Monday, 17 June 2024
News

‘ดร.นฤมล’ รมช.แรงงาน เร่งอัพสกิลดิจิทัลให้ข้าราชการ รับนโยบายรัฐบาลดิจิทัล จัด 4 หลักสูตร 1,200 คน เริ่มกลางเดือน ก.ค. นี้

วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อปรับเปลี่ยนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ให้ภาครัฐมีบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสมและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล รวมถึงปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความพร้อมในการปฏิบัติงานโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน โดยสำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก ได้จัดโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับบุคลกรกรมพัฒนาฝีมือแรงงานปีงบประมาณ 2564 เพื่อพัฒนาบุคลกรฝึกรวมถึงเจ้าหน้าที่ของ กพร. ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น สามารถทำงานในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,200 คน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2564 ณ หน่วยงานของ กพร. ซึ่งหากผลการอบรมมีประสิทธิภาพสูงจะได้ขยายผลสู่ภาคแรงงานต่อไป

สำหรับหลักสูตรในโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระยะเวลาฝึกอบรม 18 ชั่วโมง จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 100 คน รวม 300 คน เริ่มอบรมรุ่นแรกวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 หลักสูตรผู้จัดการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระยะเวลาฝึกอบรม 18 ชั่วโมง จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 100 คน รวม 300 คน เริ่มอบรมรุ่นแรกวันที่ 2 สิงหาคม 2564 หลักสูตรการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ระยะเวลาฝึกอบรม 12 ชั่วโมง จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 100 คนรวม 300 คน เริ่มอบรมรุ่นแรกวันที่ 5 สิงหาคม 2564 และหลักสูตรการจัดการเว็บไซต์หน่วยงาน ระยะเวลาฝึกอบรม 12 ชั่วโมง จำนวน 3 รุ่น ๆ ละ 100 คน รวม 300 คน เริ่มอบรมรุ่นแรกวันที่ 16 สิงหาคม 2564

ด้านนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า กพร. มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาบุคลากรของกรม เพื่อรองรับรองนโยบายของรัฐบาลสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล รวมถึงนโยบายของ รมช. แรงงาน ที่ได้เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาทักษะดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อการทำงานทั้งปัจจุบันและอนาคต

"BLUETECH CITY" บริจาคน้ำดื่มให้ พมจ.สมุทรปราการ เพื่อนำไปช่วยผู้ประสบอัคคีภัย คนพิการ คนด้อยโอกาส และคนยากไร้

วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 โครงการจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรม ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ (ฉะเชิงเทรา) ได้มอบน้ำดื่ม จำนวน 100 แพ็ค ให้กับ "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย "นายโกสินธ์ จินาอ่อน" บรรณาธิการ ภูมิภาค/อาชญากรรม THE  STATES TIMES "นายณัฐวุฒิ เหมือนเพชร" ผู้อำนวยการใหญ่(หนังสือพิมพ์สยามโฟกัสไทม์) จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำไปบริจาคต่อยัง "นางภิญญา จำรูญศาสน์" พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ นำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน คนพิการ คนยากไร้ และคนด้อยโอกาส

สืบเนื่องจากมีเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานในตำบลกิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และส่งผลกระทบปัญหาในหลาย ๆ ด้านกับพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ ณ.บริเวณโดยรอบของบริษัทที่เกิดเหตุ และต้องย้ายถึงฐานไปพักอาศัยอยู่ ณ สถานที่บรรเทาทุกข์ที่ทางภาครัฐจัดให้อยู่ชั่วคราว

ทางโครงการฯ จึงได้ประสานงานมายัง "นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย" เพื่อนำส่งต่อไปช่วยเหลือกับพี่น้องประชาชนเป็นการบรรเทาทุกข์เบื้องต้นและร่วมด้วยช่วยกัน "คนละไม้ คนละมือ" ต่อไป

ในการนี้ "นายพิชิตเวธน์ คำเด่นเหล็ก"นักพัฒนาสังคมชำนาญการหัวหน้าฝ่ายบริหารสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ เป็นตัวแทนรับมอบน้ำดื่ม และกล่าวขอบคุณทางโครงการ ฯ และ "คณะผู้นำ" น้ำดื่มมาจัดส่งให้ในวันนี้ทางเราจะนำน้ำดื่มที่ได้รับมอบมานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ ต่อไป

