Sunday, 27 April 2025
Columnist

รู้จัก ‘Susi Pudjiastuti’ รัฐมนตรีหญิงแกร่งแห่งอินโดนีเซีย จากนักธุรกิจส่งออกอาหารทะเล สู่มือพิฆาตเรือประมง (ต่างชาติ)

ข่าวในรอบสัปดาห์นี้ที่น่าหงุดหงิดโมโหของประชาชนคนไทยเป็นที่สุดก็คือ ข่าวที่เรือประมงเวียดนามที่รุกล้ำมาลักลอบจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย แล้วบังอาจขัดขืนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ซ้ำร้ายยังนำเรือพุ่งชนเรือหลวงเทพาเรือรบของกองทัพเรือไทยจนได้รับความเสียหายอีกด้วย ในขณะที่ไม่นานมานี้ ทหารเรือเมียนมาได้มีการใช้อาวุธกับเรือประมงไทยจนมีลูกเรือประมง 1 คนเสียชีวิต และถูกจับกุมอีก 4 คน ซึ่งยังไม่ได้รับการปล่อยตัวจนทุกวันนี้

เพราะความใจดีจนเกินไปของทางการไทยจนทำให้เรือประมงเวียดนาม ซึ่งหลายปีมานี้ย่ามใจลักลอบเข้ามาจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยอยู่เป็นประจำ และยังทำให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในท้องทะเลไทย โดยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในท้องทะเลไทยเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ อาทิ การปิดอ่าวไม่จับปลาในฤดูวางไข่ การใช้อุปกรณ์จับปลาที่ไม่เป็นการทำลายระบบนิเวศ ฯลฯ ในอดีต เมื่อ 4-50 ปีก่อนนั้น เรือประมงไทยมักจะฝ่ายล้ำน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นเมียนมา กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนามเป็นประจำจนเป็นข่าวปรากฏแทบทุกวัน แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นเรือประมงเวียดนามที่ลักลอบรุกล้ำเข้ามาจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย

เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ชวนให้นึกถึงเรื่องราวของ ‘Susi Pudjiastuti’ หรือ ที่ชาวอินโดนีเซีย เรียกเธอว่า ‘ซูซี่’ รัฐมนตรีหญิงซึ่งเป็นเจ้ากระทรวงกิจการทางทะเลและประมงอินโดนีเซีย ผู้เป็นมือพิฆาตเรือประมง (ต่างชาติ) ประวัติของเธอผู้นี้ไม่ธรรมดาเลย เธอเกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1965 ที่เมือง Pangandaran จังหวัดชวาตะวันตกเป็นลูกสาวของฮัจจีอาหมัด คาร์ลัน และฮัจจาห์ซูวูห์ ลาสมินาห์ เธอเป็นชาวชวาแต่ครอบครัวของเธอเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานในเมือง Pangandaran เป็นรุ่นที่ 5 ธุรกิจของครอบครัวของเธอส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์และการทำฟาร์มปศุสัตว์

หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว Susi ได้ไปเรียนต่อมัธยมศึกษาตอนปลายที่ SMA Negeri 1 Yogyakarta แต่เรียนไม่จบเพราะถูกไล่ออกด้วยเธอได้ไปร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองสนับสนุนการงดออกเสียง (Vote No) เพื่อประท้วงการครอบงำของพรรคกอลการ์ที่ทำให้อินโดนีเซียมีรัฐบาลพรรคเดียว ซึ่งในขณะนั้นเป็นขบวนการที่ถูกห้ามภายใต้ระเบียบใหม่ของประธานาธิบดี Suharto เธอเป็นรัฐมนตรีอินโดนีเซียคนแรกที่ไม่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่หลังจากที่เธอได้เป็นรัฐมนตรีแล้ว เธอได้ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และสำเร็จการศึกษาอย่างเป็นทางการในปี 2018

ในปี 1983 Susi ได้เริ่มต้นอาชีพในฐานะผู้ประกอบการ โดยเริ่มต้นจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารทะเลที่ Fish Auction Facility (TPI) ในเมือง Pangandaran จากการเป็นตัวแทนจำหน่าย เธอได้พัฒนาเป็นโรงงานแปรรูปอาหารทะเลในปี 1996 โดยใช้ชื่อว่า PT ASI Pudjiastuti Marine Product ซึ่งเชี่ยวชาญด้านกุ้งมังกรคุณภาพส่งออกที่บรรจุหีบห่อในชื่อ 'Susi Brand' PT ASI Pudjiastuti Marine Product ซึ่งขยายตัวเติบโตมากขึ้นและเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียและอเมริกาเหนือ

เมื่อความต้องการอาหารทะเลสดของ PT ASI Pudjiastuti Marine Product เพิ่มมากขึ้นทำให้การขนส่งทางอากาศด้วยความรวดเร็วกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ในปี 2004 Susi ได้ซื้อเครื่องบินแบบ Cessna 208 Caravan และก่อตั้ง PT ASI Pudjiastuti Aviation โดยได้รับสัญญาณเรียกขานเป็น ‘Susi Air’ และใช้ในการขนส่งอาหารทะเลสดทั่วอินโดนีเซียไปยังกรุงจาการ์ตา รวมถึงไปยังต่างประเทศเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น

ในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2004 ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับอาเจะห์และชายฝั่งตะวันตกของสุมาตรา สายการบิน Susi Air ซึ่งในขณะนั้นมีเครื่องบิน Cessna Grand Caravan เพียง 2 ลำเท่านั้นเป็นหนึ่งในสายการบินแรกที่เข้าไปช่วยเหลือ และทำการแจกจ่ายอาหารและสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติในพื้นที่ห่างไกล ในช่วงเวลาดังกล่าวสายการบิน Susi Air มักได้รับการเช่าเหมาลำไปอาเจะห์โดย NGO เพื่อปฏิบัติภารกิจบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม รายได้จากภารกิจของ NGO ในอาเจะห์ทำให้สายการบิน Susi Air สามารถจัดหาเครื่องบินลำใหม่ และขยายฝูงบินไปยังเส้นทางในปาปัวและกาลีมันตันได้ ปัจจุบันสายการบิน Susi Air เป็นผู้ใช้เครื่องบิน Cessna Grand Caravan รายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทางทะเลและประมงเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2014 โดยประธานาธิบดี Joko Widodo ในคณะรัฐมนตรีชุดปี 2014–2019 ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง Susi ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของ PT ASI Pudjiastuti Marine Product และ PT ASI Pudjiastuti Aviation เธอเข้ารับช่วงต่อในกระทรวงที่มีความเสี่ยงต่อการถูกยุบเลิก เพราะปัญหาเรือประมงต่างชาติรุกล้ำน่านน้ำอินโดนีเซียที่อยู่รอบเกาะ 17,500 เกาะเป็นประจำ ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้ประมาณการว่าการทำประมงผิดกฎหมายทำให้อินโดนีเซียสูญเสียรายได้กว่า 101 ล้านล้านรูเปียะห์ (7.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง Susi ได้สั่งให้เร่งกวาดล้างจับกุม ยึด และทำลายเรือประมงต่างชาติทิ้งไปหลายร้อยลำ จนทำให้เรือประมงต่างชาตินับหมื่นลำที่แสวงหาประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียต้องรีบออกจากน่านน้ำอินโดนีเซีย โดยในช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2017 ปริมาณผลผลิตด้านการประมงของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า และในเดือนเมษายน 2018 เธอสั่งสกัดและยึดเรือประมงผิดกฎหมาย Andrey Dolgov ซึ่งเป็นเรือประมงระยะทำการไกล ในช่วงทศวรรษ 2000 และ 2010 เรือลำนี้ซึ่งมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการประมงผิดกฎหมายในวงกว้าง โดยเป็นหนึ่งในเรือที่ Interpol ต้องการมากที่สุด และในที่สุดเรือ Andrey Dolgov ก็ถูก กองทัพเรืออินโดนีเซียยึดและควบคุมในเดือนเมษายน 2018 และในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งใจที่จะปรับปรุงเรือลำนี้ให้เป็นหนึ่งในเรือปฏิบัติการของกองเรือบังคับใช้กฎหมายด้านการประมงของอินโดนีเซีย

เมื่อ 16 กันยายน 2016 กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ได้มอบรางวัล Leaders for a Living Planet Award ให้กับ Susi เพื่อเป็นการยกย่องความพยายามของเธอในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการทางทะเลและการประมงจากการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคการประมงของอินโดนีเซีย และการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำอินโดนีเซียอย่างเข้มงวด จากการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Ecology & Evolution พบว่า นโยบายต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายที่เข้มงวดของ Susi ส่งผลให้ “ปริมาณการจับปลาโดยรวมลดลงอย่างน้อย 25% [อาจ] ทำให้ปริมาณการจับปลาอย่างถูกกฎหมายของชาวประมงอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึง 14% และมีกำไรเพิ่มขึ้น 12%” 

ฝากให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบภารกิจด้านนี้ทั้งกลาโหม ต่างประเทศ และเกษตรฯ ได้นำผลงานของ ‘Susi Pudjiastuti’ มาเป็นแนวทางในการทำงาน ทั้งนี้จะเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและฝีไม้ลายมือในการปกป้องผลประโยชน์ทางทะเลของชาติอย่างเต็มที่เพื่อที่ประชาชนคนไทยจะได้เห็นผลงานด้วยความชื่นชมต่อไป

สงครามยูเครน กับทางเลือกสุดท้ายของ เซเลนสกี้ จำ!! ต้องคืนสู่โต๊ะเจรจากับ ‘วลาดีมีร์ ปูติน’

(2 มี.ค. 68) สถานการณ์สงครามยูเครนในปัจจุบันกำลังเดินไปสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้ง เมื่อความเป็นไปได้ที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี้ อาจต้องกลับไปเจรจากับรัสเซียเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่แทบจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบทั้งหมด ไม่ใช่เพราะเซเลนสกี้เต็มใจ แต่เพราะสถานการณ์บีบให้ยูเครนแทบไม่เหลือทางเลือกอื่นอีกแล้ว

1. อเมริกาถอนตัว – ยูเครนเหลือเพียงตัวเอง
หนึ่งในปัจจัยที่ผลักยูเครนเข้าสู่สถานการณ์นี้คือสหรัฐฯ กำลังแสดงท่าทีลดการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายใน เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2024 ที่อาจนำโดนัลด์ ทรัมป์กลับคืนสู่ตำแหน่ง ซึ่งเขาเคยประกาศชัดว่าต้องการยุติสงครามโดยเร็ว หรือแม้แต่ฝ่ายเดโมแครตเองก็เริ่มมีความลังเลเรื่องการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธแก่ยูเครน เมื่อเห็นว่าสงครามกำลังยืดเยื้อโดยไม่มีวี่แววของชัยชนะ นอกจากนี้ สหรัฐฯ กำลังเผชิญภาระทางทหารและเศรษฐกิจที่หนักขึ้นจากการสนับสนุนอิสราเอลในสงครามกับฮามาส การขยายบทบาทในเอเชียเพื่อสกัดกั้นจีน และการเตรียมรับมือความขัดแย้งในภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ทำให้ความสำคัญของยูเครนในสายตาของวอชิงตันลดลงไป เมื่อสหรัฐฯ ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้เต็มที่ ยูเครนจึงต้องเผชิญชะตากรรมของตัวเอง ท่ามกลางกองกำลังรัสเซียที่ยังคงรุกคืบอย่างต่อเนื่อง

2. อธิปไตยที่ต้องแลกด้วยดินแดน?
สงครามที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2022 ทำให้ยูเครนต้องเผชิญความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งกำลังพลกว่า 500,000 นาย ที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ดินแดนสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น โดเนตสก์ ลูฮันสก์ ซาโปริชเชีย และเคอร์ซอน ที่ถูกรัสเซียผนวกอย่างเป็นทางการ การเจรจากลับไปสู่โต๊ะของปูตินในเวลานี้ย่อมหมายความว่ายูเครนอาจต้อง สูญเสียดินแดนบางส่วนเป็นเงื่อนไขของสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไครเมีย ซึ่งรัสเซียครอบครองมาตั้งแต่ปี 2014 และปัจจุบันมีฐานทัพเรือที่สำคัญในเซวาสโตโพล นอกจากนี้ แม้ยูเครนจะรักษาอธิปไตยได้ในทางเทคนิค แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศอาจกลายเป็น รัฐกันชน (Buffer State) ที่ต้องดำรงอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซียโดยปริยาย หรืออาจถูกบีบให้มีสถานะคล้ายฟินแลนด์ในช่วงสงครามเย็น (Finlandization) ที่แม้จะเป็นเอกราช แต่ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่างประเทศที่เอื้อต่อมอสโก

3. บทเรียนจากการเลือกตั้งผู้นำที่มองข้ามประโยชน์ชาติ
หนึ่งในข้อวิพากษ์สำคัญคือการตัดสินใจของยูเครนที่เลือกผู้นำซึ่ง มองข้ามความเป็นจริงทางภูมิรัฐศาสตร์ และพยายามเดินหน้าชนรัสเซียอย่างไม่ไตร่ตรองถึงผลที่ตามมา เซเลนสกี้ในฐานะอดีตนักแสดงที่ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐ อาจไม่เข้าใจความซับซ้อนของเกมการเมืองระหว่างประเทศเท่าที่ควร และเลือกเดิมพันอนาคตของประเทศไว้กับการสนับสนุนของตะวันตกเพียงอย่างเดียว โดยลืมไปว่าการเจรจากับรัสเซียอาจเป็นหนทางที่หลีกเลี่ยงความเสียหายมหาศาลให้กับประเทศได้ตั้งแต่แรก

4. การเดินหมากครั้งสุดท้ายของยูเครน
แม้ว่ายูเครนจะพยายามต่อต้านต่อไป แต่ สภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กำลังพลที่ลดลง และการขาดการสนับสนุนจากตะวันตกกำลังบีบให้ยูเครนต้องคิดใหม่ หากยูเครนยังคงเลือกแนวทางแข็งกร้าว อาจเสี่ยงต่อการล่มสลายของรัฐคล้ายกับอัฟกานิสถานหลังสหรัฐฯ ถอนตัว หรืออาจถูกบังคับให้ยอมรับข้อตกลงที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมหาศาล ในท้ายที่สุด เซเลนสกี้อาจไม่มีทางเลือกนอกจากกลับไปเจรจากับปูติน แต่ คำถามที่แท้จริงคือ ยูเครนจะยังเหลืออะไรอยู่บ้างให้ต่อรอง?

