Tuesday, 30 April 2024
UNESCO

‘สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส’ บุคคลสำคัญของโลกปี 2564 | MEET THE STATES TIMES EP.54

📌 “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส” 
📌 บุคคลสำคัญของโลกปี 2564 ที่ยูเนสโกยกย่อง!! 

👄 ในรายการ MEET THE STATES TIMES ข่าวคุยเพลิน

💻 ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES

.

.

‘ยูเครน’ ดี๊ด๊า!! ประกาศชัยเหนือรัสเซีย หลัง ‘ซุปบอร์ช’ กลายเป็นมรดกของยูเครน

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา องค์การ UNESCO (ยูเนสโก) แห่งสหประชาชาติ ได้ขึ้นทะเบียนซุปผัก ที่เรียกว่า ‘Borscht Soup’ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเครน ต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วน เนื่องจากเหตุปัจจัยจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจทำให้ ซุปบอร์ช ต้นตำรับดั้งเดิมของยูเครนสูญหายไป 

ข่าวนี้สร้างความยินดีแก่ชาวยูเครนเป็นอย่างมาก โดยนาย โอเล็กซานเดอร์ ทคาเชงโก้ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของยูเครนได้ออกมาประกาศว่า “ชัยขนะในสงครามซุปบอร์ชเป็นของพวกเราแล้ว!”

ขณะที่ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ได้ออกมาตอบโต้ว่า ซุปบอร์ชเป็นของรัสเซียและไม่จำเป็นต้องให้ใครมาปกป้อง

สำหรับ ซุปบอร์ช นั้น เป็นซุปผักชนิดหนึ่งที่ทำจากบีทรูท เคี่ยวจนได้เป็นน้ำซุปสีแดงเข้ม แต่บางครั้งก็พบซุปบอร์ชที่ทำจากมันฝรั่ง และกะหล่ำปลี ที่ทำให้น้ำซุปมีสีเขียว หรือขาวได้เช่นกัน มักนิยมบริโภคในกลุ่มประเทศฝั่งยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เคยอยู่ในเครือสหภาพโซเวียต ที่หล่อหลอมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และอาหารการกินซึ่งกันและกัน จนยากที่จะแยกได้อย่างชัดเจนว่าถิ่นกำเนิดที่แท้จริงมาจากไหน 

อย่างไรก็ตาม ซุปบอร์ช ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรงมาหลายปีระหว่างรัสเซีย และยูเครน ที่ต่างก็ต้องการอ้างสิทธิ์ว่าซุปดังกล่าวเป็นอาหารประจำชาติของตน 

โดยยูเครนเคยอ้างสิทธิ์การเป็นต้นกำเนิดของซุปบอร์ช ที่มีแพร่หลายไปทั่วทุกบ้านของชาวยูเครน ที่มีแม้แต่เมืองชื่อ ‘บอร์ช’ และยูเครนยังเป็นแหล่งปลูกบีทรูทที่ใช้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานของการทำซุปบอร์ช และเชื่อว่าซุปบอร์ชเผยแพร่เข้าไปในรัสเซียตั้งแต่ยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการอ้างถึงตำราทำอาหารในยุคสมัยของผู้นำ โจเซฟ สตาลิน ยังเคยเรียกมันว่า ‘ซุปยูเครน’ 

แต่การอ้างอิงต้นกำเนิดของสิ่งใด ด้วยชื่อเมือง หรือความเป็นแหล่งปลูกวัตถุดิบอาจไม่เพียงพอเสมอไป โดยฝ่ายรัสเซียค้านว่า ซุปบอร์ช ก็มีสูตรเฉพาะของรัสเซียเหมือนกัน และมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว และมีประวัติศาสตร์ย้อนไปไกลถึงสมัยยุคกลาง ที่ได้เชื่อว่าเป็นอาหารของชาวบ้านรากหญ้าทั่วไป และมีความผูกพันกับชาวรัสเซียจนสามารถยกให้เป็นอาหารประจำชาติได้ 

