Sunday, 19 May 2024
อลงกรณ์

“อลงกรณ์” เผย! ขบวนรถไฟสาย ‘จีน-ลาว’ ขนสินค้าเกษตรของไทย 20 ตู้ ถึงมหานครฉงชิ่งแล้วใน 6 วัน เร่งดันผลไม้ขึ้นรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 65 รอเพียงจีนเปิดด่านตรวจพืชสถานีรถไฟโมฮ่าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า ขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเกษตรของไทยล็อตแรก 20 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถไฟสายจีน-ลาว จากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้สู่ด่านรถไฟโมฮ่านของมณฑลยูนนานได้ขนส่งถึงมหานครฉงชิ่ง โดยใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 วันตั้งแต่เดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้เมื่อเวลา1 5.00 น. ของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาโดยใช้เวลาในสปป.ลาว 3 วัน และการเดินทางในจีนอีก 3 วัน โดยได้สรุปตารางเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนจากไทยผ่านสปป.ลาว ข้ามพรมแดนจีนจนถึงภาคตะวันตกของจีนคือมหานครฉงชิ่ง เชื่อว่าจะสามารถลดเวลาในการขนส่งในอนาคตเหลือเพียง 4 วันเมื่อมีการปรับตัวการทำงานของทุกฝ่าย 

เป้าหมายต่อไปคือการเร่งเปิดบริการอย่างเป็นระบบ การลดเวลาการขนส่งตลอดห่วงโซ่โลจิสติกส์เพื่อขยายการขนส่งทางรถไฟสายนี้สำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ข้าว ยางพารา ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม กล้วยไม้ น้ำตาลและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆโดยเฉพาะผลไม้เช่นทุเรียน มังคุด เงาะเป็นต้นโดยมีเป้าหมายให้สามารถขนส่งทางรถไฟให้ทันฤดูกาลผลิตปี 2565 ขณะนี้ฝ่ายไทยและสปป.ลาว พร้อมแล้วรอทางจีนเปิดทำการด่านตรวจพืช ณ สถานีรถไฟโมฮ่านภายใต้พิธีสารที่ได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือกับทางการจีนให้เร่งดำเนินการหลังเทศกาลตรุษจีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันที่17 ก.พ.นี้

“นับเป็นขบวนสินค้าปฐมฤกษ์ของไทยที่สามารถเปิดบริการได้เป็นขบวนแรกและเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนโยบายอีสานเกตเวย์ เชื่อมอีสานเชื่อมโลกด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวตามนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายโลจิสติกส์เกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

นายอลงกรณ์กล่าวว่า สื่อมวลชนในประเทศจีนให้ความสำคัญกับการขนส่งทางรถไฟจากไทยไปจีนเที่ยวแรกอย่างมากโดยเสนอข่าวกันครึกโครมและวิเคราะห์ว่าเร็วกว่าการขนส่งทางเรือถึง 4 เท่า ดังตัวอย่างข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยที่ยกเป็นตัวอย่างมา ณ ที่นี้

“สินค้าทางการเกษตรของไทยที่ถูกขนส่งโดยรถไฟมาถึงจีนเป็นครั้งแรก เส้นทางรถไฟจีน-ลาวทั้งสองทางเปิดให้บริการแล้ว รถไฟบรรทุกข้าวเหนียวไทยปริมาณ 500 ตัน ขบวนแรกของรถไฟสายจีน-ลาว ได้ออกจากสถานีรถไฟเวียงจันทน์ใต้ในลาวและเดินทางมาถึงด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 จากนั้นใช้เวลา 3 วันขนส่งถึงเมืองฉงชิ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน

เป็นที่รู้กันว่าการขนส่งทางรถไฟนั้นใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าทางทะเลถึง 4 เท่า โดยการมาถึงของสินค้าทางการเกษตรของไทยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปิดให้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวอย่างเป็นทางการทั้งสองทาง

‘อลงกรณ์’ เร่งเครื่องพัฒนา ‘เกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง’ วางกลไกขับเคลื่อนทั่วไทย! ตั้งเป้าพัฒนาเกษตรเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียวตอบโจทย์เศรษฐกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