‘ดร.นฤมล’ เคาะแผนการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการ สู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ

รมช.แรงงาน ขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เน้นย้ำ แรงงานทุกกลุ่มต้องได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเท่าเทียมกัน

วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ ครั้งที่ 3/2564 โดยมีหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล รองปลัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมการประชุม และนายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำหน้าที่เลขานุการ ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กร สมาคมคนพิการ เพื่อบูรณาการการทำงานของแต่ละหน่วยงานในการพัฒนาทักษะฝีมือและส่งเสริมการประกอบอาชีพคนพิการ ให้คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และผู้ช่วยคนพิการได้เข้าถึงการพัฒนาทักษะฝีมือ โดยได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ (พ.ศ. 2564-2570) รวมทั้งสิ้น 69 โครงการ เป้าหมายกว่า 2 แสนคน ภายใต้งบประมาณกว่า 14 ล้านบาท ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาทักษะคนพิการ จำนวน 41 โครงการ ด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพและการจ้างงานคนพิการ จำนวน 25 โครงการ และด้านการพัฒนาศักยภาพคนพิการผ่านการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงาน จำนวน 3 โครงการ

นอกจากนี้ ยังได้สร้างแนวทางการจัดให้มีเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมกลุ่มเปราะบาง โดยความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจ้างงานนักกีฬาคนพิการอีกด้วย

รมช. แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณารายละเอียดแนวทางส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาหลักสูตรอบรมคนพิการเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ ไม่ว่าจะเป็นการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพ โดยนำหลักสูตรของการพัฒนาฝีมือแรงงานมาเป็นกรอบการจัดทำการฝึกอบรมระยะสั้น ระยะกลาง สำหรับคนพิการแต่ละประเภท และให้องค์กรคนพิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอใช้หลักสูตรได้ เพื่อให้สามารถนำวุฒิบัตรที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานไปขอกู้เงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เสนอให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดทำหลักสูตรกลาง สำหรับการอบรมตามมาตรา 35 ของ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และอนุมัติให้สถานประกอบกิจการ ชมรมหรือองค์กรคนพิการ นำหลักสูตรกลางไปจัดฝึกอบรมคนพิการแต่ละประเภทตามมาตรา 35 รวมถึงให้มีการเทียบโอนคุณวุฒิ หรือประเมินทักษะอาชีพ หรือการทำงานต่อไป

“ขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันระดมพลังความคิด แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนแนวทางการทำงานแก่พี่น้องประชาชนกลุ่มคนพิการ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีศักยภาพและเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แล้วเราจะก้าวข้ามวิกฤติในช่วงนี้ไปด้วยกัน” รมช. แรงงาน กล่าวทิ้งท้าย

'พรรคกล้า' ชี้ !! พบปัญหาชาวบ้านต่อคิวข้ามวันข้ามคืน ซ้ำพบซื้อ-ขายคิว วอนหน่วยงานฯ เร่งแก้ไขวิธีจัดการคิวโดยด่วน

เอกชัย ผ่องจิตร์ เลขานุการ กลุ่ม กทม.พรรคกล้า หรือ โอเล่ แสดงความชื่นชมผู้ว่าฯ อัศวิน ที่เปิดศูนย์ตรวจโควิด-19 เชิงรุกทั่วกรุงเทพฯ แต่เป็นห่วงในเรื่องของการจัดการเช่นกัน

ขณะนี้การตรวจของแต่ละศูนย์ยังจำกัดจำนวนของผู้เข้ารับการตรวจต่อวัน ซึ่งไม่มีการแจ้ง หรือประชาสัมพันธ์ให้ผู้เข้ารับการตรวจ และพี่น้องประชาชนทั่วไปให้ทราบ ว่าต่อวันตรวจได้จำนวนเท่าไร

บางศูนย์ฯ 900 คนต่อวัน บางศูนย์ฯ 600 คนต่อวัน แต่ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือ การที่ได้เห็นพี่น้องประชาชนมารอต่อคิวกันตั้งแต่ ก่อนเวลาตรวจ บางรายมารอตั้งแต่ 1 ทุ่ม บางรายมารอตี 2 ก่อนที่ศูนย์ฯ จะเปิดให้ทำการในเวลา 08.00 น. ของอีกวัน แต่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ขณะนี้มีการซื้อขายคิว เพื่อได้รับการตรวจกันแล้ว ในราคา 200 – 500 บาท