'ปราสาทกาซีอันเตป' มรดกยุคโรมันอายุ 2 พันปี พังทลายลงจากเหตุแผ่นดินไหวในตุรเคีย

ภัยพิบัติแผ่นดินไหวระดับรุนแรงมากที่เกิดขึ้นในทางตอนใต้ของประเทศตุรเคียและตอนเหนือของประเทศซีเรีย ซึ่งมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่เมืองกาซีอันเตป (Gaziantep) สร้างความเสียหายใหญ่หลวง อาคารบ้านเรือนทลายลงมาเหลือสภาพเป็นซากปรักหักพัง เศษอิฐซากปูนที่ทับถมกองพะเนินมีครอบครัวของใครบางคนที่รอการค้นพบอยู่ในนั้น โดยไม่ทราบว่าจะพบในสภาพเป็นหรือตาย

ครบหนึ่งสัปดาห์ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรเคียและซีเรีย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 33,000 รายแล้ว และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก คาดก็อาจจะขึ้นไปถึงหลักแสน การค้นหาผู้รอดชีวิตและผู้เสียชีวิตดำเนินไปท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของคนในพื้นที่ ขณะที่อากาศหนาวเหน็บเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร บวกกับความซับซ้อนทางการเมืองของพื้นที่ ทำให้ความช่วยเหลือจากนานาชาติเป็นไปอย่างล่าช้า

ความเสียหายทางด้านวัตถุสิ่งปลูกสร้างนั้น หนักหนากว่าการที่ผู้คนสูญเสียบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เนื่องด้วยประเทศตุรเคียเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมหลายจักรวรรดิสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ตั้งแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรวรรดิไบแซนไทน์ และจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมรดกทางอารยธรรมเหล่านั้นยังหลงเหลืออยู่ให้เห็นหลายแห่งทั่วประเทศตุรเคีย รวมถึงประเทศที่มีพรมแดนติดกันอย่างซีเรีย ซึ่งในอดีตก็เคยเป็นพื้นที่ในจักรวรรดิเดียวกันความเสียหายหรือผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้จึงเกิดขึ้นกับโบราณสถานเหล่านั้นด้วย

ในพื้นที่ประเทศตุรเคียและซีเรียมีโบราณสถานหลายแห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การ เพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ซึ่งตามข่าวที่ยูเนสโกเผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ยูเนสโกเป็นกังวลและได้ร่วมกับพันธมิตรลงพื้นที่สำรวจความเสียหายแล้ว แต่ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีแหล่งมรดกโลกแห่งใดเสียหาย

สำหรับในซีเรีย ยูเนสโกกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมืองโบราณอเลปโป ซึ่งอยู่ในรายชื่อมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย (World Heritage in Danger List) จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่และพันธมิตรพบว่า หอคอยด้านตะวันตกของกำแพงเมืองเก่าและอาคารเก่าหลายแห่งในตลาดได้รับความเสียหาย

ส่วนในตุรเคีย ยูเนสโกบอกว่า “รู้สึกเศร้าใจกับการพังทลายของอาคารหลายแห่งในเมืองดิยาร์บากีร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ‘ป้อมปราการดิยาร์บากีร์ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมสวนเฮฟเซล การ์เดน’ (Diyarbakır Fortress and Hevsel Gardens Cultural Landscape) ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ และจักรวรรดิออตโตมัน”

นอกจากนี้ ยูเนสโกกังวลว่าแหล่งมรดกโลกอื่น ๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาจได้รับผลกระทบด้วย เช่น โกเบคลี เทเป (Göbekli Tepe), เนมรุต ดัก (Nemrut Dağ) และเนินเขาอาร์สลันเตเป (Arslantepe) แม้จะไม่ใช่มรดกโลก แต่โบราณสถานที่เห็นชัดเจนว่าพังเสียหายจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้ คือ 'ปราสาทกาซีอันเตป' (Gaziantep Castle) มรดกอารยธรรมยุคโรมันที่อยู่คู่เมืองนี้มากว่า 2,000 ปี