วันนี้ (25 ก.พ.65) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) เป็นประธานการประชุมแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับเขต และระดับจังหวัด ทั่วประเทศผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ zoom cloud meeting พร้อมด้วย นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการทุกท่าน และเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุม โดยมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน (กนท.) สป.กษ. เป็นเลขานุการการประชุม ทั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับเขต และระดับจังหวัด

โดยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเล็งเห็นความสำคัญการแก้ไขปัญหาภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารในเมือง เนื่องจากในปี 2562 ประเทศไทยมีประชากรในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรกสะท้อนถึงการขยายตัวของเมือง(Urbanization) และชุมชนเมืองมีการผลิตอาหารได้เองไม่ถึง 10% เป็นเหตุผลสำคัญที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในยุคปัจจุบันต้องเร่งขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด-19 และยุคต่อไป (Next normal) ที่ต้องให้ความสำคัญระบบนิเวศน์เมืองเรื่องสุขภาพคนและคุณภาพเมือง

จึงต้องขับเคลื่อนเกษตรในเมืองควบคู่กับเกษตรในชนบทจึงได้มอบนโยบายให้ดำเนินการโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง 2. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3. การลด PM 2.5 และลดก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) 4. การเพิ่มคุณภาพอากาศ 5. การอัพเกรดคุณภาพชีวิตของประชาชน 6. การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ(Climate Change) ของโลก

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการระดับเขตและจังหวัดยังรับผิดชอบการขับเคลื่อนโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนโดยการปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นทรัพย์สินและหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งยังนำมาคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปด้วยตามเป้าหมายCarbon Neutrality และ Carbon Zeroของประเทศไทยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแรงจูงใจในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกทางหนึ่ง

นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า การบริหารโครงการเชิงโครงสร้างครอบคลุมทั้งประเทศมีกลไกคณะกรรมการระดับพื้นที่แล้วยังมีคณะกรรมการระดับคลัสเตอร์ด้วยได้แก่

(1) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองทั้งในพื้นที่ที่วัด (Green Temple)

(2) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่วิทยาลัย (Green College)

(3) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่โรงเรียน (Green School)

(4) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่มหาวิทยาลัย (Green Campus)

(5) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community)

(6) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo)

(7) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นการเคหะแห่งชาติ (Green Housing )

(8) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม (Green Industry)

(9) คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่โรงแรม (Green Hotel)

(10)คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

(Green Bangkok)

 

‘อลงกรณ์’ เดินหน้าพัฒนาเรือประมง ผนึกศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมาคมประมงไทยพัฒนาเทคโนโลยีการจับปลา ยึด ‘เรือฝึกปลาลัง’ เป็นต้นแบบ มุ่งลดต้นทุนแรงงาน-พลังงาน

วันนี้ (31 มีนาคม 2565) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย เข้าเยี่ยมชมเรือฝึก ‘ปลาลัง’ ณ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) .สมุทรปราการ โดยมี นายบัญชา สุขแก้ว นายประพันธ์ ลีปายะกุล รองอธิบดีกรมประมง นางมาลินี สมิทธิ์ฤทธี เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ MR.Koichi Honda จากรัฐบาลญี่ปุ่น นายพิชัย แซ่ลิ้ม นายกสมาคมประมงสมุทรปราการและกรรมการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาการประมงฯ กรมประมง ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการเรือฝึก ‘ปลาลัง’

ทั้งนี้ เรือฝึก ‘ปลาลัง’ เดิมเป็นเรือประมงอวนล้อมจับ และได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นเรือฝึกประมงอวนลากในปี 2564 ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากกรมประมงและรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้งบประมาณ Japanese Trust Fund ในหัวข้อโครงการ Responsible Fishing Technology and Practice ให้เป็นเรือฝึกประมงตัวอย่าง ในการพัฒนา ปรับปรุงเครื่องมือทำการประมง เพื่อช่วยลดต้นทุนในการประกอบอาชีพด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและแหล่งทำการประมง รวมถึงภาวะโลกร้อน (Low Impact and Fuel Efficient) นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่และสุขอนามัยที่ดีของลูกเรือบนเรือประมง เสริมสร้างความปลอดภัยการทำงานในทะเล การส่งเสริมและให้ความสำคัญในด้านการเก็บรักษาคุณภาพสัตว์น้ำบนเรือประมง ทั้งแบบสดและมีชีวิต (Fresh & Life Fish) อย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อให้สัตว์น้ำที่จับได้สามารถคงความสด ลดการสูญเสีย และขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด

'เฉลิมชัย' พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย 'จีน-ลาว'

'รัฐมนตรีเฉลิมชัย' พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย 'จีน-ลาว' ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ ด้าน 'อลงกรณ์' เผยแผนต่อไปเดินหน้าจับมือ 'ลาว-เวียดนาม' เปิดประตูอีสานสู่แปซิฟิกจากนครพนมเชื่อมท่าเรือหวุงอ๋างเพิ่มช่องทางขนส่งสินค้าเกษตรทางเรือ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (3เม.ย) ว่า การขนส่งทุเรียน 2 ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวจำนวน 1 ตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟจากสถานีรถไฟมาบตาพุตจังหวัดระยองในภาคตะวันออกสู่ประเทศจีนโดยมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุขและส.ส.ระยอง เป็นประธานการปล่อยขบวนรถเมื่อวันที่27มีนาคมได้ถึงช่วงสุดท้ายที่สำคัญมากคือการขนส่งข้ามพรมแดนลาวที่ด่านบ่อเตนสู่แผ่นดินใหญ่จีนที่ด่านโมฮ่าน มณฑลยูนนานได้ในวันนี้

 

นับเป็นระบบการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi Modal Transportation)คือใช้ทั้งระบบรางและระบบรถที่เริ่มดำเนินการเป็นครั้งแรกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีที่ยังไม่สามารถขนส่งผลไม้ทางรถไฟจากลาวข้ามแดนไปด่านรถไฟโมฮ่านโดยตรงเนื่องจากจีนกำลังก่อสร้างอาคารและลานตรวจโรคพืชที่ด่านรถไฟโมฮ่านจึงต้องไปใช้การตรวจโรคพืชที่ด่านโมฮ่านซึ่งเป็นด่านใหญ่ด่านเดิมไปพรางก่อน

“ทั้งนี้ได้รายงานให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ทราบแล้วโดยท่านรัฐมนตรีได้แสดงความพอใจแผนโลจิสติกส์เกษตรที่ประสบผลสำเร็จจากการทดสอบการขนส่งทุเรียนและมะพร้าวน้ำหอมล็อตแรกจากไทยผ่านลาวไปจีนภายใต้พิธีสารผลไม้ไทย-จีนด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวโดยได้สั่งการให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายนเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอนเนื่องจากการขนส่งล็อตแรกยังมีความล่าช้ากว่าเป้าหมายรวมทั้งการจัดการเรื่องพิธีการเอกสารของหน่วยงานต่างๆ การจองขบวนรถไฟ ตารางการเดินรถ และค่าระวางการขนส่งในระบบ 'ราง-รถ' ให้สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งผลไม้บนเส้นทาง”หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเตน-โมฮ่าน”ให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อเป็นอีกทางเลือกใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยไปจีนสำหรับฤดูการผลิตปี 2565”

'อลงกรณ์' เผยเตรียมส่งออกทุเรียนล็อตใหม่ด้วยรถไฟ 'จีน-ลาว' กลางสัปดาห์หน้า

'อลงกรณ์' เผยเตรียมส่งออกทุเรียนล็อตใหม่ด้วยรถไฟ 'จีน-ลาว' กลางสัปดาห์หน้า พร้อมลงพื้นที่จันทบุรีผนึกผู้ว่าฯ-สมาคมทุเรียนไทยเดินหน้ายกระดับมาตรการป้องกันทุเรียนปนเปื้อนโควิดต่อเนื่อง ประกาศดีเดย์ 22เมษาฯ วันฆ่าเชื้อโควิดทุกล้ง (Big ATK Day)

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรีในวันนี้ (17เม.ย.) ว่า ได้รับมอบหมายจากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ให้ติดตามความก้าวหน้าของการยกระดับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิดจึงร่วมกับนายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) นาย ภานุศักดิ์ สายพานิช นายกสมาคมทุเรียนไทย นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา คณะกรรมการโครงการจันทบุรี มหานครผลไม้ นายชรัตน์ เนรัญชร รองเลขาธิการหอการค้า ทพ.อิทธิพล จังสิริมงคล นายวิษณุศักดิ์ จิรกฤติยากุล คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ. ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล ตัวแทนชาวสวน สพว.6 กรมวิชาการและผู้ประกอบการส่งออกตรวจตราสถานประกอบการคัดแยกบรรจุทุเรียนในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีตามมาตรการยกระดับการป้องกันการปนเปื้อนโควิดซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมือด้วยดีและกำหนดให้วันที่ 22 เมษายนเป็นวันทำความสะอาดฆ่าเชื้อสถานที่ล้งและตรวจเอทีเค.พนักงานทุกคน (Big Cleaning & ATK day)