"ผมขอเสนอแนวทางการจัดการ คือ พี่น้องประชาชนสามารถมารับบัตรคิวก่อนล่วงหน้า และในบัตรคิวนั้นให้ระบุ วัน เวลา ที่ได้รับการตรวจไว้เลย เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างที่กล่าวมาข้างต้นที่พี่น้องประชาชนต้องมารอคิวกันแบบข้ามวันข้ามคืน และตัดวงจร ธุรกิจที่ ซื้อ ขายคิวตรวจได้ด้วย เพราะสถานการณ์แบบนี้ทุกคนต้องร่วมมือกัน คนละไม้คนละมือ และต้องผ่านไปด้วยกันให้ได้" นายเอกชัย กล่าว

'เฉลิมชัย' สั่งฟรุ้ทบอร์ด (Fruit Board) ลุย 'ผลไม้ใต้-ลำไยเหนือ' 1.5 ล้านตัน ฝ่าวิกฤตโควิด-19

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้​ (ฟรุ้ทบอร์ด-Fruit Board) เปิดเผยวันนี้​ (12 ก.ค.) ว่า ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ, กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการคพจ. (คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด) ซึ่งเป็นกลไกแกนหลักของ

ฟรุ้ทบอร์ด​ เร่งทำงานเชิงรุกดูแลผลไม้ภาคใต้และลำไยภาคเหนือภายใต้แผนปฏิบัติการปี 2564​ ของฟรุ้ทบอร์ด​ โดยเฉพาะในช่วงพีคของฤดูกาลผลิตปีนี้​ ด้วยการเน้นขับเคลื่อนแผนการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้ให้ใช้แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกที่เพิ่งผ่านมาเป็นตัวอย่าง​ ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจทั้งเรื่องราคาและตลาดจากการทำงานเชิงรุกและเพิ่มกลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ​ เช่นระบบสั่งซื้อล่วงหน้า​ (Pre-order) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในการส่งออกทุเรียนไปตลาดจีน​ ที่ถือเป็นตลาดฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19​ เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้การเน้นย้ำเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของผลไม้ให้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ ตนเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 4/2564 ผ่านระบบ ZOOM ล่าสุดร่วมกับ​ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวแทนเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการพิจารณาประเด็นสำคัญ อาทิ...

- การเพิ่มครัวเรือนเป้าหมายโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563

- ผลการบริหารจัดการผลไม้ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม - มิถุนายน) ในพื้นที่ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) และภาคตะวันออก (ทุเรียน, มังคุด, เงาะ, ลองกอง)

- การประเมินสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2564 (ภาคเหนือ และภาคใต้) และได้เห็นชอบแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564 แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 และการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหามะม่วงของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดชัยภูมิ

ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ดูแลตามห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Value chain) ตามพื้นที่การผลิต (Areas -Products base) และคณะทำงานด้านระบบข้อมูลโลจิสติกส์ และคณะศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าเช่นลำไย อีกด้วย

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า สำหรับโครงการเยียวยาชาวสวนลำไย ฤดูกาลผลิตปี 2563 ได้ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โอนเงินให้เกษตรกร ที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติม จำนวน 154 ราย ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรจำนวน 201,986 ราย ได้รับเงินเยียวยากว่า​2,858,355,450 บาท แล้ว

ส่วนผลการบริหารจัดการผลไม้ ฤดูกาลผลิตที่ 1/2564 (มีนาคม - มิถุนายน) ภาคเหนือ ผลผลิตลิ้นจี่ มีปริมาณผลผลิตทั้งหมด 27,952 ตัน ในภาพรวมส่วนใหญ่มีการบริโภคในประเทศ 23,620 ตัน หรือร้อยละ 84.51 แปรรูป 2,131 ตัน หรือร้อยละ 7.62 และ ส่งออก 2,201 ตันหรือร้อยละ 7.87 ในส่วนของภาคตะวันออก ที่มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 900,126 ตัน ประกอบด้วย ทุเรียน 575,542 ตัน มังคุด 106,796 ตัน เงาะ 197,708 ตัน และลองกอง 20,080 ตัน มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วรวมทั้งหมด 830,870 ตัน คิดเป็นร้อยละ 92.31 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2564) ซึ่งขณะนี้ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาล โดยมีการเน้นการป้องปรามทุเรียนอ่อน โดยจังหวัดได้กำหนดมาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมและป้องกันทุเรียนอ่อนไม่ให้ออกนอกแหล่งผลิต ด้วยการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจเพื่อช่วยสกัดกั้นทุเรียนอ่อน โดยใช้บทลงโทษทางกฎหมาย