เมืองกาซีอันเตป (Gaziantep) ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอานาโตเลีย เป็นหนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอาศัยตั้งรกรากต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในยุคจักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1299-1922) เมืองนี้มีชื่อว่า 'แอนเตป' (Antep) ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น 'กาซีอันเตป' (Gaziantep) ในปี 1928 และใช้ชื่อนี้ต่อมาถึงทุกวันนี้

ปราสาทกาซีอันเตปตั้งอยู่ใจกลางเมืองกาซีอันเตป จากการขุดค้นทางโบราณคดีมีหลักฐานว่าปราสาทหินแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นครั้งแรก เพื่อเป็นหอสังเกตการณ์ในสมัยจักรวรรดิโรมัน ในช่วง 2-3 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช และต่อมามีการขยายต่อเติมให้เป็นปราสาทเต็มรูปแบบ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของพิพิธภัณฑ์และแหล่งโบราณคดีในประเทศตุรเคีย ระบุว่ารูปแบบปราสาทที่เห็นในยุคปัจจุบันเป็นรูปแบบที่ต่อเติมปรับปรุงในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในช่วง ค.ศ. 527-565

ครม.ไฟเขียว ชู ‘ผ้าขาวม้า’ ขึ้นทะเบียนยูเนสโก ยกให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

(1 มี.ค. 66) ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบการเสนอผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย ให้เป็นรายการตัวแทนต่อยูเนสโก ตามที่ กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ซึ่งจะมีการยื่นเสนอต่อยูเนสโกภายในห้วงเดือนมีนาคม 2566

ผ้าขาวม้าที่ไทยจะนำเสนอยูเนสโกนั้น จัดเป็น ‘ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย’ ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ใช้โดยทั่วไป และใช้ได้สารพัดประโยชน์ในสังคมเกษตรกรรม ในชนบททางภาคเหนือและภาคอีสาน และก็ได้แพร่หลายไปยังภาคกลางและภาคใต้ ตามการอพยพย้ายถิ่นฐานของผู้คนและกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้เกิดชุมชนทอผ้าขาวม้าเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ สำหรับพื้นที่และขอบเขตอาณาบริเวณ คือ ทั่วประเทศ

แต่จังหวัดที่มีความโดดเด่นของการผลิต และการใช้ประโยชน์ของผ้าขาวม้า แยกตามภาค คือ

ภาคเหนือ : เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์
ภาคอีสาน : นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี
ภาคกลาง : กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สุโขทัย
ภาคใต้ : สงขลา พัทลุง

สำหรับคุณสมบัติของผ้าขาวม้า ที่ตรงตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของ UNESCO ได้แก่

1.) เป็นผ้าที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่อดีต ทั้งในการปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล เช่น ใช้เป็นเครื่องแต่งกาย ผ้าปูโต๊ะ ใช้ในพิธีแต่งงาน พิธีศพ เป็นต้น
2.) เป็นภูมิปัญญาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติเนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและยั่งยืน โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่และใช้หมุนเวียนซึ่งจะเปลี่ยนหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยไปตามสภาพ
3.) เป็นงานช่างฝีมือดั้งเดิมเนื่องจากเป็นผ้าทอพื้นฐานที่ใช้เทคนิคการทอที่ธรรมดาไม่ซับซ้อนจึงสามารถทอใช้กันเองได้ในครัวเรือนและชุมชน

มาตรการสงวนรักษาผ้าขาวม้า ในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ มี 4 แนวทางคือ

1.) โรงเรียนในท้องถิ่นหลายแห่งในไทยได้มีการสอนทอผ้าเป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดของงานหัตถ์ศิลป์ท้องถิ่น

เปิดไทม์ไลน์ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ มรดกโลก แห่งที่ 4 ของไทย

การประกาศขึ้นทะเบียน ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ของไทย  เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา ได้สร้างความปลื้มปีติยินดีแก่คนไทยทั้งประเทศ 

โดยงานนี้ ต้องยอมรับว่า ผลงานจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ได้ผลิดอกออกผลให้คนไทยชื่นใจจริงๆ หลังจากเป็นรัฐบาลของลุงตู่เป็นผู้บุกเบิกยื่นเสนอชื่อ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ เข้าสู่บัญชีพิจารณาแก่ UNESCO

