Wednesday, 18 September 2024
WeeklyIssue

จาก โจ ไบเดน ถึง ประชาชนของลุงตู่...เมื่อไรเราจะได้ใช้รถไฟฟ้ากันจริงจังเสียที

ยังจำกันได้ไหมครับ ? เมื่อต้นปี หลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของนายโจ ไบเดน ข่าวแรก ๆ ที่พอจะส่งแรงสะเทือนไปได้ทั่วโลก คือข่าวอะไร ?

ใช่แล้ว, นายโจ ไบเดน ประกาศจะยกเลิกการใช้รถที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปด้วยน้ำมัน ของรัฐบาลกลางทั้งหมด แล้วเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100 เปอร์เซนต์ ข่าวนี้ถือว่าส่งแรงสั่นสะเทือนในตลาดผู้ผลิตรถยนต์ในอเมริกา และรวมถึงส่งแรงกระเพื่อมมายังตลาดรถยนต์ทั่วโลกอีกด้วย

อย่างที่หลายคนทราบกันดี โจ ไบเดน ชูนโยบายรักษ์โลกในการเลือกตั้งมาโดยตลอด แต่สิ่งที่ประธานาธิบดีคนล่าสุดของอเมริกาประกาศออกมานั้น ไม่ได้ทำเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงทั้งหมดหรอก เหตุผลส่วนหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้เลย นั่นคือ ไบเดนกำลังสร้างความคูล หรือภาษาไทยเรียกว่า สร้างความเท่ ๆ ที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างภาพลักษณ์ ‘ผู้นำโลกยุคใหม่’ โดยเฉพาะกับเรื่องราวเทคโนโลยีอันเป็นวิถีใหม่ของผู้คนวันนี้ นัยว่า ผมอายุเยอะ แต่ผมไม่เชยนะคร้าบ !

พูดตามหลักยุทธศาสตร์ ไบเดนเห็นวิถีของผู้คนยุคหน้า ที่ต้องพึ่งพารถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่พลังงานทดแทนอีกสารพัด นั่นคือ สิ่งที่มันกำลังจะเป็นไปในเร็ววัน และไม่ใช่แค่ โจ ไบเดน คนเดียวหรอกที่ ‘เล็งเห็น’ ภาพอนาคตอะไรทำนองนี้ ปัจจุบัน ชาติมหาอำนาจทางพาหนะขับเคลื่อน อาทิ เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และที่มาแรงสุด ๆ ตอนนี้คือ จีน ประเทศเหล่านี้ ต่างเปิดฉากความจริงจังเรื่องรถยนต์ไฟฟ้ากันแล้วทั้งสิ้น

สงครามโลกครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้นเมื่อไร อย่างไร ไม่รู้ แต่ที่รู้ ๆ ‘สงครามรถยนต์ไฟฟ้า’ เตรียมจุดชนวนแน่นอน

ข้ามน้ำทะเลมาที่ประเทศไทย เมื่อไม่กี่วันก่อน คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ มีการประชุมและพิจารณา การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า หลักใหญ่ใจความชูประเด็นที่ว่า ‘ประเทศไทยจะยกเลิกขาย ยานยนต์ เครื่องยนต์ ภายในปี พ.ศ. 2578’

ขยายความต่อมาอีกนิด ภายในปี พ.ศ. 2578 ผู้ขับขี่ยานยนต์ต้องจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ ที่เป็นยานยนต์ไร้มลพิษ ZEV 100% พูดให้ง่ายกว่านั้น อีกราว ๆ 14 ปี ประเทศไทยจะต้องใช้รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น

ถามว่า ทำได้ไหม เรียกว่า มันต้องทำจะดีกว่า เพราะนานาประเทศในเวลานี้ ต่างขานรับกับเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าของรถยนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งระยะเวลา 14 ปี ไม่นานเลย ยิ่งเป็นยุคสมัยนี้ วงรอบการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีไปเร็วมากกว่าในอดีตหลายเท่าตัวนัก ดังนั้น 14 ปี หรือสั้นกว่านั้น เรา ๆ ท่าน ๆ ได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งเกลื่อนถนนเมืองไทย และในโลกนี้อย่างแน่นอน

แต่กลับมาที่ความจริงในปัจจุบันวันนี้ แม้ภาพรวมของรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย จะเริ่มมาดีขึ้นเป็นลำดับ ปีนี้ เปิดหัวต้นปีที่งานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ก็พยายามชูเซกเม้นท์ไฮไลท์ที่ รถยนต์อีวี หรือยานยนต์ไฟฟ้า ที่เข้มข้นมากกว่าที่เคย

เพราะทุกค่าย ทุกฝ่าย ต่างรู้ดีว่า วิถีของโลกกำลังจะต้องดำเนินไปแบบนั้น แว่วว่า บางค่ายรถยนต์ เตรียมแผนงานสิ้นสุดสายพานงานผลิตรถสันดาปน้ำมันกันเรียบร้อย รวมไปถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้ากันไปอีกหลายสเต็ป เพียงแค่ยังไม่เปิดเผยกันในสงครามครั้งล่าสุดนี้เท่านั้นเอง

ภาพใหญ่ไปอย่างนั้น แต่กลับมาที่ภาพผู้ใช้ในเมืองไทยในเวลานี้ ข่าวสารเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าถูกเสิร์ฟกันออกมามากมาย เหมือนไฟที่กำลังสปาร์ค แต่หากส่องกันให้จริง ๆ จัง ๆ มันก็ยัง ‘จุดไม่ติด’ เสียทีเดียว ด้วยปัจจัยนานาสารพัน เอาที่เห็นกันชัด ๆ มี 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ

1.) ราคา

2.) ตัวเลือกน้อย

3.) ยังไม่คูล

เจอปัจจัยแรก เรื่องราคา ก็แทบจะเลิกพูดเรื่องต่อ ๆ ไป ซื้อของแพงเพื่อรักษ์โลก มันก็แลดูย้อนแย้งไปสักหน่อย ถูกไหม แต่ในอนาคตอันใกล้ เมื่อเทคโนโลยีมีความเสถียรมากขึ้น การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ก็จะมีความเสถียรและมีมาตรฐานตามขึ้นมา เมื่อนั้น การคำนวนต้นทุนต่าง ๆ จะชัดเจนขึ้น

และเมื่อมาบวกรวมกับดีมานด์ (Demand) หรือความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้น ตลาดจะทำราคาให้ ‘กว้าง’ และหลากหลายมากขึ้นเอง ซึ่งจะส่งผลไปสู่ทางออกของปัจจัยปัญหาข้อที่สอง นั่นคือ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีหลายเกรด และมีทางเลือกของรถที่มากขึ้น

พูดง่าย ๆ เราจะไม่ต้องมาขับรถหน้าตาเหมือน ๆ กันทั้งถนน แถมยังเป็นรถยนต์หน้าตาแปลก ๆ แบรนด์ไม่คุ้นเคย ซึ่งเชื่อมโยงมาสู่ปัญหาข้อที่สาม นั่นคือ ‘มันไม่คูล’

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่านิยมของการใช้รถยนต์บ้านเรา ยังบ่งบอกถึงวิทยฐานะ รสนิยม รวมถึงภาพลักษณ์ สมมติตั้งคำถามว่า หากต้องเลือกรถยนต์ที่สะท้อนถึง ‘การเป็นคนรักษ์โลก’ กับ ‘การเป็นคนมีอันจะกิน’ เดาได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตัดสินใจเลือกใช้รถในเหตุผลแบบหลังกันอยู่

แต่ว่าเมื่อไรก็ตาม ที่คนหมู่มากเริ่มใช้ หรือเริ่มฮิต จนกลายเป็นเทรนด์หลักขึ้นมาได้ เมื่อนั้น รถยนต์ไฟฟ้าจะขายได้ทันที เหมือนเห็นคนข้างบ้านใช้ เห็นคนหน้าปากซอยบ้านใช้ คนที่ทำงานก็ใช้ ลูกน้องเงินเดือนน้อยกว่าฉันยังใช้ ดังนั้น เดี๋ยวฉันก็คงต้องใช้เช่นกัน

คาดการณ์กันว่า อีกไม่เกิน 3 ปี ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์อีวี (Electric Vehicle) จะโตขึ้นอีกหลายเท่าในเมืองไทย และหลายฝ่ายต่างตั้งความหวังกันว่า ในอนาคตจะกลายเป็น ‘รถยนต์คันหลักของบ้าน’ ที่ต่างจากในเวลานี้ที่ยังเป็นรถคันที่สอง สาม สี่ ของบ้านอยู่ มากไปกว่านั้น คือการตระหนักรู้ถึงคุณประโยชน์ที่ใช้จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อไม่มีควันจากท่อไอเสีย ก็ไม่มีก๊าซพิษ และไม่มีฝุ่น คุณภาพอากาศก็จะดีขึ้น และคุณภาพชีวิตของเรา ก็จะดีตามมาเป็นลำดับ

เขียนถึงตรงนี้ สรุปว่า รถยนต์ไฟฟ้า มา ! และต้องมาในเร็ววัน แต่อะไรที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ของใหม่’ ก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัว จนเมื่อเวลาผ่านไป ก็จะกลายเป็น ‘ของที่คุ้นเคย’ ไปในที่สุด โลกนี้ไม่ได้มีของที่ล้ำที่สุดคือ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ เราๆ ท่าน ๆ เตรียมตื่นตาตื่นใจกับอะไร ๆ อีกมากมายไว้ได้เลย

ความรื่นรมย์ส่วนหนึ่งในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ คือการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงไปของโลกนี่เอง...

เขียนมาถึงตรงนี้ (อีกครั้ง) เราขึ้นต้นถึง ‘โจ ไบเดน และประชาชนของลุงตู่’ จะไม่เขียนเอ่ยถึง ‘ลุงตู่ของคนไทย’ ก็กระไรอยู่ เอาเป็นว่า อยากฝากถึงลุงตู่สั้น ๆ ปิดท้าย...