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่ การเชื่อมโยงตลาด ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีโดย​ AIC และหน่วยงานส่งเสริมต่าง ๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลไม้และผลไม้อัตลักษณ์ตลอดจนการจัดทำแปลงเรียนรู้การส่งเสริมการผลิตตามระบบมาตรฐาน GAP และ GI การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งขององค์กรตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ สหกรณ์ และศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน การตรวจสอบย้อนกลับโดยใช้ QR Code เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมหารือแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2564-2565 มีการประเมินผลผลิตที่ 683,435 ตัน ใช้บริโภคสดภายในประเทศ 101,543 ตัน แปรรูป 438,420 ตัน ส่งออก 143,472 ตัน โดยขณะนี้ราคาลำไยสดช่อเกรด AA เท่ากับ 32 บาท/กิโลกรัม เกรด AA+A เท่ากับ 31 บาท/กิโลกรัม โดยกระจายผลผลิตผ่านล้งภายในประเทศ วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ห้าง Modern Trade ระบบของไปรษณีย์ไทย การตลาดออนไลน์และตลาดค้าผลไม้ภายในจังหวัด การจัดจำหน่ายตรงผู้บริโภค การบริโภคในครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้เร่งรัดดำเนินการด้านแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2564 รวมปริมาณทั้งสิ้น 824,728 ตัน โดยเป็นทุเรียน 554,459 ตัน มังคุด 165,838 ตัน เงาะ 62,510 ตัน ลองกอง 41,921 ตัน ซึ่งจะมีแนวทางการกำกับ ติดตาม เฝ้าระวังช่วงปริมาณผลผลิตออกมาก (Peak) ปี 2564 และแจ้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.)บริหารจัดการเชิงรุกผลไม้ในพื้นที่พร้อมกำกับดูแลในพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนแรงงานและราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงผลผลิตออกปริมาณมาก (Peak) ตามนโยบายของรัฐมนตรีเกษตรฯ

“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้รับผลกระทบ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยกับชาวสวนมะม่วงที่ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับชาวนา และชาวสวนลำไย โดยเสนอขอชดเชยไร่ละ 2,000 บาท คนละไม่เกิน 25 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 50,000 บาท และการพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ตกต่ำในพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 8,920 ครัวเรือน พื้นที่ 15,057 ไร่ ผลผลิต 11,292 ตัน โดยประสงค์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อชดเชยราคาผลผลิตมะม่วง จำนวน 535,930,250 บาท ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนตาม 5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย โมเดลเกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต โดยบูรณาการทุกภาคส่วน และใช้เทคโนโลยีในการผลิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรต่อไปอย่างยั่งยืน” นายอลงกรณ์ กล่าว

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งปราบปรามผู้สร้างและผู้ที่ส่งต่อข่าวปลอม (Fake News) เตือน !! หยุดสร้างความสับสนตื่นตระหนกในสังคม

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีการแชร์ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการ Work From Home ทำให้ประชาชนต้องอยู่บ้าน และทำกิจกรรมต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีการส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นจำนวนมากบนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งส่งผลพี่น้องประชาชนเกิดความสับสนและตื่นตระหนกจากข้อมูลดังกล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีความห่วงใยในเรื่องสถานการณ์การสร้างข่าวปลอมและผลกระทบที่เกิดขึ้นในทุกมิติ จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขับเคลื่อนนโยบาย โดยให้กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.), กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.), ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ(ศปอส.ตร.) และทุกหน่วยในสังกัดที่เกี่ยวข้อง คอยตรวจสอบข่าวปลอมหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องและประสานการปฏิบัติร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(MDES) หน่วยงานด้านความมั่นคงและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินการสืบสวนสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีอย่างจริงจังต่อเนื่อง

รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ในห้วงเดือนมิถุนายน 2564 ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับข้อมูลจากศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลฯ และเบาะแสจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการพิสูจน์ทราบ พบผู้ที่เกี่ยวข้องกับสร้างข่าวปลอมและอยู่ในข่ายที่ต้องดำเนินคดีกว่า 50 คดี ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวนกว่า 30 คดี รวมถึงเรื่องการบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนและกระบวนการทางสาธารณสุข ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความสับสน และจะมีการพิสูจน์ทราบตัวผู้กระทำผิดในกรณีอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีอย่างถึงที่สุดต่อไป

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐานนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และฝากเตือนไปยังผู้ที่กระทำความผิดว่าให้หยุดการกระทำของท่านเสีย เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นการซ้ำเติมจิตใจของพี่น้องประชาชนที่ควรจะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและยังทำให้เกิดความสับสนตื่นตระหนกในสังคม รวมถึงส่งผลกระทบต่อความสงบในบ้านเมืองอีกด้วย

นอกจากนี้ ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดเข้ามาและขอเรียนประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องประชาชนให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร และขอให้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางที่สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับทั้งตนเองและสังคม หากพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด สามารถแจ้งไปยัง Call Center สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 191 หรือ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมกำลังพลเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ประจำจุดตรวจป้องกันอาชญากรรม

วันนี้ (12 ก.ค. 64) เวลา 21.00 น. พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พร้อมด้วย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. และคณะ ได้ออกตรวจเยี่ยมจุดตรวจป้องกันอาชญากรรม กำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในห้วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จำนวน 3 จุด ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร 2 จุด คือจุดตรวจ สน.พหลโยธิน และ จุดตรวจ สน.เตาปูน โดยมี พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น. ,พล.ต.ธวัชชัย ตั้งพิทักษ์กุล ผบ.มทบ.11 ร่วมคณะตรวจเยี่ยม ส่วนพื้นที่จังหวัดนนทบุรี 1 จุด คือจุดตรวจ สภ.ปากเกร็ด โดยมี พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผบช.ภ.1 และนายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ร่วมคณะตรวจเยี่ยม

​พล.ต.อ.สุวัฒน์ ฯ กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาล ให้มีการสกัดกั้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้ทวีความรุนแรงจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 4 จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศ ซึ่งได้กำชับไปยังทุกหน่วยงานในสังกัด ให้ปฏิบัติตามประกาศข้อกำหนดตามความมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 ก.ค. 2564 ในการควบคุม ระงับ ยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ฝ่ายปกครอง เพื่อตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตรวจตราห้ามมิให้บุคคลออกนอกเคหสถานในห้วงระหว่างเวลา 21.00 - 04.00 น. 

สำหรับการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ในพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 10 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 12 ก.ค. 2564 เวลา 10.00 น. ดังนี้

1.กรุงเทพมหานคร ​ตั้งจุดตรวจ จำนวน​88 ​จุด

2.นนทบุรี ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน​2 ​จุด

3.ปทุมธานี ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​4 ​จุด

4.สมุทรปราการ ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​5 ​จุด

5.นครปฐม ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​5 ​จุด

6.สมุทรสาคร ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​5 ​จุด

7.นราธิวาส ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​7​จุด

8.ปัตตานี ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​11​จุด

9.ยะลา ​​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน ​12​จุด

10.สงขลา ​​ตั้งจุดตรวจ จำนวน​9 ​จุด

รวม​​​ตั้งจุดตรวจทั้งสิ้น ​148 ​จุด

ใช้กำลังตำรวจ 1,553 นาย ทหาร 846 นาย และปกครอง 394 นาย และมีจุดตรวจอื่นๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ จุดตรวจคัดกรองโรค จุดตรวจปมคมนาคม จุดตรวจพื้นที่ตอนในและพื้นที่ตามแนวชายแดน รวมจำนวน 1,267 จุด ใช้กำลังพลตำรวจ รวมทั้งหมด 7,559 นาย   จัดชุดสายตรวจร่วม จำนวน 613 ชุด กำลังพลตำรวจ 2,560 นาย ชุดเคลื่อนที่เร็วออกตรวจตราผู้ฝ่าฝืนนอกด่านอีก จำนวน 816 ชุด  กำลังพลตำรวจ 2,949 นาย รวมใช้กำลังพล ตร. ทั้งสิ้น 14,621 นาย