“แม้ว่าด่านโม่ฮานของจีนได้เปิดนำเข้าทุเรียนไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมาหลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วันระหว่างวันที่ 12-14 เมษายนจากเหตุพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์จากไทยก็ยังประมาทไม่ได้ การ์ดต้องไม่ตกตามข้อสั่งการของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board) เพราะใกล้ถึงช่วงที่ผลผลิตจะออกมามากที่สุดหรือเรียกว่าช่วงพีค(peak season)ของทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกองซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจในภาคตะวันออกโดยมีปริมาณของผลผลิตปีนี้กว่า 1 ล้านตัน"

'องลงกรณ์' ชี้ 'รถไฟลาว-จีน' มีประโยชน์ต่อไทย ร่นเวลาขนส่งไปจีนใช้เวลาเพียง 1 วันครึ่ง 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า วันนี้ขอแสดงความชื่นชมต่อความสำเร็จในการส่งออกทุเรียนไทยล็อตใหญ่ที่สุด 500 ตัน 27 ตู้คอนเทนเนอร์ของฤดูกาลผลิตผลไม้ปี 2565 ที่ขนส่งบนเส้นทางรถไฟสายลาว-จีนตามนโยบายอีสานเกตเวย์และเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยด้วยระบบรางภายใต้พิธีสารการนำเข้าส่งออกผลไม้ระหว่างไทย-จีนโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของไทย-ลาวและจีนหลังจากทดสอบการส่งออกทุเรียน 2 ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวน้ำหอม 1 ตู้คอนเทนเนอร์เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

จากนี้จะขยายไปสู่การขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น มังคุด ลำไย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล มะม่วง เป็นต้น เพื่อเร่งสร้างรายได้เข้าประเทศ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กล่าวว่า ทุเรียนล็อตใหญ่ล็อตแรกมาจากจังหวัดจันทบุรี จำนวน 27 ตู้ ซึ่งเป็นการขนส่งระบบผสมผสาน “ราง-รถ” โดยรถบรรทุกคอนเทนเนอร์รุ่นใหม่บรรทุกทุเรียนที่ผ่านการตรวจสอบโรคพืช ไม่มีทุเรียนอ่อนและปลอดการปนเปื้อนโควิดเดินทางจากภาคตะวันออกถึงจังหวัดหนองคายข้ามแม่น้ำโขงที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ไปถ่ายตู้ที่ท่าบกท่านาแล้งก่อนลำเลียงไปขึ้นแคร่รถไฟที่สถานีเวียงจันทน์ใต้ แล้วเดินทางไปยังสถานีรถไฟนาเตยในแขวงหลวงน้ำทาก่อนยกขึ้นรถบรรทุกคอนเทนเนอร์เดินทางต่อไปด่านบ่อเต็นข้ามพรมแดน “ลาว-จีน” ไปตรวจโรคพืชและโควิดที่ด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนาน

‘อลงกรณ์’ เผยข่าวดีจีนเปิดด่านรถไฟผิงเสียง พร้อมขนทุเรียนไทยผ่านเวียดนามแล้ววันนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ (29 เม.ย.) ว่า วันนี้มีข่าวดีสำหรับชาวสวนทุเรียนและผลไม้ไทยโดยจีนเปิดด่านนำเข้าครบทุกด่านแล้ว ล่าสุดสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร กว่างโจวรายงานว่า จีนได้เปิดด่านนำเข้าทุเรียนและผลไม้ไทยในวันนี้อีกด่านหนึ่งคือด่านรถไฟผิงเสียงบริเวณพรมแดน “จีน-เวียดนาม” ซึ่งจะช่วยกระจายการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยไปตลาดจีนได้มากขึ้น

'เฉลิมชัย' เดินหน้าพัฒนาเกษตรอีสาน มอบ 'อลงกรณ์' คิกออฟงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ

