Sunday, 19 May 2024
อลงกรณ์

ลือสะพัด”อลงกรณ์จะย้ายพรรคไปเพื่อไทยหลังพบชัชชาติ” เจ้าตัวแจงสร้างมิติใหม่ ”การเมืองไร้รอยต่อ“

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รัฐมนตรีและอดีต ส.ส.6สมัย พรรคประชาธิปัตย์โพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัวกรณีมีคำถามเรื่องการย้ายพรรคไปเพื่อไทยหลังจากมีข่าวไปพบหารือนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยนายอลงกรณ์เขียนชี้แจงเรื่องนี้เกี่ยวกับ“การเมืองที่ไร้รอยต่อ”ไว้อย่างน่าสนใจดังต่อไปนี้

“การเมืองที่ไร้รอยต่อ“ Seamless politics กรณีมีข่าว”อลงกรณ์-ชัชชาติ“ผนึกความร่วมมือ“กทม.-จีน”ด้านพลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟัาโดยฝ่ายหนึ่งนำโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร (พรรคประชาธิปัตย์)กับอีกฝ่ายหนึ่งนำโดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พรรคเพื่อไทย) ทำให้เพื่อนๆและสื่อมวลชนหลายคนสอบถามด้วยความกังขาว่าคุยกันรู้เรื่องหรือ??? บางคนตีความไปว่าผมจะย้ายพรรคไปเพื่อไทยใช่ไหม??? ผมถามกลับไปว่า ทำไมถึงคิดเช่นนั้นก่อนจะถามต่อไปว่า เข้าใจคำว่า “การเมืองที่ไร้รอยต่อ”(seamless politics)ไหม???  ย้อนถามแบบนี้ก็งงกันสิครับ

ผมอธิบายสั้นๆว่า “การเมืองที่ไร้รอยต่อ” หมายถึงวัฒนธรรมทางการเมืองที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองที่อยู่คนละพรรคทำงานร่วมมือกันได้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยก้าวความความแตกต่างทางการเมืองหรือการแข่งขันทางการเมือง ผมเชื่อว่าท่านผู้ว่าชัชชาติก็มีแนวความคิดความเชื่อเช่นเดียวกับผมในเรื่องการเมืองที่ไร้รอยต่อ ท่านให้เกียรติและแสดงออกอย่างกระตือรือร้นในระหว่างการประชุมหารือ และแสวงหาความร่วมมือที่เป็นไปได้ในทุกมิติ โดยปราศจากร่องรอยการแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย ยิ่งกว่านั้นเรายังได้พูดถึงความร่วมมือในการยกระดับการศึกษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น เยเนอเรทีฟ เอไอ(Generative AI-ปัญญาประดิษฐ์) ในระบบ AI Classroom และความร่วมมือในโครงการกรุงเทพสีเขียว 2030( Green Bangkok 2030)เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและคุณภาพของเมืองหลวงของประเทศ เป็นต้น

ความร่วมมือระหว่างท่านผู้ว่าชัชชาติและผมคือหนึ่งในตัวอย่างของการเมืองที่ไร้รอยต่อ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างความกันขาให้กับเพื่อนๆ และสื่อมวลชน ผมเข้าใจดีว่า การเมืองบ้านเรา เคยชินกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่มุ่งต่อสู้แข่งขันแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายหมายเอาชนะคะคานกัน ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง แต่สำหรับผมคิดว่า เหรียญมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือการแข่งขันอีกด้านหนึ่งคือความร่วมมือ การเมืองจึงไม่ได้มีแค่เรื่องการแข่งขันหรือการต่อสู้ทางการเมืองเท่านั้น แต่การเมืองสามารถร่วมมือกันได้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติและนี่คือวิถีของการเมืองสร้างสรรค์ที่ผมยึดถือเชื่อมั่นมาโดยตลอดและอยากเห็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยแบบนี้เป็นรากฐานใหม่ของการเมืองไทย สรุปคือไม่มีการย้ายพรรคครับ”

"Seamless politics" is a concept that refers to a political environment or system where different political parties or entities work together smoothly and effectively without experiencing significant disagreements, conflicts, or disruptions. In a seamless politics scenario, there is a high level of cooperation, collaboration, and communication among different stakeholders in the political arena. This leads to more efficient governance, better decision-making processes, and potentially improved outcomes for society as a whole.