​ทั้งนี้ ผบ.ตร.ได้มอบสิ่งของบำรุงขวัญอาทิ หน้ากากอนามัย เฟสชิลด์ ถุงมือ เจลแอลกอฮอล์ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ พร้อมแสดงข้อห่วงใยกำลังพลที่ต้องปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และเน้นย้ำให้นำเทคโนโลยี หรือแอปพลิเคชัน TPCC มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบการปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตลอดเวลาการทำงาน รวมไปถึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ ศบค. กำหนด พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติตามหลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ควบคู่กันไป โดยเน้นประชาสัมพันธ์การรับรู้เรื่องข้อกฎหมายต่าง ๆ ให้ทราบ และดูเหตุผลความจำเป็น แต่หากประชาชนคนใดจงใจฝ่าฝืนก็ต้องจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่มีข้อยกเว้น

รมช.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แห่งเมืองอุทัยธานี มอบเงิน 3 เดือน ให้บุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 340,000 บาท ลั่นไม่ทิ้งชาวอุทัยไว้ข้างหลัง

มีเฟซบุ๊กของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ได้โพสเฟซบุ๊กว่า “ไม่รอช้า จ่ายเลย 3 เดือน คนละไม้คนละมือ อุทัยธานีรับคนกลับบ้าน เปิดโรงพยาบาลสนาม 300 เตียงแล้วนะคะ #ทุกคนมีความหมาย”

ซึ่งมีชาวอุทัยธานีได้เห็นภาพดังกล่าวในเฟซบุ๊ก ต่างชื่นชมกันมายมาย ไม่รอช้าต่างมาแสดงความคิดเห็นกันมากมาย เช่น นี้แหละสังคมต้องการ มากน้อยร่วมช่วยกัน เพื่อประชาชน ชื่นชมคับ คนอุทัยธานีไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เยี่ยมมากค่ะท่าน ขอบคุณแทนชาวอุทัยธานีด้วยค่ะ บางคนก็แสดงความคิดเห็นว่า ดีค่ะทำให้ชาวบ้านเกิดเราเจริญเก่งมากค่ะ คนอุทัยธานีโชคดีที่มีสส.ดี มีรมช.ใจดี มีน้ำใจ ไม่ทิ้งคนอุทัย

ทั้งนี้ รมช.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลั่นไม่ยอมทิ้งคนอุทัยธานีไว้ข้างหลัง เราจะเดินไปด้วยกัน โดยมอบเงินเดือนทั้งหมดเป็นจำนวน 3 เดือน ให้โรงพยาบาลอุทัยธานี เป็นจำนวน 340,000 บาท เพื่อสนับสนุนบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานกันอย่างเหนื่อยหนัก บางคนก็เสียสละทิ้งครอบครัวมาทำงานเพื่อประชาชนเพื่อชาวอุทัยธานี ให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 โดยมอบให้กับบุคคลากรทางการแพทย์ในวันที่ 12 ก.ค. 64 ณ บริเวณจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 เทศบาลเมืองอุทัยธานี


ภาพ/ข่าว  ภาวิณี ศรีอนันตฺ์ รายงาน

ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ช่วยหญิงท้องแก่ติดโควิด 2 ราย พร้อมเตรียมตั้งศูนย์วิดีโอคอลเซ็นเตอร์ปรึกษาอาการป่วย

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เวลา 14:00 น. ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เตรียมเปิดศูนย์วิดีโอคอลเซ็นเตอร์ที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่กักตัวเองที่บ้าน ได้ปรึกษาอาการจากแพทย์ได้โดยตรง แบ่งเบาภาระของแพทย์ในโรงพยาบาล

จากกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้สละเงินเดือน 3 เดือน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนชาวจังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยประชาชนทั่วไปสามารถโทร.สายด่วน 1300 เพื่อประสานของความช่วยเหลือ ซึ่งผู้ว่าฯและทีมงาน ได้ลงพื้นที่นำสิ่งของอุปโภคบริโภครวมถึงห้องน้ำสำเร็จรูป ไปมอบให้กับผู้ป่วย ติดโควิดและรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ทั้งผู้ขาดแคลนและมีอายุมาก มอบให้ใช้ส่วนตัวเพื่อป้องกันการระบาดไปสู่คนอื่น รวมถึงรับทราบปัญหาของพี่น้องประชาชน และประสานงานหาเตียงให้กับผู้ป่วย