'เฉลิมชัย' เดินหน้าพัฒนาเกษตรอีสานมอบ 'อลงกรณ์' คิกออฟงานวันข้าวและชาวนาแห่งชาติโชว์เทคโนโลยีอัจฉริยะและนวัตกรรมลดต้นทุนการผลิต เพิ่มศักยภาพชาวนาวิถีใหม่พร้อมมอบที่ทำกิน สปก.กว่า 200 ครัวเรือน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิดงาน “๙๐ พรรษา ชาวนาวิถีใหม่ ๙ ไกลด้วยพระบารมี” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 25 มิถุนายน 2565 โดยมีนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว นายทินกร อ่อนประทุม นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เข้าร่วม ณ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว จัดงานดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านข้าวแก่ชาวนาและผู้สนใจทั่วไป นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตข้าว รวมถึงผลงานของกรมการข้าวด้านอื่น ๆ ที่ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญด้านการวางแผนการผลิต ระบบการผลิต และการบริหารจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงแก่ชาวนา รวมทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวนา ในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักให้กับประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางให้ชาวนาได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์กับหน่วยงานราชการ เอกชน และชาวนาด้วยกัน

“การจัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวฯ ถือเป็นการแสดงวัฒนธรรมด้านข้าว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตข้าวให้เหมาะสม ทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของชาวนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามหลักการพึ่งพาตนเอง และทำให้อาชีพการทำนามีความยั่งยืน ก่อให้เกิดความมั่นคงแก่เกษตรกรต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าว

“อลงกรณ์”โชว์ผลงานเด่น“เกษตรฯ.-พาณิชย์”ส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารเพิ่มขึ้น20% สร้างรายได้เข้าประเทศเฉียด5แสนล้าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เปิดเผยวันนี้ว่า แม้จะเผชิญกับวิกฤติซ้อนวิกฤติทั้งโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการผลิตของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและยังเผชิญกับมาครการป้องกันการปนเปื้อนโควิดแต่ประเทศไทยก็สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ค.)มีมูลค่ารวม 467,255.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.16% 
โดยมีสินค้าเกษตรอาหารที่ส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรกตามมูลค่าส่งออกดังนี้

'อลงกรณ์' ชี้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังศึกซักฟอกเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ยืนยันขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์มีเอกภาพมากที่สุด พร้อมขอบคุณเสียงโหวตของประชาชนไว้วางใจ 'จุรินทร์' มากที่สุดอันดับ4 ขึ้นแท่นแชมป์เบอร์ 1 รัฐมนตรีชี้แจงดีที่สุดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคเขียนเฟสบุ๊คส่วนตัววันนี้ว่า การที่รัฐบาลผ่านความไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อไปทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหาและการรับมือวิกฤติต่างๆที่กำลังรุมเร้าประเทศจากผลกระทบของโควิด19 สงครามรัสเซีย-ยูเครนและความผันผวนทางเศรษฐกิจ

พร้อมกับยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้มีความเป็นเอกภาพมากที่สุดภายใต้การนำของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคและนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคทั้งก่อนหน้าและหลังศึกซักฟอกสะท้อนจากผลการลงมติไม่ไว้วางใจเป็นไปในทางเดียวกันซึ่งเป็นการลบข้อครหาและการวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้ว่ามีความแตกแยกภายในพรรคและจะเกิดปัญหาเสียงแตกในการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีบางคนของพรรค

นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังแสดงความขอบคุณประชาชนที่โหวตให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ที่ชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจดีที่สุดโดยเฉพาะซูเปอร์โพลโหวตให้เป็นรัฐมนตรีที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดอันดับ4

      “พรรคประชาธิปัตย์จะนำทุกกำลังใจที่มอบให้ทุ่มเททำงานให้ดีที่สุดเพื่อประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มที่ในวาระที่เหลืออยู่ของรัฐบาล”

       รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าเสียงโหวตนอกสภากับในสภาแตกต่างกันมากระหว่างเสียงประชาชนกับเสียงการเมือง โดยเฉพาะเสียงจากกลุ่มพรรคเล็กและพรรคเศรษฐกิจไทยรวมทั้งเสียงของส.ส.ที่มีแนวโน้มย้ายพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้าถือเป็นตัวแปรสำคัญต่อผลคะแนนที่ปรากฎออกมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top