“อลงกรณ์-สภาอุตสาหกรรมฯ.”ตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy) หวังสร้างฐานผลิตใหม่23จังหวัดชายทะเลทดแทนการนำเข้าลดคาร์บอนแก้โลกร้อน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท(WCF:Worldview Climate Foundation)เปิดเผยวันนี้(25 มี.ค)ว่า ประเทศไทยผลิตสาหร่ายน้อยมากต้องพึ่งพานำเข้าสาหร่ายจากต่างประเทศจนติดท็อปเทนของโลก ในขณะที่มีชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยยาวกว่า3,000 กิโลเมตรใน23จังหวัดจึงมีศักยภาพในการผลิตทดแทนการนำเข้าและยังช่วยลดคาร์บอนด้วย ดังนั้นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท Worldview Climate Foundation จึงได้ทำเอ็มโอยู.ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาสาหร่ายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำถือเป็นความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(blue economy)ในการใช้ทรัพยากรในทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยซึ่งในการประชุมล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)ได้ข้อสรุปในการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตทั้งนี้มูลนิธิฯ.ได้เสนอรายชื่อกรรมการและหน่วยงานรัฐเช่นกรมประมง กรมทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯลฯเป็นกรรมการเรียบร้อยแล้วส่วนสอท.จะเสนอรายชื่อภายหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสอท.ชุดใหม่วันที่ 25 มีนาคมนี้เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ.ในการขับเคลื่อนความร่วมมือในครั้งนี้ให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็ว

"สาหร่ายถือเป็นพืชแห่งอนาคตตัวใหม่ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สามารถผลิตเป็น อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์พลาสติกชีวภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์ กระดาษ สิ่งทอ สารกระตุ้นทางชีวภาพ (bio stimulants) และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยตั้งเป้าหมายสร้างงานสร้างรายได้ให้กับ23จังหวัดชายทะเลซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการผลิตสาหร่าย ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมสาหร่ายยังมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 “นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด สำหรับการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าประชุมตัวแทนมูลนิธิได้แก่นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานกรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท,รศ.ดร.สุชาติ นวกวงษ์ กรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท ,นางสาวสภาวรรณ พลบุตร ,นางสาวณัฐนิชา ผกาแก้ว ผู้ประสานงานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท
และนายชนะพล พอสม Advisor, Worldview International Foundation ส่วนผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้แก่ นายเชิญพร เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ,นางสาวศุภกาญจน์ พรหมราช ,นางสาวจิราวรรณ เดียขุนทด และนางสาวนฤดี มาทองหลาง จากสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม

“อลงกรณ์”ชี้ประเทศเผชิญวิกฤติศรัทธา ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการเลือกตั้ง จุดยืนพรรคการเมืองและกระบวนการยุติธรรม แนะ“ทักษิณ”ยอมรับความผิดและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเดินกลับเข้าคุกเหมือนนักโทษคนอื่น

ในการสัมนาเรื่อง “วันนี้ประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น?”ที่โรงแรมบาซาร์ รัชดากรุงเทพ 
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์และอดีตรัฐมนตรีอดีต ส.ส.6สมัย กล่าวในหัวข้อ“ทิศทางการเมืองไทย”ว่าประเทศกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติศรัทธาเพราะประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้งและไม่มั่นใจในจุดยืนอุดมการณ์ของพรรคการเมืองรวมทั้งประเด็นปัญหากระบวนการยุติธรรมกรณีอดีตนายกฯ.ทักษิณ ประเด็นประชาชนขาดความเชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับรากฐานของระบอบประชาธิปไตยเพราะการเลือกตั้งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย แต่ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคที่ชนะการเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งและรวมเสียงได้เกินกว่าครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ จนมีคำถามว่า“แล้วจะมีเลือกตั้งไปทำไม ?”“ทำไมถึงไม่เคารพเสียงของประชาชน?”

ยิ่งกว่านั้น พรรคการเมืองที่อยู่คนละขั้วประกาศในระหว่างหาเสียงว่าจะไม่จับมือกันกลับไม่รักษาคำพูดโดยร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลทำให้เกิดคำถามถึงจุดยืนและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคแกนนำรัฐบาลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบพรรคการเมืองโดยตรง

การเลือกตั้งและพรรคการเมืองมีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย หากประชาชนโดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกขาดความเชื่อมั่นก็ยากต่อการพัฒนาการเมืองในอนาคต นายอลงกรณ์ยังกล่าวต่อไปว่า ในปีนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่จะส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคตของการเมืองไทยได้แก่
1. การเลือกส.ว. ชุดใหม่
2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3.การตรากฎหมายนิรโทษกรรม
4.การปรับคณะรัฐมนตรี
5.คดียุบพรรคก้าวไกล
6. ปัญหากระบวนการยุติธรรมจากกรณีอดีตนายกฯ.ทักษิณ