ถ้า โจ ไบเดน จะเปลี่ยนรถที่ใช้ของรัฐบาลกลาง เป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด ลุงตู่ก็ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอกครับ (ประเดี๋ยวทัวร์จะลงเรื่องเอาภาษีข้อยคืนมา!) แค่เปลี่ยนรถประจำแหน่งที่ใช้ ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ก็พอ

‘เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย’ ลุงตู่ใช้รถไฟฟ้าเมื่อไร ประชาชนก็น่าจะจริงจังตาม...ว่าไหมล่ะครับ


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

รู้กันหมด ‘อนาคต’ รถยนต์ไฟฟ้าไทย แล้วจะถามกันไปทำไมว่า ‘พร้อม - ไม่พร้อม’

...ตาของเรา จะไม่ได้เห็นควันดำ

...จมูกของเรา จะไม่ได้สูดควันพิษ

...หูของเรา จะไม่ได้ฟังเสียงดังจากเครื่องยนต์

เสียงเรียกหา ‘รถยนต์ไฟฟ้า' หรือ EV (Electric Vehicle) โดยเฉพาะที่เป็นระบบรถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% ยิ่งนานวันก็ยิ่งดังขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดคำถามซ้ำซากว่า รถยนต์ไฟฟ้าไทย ‘พร้อม - ไม่พร้อม’? คำตอบอยู่ไหน...เออ !! นั่นดิคำตอบอยู่ไหน

รู้อยู่ว่าความต้องการของประชาชนตอนนี้เริ่มชัดเจน อยากใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเต็มแก่ พร้อมเปลี่ยนรถยนต์สันดาป (เครื่องยนต์น้ำมัน) แบบทันทีทันใด หากแต่ติดอยู่แค่ว่า เมื่อไรรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ในราคาที่เอื้อมได้ และสถานีชาร์จไฟฟ้าจะทั่วถึง

นี่ไงก็รู้คำตอบนิ!!

แต่รู้ทั้งรู้คำตอบเบื้องต้นแล้ว หลาย ๆ คน ก็ยังคงพยายามหยิบยกภาพตลาดต่างแดน ที่วิ่งแล่น ๆ กันเกร่อถนน แต่ไทยเราล้าหลังไม่คิดจะทำให้เหมือนเขาสักที !!

พูดมันง่าย แต่ในบริบทจริงมันไม่ได้ง่ายตามเสียงเรียกร้อง

หากลองเทียบรถยนต์ไฟฟ้ากับโทรศัพท์มือถือแบบทัชโฟน (รูดปื๊ดๆ) และสมาร์ทโฟน โดยย้อนไปได้ราว ๆ ช่วง 10 กว่าปีเห็นจะได้ เราจะพบว่า จากจุดนั้นกว่าที่คนหันมาเปลี่ยนจากโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกดมาเป็นทัชโฟนหรือสมาร์ทโฟนแบบทั่วถึง ก็ยังต้องใช้เวลาอีกร่วม ๆ 5 - 7 ปีต่อจากจุดเริ่มต้น จึงจะเข้าสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนได้เช่นวันนี้

โดยระยะเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง มาจากผู้บริโภคเริ่มกล้าใช้ ตัวสินค้าเริ่มมีประสิทธิภาพชัด ผู้ผลิตมีตัวเลือกให้เพียบ ราคาแตะต้องได้จากเริ่มต้นหลักหลายหมื่นมาสู่หลักพัน ศูนย์บริการตอบสนอง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์สมาร์ทโฟนปรับไลน์การผลิตรับของใหม่กันหมด

ภาพของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามาครอบคลุมประเทศไทย ก็คงจะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่จะเร็วกว่าหรือช้ากว่า อันนี้ต้องดูปัจจัยประกอบของประเทศนั้น ๆ...

มันไม่ผิดที่เราอาจจะไปมองต่างประเทศ ซึ่งเขาเปลี่ยนกันไว แล้วพอหันมาดูว่าไทยเรา ‘ล่าช้า’ มันช่างดูล้าหลัง ซึ่งอาจจะไม่ถูกเท่าไร เพราะประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา, ยุโรป หรือจีน ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ EV ในบ้านตัวเองและเริ่มส่งออกกันแล้วนั้น ก็เพราะเขาอยู่ในฐานะ ‘ประเทศต้นขั้วสำเนาของเทคโนโลยี’ ส่วนประเทศไทยเราก็เป็นสำเนาที่รอการเมกชัวร์ !!

อันนี้อาจจะเป็นจุดเสีย? ที่พอให้บ่นกันได้ แต่มันก็คือความเป็นจริง !!

ทีนี้มามองปัจจัยประกอบที่แตะทิ้งไว้ตะกี้กันนิด ว่าเหตุใดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ถึงเดินเครื่องได้ไม่ทันใจผู้บริโภคที่เริ่มบอกว่าพร้อม ๆๆ

ในแง่ของความพร้อม จริง ๆ อธิบายได้สั้นมาก เพราะมันมีตัวแปรของการช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้หลายเท่าตัว ช่วยรักษ์โลก (อันนี้ดูดี) แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 กันทุกปี

แต่กลับกันในความพร้อมใช้ มันก็มีความ ‘ไม่พร้อม’ ซ่อนอยู่ในระบบนิเวศน์นี้ ซึ่งตัวแปรหลักก็มีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่...

ประชาชนผู้ใช้รถยนต์

ผู้ผลิตรถยนต์ - ผู้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า

และภาครัฐ

...ในแง่ของประชาชน

สรุปแบบง่าย ๆ เรา ๆ ท่าน ๆ ถ้าคิดจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า มันก็มีตัวแปรในการตัดสินใจหลักอย่าง ‘ราคา’ และ ‘สถานีชาร์จ’ (จริง ๆ ยังมีเรื่องการบริการซ่อมบำรุง แต่เอาเหอะ Skip ไป)

ตอนนี้ราคารถยนต์ที่ทำออกมาขายในตลาดเมืองไทย ถ้าเป็นเล็กแบบจิ๊ดจิ๋ว และมีแฟนคลับแบบกระจุกตัว ก็จะเป็น FOMM ONE ที่มีราคาร่วม 6 แสนบาท แล้วก็มีโปรโมชั่นลดราคาลงมาถึง 4 แสนบาทในบางช่วง ส่วนระดับกลางอย่าง MG ZS EV ของเครือเจ้าสัวซีพี ก็มีราคาแตะล้านนิด ๆ ด้านนิสสันก็มี Leaf ที่ปล่อยออกมาในราคาเหยียบ 2 ล้าน ส่วนค่ายยุโรปนี่ก็ไปไกลเลย อัพเกิน 2 ล้าน (ฝันหวานไปยาว ๆ)

ดูจากจุดนี้ มันมีคำตอบที่ชัดมาก คือ ราคายังสูง แต่รุ่นที่ราคาไม่สูง ก็ยากจะบรรยาย (คนไทยเรื่องเยอะ รถต้องคันใหญ่ เครื่องต้องใหญ่ ชาร์จทีนึงต้องวิ่งได้กรุงเทพฯ ยัน เชียงใหม่) คนก็เลยยังคิดหนัก และนั่นก็ทำให้คนเริ่มถามว่าจะให้รักษ์โลก จะให้ประหยัดพลังงาน แต่ทำไมทำรถที่ควรใช้ได้ในราคาเกินเอื้อมฟระ

อันที่จริง ต้นทุนหลักของรถยนต์ไฟฟ้ามันอยู่ที่ ‘แบตเตอรี่’ (ลิเทียม - ไออน) ที่มีราคาสูงมาก เฉพาะรวมราคาระบบแบตเตอรี่ทั้งหมดก็แตะหลัก 5 - 6 แสนบาทต่อคันเข้าไปแล้ว ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้า ที่แม้จะเปิดตัวในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นฝั่งญี่ปุ่น ในยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา ล้วนมีราคาเริ่มต้นระดับ 1 ล้านบาทขึ้นไปแทบทั้งสิ้น

แต่แนวโน้มก็น่าดีใจเพราะเริ่มลดลง เช่น ในปี 2015 แบตเตอรี่ขนาดกลางในอเมริกาอยู่ที่ 57% ของราคารถทั้งคัน และก็ค่อยๆ ขยับลดลงมาอยู่ 33% ในปี 2019

อ้าว !! แบบนี้ในปี 2021 มันก็น่าจะเห็นแววรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกในไทยแล้วดิ

คิดแบบผิวปาก มันก็ใช่ แต่ย้อนกลับไปด้านบนที่ว่า เราไม่ใช่ประเทศต้นสำเนา และส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการนำเข้า แม้รัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันให้ปั้นโรงงานผลิตรถ EV แต่ก็ยังตั้งไข่ รวมถึงลดอัตราภาษีนำเข้า EV แต่ยังมีภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมแล้วไม่น้อย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รถไฟฟ้ายังมีราคาแพงอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อราคายังหนัก คนส่วนใหญ่ก็เลยคิดว่าการใช้เครื่องสันดาป (น้ำมัน) ต่อไป

ขณะเดียวกัน ในแง่ของสถานีชาร์จที่ยังไม่ครอบคลุม ก็คือ คำถามตัวใหญ่ของคนที่อยากใช้ (แต่ยังไม่กล้าซื้อ) แม้จะมีบริษัทพัฒนาแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมายทั้งจากภาครัฐและเอกชนแล้วก็ตาม

...ในแง่ของผู้ผลิตรถยนต์-ผู้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า

หากดูข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงานระบุว่า ช่วงไตรมาส 2/2560 มีสถานีบริการน้ำมันรวมทั้งสิ้น 2.5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ ขณะเดียวกันหากเทียบกับสถานีชาร์จที่มีอยู่ทั่วประเทศไทยตอนนี้ ตัวเลขจะอยู่ที่ราวๆ 600 กว่าแห่ง ซึ่งยังไม่ได้นับสถานีชาร์จตามศูนย์รถยนต์ และบ้านเรือนประชาชน แถมการชาร์จต่อครั้งก็มีระยะเวลาอย่างเก่งสุดของเทคโนโลยีการชาร์จก็ประมาณ 15-20 นาที ซึ่งมันไม่ทันใจคนไทยอะเนอะ

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันเดินหน้าอยู่แล้ว ทั้งการเพิ่มสถานีชาร์จและความเร็วในการชาร์จ แต่จะพอดีจังหวะให้ใช้งานครอบคลุมอีกกี่ปี อันนี้ยังพูดยาก แต่แรงขับเคลื่อนน่ะมีแน่ เช่น ผู้ให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้ารายใหญ่ในตอนนี้ อย่าง อีเอ เอนีแวร์ (EA Anywhere) ของ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ที่ตลอด 3 ปีเริ่มดำเนินการติดตั้งระบบชาร์จไฟฟ้า ทั้งระบบ AC (กระแสไฟฟ้าสลับ) และ DC (กระแสไฟฟ้าตรง) จนถึงปัจจุบัน มีสถานีชาร์จไฟฟ้า 405

