Saturday, 22 March 2025
Columnist

‘ทรัมป์’ ปรับโครงสร้าง!! คณะที่ปรึกษาโรงเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพ ย้ำ!! ความแข็งแกร่งของกองทัพ ต้องมาก่อนแนวคิด Woke

(12 ก.พ. 68) ข่าวนี้ถือว่าเรื่องที่น่าสนใจมากนะครับเพราะว่า สิ่งที่ใน donald trump กำลังทำอยู่นะตอนนี้คือการล้างหน่วยงานความมั่นคงโดยเปลี่ยนรูปแบบมาให้เป็นแบบใหม่โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่เลือกความหลากหลาย นับว่าเป็นความคิดที่ฉันฉลาดมาก

ข้าพเจ้าถือว่าเป็นจุดที่เป็นโมเดลที่น่าสนใจผู้ว่าข้าราชการหรือการเมืองก็ควรฟังเพราะโดยหลักการแล้วนะครับ
ไม่ว่าจะเลือก สส. เลือก สสร. ฯลฯ ต้องมีความเหมาะสมในสายวิชาชีพนั้นๆ
"ประชาธิปไตยที่ดี" ต้องเกิดขึ้นจาก "ความเป็นมืออาชีพ"ครับ

ความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ หรือคณะกรรมการ กรรมาธิการต่างๆ ควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจง มีความเป็นมืออาชีพความชำนาญ ไม่ใช่ความหลากหลายครับ 

ลองฟังข่าวนี้ดูครับ

วอชิงตัน – ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศปรับโครงสร้างคณะที่ปรึกษาของโรงเรียนนายร้อยทุกเหล่าทัพของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น West Point, Annapolis, Colorado Springs และ Coast Guard พร้อมให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นไปเพื่อฟื้นฟูหลักการดั้งเดิมของกองทัพ และขจัดอิทธิพลของแนวคิดที่มุ่งเน้นความหลากหลายโดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพ

ทรัมป์เน้นย้ำว่า "กองทัพอเมริกันต้องกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง" โดยเขาเห็นว่าการคัดเลือกบุคลากรเพื่อดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพ ควรยึดหลักความสามารถและความเหมาะสม มากกว่าการกำหนดโควต้าตามเชื้อชาติ เพศ หรืออัตลักษณ์อื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อสมรรถนะโดยรวมขององค์กร
ยกเลิก DEI – กระทรวงกลาโหมเตรียมปรับโครงสร้างครั้งใหญ่

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Pentagon) กำลัง ยุตินโยบาย Diversity, Equity, Inclusion (DEI) ที่สนับสนุนการจัดสรรโควต้าให้กับกลุ่มที่หลากหลายภายในองค์กรของรัฐ ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนมองว่าเป็นแนวทางที่ช่วยให้กองทัพมีความครอบคลุมมากขึ้น แต่ฝ่ายที่คัดค้าน โดยเฉพาะทรัมป์และผู้สนับสนุนของเขา มองว่า การแต่งตั้งบุคลากรควรยึดตามความสามารถมากกว่าการกำหนดโควต้า

รัฐมนตรีกลาโหม พีท เฮกเซธ ได้กล่าวย้ำในที่ประชุมเจ้าหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมว่า "ความแข็งแกร่งของกองทัพไม่ได้เกิดจากความแตกต่าง แต่เกิดจากความเป็นหนึ่งเดียว" พร้อมชี้ให้เห็นว่า การนำแนวคิด Woke มาใช้ในกองทัพอาจส่งผลต่อขีดความสามารถของหน่วยงานด้านความมั่นคง

นอกจากนี้ เฮกเซธยังให้การสนับสนุนการตรวจสอบหน่วยงานด้านกลาโหม โดยให้ Department of Government Efficiency (DOGE) ภายใต้การดูแลของ อีลอน มัสก์ เข้าตรวจสอบงบประมาณและประสิทธิภาพของกองทัพ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการที่ทรัมป์ต้องการผลักดัน

เปิดเส้นทางมรณะ ‘Dunki Route’ ชาวอินเดียนับหมื่น แห่ลอบเข้าอเมริกา-ยุโรป เสี่ยงตายเพื่อฝัน

ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ณ เดือนพฤษภาคม 2024 จำนวนชาวอินเดียโพ้นทะเลทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 35.42 ล้านคน คิดเป็น 2.53% ของจำนวนพลเมืองอินเดียทั้งประเทศราว 1,400ล้านคน โดย 10 ประเทศที่มีชาวอินเดียอาศัยอยู่มากที่สุดไล่เรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ มาเลเซีย แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย เมียนมา สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ ศรีลังกา และคูเวต ซึ่งเป็นการนับรวมทั้งผู้ที่ยังคงถือสัญชาติอินเดียและผู้ที่มีเชื้อชาติอินเดียแต่ไม่ได้ถือสัญชาติอินเดียแล้ว

ตัวเลขดังกล่าว น่าจะไม่ได้นับรวมชาวอินเดียที่ลักลอบเข้าประเทศเหล่านี้อย่างผิดกฎหมายอีกจำนวนมาก ซึ่งชาวอินเดียเหล่านั้นได้ลักลอบเข้าประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกด้วยเส้นทางที่เรียกว่า 'Dunki route' แปลได้ว่า 'ทางลาเดิน' คำนี้มีที่มาจากสำนวนภาษาปัญจาบ 'Dunki' นอกจากแปลว่า 'ลา' แล้วยังแปลว่า “กระโดดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง” เป็นชื่อเรียกเส้นทางที่ที่เด็ก ๆ หนุ่มสาว จากแคว้น Punjab, Haryana และ Gujarat เป็นเส้นทางผิดกฎหมายที่ผู้คนจำนวนมากใช้เพื่อข้ามพรมแดนออกจากอินเดียไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นเส้นทางที่อันตรายด้วยมีความเสี่ยงมากมาย เนื่องจากต้องอดอาหารหลายวัน เดินผ่านป่า ข้ามแม่น้ำและทะเล เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหน้าที่ เส้นทางผิดกฎหมายเหล่านี้ แม้จะว่า มักจะมีภัยคุกคามและจุดจบที่ไม่พึงปรารถนา แต่ก็เป็นที่นิยมในหมู่เยาวชนที่ต้องการชีวิตที่ดีขึ้นและไล่ตามความฝันแบบอเมริกัน (American dream)

ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยสำนักงานศุลกากรและป้องกันชายแดนของสหรัฐฯ ผู้ย้ายถิ่นฐานจากอินเดียประมาณ 42,000 คนข้ามพรมแดนทางใต้โดยผิดกฎหมายระหว่างเดือนตุลาคม 2022 ถึงกันยายน 2023 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 เป็นต้นมาชาวอินเดียประมาณ 97,000 คนพยายามเข้าสู่สหรัฐอเมริกาอย่างผิดกฎหมายและถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ทั้ง ๆ ที่เส้นทางไปสู่ประเทศต่าง ๆ อย่างผิดกฎหมายนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ไม่เพียงแต่ในแง่ของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายทางการเงินด้วย การเดินทางด้วยลาไปยังสหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายระหว่าง 150,000-400,000 รูปี (58,500-156,000) และอาจสูงถึง 700,000 รูปี (273,000) และยิ่งใช้เงินมากเท่าไหร่การเดินทางก็ยิ่งสะดวกสบายมากขึ้นเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 150,000 รูปีสำหรับโปรตุเกส 250,000 รูปีสำหรับเยอรมนี และ 450,000 รูปีสำหรับสหรัฐอเมริกา

ขั้นตอนแรกของ 'Dunki route' ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากอินเดียไปยังประเทศในละตินอเมริกา เช่น เอกวาดอร์ โบลิเวีย กายอานา บราซิล และเวเนซุเอลา เหตุผลที่เลือกประเทศในละตินอเมริกาเป็นเส้นทางผ่านก็คือการที่ชาวอินเดียจะเข้าประเทศเหล่านี้ได้ง่ายกว่า ประเทศเหล่านี้ไม่เพียงแต่ให้วีซ่าเมื่อเดินทางมาถึง (Visa on arrival) แก่ชาวอินเดียเท่านั้น แต่ผู้ที่ต้องใช้วีซ่าก่อนเดินทางมาถึงก็สามารถขอวีซ่าท่องเที่ยวในอินเดียได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ นายหน้าที่จัดการการอพยพที่ผิดกฎหมายยังอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ซึ่งมี 'ความเชื่อมโยง' กับการค้ามนุษย์ที่ผิดกฎหมาย

เส้นทางอื่น ๆ ในบางกรณี นายหน้าจะจัดเตรียมวีซ่าตรงไปจากดูไบยังเม็กซิโก แต่การเข้าเมืองโดยตรงในเม็กซิโกถือเป็นอันตราย เนื่องจากมีโอกาสที่จะถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ดังนั้น นายหน้าส่วนใหญ่จึงส่งลูกค้าไปยังประเทศในละตินอเมริกาแล้วจึงพาพวกเขาไปที่โคลอมเบีย หลังจากมาถึงโคลอมเบีย ผู้อพยพจะเดินทางเข้าสู่ปานามา ซึ่งเส้นทางต้องข้ามช่องเขาดาริเอน ซึ่งเป็นป่าอันตรายระหว่างสองประเทศ ความเสี่ยง ได้แก่ ขาดน้ำสะอาด สัตว์ป่า และกลุ่มอาชญากร ซึ่งอาจนำไปสู่การปล้นและกระทั่งข่มขืน ในหนึ่งในกรณีที่ถูกรายงานระบุว่า ชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งจาก Haryana ถูกขโมยเงิน โทรศัพท์ และแม้กระทั่งเสื้อผ้าและรองเท้า ขณะข้ามป่า พวกเขาต้องเดินเท้าเปล่าท่ามกลางความหนาวเย็นและหิมะ ใช้เวลาเดินทางแปดถึงสิบวัน และหากเกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นหรือผู้อพยพเสียชีวิต ก็ไม่มีทางที่จะส่งศพกลับบ้านได้

