบทบาทในการแสดงความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค สามารถผลักดันแผนงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนากิจการไปรษณีย์ของไทยและของประเทศสมาชิก รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหภาพฯ มากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 32 ประเทศ


 

‘ชัยวุฒิ’ เร่งติดระบบ Smart school bus หวังช่วยป้องกันลืมเด็กในรถโรงเรียน

ชัยวุฒิเสียใจครอบครัวน้องจีฮุน เร่งติดระบบ Smart school bus ให้โรงเรียนทั่วประเทศ  หวั่น ซ้ำรอยลืมเด็กในรถโรงเรียน

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผมขอแสดงความเสียใจกับการเสียชีวิตของ ด.ญ.เขมนิจ ทองอยู่ หรือน้องจีฮุน ที่ถูกลืมไว้ในรถโรงเรียนและเสียชีวิต ในฐานะพ่อ ผมเข้าใจความรู้สึกของผู้ปกครอง การสูญเสียลูกเป็นสิ่งที่สะเทือนใจที่สุด และเราก็เห็นข่าวนี้มาตลอด ทั้งนี้ ผมเเละกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมก็จะได้พยายามพัฒนาระบบ Smart School Bus โดยเราจะนำเทคโนโลยี IoT Sensor ตรวจจับความเคลื่อนไหว และคลื่นความร้อนของเด็กนักเรียนที่อยู่ในรถ คือถ้ามีการลืมเด็กนักเรียนไว้ในรถ Sensor นี้ก็จะมีการทำงานก็จะตรวจให้เห็นว่ามีคนลืมเด็กนักเรียนไว้ในรถจะแจ้งเตือนมือถือมาที่ผู้ปกครอง มือถือของครู และแจ้งเตือนไปที่ศูนย์บัญชาการของระบบ ทำให้เรารู้ว่ามีการลืมเด็กไว้ในรถนักเรียน เค้าจะรีบเอาเด็กออกได้ ก็จะไม่เกิดปัญหานี้ต่อไป นี่จะเป็นสิ่งที่ระบบตั้งไว้ Face Recognition system จดจำใบหน้าของเด็กนักเรียนที่ขึ้นรถลงรถ เราก็จะรู้ว่าเด็กขึ้นรถรึยัง ลงรถรึยัง และระบุชื่อระบุตัวตนได้ด้วย นี่คือระบบที่เราจะทำขึ้นมาเรียกว่า Smart School Bus เราจะพัฒนาให้เกิดขึ้นมาให้ได้เร็ว ๆ นี้ เพื่อแก้ปัญหา เราจะไม่ให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกแล้ว

‘ชัยวุฒิ’ เปิดท่อร้อยสายมุดลงใต้ดินกลางเมืองหาดใหญ่ เร่งจัดระเบียบสายสื่อสาร เผยดำเนินการได้ตามเป้า เล็งผนึกเอกชนดัน ‘หนึ่งบ้านหนึ่งสายสื่อสาร’ สร้างความยั่งยืนในอนาคต

4 ก.ย.2565-นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเร่งรัดการจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บริเวณ ถ.กาญจนวนิช จาก หน้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ถึงหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดระเบียบสายสื่อสาร รื้อสายไม่ได้ใช้แล้ว มัดจัดระเบียบสายที่มีอยู่ให้เรียบร้อย ระยะทาง  2.5 กิโลเมตร, บริเวณ ถ.นวลแก้ว ที่กำลังดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสาร ระยะทาง 5.6 กิโลเมตร และบริเวณ ถ.ธรรมนูญวิถี คือพื้นที่ที่มีการนำสายไฟและสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินแล้วทั้งหมด ระยะทาง 2.2 กม.



นายชัยวุฒิ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากระทรวงดีอีเอสได้ประสานผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจัดระเบียบสายในถนนเส้นหลักทั่วประเทศ วันนี้มีโอกาสมาติดตามให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานพร้อมเร่งรัดการจัดระเบียบใน อ.หาดใหญ่ ซึ่งในภาพรวมสามารถดำเนินการได้ตามแผนและงบประมาณที่อนุมัติมาแล้วได้ดีมาก ยังเหลืออีกบางพื้นที่ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้การจัดระเบียบสายสื่อสารเป็นการทำงานร่วมกันของผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อนำสายสื่อสารของทุกเจ้ามามัดรวมให้เรียบร้อย เดินสายใหม่ เก็บทิ้งสายเก่าทั้งสายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้ จะทำให้ปริมาณสายสื่อสารบนเสาไฟลดลง เป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น ในจุดที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการและสายสื่อสารมาก เราก็จะนำลงท่อใต้ดิน โดย DES ประสานงานกับ กสทช. ที่เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องนี้มาตลอด