จาก 'คนคลั่งแดง' สู่การ 'ชูสามนิ้วคลั่งส้ม' เปลี่ยนข้างด้วยเหตุผลเดียวในใจคือ 'ไม่เอาสถาบัน'

(4 มี.ค. 68) คุณลองสังเกตคนรอบ ๆ ตัวของคุณดู จะมีจำนวนไม่น้อยที่แต่ก่อนคือคนที่เลือก “พรรคเผาเมือง” หรือพรรคที่เริ่มต้นการ “จาบจ้วงสถาบัน” อยู่เป็นนิจ ถึงกับเคยป่าวประกาศให้คนไทยภาคอิสาน “ปลดรูปในหลวงรัชกาลที่ ๙” ออกจากข้างฝา ยังกล้าเผาห้าง เผาศาลากลางจังหวัด เรียกว่าเผาผลาญประเทศจนย่อยยับ ถูกขับไล่ด้วยข้อกล่าวหาอภิมหาคอรัปชั่นชาติ จนที่สุดหัวหน้าพรรคทั้งสองคน และเป็นอดีตนายกทั้งคู่ ต้องหนีคดีออกนอกแผ่นดินไทย 

เมื่อภาพการ “หนีคดี” เกิดขึ้นซ้ำ ๆ สะท้อนถึงความสั่นคลอน ไม่มั่นคง ภารกิจของ “เศรษฐีล้มเจ้า” ที่น่าจะไปต่อไปจึงค่อย ๆ เฟดลงตาม กลายเป็นภาพการหมอบคลาน การยอมรับความผิด ยอมกลืน “น้ำลายเน่า ๆ" จากคนปากดีที่จะนำ “การล้มเจ้า” เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยเป็นระบอบอื่น  กลายเป็น “พรรครักสถาบัน” ขึ้นมาหน้าตาเฉย ทั้งหมดก็เพื่อจะได้ลดทอน “ความเกลียดชัง” ของสังคมคนส่วนใหญ่ที่ยังคงเชิดชูสถาบันไว้สูงสุด กลุ่มคนที่ชังเจ้าชนิดฝังหุ่น ที่เคยกาเลือก “พรรคเผาไทย” มาตลอด จึงต้องหา “พรรคล้มเจ้าพรรคใหม่” ไว้เป็นที่พึ่งทางใจ

คนป่วยเหงาเหล่านี้ “เปลี่ยนจากแดงมาสู่ส้ม” ก็ด้วยเหตุผลเดียวคือ “แอบเป็นคนที่ไม่เอาสถาบัน” แต่ไม่กล้าปริปากบอกใครตรง ๆ ใช้ชีวิตแบบ “ตีสองหน้า” ไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ถอยห่างจาก “พรรคแดง” เพราะปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น หรือการหนีคดี แต่เพราะได้กลายเป็นพรรคที่ไม่แน่ใจแล้วว่า “จะล้มเจ้า” ได้จริง ๆ จึงเกิดความไม่แน่ใจ เมื่อมี “พรรคส้มสามกีบ” โผล่ขึ้นมา โฆษณาว่าเป็น “คนรุ่นใหม่” มีแผนการร้ายที่จะ “ล้มล้างการปกครอง” กล้าบ้าบิ่นด้วยเล่ห์เพทุบายโฉดชั่ว จึงโดนใจ “คนเกลียดเจ้า” ที่ผิดหวังจาก “พรรคหนีคดี” ต่างกระโจนไปสนับสนุน “พรรคสามนิ้ว” โดยไม่ดูความสามารถในเรื่องการบริหารบ้านเมืองแม้แต่น้อย 

สังเกตดี ๆ พฤติกรรมคนเหล่านี้ ไม่เคยกล้าตำหนิการทุจริตคอรัปชั่น หรือข้อเสียใด ๆ ของ “พรรคเผาเมือง” หรือ “พรรคส้มสามกีบ” ที่ตนเองสนับสนุน มักจะทำเป็นมองไม่เห็น ตราบที่ยังคงยึดแนวทางการ “ล้มล้างการปกครอง” ให้เห็นดังเดิม เพราะแค่นี้ก็เพียงพอสำหรับเหล่า “คนแอบเกลียดเจ้า” ที่แอบซุกตัวใช้ชีวิตอยู่ในสังคมไทยแล้ว

คนไทยที่แอบเกลียดชังสถาบัน และคอยมองหาพรรคการเมืองที่คอยดูหมิ่น จาบจ้วง กัดเซาะ ล้มล้างการปกครอง เพื่อที่จะสนับสนุน ถือเป็นคนไทยที่เป็น “อันตรายต่อชาติ” และต่อ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ไม่ต่างจาก “พรรคการเมืองล้มล้างการปกครอง” 

‘ห้องสมุดมนุษย์’ อ่านเพื่อนมนุษย์จากมุมคิดและตัวตนที่แท้จริง แนวคิดสุดเจ๋ง! ช่วยลดอคติต่อกัน – ทำให้เข้าใจผู้คนที่หลากหลาย

(5 มี.ค. 68) ห้องสมุดมนุษย์ เมื่อผู้คนอาสาสมัครมาเป็น “หนังสือ” ให้เพื่อนมนุษย์อ่าน เพื่อแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ นำไปสู่ความเข้าใจและโอบกอดจิตวิญญาณซึ่งกันและกัน 

เมื่อพูดถึงห้องสมุด สิ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็คือสถานที่ที่เต็มไปด้วยหนังสือต่างๆ แบ่งเป็นหมวดหมู่อย่างเรียบร้อย ให้เราสามารถเข้าไปนั่งอ่าน ปลดปล่อยจิตใจและสมองไปกับเนื้อหาของหนังสือเล่มต่างๆที่อยู่ตรงหน้า ทั้งอ่านเพื่อเอาความรู้และอ่านเพื่อความบันเทิง หลายๆคนก็มีห้องสมุดเป็นทั้งที่หลบภัยจากความวุ่นวาย ความกังวล และเรื่องราวต่างๆที่บีบคั้นในชีวิต รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่เราจะได้ปล่อยวางภาระและความตึงเครียดต่างๆลงได้ชั่วคราวเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสกับความสงบสุขในชีวิตได้ในราคาย่อมเยาหรือไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

นี่คือ concept ของห้องสมุดทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้นเคยกันดี แต่จะดีแค่ไหนหากมีห้องสมุดซักแห่งหนึ่งที่มี “เพื่อนมนุษย์” ที่มีประสบการณ์หลากหลายมานั่งเป็น “หนังสือ” ให้เราอ่านประสบการณ์ที่ผ่านมาของพวกเขาเหล่านั้น รวมทั้งแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวที่น่าสนใจ ให้กับผู้คนผ่าน “การอ่าน” ในลักษณะของการพูดคุยตัวต่อตัวหรือกลุ่มเล็กๆ นอกจากนี้ “หนังสือมนุษย์” เหล่านี้ก็พร้อมที่จะรับฟังโดยไม่ตัดสินและเปิดใจคุยกับ “ผู้อ่าน” ทุกคนแม้ว่าจะเป็นผู้ที่เคยถูกบุลลี่ ถูกเลือกปฏิบัติ หรือถูกดูหมิ่นเหยียดหยามไม่ว่าจากสาเหตุใดๆมาก่อนก็ตาม 

ห้องสมุดมนุษย์ที่เหมือนจะมีอยู่แค่ในโลกแห่งอุดมคตินี้แท้จริงแล้วมีอยู่จริงๆในโลกของเราครับ 

โดยแนวคิดของห้องสมุดมนุษย์นี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2000 ที่ประเทศเดนมาร์ก โดยผู้ริเริ่มและก่อตั้งได้แค่คุณ รอนนี่ อเบอเกลและทีมงาน โดยมีความคิดตั้งต้นและความตั้งใจที่จะต่อสู้กับความอยุติธรรม, การเลือกปฏิบัติ และส่งเสริมความเข้าใจกันของเพื่อนมนุษย์ทุกคนผ่านการเล่าเรื่องและแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆให้กัน โดยผ่านแนวคิดการยืมหนังสือในห้องสมุดที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่แทนที่ผู้มาเยือน หรือ “ผู้อ่าน” จะยืมหนังสือเป็นเล่มๆตามปรกติ แต่ที่ห้องสมุดมนุษย์นี้จะให้บริการยืม “คนจริงๆ” มานั่งคุยกันแทน 

หลักการทำงานของห้องสมุดมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร? 

จริงๆแล้วหลักการทำงานของห้องสมุดมนุษย์นั้นเรียบง่ายและไม่ซับซ้อนเลยครับ โดยเริ่มจากการรับสมัครผู้คนที่มีภูมิหลังและประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายมาเป็น “หนังสือมนุษย์” โดยอาสาสมัครเหล่านี้มีความหลากหลายมาก มีทั้ง คนไร้บ้าน, คนพิการ, ผู้อพยพ, LGBTQ+, อดีตผู้ป่วยทางจิต, คนติดยา, ผู้เคร่งศาสนา, คนไม่มีศาสนา หรือผู้ที่มีปัญหาอื่นๆทางสังคม 

เมื่อได้อาสาสมัครจำนวนหนึ่งแล้ว ทีมงานของคุณรอนนี่ก็จะจัดอีเว้นท์ “ห้องสมุดมนุษย์” ขึ้นตามสถานที่ต่างๆเช่น อาคารสำนักงาน, ห้องสมุดของจริง, โรงเรียนและสถานศึกษา รวมไปถึงพื้นที่ในงานเทศกาลต่างๆ จากนั้นก็จะแจกโบรชัวร์ให้คนที่มาร่วมงาน ในโบรชัวร์นั้นก็จะมีข้อมูลโดยย่อของหนังสือมนุษย์แต่ละคน เพื่อให้คนที่สนใจหรือ “ผู้อ่าน” สามารถเลือกยืมหนังสือมนุษย์ที่ตัวเองสนใจไปนั่งคุยกันประมาณ 20-30 นาที หลังจากคุยกันเสร็จก็นำหนังสือมนุษย์นั้นไปส่งคืนทีมงาน หรือ “คืนหนังสือ” นั่นเอง 

ครับ ง่ายๆแบบนี้เลย 
เป้าหมายของห้องสมุดมนุษย์นี้ก็แสนจะเรียบง่ายครับ ก็คือการส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนลดอคติต่อกันและสร้างความเข้าใจต่อผู้คนที่มีความแตกต่างและหลากหลายผ่านการสนทนาที่เปิดกว้าง เพื่อสลายอัตตาและสร้างความเห็นอกเห็นใจกัน 

นับตั้งแต่ห้องสมุดมนุษย์ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เดนมาร์กเมื่อ 25 ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมนี้ก็ได้รับการขยายออกไปเป็นวงกว้างทั่วโลกถึงกว่า 80 ประเทศแล้วครับ โดยสถานศึกษาต่างๆ, หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน, ชุมชน รวมไปถึงกลุ่มองค์กรต่างๆ ก็ได้จัดกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์นี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจกันของผู้คนที่มีพื้นเพและเส้นทางที่หลากหลายแตกต่างกัน ผ่านการสร้างให้เกิดบทสนทนาที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังนี้ 

หลายเรื่องราวได้ถูกเล่าขาน บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่าตั้งใจถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลัง บางเรื่องก็เป็นรอยแผลเป็นตกสะเก็ดในใจของผู้เล่าเอง แต่ที่สำคัญคือเรื่องราวทั้งหมดเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ถูกเล่าขานออกมาเพื่อหวังให้คนฟังเกิดความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียมกันทั้งสิ้น