มีเส้นทางอื่นที่ปลอดภัยกว่าจากโคลอมเบีย ซึ่งผู้อพยพจะหลีกเลี่ยงป่าอันตรายในปานามา เส้นทางเริ่มต้นจากซานอันเดรส ซึ่งเรือประมงที่มีผู้อพยพผิดกฎหมายจะมุ่งหน้าไปยังฟิชเชอร์แมนส์เคย์ ซึ่งอยู่ห่างจากซานอันเดรสประมาณ 150 กิโลเมตร จากนั้นจึงเปลี่ยนเรืออีกลำเพื่อมุ่งหน้าต่อไปยังเม็กซิโก จากปานามา ผู้อพยพจะมุ่งหน้าไปยังเม็กซิโกเพื่อเข้าสู่ชายแดนสหรัฐฯ และกัวเตมาลาเป็นศูนย์กลางการประสานงานที่สำคัญในเส้นทางนี้ เม็กซิโกเป็นเส้นทางที่สำคัญในการเดินทาง เนื่องจากต้องหลบซ่อนจากหน่วยงานพิทักษ์ชายแดน พรมแดนสหรัฐฯ และเม็กซิโกที่ยาว 3,140 กิโลเมตรที่กั้นระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกออกจากกันมีรั้วกั้น ซึ่งผู้อพยพจะต้องกระโดดข้ามไป และผู้อพยพอื่น ๆ อีกจำนวนมากต้องข้ามแม่น้ำริโอแกรนด์ที่อันตราย อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพจำนวนมากถูกจับกุมหลังจากข้ามแม่น้ำริโอแกรนด์ แทนที่จะข้ามรั้วหรือเข้ามาทางทะเล

เส้นทางผ่านยุโรป ผู้อพยพจำนวนมากยังเลือกยุโรปแทนที่จะผ่านประเทศในละตินอเมริกา ถึงแม้ว่าการเดินทางผ่านยุโรปไปยังเม็กซิโกจะง่ายกว่า แต่เส้นทางนี้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยทางการของประเทศต่าง ๆ อย่างเข้มงวด เริ่มจากการบินจากนิวเดลีไปยังฮังการี ซึ่งพวกเขาจะถูกกักขังในห้องเล็ก ๆ เป็นเวลา 10 วัน และได้รับอาหารเพียงขนมปังและน้ำเล็กน้อยพอประทังชีวิต จากฮังการี พวกเขาบินไปฝรั่งเศส จากนั้นไปเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งเขาถูกขังไว้ในห้องเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ หลังจากบินอีกเที่ยวและนั่งรถบัสเป็นเวลานาน และถูกพาขึ้นรถกระบะพาพวกเขาไปใกล้ชายแดนสหรัฐฯ และข้ามไปยังมลรัฐแคลิฟอร์เนียในที่สุด หากถูกจับกุมจะถูกนำตัวไปที่ศูนย์ซึ่งจะพบกับผู้ลักลอบเข้าเมืองมากมายหลายชาติที่เคยเดินทางในลักษณะเดียวกัน ผู้อพยพลักลอบเข้าเมืองชาวอินเดียส่วนใหญ่ประมาณ 80% เป็นหนุ่มสาวที่โสด และเข้ามาทางชายแดนเม็กซิโกใกล้รัฐแอริโซนาหลังจากขึ้นเครื่องบินที่ผ่านประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าสำหรับพลเมืองอินเดีย รายงานในปี 2022 ของสถาบันนโยบายการย้ายถิ่นฐานของสหรัฐฯ (MPI) ได้ระบุว่า “การข่มเหงทางศาสนาและการเมืองต่อผู้ที่ไม่ใช่ชาวฮินดูที่เพิ่มมากขึ้นในอินเดีย” และ “การขาดการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ โอกาสทางเศรษฐกิจ" ยังผลักดันชาวอินเดียเดินทางไปสู่ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมายและเส้นทางที่อันตราย แต่การใช้ 'Dunki route' ถือเป็นวิธีการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายที่นิยมมากที่สุดของผู้ลักลอบเข้าเมืองหนุ่มสาวชาวอินเดีย

เผยความหมายลึกซึ้งของดอกไม้แต่ละชนิด ที่คู่รักนิยมมอบให้กันในวันวาเลนไทน์

รวมความหมายน่าประทับใจของดอกไม้แต่ละชนิดที่คู่รักนิยมมอบให้กันในวันวาเลนไทน์ สำหรับคนที่กำลังมีความรัก วันวาเลนไทน์ก็คงเป็นหนึ่งในวันสำคัญที่จะได้แสดงความรักให้กับคนรักได้รับรู้ และหนึ่งในสิ่งของแทนใจที่คู่รัก (โดยเฉพาะฝ่ายชาย) นิยมมอบให้กันก็คือดอกไม้แสนสวยสีสันสดใสต่าง ๆ ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดนั้นก็ล้วนแฝงไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้งเหมาะกับการสื่อสารความในใจโดยที่ไม่ต้องเอ่ยเป็นคำพูด โดยมนุษย์เรานั้นได้เริ่มมีการให้ความหมายของดอกไม้แต่ละชนิดและใช้การมอบดอกไม้ให้แก่กันเพื่อสื่อสารความหมายโดยไม่ต้องเอ่ยปากกันมานมนานแล้ว 

การตีความหมายของดอกไม้ หรือภาษาดอกไม้ เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1600 ณ เมืองคอนสแตนติโนเปิล กรุงโรม ประเทศอิตาลี จากนั้นในปี ค.ศ. 1716 เลดี้แมรี เวิร์ทลีย์ มอนตากู (Lady Mary Worthley Montagu) เป็นบุคคลแรกที่นำมาเผยแพร่สู่ประเทศอังกฤษ ต่อมาก็ได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ผ่านหนังสือชื่อ เลอ ลองแกจ เดส์ เฟลอร์ (Le Langage des Fleurs) หมายความว่า ภาษาแห่งดอกไม้ ที่แปลความหมายของดอกไม้ไว้กว่า 8,000 ชนิด โดยมีการแปลกลับไปเป็นภาษาอังกฤษในสมัยของราชินีวิกตอเรีย

เนื่องในวันแห่งความรักนี้ ใดๆ digest ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับความหมายของดอกไม้แต่ละชนิดว่าจะมีความหมายใดซ่อนอยู่ เผื่อเป็นแนวทางในการเลือกหาดอกไม้ที่มีความหมายตรงใจที่อยากจะสื่อสารให้คนรักของคุณได้รับทราบกันนะครับ 

โดยขอเริ่มจากดอกไม้อมตะนิรันดร์กาลประจำเทศกาลวาเลนไทน์ได้แก่ราชินีแห่งดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ ดอกไม้ที่มีกลีบเรียงซ้อนกันจนเป็นดอกทรงกลมที่เบ่งบานในด้านบน และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนมีการนำกลิ่นเฉพาะของกุหลาบมาทำเป็นน้ำหอมอย่างแพร่หลาย แต่ดอกกุหลาบ ไม่ได้มีความลึกซึ้งเพียงแค่กลิ่นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง ความหมายที่หมายถึงความรักที่ลึกซึ้ง ไม่เพียงเท่านี้กุหลาบแต่ละสีก็ยังซ่อนความหมายที่แสนโรแมนติกไว้ต่างกันอีกด้วย 

กุหลาบแดง:  ฉันรักเธอที่สุด และต้องการเพียงแค่เธอเท่านั้น
กุหลาบขาว: ความรักที่บริสุทธิ์
กุหลาบชมพู: ความรักอันหวานชื่น หรือสื่อถึงความรักที่กำลังสดใส
กุหลาบเหลือง: ความรักอันเป็นมิตรภาพที่ดีตลอดไป 
กุหลาบสีพีช (สีโอรส): ความรักที่อ่อนโยนรักและทะนุถนอมจากใจจริง
กุหลาบสีส้ม: ความรักที่อบอุ่นหัวใจ และยังสื่อถึงความศรัทธาอย่างแรงกล้าได้อีกด้วย 
กุหลาบสีม่วง: รักแรกพบ
กุหลาบสีดำ: การเกิดใหม่ การเริ่มต้นใหม่ และความรักที่จะคงอยู่ไปชั่วนิรันดร์ 

ดอกลิลลี่ มีรูปทรงที่สวยงาม กลีบดอกใหญ่แผ่ออกกว้าง สื่อถึงความประทับใจ และความรักที่นุ่มนวล อ่อนหวาน สดใส หรืออีกนัยที่สำคัญคือ ความประทับใจครั้งแรก เป็นดอกไม้ที่สื่อถึงการแอบรัก แอบมอง แอบส่งความปราถนาดีไปให้โดยอีกฝ่ายไม่รู้ตัว