สำหรับเรื่องการยุบพรรคนั้น นายอลงกรณ์ไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคโดยมีความเห็นว่าพรรคการเมืองเป็นองค์กรทางการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรค สาขาพรรคและตัวแทนพรรค การลงโทษใดๆควรดำเนินการกับกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารส่วนกรณีอดีตนายกฯ.ทักษิณกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและหลักนิติรัฐของประเทศอย่างร้ายแรง 
ข้อแนะนำคืออดีตนายกฯ.ทักษิณเมื่อกลับเข้ามายอมรับความผิดต้องสำนึกผิดอย่างแท้จริงและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงลดโทษให้ด้วยการเคารพกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมโดยเซทซีโร่เดินกลับเข้าคุกเริ่มต้นขั้นตอนการลงโทษเหมือนนักโทษคนอื่นๆจะเป็นตัวอย่างที่ดีของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ

นายอลงกรณ์ยังกล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าได้สรุปบทเรียนความผิดพลาดในอดีตโดยเฉพาะประเด็นจุดยืนและอุดมการณ์ที่ถูกมองว่าพรรคละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปร่วมกับเผด็จการและสนับสนุนการสืบทอดอำนาจจนมีข้อกล่าวหาว่าจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารกระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพรรคประชาประชาธิปัตย์สะท้อนจากผลการเลือกตั้งปี2562และ2566จากพรรคที่มี ส.ส.กว่า100คนเหลือเพียง25คน หลายพรรคการเมืองในวันนี้กำลังตกอยู่ในกับดักที่ประชาธิปัตย์เคยประสบมาก่อนเมื่อใดที่ประชาชนไม่เชื่อมั่น เมื่อนั้นพรรคการเมืองก็ไม่มีอนาคต ”บทเรียนความผิดพลาดในอดีตที่ต้องจ่ายด้วยราคาแพงเป็นบทเรียนสำคัญ วันนี้พรรคประชาธิปัตย์เหมือนเงาะถอดรูป
พรรคประชาธิปัตย์กำลังวางปัจจุบันและอนาคตบนแนวทางประชาธิปไตย ความซื่อสัตย์สุจริต วิสัยทัศน์ก้าวหน้าและนโยบายทันสมัยโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคได้แต่งตั้งคณะกรรมกา ยุทธศาสตร์ทำหน้าที่กำหนดทิศทางและแนวทางการขับเคลื่อนพรรคสู่การเป็นสถาบันทางการเมืองที่แท้จริงของประเทศเน้นการเปิดกว้างสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน หวังว่าความพยายามครั้งนี้ของพรรคประชาธิปัตย์จะสามารถฟื้นฟูศรัทธากลับมาด้วยโอกาสใหม่ที่ประชาชนมอบให้“.
การสัมนาเรื่อง “วันนี้ประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น?”ที่โรงแรมบาซาร์ รัชดากรุงเทพ จัดโดยหนังสือพิมพ์ไทยแลนด์ ทูเดย์ นิวส์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567

“อลงกรณ์”เห็นตรง“ดร.ธรณ์”ไทยเผชิญวิกฤติโลกร้อนทะเลเดือด ชี้โลกรวน คือวิกฤตการณ์แห่งศตวรรษที่21

เร่งผนึกทุกภาคีเดินหน้าโครงการคาร์บอนสีน้ำเงิน(Blue Carbon)หวังฟื้นฟูป่าชายเลนลดคาร์บอน110 ล้านตันสู่เป้าหมายเน็ทซีโร่(Net Zero)

นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท โพสต์บทความวันนี้เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตโลกร้อนกับผลกระทบต่อประเทศไทยและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงินในหัวข้อ“โลกรวน คือวิกฤตแห่งศตวรรษที่21 :ก้าวต่อไปของประเทศไทยในการลดโลกร้อนทะเลเดือด”โดยมีข้อความว่า

อ่านเรื่อง โลกเดือด ทะเลเดือดของดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ น้องที่เคยร่วมงานขบวนการปฏิรูปประเทศก็เห็นตรงกัน100%และขอร่วมแชร์ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบสุดขั้ว(Extreme)ที่ทำให้เกิดภาวะ“โลกรวน”ในหัวข้อ “โลกรวน คือวิกฤติการณ์แห่งศตวรรษที่21 :ก้าวต่อไปของประเทศไทยในการลดโลกร้อนทะเลเดือด”

ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อนทะเลเดือดเป็นวิกฤตแห่งศตวรรษที่21ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกทำให้มีความพยายามที่จะลดก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการต่างๆภายใต้กรอบการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติหรือ (COP) เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตัวอย่างเช่นสหภาพยุโรปเริ่มใช้ระบบภาษีคาร์บอนในรูปมาตรการCBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป สำหรับประเทศไทยของเราปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 0.8 ของโลกมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิกว่า 240ล้านตันต่อปี เฉพาะด้านการใช้พลังงาน

โดยภาพรวมในปี 2565ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น1.5% “หากจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ภาคพลังงานจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ปีละ 86 ล้านตันคาร์บอนฯ และป่าไม้ต้องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ปีละ 120 ล้านตันคาร์บอน” แต่ถ้าทำไม่ได้จะเกิดอะไรขึ้น องค์การสหประชาชาติคาดว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ ฯลฯ ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งกว่านั้นคือจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติรุนแรงที่สุด10อันดับแรกของโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยทั้งการลดปริมาณการปล่อยและเพิ่มศักยภาพในการดูดกลับหรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งต้องผนึกความร่วมมือทุกฝ่ายทำงานเชิงรุกทุกหน้างาน

ดังนั้นการเดินหน้าเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy)เช่นโครงการปลูกโกงกางในพื้นที่ป่าชายเลนของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยอธิบดีคนใหม่นายปิ่นสักก์ สุรัสวดีที่ช่วยปลดล็อคปมส่อทุจริตของโครงการนี้ในอดีตพร้อมกับขยายความร่วมมือทุกภาคส่วนทำให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรโกงกางประเทศไทย(TMA: Thailand Mangrove Alliance)เป็นครั้งแรกถือเป็นตัวอย่างที่ดีของโครงการลดคาร์บอนเนื่องจากป่าชายเลนของประเทศไทยมีศักยภาพลดคาร์บอนได้ถึง 110 ล้านตันในระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้เป็นรายงานของดร.สนใจ หะวานนท์ ผู้เชี่ยวชาญป่าชายเลนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งได้ศึกษาวิจัยเรื่องป่าชายเลนในหลายประเทศมากว่า 40 ปี ระบุว่า “…การสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าชายเลนโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงที่ต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนออกมา พบว่าป่าชายเลนของประเทศไทยสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหนือพื้นดินได้ 27.1 ตันต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) และสะสมในดิน 16.9 ตันต่อเฮกตาร์ รวมแล้ว 44.0 ตันต่อเฮกตาร์ ประมาณการณ์ได้ว่าป่าชายเลนของประเทศไทยประมาณ 1.5 ล้านไร่ หรือประมาณ 0.24 ล้านเฮกแตร์ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 11 ล้านตันต่อปี…“ เพื่อระดมพลังทุกภาคส่วนในการเร่งทำงานลดโลกร้อนลดคาร์บอน ทางมูลนิธิฯ.ได้หารือกับผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรโกงกางประเทศไทย(TMA: Thailand Mangrove Alliance)และกรมทช.เกี่ยวกับการจัดสัมนาเรื่อง  “ป่าโกงกาง สู่เป้าหมายซีโร่คาร์บอน(Zero Carbon)ของประเทศไทย”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy)ลดโลกร้อนในเร็วๆนี้

โดยต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามูลนิธิฯ.ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MoU)กับ32 องค์กรภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย (Thailand Mangrove Alliance) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งนับเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตามหลักการ 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ในการปกป้อง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ การจัดการป่าชายเลนอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) และการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชนป่าชายเลน ในพื้นที่เป้าหมาย 24 จังหวัดชายทะเลของประเทศไทยซึ่งจะมีการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย (Thailand Mangrove Alliance) ในงานวันป่าชายเลนแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมช้างเผือก องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของไทยในการแก้ปัญหาโลกร้อน “มูลนิธิจะสนับสนุนการพัฒนาและการอนุรักษ์ป่าโกงกาง รวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและคนรุ่นต่อไปเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรป่าชายเลนและจะดำเนินการปลูกต้นโกงกางเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การทำโครงการคาร์บอนเครดิต (Carbon Credits) การพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องบลูคาร์บอน (Blue Carbon) รวมถึงการศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าชายเลนด้วยความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมถึงชุมชนในพื้นที่ในการปลูกและขยายพันธุ์เมล็ดและฝักโกงกางในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top