เรื่องราวอันน่าประทับใจที่เกิดขึ้นในห้องสมุดมนุษย์ทั่วโลกมีมากมาย อาทิเช่น 

- การไถ่บาปและการให้อภัยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง, โคเปนเฮเกน, ชายคนหนึ่งได้อาสาสมัครมาเป็นหนังสือมนุษย์เพื่อแบ่งปันเรื่องราวในอดีตของเขาในฐานะสมาชิกแก๊งอาชญากรรมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและการทำผิดกฎหมายซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อย ๆ จนเมื่อเขาได้ใช้เวลาหลายปีในเรือนจำจึงได้คิดและต้องการมาบอกเล่าเรื่องราวความผิดพลาดของตัวเองในอดีตให้กับผู้คนเพื่อเป็นการไถ่บาปของตัวเอง และวันหนึ่งในห้องสมุดมนุษย์ เขาก็ได้นั่งลงและบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองต่อหน้าผู้อ่านที่สูญเสียคนในครอบครัวไปจากความรุนแรงระหว่างแก๊ง ส่งผลให้ผู้อ่านคนนั้นร้องไห้อย่างรุนแรงด้วยหัวใจที่แตกสลาย แต่ภายหลังจากบทสนทนาจบลง ทั้งคู่ก็ได้โอบกอดกันด้วยความเข้าใจ และการเยียวยาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งด้วยความรู้สึกผิดที่ต้องการไถ่บาป และอีกคนด้วยความตระหนักว่าการให้อภัยและการยอมรับว่ามนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้นั่นเอง 

- การเผชิญหน้าของผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่กับสมาชิกนีโอนาซี ,เยอรมนี, ในกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์ครั้งหนึ่ง มีเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่นิยมชมชอบและสนับสนุนแนวคิดนาซีแบบสุดโต่งได้เข้าร่วมกิจกรรมและเลือกที่จะนั่งสนทนากับอาสาสมัครหนังสือมนุษย์ที่เคยรอดชีวิตจากการสังหารหมู่ในค่ายกักกันของนาซีในสมัยสงครามโลก ในเบื้องต้นเด็กหนุ่มเพียงแค่สนใจว่าในสมัยนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในค่ายกักกันเป็นอย่างไร แต่เมื่อหนังสือมนุษย์เริ่มเล่าถึงความทุกข์ทรมานต่างๆ ทั้งการถูกทรมานร่างกาย การเห็นคนซึ่งเป็นที่รักถูกสังหารต่อหน้าต่อตา รวมไปถึงความสูญเสีย ทุกข์ทรมานต่างๆอีกมากมายหลังจากนั้น ทำให้ความคิดของเด็กหนุ่มเปลี่ยนไป และในตอนสุดท้ายของการสนทนา เด็กหนุ่มได้ยอมรับกับหนังสือมนุษย์ว่า ตัวเขานั้นได้หลงผิดไปกับแนวคิดอันสุดโต่งของนีโอนาซีและสาบานว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกันอย่างเข้าใจ ที่จะนำไปสู่การลดความเกลียดชังต่อกัน นั่นเอง 

- หญิงข้ามเพศและผู้นำทางศาสนา ,อินเดีย, ผู้นำทางศาสนาผู้หนึ่งที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาทั้งชีวิตว่าการเป็น LGBTQ+ คือเรื่องผิดบาป ได้เข้าร่วมกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์ และได้ยืมหนังสือมนุษย์ที่มีหน้าปกว่า “หญิงข้ามเพศ:เส้นทางสู่การค้นพบตัวเอง” มาสนทนาด้วย และหนังสือมนุษย์เล่มนี้ ก็ได้เล่าให้เขาฟังถึงประสบการณ์การเป็นหญิงข้ามเพศในอินเดียของเธอที่ผ่านการดูถูกเหยียดหยาม การไม่ยอมรับ และการถูกขับไล่ออกจากครอบครัวของตัวเอง มาจนถึงวันที่สามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเอง และมีความภูมิใจในตัวเองได้ด้วยความอดทนและความมุ่งมันที่จะพิสูจน์คุณค่าของตัวเองเพียงไร ในตอนท้ายผู้นำทางศาสนาคนนี้ก็ได้ยอมรับกับหนังสือมนุษย์ว่า ตัวของเขาเองไม่เคยมีความเข้าใจมาก่อนเลยว่าการเป็นคนข้ามเพศนั้นมีความลำบากอย่างไร รวมทั้งได้ยอมรับว่ามุมมองของเขาต่อคนข้ามเพศนั้นเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยที่ได้บันทึกไว้จากกิจกรรมห้องสมุดมนุษย์ทั่วโลก หากจะให้สรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดให้มีห้องสมุดมนุษย์ขึ้นนั้น เราก็พอจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ห้องสมุดมนุษย์นั้นแท้จริงแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงการบอกเล่าหรือแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันเท่านั้น หากแต่ผลลัพธ์ที่ได้คือการเปลี่ยนมุมมองและหัวใจที่เพื่อนมนุษย์มอบให้แก่กัน การให้ผู้คนได้พูดคุยกันอย่างเปิดใจและซื่อตรงนับเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะลดความแตกต่าง สร้างความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน สุดท้ายก็จะนำไปสู่ความเข้าใจกันอย่างแท้จริงของผู้คนที่มีภูมิหลังอันหลายหลายแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขด้วยการยอมรับความแตกต่างและเปิดใจยอมรับความแตกต่างนั้น พร้อมโอบกอดกันไว้ด้วยความเข้าอกเข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง

‘Overtourism’ นักท่องเที่ยวล้นเมืองส่อวิกฤต เหตุทำลายวิถีชีวิตคนท้องถิ่น - แย่งชิงทรัพยากร

(8 มี.ค. 68) แม้ว่า การท่องเที่ยวจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และสนับสนุนความพยายามในการอนุรักษ์ที่ปกป้องสถานที่ที่น่าทึ่งที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวได้รับการจัดการที่ไม่ดี การเติบโตที่ไม่ได้รับการควบคุมอาจครอบงำจุดหมายปลายทาง และส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนในท้องถิ่น และประสบการณ์ของผู้เยี่ยมชม ปัญหานี้ซึ่งเรียกว่าการท่องเที่ยวมากเกินไป เป็นความท้าทายเร่งด่วนสำหรับจุดหมายปลายทางยอดนิยมหลายแห่งของโลก

ภาวะนักท่องเที่ยว (Over tourism) ล้นเมืองเกิดขึ้นเมื่อมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเกินไปหลั่งไหลไปยังเมืองจุดหมายปลายทาง จนเกินความสามารถในการจัดการอย่างยั่งยืนของเมืองซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง และนำไปสู่ผลกระทบเชิงลบ เช่น นักท่องเที่ยวแออัด สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โครงสร้างพื้นฐานตึงเครียด คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยลดลง และทำให้ประสบการณ์ดี ๆ ของผู้มาเยือนลดลง แต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปนั้นมีอยู่เท่าไร คำตอบนั้นไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากแต่ละสถานที่มีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของจุดหมายปลายทางนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ  เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของทรัพยากรธรรมชาติ ความสามารถในการฟื้นตัวของสิ่งแวดล้อม พื้นที่ทางกายภาพ และการรับรู้ของชุมชน จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อผลกระทบเชิงลบของการท่องเที่ยวมีมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการมีกลยุทธ์การจัดการที่ดีกว่า

การวางแผนเชิงกลยุทธ์และการจัดการเชิงรุกเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันปริมาณนักท่องเที่ยวมากจนเกินไป จุดหมายปลายทางที่ยั่งยืนต้องสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์ ความเพลิดเพลินของนักท่องเที่ยว และความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย ผ่านการศึกษาขีดความสามารถในการ รองรับ และการสำรวจผู้อยู่อาศัยเราช่วยให้จุดหมายปลายทางต่างๆ ติดตามผลกระทบของการท่องเที่ยวและทำความเข้าใจถึงผลที่ตามมาของการเติบโต เพื่อแจ้งนโยบายและริเริ่มต่าง ๆ ปัญหานักท่องเที่ยวมากจนเกินไปได้รับความสนใจทั่วโลกในปี 2016 เมื่อ Skift เผยแพร่บทความเรื่อง “การสำรวจอันตรายที่กำลังจะมาถึงของการท่องเที่ยวมากเกินไป” ซึ่งกล่าวถึงอันตรายจากการท่องเที่ยวมากเกินไปในจุดหมายปลายทางยอดนิยม ในช่วงหลายปีต่อมา คำว่า "การท่องเที่ยวมากเกินไป" ปรากฏอยู่ในพาดหัวข่าวสื่อต่างๆ มากมายทั่วโลก เนื่องจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วและทวีคูณ โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าระหว่างปี 2000 ถึง 2019  ความจำเป็นในการจัดการการเติบโตนี้อย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นจึงไม่สามารถละเลยได้

ในขณะที่ดูเหมือนว่า ปริมาณนักท่องเที่ยวกำลังจะเกินการควบคุม อุตสาหกรรมนี้กลับต้องประสบกับภาวะตกต่ำที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอันเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมนี้เป็นโอกาสในการคิดทบทวนรูปแบบการท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อจำกัดในการเดินทางถูกยกเลิก ผู้คนต่างก็อยากออกไปข้างนอก และการท่องเที่ยวก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ภายในสิ้นปี 2024 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนจนเกินระดับก่อนเกิดโรคระบาด น่าเสียดายที่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวมากจนเกินไปได้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการจำนวนผู้เยี่ยมชมและปกป้องความสมบูรณ์ของจุดหมายปลายทางยอดนิยม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาในจุดหมายปลายทางยอดนิยมเติบโตอย่างรวดเร็ว ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย เซเชลส์ และกรีก มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในช่วงทศวรรษก่อนเกิด COVID-19 จุดหมายปลายทางยอดนิยมบางแห่ง เช่น สาธารณรัฐโดมินิกัน มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นแซงหน้าจำนวนนักท่องเที่ยวก่อนเกิด COVID-19 ไปแล้ว 

ผลกระทบเชิงลบจากปริมาณนักท่องเที่ยวมากจนเกินไป

- ความแออัดและความแออัดยัดเยียดอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ประสบการณ์ที่ดีของนักท่องเที่ยวและผู้อยู่อาศัยลดน้อยลง ถนนหนทางอาจติดขัด นักท่องเที่ยวต้องยืนรอคิวยาวเพื่อเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถ่ายภาพสถานที่ที่มีชื่อเสียงโดยไม่มีนักท่องเที่ยวเป็นฉากหลัง
- การชำรุดเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐานและสถานที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมจึงชำรุดเสื่อมโทรมเร็วขึ้น การใช้ถนน เส้นทาง และสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะอย่างต่อเนื่องอาจทำให้สถานที่เสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับการบำรุงรักษาตามปกติ
- ความไม่พอใจของชุมชน แม้ว่าความแออัดและความเสียหายทางกายภาพอาจเป็นอาการที่เห็นได้ชัดที่สุดของการท่องเที่ยวมากเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ผลกระทบเชิงลบเพียงอย่างเดียว การท่องเที่ยวมีศักยภาพอย่างมากในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การเติบโตที่ไม่ได้รับการควบคุมอาจส่งผลในทางตรงกันข้าม การหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวอาจทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ยากต่อการหาที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง และทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องอพยพ แม้จะมีรายได้จำนวนมากจากการท่องเที่ยว แต่คนในท้องถิ่นหลายคนรู้สึกว่าถูกละเลยจากเศรษฐกิจนักท่องเที่ยวที่กำลังเฟื่องฟู ทำให้ต้องทำงานที่มีค่าจ้างต่ำในขณะที่กำไรส่วนใหญ่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนภายนอกและบริษัทขนาดใหญ่ ความแตกต่างนี้ก่อให้เกิดความขุ่นเคืองในหมู่ผู้อยู่อาศัย และเพิ่มความตึงเครียดทางสังคมเนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าการท่องเที่ยวทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาแย่ลง พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงได้หากไม่เคารพประเพณีท้องถิ่น ทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือรบกวนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น 

- การแย่งชิงทรัพยากร เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ความต้องการน้ำ การจัดการขยะ และพลังงานอาจสูงเกินกว่าทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาขาดแคลน ราคาที่สูงขึ้น และความต้องการที่แข่งขันกันสูง ซึ่งทำให้ชุมชนท้องถิ่นไม่พอใจมากขึ้น 
- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ เมื่อจุดหมายปลายทางได้รับความนิยมมากขึ้น ระบบนิเวศทางธรรมชาติก็ถูกปรับเปลี่ยนให้รองรับรีสอร์ท ท่าจอดเรือ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอาจทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า เช่น ป่าชายเลนและ ชายหาดที่วางไข่ ของเต่าทะเลได้ หากไม่ได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม หากไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียและบำบัดน้ำที่เหมาะสม รวมถึงการผลิตพลังงานอย่างยั่งยืน การพัฒนาเหล่านี้อาจสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อดำเนินการแล้ว 