ลิลลี่สีชมพู: เธอคือคนที่เข้ามาเติมเต็มชีวิต
ลิลลี่สีส้ม: มีความสุขที่ได้อยู่ด้วยกัน
ลิลลี่สีขาว: ดีใจที่มีเธออยู่ในชีวิต
ลิลลี่สีเหลือง: ความเป็นห่วงขอให้เธอปลอดภัย
ลิลลี่สีแดง: เธอคือรักแรกของฉัน
ลิลลี่ออฟเดอะแวลเล่ย์: ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความสุขที่หวนคืนมา เพราะด้วยดอกสีขาวสะอาดตา รูปทรงเหมือนระฆังเล็ก ๆ เรียงบนกิ่งก้านบอบบาง มีกลิ่นหอมหวนหวานสนิท และยังแสดงความหมายอันลึกซึ้งได้อีกว่า ความอ่อนหวานของเธอนั้นช่วยเติมชีวิตฉันให้สมบูรณ์

ดอกไฮเดรนเยีย ดอกไม้ทรงพุ่มมีหลายดอกอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มดูน่ารัก สื่อถึง “ความขอบคุณที่เข้าใจกันและยอมรับกันเสมอมา” ดอกไฮเดรนเยียนั้น มีความหมายทั้งทางลบและบวก โดยความหมายที่แท้จริงของดอกไฮเดรนเยียสื่อถึง ‘หัวใจที่ด้านชา’ และเพราะแบบนั้นในอีกนัยหนึ่งคือการมอบดอกไฮเดรนเยียให้กันใช้แทนคำขอบคุณจากผู้ที่มีหัวใจด้านชา สื่อถึงความสำคัญที่หนักแน่นว่า “ขอบคุณที่เข้าใจกัน”

ไฮเดรนเยียสีฟ้า: ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พร้อมจะให้อภัยเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
ไฮเดรนเยียสีม่วง: เธอช่างล้ำค่าและสูงส่งสำหรับฉัน
ไฮเดรนเยียสีชมพู: เธอคือความอ่อนโยน 
ไฮเดรนเยียสีเขียว: เธอช่างเป็นตัวของตัวเองและเพราะเหตุนั้น เธอจึงงดงาม
ไฮเดรนเยียสีขาว: เธอคือรักที่บริสุทธิ์

ดอกทิวลิป ดอกไม้ที่มีลักษณะกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น แม้จะไม่ได้มีกลิ่นหอมเท่าดอกอื่นๆ แต่ดอกทิวลิปมีความหมายที่ลึกซึ้ง, อบอุ่นและอ่อนโยนถือเป็นดอกไม้ที่แทนสัญลักษณ์ของรักครั้งแรก มีความหมายถึง การตกหลุมรักอย่างหมดหัวใจ ความหลงใหล และการปกป้อง ซึ่งดอกทิวลิปก็มีหลากสีที่สื่อความหมายหลากหลายเช่นเดียวกัน

ดอกทิวลิปขาว: การพร้อมจะเสียสละทุกอย่างเพื่อคนอันเป็นที่รัก
ดอกทิวลิปแดง: การแอบชอบ, แอบรัก
ดอกทิวลิปเหลือง:  พร้อมดูแลประคับประคองความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น หรือ ความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเคารพ
ดอกทิวลิปม่วง:  ความซื่อสัตย์กับคนรักเสมอ

นอกจากความหมายของดอกไม้หลากสีทั้งสี่ชนิดที่คู่รักนิยมมอบให้กันในวันวาเลนไทน์แล้วก็ยังดอกไม้อื่น ๆ ที่ความหมายดี ๆ อีกมากอาทิเช่น 

ดอกโบตั๋น ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ราชาแห่งดอกไม้’ ด้วยรูปลักษณ์ที่อ่อนหวาน งดงาม มีกลิ่นหอมอันเป็นสัญลักษณ์แสดงความหมายถึงความโรแมนติกและความรักที่สมบูรณ์เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข และด้วยความหมายอันเป็นมงคลนี่เอง การมอบดอกโบตั๋นให้ใคร จะสื่อถือการอวยพรให้มั่งคั่ง โชคดี มีเกียรติยศ

ดอกทานตะวัน สื่อถึงความรักบริสุทธิ์และมั่นคง การมอบดอกทานตะวันให้ใครจึงหมายถึงความรักที่มีให้จะมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนที่ดอกทานตะวันเฝ้ามองดวงอาทิตย์เสมอไป และดอกทานตะวันยังสื่อความหมายถึงความร่าเริงสดใสและความสุขได้อีกด้วย

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการเป็นผู้ให้ความรัก และเป็นผู้ได้รับความรักที่เหมาะสมและจริงใจเนื่องในวันแห่งความรักนี้นะครับ ใดๆ digestขอเป็นกำลังใจและร่วมยินดีกับความรักของทุกท่านครับ

ถึงเวลากางบัญชี ‘มหาวิทยาลัย’ ตรวจสอบ เงินภาษีเพื่อการศึกษาหรือเครื่องมือปลูกฝังแนวคิดเปลี่ยนโลก?

(17 ก.พ. 68) มหาวิทยาลัยควรเป็นสถานที่ของความรู้ หรือกำลังกลายเป็นเครื่องมือของใครบางคน? คำถามนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือด เมื่อการใช้เงินภาษีของรัฐบาลสหรัฐฯ ในภาคการศึกษา รวมถึงเงินทุนจากภาคเอกชนระดับโลก เช่น Open Society Foundations ของ George Soros ถูกตั้งคำถามว่ามีเป้าหมายเพียงเพื่อพัฒนาการศึกษา หรือเป็นเครื่องมือในการควบคุมความคิดของคนรุ่นใหม่กันแน่

Calley Means เปิดประเด็น! มหาวิทยาลัยใช้งบประมาณไปกับอะไร?
Calley Means ได้ปลุกกระแสในโซเชียลมีเดีย โดยตั้งข้อสังเกตว่า เงินภาษีที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ได้รับจากรัฐบาลกลาง ถูกใช้ไปในทางที่ไร้ประโยชน์หรือไม่? โพสต์ของเขาระบุว่า

> "ถ้าคุณคิดว่า USAID แย่แล้ว รอจนกว่าคุณจะเห็นว่ามหาวิทยาลัยใช้เงินภาษีของรัฐบาลกลางเป็นพันล้านดอลลาร์กันอย่างไร เปิดบัญชีตรวจสอบกันเถอะ!"

โพสต์ดังกล่าวกลายเป็นไวรัลทันที เพราะ USAID เองก็เคยถูกวิจารณ์ว่าใช้งบประมาณสนับสนุนโครงการต่างประเทศที่ถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใส และตอนนี้มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ก็กำลังถูกเพ่งเล็งในลักษณะเดียวกัน

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เงินทุนของ Soros ผ่าน Open Society Foundations (OSF) ก็ถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทสำคัญในการแทรกแซงการศึกษา โดยเฉพาะในประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวที่อาจทำให้เกิดความไม่สงบ

มหาวิทยาลัย: จุดยุทธศาสตร์ของสงครามความคิด?
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยในอเมริกาและยุโรปถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า กลายเป็นศูนย์กลางของแนวคิดที่มุ่งเปลี่ยนแปลงสังคม มากกว่าที่จะเป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้เป็นกลาง แนวคิดเสรีนิยมแบบสุดโต่ง และการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น วาระเกี่ยวกับ LGBTQ+ ความเท่าเทียมทางเพศ และทัศนคติต่อต้านโครงสร้างอำนาจแบบดั้งเดิม มักได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเหล่านี้

> คำถามคือ แนวคิดเหล่านี้เกิดขึ้นเอง หรือได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งทุนที่มีวาระซ่อนเร้น?
รายงานหลายฉบับระบุว่า Open Society Foundations ของ Soros ได้ให้ทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยและองค์กรเยาวชนในหลายประเทศ โดยอ้างว่าเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย แต่ฝ่ายตรงข้ามมองว่านี่เป็น กลไกในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคนรุ่นใหม่เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

งบประมาณเพื่อการศึกษาหรือเพื่อควบคุมเยาวชน?
หากย้อนดูตัวเลขงบประมาณในภาคการศึกษาของสหรัฐฯ จะพบว่า รัฐบาลอเมริกันจัดสรรงบประมาณมหาศาลให้กับมหาวิทยาลัย ขณะที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้รับเงินสนับสนุนจากแหล่งทุนเอกชนด้วย

> แล้วเงินเหล่านี้ถูกใช้ไปเพื่ออะไร?
ไปกับค่าจ้างอาจารย์และนักวิจัย หรือไปกับโครงการที่สนับสนุนแนวคิดเฉพาะกลุ่ม?
ไปกับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะให้เยาวชน หรือไปกับโครงการรณรงค์ทางการเมือง?
ถูกใช้เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา หรือเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม?

ประเทศไทยอยู่ตรงไหน?
แม้ประเด็นนี้จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ แต่ไทยก็ไม่ได้อยู่ห่างไกลจากปัญหานี้เช่นกัน มีรายงานว่า องค์กรนานาชาติเหล่านี้เคยให้ทุนสนับสนุนโครงการในไทย ทั้งด้านสิทธิมนุษยชนและการศึกษา บางครั้งก็มีการสนับสนุนบุคคลและกลุ่มที่มีท่าทีต่อต้านโครงสร้างเดิมของประเทศ

> ดังนั้น คำถามสำคัญสำหรับไทยคือ "เงินทุนเหล่านี้กำลังช่วยพัฒนาการศึกษา หรือกำลังเปลี่ยนแปลงแนวคิดของเยาวชนให้สอดคล้องกับวาระของต่างชาติ?"