ทั้งนี้ รัฐบาลลุงตู่ได้เสนอเมืองโบราณศรีเทพขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

หลังจากนั้น ได้จัดทำเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ นำส่งยังศูนย์มรดกโลก หรือ UNESCO เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565

ต่อมา สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ส่งผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจประเมินเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อพิจารณาพื้นที่และองค์ประกอบว่าสอดคล้องกับเอกสารหรือไม่ มีคุณค่าสำหรับชาวโลก มากน้อยเพียงใด และสมควรที่ชาวโลกจะช่วยกันอนุรักษ์หรือไม่ เมื่อเดือนกันยายน 2565

จากความพยายามเมื่อปี 2562 มาจนถึงปัจจุบัน ผลของการทำงานตั้งแต่รัฐบาลลุงตู่ ก็ประสบความสำเร็จ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียน ‘อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ’ เป็นแหล่งมรดกโลกภายใต้ชื่อ ‘เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานทวารวดีที่เกี่ยวเนื่อง’ (The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments) นับว่าเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 4 ของประเทศไทย

สรุประยะเวลา กว่าที่ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ จะได้รับเลือกเป็น ‘มรดกโลก’ ต้องผ่านห้วงเวลายาวนานถึง 4 ปี

โดยมีจุดเริ่มต้นจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2562 ไม่ใช่แค่ 2 เดือนตามที่หลายท่านอาจจะเข้าใจกันผิด

‘อ.เจนภพ’ ปลื้มใจ!! ยูเนสโก ยก ‘สุพรรณฯ’ เป็น ‘เมืองสร้างสรรค์ทางดนตรี’ เผย ดีใจที่ได้ช่วยขับเคลื่อนศิลปะเชิงวิชาการ ดัน ‘เพลงลูกทุ่งไทย’ สู่สากล

เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 66 นายเจนภพ จบกระบวนวรรณ นักจดหมายเหตุและนักวิชาการเพลงลูกทุ่งไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า…

“เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ‘ยูเนสโก’ ประกาศผลรับรองเมืองสมาชิกเครือข่ายสร้างสรรค์จาก 55 เมืองทั่วโลก ให้ ‘สุพรรณบุรี’ เป็น ‘เมืองสร้างสรรค์ทางดนตรี’

ในฐานะที่เป็นเข็มหมุดเล็กๆ เล่มหนึ่งที่บุกเบิกริเริ่มในเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ ‘เจนภพ จบกระบวนวรรณ’ ประกาศให้ ‘เมืองสุพรรณบุรี’ เป็น ‘เมืองหลวงของเพลงลูกทุ่งไทย’ มาตั้งหลายสิบปีแล้ว

ผมดีใจ ปลื้มใจ หายเหนื่อยไม่น้อย เมื่อได้ยินข่าวนี้ ต่อไปภายหน้าจะเป็นไปเช่นไร คงต้องเป็นภาระหน้าที่ของคนรุ่นใหม่ๆ แล้วกระมัง คนอย่างเจนภพ บุกเบิกมาได้เท่านี้ก็น่าดีใจแล้ว…”

“เมื่อราวๆ วันที่ 3-5 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ผมไม่แน่ใจว่าจะยังมีใครจำได้บ้างหรือเปล่า ว่ามีงาน ‘วิถีคนเมืองเหน่อ’ จัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี และงานนี้นี่เองที่ ผม - เจนภพ จบกระบวนวรรณ ได้นำเสนอ ‘มหกรรมลูกทุ่งเลือดสุพรรณ มหัศจรรย์คนเสียงเหน่อ’ ผมกราบเรียนเชิญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ขวัญจิต ศรีประจันต์, ศรเพชร ศรสุพรรณ, สุรชาติ สมบัติเจริญ, สลักจิต ดวงจันทร์, เสมา ทองคำ, เด่นชัย สายสุพรรณ, อัมพร แหวนเพชร, โสนน้อย เมืองสุพรรณ, นงเยาว์ ดาวสุพรรณ, แสงจันทร์ ดาวลอย, นพพร เมืองสุพรรณ, จ่อย ไมค์ทองคำ, แพรวา พัชรี, ศรศรี คีรีพันธุ์ ฯลฯ ขึ้นเวทีแสดงศักยภาพของนักร้องเมืองสุพรรณอย่างเต็มที่