การขาดการวางแผนและกฎระเบียบที่เหมาะสมอาจทำให้จุดหมายปลายทางต่างๆ ต้อนรับนักท่องเที่ยวมากเกินกว่าที่จะรองรับได้ ส่งผลให้เกิดผลกระทบที่เป็นปัญหาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น ระบบการจัดการขยะที่ล้นเกิน ถนนที่ติดขัด และคนในท้องถิ่นไม่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว เพื่อต่อสู้กับปัญหาการท่องเที่ยวล้นเกิน จุดหมายปลายทางต่างๆ จะต้องดำเนินการตามแผนการจัดการการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมซึ่งสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ของผู้เยี่ยมชม และความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน จุดหมายปลายทางที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมหลายแห่งกำลังดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อจัดการจำนวนนักท่องเที่ยวและบรรเทาผลกระทบจากภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมือง มาตรการที่ใช้ทั่วโลกเพื่อรับมือกับปัญหาการท่องเที่ยวมากเกินไป
การถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาการท่องเที่ยวมากเกินไปกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากนักท่องเที่ยวแห่ไปยังเมืองยอดนิยมเกินขีดความสามารถของตน

เมืองเวนิสของอิตาลี ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม 5 ยูโรสำหรับนักท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2024 เป็นต้นไป แม้ว่าค่าธรรมเนียมจะเรียกเก็บเฉพาะ 29 วันที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่นที่สุดระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม 2024 แต่รัฐบาลอิตาลีอาจขึ้นค่าธรรมเนียมเป็น 10 ยูโร ในการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า กรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2024 ว่ามีแผนจะเริ่มลดจำนวนเรือที่สามารถแวะจอดที่ท่าเรือหลักในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการท่องเที่ยวจำนวนมากที่เกิดจากเรือสำราญ เทศบาลกรุงอัมสเตอร์ดัมได้ประกาศไปแล้วเมื่อเดือนเมษายนว่า ได้ตัดสินใจห้ามการก่อสร้างอาคารโรงแรมใหม่ในเมืองเพื่อจำกัดจำนวนการพักค้างคืนต่อปีให้อยู่ที่ 20 ล้านการเข้าพัก เมืองนี้รองรับการพักค้างคืน 20,665,000 ครั้งในปี 2023 ในทำนองเดียวกัน แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของสเปนอย่างนครบาร์เซโลนาได้ประกาศเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2024 ว่าตั้งใจจะห้ามการเช่าระยะสั้นสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด เนื่องจากต้องการควบคุมต้นทุนที่อยู่อาศัยที่พุ่งสูงขึ้น และมอบทางเลือกที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงให้กับคนในท้องถิ่นอีกครั้ง นครบาร์เซโลนาวางแผนที่จะหยุดออกใบอนุญาตการเช่าระยะสั้นใหม่ โดยอพาร์ตเมนต์วันหยุดทั้งหมด 10,101 แห่งที่ลงทะเบียนกับเมืองในปัจจุบันจะถูกสั่งห้ามภายในเดือนพฤศจิกายน 2028 ปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติในสหรัฐอเมริกากำหนดให้ผู้เยี่ยมชมต้องทำการจองเข้าชมล่วงหน้าเพื่อควบคุมจำนวนผู้เข้าชมในแต่ละวัน และป้องกันไม่ให้มีผู้คนหนาแน่นเกินไป ในกรณีส่วนใหญ่ จำเป็นต้องทำการจองเฉพาะในช่วงฤดูท่องเที่ยวสูงสุดเท่านั้น ในปี 2024 อุทยานแห่งชาติโยเซมิตีได้นำนโยบายการจองมาใช้อีกครั้ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกยกเลิกเนื่องจากการคัดค้านจากธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในพื้นที่

ในเอเชีย ประเทศไทยตัดสินใจถอนแผนที่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งอย่างมากในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยว 300 บาท (ประมาณ 8.2 ดอลลาร์สหรัฐ) จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศทางอากาศ โดยรัฐบาลไทยได้ชี้แจงในเบื้องต้นว่า จุดประสงค์ของค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็เพื่อช่วยให้แน่ใจว่า จะทำให้ได้นักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากขึ้น โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไปหลังจากได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาปรับขึ้นภาษีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศจาก 1,000 เยน (7 ดอลลาร์สหรัฐ) ในปัจจุบันเป็น 3,000 หรือ 5,000 เยน (20 ดอลลาร์สหรัฐ/35 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวมากเกินไป อีกทั้งมีการพูดคุยหารือกันมากมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่พักในแหล่งท่องเที่ยว และเทศบาลบางแห่งกำลังหารือถึงการนำระบบการคิดราคาแบบ 2 ระดับมาใช้ 

ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ ปราสาทฮิเมจิซึ่งเป็นมรดกโลกของยูเนสโกในเมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ ได้รับความสนใจจากสาธารณชนเป็นอย่างมาก เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองฮิเมจิเสนอแผนนำระบบการคิดราคาแบบ 2 ระดับมาใช้สำหรับผู้เยี่ยมชมปราสาท ในระหว่างการประชุมนานาชาติที่จัดขึ้นในเมือง ภายใต้ระบบที่เสนอนี้ ค่าธรรมเนียมเข้าชมจะขึ้นจาก 1,000 เยน (ประมาณ 6 เหรียญสหรัฐ) เป็นประมาณ 30 เหรียญสหรัฐสำหรับผู้เยี่ยมชมจากนอกเมือง ในขณะที่พลเมืองฮิเมจิจะลดลงเล็กน้อยเป็น 5 เหรียญสหรัฐ แม้จะมีข้อโต้แย้ง แต่การเรียกเก็บเงินจากชาวต่างชาติมากกว่าผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกในส่วนอื่น ๆ ของโลก 

ตัวอย่างเช่น ที่ทัชมาฮาลของอินเดียและนครวัดของกัมพูชา นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องจ่ายค่าเข้าชมในราคาที่สูงขึ้นอยู่แล้ว ปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวมากจนเกินไปสามารถสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระดับเดียวกับคนไทยเท่านั้นที่สามารถอดทนกับคำว่า ‘ไม่เป็นไร’ เช่นปัญหาที่ยากจนเกือบจะเกินแก้ไข ดังเช่นกรณี ‘ปาย’ ซึ่งรัฐบาลไทยโดยกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาต้องเริ่มศึกษาข้อเท็จจริงและสรุปเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกันซึ่งจะดีกว่าการรอเพื่อปล่อยให้สถานการณ์คลี่คลายไปเองเช่นทุกวันนี้

จาก ‘นักเคลื่อนไหว’ สู่ ‘หมอนวดฝ่าเท้า’ ชีวิตใหม่!! ของนายจอม ในแดนน้ำหอม เมื่อทุนขาด!! ซัพพอร์ตหาย ฝรั่งไม่จ่ายแล้ว ก็ต้อง ‘กัดฟัน’ ปั้นอาชีพกันไป

ใครจะไปคิดว่าเส้นทางชีวิตของ 'นายจอม' หนึ่งในผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะวกเข้าสู่สายอาชีพนวดฝ่าเท้ากลางกรุงปารีส จากอดีตนักเคลื่อนไหวหัวร้อน สู่มือทองนักกดจุดผ่อนคลาย ด้วยเรทราคาเป็นกันเอง 25 ยูโรต่อชั่วโมง โปรโมชันแรงเหมาได้ทั้งสามี-ภรรยา แถมรับนวดหมู่เหมือนจัดปาร์ตี้เล็ก ๆ ได้อีกต่างหาก

แต่นอกจากเรื่องเส้นทางชีวิตที่พลิกผัน จุดที่ชวนตั้งคำถามยิ่งกว่าเทคนิคกดจุด คือข้อความจากเจ้าตัวเองที่ประกาศชัดว่า “ไม่เคยจบคอร์สหรือมีใบรับรองจากสถาบันใด ๆ” นี่แหละประเด็น! เพราะในฝรั่งเศส การให้บริการนวดแบบเก็บเงินนั้น ไม่ใช่ว่าใครอยากทำก็ทำได้ง่าย ๆ นะเธอ

ในฝรั่งเศส การประกอบอาชีพนวดเพื่อสุขภาพ (massage bien-être) โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ หรือระบบไหลเวียนโลหิต จำเป็นต้องมีการอบรมและได้รับ ใบรับรองจากสถาบันที่ได้รับการรับรอง (Certificat หรือ Diplôme) รวมถึงต้องจดทะเบียนธุรกิจอย่างถูกต้อง (Auto-entrepreneur) เพื่อเสียภาษีและป้องกันข้อหาแอบแฝงทำงานผิดกฎหมาย

ถ้าเป็นการนวดเฉพาะทาง เช่น นวดฝ่าเท้า (Réflexologie plantaire) ก็อยู่ภายใต้ข้อกำหนดเดียวกัน และยิ่งต้องระมัดระวัง เพราะเป็นการกระตุ้นจุดสำคัญในร่างกาย หากไม่มีความรู้จริงอาจเข้าข่ายอันตรายต่อสุขภาพลูกค้า

ส่วนถ้าเป็นที่เยอรมนีก็หนักไม่แพ้กัน เพราะหากทำอาชีพนวดโดยไม่มีใบอนุญาต (Heilpraktiker) หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียนกิจการ (Gewerbeanmeldung) และเสียภาษีอย่างถูกต้อง ก็ถือว่าเป็น การประกอบวิชาชีพผิดกฎหมาย เช่นกัน และเสี่ยงต่อโทษปรับสูงมาก หรืออาจถึงขั้นสั่งห้ามประกอบกิจการได้ทันที

พูดง่าย ๆ ว่า

ไม่มีใบรับรอง = ผิดกฎหมาย

ไม่จดทะเบียนธุรกิจ = ผิดกฎหมาย

รับเงินค่าบริการโดยไม่มีสถานะทางกฎหมาย = ผิดกฎหมาย

จะเห็นได้ว่า 'ใจรัก' อย่างเดียวอาจไม่พอ เพราะข้อกฎหมายที่ฝรั่งเศสและเยอรมนีเคร่งครัดมากเกี่ยวกับวิชาชีพสายสุขภาพแบบนี้ เพื่อปกป้องผู้บริโภคจากการรับบริการที่อาจเสี่ยงต่อสุขภาพ

และถ้าย้อนไปเมื่อก่อน ตอนยังวิ่งปราศรัยอยู่เมืองไทย ว่ากันว่าชีวิตของนายจอมก็เคยมีสายป่านต่างชาติคอยหนุน ทั้งทุน ทั้งทิป ทั้งค่าเดินทาง งานประชุมต่างแดนเรียกว่ามาครบวงจร แต่พอวันหนึ่งโลกเปลี่ยน ทุนเปลี่ยน กระแสเปลี่ยน จากที่เคยรับสปอนเซอร์ตั๋วเครื่องบินหรู ก็ต้องมานั่งนวดฝ่าเท้าคลายเส้นหารายได้จ่ายค่าเช่าห้องเองแบบเหงา ๆ

เมื่อทุนขาด ซัพพอร์ตหาย ฝรั่งไม่จ่ายแล้ว ก็ต้องกัดฟันปั้นอาชีพกันไป ใครว่าอุดมการณ์เลี้ยงท้องไม่ได้... ก็ต้องนี่แหละตัวอย่างจริง เสียงจริง นวดจริง เจ็บจริง

สุดท้ายนี้ ก็ขอเอาใจช่วยนายจอมให้หาเลี้ยงชีพได้ปลอดภัย ไม่โดนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเรียกตรวจเอกสารกลางคิวลูกค้ากำลังผ่อนคลายเท้าอยู่ละกันนะ

จากต้นแบบ!! ของประเทศที่มี ‘เสรีภาพ-ความก้าวหน้า’ กลับกลายเป็นสมรภูมิของความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ศาสนา

(6 มี.ค. 68) ในช่วงแรกของการอพยพ ผู้อพยพชาวมุสลิมบางกลุ่มพยายามเผยแพร่ศาสนาโดยใช้วิธีที่สร้างความขัดแย้งในพื้นที่สาธารณะ พวกเขานำลำโพงติดตั้งบนรถยนต์และขับไปตามเมืองต่างๆ เปิดเสียงอาซาน (เสียงเรียกละหมาด) และบทสวดจากอัลกุรอานผ่านวิทยุและเครื่องกระจายเสียง สิ่งนี้กลายเป็นชนวนให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชนท้องถิ่น เพราะมองว่าเป็นการรบกวนพื้นที่สาธารณะ และเป็นการพยายาม "บังคับ" ให้ศาสนาอิสลามเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคน

ในบางเมืองของสวีเดน ประชาชนได้ร้องเรียนถึงหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้ระงับการกระทำดังกล่าว โดยมองว่าสวีเดนเป็นประเทศฆราวาสที่แยกศาสนาออกจากรัฐ และการเปิดเสียงอาซานผ่านลำโพงในที่สาธารณะ เป็นการละเมิดความสงบสุขของประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้อพยพบางส่วนกลับมองว่านี่เป็น "สิทธิทางศาสนา" ของพวกเขา และถือว่าเป็นการ "ต่อสู้เชิงอุดมการณ์" ระหว่างศาสนาอิสลามกับวัฒนธรรมตะวันตก
ศาลชารีอะห์และการบังคับใช้กฎศาสนาในชุมชนมุสลิม

แม้ว่ากฎหมายชารีอะห์จะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายของสวีเดน แต่ก็มีแรงกดดันจากบางกลุ่มในสังคมมุสลิมที่ต้องการให้มี "กฎหมายคู่ขนาน" ซึ่งหมายถึงการที่ชาวมุสลิมสามารถดำเนินชีวิตภายใต้กฎศาสนาได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ ตัวอย่างเช่น กรณีของการแต่งงานในเด็ก การหย่าร้างที่ให้สิทธิฝ่ายชายมากกว่าหญิง หรือแม้แต่การลงโทษตามหลักศาสนาในชุมชนบางแห่ง

ปัญหาคือ ในบางพื้นที่ของสวีเดน โดยเฉพาะในเขตที่มีประชากรมุสลิมหนาแน่น กฎหมายชารีอะห์ถูกใช้กันอย่างลับๆ แม้ว่าจะผิดกฎหมายของสวีเดนก็ตาม มีรายงานว่ามี "ศาลชารีอะห์" ที่ดำเนินการตัดสินคดีความในหมู่ชาวมุสลิมเอง โดยไม่ขึ้นต่อระบบยุติธรรมของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเมิดหลักนิติรัฐอย่างร้ายแรง

สตรีมุสลิม: เสรีภาพหรือการกดขี่?