ถึงเวลาที่ต้องเปิดบัญชีตรวจสอบ!
ขณะที่สังคมกำลังให้ความสนใจเรื่องการใช้งบประมาณในภาครัฐ การตรวจสอบเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ระบบการศึกษาก็ควรเป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นกัน

> มหาวิทยาลัยคือสถานที่แห่งความรู้ หรือเป็นเวทีของการต่อสู้ทางความคิดที่มีผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง?
นี่คือคำถามที่สังคมต้องช่วยกันหาคำตอบ

ต้องเป็นคนไทยแบบไหน ถึงกล้าแอบรับเงินต่างชาติ มาเผาระบบ ทำลายความมั่นคงภายในประเทศของตัวเอง

(18 ก.พ. 68) ความแตกแยกของคนในชาติ คืองานหลักของ “ทุนตะวันตก” ที่อยากเห็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์พร้อมในด้านทรัพยากรแบบไทยเรา กลายเป็นประเทศที่สามารถครอบครอง บังคับ หรือจับซ้ายหันขวาหันได้ตามอำเภอใจ แต่การจะเกิดเรื่องเช่นนี้ได้ ก็ต้อง “ซื้อคนไทยกระหายเงิน” ให้ได้ก่อน แล้วใช้ “คนไทยขี้ข้าฝรั่ง” เหล่านี้ เดินเกมล้มชาติตัวเองให้สำเร็จด้วยกลวิธีสกปรกที่เตรียมไว้  

การเคลื่อนไหวผ่าน “คนไทยหัวใจคด” ที่แสดงออกถึงการไม่เอาสถาบันในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการตั้งม็อบ การแต่งกายเลียนแบบกษัตริย์ในเชิงเสียดสี ประชดประชัน หรืองานแสดงศิลปะที่เปลือยให้เห็นตรง ๆ ถึงการทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์ของไทย แม้จะมีมาในสังคมไทยนานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ที่เห็น “หางโผล่” แบบชัด ๆ ก็ในวันที่ประเทศไทยมี “พรรคส้มสามกีบ” เกิดขึ้นมา

แบ่งงาน แยกกันตี กระจายกำลังกันไปเพื่อจะสั่นสะเทือนถึงระบบ ความเป็นอยู่ ความเชื่อดั้งเดิม และความภักดีของคนไทยส่วนใหญ่ที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ไทย ช่วยกันทำทุกวิถีทางเพื่อให้ “คนไทยสมองน้อย” คล้อยตามว่าสถาบันกษัตริย์คือสิ่งที่น่ารังเกียจ เป็นอันตรายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ ทำให้ประเทศชาติไม่เจริญ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเรื่องโกหก ปั้นแต่งเรื่องราวขึ้นมาเพื่อต้องการให้ “ศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ” สั่นคลอน 

อีกหนึ่งเหตุผลของ “คนไทยชังชาติตัวเอง” ก็จะชูคำพูดสวยหรูว่าที่พวกเขาทำอยู่นั้นก็เพื่อให้ประเทศไทยได้มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ เราจึงเห็น “กลุ่มคนล้มเจ้าด้วยทุนฝรั่ง” เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมคดีเกี่ยวกับ 112 ที่ผ่านมาทั้งหมด เห็นชัดว่าแนวคิดเช่นนี้เป็นอันตรายต่อสังคมไทย และบ้านเมืองเราจะไร้ความสงบสุขแบบยั่งยืน 

ทุนต่างชาติที่หวัง “ฮุบประเทศไทย” ถ้าจะทำสำเร็จได้ก็ต้อง “ล้มสถาบันกษัตริย์” ให้ได้ก่อน หรือทำให้อ่อนแอลง ก็จะง่ายที่จะทำเรื่องเลว ๆ ตามแผนในลำดับถัดไป จึงจำเป็นต้องอาศัยพรรคการเมืองที่แอบกัดเซาะสถาบันอยู่ในสภาด้วย แผนล้มเจ้าด้วยทุนฝรั่งถึงจะเรียกว่าคืบหน้า ออกอาวุธทุกที่เมื่อมีโอกาส แอ็คชั่นให้ “คนออกทุน” เห็นผลงานแบบเนื้อ ๆ ไม่เช่นนั้นท่อน้ำเลี้ยงจะหยุดไหล แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อรถ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ร่ำรวยอู้ฟู่ในเวลาอันรวดเร็ว 

เมื่อได้ชื่อว่าเป็น “คนไทยขี้ข้าตะวันตก” ก็ต้องเดินหน้า “ชูสามนิ้วล้มสถาบัน” ให้สุดซอย ทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ ระวังแหล่งทุนจะรู้ทันว่าก็แค่ “รับจ้างล้มเจ้า” ไปวัน ๆ นายทุนหมดเงินเมื่อไหร่ ก็พร้อมกลับหลังหันได้ตลอดเวลา ตามประสานักการเมืองไทย 

ฝันไปเถอะคำว่า “อุดมการณ์”

‘เฮียล้ง - จำนงค์ เอี้ยววงษ์เจริญ’ แห่งห้างสยามนครินทร์ บริจาคที่ดิน 130 ไร่ สร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2

เฮียล้งแห่งสยามนครินทร์ บริจาคที่ดิน 130 ไร่ สร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2 นายกฯชาย ตั้งงบทันที 90 กว่าล้าน ปรับพื้นที่

เป็นเรื่องที่ต้องกล่าวถึง หลังจาก 'นายกฯชาย-เดชอิศม์ ขาวทอง' รมช.สาธารณสุข มีนโยบายจะสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ แห่งที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองหาดใหญ่ หลังเข้ารับตำแหน่ง รมช.สาธารณสุข หลังจากนั้นตระเวนหาสถานีสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2 ในหลายพื้นที่ มีทั้งคนที่ประสงค์จะขาย และประสงค์จะบริจาค รวมถึงมีกลุ่มคนเข้ามาเสนอแบบหวังผลประโยชน์ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตก็มี

โรงพยาบาลหาดใหญ่ ต้องรองรับผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี พื้นที่คับแคบไม่สามารถขยายได้แล้ว โดยเฉพาะสภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ได้ร่วมกับผู้บริหาร รพ.หาดใหญ่ และนายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกันพิจารณาที่ดินหลายแปลง ทั้งในพื้นที่อ.บางกล่ำ และอ.หาดใหญ่ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้

ล่าสุด นายเดชอิศม์ ขาวทอง ที่ลุยสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเองมาหลายจุดทั้งที่ผู้สนใจบริจาค ที่ราชพัสดุ และได้ตัดสินใจเลือกที่ดินในพื้นที่ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านพรุ (เขตเทศบาลตำบลบ้านไร่) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งบริจาคโดยกลุ่มสยามนครินทร์ จำนวน 130 ไร่

จำนงค์ เอี้ยววงษ์เจริญ ผู้บริหารกลุ่มสยามนครินทร์ เจ้าของห้างสยามนครินทร์ หาดใหญ่ ได้เสนอตัวบริจาคที่ดิน 130 ไร่ บริเวณบ้านพรุ (หาดใหญ่)สำหรับก่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2 

จำนงค์ หรือเฮียล้ง บอกว่าที่ดินแปลงนี้สวยงามมาก อยู่บนที่เนิน น้ำไม่ท่วม จึงเหมาะที่จะสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2 ตามเจตนารมย์ของนายกฯชาย และนายกฯชายได้ตัดสินใจแล้วเลือกที่ดินแปลงนี้ ตนก็จะบริจาคให้ แบบไม่คิดอะไรเลย ทางราชการก็จะต้องตั้งงบเพื่อปรับสภาพหน้าดินต่อไป

เฮียล้ง กล่าวด้วยความสุขใจว่า ที่ดินแปลงนี้สวยงามมากพี่เหลียว ผมปลูกต้นไม้ไว้หลายต้น อยู่บนเนินที่น้ำไม่ท่วม ยินดีบริจาคให้สร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2 ซึ่งนายกฯชายก็ตัดสินใจเลือกแล้ว

“ก่อนหน้านี้ มีผู้ติดต่อบริจาคที่ดินในเขตตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ แต่ติดปัญหาเรื่องที่ดินมรดกทราบว่ามีทายาท 1 คนไม่เซ็นต์มอบที่ดินให้ จึงมีการจัดหาที่ดินใหม่หลายแปลง ทั้งที่บริจาค ที่ราชพัสดุ ที่ดินแปลงนี้คุณจำนงค์ แจ้งความประสงค์จะบริจาคมานานแล้วจำนวน 100 ไร่ แต่ผมขอเพิ่มเติมอีก เพราะอยากจะสร้างเป็นเมืองสุขภาพ มีวิทยาลัยพยาบาลในพื้นที่ด้วย จึงเป็นที่มาของการบริจาคที่จำนวน 130 ไร่ของสยามนครินทร์ในวันนี้” นายเดชอิศม์ กล่าว และว่า