แห่ง 1,611 หัวจ่าย และก็มีแผนจะขยายหัวชาร์จอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับทางภาครัฐ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงยังมี ปตท. ที่เริ่มขยับตัว

ขณะเดียวกัน การคิดแผนสำรองการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อกรณีรถไฟฟ้าครอบคลุม มันก็ยังไม่เคลียร์ เพราะถ้าทุกคนใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันหมด ไฟฟ้าในประเทศคงไม่เพียงพอ มันต้องมีการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าเองในชุมชน ซึ่งไฟฟ้านั้นอาจจะมาจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานน้ำ ดันสังคมให้เปลี่ยนมาเป็นสังคมไฟฟ้าเต็มตัวก่อน โดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้าส่วนกลางควบคู่กัน ซึ่งดูภาพรวมแล้วยังอีกไกล

ฉะนั้นในส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ หากยังไม่พร้อม มันก็ยังยากจะปล่อยให้คนถอยรถมาใช้อย่างสบายใจเฉิบ

...สุดท้ายในแง่ของภาครัฐ หรือภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย

หลัก ๆ เลย คือ ปริมาณการผลิตรถยนต์ในบ้านเราต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านกว่าคัน 1 ล้านคันขายส่งออก อีก 1 ล้านคันขายในประเทศ หากทุก 1 ล้านคันมีการปรับเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสัก 3 แสนคัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นในเชิงผลกระทบทางเศรษฐกิจมันจะมี และมันไม่ใช่เรื่องที่แค่อยากเปลี่ยน ก็เปลี่ยนกันได้ง่าย ๆ

บางคนอาจจะมองว่ามันก็เป็นเรื่องของทางภาครัฐ แต่เราก็ต้องคิดมุมกลับเหมือนกับตลาดทัชโฟน/สมาร์ทโฟน ที่มันจะมีขั้นบันไดของมันให้ทั้งระบบพร้อมกันเปลี่ยนหมด ไม่ใช่เปลี่ยนอย่างฉาบฉวย ไม่งั้นระบบนิเวศน์นี้อาจล้มเร็ว คนตกงาน กระทบเป็นโดมิโน่

อย่างกลุ่มผู้ผลิตค่ายรถยนต์ในประเทศ รวมถึงซัพพลายเออร์ในประเทศไทยที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หรือเครื่องยนต์ต่าง ๆ เท่าที่ทราบเขาก็รู้ดีว่าจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการผลิตของพวกเขาในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้าแน่นอน เพราะทางกระทรวงอุตสาหกรรมเขาก็มีการส่งสัญญาณมาพักใหญ่แล้ว

ฉะนั้นหากจะสรุปความสำคัญของความพร้อมไม่พร้อม ‘ผลักดัน’ และ ‘ใช้’ รถยนต์ไฟฟ้าไทยแล้ว ภาครัฐคงเป็นตัวเอกของเรื่องนี้ไม่เปลี่ยน เพียงแต่จะเขย่าทั้งระบบให้พร้อมรบในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้เร็ว โดยมีการขยายฐานสถานีชาร์จแบบคู่ขนานและเร่งเกียร์ไปถึงจังหวะที่รถยนต์ไฟฟ้าจับต้องได้ง่ายเหมือนสมาร์ทโฟนเมื่อไร นั่นแหละคือ ‘ความพร้อม’ ซึ่งส่วนตัวแล้วก็คงสอดคล้องกับสัญญาณที่ภาครัฐและเอกชนมองต่อจากนี้ว่าน่าจะไม่เกิน 5 ปี

เอาล่ะ!! พักภาพความพร้อมไม่พร้อมของรถยนต์ไฟฟ้าในแบบบิ๊ก ๆ แล้วลองไปคลิกดูภาพย่อย ๆ จาก THE STATES TIMES ที่ได้ลงไปสำรวจความคิดเห็นคนไทยบางกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนทำงานย่านใจกลางเมือง เช่น สีลม, ช่องนนทรี, สยาม และอโศก กันเล็กน้อย

โดยคำตอบของคนส่วนใหญ่ที่ ‘พร้อมเปิดใจใช้รถยนต์ไฟฟ้า’ ก็ไม่ได้แตกต่างจากที่เล่ามาข้างต้นนัก เช่น...

ช่วยเรื่องลดมลพิษ เพราะรถยนต์โดยทั่วไป ก็มักจะใช้น้ำมันซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ

เชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาพร้อมกับรถยนต์ไฟฟ้า จะช่วยทำให้ชีวิตคนสะดวกสบายมากขึ้น อย่างรถบางค่ายก็มีระบบ Auto pilot กันแล้ว

ไฟฟ้าถูกกว่าการเติมน้ำมัน

แต่ในส่วนของ ‘ปัญหา’ หรือความไม่พร้อม เช่น…

สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายังน้อย ไม่ค่อยมั่นใจแม้ว่าบางรุ่นจะให้กำลังวิ่งได้นานแบบข้ามจังหวัด

สถานที่อยู่อาศัยของแต่ละคนเนี่ย ก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

การจราจรในเมืองไทยค่อนข้างแออัด รถติด ก็กลัวรถยนต์ไฟฟ้าจะแบตเตอรี่หมดกลางทาง

ส่วนข้อสุดท้าย คือ ราคารถยนต์ไฟฟ้าในตอนนี้ค่อนข้างสูง และราคาที่พวกเขารับไหวจะอยู่ในหลัก 3 ถึง 4 แสนบาท (ฝันไปเหอะ)

สุดท้ายแล้ว ย้อนกลับมามองมุมประชาชนตาดำ ๆ ไอ้คำว่าพร้อมหรือไม่พร้อมกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้น มันก็คงไม่น่าจะเป็นประเด็นสำคัญเท่ากับ ‘ใช้ได้อย่างสบายใจ’ แค่ไหน ?

เพราะในแง่เทคนิคความซับซ้อนของอะไหล่ที่ลดลงจากเครื่องยนต์สันดาป หายไปเป็นหมื่นชิ้นส่วน อันนี้อะดี >> พร้อม

ส่วนการกินไฟของรถพลังไฟฟ้า (รถ EV) ซึ่งมีการคำนวณออกมาเป็น กิโลเมตร ต่อ กิโลวัตต์ชั่วโมง (km/kWh) แล้วมันถูกกว่าการเติมน้ำมันร่วม ๆ 4 - 5 เท่าตัว อันนี้ก็ดี >> พร้อม

แล้วถ้าราคามันเอื้อมไหว ซึ่งนั่นก็คงหมายถึงวันที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าต้นทุนต่ำลงมาใบบัญญัติไตรยางค์แบบเดียวกับสมาร์ทโฟน อันนี้ใคร ๆ ก็ไม่ปฏิเสธชัวร์ >> พร้อม

รวม ๆ แล้วรถยนต์ไฟฟ้ามันจะเกิด หรือมันจะพร้อม หรือจะน่าใช้ และจะเป็นอนาคตของไทยหรือไม่นั้น ? คำคอบก็คงจะประมาณนี้แหละกระมัง...


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

รัฐบาลส่งเสริมให้คนไทยใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแล้วจริงหรือ ?

กระแสรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) กำลังมาอย่างมาก จากกระแสธารเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทั่วโลก กระตุ้นความสนใจให้กับผู้คนในประเทศไทยพอสมควร ประเทศที่มีปัญหาด้านมลพิษสูงอย่าง PM2.5 ติดอันดับโลกอยู่หลายครั้ง และหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิด PM2.5 คือมลภาวะจากควันรถยนต์ที่ปล่อยออกมา

ปัญหาทางโครงสร้างทางคมนาคม ถนนหนทาง และนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนการซื้อรถยนต์ กลับกลายเป็นการสร้างปัญหาระยะยาว คือปัญหารถติด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เมืองที่ติดอันดับรถติดของโลก (แต่ละอันดับ ดูไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่) ที่ไม่รู้ว่าทั้งชีวิตนี้จะแก้ปัญหานี้ได้ไหม รวมไปถึงการโดยสารสาธารณะไม่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุและอาชญากรรรมในพื้นที่สาธารณะ ความรู้สึกของผู้คนในเมืองใหญ่จึงยอมที่จะซื้อรถส่วนตัว เพื่อแลกกับความปลอดภัย จำนวนรถเยอะขึ้น จำนวนมลพิษก็เยอะขึ้นเป็นธรรมดา รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) จึงอาจเป็นกุญแจสำคัญที่ประชาชนอย่างเรา จะยอมซื้อเพื่อแลกกับคุณภาพอากาศที่ดี (ที่รัฐแก้ปัญหาไม่ได้สักที)

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) รถยนต์แห่งโลกอนาคต ที่ในไม่ช้าคงกลายเป็นรถยนต์กระแสหลัก ตอบโจทย์ชีวิตของผู้คนและสังคมอย่างมาก จากข้อดีหลายประการ อาทิ ลดมลภาวะจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงน้ำมัน, ความเงียบและอัตราเร่งที่ได้ดั่งใจ ,ประหยัดค่าใช้จ่ายและค่าซ่อมบำรุงไม่ต้องเสียเวลาไปปั๊มน้ำมัน ,ประหยัดเงินค่าน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันในมหานครใจกลางกรุง ก็มีสถานีชาร์จไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้าหลายจุด

อย่างไรก็ตามเราแทบไม่เห็นรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งบนถนนเลย เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่รถยนต์ไฟฟ้าบ้านเรายังต้องนำเข้า และมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสมรรถนะและความสะดวกสบายที่ได้รับ แถมแบรนด์ที่นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าก็ยังมีให้เลือกไม่มากนัก บวกกับคนทั่วไปอาจมีความกังวล และไม่เข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเพียงพอ รวมถึงการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ก็มีการจัดซื้อและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าขนส่งสาธารณะเพื่อเป็นตัวอย่างนำร่อง