อีกหนึ่งประเด็นร้อนในสังคมสวีเดนคือเรื่อง การสวมฮิญาบและบุรกา แม้ว่ากฎหมายสวีเดนจะอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถเลือกแต่งกายตามหลักศาสนาได้ แต่ในบางชุมชนมุสลิมกลับมีการกดดันผู้หญิงให้สวมใส่ชุดคลุมโดยที่พวกเธอไม่มีทางเลือก มีรายงานว่าเด็กหญิงบางคนถูกกลั่นแกล้งหากพวกเธอไม่สวมฮิญาบไปโรงเรียน หรือแม้แต่ผู้หญิงที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมสวีเดน ก็อาจถูกครอบครัวและสังคมรอบตัวประณามว่าผิดหลักศาสนา

เรื่องนี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับ เสรีภาพที่แท้จริง เพราะในขณะที่สวีเดนให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่กลับมีบางชุมชนที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือกดขี่สมาชิกของตนเอง ทำให้เกิดสังคมคู่ขนานที่ขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตยของประเทศ

ความขัดแย้งทางการเมืองและแนวโน้มในอนาคต

การเมืองสวีเดนเองก็แบ่งออกเป็นสองขั้วในเรื่องนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนเสรีภาพทางศาสนามองว่า ทุกคนควรมีสิทธิในการปฏิบัติตามศาสนาของตนเอง รวมถึงการแต่งกายตามหลักศาสนา แต่ฝ่ายขวากลับมองว่า นี่คือการปล่อยให้วัฒนธรรมที่ขัดกับหลักเสรีภาพเข้ามาแทรกแซงประเทศ และเชื่อว่าการให้สิทธิที่มากเกินไปกับกลุ่มศาสนาหนึ่ง อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

สิ่งที่ทำให้ปัญหานี้ร้อนแรงขึ้นไปอีกคือ บางเมืองในยุโรป เช่น ในฝรั่งเศสและเดนมาร์ก ออกกฎหมายห้ามสวมบุรกาและนิกอบในที่สาธารณะ โดยให้เหตุผลว่าเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่สตรี ในขณะที่สวีเดนยังคงลังเลที่จะเดินตามแนวทางนี้ เนื่องจากกลัวว่าจะละเมิดสิทธิมนุษยชน

แต่คำถามคือ เสรีภาพที่สวีเดนปกป้องอยู่นี้ เป็นเสรีภาพของทุกคนจริงหรือ? หรือเป็นเพียงเสรีภาพที่เอื้อให้บางกลุ่มสามารถบังคับใช้กฎของตนเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตยของประเทศ?

หากแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไป สวีเดนอาจต้องเผชิญกับความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้น เพราะเมื่อศาสนาและกฎหมายของรัฐเดินไปคนละทาง จุดปะทะก็อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสวีเดนไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของศาสนา แต่เป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย เมื่อมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากเข้ามาตั้งรกรากโดยไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมของพื้นที่และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ย่อมนำไปสู่ความท้าทาย ทั้งสำหรับผู้มาใหม่ที่ต้องปรับตัว และสำหรับชุมชนเดิมที่ต้องหาวิธีอยู่ร่วมกัน

ความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากศาสนาอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่อยู่ที่ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างสองฝ่าย—ฝ่ายหนึ่งมองว่าควรเปิดรับความหลากหลายเต็มที่ ในขณะที่อีกฝ่ายกังวลว่าหากไม่มีการปรับตัวเข้าหากัน อัตลักษณ์และหลักการของสังคมเดิมอาจถูกสั่นคลอน ความไม่ลงรอยเหล่านี้ทำให้เกิดการต่อต้านและความหวาดระแวงกันในหลายระดับ

ทางออกของปัญหานี้ไม่ใช่การปิดกั้นหรือกีดกันศาสนาหรือวัฒนธรรมใด แต่เป็นการหาจุดสมดุลระหว่างเสรีภาพของแต่ละกลุ่มกับความเป็นปึกแผ่นของสังคมโดยรวม ทุกฝ่ายจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหากัน โดยเคารพกฎหมายและคุณค่าของประเทศที่ตนอยู่ หากรัฐไม่สามารถสร้างแนวทางที่ทำให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ความแตกแยกก็อาจขยายตัวมากขึ้นจนยากจะควบคุม

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องมองปัญหานี้ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ด้วยความหวาดกลัวหรืออคติ เพราะท้ายที่สุดแล้ว การอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขคือเป้าหมายของทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากที่ใด

รู้จัก ‘คาลินินกราด’ ไข่แดงท่ามกลางนาโต้ เมืองที่เยอรมันไม่กล้าพูดถึง แต่ก็ลืมไม่ลง

กลางสมรภูมิร้อนระอุของยุโรป มีดินแดนหนึ่งที่เปรียบเสมือนกระดูกชิ้นโตติดคอของเยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ดินแดนที่พวกเขาอยากทำเป็นไม่สนใจ แต่กลับต้องจับตามองทุกความเคลื่อนไหว เมืองนั้นคือ คาลินินกราด อดีต 'คอนิกส์แบร์ก' เมืองหลวงแห่งปรัสเซียตะวันออก เมืองที่เคยเป็นหัวใจของอารยธรรมเยอรมัน แต่วันนี้กลายเป็น ห้องเก็บขีปนาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย ที่พร้อมจะทำให้ยุโรปทั้งทวีปต้องนั่งไม่ติด

จากศูนย์กลางแห่งปรัสเซียสู่หมากรบของเครมลิน
คอนิกส์แบร์กเคยเป็นเมืองสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งของเยอรมัน เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอัลแบร์ทิน่า บ้านเกิดของอิมมานูเอล คานท์ นักปรัชญาผู้เปลี่ยนแปลงโลก เป็นศูนย์กลางของกองทัพรัสเซียที่สร้างนักรบผู้แข็งแกร่ง และเป็นที่ที่กษัตริย์ฟรีดริชที่ 1 ประกาศสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียครั้งแรกในปี 1701 เมืองนี้เคยเป็นความภาคภูมิใจของจักรวรรดิเยอรมัน

แต่สงครามโลกครั้งที่สองได้เปลี่ยนทุกอย่าง หลังจากที่นาซีเยอรมันพ่ายแพ้ให้กับกองทัพแดงในปี 1945 คอนิกส์แบร์กก็ถูกโซเวียตเข้ายึด สตาลินสั่งขับไล่ชาวเยอรมันทั้งหมดออกจากพื้นที่ เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น 'คาลินินกราด' เพื่อเป็นเกียรติแก่มีไคโล คาลินิน ผู้นำโซเวียต และทำให้เมืองนี้กลายเป็นป้อมปราการของคอมมิวนิสต์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองที่เคยเป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาเยอรมัน กลายเป็นศูนย์กลางของอาวุธสงคราม

เมืองที่เยอรมันไม่กล้าพูดถึง แต่ก็ลืมไม่ลง
ชาวเยอรมันบางกลุ่มยังคงมองคาลินินกราดด้วยความรู้สึกเจ็บปวด มันคือดินแดนที่เคยเป็นของพวกเขา เป็นมรดกแห่งจักรวรรดิที่พวกเขาสูญเสียไปตลอดกาล แต่อย่าเข้าใจผิด ไม่มีใครในรัฐบาลเยอรมันกล้าออกมาพูดว่าพวกเขาต้องการดินแดนนี้คืน เพราะการแตะต้องเมืองนี้ก็เท่ากับ ท้าทายเครมลินโดยตรง และไม่มีใครในยุโรปอยากเป็นต้นเหตุของสงครามโลกครั้งที่สาม

แต่ถึงจะไม่พูดออกมา ความจริงก็คือ คาลินินกราดเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ทำให้รัสเซียแข็งแกร่งในยุโรป และมันทำให้เยอรมันกับฝรั่งเศสต้องเกรงใจรัสเซียมากกว่าที่พวกเขาอยากยอมรับ

คลังแสงของรัสเซียที่พร้อมถล่มยุโรปตะวันตก
คาลินินกราดไม่ใช่แค่เมืองชายขอบของรัสเซีย แต่มันคือ ป้อมปราการทางทหารที่พร้อมโจมตียุโรปได้ทุกเมื่อ กองทัพรัสเซียใช้เมืองนี้เป็นฐานติดตั้ง ขีปนาวุธ Iskander-M ที่สามารถยิงหัวรบนิวเคลียร์ไปถึงกรุงเบอร์ลิน ปารีส หรือแม้แต่ลอนดอนได้ในเวลาไม่กี่นาที ไม่เพียงแค่นั้น เมืองนี้ยังเป็นที่ตั้งของ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ที่สามารถสกัดเครื่องบินของนาโตไม่ให้เข้าใกล้ได้

และถ้านั่นยังไม่พอ คาลินินกราดยังเป็น ที่ตั้งของกองเรือรัสเซียในทะเลบอลติก ซึ่งสามารถปิดเส้นทางเดินเรือที่สำคัญของยุโรปได้ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ถ้ารัสเซียต้องการเล่นเกมหนักกับนาโต พวกเขาแค่ต้องสั่งให้กองเรือจากคาลินินกราดปิดกั้นทะเลบอลติก และยุโรปเหนือจะถูกตัดขาดจากเส้นทางขนส่งทันที

เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส กับปัญหาที่พวกเขาแก้ไม่ได้
สงครามยูเครนทำให้ยุโรปต้องออกมาสนับสนุนเคียฟอย่างเต็มที่ เยอรมันกำลังส่งรถถัง เลโอโพลด์ ฝรั่งเศสกำลังส่งขีปนาวุธ อังกฤษกำลังช่วยฝึกทหารให้ยูเครน พวกเขาหวังว่า ถ้ารัสเซียแพ้ในยูเครน มันจะทำให้มอสโกอ่อนแอ

แต่ปัญหาก็คือ ถ้ารัสเซียถูกไล่ออกจากยูเครน คาลินินกราดจะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งกว่าเดิม เพราะเครมลินไม่มีวันยอมให้ตัวเองอ่อนแอลงในยุโรปโดยไม่มีการตอบโต้

เยอรมันรู้อยู่เต็มอกว่า ถ้าสงครามลุกลาม คาลินินกราดจะเป็นจุดที่ยุโรปต้องกังวลมากที่สุด พวกเขาไม่อยากให้รัสเซียใช้เมืองนี้เป็นฐานยิงนิวเคลียร์ไปยังยุโรปตะวันตก พวกเขาไม่อยากให้รัสเซียใช้มันเป็นฐานปิดล้อมทะเลบอลติก แต่พวกเขาก็ไม่สามารถทำอะไรกับมันได้

รัสเซียรู้ว่าไข่แดงนี้สำคัญแค่ไหน
เครมลินรู้ดีว่า คาลินินกราดคือ ไพ่ตายของรัสเซียในยุโรป พวกเขาไม่จำเป็นต้องทำอะไร แค่มีมันอยู่เฉย ๆ ก็ทำให้ยุโรปต้องนั่งไม่ติดแล้ว

ตอนนี้นาโตกำลังเสริมกำลังในโปแลนด์และลิทัวเนีย อังกฤษกำลังส่งเรือรบเข้าสู่ทะเลบอลติก ฝรั่งเศสกำลังเตรียมระบบป้องกันทางอากาศเพิ่มเติม แต่รัสเซียแค่ เพิ่มขีปนาวุธในคาลินินกราด เท่านั้นเอง และยุโรปก็ตื่นตระหนกกันไปหมด

สรุป: เมืองที่อันตรายที่สุดในยุโรป
คาลินินกราดเป็นมากกว่าเมือง มันคือ ป้อมปราการของรัสเซียในใจกลางยุโรป เป็นดินแดนที่ทำให้เยอรมันต้องเดินบนเปลือกไข่ และทำให้นาโตต้องคิดหนักก่อนจะเผชิญหน้ากับรัสเซีย