ล่าสุดได้รับแจ้งจากประชาชนว่ามีผู้ป่วยหญิง 2 ราย ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน และ 8 เดือน ที่ติดเชื้อโควิดมาหลายวันต้องการขอความช่วยเหลือเพื่อเข้ารับการรักษา จึงเร่งนำรายชื่อเข้าแจ้ง ให้สาธารณสุขจังหวัดเข้าช่วยเหลือทั้งสองคนเป็นการด่วนโดยให้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เมื่อได้ทราบว่ามีหญิง 2 ราย ตั้งครรภ์ได้ 7 เดือนและ 8 เดือน ได้เร่งดำเนินการประสานเข้าในระบบสาธารณสุข ในเรื่องการจัดหาเตียงและโรงพยาบาล รวมถึงแพทย์ให้เหมาะสมกับอาการของทั้ง 2 ท่าน ซึ่งถ้าจะยังไม่มีเตียงเราจะส่งแพทย์เข้าไปดูแลเบื้องต้นก่อนขณะนี้ตนเองและทีมงานอยู่ระหว่างการวางแผนดำเนินการตั้งศูนย์คอลเซ็นเตอร์ และนำแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชน มาที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เพื่อไว้บริการประชาชน เมื่อพี่น้องประชาชนมีปัญหา อยากปรึกษาแพทย์สามารถพูดคุยผ่านแอปในโทรศัพท์ เช่น ZOOM หรือวิดีโอคอลพูดคุยกับแพทย์โดยตรง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของแพทย์และบุคลากรทางแพทย์ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย

เนื่องจากสถานการ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดปทุมธานี มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เตียงภายในโรงพยาบาลถูกใช้มากขึ้น ดังนั้นแนวทางการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ที่กระทรวงสาธารสุขได้กำหนดไว้ หากเราเสริมบุคลากรทางการแพทย์ โดยได้แพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนมาให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ จะได้ทำทั้ง 2 ระบบควบคู่กันไป “ผมเชื่อว่าหากผู้ป่วยได้พูดคุยกับแพทย์ ก็จะได้กำลังให้ดีขึ้น รวมถึงให้พี่น้องได้อุ่นใจและวินิจฉัยโรคได้ทันท่วงทีรวมถึงการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยที่ รักษาตัวอยู่ทางบ้านก็จะได้ทันต่ออาการป่วยที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน”

นอกจากนี้ขณะที่ได้ลงพื้นที่นำสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็นไปมอบให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้พบว่ามีพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหา ไม่สะดวกในการใช้ห้องน้ำ จึงมีผู้ในบุญนำห้องน้ำมาบริจาคจำนวน 4 ห้อง ถือว่าเป็นอานิสงส์ สำหรับผู้ที่กักตัวหรือคนที่ไม่มีห้องน้ำ ได้ใช้ห้องน้ำที่สะดวกขึ้น และยังพบพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาหลังคาบ้านชำรุด เนื่องจากช่วงนี้เป็นฤดูฝน พบว่าหลายหลังที่หลังคารั่ว จึงมีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงให้ใหม่ จะได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุข การช่วยเหลือผู้อื่น ก็เหมือนเป็นการช่วยเหลือตนเอง เมื่อผู้อื่นมีความสุขเราก็มีความสุขตามไปด้วย


ภาพ/ข่าว  ประภาพรรณ ขาวขำ รายงาน

'เกาะปันหยี' ILINK เซ็นต์สัญญา ก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำ 33 เควี 'เกาะปันหยี' จังหวัดพังงา มูลค่า 143 ล้านบาท

นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ​ ILINK ได้ลงนามร่วมกับ นายศุภชัย เอกอุ่น รองผู้ว่าการวิศวกรรม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำระบบ 33 เควี เกาะปันหยี จังหวัดพังงา มูลค่างาน 143,980,000 บาท สัญญาจ้างเลขที่ จ.100/2564  สัญญาลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 360 วัน

โดยจะได้เร่งรัดให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดเวลา เพื่อสนับสนุนให้ชาวเกาะปันหยี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้ใช้ไฟฟ้าจากแผ่นดินใหญ่ที่มีความเสถียร และประหยัดได้โดยเร็ว ข้อสำคัญลดการปั่นไฟฟ้าในเกาะ จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top