แต่ครั้งกระนั้น ยังเป็นเรื่องของการรวบรวมเอานักร้องสายเลือดสุพรรณเป็นหลัก ยังไม่ได้ลงลึกในเชิงวิชาการสักเท่าไหร่”

“ถ้าท่านจำได้ เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 ปีเดียวกัน ผมนำเสนอ ‘มหกรรมเพลงนครปฐม’ ที่สถาบันศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา และครั้งกระนั้น คือ งานแสดงดนตรีลูกทุ่งเชิงวิชาการครั้งแรกในเมืองไทย ที่ผมภาคภูมิใจนำเสนอแนวคิดนี้ ถ้าถามผม ผมก็อยากจะทำงานเชิงวิชาการบันเทิงศิลปะอย่างนี้ให้สัญจรไปทุกจังหวัด แล้วแต่โอกาสวาสนาจะเอื้ออำนวย

วันนี้ ผมดีใจกับสุพรรณบุรีที่ได้รับการยกย่องให้เป็น ‘เมืองสร้างสรรค์ทางดนตรี’ ของ องค์การยูเนสโก และผมก็คาดหวังว่า นับจากนี้ไปน่าจะมีงานดนตรีเชิงสร้างสรรค์ดีๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย”

“ถ้าไม่รังเกียจความคิดของผม ผมก็อยากจะเสนอแนวคิดงานเชิงวิชาการแบบเจนภพด้วย นั่นคือ ‘มหกรรมเพลงสุพรรณบุรี’ จะเป็นเช่นไร จะเป็นไปได้แค่ไหน ลองฟังรายการ ‘ข้าวเกรียบเพลงเก่า’ ทางช่องยูทูบเสียงศิลปิน บ่ายวันนี้ (6 พ.ย.) ดูก่อนก็ได้ครับ ถูกใจ ถูกต้อง ชอบธรรมแล้วก็ค่อยสนับสนุน แต่หากไม่ใช่ก็ลืมๆ ไปเสียก็ได้ แค่ความคิดของศิลปินแก่ๆ คนหนึ่งก็เท่านั้นเอง”

‘ไทย’ เล็ง ดัน ‘ประเพณีสงกรานต์’ สู่งานเทศกาลระดับโลก หลัง ‘ยูเนสโก’ ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

(8 ธ.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, กรุงเทพฯ รายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา ไทยจัดงานเฉลิมฉลองในกรุงเทพฯ เนื่องในโอกาสที่วันสงกรานต์ หรือเทศกาลวันขึ้นปีใหม่แบบดั้งเดิมของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) โดยไทยพร้อมส่งเสริมเทศกาลนี้ให้กลายเป็นงานระดับโลก เพื่อดึงดูดผู้มาเยือนและกระตุ้นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทย กล่าวในงานเฉลิมฉลองว่าการขึ้นทะเบียน เมื่อวันพุธที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นของขวัญล้ำค่าที่นำมาซึ่งความภาคภูมิใจและเกียรติยศ รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ พร้อมเปิดโอกาสเท่าเทียม ให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้ร่วมเฉลิมฉลองทั่วประเทศ

แถลงการณ์จากรัฐบาลระบุว่า ไทยกำลังวางแผนจัดงานขนาดใหญ่หลายรายการสำหรับการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ประจำปีซึ่งตรงกับเดือนเมษายน ภายใต้ความพยายามส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ด้านวัฒนธรรม โดยนอกเหนือจากกิจกรรมสาดน้ำแบบดั้งเดิมแล้ว เทศกาลนี้ยังจะประกอบด้วยสิ่งดึงดูดมากมาย อาทิ เทศกาลต่างๆ ดนตรี อาหาร ศิลปะ และงานด้านวัฒนธรรม