ดีอีเอส เอาจริง!! เผย 9 เดือน ปิดเว็บผิดกฏำหมายตามคำสั่งศาลแล้ว 183 คำสั่ง รวม 4,735 ยูอาร์แอล พบเป็นเว็บหมิ่นสถาบันมากสุดกว่า 1,816 ยูอาร์แอล

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ระยะเวลาประมาณ 9 เดือนแรกของปี 65 กระทรวงฯ ได้ดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมายตามคำสั่งศาล 183 คำสั่ง รวมจำนวนที่ปิดแล้ว 4,735 ยูอาร์แอล (ณ วันที่ 20 ก.ย. 65)

โดยครอบคลุม 6 ประเภทคดี ตามลำดับดังนี้ เว็บหมิ่นสถาบัน 1,816 ยูอาร์แอล ขัดต่อศีลธรรมอันดี 1,119 ยูอาร์แอล พนันออนไลน์ 1,507 ยูอาร์แอล ลามกอนาจาร 218 ยูอาร์แอล บุหรี่ไฟฟ้า 58 ยูอาร์แอล และสลากกินแบ่งเกินราคา 17 ยูอาร์แอล

ขณะที่ ในส่วนของการดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางออนไลน์ เมื่อเร็วๆ นี้ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญาทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ ได้นำเสนอรายงานสถิติผลการจับกุมในภาพรวมตั้งแต่จัดตั้งหน่วยงาน (22 ธ.ค.63 – 31 ส.ค.65) ได้มีการจับกุมในคดีนโยบายที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน รวม 2,330 คดี จำนวนผู้ต้องหาทั้งสิ้น 2,981 คน

แบ่งเป็น 1.การพนันออนไลน์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ 670 คดี ผู้ต้องหา 1,171 คน 2.หลอกลวงออนไลน์ด้านการเงิน 579 คดี ผู้ต้องหา 673 คน 3.ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เผยแพร่ข่าวปลอม เข้าถึงระบบโดยมิชอบ 483 คดี ผู้ต้องหา 483 คน 4.หลอกลวงขายสินค้าออนไลน์ ขายสินค้าผิดกฎหมาย 445 คดี ผู้ต้องหา 466 คน และ 5.ล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก สตรี 153 คดี ผู้ต้องหา 188 คน

DES แนะวิธีลงทุนออนไลน์ไม่ให้โดนหลอก ระวังคำชี้ชวน ‘ผลตอบแทนสูง – ใช้ภาพคนมีชื่อเสียง’

วันที่ 25 พ.ย. 2565 น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันมีการเชิญชวนให้ลงทุนออนไลน์จำนวนมาก ซึ่งอาจมีมิจฉาชีพเข้าหลอกลวงประชาชนให้ลงทุนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้น, ลงทุนคริปโทฯ และลงทุนธุรกิจต่างๆ ที่มักจะมีข้อเสนอ เชื้อเชิญ จูงใจชวนให้อยากร่วมลงทุน ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้แนะนำวิธีการ ‘ลงทุนออนไลน์อย่างไรไม่ให้ถูกหลอก' ดังนี้

1. อย่าด่วนตัดสินใจในการลงทุน โดยเฉพาะการเชิญชวนผ่าน social media หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ควรตรวจสอบรายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

2. สังเกตสัญญาณเตือนกลโกงจากข้อเสนอการลงทุน โดยส่วนมากมักจะมีข้อเสนอที่อ้างผลตอบแทนสูง, มีการรับประกันผลตอบแทน, เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน และดึงดูดใจด้วยสินทรัพย์ใหม่ ๆ