แต่รู้ไหมว่า ? หากศึกษาถึงความคุ้มค่า สำหรับคนที่กำลังจะซื้อรถยนต์และต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ก็ต้องบอกว่าคุ้มมาก เพราะมาตรการทางภาษียังถูกกว่ารถยนต์เชื้อเพลิงอีกต่างหาก

โดยรัฐมีการส่งเสริมการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้ผลิต ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรการนำเข้าพวกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ โดยผู้ผลิตต้องยื่นเข้ารับการส่งเสริมแก่ BOI และยังมีมาตรการในการลดภาษีสรรพาสามิต และทำให้ผู้บริโภคหาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งภาครัฐมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดปลั๊กอิน และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคันในปี พ.ศ. 2579

ลองเปรียบเทียบกับต่างประเทศกันดูบ้างว่ารัฐบาลบ้านเขาส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) อย่างไร

ประเทศนอร์เวย์ ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะได้รับการยกเว้นภาษีจดทะเบียนและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรัฐให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า และผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทุกคนในประเทศสามารถชาร์จไฟฟ้าในแท่นชาร์จสาธารณะได้ ‘โดยไม่มีค่าใช้จ่าย’ มียกเว้นค่าผ่านทางในถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทาง และอนุญาตให้รถยนต์ไฟฟ้าใช้ช่องทางสำหรับรถโดยสารประจำทางและรถแท็กซี่ (Bus and taxi lanes) พร้อมทั้งให้จอดรถในพื้นที่สาธารณะทุกแห่งได้โดยไม่เสียค่าจอด

ประเทศญี่ปุ่นภาครัฐนั้นให้เงินสนับสนุนในเรื่องของงานวิจัยพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยมุ่งให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งเรื่องของโมเดลรถและแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และได้มีการทำข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่ต้นในเรื่องของ ‘แท่นชาร์จ’ ให้รถทุกยี่ห้อสามารถใช้หัวชาร์จแบบเดียวกันได้ รวมถึงยังมีการให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการลดหรือยกเว้นภาษีจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีมาตรการนำรถยนต์ทั่วไปคันเก่า มาแลกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ที่สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐกำหนดไว้ อีกทั้งมีการจัดตั้ง

‘เมืองยานยนต์ไฟฟ้า EV/PHEV town’ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย

นโยบายที่ชัดแจนและการสร้างองค์ความรู้ที่ชัดเจนให้กับประชาชนในประเทศ ผนวกกับการส่งเสริมของภาครัฐอย่างจริงจังก็สะท้อนให้เห็นว่าประเทศเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการผลักดันการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รักษาสิ่งแวดล้อม ประชาชนก็ได้ประโยชน์

ส่วนบ้านเรา !! ในฐานะที่เป็นหนึ่งในประชาชนผู้เสียภาษี และมีความจำเป็นที่ต้องออกรถใหม่ในไม่ช้า ส่วนตัวก็มีความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้า แต่ทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยว่ารัฐส่งเสริมมาตรการภาษีอย่างไร การให้บริการพร้อมสรรพหรือยัง รู้แต่เพียงว่าราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าช่างสูงลิ่ว และเราอาจต้องนั่งรถเมล์สูดควันดำกันต่อไป


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

นับถอยหลัง EV ไทย!! ‘บอร์ดอีวี’ ตั้งเป้าอีก 14 ปี EV เต็มถนน เชื่อยานยนต์ไฟฟ้าปั้นเศรษฐกิจใหม่ให้ประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ หรือ ‘Electric Vehicle: EV) คือ เทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกอย่างแท้จริง หลังจากหลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายก้าวไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยมลพิษในอากาศอย่างถ้วนหน้า

เมื่อมองนโยบายด้านพลังงานของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ จะเห็นว่า ทุกประเทศจะมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน EV แทบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น อังกฤษ ที่ได้วางเป้าหมายส่งเสริมการผลิตรถ EV 100% ในปี 2035

ขณะที่สหรัฐอเมริกา ตั้งเป้าเพิ่มจำนวน EV บนถนน 4 ล้านคัน พร้อมพัฒนา EV Charging Station สาธารณะ 500,000 แห่งทั่วประเทศในปี 2030 พร้อมทั้งกำหนดให้เปลี่ยนรถสันดาป (ICE) ของรัฐบาลกลางเป็นรถ EV จำนวน 645,000 คัน โดยจะผลิตและใช้แรงงานในประเทศเป็นหลัก

ส่วนจีน เป็นหนึ่งประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของ EV ค่อนข้างสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะผลักดันให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 0% ภายในปี 2060 โดยไม่สนับสนุนโรงงานผลิตรถยนต์สันดาปอีกต่อไป พร้อมกับประกาศว่า จะเปลี่ยนรถยนต์สันดาปเป็น EV ทั่วประเทศในปี 2040 คู่ขนานไปกับการพัฒนา EV Charging Station 4.8 ล้านหัวจ่าย ทั่วประเทศ

จากนโยบายที่ว่ามาของประเทศต่างๆ ได้ส่งผลให้ EV เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงตั้งแต่ปี 2014 - 2019 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 60% ต่อปี โดยเมื่อสิ้นปี 2019 มี EV ทั่วโลกสะสมอยู่ราว 7.2 ล้านคัน และมีการประเมินว่าส่วนแบ่งตลาดรถ EV จะเท่ากับรถ ICE ในปี 2037 (พ.ศ.2580)

ทีนี้หากขยับมาดูนโยบายด้าน EV ของประเทศเพื่อนบ้านไทยในกลุ่มอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งของไทยในการผลิตรถยนต์ ต่างก็พยายามผลักดันการผลิต EV เป็นนโยบายหลัก โดยอินโดนีเซีย ตั้งเป้าหมายผลิต EV 20% ในปี 2025 ส่วนมาเลเซีย ตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ในภูมิภาคในปี 2022 พร้อมกำหนดรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องเป็นรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง (Energy Efficient Vehicles : EEVs) จำนวน 1 แสนคัน ในปี 2030 และเวียดนาม ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการลงทุนและร่วมทุนผลิต เทคโนโลยีระดับสูง ด้าน EV อันดับ 1 ของอาเซียน เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ประเทศที่เป็นฐานการผลิตรถยนต์ในอาเซียน ต่างตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้านการผลิต EV ทั้งสิ้น เพราะประเทศเหล่านี้ต่างหมายมั่นที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แข่งกับไทยนั่นเอง

เอาล่ะ!! ทีนี้มามองดูไทย ที่ถือเป็นประเทศฐานการผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอาเซียนมายาวนานหลายทศวรรษ จนได้รับฉายาว่า ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ จากการเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดอันดับที่ 12 ของโลก และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน กับยอดการผลิตราว 2 ล้านคันต่อปี เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 1 ล้านคัน และบริโภคภายในประเทศอีก 1 ล้านคัน

แต่นั่น คือ ภาพของผู้นำการผลิตรถยนต์เครื่องสันดาป!!

ฉะนั้นเมื่อ EV กำลังก้าวขึ้นมาเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ และถ้าประเทศไทยไม่อยากเสียแชมป์ด้านการผลิตในอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็คงอยู่เฉยปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้าไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่าประเทศไทยผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกราว 1 ล้านคันต่อปี แต่ในขณะที่ประเทศคู่ค้าที่นำเข้ารถยนต์จากไทยหลายประเทศ เริ่มประกาศนโยบายลดการใช้งานรถยนต์เครื่องสันดาปแล้ว หากไทยไม่เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแบบจริงจัง ก็อาจจะสูญเสียตลาดส่งออกรถยนต์ให้กับคู่แข่งเป็นแน่แท้

อย่างไรก็ดี การจะเปลี่ยนเทคโนโลยีจากรถยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดปุ๊บแล้วทำได้ปั๊บ เพราะไม่ว่าจะด้านการผลิต การใช้งาน โครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังเป็นตัวแปรสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ปัจจุบันไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าพอสมควร

ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ทางรัฐบาล จึงได้แต่งตั้ง ‘คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ’ หรือ ‘บอร์ดอีวี’ ขึ้นมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งกรอบที่ทางบอร์ดอีวีได้วางไว้ในการประชุมครั้งแรก นั่นคือ เร่งให้เกิดการผลิต ยานยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric Vehicle: รถยนต์ที่พึ่งพิงกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว) ในประเทศไทยภายใน 5 ปี

ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ร่วมประชุมบอร์ดอีวี โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ด้วยการลดการใช้รถยนต์ที่่ใช้เครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างเป็นรูปธรรม

โดยในที่ประชุมได้ร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผ่านมาผลิตเครื่องยนต์สันดาปซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จึงได้วางเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ทางบอร์ดอีวี ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันพิจารณาส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย รถยนต์ จักรยานยนต์ และรถบัสสาธารณะ

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นเจ้าภาพในการเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนของอุปทาน (ผู้ผลิต) โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องในยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเร่งให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยเร็ว

ขณะเดียวกัน ทางบอร์ดอีวี ยังได้กำหนดเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 รวมจำนวนทั้งสิ้น1,055,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน

และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 6,400,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 8,750,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 430,000 คัน

ส่วนเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 400,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 620,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน

และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็น...

รถยนต์/รถปิกอัพ 8,625,000 คัน

รถจักรยานยนต์ 9,330,000 คัน

รถบัส/รถบรรทุก 458,000 คัน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้วางนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าด้วยมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะ 1-5 ปี ประกอบด้วย...

มาตรการเร่งด่วน...

1.) มาตรการกระตุ้น การใช้รถ สองล้อ สาม ล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า

2.) มาตรฐาน และ ศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ -แผนพลังงาน และ การจัดตั้งสถานีอัด ประจุสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์

3.) ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐจัดซื้อ/เช่ารถยนต์ไฟฟ้า

4.) จัดให้มีโครงการเช่ารถเมล์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงาน ไฟฟ้า 2,511 คัน

ส่วนมาตรการในระยะ 1 - 5 ปี มีดังนี้...