ในโลกที่เต็มไปด้วยสงครามการเมืองและการแข่งขันทางทหาร คาลินินกราดไม่ใช่แค่ 'เมืองชายขอบของรัสเซีย' แต่มันคือ หมากสำคัญบนกระดานที่สามารถเปลี่ยนดุลอำนาจของยุโรปได้ทุกเมื่อ

ไม่มีใครในตะวันตกอยากพูดถึงมัน ไม่มีใครอยากแตะมัน แต่ไม่มีใครสามารถทำเป็นลืมมันได้ เพราะพวกเขารู้ดีว่า ถ้าคาลินินกราดยังอยู่ รัสเซียก็จะไม่มีวันแพ้ในเกมอำนาจของยุโรป

Good Samaritan law: กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี ข้อบัญญัติที่ช่วยปกป้องบุคคลผู้ไม่เพิกเฉยต่อเพื่อนมนุษย์

เรื่องของ 'การทำคุณบูชาโทษ' ทำให้เกิดความเข็ดขยาดในหมู่พลเมืองดีผู้ที่มีจิตใจอันเป็นกุศลที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะช่วยเหลือเหล่าบรรดาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อผู้มีความตั้งใจและเจตนาอันในการช่วยเหลือผู้คน แต่กลับกลายมาเป็นคนผิด หรือกระทั่งตกเป็นจำเลยจากการฟ้องร้องจากผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือหรือครอบครัวของคนเหล่านั้น ซึ่งเรื่องราวลักษณะนี้เกิดขึ้นมากมายในหลายๆสังคมและประเทศ 

ดังนั้น ในหลาย ๆ ประเทศจึงมีการออกกฎหมายที่เรียกว่า 'Good Samaritan law' หรือ 'กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี' เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันการกระทำด้วยเจตนาดีเพื่อช่วยเหลือผู้คนของพลเมืองดีผู้ที่มีจิตใจอันเป็นกุศลเหล่านั้น คำว่า “Samaritan” เป็นคำนามที่หมายถึง คนที่ทำความดี, คนที่ให้ช่วยเหลือแก่ผู้อื่น โดย “กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี” เป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองทางกฎหมายแก่บุคคลที่ให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมแก่บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ ป่วย อยู่ในอันตราย หรือไร้ความสามารถ การคุ้มครองพลเมืองดีเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดความลังเลของผู้เห็นเหตุการณ์ที่จะให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากกลัวจะถูกฟ้องร้องหรือดำเนินคดีในข้อหาทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจหรือเสียชีวิตโดยผิดกฎหมาย 

กฎหมายดังกล่าวเป็นหลักการทางกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้ผู้ช่วยเหลือที่ช่วยเหลือเหยื่อที่เดือดร้อนโดยสมัครใจถูกฟ้องร้องในข้อหากระทำผิด วัตถุประสงค์คือเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้คนลังเลที่จะช่วยเหลือคนแปลกหน้าที่ต้องการความช่วยเหลือ เนื่องจากกลัวผลที่ตามมาทางกฎหมาย หากพวกเขาปฏิบัติผิดพลาดบางประการ ในทางตรงกันข้าม กฎหมายหน้าที่ในการช่วยเหลือกำหนดให้ผู้คนในเหตุการณ์เหล่านั้นต้องให้ความช่วยเหลือ และถือว่าผู้ที่ไม่ให้ความช่วยเหลือต้องรับผิดชอบต่อผลจากการปฏิเสธหรือเพิกเฉยละเลย กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีอาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล เช่นเดียวกับปฏิสัมพันธ์กับหลักการทางกฎหมายอื่น ๆ เช่น ความยินยอม สิทธิของผู้ปกครอง และสิทธิในการปฏิเสธการรักษา กฎหมายดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่ได้บังคับใช้กับพฤติกรรมการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือผู้ที่มีอาชีพตอบสนองเหตุฉุกเฉินประจำ แต่กฎหมายบางประเทศได้ขยายการคุ้มครองไปยังนักกู้ภัยอาชีพเมื่อพวกเขาทำหน้าที่เป็นอาสาสมัคร

หลักการที่มีอยู่ในกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีมักใช้ในประเทศที่ระบบกฎหมายเป็นกฎหมายทั่วไปของอังกฤษ ในหลายประเทศที่ใช้กฎหมายแพ่งเป็นรากฐานของระบบกฎหมาย ผลทางกฎหมายแบบเดียวกันนี้มักจะเกิดขึ้นโดยใช้หลักการของหน้าที่ในการกู้ภัย กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีมักจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เนื่องจากแต่ละกฎหมายได้รับการร่างขึ้นโดยอิงตามการตีความของผู้ให้บริการที่ได้รับการคุ้มครองในแต่ละพื้นที่ รวมถึงขอบเขตการดูแลที่ครอบคลุม ดังปรากฏในประเทศต่าง ๆ ดังนี้

ออสเตรเลีย รัฐและเขตการปกครองของออสเตรเลียส่วนใหญ่มีกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายเหล่านี้จะให้การคุ้มครองหากได้รับการดูแลด้วยความตั้งใจ และ "พลเมืองดี" จะไม่ได้รับผลกระทบจากยาหรือแอลกอฮอล์ มีความแตกต่างระหว่างรัฐ ตั้งแต่ไม่บังคับใช้หาก "พลเมืองดี" เป็นสาเหตุของปัญหา (นิวเซาท์เวลส์) ไปจนถึงบังคับใช้ในทุกสถานการณ์หากพยายามด้วยความตั้งใจ (วิกตอเรีย)

เบลเยียม กฎหมายการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของเบลเยียมกำหนดให้บุคคลใดก็ตามที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายในการช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง โดยไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง (มาตรา 422 ประมวลกฎหมายอาญา)

แคนาดา กฎหมายการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของจังหวัด แต่ละจังหวัดมีกฎหมายของตนเอง เช่น กฎหมายการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของออนแทรีโอ และบริติชโคลัมเบีย ตามลำดับ กฎหมายความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินของอัลเบอร์ตา นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ ยูคอน และนูนาวุต และกฎหมายบริการอาสาสมัครของโนวาสโกเชีย เฉพาะในควิเบก ซึ่งเป็นเขตอำนาจศาลแพ่งเท่านั้นที่บุคคลมีหน้าที่ทั่วไปในการตอบสนองตามรายละเอียดในกฎบัตรสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของควิเบก ตัวอย่างกฎหมายทั่วไปของแคนาดามีอยู่ในรัฐบัญญัติพลเมืองดีของออนแทรีโอ ปี 2001 มาตรา 2 
การคุ้มครองจากความรับผิด 2. (1) แม้จะมีกฎหมายทั่วไป แต่บุคคลที่ระบุไว้ในมาตรา (2) ซึ่งให้บริการตามที่อธิบายไว้ในมาตราดังกล่าวโดยสมัครใจและไม่มีการคาดหวังค่าตอบแทนหรือรางวัลตอบแทนที่สมเหตุสมผล จะไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการกระทำหรือการไม่กระทำในขณะให้บริการ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลนั้น 2001, c. 2, s. 2 (1).

จีน มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในประเทศจีน เช่น เหตุการณ์ของเผิงหยูในปี 2006 ซึ่งพลเมืองดีที่ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำร้ายเหยื่อเสียเอง ในปี 2011 เด็กหญิงวัยเตาะแตะชื่อหวางเย่เสียชีวิต เมื่อเธอถูกรถสองคันชน เหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในวิดีโอ ซึ่งแสดงให้เห็นผู้คน 18 คนเห็นเด็กบาดเจ็บ แต่ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ ในการสำรวจเดือนพฤศจิกายน 2011 คนส่วนใหญ่ 71% คิดว่า คนที่เดินผ่านเด็กไปโดยไม่ช่วยเหลือด้วยเพราะต่างเกรงว่าตนเองจะเดือดร้อน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว China Daily รายงานว่า "หน่วยงานและองค์กรของพรรคและรัฐบาลอย่างน้อย 10 แห่งในกวางตุ้ง รวมถึงคณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมายของมณฑล สหพันธ์สตรี สถาบันสังคมศาสตร์ และสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์ ได้เริ่มหารือเกี่ยวกับการลงโทษผู้ที่ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างชัดเจน" เจ้าหน้าที่ของมณฑลกวางตุ้ง พร้อมด้วยทนายความและนักสังคมสงเคราะห์จำนวนมาก ได้จัดการประชุมเป็นเวลา 3 วันในนครกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑล เพื่อหารือเกี่ยวกับคดีนี้ มีรายงานว่าสมาชิกรัฐสภาหลายคนของมณฑลได้ร่างกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี ซึ่งจะ "ลงโทษผู้ที่ไม่ช่วยเหลือในสถานการณ์ประเภทนี้และต้องชดใช้ค่าเสียหายถ้ามีการฟ้องร้อง" ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสาธารณชนได้ถกเถียงกันถึงแนวคิดนี้เพื่อเตรียมการสำหรับการอภิปรายและการผลักดันทางกฎหมาย ในวันที่ 1 สิงหาคม 2013 กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีฉบับแรกของประเทศมีผลบังคับใช้ในนครเซินเจิ้น และต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2017 กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีแห่งชาติของจีนมีผลบังคับใช้ในมาตรา 184 ในหลักการทั่วไปของกฎหมายแพ่ง

ฟินแลนด์ รัฐบัญญัติการกู้ภัยของฟินแลนด์กำหนดหน้าที่ในการกู้ภัยอย่างชัดเจนว่าเป็น "หน้าที่ทั่วไปในการกระทำ" และ "มีส่วนร่วมในกิจกรรมการกู้ภัยตามความสามารถของ [บุคคล]" รัฐบัญญัติการกู้ภัยฟินแลนด์จึงรวมถึงหลักการของความสมส่วนซึ่งกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญต้องให้ความช่วยเหลือทันทีมากกว่าบุคคลทั่วไป ประมวลกฎหมายอาญาของฟินแลนด์ กำหนดว่า มาตรา 15 การละเลยการช่วยเหลือ (578/1995) บุคคลที่ทราบว่าผู้อื่นกำลังตกอยู่ในอันตรายถึงชีวิตหรืออันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของตน และไม่ให้หรือจัดหาความช่วยเหลือดังกล่าวที่พิจารณาจากทางเลือกและลักษณะของสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล จะต้องถูกตัดสินจำคุกไม่เกินหกเดือนในข้อหาละเลยการช่วยเหลือ

ฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตรายหรืออย่างน้อยที่สุดต้องขอความช่วยเหลือ ผู้ที่ช่วยเหลือจะไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย เว้นแต่ความเสียหายนั้นเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือเกิดจากความผิดพลาด "ร้ายแรง" 

เยอรมนี การไม่ให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจะถือเป็นความผิดตามมาตรา 323c ของประมวลกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือใด ๆ ที่ให้ไปนั้นไม่สามารถและจะไม่ถูกดำเนินคดี แม้ว่าจะทำให้สถานการณ์แย่ลงหรือไม่เป็นไปตามเกณฑ์การปฐมพยาบาลเฉพาะก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงได้รับการสนับสนุนให้ช่วยเหลือในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ แม้ว่าความพยายามนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จก็ตาม นอกจากนี้ ผู้ที่ให้การปฐมพยาบาลยังได้รับความคุ้มครองจากประกันอุบัติเหตุตามกฎหมายของเยอรมนีในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ สูญเสีย หรือเสียหาย

อินเดีย ในปี 2016 เกิดอุบัติเหตุทางถนนในอินเดียประมาณ 480,000 ครั้ง โดยมีผู้เสียชีวิต 150,000 คน กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีให้การคุ้มครองทางกฎหมายแก่พลเมืองดีที่ช่วยเหลือเหยื่ออุบัติเหตุด้วยการดูแลทางการแพทย์ฉุกเฉินภายใน "ชั่วโมงทอง" ดังนั้น ประชาชนจึงได้รับการสนับสนุนให้ช่วยเหลือในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ แม้ว่าความพยายามนั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จก็ตาม