การเลือกที่ดินแปลงนี้ เราได้ตัดสินใจร่วมกันด้วยหลายเหตุผล พื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่สูงน้ำไม่ท่วมแน่นอน ไม่ต้องใช้งบประมาณในการถมพื้นที่เยอะ เป็นพื้นที่ที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ อยู่ไม่ไกลจากถนนสายหลักคือ ถนนกาญจนวณิชย์ (ทล.4) และอยู่ใกล้แนวถนนวงแหวนรอบเมืองหาดใหญ่สายตะวันออก (ทล.425) การเดินทางสะดวกจากทุกเส้นทาง 

รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ได้เชิญชวนหลายหน่วยงานมาร่วมกันประชุมเพื่อช่วยกันทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นเร็วที่สุด โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดตั้งงบประมาณในการปรับพื้นที่แล้วจำนวน 92 ล้านบาท และเมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว ก็จะมีพิธีส่งมอบ และมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

สาธุบุญสำหรับจิตอันเป็นกุศลของเฮียล้ง (จำนงค์) ขอให้ธุรกิจเดินหน้าไปอย่างไม่มีปัญหา ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน บริวารมากมี

‘พระสังฆราช (ศรี)’ สมเด็จพระสังฆราช 2 กรุง ผู้ยึดมั่นในความสัตย์แห่งบรรพชิต เพื่อมุ่งสู่อเสขภูมิอันแท้จริง

ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ มีพระภิกษุนามว่า “พระอาจารย์ศรี” แห่งวัดพนัญเชิง ได้หนีภัยสงครามไปพำนักอยู่ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๑๒ “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” เสด็จฯ ไปตีเอาเมืองนครศรีธรรมราช ได้พบพระอาจารย์ท่านนี้ นัยว่าเนื่องจากพระอาจารย์ศรีเป็นผู้แตกฉานในบาลี รู้แจ้งแทงตลอดในพระธรรมคำสอนทั้งหลายเป็นที่ยอมรับ จึงได้นิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) ซึ่ง ณ ขณะนั้นเป็นวัดสำคัญคู่กรุงธนบุรี ก่อนจะทรงสถาปนาเป็นพระอาจารย์ท่านขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงธนบุรี

แต่ทว่าสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) นั้น ทรงได้พบเคราะห์กรรมใหญ่หลวงใน พ.ศ. ๒๓๒๔ ช่วงปลายกรุงธนบุรี ตามบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์เหตุครั้งนั้นเกิดขึ้นจากพระราชปุจฉาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั่นเอง 

เรื่องนี้นับมาจากครั้งเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้ราวปี พ.ศ. ๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเริ่มต้นเจริญพระกรรมฐาน ณ พระอุโบสถวัดบางยี่เรือใต้ โดยทรงทำบุญแล้วตั้งพระสัตยาธิษฐาน มีบันทึกไว้พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาดังนี้

“เดชะผลทานบูชานี้ ขอจงยังพระลักขณะพระปีติทั้งห้าจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วอย่าได้อันตรธาน และพระธรรมซึ่งยังมิได้บังเกิดนั้น ขอจงบังเกิดภิญโญภาพยิ่งๆ ขึ้นไป อนึ่ง ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณในอนาคตกาลภายภาคหน้า” ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีเหตุแห่งปาฏิหาริย์อย่างต่อเนื่องจนพระองค์เชื่อว่าพระองค์ทรงบรรลุโสดาบัน !!! และนั่นคือปัจจัยหนึ่งแห่งเหตุวุ่นวายในปลายรัชกาล

จากพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงคร่ำเคร่งทำกรรมฐาน จนเข้าใจว่าทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคล จึงทรงมีปุจฉาถามพระผู้ใหญ่หลายๆ รูปว่า พระสงฆ์จะไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันได้หรือไม่ ? 

มีพระผู้ใหญ่สองรูปคือ พระรัตนมุนี (แก้ว) กับพระวันรัตน์ (ทองอยู่) ถวายพระพรว่า พระสงฆ์ไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบัน “ได้” จึงทำให้ทรงโปรดพระสงฆ์สองรูปนี้มาก ส่วนพระผู้ใหญ่ ๓ รูปที่ถวายพระพรว่า “ไม่ได้” ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)  พระพุฒาจารย์ วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทราราม) และพระพิมลธรรม วัดโพธาราม (พระเชตุพนฯ) ประกอบเหตุตามหลักในพระพุทธศาสนาความว่า

“ถึงมาตรว่าคฤหัสถ์เป็นพระโสดาก็ดี แต่เป็นหินเพศต่ำ อันพระสงฆ์ถึงเป็นปุถุชน ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง เหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ ซึ่งจะไหว้นบคฤหัสถ์ อันเป็นพระโสดานั้นก็บ่มิควร”

จากข้อวิสัชชนาดังกล่าวทำให้ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พร้อมๆ กับพระพุฒาจารย์ และพระพิมลธรรม ถูกถอดมาเป็นพระอนุจร แล้วนำไปเฆี่ยน และให้ไปใช้แรงงาน ณ วัดหงส์รัตนาราม โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งพระโพธิวงษ์ (ชื่น) วัดหงส์รัตนารามขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชแทน

ขออธิบายเรื่อง พระโสดาบันเพศคฤหัสถ์ ทำไม ? จึงยังต้องไหว้พระภิกษุสามเณรปุถุชนซึ่งเป็นเพศบรรพชิต โดยผมขอยกเหตุผลมาจากมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์ได้ทรงมีปุจฉาถามพระนาคเสนเมื่อปุถุชนบรรลุโสดาบัน เหตุใดบรรพชิตจึงไม่ไหว้ปุถุชนผู้นั้นทั้ง ๆ ที่ได้บรรลุแล้วซึ่งโลกุตรธรรม ?  โดยพระนาคเสนได้วิสัชชนาเรื่องนี้ไว้ว่า 

“เพศบรรพชิตอันเป็นสมณะนั้นประกอบด้วยคุณสมบัติภายใน ๒๐ ประการคือ ๑.) เสฏฐภูมิสโย เป็นผู้ตั้งอยู่ในภูมิอันประเสริฐ ประกอบด้วยกรุณา และความสัตย์เป็นต้น ๒.) อคฺโคนิยโม คือ นิยมในกิจอันประเสริฐ ๓.) จาโร มีความประพฤติชอบ ๔.) วิหาโร มีวิหารธรรมและอิริยาบถอันสมควร ๕.) สญฺญโม สำรวมอินทรีย์ ๖.) สํวโร สำรวมในปาฏิโมกข์สังวรศีล ๗.) ขนฺติ ความอดทน ๘.) โสรจฺจํ ความเป็นผู้สงบเสงี่ยม ๙.) เอกันตาภิรติ ยินดีในธรรมเป็นอันแท้ ๑๐.) เอกันตจริยา ประพฤติธรรมเที่ยงแท้ ๑๑.) ปฏิสลฺลินี มีปกติเข้าที่หลีกเร้น ๑๒.) หิริ มีความละอายบาป ๑๓.) โอตฺตปฺป มีความเกลียดกลัวบาป ๑๔.) วิริยํ มีความเพียร ๑๕.) อปฺปมาโท มีความไม่ประมาท ๑๖.) อุทฺเทโส บอกกล่าวเล่าเรียนบาลี ๑๗.) ปริปุจฺฉา เล่าเรียนบอกกล่าวอรรถกถา ๑๘.)สีลาภิรติ ความยินดีในคุณธรรมมีศีล ๑๙.) นิราลยตา ความไม่มีความอาลัย และ ๒๐.) สิกขาปทปาริปูรี เป็นผู้บำเพ็ญสิกขาบทให้เต็มบริบูรณ์ ซึ่งในสุดท้ายนี้ยังประกอบด้วยเครื่องหมายภายนอกของผู้เป็นสมณะ ได้แก่ ภณฺทาภาโร เป็นผู้ทรงผ้ากาสาวพัตร และมุณฺฑภาโว เป็นผู้มีศีรษะโล้น” 

โดยพระนาคเสนอธิบายเพิ่มเติมว่าสมณะประกอบด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ เต็มบริบูรณ์แล้ว ไม่ขาดตกบกพร่อง กำลังดำเนินไปเพื่ออเสขภูมิ เพื่อพระอรหัตผล ภิกษุเหล่านั้นอยู่ ในฐานะเสมอด้วยพระอรหันต์ขีณาสพ แต่อุบาสกผู้โสดาบันไม่มีคุณสมบัติเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายมีสิทธิฟังพระปาฏิโมกข์ แต่อุบาสกผู้เป็นโสดาบันไม่มีสิทธิ ภิกษุมีสิทธิเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ทำให้พระศาสนาเจริญมั่นคง แต่อุบาสกผู้เป็นโสดาบันไม่มีสิทธิเช่นนั้น ภิกษุมีสิทธิและหน้าที่ในการรักษาสิกขาบทน้อยใหญ่ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ แต่อุบาสกผู้เป็นโสดาบันไม่มีอำนาจหน้าที่เช่นนั้น... พระนาคเสนได้ยกตัวอย่างประกอบเพิ่มเติมว่า “เหมือนเจ้าชายผู้ได้ศึกษา ศิลปวิทยายุทธจากปุโรหิตาจารย์ประจำราชสกุล ต่อมาแม้เมื่อเจ้าชายนั้นได้รับ พระบรมราชาภิเษกเป็นพระราชาแล้ว ก็ยังคงเคารพปุโรหิตนั้นในฐานะเป็นอาจารย์อยู่อย่างเดิม” 