1.) ด้านมาตรการแรงจูงใจ (Demand)

- ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต (เริ่มพ.ศ. 2569 หรือ ค.ศ.2026) เพื่อส่งเสริมการใช้ ZEV

- ปรับปรุงภาษีรถยนต์ประจำปี ตามหลักสากล “รถยิ่งเก่า ยิ่งต้องจ่าย แพง”

2.) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

- สนับสนุนให้มีสถานีชาร์จสาธารณะสำาหรับรถ BEV และ สถานี SWAP สำหรับ รถจักรยานยนต์ BEV ให้เพียงพอ

- มาตรการทางภาษี กองทุนเพื่อการบริหารจัดการแบตเตอรี่ในรถยนต์

- การบริหารจัดการซากรถยนต์ แบตเตอรี่และ Solar cell ใช้แล้วอย่างยั่งยืน

- การพัฒนาบุคลากร Upskill / Reskill ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสำหรับ ZEV รวมทั้งมาตรการรองรับบุคลากรจากอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไปสู่ S-Curve

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น ได้แก่

1.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน

2.) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและแบตเตอรี่เพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า

3.) คณะอนุกรรมการประเมินผลกระทบด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซเรือนกระจกจากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า

4.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

สำหรับคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ชุด ตั้งขึ้นเพื่อให้การส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าดำเนินนโยบายไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การนำประเทศก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกนั่นเอง


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

Surf Skate เทรนด์ใหม่แห่งยุค ก็ของมันต้องมี...

Surf Skate (เซิร์ฟสเก็ต) เป็นกีฬาบนแผ่นกระดานชนิดหนึ่ง ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างสเก็ตบอร์ดกับกีฬาเซิร์ฟ โดยได้พัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ให้ผู้เล่นสามารถต่อยอดทักษะการเล่นเซิร์ฟ นั่นเอง และให้ความรู้สึกคล้ายการเล่นเซิร์ฟบอร์ดในทะเลมากที่สุด ถึงจะไม่ได้ไปทะเล แต่ก็ให้ความรู้สึกเหมือนโต้คลื่นทะเลได้เหมือนกันนะ

ลักษณะของ Surf Skate มีขนาดความยาวมีตั้งแต่ 26 นิ้ว จนถึง 40 นิ้ว โดยแผ่น Surf Skate ไม่แข็งเท่ากับ Skate Board และล้อหน้าของ Surf Skate สามารถหมุนซ้าย - ขวา หรือ 360 องศา ถือว่าเป็นกีฬาสไตล์เอ็กซ์ตรีมที่กำลังมาแรงตัวหนึ่งในยุคนี้เลยก็ว่าได้ แล้วยังสามารถเล่นได้ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงวัยอีกด้วย...

แล้วการเล่น Surf Skate แตกต่างจากการเล่น Skate Board ตรงไหน? 
สเก็ตบอร์ดทั่วไปจะไม่สามารถหมุนล้อได้ จะต้องไปในทิศทางเดียวเท่านั้น แต่เซิร์ฟสเก็ตสามารถบิดไปในทิศทางไหนก็ได้ เพราะตัวบอร์ดมีสปริงอยู่ข้างใต้ ช่วยให้บิดไปในทิศทางที่ต้องการได้ง่าย ด้วยการกดน้ำหนักและปล่อย ย้ำซ้ำ ๆ เพื่อเหวี่ยงไปยังทิศทางที่ต้องการ ซึ่งฟังก์ชันการใช้งานนี้เองที่พิเศษกว่าสเก็ตบอร์ดทั่ว ๆ ไป จนผู้คนหันมาเล่นแล้วถูกใจไปตาม ๆ กัน

เรามารู้ถึงต้นกำเนิดของ Surf Skate กันบ้าง เริ่มต้นจาก Neil Stratton และ Greg Falk สองผู้ก่อตั้ง Carver Skateboards พวกเขารู้สึกว่าสเก็ตบอร์ดแบบเดิมที่เล่นกันอยู่ ไม่ใกล้เคียงกับคำว่าเซิร์ฟแม้แต่นิดเดียว ทั้ง ๆ ที่ทุกแบรนด์ต่างก็โฆษณาว่าการเล่นสเก็ตบอร์ดก็เหมือนกับการเซิร์ฟบนบก ให้ความรู้สึกเหมือนการเล่นเซิร์ฟในทะเล... แต่จริง ๆ แล้วพวกเขารู้สึกว่ายังไม่เป็นแบบนั้น จึงทำให้ทั้งคู่ช่วยกันคิดและพัฒนาสเก็ตบอร์ด และนำเทคนิคของการเล่นเซิร์ฟมาใช้ร่วมด้วย จึงกลายมาเป็น Surf Skate ในปัจจุบันนี้นี่เอง

เอาล่ะ! แล้วทำไมถึงเกิดมาฮิตที่ไทยได้ หรือเริ่มมีกระแสคนหันมาเล่นกันเยอะ แล้วของมันต้องมีหรือไม่ ลองมาคิดดูแล้ว ในไทยก็มีกลุ่มคนเล่น Surf Skate จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าดารา ศิลปิน หรือแม้แต่ไอดอล เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมาก ในการที่จะหยิบสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเล่น หรือ มาใช้ เมื่ออัปลงโซเชียลแล้วล่ะก็ แฟนคลับต่างหันไปซื้อมาใช้ตาม ๆ กัน จนเกิดเป็นเทรนด์ขึ้นมา และหนึ่งในนั้นคือ Surf Skate นั่นเอง กลายเป็นกีฬาฮิตกันทั่วเมือง จนมีสถานที่เปิดให้เล่นมากมายเกิดขึ้น ขนาดในช่วงปี 2020 แม้จะดูเศรษฐกิจซบเซาในยุคโควิท-19 แต่ก็ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับการเล่นเซิร์ฟเติบโตถึง 5 เท่า! และตอนนี้ก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก โดยมีแบรนด์ยอดนิยม หรือ ลวดลายที่ผู้คนต้องการ จนราคาพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน ทีนี้ถ้าหากใครยังลังเล อยากจะได้มาเป็นเจ้าของหรือว่าของมันต้องมีจริง ๆ ต้องพิจารณาให้ดีเชียวล่ะ ว่า Surf Skate จะเป็นเพียงกีฬากระแสหรือไม่...


อ้างอิง

https://thomasthailand.co/activity/surfskate/ 
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926899 
https://www.mainstand.co.th/catalog/1-Feature/2239

ไทยสเก็ต ใครสกัด ??

ปัจจุบันกีฬา “Surf Skate” กำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทยด้วยอิทธิพลจากดารา คนมีชื่อเสียง เริ่มหันมาเล่นกิจกรรม Surf Skate ในช่วงกักตัวโควิด-19 ด้วยความที่มีสไตล์เท่ และ เป็นกิจกรรมที่สามารถเล่นได้ทุกเพศ ทุกวัย ทำให้กีฬาชนิดนี้ได้เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง

และด้วยความที่เริ่มเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ทางผู้ประกอบการก็ได้เล่งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมประเภทนี้จึงได้มีการเริ่มจัดพื้นที่สำหรับการเล่น Surf Skate อย่างเช่นห้างร้านต่าง ๆ ก็จะมีกิจกรรมลานกว้าง สำหรับเล่นกีฬา Surf Skate ให้ผู้คนได้ออกมาวาดลวดลายโชว์ฝีมือ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนไทยได้ออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน

รวมไปถึงมีการจัดการประกวดมีทั้งประกวดลีลาท่าทาง ความสวยงาม ชิงเงินรางวัลกัน นับได้ว่ากีฬา Surf Skate ทำให้หลาย ๆ คนที่ไม่คิดจะออกกำลังกาย หรือ อยากอยู่แต่บ้าน ได้หันกลับมาทำกิจกรรมแก้เบื่อในช่วงโควิด-19 กัน

ด้วยความนิยมของเจ้ากีฬา Surf Skate ก็ทำให้กระทรวงวัฒนธรรมได้คิดงานอีเว้นท์รวมเหล่าคนชื่นชอบ Surf Skate มาร่วมกิจกรรมในงาน “รัตนโกเสิร์ฟ” ที่จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 64 นำทีมโดย โจอี้ บอย ( อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต ) และ มาดามเดียร์ (วทันยา วงษ์โอภาสี) นำทัพคนรักกีฬา Surf Skate กว่า 300 คนมาเล่นรอบเกาะรัตนโกสินทร์ในระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร โดยมีธีมการแต่งกายด้วยชุดไทย เพื่อผสมผสานกีฬา Surf Skate และ ความเป็นไทยเข้าด้วยกัน กิจกรรมนี้ก็เรียกได้ว่าได้รับความสนใจอย่างมาก

แต่แล้วเรื่องก็ดันมาเกิดขึ้นในวันที่จัดงาน “รัตนโกเสิร์ฟ” ถึง 2 ประเด็นด้วยกันนั้นก็คือ

เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเรายังมีมาตรการของเรื่องโควิด-19 ที่ทางรัฐบาลยังคงขอความร่วมมือกำชับให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 แต่ทำไมทุกคนที่ไปร่วมกิจกรรม ไม่มีใครสวมใส่หน้ากากอนามัยสักคน ?? สร้างความงุนงง ฉงนไปทั้งโซเชียลมีเดีย มีคำถามเกิดขึ้นมากมายจนติดเทรนด์ #รัตนโกเซิร์ฟ พุ่งขึ้นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์กันเลยทีเดียว เพราะในงานมีทั้งผู้ปกครองที่พาลูกเล็กเด็กแดงไปเล่นด้วย ผู้คนก็มากหน้าหลายตา ชาวเน็ตก็ตั้งข้อสงสัยว่าทำไมถึงกล้าที่จะไม่ปกป้องตัวเอง ไม่ใส่หน้ากากอนามัย เข้าเมืองไปเล่น Surf Skate กันได้อย่างสบายใจ โดยที่ไม่แคร์สุขภาพตัวเอง ถ้าติดโควิด-19 กันเป็นหมู่เป็นคณะขึ้นมาจะทำยังไง จะต้องกักตัวกันอีกสักกี่รอบกันคะคุณ ?