ไอร์แลนด์ รัฐบัญญัติกฎหมายแพ่ง (บทบัญญัติทั่วไป) ปี 2011 ได้ออกกฎหมายที่กล่าวถึงความรับผิดปกป้องพลเมืองดีหรืออาสาสมัครในสาธารณรัฐไอร์แลนด์โดยเฉพาะ โดยไม่กำหนดหน้าที่ในการแทรกแซง รัฐบัญญัตินี้กำหนดให้บุคคลหรือองค์กรอาสาสมัครไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่ให้ "ความช่วยเหลือ คำแนะนำ หรือการดูแล" แก่บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ มีความเสี่ยงหรือเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย (หรือดูเหมือนว่าจะเป็นเช่นนั้น) โดยมีข้อยกเว้นสำหรับกรณีที่เกิด "การกระทำโดยไม่สุจริต" หรือ "ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" ในนามของผู้ดูแล และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานยนต์โดยประมาทเลินเล่อ รัฐบัญญัตินี้กำหนดไว้เฉพาะกรณีที่พลเมืองดีหรืออาสาสมัครไม่มีหน้าที่ในการดูแล สภาการดูแลฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล (PHECC) กล่าวถึงส่วนพลเมืองดีของรัฐบัญญัติกฎหมายแพ่งปี 2011 โดยเฉพาะ และระบุว่า "การใช้ทักษะและยาที่จำกัดเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพที่ลงทะเบียนเท่านั้นจะอยู่ภายใต้รัฐบัญญัติ 'พลเมืองดี' รัฐบัญญัตินี้ถือว่าคุณไม่มีเจตนาที่จะประกอบวิชาชีพในช่วงเวลานี้ และคุณทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี ช่วยเหลือจนกว่าหน่วยบริการฉุกเฉินจะมาถึงที่เกิดเหตุและคุณสามารถส่งมอบตัวได้"

อิสราเอล กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องช่วยเหลือบุคคลที่ตกอยู่ในอันตรายหรืออย่างน้อยที่สุดคือ การร้องขอความช่วยเหลือ บุคคลที่ช่วยเหลือด้วยความจริงใจจะไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย ผู้ช่วยเหลือมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพวกเขาในระหว่างการให้ความช่วยเหลือ

ญี่ปุ่น มีกฎหมายบางฉบับที่เทียบเท่ากับกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี ตัวอย่างเช่น มาตรา 37 ของประมวลกฎหมายอาญาได้ระบุว่า “การกระทำที่บุคคลถูกบังคับให้กระทำเพื่อป้องกันอันตรายในปัจจุบันต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ หรือทรัพย์สินของตนเองหรือบุคคลอื่นใด จะไม่ถูกลงโทษก็ต่อเมื่ออันตรายที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวไม่เกินอันตรายที่จะหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม การกระทำที่ก่อให้เกิดอันตรายมากเกินไปอาจนำไปสู่การลดโทษหรืออาจช่วยให้ผู้กระทำผิดพ้นผิดเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์นั้น ๆ” และกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีอีกฉบับหนึ่งปรากฏในมาตรา 698 ของประมวลกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น โดยกฎหมายดังกล่าวให้การคุ้มครองผู้ช่วยจากความรับผิด ซึ่งระบุว่า “หากผู้จัดการมีส่วนร่วมในการแทรกแซงธุรกิจของผู้อื่นโดยเจตนาดีเพื่อให้ผู้ว่าจ้างหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อตัวผู้ว่าจ้าง ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ผู้จัดการจะไม่ต้องรับผิดในการชดเชยความเสียหายที่เป็นผลจากการกระทำดังกล่าว เว้นแต่ผู้จัดการจะกระทำด้วยความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพยังต้องปฏิบัติตามหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือตามกฎหมาย 

โรมาเนีย การปฏิรูปด้านสุขภาพที่ผ่านในปี 2006 ระบุว่าบุคคลที่หากไม่ได้รับการฝึกอบรมทางการแพทย์หรือให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยสมัครใจตามคำแนะนำของสำนักงานแพทย์หรือจากความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลของตนเอง การกระทำด้วยความเต็มใจเพื่อรักษาชีวิตหรือสุขภาพของบุคคลอื่นจะไม่ถือเป็นความรับผิดชอบภายใต้กฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่ง

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในเดือนพฤศจิกายน 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศอาหรับประเทศแรกที่ผ่านกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี

สหราชอาณาจักร ในกฎหมายทั่วไปของอังกฤษและเวลส์ไม่มีความรับผิดทางอาญาสำหรับการไม่ดำเนินการในกรณีที่บุคคลอื่นตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้ ในกรณีที่ผู้เห็นเหตุการณ์ยอมรับความรับผิดชอบ สถานการณ์อันตรายเกิดขึ้นโดยพวกเขา หรือมีหน้าที่ตามสัญญาหรือกฎหมายที่จะต้องดำเนินการ ผู้เห็นเหตุการณ์จะต้องรับผิดทางอาญาสำหรับการไม่ดำเนินการ ศาลไม่เต็มใจที่จะลงโทษผู้ที่พยายามช่วยเหลือ ในอังกฤษและเวลส์ รัฐบัญญัติการกระทำทางสังคม ความรับผิดชอบ และความกล้าหาญ 2015 ช่วยปกป้อง "พลเมืองดี" เมื่อพิจารณาการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเลยหน้าที่ รัฐบัญญัตินี้เป็นหนึ่งในกฎหมายที่สั้นที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยมีความยาวเพียง 300 คำเศษ ตั้งแต่ประกาศใช้เป็นกฎหมายจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยถูกใช้อ้างถึงในศาลเลย และถือว่าคลุมเครือ พรรคแรงงานวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านกฎหมายนี้ว่ามีค่าในแนวคิด แต่ขาดความพยายามอย่างจริงจัง

สหรัฐอเมริกา ทั้ง 50 รัฐและเขตโคลัมเบียมีกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีบางประเภท รายละเอียดของกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีแตกต่างกันไปตามเขตอำนาจศาล รวมถึงใครได้รับการคุ้มครองจากความรับผิดและภายใต้สถานการณ์ใด ตัวอย่างของกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ “รัฐบัญญัติความช่วยเหลือทางการแพทย์การบิน ปี 1998” ซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ "พลเมืองดี" ขณะอยู่บนเครื่องบิน หรือ “รัฐบัญญัติการบริจาคอาหารพลเมืองดี ปี 1996” ซึ่งให้การคุ้มครองความรับผิดจำกัดแก่ผู้บริจาคอาหาร ส่วนประเทศที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีไห้แก่ ปากีสถาน แอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไปของกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีมักมีการผสมผสานหรือการตีความลักษณะที่คล้ายคลึงกันที่แตกต่างกัน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค กฎหมายคุ้มครองพลเมืองดีในมลรัฐมินนิโซตา เวอร์มอน และโรดไอแลนด์] กำหนดให้บุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุฉุกเฉินต้องให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ความช่วยเหลือนี้อาจทำได้โดยโทร 911 การละเมิดกฎหมายในการทำหน้าที่ในการช่วยเหลือถือเป็นความผิดทางอาญาลหุโทษในมลรัฐมินนิโซตา และอาจต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 ดอลลาร์ในมลรัฐเวอร์มอนต์ มลรัฐอื่น ๆ อย่างน้อยห้ารัฐรวมทั้งแคลิฟอร์เนียและเนวาดาได้พิจารณาอย่างจริงจังที่จะเพิ่มกฎหมายกำหนดหน้าที่ในการช่วยเหลือลงในกฎหมายคุ้มครองพลเมืองดี กฎหมายของมลรัฐนิวยอร์กให้สิทธิคุ้มครองแก่ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน นโยบายสาธารณะเบื้องหลังกฎหมายมีดังนี้ “การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการของประชาชน การดูแลทางการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล การสื่อสารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพระหว่างรถพยาบาลและโรงพยาบาล และการดูแลและการขนส่งผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพถือเป็นบริการสาธารณสุขที่จำเป็น”

สำหรับบ้านเราแล้วยังไม่มีกฎหมายในลักษณะเช่นนี้เลย แต่กลับมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่เพิกเฉยต่อการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา (ในส่วนของลหุโทษ) มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่นแต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นความโชคดีที่พี่น้องประชาชนคนไทยไม่เคยนิ่งดูดายต่อพี่น้องร่วมชาติที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อน แม้จะไม่มีกฎหมายคุ้มครองในลักษณะเช่นนี้ก็ตาม หากแต่นักการเมืองไทยที่ทำหน้าที่ในรัฐสภาจะได้ตระหนักถึงเรื่องราวเช่นนี้ และมีการออกกฎหมายในลักษณะนี้จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชนคนไทยผู้ซึ่งทำหน้าที่พลเมืองดีให้เต็มที่โดยไม่ต้องห่วงถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะตามได้

เมื่อเงาเบื้องหลังขบวนการแบ่งแยกดินแดนลดเงินสนับสนุน สงครามข้อมูลเสื่อมพลัง จำต้องใช้แนวทางรุนแรง ‘ลอบสังหาร – ก่อวินาศกรรม’

เงาแห่งปาตานี : จากกองโจรสู่สงครามข้อมูล ความซับซ้อนของขบวนการแบ่งแยกดินแดน

บทนำ: จากกองโจรสู่สงครามข้อมูล พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย—ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส—เป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งด้านความมั่นคงมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่นี้ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกันทั้งหมด แต่กลับมีโครงสร้างที่หลวม ประกอบด้วยกลุ่มที่มีแนวคิดและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ตั้งแต่แนวคิดการสร้างสาธารณรัฐ (Republic) ไปจนถึงการฟื้นฟูราชอาณาจักรมลายูปัตตานี

ตั้งแต่ยุคของ พูโล (PULO - Patani United Liberation Organization) จนถึงการกำเนิดของ BRN (Barisan Revolusi Nasional) และการพัฒนาสู่แนวทางการต่อสู้เชิงข้อมูลผ่านเงินทุนของ USAID (United States Agency for International Development) ทำให้เห็นว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ไม่ได้อยู่นิ่ง แต่กลับมีพลวัตและปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทระหว่างประเทศและกระแสโลก

บทความนี้จะสำรวจพัฒนาการของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ยุคแรกของการก่อการร้าย ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่สงครามข้อมูลและการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของ 'ปาตานี'

บทที่ 1: กำเนิดของพูโลและยุคแรกของการก่อการร้าย (พ.ศ. 2511 – 2530)
1.1 จุดเริ่มต้นของขบวนการพูโล
ปี พ.ศ. 2511 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของขบวนการแบ่งแยกดินแดน เมื่อกลุ่มพูโลก่อตั้งขึ้นโดยมี ตวนกูวีรอ อับดุลเลาะห์มาน รอเซาะ เป็นผู้นำ บางข้อมูลจะระบุว่า ตวนกูบีรอ กอตอนีลอ หรือ อดุลย์ ณ วังคราม

เป้าหมายของขบวนการนี้คือการประกาศอิสรภาพจากประเทศไทย โดยใช้ วิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธ และอ้างสิทธิ์การฟื้นฟู 'ราชอาณาจักรปัตตานีระยา' พร้อมตั้งตนเป็นราชวงศ์แห่งสายบุรี (ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ถูกสร้างขึ้นมาเอง) พูโลได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายอิสลามหัวรุนแรงในตะวันออกกลาง และมีฐานฝึกอบรมในมาเลเซีย เงินทุนหลักมาจากตะวันออกกลางและยุโรป เป้าหมายหลักของการก่อเหตุคือ การโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ โรงเรียนไทย และโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล

1.2 การปราบปรามและการแตกตัวของพูโล
ในช่วงปลายทศวรรษ พ.ศ. 2530 รัฐบาลไทยเริ่มปราบปรามขบวนการพูโลอย่างจริงจัง ส่งผลให้แกนนำของขบวนการบางส่วนถูกจับกุม บางส่วนถูกสังหาร ขณะที่กลุ่มที่เหลือกระจัดกระจายและหลบหนีออกนอกประเทศ พูโลเริ่มอ่อนกำลังลง และแตกตัวออกเป็นกลุ่มย่อย บางกลุ่มยังคงดำเนินการต่อสู้แบบกองโจร ขณะที่บางกลุ่มเริ่มเปลี่ยนแนวทางไปสู่สงครามข้อมูลแทน

บทที่ 2: การลี้ภัยของพูโลและการเปลี่ยนผ่านสู่สงครามข้อมูล (พ.ศ. 2530 – 2553)
2.1 การสร้างเครือข่ายในต่างประเทศ
เมื่อรัฐบาลไทยสามารถปราบปรามพูโลในประเทศได้ ผู้นำบางส่วนต้องหนีไปต่างประเทศ หนึ่งในศูนย์กลางที่สำคัญของขบวนการนี้คือ สวีเดน ซึ่งเป็นที่พำนักของแกนนำอย่าง ตวนกูบีรอ อับดุลเลาะห์มาน รอเซาะ กลุ่มผู้นำที่หลบหนีไปยังสวีเดนเริ่มเปิดแนวรบใหม่ผ่านโลกออนไลน์ พวกเขาก่อตั้งเว็บไซต์ 'มนุษยะดอทคอม' โดยพยายามสร้างเนื้อหาประวัติศาสตร์เท็จ กล่าวอ้างว่าปัตตานีคือรัฐอิสระที่ถูกไทยรุกรานและยึดครอง และมีเป้าหมาย โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพูโล 