เพราะฉะนั้น การไหว้ จึงไหว้ด้วยความเหมาะสม ไม่ได้ไหว้ ไปเจาะจงที่ตัวบุคคล เป็นสำคัญ แต่ไหว้ในความประเสริฐของเพศบรรพชิตเป็นสำคัญ จบคำอธิบายไว้ตรงนี้ แล้วกลับมาเรื่องของ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) กันต่อ 

เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ถอดยศสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดหงส์รัตนาราม ลงเป็น พระธรรมธีรราชมหามุนี โดยทรงมีพระปรารภว่า "มีความรู้มาก เสียดายแต่ว่ามีสันดานสอพลอ" ทรงมีดำรัสว่า 

“สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดหงส์ ซึ่งเจ้ากรุงธนบุรีตั้งขึ้นใหม่นั้นก็เป็นพวกอาสัตย์สอพลอพลอยว่าตาม นายแก้ว นายทอง อยู่ไปมิได้เป็นต้นเหตุ แต่รู้พระไตรปิฎกมาก เสียดายอยู่ อย่าให้สึกเลย และที่พระวันรัตนั้นว่างอยู่หาตัวมิได้ จึงโปรดตั้งให้เป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี (ชื่น) ว่าที่พระวันรัต ซึ่งรองจากสมเด็จพระสังฆราช” 

รับสั่งให้ พระรัตนมุนี (แก้ว) สึกจากพระ แต่ยังทรงเมตตาให้เข้ารับราชการเป็น “พระอาลักษณ์” เป็นผู้ขนานพระนามพระองค์เจ้าต่างกรม  ส่วนพระวันรัต (ทองอยู่) ให้สึกจากพระ แล้วโปรดเกล้า ฯให้ไปเป็น “หลวงอนุชิตพิทักษ์” อยู่ในกรมมหาดไทย 

ส่วนพระราชาคณะทั้งปวงนั้น ที่เออออไปด้วยกลัวพระราชอาชญาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น ทรงพระกรุณาให้ยกโทษเสียทั้งสิ้น แต่ที่พระธรรมโคดมนั้นต้องกับพระสัพพัญญูเจ้า จึงดำรัสให้แปลงนามเสียใหม่ โปรดให้พระเทพกวีเลื่อนขึ้นเป็นที่พระธรรมอุดม ให้พระธรรมโฆษาวัดปากน้ำ เป็นพระเทพกวี ให้มหานากเปรียญเอก วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังฯ) เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ให้มหาเรืองข้าหลวงเดิมวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังฯ) เป็นพระเทพมุนี ให้มหาเกสรเปรียญโทวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ) เป็นพระญาณสิทธิ์ ฯลฯ

จากนั้นก็โปรดสถาปนาพระอาจารย์ศรี วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) ขึ้นดำรงสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระสังฆราช" พระพุฒาจารย์ และพระพิมลธรรมนั้น ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คืนสมณศักดิ์ และตำแหน่งดังเดิม พร้อมให้กลับไปครองวัดเก่าที่เคยสถิต 

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงมีพระดำรัสสรรเสริญว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้ง ๓ นี้มีสันดานสัตย์ซื่อมั่นคง ดำรงรักษาพระพุทธศาสนาโดยแท้ มิได้อาลัยแก่ร่างกายและชีวิต ควรเป็นที่นับถือไหว้นบเคารพสักการบูชา แม้มีข้อสงสัยสิ่งใดในพระบาลีภายหน้า จะให้ประชุมพระราชาคณะไต่ถาม ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้ง ๓ ว่าอย่างไรแล้ว พระราชาคณะอื่นๆ จะว่าอย่างอื่นไป ก็คงจะเชื่อถ้อยคำพระผู้เป็นเจ้าทั้ง ๓ ซึ่งจะเชื่อถ้อยฟังความตามพระราชาคณะอื่นๆ ที่เป็นพวกมากนั้นหามิได้” 

ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังฯ) และวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ) เข้ามารับบิณฑบาตในพระราชวังทั้ง ๒ พระอาราม ให้ผลัดเวรกันวัดละ ๗ วัน เป็นนิจกาล ให้รื้อตำหนักทองของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นไปปลูกเป็นกุฎีถวายสมเด็จ ฯ พระสังฆราช (ศรี) 

สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) หลังจากได้ครองสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก หนที่ ๒ ก็เป็นกำลังสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในช่วงสร้างกรุง พระองค์มีกรณียกิจสำคัญในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.๒๓๓๑ และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ ของสยามประเทศ สมเด็จพระสังฆราชได้เลือกพระราชาคณะฐานานุกรม เปรียญอันดับที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกได้พระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตยาจารย์ ๓๒ คน ทำการสังคายนาที่วัดนิพพานาราม แบ่งพระสงฆ์ออกเป็น ๔ กอง ดังนี้ สมเด็จฯ เป็นแม่กองชำระพระสุตตันปิฎก พระวันรัต เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก พระพิมลธรรม เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเศส และพระธรรมไตรโลก (ชื่น) เป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎก โดยสังคายนาที่วัดนิพพานาราม (วัดมหาธาตุฯ) ใช้เวลา ๕ เดือน จึงแล้วเสร็จ

สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ทรงดำรงทรงดำรงตำแหน่งหนที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ จนกระทั่งประชวรถึงสิ้นพระชนม์ในวันที่ ๑๖ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๓๗ รวมระยะเวลา ๑๒ ปี

‘Sino-Indian War’ สงครามระหว่างจีนและอินเดีย ปัญหาข้อพิพาทพรมแดนที่ยืดเยื้อนานกว่า 6 ทศวรรษ

ปี 1962 เกิดความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างจีนและอินเดียขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เป็นการยกระดับข้อพิพาทกรณีพรมแดนระหว่างจีน-อินเดีย การสู้รบเกิดขึ้นตามแนวชายแดนของอินเดียกับจีนบริเวณชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ทางตะวันออกของภูฏาน และในอักไซชินทางตะวันตกของเนปาล

การแบ่งแยกอินเดีย-ปากีสถาน (1947) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่สงครามเย็นได้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั่วโลก ทำให้เกิดข้อพิพาทเรื่องพรมแดนในอนุทวีปอินเดีย เป็นจุดที่พรมแดนของ 3 ประเทศคือ อินเดีย ปากีสถาน และจีน มาบรรจบกัน หลังจากปราบปรามทิเบตในปี 1950 อินเดียได้ให้การสนับสนุนและที่พักพิงแก่ ‘ดาไลลามะ’ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต ซึ่งเป็นผู้นำการต่อต้านการยึดครองทิเบตของจีน จีนก็เริ่มมีข้อพิพาทเรื่องพรมแดนกับอินเดียในหลายจุด และกับอีกหลาย ๆ ประเทศในเทือกเขาหิมาลัยได้แก่ เนปาล ภูฏาน และรัฐสิกขิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘อักไซชิน’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคแคชเมียร์ บริเวณเหนือสุดของอนุทวีปอินเดียในเอเชียกลางใต้ ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของแคชเมียร์-อินเดีย เป็นพื้นที่ที่ถูกละเลยมานานของอนุทวีปอินเดียเนื่องจากความห่างไกลและโดดเดี่ยว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปเมื่อจีนพยายามเชื่อมต่อทิเบตกับซินเจียงด้วยสร้างเส้นทางลาดตระเวนทางหารผ่านภูมิภาคนี้ อินเดียคัดค้านการเข้ามาของจีนในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเขตการปกครองของจีนในแคชเมียร์ถูกอ้างสิทธิ์โดยอินเดียว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภูมิภาคลาดักห์’ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของอินเดีย

หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ และเกิดการแบ่งแยกประเทศ ปากีสถานกลายเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกของอินเดีย เนื่องจากกองทัพอินเดียมีการแบ่งแยกตามเชื้อชาติ และมีนโยบายไม่รับนายทหารที่มีเชื้อชาติเดียวกันในหน่วยทหารเดียวกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างนายทหารและทหารชั้นผู้น้อยขึ้นไปทั่ว โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างนายทหารกับทหารชั้นผู้น้อยนั้นต้องพัฒนาขึ้นด้วยเวลาเพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย การร่วมสู้รบด้วยกันโดยไม่มีสายสัมพันธ์จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

สงครามเย็นที่เริ่มต้นด้วยการปิดล้อมเบอร์ลินทำให้พันธมิตรอังกฤษ-อเมริกันต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งแหล่งน้ำมัน พันธมิตรหลายฝ่ายตั้งแต่ตุรกีไปจนถึงปากีสถานต่างก็พยายามปกป้องตนเองจากลัทธิคอมมิวนิสต์ และรัฐบาลที่อยู่ในอำนาจของประเทศเหล่านั้นพยายามรักษาความเป็นเจ้าของแหล่งน้ำมันโดยตรง อินเดียตระหนักดีถึงธรรมชาติของการแสวงหาอาณานิคมยุคใหม่ของชาติตะวันตกเหล่านี้ และไม่ต้องการเสียอำนาจอธิปไตย จึงได้กำหนดนโยบายต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปากีสถานได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่จากสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อินเดียต้องทนใช้อาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นเก่าตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ของชาติตะวันตก นั่นหมายความว่า อินเดียต้องลงทุนกำลังคนมากขึ้นเพื่อปกป้องแคชเมียร์และปัญจาบจากปากีสถาน