และอีกประเด็นที่รุนแรงไม่แพ้กันคือม็อบที่จัดตรงกับวันที่เหล่าชาว Surf Skate ได้ไปเล่นทั่วเกาะรัตนโกสินทร์นั้นก็คือ ม็อบ “NME of Anachy” หรือ ม็อบ “หมู่บ้านทะลุฟ้า” (ซึ่งหมู่บ้านทะลุฟ้า เป็นค่ายพักแรมของผู้ประท้วงในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ก่อตั้งโดยกลุ่มเดินทะลุฟ้า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 ตั้งอยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล โดยมีข้อเรียกร้อง ได้แก่ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน, การยกเลิกกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และการปล่อยตัวนักโทษการเมือง) ซึ่งผู้จัดประกาศว่าจะปักหลักชุมนุมไปอย่างไม่มีกำหนด) โดยทางฝั่งม็อบก็เรียกร้องกันกัน แต่กลับโดนเหล่าเจ้าหน้าที่ตำรวจขอเรียกคืนพื้นที่ แต่ไม่เป็นผลจึงได้รีบดำเนินจับกุมผู้ชุมนุมด้วยข้อหามีการชุมนุมมั่วสุมกันและฝ่าฝืนกฎ พ.ร.บ. ควบคุมโรค

อ่าว….แล้วทำไมม็อบถึงโดนจับด้วยข้อหานี้แล้วฝั่งรัตนโกเสิร์ฟถึงเล่นได้ล่ะเนี่ย… มันยังไงกันคะ คุณตำรวจ ?

ทางทีมผู้จัดงานถึงกับต้องชี้แจงรายละเอียดอย่างเร่งด่วนให้ชาวเน็ตผู้ที่สงสัยใคร่รู้แต่ไม่ได้เป็นคนไปร่วมกิจกรรมรัตนโกเสิร์ฟได้กระจ่างแจ่มแจ้งกันเลยทีเดียว ซึ่งมาดามเดียร์ก็ได้ออกมาแถลงผ่านเฟซบุ๊ค “เดียร์ วทันยา วงษ์โอภาสี”

แบบปัง ๆ ว่า

.

ขอชี้แจงการจัดงานรัตนโกเซิร์ฟ ที่เหมือนๆกำลังจะเป็นประเด็นดราม่า ดังนี้นะคะ

1. เรื่องการไม่ใส่แมสก์

ขออธิบายด้วยภาพนะคะ จะเห็นได้ว่าภายในงานก่อนที่จะเริ่มมาที่จุดสตาร์ท ผู้ร่วมกิจกรรมสวมแมสก์ตามปรกติ แต่ภาพที่เราเห็นกัน เป็นการถอดมาเพื่อถ่ายภาพที่ระลึกจังหวะก่อนเริ่มออกตัวจากจุดสตาร์ท และพอออกจากจุดสตาร์ทไปแล้ว การเล่นเซิร์ฟสเกตก็ถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่งจึงจำเป็นต้องถอดแมสก์ออกเพื่อระบบการหายใจที่สมบูรณ์ในขณะที่มีอากาศร้อน และการเล่นเซิร์ฟสเกตนั้นในข้อเท็จจริงเราไม่สามารถเล่นในติดกันในระยะประชิดได้อยู่แล้ว เพราะตัวบอร์ดจะไปเกี่ยวกันทำให้เกิดอันตรายได้ ก็ถือเป็นการรักษาระยะห่างไปในตัว อีกทั้งการเล่นเซิร์ฟสเกตนี้เราเล่นอยู่ในสถานที่เปิดที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ใช่สถานที่ปิด และเมื่อกลับถึงเส้นชัยทุกคนก็กลับมาใส่แมสก์กันตามปกติค่ะ

2. เรื่องจำนวนคนและความปลอดภัย

งานนี้ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า จริงๆมีคนต้องการเข้าร่วมงานจำนวนมากแต่เราจำกัดคนตามกฎของ ศบค. ในการจัดงานที่ไม่เกิน 300 คน นอกจากนี้ภายในงานเรายังมีการควบคุมความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนไทยชนะ การคัดกรองวัดอุณหภูมิ และมีจุดวางเจลแอลกอฮอล์ตามคำแนะนำของ ศบค. ทุกอย่าง ทั้งนี้เราเป็นห่วงความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญ เรามีการจัดเตรียมรถพยาบาล และอาสาจราจรตลอดเส้นทาง เพื่อคอยดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงาน และผู้ที่สัญจรไปมา จึงจะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้จึงผ่านไปด้วยดีไม่มีผู้ได้รับอุบัติเหตุใดๆ

สุดท้ายเดียร์หวังว่า การจัดงานกิจกรรมครั้งนี้เริ่มต้นจากความตั้งใจของคนส่วนหนึ่งในสังคมที่มีใจรักในกีฬาเซิร์ฟสเก็ต และอยากให้ออกมาทำกิจกรรมให้เป็นตัวอย่างต่อภาคส่วนอื่นๆที่จะออกมาสร้างกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือสังคมภายใต้กฎระเบียบที่รัฐได้กำหนดไว้อย่างถูกต้องต่อไป

กิจกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นจากคนที่รักในการเล่นกีฬา พวกเราทุกคนทักทายพูดคุยกันโดยไม่รู้ว่าใครทำงานอะไร หรือมีตำแหน่งหน้าที่อะไรในสังคม จึงอยากขอพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่ปลอดเรื่องของการเมืองนะคะ

.

เคลียร์ประเด็นเรียบร้อย แจ่มแจ้งทุกข้อสงสัย หมดข้อสงสัยกันแล้วนะ เหล่าชาวเน็ตทั้งหลาย แต่อีกประเด็นนั้น (อาจจะ) ไม่เกี่ยวกับการจัดงานในครั้งนี้ ก็…ตามนั้นแหละค่ะ

สุดท้ายนี้ก็ดูแลตัวเองในช่วงโควิด-19 กันด้วยนะคะ รอวัคซีนปัง ๆ มา เราก็คงอุ่นใจขึ้นอีกนิดละคะ และถ้าใครที่อยากที่จะลองเล่นเจ้า Surf Skate นี่ล่ะก็ ลองศึกษาวิธีการเล่น ราคาของเจ้าบอร์ด Surf Skate และ อุปกรณ์ป้องกันด้วยนะคะ เพราะกีฬาทุกชนิดก็มีความอันตรายของมันอยู่ ถ้าพลาดเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะไม่คุ้มเสี่ยงเอานะคะ Have a good day ค่ะ


ข้อมูลอ้างอิง

https://siamrath.co.th/n/230967

https://www.zipeventapp.com/blog/2021/03/12/surf-skate-location/

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/929651

https://www.thairath.co.th/news/politic/2059487

https://www.facebook.com/dear.watanya.wongopasi/posts/298935548255742

กระแสมา ราคาโดด กระแสไม่โหลด อ่าว หมดตัณหา !!

Surf Skate เป็นกีฬาบนแผ่นกระดานชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างสเก็ตบอร์ด กับกีฬาเซิร์ฟบอร์ดโต้คลื่นที่เล่นในทะเล ซึ่งการออกแบบแผ่น Surf Skate นั้นก็เพื่อให้เราสามารถเล่นเซิร์ฟในรูปแบบบอร์ดขนาดเล็ก มีล้อเคลื่อนไหว บนบกได้ จนกลายมาเป็น ‘กีฬาเซิร์ฟสเก็ต (Surf Skate)

เจ็ดย่านน้ำ (มีได้หลายความหมาย) ในเรื่อง ‘ Surf Skate … เจ็ดย่านน้ำ’ ขอแทนความหมายว่า มาก มากมาย ทั่วทุกแห่งหน ปฎิเสธไม่ได้...จึงเปรียบเทียบให้เข้ากับยุคในตอนนี้ที่มีกระแสโด่งดังของ Surf Skate ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจริง ๆ พอทราบได้ว่า Surf Skate เข้ามาในช่วงของสถานการณ์ Covid19 เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น จากการที่ผู้คนได้ริเริ่มหาอะไรทำใหม่ ๆ

 โดยเฉพาะบรรดาเหล่าคนดัง ดาราในวงการบันเทิง บางคนเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกเข้ามา ทำให้ผู้คนอีกหลายภาคส่วน ก็หันมาเล่น Surf Skate กันหมด จนตอนนี้เรียกได้ว่าเล่นกันแบบทั่วบ้านทั่วเมือง สิ่งนี้จึงทำให้กลายเป็นเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ กระแสนิยม Surf Skate ซึ่งถือว่าเป็นปรากฎการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในไทย

ในขณะเดียวกันเมื่อมีปรากฎการณ์แบบนี้เกิดขึ้นแล้ว... ไทยแลนด์ โอนลี่ (ไหมหล่ะ) ความต้องการซื้อ Surf Skate ในตลาดพุ่งขึ้นสูงแบบไม่ทันตั้งตัว ทำให้ Surf Skate ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของผู้คนหลายภาคส่วน และนี่คือสิ่งสำคัญที่จะมาพูดถึงในวันนี้ คือ “ กระแสมา ราคาโดด ” เมื่อกระแส Surf Skate กำลังมา ทำให้คนหัวการค้าเห็นช่องทางในการค้าขาย ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้ผู้ขายบางกลุ่ม ทุ่มเงินลงทุนซื้อ Surf Skate หมดตลาด มีเท่าไหร่ลงทุนให้หมด ส่งผลให้สินค้าไม่เพียงพอในการขาย เพราะฉันจะเอามาขายเอง ...สักเท่าไหร่ดี ? แต่ไม่ใช่ทุกคนที่คิดจะหากำไรแบบเป็นธรรม นิด ๆ หน่อย ๆ คนไทยด้วยกันขอกำไรสัก สองร้อย สามร้อย ไม่สิ !! คนไทยด้วยกันขอกำไร ... สักพัน สองพัน สามพันหน่อยนะ ๆ ๆ

ในช่วงเดือนกันยายน 2563 จากความสนใจในกีฬา Surf Skate อยากทำความรู้จัก และอยากเล่นมาก ๆ ผู้เขียน ได้เริ่มศึกษาบ้างแบบคร่าว ๆ เช่น ความเป็นมา ประเภท แบรนด์ รุ่น ราคา ต่าง ๆ ซึ่งช่วงนั้นมีกระแสเริ่มเข้ามาพอสมควรแล้ว และมาเร็วมากเรื่อย ๆ ตอนนั้นตั้งใจว่าอยากได้ Surf Skate สักตัวเป็นของตัวเอง ได้ศึกษาราคาที่สามารถจับต้องได้ แบรนด์ Decathlon เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากมี Shop ให้เลือกซื้อได้ในไทย (ซึ่งอาจจะต่างจากแบรนด์อื่นที่ต้อง Pre Order) และราคาสามารถจับต้องได้ ถ้าเปรียบเทียบกับแบรนด์อื่นราคาอาจจะแตะหมื่น หรือหมื่นขึ้นไป บอร์ดรุ่นนี้ถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสม เป็นที่รู้จัก ซึ่งส่วนใหญ่เรียกกันว่า “บอร์ดนก” เพราะใต้บอร์ดเป็นลายนก

ราคา ณ ตอนนั้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ https://www.decathlon.co.th/th/ อยู่ที่ ราคา 3,400 บาท แต่ทว่าตอนนี้ ราคาก็ยัง 3,400 บาท เหมือนเดิม !! แล้วอะไรเปลี่ยน ? ตอนนี้บอร์ดขาดตลาด ผลิตไม่ทัน แต่ถ้าไม่นับว่าสินค้าขาดตลาด ก็สามารถซื้อสินค้าแบบจำนวนจำกัด ‘1 แผ่น ต่อ 1 สมาชิก’ ในขณะที่ตอนนั้น ยังไม่มีกระแสมาก สามารถกดเลือกซื้อสิ้นค้าใส่ตะกร้าได้เลยหลาย ๆ ชิ้น แล้วถ้าช่องทางที่เป็นทางการของผู้ผลิตโดยตรงนี้ขาดตลาด จะหาซื้อ Surf Skate ได้จากที่ไหน ?

