โดยพรรคการเมืองเลือดใหม่นี้ถูกจุดขึ้นจากอุดมการณ์ของ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" อดีตผู้บริการเครือไทยซัมมิท ที่ต้องการเปลี่ยนหน้าการเมืองไทยให้สะเทือน
หากมองย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของ ‘ธนาธร’ ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่เกมการเมืองอย่างเต็มตัวในปี 2561 เขาคือรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มไทยซัมมิท ธุรกิจของครอบครัว ตั้งแต่ปี 2545 เป็นเวลาร่วม 16 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าบริษัทผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศ
เจาะลึกถึงขุมทรัพย์ ‘ไทยซัมมิท’ ของครอบครัว ‘จึงรุ่งเรืองกิจ’ ที่ปัจจุบันมี สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ แม่ของธนาธร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
หลังจากพ่อของธนาธร หรือนายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ เสียชีวิต ธนาธร จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยแม่บริหารธุรกิจ พร้อมน้อง ๆ อีก 3 คนถือหุ้นที่เหลือและร่วมบริหาร ด้วยประสบการณ์การบริหาร ความไว้วางใจกับคู่ค้า และอีกหลายๆ เหตุผลทำให้ไทยซัมมิท สามารถทำรายได้เติบโตต่อเนื่อง จากหลักพันล้าน สู่หมื่นล้าน และหลายหมื่นล้าน (80,000 ล้านบาท) อย่างในปัจจุบัน
มีธุรกิจในเครือข่ายทั้งอดีตและปัจจุบันราว 102 บริษัท โดยบริษัทที่ 'ธนาธร' เคยเป็นกรรมการมีอยู่ประมาณ 60 บริษัท และในจำนวนนี้ ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่ามีบริษัทที่ยังดำเนินการอยู่ราว 25 บริษัท
นอกเหนือจากธุรกิจใจครอบครัว ธนาธร ยังเคยนั่งตำแหน่งกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเครือญาติเข้าไปถือหุ้นในบริษัทมติชน ตั้งแต่ปี 2556 ต่อมา 14 มี.ค.2561 มติชนแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ธนาธร ได้ลาออกจากตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อย
อีกหนึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องและเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างมากคือ การถือ "หุ้นวี - ลัค" หรือหุ้นบริษัท วี - ลัค มีเดีย จำกัด (มหาชน) ของธนาธร ที่เข้าข่าย เข้าข่ายเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เนื่องจากถือหุ้นในธุรกิจสื่อ
ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้พิจารณาว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากถือหุ้นสื่อ บริษัทวี - ลัค
แม้ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการบริหารธุรกิจครอบครัวเพื่อความมั่งคั่งจะยังไปได้สวย แต่ตลอดระยะเวลาที่นั่งตำแหน่งบริหารธุรกิจ 'ธนาธร' ยังคงตั้งเป้าเดินตามอุดมการณ์ทางการเมืองของตัวเอง ที่เป็นเรื่องที่สนใจตั้งแต่สมัยเรียน และอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในการเมืองไทย
ทำให้ ธนาธร ขอพ้นจากทุกตำแหน่งในบริษัทเครือไทยซัมมิท ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา เพื่อลุยการเมืองเต็มตัวภายใต้ พรรคอนาคตใหม่ ในฐานะ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ อย่างเป็นทางการ
แน่นอนว่า เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หรืออาจจะไม่มีกลีบกุหลาบในเส้นทางการเมือง เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาธร ยังคงต้องรับมือกับจุดเปลี่ยนผ่านที่คาบเกี่ยวระหว่างการเป็น ‘นักธุรกิจ’ สู่ ‘นักการเมือง’ อย่างเต็มตัว ที่ต้องรุกไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองและพรรคอนาคตใหม่วางเอาไว้ และต้องตั้งรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิดด้วยเช่นกัน
หนึ่งในนั้นคือวันศุกร์ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยคดีเงินกู้พรรคอนาคตใหม่ โดยมีคำวินิจฉัยขององค์คณะตุลาการ ได้มีมติสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตามมาตรา 92 ในคดีกู้เงิน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค จำนวน 191.2 ล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญและ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหาร และ ห้ามจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ เป็นเวลา 10 ปี ตามมาตรา 94
หลังจากสิ้นสุดสถานะการเป็นพรรคการเมืองของอนาคตใหม่ ก็เกิดเมล็ดพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า 'ก้าวไกล' ขึ้นมาทดแทน
จากวันนั้นประเทศไทย ก็เริ่มเข้าสู่บรรยากาศแห่งการแตกแยกอีกครั้ง และเกิดกลุ่มม็อบหลากคอนเซ็ปต์ ทั้งคณะราฎร ปลดแอก และอีกมากมาย ที่เดินตามแนวทางของ ธนาธร
เป้าหมายชัด ไม่ใช่แค่ซัดรัฐบาลหรือลุงตู่ให้ร่วง ผ่านพลังของคนรุ่นใหม่ แต่ดูจะเหนือกว่านั้น จนวันนี้ไม่แน่ใจว่าเขาจะหาทางลงที่สวยงามได้รึเปล่า ในสถานการณ์ที่ดูเหมือน
เป็นรองลงไปทุกวัน...