อินเดียต้องทำสงครามกับปากีสถานกรณีแคชเมียร์ในปี 1948 จึงไม่มีกำลังรบเหลือมากพอที่จะสู้รบกับจีน ซึ่งจนถึงปี 1950 อินเดียเองยังไม่มีแม้แต่การคาดคะเนภัยคุกคามจากจีน กองทัพอังกฤษเดิมประจำการบริเวนชายแดนจีน-ทิเบต แต่หลังจากอินเดียได้รับเอกราชภารกิจดังกล่าวก็ตกเป็นหน้าที่ของกองทัพอินเดีย อินเดียรู้ดีว่า ชายแดนอินเดีย-จีนนั้นยากที่จะป้องกันได้ เพราะการสร้างระบบส่งกำลังบำรุงและป้อมค่ายเป็นไปได้ยาก ‘เส้นแม็กมาฮอน’ เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างทิเบตและอัสสัมของอินเดีย (ในขณะที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ) ซึ่งการเจรจาระหว่างทิเบตและสหราชอาณาจักรเมื่อสิ้นสุดการประชุมชิมลา (ตุลาคม 1913–กรกฎาคม 1914) และตั้งชื่อตามเซอร์เฮนรี แม็กมาฮอน ผู้เจรจาคนสำคัญของอังกฤษ เส้นเขตแดนนี้ทอดยาวจากชายแดนด้านตะวันออกของภูฏานไปตามสันเขาหิมาลัยจนถึงโค้งแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งแม่น้ำสายนี้ไหลออกจากเส้นทางทิเบตสู่หุบเขาอัสสัม ผู้แทนของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้เข้าร่วมการประชุมที่เมืองชิมลาด้วย แต่ปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงหลักเกี่ยวกับสถานะและเขตแดนของทิเบต ด้วยเหตุผลว่า ทิเบตอยู่ภายใต้การปกครองของจีนและไม่มีอำนาจที่จะทำสนธิสัญญา จีนยังคงยืนหยัดในจุดยืนนี้มาจนถึงปัจจุบัน และยังอ้างว่าดินแดนของจีนขยายลงไปทางใต้จนถึงเชิงเขาหิมาลัย 

หลังจากการปะทะระหว่างจีน-อินเดียบริเวณชายแดนหลายครั้งในช่วงปี 1959 ถึง 1962 ที่สุดกองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้ข้าม ‘เส้นแม็กมาฮอน’ เข้าโจมตีอินเดียในปี 1962 กองทัพอินเดียต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการเตรียมกำลังทหารให้พร้อมรบในสภาพออกซิเจนไม่เพียงพอ ในขณะนั้นกองทัพอินเดียเองก็ไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์เพียงพอที่จะต้านทานกองทัพจีน หลังจากจีนได้ทำการปราบปรามการลุกฮือของชาวทิเบตในเขตปกครองตนเองทิเบต กองทัพจีนได้ข้ามพรมแดนโจมตีอินเดียจนกลายเป็นกรณีพิพาทที่รุนแรง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1962 ทำให้กองกำลังอินเดียพ่ายแพ้อย่างราบคาบ โดยมีทหารเสียชีวิตหรือถูกจับกุมกว่า 7,000 นาย และพื้นที่ลุ่มในรัฐอัสสัมก็เปิดโล่งให้ผู้รุกรานเข้ายึดครอง กองกำลังของจีนสามารถยึดครองดินแดนอินเดียทางใต้ของ ‘เส้นแม็กมาฮอน’ 

ปัจจัยสำคัญสองประการที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างจีนกับกองทหารอินเดียในที่สุด ได้แก่ ท่าทีของอินเดียเกี่ยวกับพรมแดนที่เป็นข้อพิพาทและความพยายามของอินเดียในการบ่อนทำลายการยึดครองทิเบตของจีน ซึ่งจีนมองว่า "มีความจำเป็นต้องลงโทษและยุติความพยายามของอินเดียที่จะบ่อนทำลายการควบคุมทิเบตของจีน ซึ่งเป็นความพยายามของอินเดียที่จีนมองว่ามี วัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสถานะเดิมก่อนปี 1949 ของทิเบต" อีกประการหนึ่งคือ "มีความจำเป็นต้องลงโทษและยุติการรุกรานของอินเดียต่อดินแดนของจีนตามแนวชายแดน" 

ผู้นำจีนเลือกช่วงที่ ‘วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา’ กำลังลุกลามในการโจมตีอินเดีย โดยคาดว่า วิกฤตการณ์ในคิวบาจะยืดเยื้อต่อไปอีก ซึ่งจะทำให้มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ หันเหความสนใจจากการแทรกแซงในอินเดียได้ แต่สหรัฐฯ สามารถแก้ปัญหาคิวบาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้วอชิงตันสามารถตอบสนองต่อคำร้องขอความช่วยเหลือจาก ‘ชวาหระลาล เนห์รู’ นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ ขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ กำลังเดินทาง จีนได้ประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน และหลังจากนั้นไม่นานจีนก็ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ยึดครองจากอินเดียได้ ปัจจุบัน จีนยังคงควบคุมพื้นที่ประมาณ 14,700 ตารางไมล์ (38,000 ตารางกิโลเมตร) ใน ‘อักไซชิน’ และพื้นที่ดังกล่าวยังคงเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างสองประเทศอยู่จนทุกวันนี้

ภายหลังจาก ‘สงครามระหว่างจีนและอินเดีย’ ในปี 1962 แล้วมีกรณีพิพาทและการปะทะระหว่างกำลังทหารจีนและอินเดียต่อเนื่องเรื่อยมาอีกหลายครั้ง อาทิ
- ปี 1967 การรบที่ Nathu La และ Cho La เป็นการปะทะกันหลายครั้งระหว่างจีนและอินเดียบนพรมแดนของอาณาจักรสิกขิมในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐในอารักขาของอินเดีย การปะทะ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 11 กันยายน เมื่อกองทัพปลดแอกประชาชนจีนเปิดฉากโจมตีฐานที่มั่นของอินเดียที่ Nathu La และกินเวลานานจนถึงวันที่ 15 กันยายน ต่อมาในเดือนตุลาคมมีการปะทะกันอีกครั้งเกิดขึ้นที่ Cho La และสิ้นสุดลงในวันเดียวกัน
- ปี 1975 วันที่ 20 ตุลาคม ทหารอินเดีย 4 นายถูกสังหารที่ตูลุงลาในรัฐอรุณาจัลประเทศ ตามแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของรัฐบาลอินเดีย กองลาดตระเวนของ Assam Rifles ซึ่งประกอบด้วยนายทหารชั้นประทวน (NCO) 1 นาย และพลทหารอีก 4 นาย ถูกซุ่มโจมตีโดยทหารจีนประมาณ 40 นาย ในพื้นที่ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของอินเดีย และมีการลาดตระเวนเป็นประจำมาหลายปีโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น สมาชิกหน่วยลาดตระเวน 4 นายได้รับการระบุในตอนแรกว่าสูญหาย ก่อนที่จะได้รับการยืนยันผ่านช่องทางการทูตว่า พวกเขาถูกทหารจีนสังหาร ศพของพวกเขาถูกส่งคืนในภายหลัง รัฐบาลอินเดียได้ประท้วงรัฐบาลจีนอย่างรุนแรง
- ปี 1987 การปะทะกันระหว่างจีนและอินเดียที่หุบเขา Sumdorong Chu ซึ่งอยู่ติดกับเขต Tawang รัฐอรุณาจัลประเทศ และเขต Cona ทิเบต การเผชิญหน้าทางทหารเริ่มต้นขึ้นเมื่อจีนเคลื่อนกำลังทหารจำนวนหนึ่งไปยัง Wangdung ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของ Sumdorong Chu ซึ่งอินเดียอ้างว่าเป็นดินแดนของตน กำลังทหารอินเดียยืนหยัดต้านทานอยู่บนสันเขา Longro La ที่อยู่ใกล้เคียง และทั้งสองฝ่ายได้เคลื่อนกำลังทหารจำนวนมากไปยังชายแดน วิกฤตการณ์คลี่คลายลงหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินเดียเยือนปักกิ่งในเดือนพฤษภาคม 1987 การเผชิญหน้าดังกล่าวก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดความตึงเครียดมากขึ้น ในเวลาต่อมาอินเดียและจีนได้จัดทำข้อตกลงเพื่อจัดการกับความตึงเครียดที่ชายแดนในอนาคต
- ปี 2017 ความขัดแย้งทางทหารที่ Doklam ในเดือนมิถุนายนเกิดการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างอินเดียและจีนในดินแดนพิพาท Doklamใกล้กับช่องเขา Doka La วันที่ 16 มิถุนายน จีนได้นำอุปกรณ์สร้างถนนขนาดใหญ่มาที่ Doklam และเริ่มสร้างถนนในพื้นที่พิพาท โดยก่อนหน้านี้ จีนได้สร้างถนนลูกรังที่สิ้นสุดที่ Doka La ซึ่งเป็นที่ที่กองทหารอินเดียประจำการอยู่