ขออนุญาตเอ่ยถึง Platform Facebook มีกลุ่มซื้อขาย Surf Skate มีสมาชิกในกลุ่มแสนกว่าคนในช่วงเวลาอันสั้น ๆ เดิมทีส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการเล่นสะมากกว่า รู้ตัวอีกทีตอนนี้กลับกลายเป็นว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการโพสต์ขายสินค้า Surf Skate เต็มหน้าฟีดไปสะแล้ว ไม่รู้ตอนไหน แต่สิ่งที่น่าตกใจคือ ราคาที่สูงขึ้นมาก 2 - 3 เท่า จากราคาเดิม ...เปรียบเทียบกับบอร์ดนกเลยแล้วกัน เดิมราคา 3,400 บาท (ขณะที่เว็บไซต์ทางการยังขายในราคาเดิม) แต่กลุ่มใน Facebook ขายอยู่ที่ราคาประมาณ 6,000 - 8,000 บาท และมี Surf Skate รุ่นตัวท็อปของญาญ่า ราคาปกติราคาอยู่ที่ 18,000 บาท แต่ตอนนี้สูงลิ่วอยู่ที่ 40,000 บาท เขาว่ากันว่าเพื่อให้สมกับการที่ ณ ตอนนี้วัตถุมีมูลค่า และหายากในตลาด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ... ผู้บริโภคจับจองกันอย่างไว ราคานี้ฉันก็ยอม แรร์ไอเทม (Rare item) / Limited บลา ๆ ๆ คนซื้อหงาย คนขายรอด

ต้องขนาดไหนถึงยอมซื้อในราคาที่สูงขนาดนั้น ? เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงอาจจะทราบก็ได้ว่าเดิมทีแล้วมันราคาเท่าไหร่บ้าง แต่ก็ยอมที่จะเลือกซื้อ เพราะอยากได้มันมาจริง ๆ แม้ว่าราคาโดดขึ้นมาขนาดนี้

หรืออาจจะเป็นเพราะว่าสิ่งนี้ มันก็คงสร้างมูลค่าให้ตัวมันเองจริง ๆ ใช่หรือไหม หวังว่า จะมีใครที่อยากเล่นเพราะหลงใหลมันจริง ๆ ไม่ใช่ชอบเพราะตามกระแสนิยม แล้วพอหมดความชอบลงก็ปล่อยมันทิ้งไปแบบไม่มีมูลค่า...


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/926899

https://www.decathlon.co.th/th/

รูปภาพจาก Youtube SUNDAY SURF & SKATE https://www.youtube.com/watch?v=Vs1b5cjirXk

‘แก้ม ปุณิกา’ หรือฉายา PUKACHEEK สลัดลุคดีเจสาวสวยสุดคูล สู่การโชว์ลีลาพลิ้วไหวบนเซิร์ฟสเกต เพราะเชื่อว่าการเล่นเซิร์ฟสเกต ใช้ท่วงท่าที่สวยงาม ท้าทายไม่ต่างจากการเปิดเพลงบนเวที

ในยุคนี้คงแทบไม่มีใครไม่รู้จัก Surf Skate (เซิร์ฟสเกต) กีฬาสไตล์เอ็กซ์ตรีมที่กำลังเป็นกระแสมาแรงอย่างมากในไทย ด้วยการผสมผสานระหว่างการเล่นสเกตบอร์ดและการเล่นเซิร์ฟ โดยผู้เล่นจะต้องทรงตัวอยู่บนแผ่นไม้กระดาน บิดสะโพกเพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงในการควบคุมบังคับทิศทาง พร้อมทั้งใช้เทคนิคการถ่ายเทน้ำหนักที่เท้าในการเลี้ยวซ้าย-ขวา ส่งผลให้กีฬาชนิดนี้กลายเป็นความท้าทายใหม่ ที่ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อโชว์ลีลาการเล่นเฉพาะตัว

กระแสที่มาแรงแซงทางโค้งของเซิร์ฟสเกต นี้เอง ทำให้มีผู้คนออกมาฝึกฝนทักษะ โชว์ลีลากันอย่างมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ‘แก้ม ปุณิกา’ หรือที่รู้จักกันในนาม PUKACHEEK ดีเจสาวสวยสุดคูล ที่มีความเชื่อว่าการเล่นเซิร์ฟสเกตใช้ท่วงท่าที่สวยงาม ท้าทายไม่ต่างจากการเปิดเพลงบนเวที 

แนะนำตัวหน่อยค่ะ
: สวัสดีค่ะ เราชื่อแก้ม นะคะ ปุณิกา เกษมจิตต์ อายุ 24 ปี เรียนจบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค่ะ 

ได้ข่าวว่าแก้มเป็นดีเจ?
: ใช่แล้วค่ะ ชื่อเวลาเราเล่นดีเจ จะชื่อ "PUKACHEEK" (ปู-ก้า-ชีค)

จุดเริ่มต้นในการเล่น เซิร์ฟสเกต
: ตอนแรกที่มาเล่นเพราะว่า เห็นว่าเป็นกีฬาที่มีท่วงท่าสวยงาม มีความท้าทายเหมือน ๆ กับตอนที่เราเปิดเพลงเลยแหละ เลยมาลองเล่นดู เลยติดใจค่ะ 

การเล่นสเก็ตท้าทายเหมือนตอนเปิดเพลง? 
: เวลาเล่นสเก็ตความท้าทายก็อยู่ที่การทำท่าใหม่ ๆ ที่ยากขึ้น ต้องใช้ความพยายามและอดทนสู้กับตนเองค่ะ ก็เหมือนกับตอนเปิดเพลงที่เราต้องพยายามทำให้ทุกคนสนุกไปกับเรา 

ฝึกมานานแค่ไหนแล้ว?
: ประมาณ 2 เดือนค่ะ 

ปกติเล่นที่ไหน กับใคร มีกลุ่มประจำไหม?
: ปกติก็จะเล่นที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ค่ะ มีคนเล่นเยอะมาก มีทั้งรุ่นเด็ก รุ่นเพื่อน และผู้ใหญ่ เราว่าอีกอย่างที่ทำให้เรายังเล่น Surf Skate ก็เพราะว่าสังคมที่เราเล่นอบอุ่น อยู่กันแบบครอบครัว มีอะไรก็ช่วยสอน ช่วยแนะนำกันอย่างเต็มใจค่ะ 

แก้มถือว่าเล่นได้ในระดับไหน?
: สำหรับเรา ยังขั้นเริ่มต้นอยู่เลยค่ะ กำลังพยายามอยู่ค่ะ 55555555 

เคยเจ็บตัวบ้างไหม หนักที่สุดคือ?
: เราไม่ค่อยเจ็บตัวหนักมากเท่าไหร่ค่ะ เพราะเวลาเล่นก็จะใส่พวกสนับมือ สนับศอก สนับเข่าแบบจัดเต็ม กลัวเจ็บนั่นแหละ แต่ที่เจ็บก็คงจะเป็นตอนที่เล่นลงเนินละบอร์ดปลิว เลยวิ่งเอาหน้าขาไปรับบอร์ด ขาช้ำหลายวันเลยค่ะ 

เคยมีช่วงที่ถอดใจ ไม่อยากเล่นไหม บอกตัวเองว่ายังไง?
: ก็มีบางวันที่ปวดไปทั้งตัวเลยนะคะ เพราะเวลาเล่น Surf Skate ต้องใช้ทั้งตัวเลย ทั้งช่วงแขน ช่วงเอว ช่วงขา ทุกอย่างต้องสัมพันธ์กัน แต่เราฮึด! ขึ้นมาได้ เอาชนะความเจ็บปวดที่ว่า 'หนามยอกเอาหนามบ่ง' มันก็จะทำให้กล้ามเนื้อเราสร้าง และแข็งแรงขึ้น ทำให้เราทำท่าต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น 
แต่สำหรับคนที่ปวดมาก ๆ จนทนไม่ไหว เราแนะนำให้พักร่างกายก่อนซัก 2-3 วันนะคะ ดีกว่าเจ็บมากกว่าเดิม ละจะอดเล่นไปเลย

ความแตกต่าง ข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ระหว่างผู้หญิง-ผู้ชาย ในการเล่นเซิร์ฟสเกต
: จริง ๆ เราว่ากีฬานี้แต่ละคนอาจจะเล่นออกมาในท่วงท่าที่ไม่เหมือนกัน เพราะด้วยรูปร่างสรีระด้วย ในความคิดของเรา เราคิดว่าผู้ชายอาจจะได้เปรียบในเรื่องของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในการฝึกฝนท่าบน Wave Ramp ได้ง่ายกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงก็จะได้เปรียบในเรื่องความพริ้วไหวเวลาเล่นมากกว่า เพราะว่า Surf Skate เป็นการจำลองการเล่น Surf ในทะเลมาค่ะ 

ความท้าทายในการเล่นเซิร์ฟสเกต
: แก้มคิดว่า ช่วงเวลาของการฝึกฝนท่าใหม่ ๆ ที่มีความยากมากขึ้นค่ะ เวลาทำไม่ได้ก็มีบ้างนะคะที่ท้อ แต่เพื่อความสำเร็จเราต้องสู้ค่ะ เวลาที่เราทำได้แล้ว เราจะมีความภาคภูมิใจในตนเองมาก ๆ เลย 