อนึ่ง เทศกาลสงกรานต์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ลำดับที่สี่ของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนบนบัญชีของยูเนสโก ตามหลังละครโขน การนวดแผนไทย และรำโนรา

‘เมืองโบราณศรีเทพ’ มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ของไทย

การประกาศขึ้นทะเบียน ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ของไทย  เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 66 ที่ผ่านมา ได้สร้างความปลื้มปีติยินดีแก่คนไทยทั้งประเทศ 

โดยความภาคภูมิใจนี้ เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ที่เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของเมืองโบราณศรีเทพ จึงได้เสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 

โดยขอขึ้นทะเบียน เมืองโบราณศรีเทพ และแหล่งต่อเนื่อง จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่…

>> เมืองโบราณศรีเทพ
>> โบราณสถานเขาคลังนอก
>> โบราณสถานถ้ำเขาถมอรัตน์

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ได้จัดทำเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกฉบับสมบูรณ์แล้วเสร็จ นำส่งยังศูนย์มรดกโลก หรือ UNESCO 

หลังจากนั้น สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ส่งผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจประเมินเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อพิจารณาพื้นที่และองค์ประกอบว่าสอดคล้องกับเอกสารหรือไม่ มีคุณค่าสำหรับชาวโลก มากน้อยเพียงใด และสมควรที่ชาวโลกจะช่วยกันอนุรักษ์หรือไม่ เมื่อเดือนกันยายน 2565

จากความพยายามเมื่อปี 2562 มาจนถึงปัจจุบัน ผลของการทำงานตั้งแต่รัฐบาลลุงตู่ ก็ประสบความสำเร็จ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียน ‘อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ’ เป็นแหล่งมรดกโลกภายใต้ชื่อ ‘เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานทวารวดีที่เกี่ยวเนื่อง’ (The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments) นับว่าเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 4 ของประเทศไทย

ระยะเวลากว่าที่ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ จะได้รับเลือกเป็น ‘มรดกโลก’ ต้องผ่านห้วงเวลายาวนานถึง 4 ปี

สำหรับประวัติของเมืองโบราณศรีเทพ ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2447 หรือประมาณ 118 ปีที่ผ่านมา ‘สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ’ ทรงค้นพบเมืองโบราณศรีเทพ ที่ถูกทิ้งร้างอยู่กลางป่า โดยแต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า ‘เมืองอภัยสาลี’ ต่อมา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พบเมืองโบราณขนาดใหญ่ใกล้กับเมืองวิเชียรบุรี ซึ่งเมืองวิเชียรบุรีนั้น มีชื่อเดิมว่า ‘เมืองท่าโรง’ และ ‘เมืองศรีเทพ’ จึงทรงมีพระวินิจฉัยว่า ชื่อเมืองโบราณแห่งนี้ น่าจะเป็นต้นเค้าของการเรียกชื่อเดิมของเมืองวิเชียรบุรีว่า ‘เมืองศรีเทพ’

ต่อมากรมศิลปากร ได้ทำการสำรวจขึ้นทะเบียนอนุรักษ์และพัฒนา จนกระทั่งจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2527 ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ได้มีการศึกษาวิจัย โดยนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ จึงมอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณศรีเทพอย่างต่อเนื่อง

ไม่เพียงเท่านี้ ปัจจุบันประเทศไทย ยังได้นำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อขึ้นบัญชีเบื้องต้นแหล่งมรดกโลก (Tentative List) ซึ่งคาดว่าจะเข้าที่ประชุมมรดกโลกของยูเนสโกในปี 2567 อีกด้วย อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี

ก็หวังว่าจะได้ยินข่าวดีอีกครั้งในเร็ววัน!!