ชัยวุฒิ ย้ำ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกยุค 4.0 เป็นสิ่งที่สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่ีความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ทวีความสำคัญมากขึ้น การดูแลสังคม ดูแลประชาชนทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม เป็นประเด็นที่สำคัญไม่แพ้ประเด็นเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาและนิทรรศการเศรษฐกิจดิจิทัล ในหัวข้อ “Visionary Innovation 2023” พร้อมกล่าวว่า ตนตระหนักดีถึงความท้าทายที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ทั้งจากสถานการณ์ภายนอก และภายในประเทศ ทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจและการเมืองโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงผลิตผลทางการเกษตร โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทั่วโลก การผลักดันการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศไทย 4.0 เป็นวิสัยทัศน์ของกระทรวงดิจิทัลฯ มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนมีความเท่าเทียมในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ใช้อย่างมีคุณค่า ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับประเทศ สอดคล้องกับแนวนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 13 และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 20 ปี (2560-2580) โดยได้เร่งดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศในมิติต่าง ๆ ให้เห็นเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ หากพูดถึงสถานการณ์ด้านดิจิทัลในประเทศไทยในปัจจุบัน จะเห็นว่าอัตราส่วนการใช้งานด้านดิจิทัลของประชาชนมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีมากกว่า 56 ล้านคน ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือมีมากกว่า 62 ล้านคน และประมาณร้อยละ 90 ของครัวเรือนในประเทศไทย มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าภาคประชาชนของประเทศไทย มีความพร้อม และความตื่นตัวด้านดิจิทัลเป็นอย่างมาก 

ขณะที่มูลค่าของอุตสาหกรรมดิจิทัลในปี 2021 ใน 4 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ อยู่ที่ ราว 1.6 ล้านล้านบาท และในส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอันเป็นผลจากเทคโนโลยีดิจิทัล อยู่ที่ประมาณ 13% หรือ ประมาณ 2 ล้านล้านบาทและจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลในปี 2022 ของ IMD World Competitiveness Center ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 40 จากทั้งหมด 63 อันดับ โดยได้รับคะแนนอยู่ที่ 68.19 อยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกับอิตาลีและชิลี (อันดับตกลงมา จากอันดับที่ 38 จากทั้งหมด 64 อันดับ ในปี 2021 แต่มีคะแนนเพิ่มขึ้น โดยปี 2021 ได้รับคะแนนอยู่ที่ 63.159) สามประเทศที่ได้อันดับสูงสุดคือ Denmark, USA และ Sweden ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่อยู่ก่อนหน้าไทย คือ สิงคโปร์ในลำดับ 4 และ มาเลเซีย ลำดับ 31

ส่วนเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญของประเทศไทยมีอยู่ 7 เทคโนโลยี ได้แก่ อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การวิเคราะห์ข้อมูล โทรคมนาคมยุคใหม่ เช่น 5G 6G เป็นต้น Distributed ledger technology (DLT) เช่น Blockchain และสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ ต่อมาคือ Quantum Computing และระบบอัตโนมัติ (Automation)

อย่างไรก็ดี การที่ประเทศไทยจะสามารถเดินไปถึง Digital Thailand อย่างเต็มรูปแบบ จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเรื่องความเปราะบางของเศรษฐกิจ โดยใช้แนวคิดการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน (Digital Competitive Advantage) ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่

1.    Digital Access: การเข้าถึงเทคโนโลยี content และ Data เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี cloud computing การเก็บข้อมูล Nano chip การส่งข้อมูลผ่าน IoT

2.    Digital Connectivity: การเชื่อมโยง เทคโนโลยี คน ธุรกิจ สังคม ให้ถึงกัน มีเรื่อง New Wave Digital Content หรือ Metaverse AR VR ทำให้ทุกอย่างเชื่อมโยงกันในโลกกึ่งเสมือนและโลกเสมือน หรือสองโลกทำงานร่วมกัน

3.    Digital Data: การที่จะทำให้ทุกอย่างดำเนินการได้อย่างสะดวก ต้องมีการเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล 

4.    Digital automation: ทั้ง 3 มิติที่กล่าวมา จะก่อให้เกิด Automatic World ซึ่งอุตสาหกรรม/ภาคการผลิต/การค้าและบริการ และการอยู่อาศัยของภาคประชาชน กำลังเข้าสู่ยุคอัตโนมัติ มีเทคโนโลยีเกี่ยวข้องคือ robotics/simulation/Integrated system สิ่งเหล่านี้ที่เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติทั้งสิ้น การเข้าสู่โลกอัตโนมัติจำเป็นต้องเตรียม Digital data สำหรับประเทศ เพื่อไม่ขาดดุลชำระเงินทางเทคโนโลยี และความมั่นคงด้านข้อมูล

รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของรัฐบาล ให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยและหลากหลาย มาเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ การดำเนินชีวิตของประชาชน และการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ในเวทีโลก และความมั่นคงทางสังคมของประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ คือ “ปฏิรูปประเทศไทยสู่ ดิจิทัลไทยแลนด์”

โฆษกกระทรวงดีอีเอส เตือนระวังข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับพระอาการประชวร ‘พระองค์ภา’ อย่าเชื่อ อย่าแชร์ พร้อมย้ำให้ติดตามแถลงการณ์จากสำนักพระราชวังเท่านั้น

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า เนื่องจากมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีการให้ข้อมูลข่าวเกี่ยวกับพระอาการประชวรของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดพบว่ามีความบิดเบือนหรือเป็นข้อความเท็จ  ซึ่งจะมีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  

‘ดีอีเอส’ ปิดช่องหากินแก๊งคอลเซ็นเตอร์กัมพูชา พร้อมชูปี 66 ทุกหน่วยงานรัฐปรับสู่ดิจิทัล 100%

กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงผลงานในปี 2565 ประสบความสำเร็จในความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา ปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ขณะเดียวกันตั้งเป้าชูทุกหน่วยงานภาครัฐทรานฟอร์มสู่รัฐบาลดิจิทัล เร่งลิงค์ข้อมูลสาธารณสุขโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศผ่าน ‘คลาวด์กลางภาครัฐ’ เล็งพัฒนาเมืองอัจฉริยะทั่วไทย 

(5 ม.ค. 66) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา ดีอีเอสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งดำเนินโครงการที่สำคัญหลายโครงการเพื่อประโยชน์กับประชาชนอย่างเต็มที่ ดีอีเอส ประสบความสำเร็จอย่างมากในความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา เพื่อปราบปราม ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ และ Hybrid Scam ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันระหว่างไทย และกัมพูชา โดยกระบวนการทำงานมีการตรวจสอบจากข้อร้องเรียนว่า มีคนร้ายขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อยู่ที่จุดไหน มีการร่วมกันจับกุมปรามปรามคนร้าย รวมถึงการส่งกลับมาดำเนินคดีที่ประเทศไทย ทำให้กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีทราบพิกัดการกระทำผิด มีการปิดกั้นสัญญาณและเข้าจับกุม ซึ่งจะช่วยกันแก้ปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้หมดไปให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถปราบปรามสิ่งผิดกฎหมายได้อย่างจริงจัง 

ขณะเดียวกัน ดีอีเอส ยังได้เร่งดำเนินงานในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระบบบริการคลาวด์กลางภาครัฐ โครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีผ่านเครือข่ายออนไลน์ รวมถึง การส่งเสริมการพัฒนาด้านอีคอมเมิร์ซ สตาร์ตอัพ เมืองอัจฉริยะ ดิจิทัล ไอดี และ ดิจิทัลโพสต์ไอดี รองรับการพัฒนาและการให้บริการดิจิทัลอย่างยั่งยืน

สำหรับความคืบหน้าทางด้านพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  (PDPA) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น กำหนด Personal Data Protection Regulation และ Cross-Border Data Transfer ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ รวมถึงให้ความสำคัญกับการปกป้องผลประโยชน์กับประชาชนไทยบนโลกออนไลน์ โดยหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้ ทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี และสามารถสร้างความเชื่อมั่นในเวทีนานาชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน การเจรจาข้อตกลงทางการค้า และความร่วมมือด้านอื่น ๆ กับต่างประเทศ และสามารถลดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ผ่านออนไลน์ได้ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะออกพระราชกำหนดให้อำนาจหน่วยงานดูแลการกระทำที่มิชอบเพื่อลดการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายผ่านทางออนไลน์ด้วย

ทางด้านโครงการระบบบริการคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ Government Data Center and Cloud service (GDCC) นอกจากจะให้บริการ Virtual Machine สําหรับหน่วยงานภาครัฐ GDCC ยังมีบริการเสริมจำนวนมาก อาทิ AI, IoT รวมถึง Open Data ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้งาน เพื่อพัฒนางานในการให้บริการกับประชาชน รวมถึงหน่วยงานรัฐทุกแห่งสามารถที่จะทรานฟอร์มสู่ดิจิทัล 100%เพื่อให้ประชาชนสามารถที่จะใช้บริการภาครัฐผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 

นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า โครงการระบบบริการคลาวด์กลางภาครัฐ ในเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมามีการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ จำนวน 219 กรม 874 หน่วยงาน 3,065 ระบบงาน มีการพัฒนาบุคลากรตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญมากว่า 2,500 คน ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้ถึง 30 - 60% และรัฐบาลมีแผนที่จะทรานสฟอร์มทุกหน่วยงานของรัฐ เป็นรัฐบาลดิจิทัล 100% ในปี 2566 นี้ 

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนที่จะจัดทำระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ด้านสาธารณสุข/สถานการณ์โควิด 19, ระบบ National Digital Health Platform เพื่อเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลสาธารณสุขของประชาชน และโรงพยาบาล สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางด้านสาธารณสุข ฐานข้อมูลคนไข้ผ่านระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ทำให้แพทย์สามารถเรียกดูข้อมูลคนไข้เพื่อการรักษาได้จากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ โดยปัจจุบัน ดีอีเอส ได้ร่วมกับโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพัฒนา Health Link ระบบเชื่อมโยง/แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพและประวัติการรักษาทั่วประเทศอย่างมีมาตรฐาน ปลอดภัย และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีการพัฒนาระบบ Data Exchange Zone ที่สามารถบริหารจัดการการดึงข้อมูลจากระบบ Hospital Information System ที่ไม่รบกวนงานหลักของโรงพยาบาล (FHIR Client, FHIR Server) 

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการแล้ว 150 แห่ง และอยู่ระหว่างการขยายผลอีก 100 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งประชาชนสามารถลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนและอนุญาตให้ Health Link ดึงข้อมูลประวัติการรักษาของตนได้อย่างสะดวกผ่านหลายช่องทาง โดยระยะแรกใช้ระบบเป๋าตังของธนาคารกรุงไทย และระบบ H4U ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก เมื่อประชาชนให้ความยินยอมแล้ว Data Exchange Zone ของโรงพยาบาลจะสามารถเข้าถึงข้อมูลประวัติการรักษา เพื่อแสดงผลให้แพทย์ที่อยู่ในทะเบียนของแพทยสภาใช้ประกอบการวินิจฉัย/รักษาได้

นอกจากนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ยังได้ร่วมมือกับ 2 พันธมิตร ประกอบด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคเอกชน นำศักยภาพของทั้ง 3 หน่วยงานมาร่วมกันจัดทำ Digital Health ID เพื่อให้บริการสาธารณสุขและบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพแก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาระบบนำร่อง Health Platform ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ในส่วนของโครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชนนั้น ดีอีเอสได้เร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างเทคโนโลยีเพื่อรองรับการใช้งานของประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน โดยโครงการนี้ใช้งบประมาณดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 150.6 ล้านบาท และจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จำนวน 8,246 แห่งทั่วประเทศ 

สำหรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของประชาชน นั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า การใช้ไอซีทีของประชาชนในประเทศไทยในไตรมาส 3 ปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่า จากการสำรวจครัวเรือนประมาณ 23.4 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ 5.8 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 24.6% มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 21.1 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 89.9% และมีโทรศัพท์มือถือ 22.7 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 96.9% นอกกจากนี้ ยังมีผลการสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ประมาณ 65.6 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 57.0 ล้านคน คิดเป็น 87.0% ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.3 ล้านคน คิดเป็น 95.0% และผู้มีโทรศัพท์มือถือ 57.7 ล้านคน คิดเป็น 88.0%

‘ชัยวุฒิ’ ถกหน่วยงานด้านเทคโนโลยีระดับโลก ดึงนานาชาติร่วมแก้ปัญหา online scams

‘ชัยวุฒิ’ ผลักดันแก้ปัญหา online scams ในเวทีการประชุมระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยี ณ เมืองบาร์เซโลน่า

เมื่อวานนี้ (28 ก.พ.66) ในระหว่างการประชุม GSMA Ministerial Programme ภายใต้งาน Mobile World Congress 2023 (MWC 2023) ณ เมืองบาร์เซโลนา ราชอาณาจักรสเปน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้หารือกับผู้บริหาร GSMA และผู้บริหารบริษัท OneWeb เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในอนาคตระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการพัฒนาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทยตลอดจนได้ผลักดันแนวทางความร่วมมือในการแก้ปัญหา online scams 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top