เสน่ห์ของเซิร์ฟสเกต ในมุมมองของแก้ม
: เสน่ห์ของ Surf Skate แก้มคิดว่า มันคือความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนที่จะมีลีลาที่แตกต่างกันค่ะ 

สิ่งที่ได้จาก เซิร์ฟสเกต
: ข้อแรกเลย คือ ความแข็งแรง เพราะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อมาจริงและมาไว 555555 ส่วนข้อต่อมาก็คงเป็นความสุขที่ทำท่าใหม่ ๆ สำเร็จ ส่วนข้อสุดท้ายก็เป็นการที่ได้ไปเจอผู้คนดี ๆ ได้รับมิตรภาพดี ๆ จากการเล่น Surf Skate ค่ะ 

ให้ฝากถึงคนที่อยากเริ่มเล่นเซิร์ฟสเกต ต้องเตรียมตัวยังไง มีอะไรอยากแนะนำไหม?
: คนที่อยากเริ่มเล่น แก้มอยากให้มาลองเล่นก่อน แล้วจะติดใจ จริง ๆ นะ 5555555 อย่ากลัวที่จะลองอะไรใหม่ ๆ ค่ะ ส่วนถ้าจะเริ่มเล่นแล้วก็อย่าลืมเรื่องความปลอดภัยนะคะ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ เราต้องป้องกันไว้ก่อนค่ะ สู้ ๆ ไปด้วยกันค่ะทุกคน 

ติดตามแก้มผ่านช่องทางไหนได้บ้าง?
: ฝากทุกคนติดตามผลงาน และมาเป็นเพื่อนกับแก้มที่ Instagram @pukacheek ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ ขอบคุณนะคะ 

ถึงแม้จะฝึกเล่น เซิร์ฟสเกต ได้เพียงแค่สองเดือน แต่ลีลาการเล่นของเธอก็นับได้ว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ของแบบนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนและความพยายามอย่างหนัก เชื่อว่าจะได้เห็นแก้มทั้งในบทบาทของดีเจสาวและนักสเกตสาวแสนสวยสุดเท่อย่างแน่นอน! 


ขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ แก้ม ปุณิกา เกษมจิตต์

Surf ไม่ Safe

Surf Skate เล่นไม่ Safe เจ็บจนซี๊ดดดด

.

.

 

‘สงกรานต์นิวนอร์มอล’ บอกลาเมืองแห่งซอมบี้ ต้อนรับประเพณีดั้งเดิมกลับมา

ปีที่แล้ว ไม่มี ‘เทศกาลสงกรานต์’ เพราะโควิด – 19 รุกรานหนักหน่วง รัฐบาลจึงสั่ง Skip สงกรานต์กันไปยาว ๆ สายสาดน้ำ สายปาร์ตี้ ถึงกับเฉา เหมือนชีวิตขาดความเร้าใจไป มาปีนี้หมายมั่นปั้นมือ ขอกลับมา ‘สาดดด!’ กันสักหน่อย ปรากฎว่า เหมือนฉายหนังซ้ำ สถานการณ์กลับมาระบาดหนักอีกระลอก!

เล่นเอาเซ็งเศร้าเหงาเจ็บกันไป จะโทษใครไม่ได้ ต้องโทษเรากันเอง อดถือขันสาดน้ำ ต้องมาตั้งการ์ดกันต่อ แถมเจ้าโควิด – 19 ระลอกนี้ เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ติดเร็วทันใจซะด้วย ถถถถถถ! นังโคขวิด เอ้ย! โควิด แกมาปั่นป่วนเป็นปี ๆ ยังไม่ยอมไปไหนเสียที แถมยังมีหน้ามาแยกแยะเป็นสายพันธุ์นู่นนี่เสียอีก โอ้ย...เบื่อๆ ๆ ๆ  (อยากสาดน้ำ)

สรุปง่าย ๆ สงกรานต์ปี 2564 นี้ จะมีหน้าตาคล้าย ๆ เมื่อปี 2563 กล่าวคือ อยู่บ้านกันเฉย ๆ ไงจะยังไงล่ะ! แถมทางรัฐบาลก็มอบวันหยุดยาวววววว มาให้อี๊ก! งานนี้ทำอะไรดี กิจกรรมไม่มี เวลาเหลือ ๆ ถถถถถถ!

ได้เวลาหยุดพร่ำบ่นล่ะ เอาเป็นว่า ในวิกฤติ ย่อมมีโอกาสเสมอ และในการระบาดของโควิด – 19 ก็มีข้อดีอยู่เช่นกัน อย่างที่เราทราบกันดี ช่วงเวลาการระบาดของเจ้าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ ผู้คนบนโลก หยุดการ ‘ผลาญ’ ทรัพยากรลงไปอย่างมากมาย ในมุมกลับกัน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง

ลองจินตนาการดู จากโลกกลมๆ ที่หมุนเร็วจี๋ กลายเป็นโลกหมุนช้าลง แน่นอนว่า พออะไร ๆ มันลดความเร็ว มันก็ทำให้พวกเราเห็นอะไรได้ ‘ชัดเจน’ ขึ้น ว่าไหมล่ะ?

ยกตัวอย่าง สงกรานต์บ้านเรา พอโควิด – 19 มาเมื่อปีก่อน จากประโยคคลาสิก ‘7 วันอันตราย’ ที่มักได้ยินเป็นประจำในช่วงเทศกาล อ้าว! มันลดความอันตรายลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ 

เครดิตที่มาภาพ: Tero Radio

รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2563 ระหว่างวันที่ 10 - 16 เม.ย.2563 พบว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 1,307 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 1,260 ราย และเสียชีวิต 167 ราย โดยเมื่อเทียบกับสงกรานต์ปี 2562 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุ 3,338 ครั้ง ลดลงไป 2,031 ครั้ง (ร้อยละ 60.84) บาดเจ็บ 3,442 ราย ลดลง 2,182 คน (ร้อยละ 63.39) และเสียชีวิต 386 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว 219 ราย (ร้อยละ 56.74)

หากจะบอกว่า นี่เป็นผลพวงจากโควิด – 19 ระบาด ก็คงไม่ผิดไปนัก ยิ่งหากลงลึกเข้าไปในรายละเอียดของการสูญเสียจากเทศกาลสงกรานต์ สาเหตุหลักที่มีเปอร์เซนต์สูงสุดคือ เมาสุราขาดสติ 

เครดิตที่มาภาพ: Thairath.co.th

สงกรานต์ = เมาสุรา สมการนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรไม่ทราบได้ แต่กลายเป็น ‘ค่านิยม’ ของเทศกาลนี้ไปเสียแล้ว ย้อนกลับไปจุดตั้งต้นของประเพณีนี้กันหน่อย วันสงกรานต์ คือวาระของการเริ่มต้นปีใหม่ สมัยก่อนถูกยกให้เป็นวันปีใหม่ไทย เนื่องจากตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เป็นช่วงเวลาของการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์ จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ (ซึ่งราศีเมษเป็นราศีประจำเมือง) คนไทยโบราณจึงถือเอาช่วงเวลานี้ เป็นการเริ่มต้นปี 

จากประเพณีดั้งเดิม คือการอวยพรโดยใช้ ‘น้ำ’ รดเพื่อความชุ่มชื่นให้กับชีวิต รวมทั้งรดน้ำเพื่อขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ และรวมไปถึงการสรงน้ำพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล เหล่านี้คือออริจินัลประเพณี แต่ผ่านมาถึงจุดนี้ สงกรานต์คือการย้อมสีผม คือการรวมพลชาวแว๊น คือการปะแป้งสาว ๆ คือการปาร์ตี้หัวราน้ำ เรามาไกลจนมีคนเคยนิยามเทศกาลมหาสงกรานต์ของไทยว่า เป็น ‘เมืองแห่งซอมบี้’ ที่ไม่รู้ว่ามีอะไรต่อมิอะไรมารวมตัวกัน แต่ที่รู้แน่ ๆ เรามาไกลจากวันแรกของประเพณีอย่างมาก 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ‘ความรื่นเริง’ เป็นเรื่องไม่ดี แต่อะไรที่ ‘เกินพอดี’ มันจะตามมาด้วยปัญหามากมาย...

อย่างที่เล่าไปตอนต้น โควิด – 19 เข้ามาทำให้โลกที่เคยหมุนเร็ว ๆ ช้าลง ฉันใดฉันนั้น โควิด – 19 ก็เข้ามาทำให้ ‘สงกรานต์ซอมบี้’ หยุดลงเช่นกัน และในเมื่อหยุดแล้ว เราลองมาตรึกตรองกันดูหน่อยไหม ว่าอะไรที่เกินพอดีมานั้น มันส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ประการสำคัญกว่านั้น เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างกลับมาดำเนินได้ต่อไป เราจะ ‘เลือกสงกรานต์’ แบบไหนในอนาคต

มีคนเรียกวิถีหลังโควิด – 19 ว่า นิวนอร์มอล (new normal) แน่นอนว่า เทศกาลสงกรานต์ไทย ๆ ก็เข้าสู่วิถีใหม่เช่นกัน จากนี้ไป เราต้องรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ให้ยืนห่างกัน 1 เมตร ไม่รวมตัวกันหนาแน่น ไม่อยู่ในที่แออัด และต้องไม่ลืมใส่หน้ากากอนามัย จะว่าไป อาจจะไม่ได้เรียกว่าเป็น ‘สงกรานต์นิวนอร์มอล’ หรอก เราแค่กลับไปหา ‘ความพอเหมาะพอดี’ เหมือนที่เคยเป็นมามากกว่า

ถึงตรงนี้ ขอย้อนกลับไปที่ความวุ่นวายใจของใครหลายคนที่ว่า ‘สงกรานต์ทำอะไรดี กิจกรรมไม่มี เวลาเหลือ ๆ’ 

ลองเปลี่ยนมุมที่มองเสียใหม่ ที่ผ่านมา เราอาจทำอะไรต่อมิอะไรเยอะเกินไปแล้วก็ได้ ดังนั้น แค่ทำตัวเองให้ปลอดภัย ก็ดีถมไปแล้วสำหรับสงกรานต์ประจำปี 2564 นี้... 
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top