2 นักศึกษาไทยมุสลิมที่เป็นผู้ทำเว็บไซต์ งั้นกบดานอยู่ที่บางเขนแยกหลักสี่และเกือบถูกทางการไทยจับได้ แต่สุดท้ายก็ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศสวีเดนตามรอยขบวนการ
> ช่วงเวลานี้มีการเรียกร้องคืน 'ปืนใหญ่ปัตตานี' โดยอ้างว่าเป็นสัญลักษณ์ของเอกราชของปัตตานี ซึ่งเป็นการสร้างกระแสชาตินิยมเพื่อขยายแนวร่วมในระดับสากล
2.2 การช่วงชิงอำนาจนำจากกลุ่มล้มเจ้าในต่างประเทศ
หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ขบวนการล้มเจ้าจำนวนมากหลบหนีไปอยู่ในยุโรป และพบว่ากลุ่มพูโลที่ลี้ภัยอยู่เป็นเครือข่ายที่มีศักยภาพในการเคลื่อนไหวทางการเมือง นักเคลื่อนไหวอย่าง อาจารย์ใจ พยายาม ช่วงชิงอำนาจนำของขบวนการพูโล และผูกโยงขบวนการแบ่งแยกดินแดนเข้ากับขบวนการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ช่วงนี้เองเราจะเห็นเพจพูโล ในเฟสบุ๊ค ในอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรกและเกิดการต่อสู้ทางความคิดผ่านบทความที่โจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงรอยต่อปี 2549 จนถึงปี 2553
ในช่วงนี้เองที่มี ข่าวลือเกี่ยวกับฟ 'ชายชุดดำ' ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น กองกำลังพูโลหรือขบวนการจากสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่สุดท้ายกลับพบว่า ข่าวลือนี้ถูกสร้างขึ้นโดยเครือข่ายผู้สนับสนุนการเมืองฝ่ายซ้ายในสวีเดน (คนเสื้อแดงที่มีแนวคิดเรื่องคอมมิวนิสต์) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือโจมตีรัฐบาลไทย

บทที่ 3: การล่มสลายของพูโลและการกำเนิดของ BRN (พ.ศ. 2553 – 2560)
การเปลี่ยนผ่านจากพูโลสู่ BRN
ในช่วงปี พ.ศ. 2550 – 2555 ขบวนการพูโลเริ่มเผชิญกับภาวะล่มสลาย เนื่องจากแนวทางการใช้ความรุนแรงไม่สามารถเอาชนะกองทัพไทยได้สภาวะทางการเมืองไม่สามารถโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างที่คิดหวัง ทำให้การเคลื่อนไหวกลายเป็น สงครามที่ยืดเยื้อและเสียเปรียบเชิงยุทธศาสตร์ อดีตสมาชิกพูโลที่ต้องการสู้ต่อ จึงรวมตัวกันเป็น BRN (Barisan Revolusi Nasional - แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี) แต่ BRN ไม่มีโครงสร้างรวมศูนย์ที่ชัดเจน เพราะบางกลุ่มต้องการ รัฐสาธารณรัฐ (Republic) บางกลุ่มยังยึดแนวคิด ราชอาณาจักรมลายูปัตตานี ความหลากหลายที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลทำให้โครงสร้างของ brn มีความเทอะทะอยู่ไม่น้อยและเจรจาได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2560 มีความพยายามที่จะเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลไทย อยู่หลายครั้ง...แต่เพราะความแตกต่างที่ไม่เหมือนพูโล นี้ทำให้ BRN ไม่มีเอกภาพและอำนาจต่อรองทางการเมืองต่ำ ส่งผลให้BRNไม่มีผลงานที่ชัดเจนแน่นอน ส่งผลทำให้เกิด ความล้มเหลวของ BRN ในการเจรจาสันติภาพ การก่อเหตุส่วนใหญ่เน้นไปที่การรักษาสถานการณ์หรือการมีตัวตนของ brn เท่านั้น...

บทที่ 4: USAID และสงครามข้อมูล (พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)
การเปลี่ยนแปลงจากการใช้กำลังสู่สงครามข้อมูลในโครงสร้าง hybrid warfare
ตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ การต่อสู้ด้วยอาวุธที่ดำเนินมาตลอดหลายทศวรรษเริ่มไม่ได้ผล และกองทัพไทยก็สามารถตอบโต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนต้องปรับแนวทางใหม่เพื่อความอยู่รอด

ในช่วงเวลานี้เอง USAID (United States Agency for International Development) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินงานในด้านการพัฒนาและสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยอ้างว่าเป็นโครงการพัฒนาเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคทางสังคม

อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนจาก USAID ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การพัฒนาเศรษฐกิจหรือการฟื้นฟูชุมชน แต่กลับมีบทบาทสำคัญในการ เปลี่ยนแนวทางการต่อสู้จากการก่อการร้ายด้วยอาวุธไปสู่ “สงครามข้อมูล” ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องเผชิญกับมาตรการทางทหารของรัฐไทยโดยตรง

การสร้างอัตลักษณ์ใหม่: 'Patani Madeka' และสงครามอุดมการณ์ความคิด
หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID คือ การสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองใหม่ของ 'Patani Madeka' หรือ 'ปาตานีเอกราช' และดึงนักการเมืองขึ้นมาเป็นปากเสียงให้กับผู้ก่อความไม่สงบ...

แนวคิด 'Patani Madeka' ไม่ได้มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของภูมิภาคนี้ แต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ อ้างสิทธิในการปกครองตนเองและเรียกร้องเอกราช ผ่านการใช้แนวคิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของประชาชน (Right to Self-Determination) ยุทธศาสตร์การสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของปาตานีมีหลายองค์ประกอบ ได้แก่:
1. การสร้างอัตลักษณ์ทางการเมืองให้กับ 'ปาตานี'
การรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ในแบบที่ปรับแต่งใหม่ให้สอดคล้องกับแนวคิดการแบ่งแยกดินแดน การกล่าวอ้างว่าปาตานีเคยเป็นรัฐอิสระที่ถูกไทยรุกราน การใช้ สัญลักษณ์ทางการเมือง เช่น ธงประจำขบวนการ รัฐธรรมนูญจำลอง และแผนที่ดินแดนที่ถูก 'ไทยยึดครอง'
2. การเปลี่ยน 'มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษา' ให้กลายเป็นสนามรบทางความคิด
ก่อนหน้านี้ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนเคยใช้ ปอเนาะ (โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม) เป็นฐานที่มั่นในการปลูกฝังแนวคิดให้เยาวชน

แต่หลังจากมีการปราบปราม แนวทางใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID คือ การเข้าไปแทรกแซงระบบการศึกษาของไทยโดยตรง นักวิชาการและนักศึกษาถูกปลูกฝังแนวคิด 'Patani Madeka' ผ่านงานวิจัย วิชาเรียน และโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ
3. การใช้นักการเมืองและโซเชียลมีเดียเป็นอาวุธหลัก
มีการผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานีในรูปแบบใหม่ที่เน้นการกดขี่โดยรัฐไทย
การสร้างกระแสใน Facebook, Twitter, YouTube และ TikTok เพื่อเผยแพร่แนวคิดของขบวนการ

การใช้นักการเมืองอินฟลูเอนเซอร์และสื่อกระแสรอง เพื่อให้แนวคิด 'Patani Madeka' ถูกพูดถึงมากขึ้น และผลักดันสิ่งเหล่านี้ขึ้นในสภา

4. การผลักดันผ่านเวทีระหว่างประเทศ
การนำประเด็นปาตานีเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ (UN), องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ, และสื่อระดับโลก
การใช้แนวคิดเดียวกับ 'Catalonia Model' ของสเปน ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชโดยใช้กฎหมายและประชามติแทนการใช้กำลังอาวุธ

การแทรกแซงมหาวิทยาลัย: เปลี่ยนจาก 'นักรบ' เป็น 'นักเคลื่อนไหว'
ก่อนหน้านี้ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนพยายามสร้างแนวร่วมผ่านการฝึกอาวุธและใช้กองกำลังติดอาวุธ แต่หลังจากความพยายามนี้ล้มเหลว แนวทางใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID คือ การใช้สถาบันการศึกษาเป็นเครื่องมือหลักในการปลูกฝังแนวคิด ระดับอาจารย์ มีการสนับสนุนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยในพื้นที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ 'สิทธิในการปกครองตนเอง'

งานวิจัยหลายฉบับได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ 'การคืนเอกราชให้ปาตานี'

ระดับนักศึกษา
นักศึกษาถูกดึงเข้าสู่ขบวนการผ่านกิจกรรมเสวนา งานวิจัย และกลุ่มเคลื่อนไหว
มีการใช้ทุนการศึกษาและโครงการแลกเปลี่ยนเพื่อดึงนักศึกษาเข้าสู่แนวคิดนี้
อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2565 แนวคิดนี้กลับมีการชะลอตัวเนื่องจากสภาพการเมืองในประเทศไทยไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวของกลุ่ม permas ที่เคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่ม 3 นิ้วนั้นไม่ประสบความสำเร็จในแง่ของการต่อสู้ทางการเมือง เคลื่อนไหวทางการเมืองในประเด็นนี้ส่วนมากถูกจับ ส่งผลทำให้แนวคิดนี้เกิดการชะลอตัว

เงามืดหลังปี 2567: การลดลงของเงินทุนจาก USAID และทิศทางใหม่ของขบวนการใต้ดิน หลังจากที่สหรัฐฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ แนวทาง 'America First' ส่งผลให้ USAID ถูกตัดงบประมาณจำนวนมาก ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่เคยพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกต้องปรับตัวอย่างหนัก กิจกรรมในมหาวิทยาลัยเริ่มลดลง เวทีระหว่างประเทศที่เคยเป็นแหล่งปลุกระดมและสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลไทยก็เริ่มเงียบลง แนวคิด 'Patani Madeka' ที่เคยถูกขับเคลื่อนผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเข้มข้นก็เริ่มอ่อนแรงลงตามไปด้วย ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวพยายามหาช่องทางใหม่ในการสนับสนุน เช่น การหันไปขอการสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลางและยุโรป แต่ความช่วยเหลือจากแหล่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่มีเสถียรภาพเท่ากับเงินทุนจาก USAID

เมื่อแนวทางสงครามข้อมูลเริ่มเสื่อมพลัง กลุ่มบางส่วนจึงหันกลับไปใช้แนวทางเดิม—ลอบสังหารและก่อวินาศกรรม—เพื่อรักษาอิทธิพลและสร้างเงื่อนไขต่อรอง แม้จะไม่มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการทำสงครามข้อมูลขนาดใหญ่เหมือนในอดีต แต่การปฏิบัติการระดับพื้นที่ยังคงดำเนินต่อไป ขบวนการเหล่านี้อาศัยช่องว่างของกฎหมายและโครงสร้างการข่าวที่ยังมีจุดอ่อนของฝ่ายความมั่นคงในการแทรกซึมและก่อเหตุ

ข้อสรุป: การต่อสู้ทางความคิดลดลง แต่ความรุนแรงกลับมา

แม้ว่าการต่อสู้ทางข้อมูลจะลดลงไป แต่สิ่งที่ย้อนกลับมาแทนคือการใช้ความรุนแรงเป็นกลไกหลัก อย่างไรก็ตาม ขบวนการ BRN หรือกลุ่มก่อการร้ายที่ยังเคลื่อนไหวในปัจจุบัน ไม่ได้มีเอกภาพชัดเจนอีกต่อไป การก่อเหตุส่วนใหญ่ ไม่ได้มีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแบ่งแยกดินแดนโดยแท้จริง แต่เป็นการรักษาฐานอำนาจของกลุ่มที่ยังเหลืออยู่ ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการแสดงตนเพื่อรักษาเครือข่ายสนับสนุน มากกว่าที่จะมีแผนการทางทหารหรือการเมืองที่แน่นอน

สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐต้องตระหนักคือ ขบวนการเหล่านี้ฝังรากลึกอยู่ในเครือข่ายหมู่บ้านและสถานศึกษา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐยังเข้าไม่ถึงอย่างแท้จริง จุดอ่อนสำคัญของหน่วยงานรัฐในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้คือการที่ เจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะทหาร ต้องผลัดเปลี่ยนกำลังพลตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับชุมชนได้ ขณะที่เครือข่ายผู้ก่อการร้ายมีรากฐานอยู่ในพื้นที่มายาวนาน ใช้ความสัมพันธ์ทางครอบครัว ระบบการศึกษา และความเชื่อทางศาสนาเป็นเครื่องมือสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

ดังนั้น แนวทางที่รัฐต้องใช้ในการรับมือกับปัญหานี้ ไม่ใช่แค่การปราบปรามหรือการส่งกำลังทหารเข้าไปเพียงชั่วคราว แต่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายของรัฐที่ฝังตัวอยู่ในพื้นที่ระยะยาว การมีเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่นานพอจะสร้างสายสัมพันธ์กับชาวบ้าน สร้างความเชื่อใจ และเข้าใจโครงสร้างของขบวนการจากระดับรากหญ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด การ "ฝังตัว" ในพื้นที่จึงต้องเป็นยุทธศาสตร์หลักของฝ่ายความมั่นคง ไม่ใช่แค่การเข้าไปดูแลเป็นครั้งคราว แต่ต้องเป็นการสร้างโครงข่ายของรัฐที่สามารถเข้าถึงชุมชนในทุกระดับได้อย่างแท้จริง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top