- ปี 2020 เดือนมิถุนายน กำลังทหารอินเดียและจีนปะทะกันในหุบเขา Galwan ซึ่งรายงานว่าส่งผลให้ทหารทั้งสองฝ่ายบาดเจ็บและเสียชีวิตฝ่ายละหลายสิบนาย (โดยตัวเลขจากข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ได้ใกล้เคียงและตรงกันเลย)
- ปี 2022 เดือนธันวาคม กองทัพอินเดียกล่าวว่าเกิดการปะทะกันระหว่างกำลังทหารอินเดียและจีนในเขตทาวังของรัฐอรุณาจัลประเทศ แต่การปะทะครั้งนี้ ทหารของทั้งสองฝ่ายเพียงแต่ได้รับบาดเจ็บ (อินเดีย 34 นาย และจีน 40 นาย) ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีผู้เสียชีวิต และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ยังไม่มีรายงานการปะทะกันระหว่างทหารจีนและทหารอินเดียอีก 

ความขัดแย้งระหว่างจีนและอินเดียยังคงยืดเยื้อและสงบจบลงไม่ได้โดยง่าย หากทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันในเรื่องความชัดเจนของเส้นเขตแดน อันเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งอินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อันที่จริงแล้วหากสามารถเจรจาตกลงทำสนธิสัญญาเห็นชอบรับรองเส้นเขตแดนร่วมกันได้แล้ว ประเทศทั้งสองในปัจจุบันต่างก็มีศักยภาพในการจัดทำแนวรั้วกั้น และพัฒนาเส้นทางคมนาคมระหว่างกันได้ทั้งทางรถยนต์และรถไฟได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองทั้งหางการเมืองระหว่างประเทศและเศรษฐกิจ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่อนุภูมิภาคนี้ต่อไป

‘อีลอน มัสก์’ เล่นใหญ่!! ส่งอีเมลถึง ‘ข้าราชการสหรัฐฯ’ ถามชัด!! ‘คุณทำอะไรไปบ้าง’ ถ้าไม่ตอบ ถือว่าลาออก

(24 ก.พ. 68) อีลอน มัสก์ เล่นใหญ่! ส่งอีเมลถึงหน่วยงานรัฐทั่วอเมริกา ตั้งแต่ SEC, CDC ยัน NOAA สั่งให้ข้าราชการทุกคนรายงาน “คุณทำอะไรไปบ้างในสัปดาห์ที่ผ่านมา” พร้อมกำหนดเดดไลน์ชัด!! ใครไม่ตอบ = เท่ากับลาออก! งานนี้เล่นเอาข้าราชการใจหวิว เพราะถ้าตอบไม่ได้ ก็อาจถูกมองว่าอยู่ไปวันๆ ไม่มีผลงานให้จับต้อง

นี่ไม่ใช่แค่แนวคิดขำๆ แต่มัสก์เอาจริง! เขาใช้แนวทางบริหารแบบ ‘Demon Mode’ ที่เคยใช้ตอนเทกโอเวอร์ X (Twitter) จัดหนักให้ข้าราชการต้องลุกขึ้นมาทำงานจริง ไม่ใช่แค่เป็นฟันเฟืองระบบราชการที่ขยับช้า

แต่เรื่องยังไม่จบ!! สหภาพข้าราชการออกโรงค้านทันที ชี้ว่านี่เป็นการบริหารที่แข็งกร้าวและอาจละเมิดสิทธิพนักงานของรัฐ เพราะไม่ใช่ว่าทุกตำแหน่งจะสามารถเปิดเผยผลงานได้ทั้งหมด งานนี้ต้องจับตาดูกันว่า ‘มัสก์โมเดล’ จะได้ไปต่อ หรือจะโดนตีกลับจนต้องถอย

‘Amnesty’ ทำตัวเป็นนักบุญ แต่ตรรกะพังยับ ถามกลับหากไม่ส่ง ‘อุยกูร์’ กลับมาตุภูมิ จะให้ส่งไปไหน?

อุยกูร์กำเนิดที่ไหน? และตรรกะบิดเบือนของ Amnesty ที่พยายามเปลี่ยนข้อเท็จจริงให้เป็นอาชญากรรม

ถ้าพูดกันตามประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ชาวอุยกูร์ไม่ใช่ชนเผ่าหลงทาง พวกเขามีบ้าน มีถิ่นกำเนิด และที่สำคัญคือ บ้านของพวกเขาอยู่ในจีน ไม่ใช่อเมริกา ไม่ใช่ยุโรป และไม่ใช่ 'แดนศิวิไลซ์แห่งสิทธิมนุษยชน' ที่พวก NGO ตะวันตกชอบปั้นแต่งขึ้นมา

อุยกูร์: ชาติพันธุ์ที่มีรากฝังแน่นในดินแดนจีน

ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ อุยกูร์เป็นชนเผ่าที่ตั้งรกรากอยู่ในซินเจียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดินแดนนี้เป็นศูนย์กลางของเส้นทางสายไหม เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอารยธรรมจีน เปอร์เซีย อาหรับ และยุโรปตะวันออก อุยกูร์มีภาษา วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของตัวเองก็จริง แต่ดินแดนที่พวกเขาอาศัยอยู่ก็เป็น ส่วนหนึ่งของจีนมาตลอด ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง มาจนถึงยุคราชวงศ์ชิง

ดังนั้น ถ้าถามว่าอุยกูร์กำเนิดที่ไหน? คำตอบชัดเจน: ที่จีน

Amnesty กับตรรกะบิดเบือนเรื่องการส่งตัวอุยกูร์กลับจีน

เมื่อใดก็ตามที่มีการส่งตัวอุยกูร์กลับจีน Amnesty และ NGO ตะวันตกจะโวยวายทันทีว่ามันคือ 'การละเมิดสิทธิมนุษยชน' หรือแม้กระทั่ง 'การส่งไปตาย' พูดราวกับว่าจีนเป็นแดนมิคสัญญีที่ไม่มีใครควรกลับไปเหยียบอีก แต่ ถ้าชาวอุยกูร์ไม่กลับจีน แล้วจะให้พวกเขาไปไหน?

ไปยุโรป? อย่าหวังเลย ประเทศตะวันตกที่ชอบตะโกนเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่เคยเปิดประตูต้อนรับผู้อพยพอุยกูร์เป็นจำนวนมาก

ไปอเมริกา? เผลอ ๆ จะถูกปฏิเสธตั้งแต่ด่านตรวจคนเข้าเมือง

หรือ Amnesty อยากให้อุยกูร์ตั้งประเทศใหม่? ถ้าคิดแบบนี้ก็พูดมาตรง ๆ อย่าอ้อมค้อม เพราะนี่คือแนวคิดแบ่งแยกดินแดนโดยตรง

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน: หลักการสากลที่ Amnesty แกล้งทำเป็นมองไม่เห็น

เรื่องที่ตลกร้ายคือ เมื่อเป็นเรื่องของอาชญากรจากประเทศอื่น ประเทศตะวันตกก็รีบส่งตัวกลับประเทศต้นทางทันทีโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อเป็นอุยกูร์ Amnesty กลับพยายามทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ทั้งที่การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นหลักการสากลที่ทุกประเทศปฏิบัติตาม

ถ้าไม่ส่งกลับจีน แล้ว Amnesty จะให้ไปไหน? หรือพวกเขาต้องการให้คนเหล่านี้ลอยนวลไปอาศัยอยู่ที่อื่นโดยไม่มีการตรวจสอบ ทั้งที่บางคนอาจมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรง เช่น ETIM (East Turkestan Islamic Movement) ที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นองค์กรก่อการร้ายจากหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ เอง

วัฒนธรรมอุยกูร์อยู่ในจีน: สัจธรรมที่ Amnesty ไม่อยากรับรู้ อุยกูร์ไม่ใช่ชนเผ่าไร้ราก พวกเขามีดินแดน มีบ้าน และบ้านของพวกเขาก็คือ จีน ศิลปะ อาหาร ดนตรี และการค้าขายของอุยกูร์เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมจีนมาหลายร้อยปี ลองไปเดินตลาดในคัชการ์ (Kashgar) แล้วจะเห็นว่าอุยกูร์ไม่ได้เป็นแค่กลุ่มชนที่แยกตัวจากสังคมจีน แต่พวกเขาคือ หนึ่งในสีสันของอารยธรรมจีน

ถ้าจีนเป็นบ้านของอุยกูร์ แล้วทำไมการส่งตัวกลับถึงเป็นปัญหา? นี่คือคำถามที่ Amnesty ไม่มีวันตอบได้ เพราะพวกเขาไม่ได้สนใจสิทธิมนุษยชนจริง ๆ พวกเขาสนแค่การใช้ 'สิทธิ' เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อโจมตีจีน

บทสรุป: Amnesty ทำตัวเป็นนักบุญ แต่ตรรกะพังยับ
สุดท้ายแล้ว ประเด็นเรื่องอุยกูร์ไม่ใช่เรื่องของ 'การละเมิดสิทธิ' อย่างที่ Amnesty พยายามยัดเยียดให้โลกเชื่อ แต่เป็นเรื่องของ การบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อแทรกแซงกิจการภายในของจีน

ชาวอุยกูร์เกิดที่จีน โตที่จีน วัฒนธรรมของพวกเขาอยู่ในจีน และเมื่อพวกเขาถูกส่งตัวกลับบ้านเกิดของพวกเขาเอง Amnesty กลับโวยวายเหมือนเป็นเรื่องผิดมหันต์ เอาให้ชัดก่อนว่าคุณกำลังปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือกำลังสร้างความแตกแยกกันแน่?


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top