#เหตุการณ์ที่ต้องจำ

‘วธ.’ ลุ้น!! ‘ภูพระบาท’ เตรียมเข้าสู่วาระบอร์ดมรดกโลกกลางปีนี้ หวัง ‘ยูเนสโก’ ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 67 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อเร็วๆ นี้ รับทราบความคืบหน้าการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ซึ่งได้รับการบรรจุชื่อในบัญชีชั่วคราว (Tentative List) ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี หลังจากที่กรมศิลปากรจัดส่งเอกสารนำเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฉบับสมบูรณ์ ไปยังศูนย์มรดกโลกของยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสแล้ว อาจเข้าสู่การพิจารณาในวาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ในช่วงกลางปี 2567

รัฐมนตรีว่าการ วธ.กล่าวต่อว่า ส่วนแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่ได้รับการบรรจุชื่อในบัญชีชั่วคราวของยูเนสโก ได้แก่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช, พระธาตุพนม จ.นครพนม และแหล่งอนุสรณ์สถาน แหล่งและภูมิทัศน์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ศูนย์กลางล้านนา จ.เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ตามเกณฑ์ที่ยูเนสโกกำหนด ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอยู่ในบัญชีเบื้องต้นมากว่า 6-10 ปี ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีข้อแนะนำให้ทั้ง 3 จังหวัดปรับปรุงเนื้อหาของเอกสารให้ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน

เนื่องจากช่วงหลายปีที่ผ่านมาอาจจะมีข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการได้พิจารณาเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีชั่วคราว ของยูเนสโก หากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใดปรับปรุงเอกสารแล้วเสร็จสมบูรณ์ และผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการแล้ว ก็จะนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทันที

“นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรายงานจากกรมศิลปากร ภายหลัง ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม จะต้องส่งรายงานการดำเนินงานของเมืองโบราณศรีเทพเสนอต่อยูเนสโก ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2567

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ‘เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวเนื่อง’ จ.เพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลก ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม รวม 4 แห่ง ได้แก่ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา, เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์” นายเสริมศักดิ์กล่าว

‘ยูเนสโก’ มอบประกาศนียบัตร ‘ประเพณีสงกรานต์’ ของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 67 นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ตามที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ‘ยูเนสโก’ ประกาศขึ้นทะเบียน ‘สงกรานต์ในประเทศไทย’ เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ ยูเนสโกได้มอบประกาศนียบัตร (Certificate) เพื่อรับรองประกาศขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการให้แก่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนี้ สวธ.เตรียมการขับเคลื่อนกิจกรรมสงกรานต์ในประเทศไทยไปพร้อมกัน

“สงกรานต์เป็นประเพณีปีใหม่ไทยที่เฉลิมฉลองในช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งได้รับการถือปฏิบัติและสืบทอดอย่างยาวนาน ประเพณีอันงดงามและมีความหมายสะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูของคนไทยที่มีต่อบรรพบุรุษ ความเอื้ออาทรและความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ประเพณีสงกรานต์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ รดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้เคารพนับถือ จัดขบวนแห่ของชุมชนที่แสดงถึงตำนานสงกรานต์ จัดละครพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ การละเล่น และการแสดงต่างๆ เป็นต้น

“การได้รับประกาศขึ้นทะเบียนครั้งนี้นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งโดย ในปี 2567 จะมีจัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานมหาสงกรานต์ คงเนื้อหาในการเผยแพร่สาระคุณค่า สร้างการรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ตระหนักถึงความสำคัญตามขนบประเพณีของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ โดยเตรียมจัดโครงการ ‘World Songkran Festival : ประเพณีสงกรานต์ไทย หมุดหมายนักท่องเที่ยวทั่วโลก’ ดำเนินงานผ่านเครือข่ายวัฒนธรรม 76 จังหวัดทั่วประเทศ และ 50 เขต ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1-21 เมษายน 2567” นายโกวิทกล่าว

อธิบดี สวธ.กล่าวต่อว่า โอกาสนี้ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนไทย ชาวต่างชาติ ร่วมสืบสาน รักษา ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาประเพณีสงกรานต์อันทรงคุณค่าของไทยให้เกิดการสืบทอดอย่างยั่งยืน และใช้เป็นพลัง Soft power ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top