Sunday, 19 May 2024
อลงกรณ์

'อลงกรณ์' คิกออฟงานเกษตรปลอดภัย ชูเพชรบุรีโมเดล ต้นแบบเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร(City of Gastronomy)ของยูเนสโก

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าเกษตรปลอดภัยโดยมีนายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ที่ปรึกษารมช.พาณิชย์ อดีต ส.ส.เพชรบุรี ดร.กัมพล สุภาแพ่ง คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ อดีต ส.ส.เพชรบุรี นายอาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัดเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชนและ เกษตรกรชาวเพชรบุรี ร่วมพิธีเปิดงานแสดงสินค้าเกษตร ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานเปิดงานว่า จังหวัดเพชรบุรีเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy) นับเป็นจังหวัดตัวอย่างต้นแบบโดยเฉพาะรูปแบบการสร้างความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในยกระดับการพัฒนาภาคเกษตรและอาหารสอดรับกับเป้าหมายรัฐบาลที่จะก้าวไปสู่ประเทศชั้นนำท็อปเทนของโลกในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร โดยขณะนี้ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก จาก 200 กว่าประเทศซึ่งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกและสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร จึงเป็นโอกาสในวิกฤติของประเทศไทยและจังหวัดเพชรบุรีที่จะได้พัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สมาชิกพรรคปชป.เชียร์ 'อลงกรณ์' เป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย มั่นใจฝีมือสามารถสร้างผลงานเพิ่มความนิยมพรรคก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า

จากกรณีที่นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยลาออกจากตำแหน่ง

วันนี้ (6 ก.ย.) ปรากฎว่ามีการเคลื่อนไหวในพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับบุคคลที่จะขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่างลงโดยล่าสุดในกลุ่มไลน์ "ประชาธิปัตย์ ปชป." มีสมาชิกพรรคตัวแทนพรรคและอดีตผู้สมัครส.ส.ในภาคใต้ภาคเหนือภาคตะวันออกภาคอีสานภาคกลางและกทม.แชร์ข้อความเสนอให้นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่นหากมีการสลับปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีในโควต้าพรรคในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า มีข้อความหนึ่งเขียนโดย ดร.สุเมต สุวรรณพรหม สมาชิกเก่าแก่สายใต้ของพรรค นักวิชาการสื่อมวลชนและอดีตผู้สมัครส.ส.เขียนในกลุ่มไลน์ว่า “ผมเห็นด้วย รมช.มหาดไทย ควรพิจารณา..ท่านอลงกรณ์ พลบุตร.. "เลือดประชาธิปัตย์แท้ไม่แปรพรรค.." ท่านออกไปเป็นสปท.ได้เป็น รองประธานสภา..ได้ช่วยเหลือชาติเป็นอย่างมาก..เสร็จภารกิจแล้วขอกลับมาช่วยขับเคลื่อนพรรคอย่างต่อเนื่อง..พรรคจะโด่งดัง พรรคจะตกต่ำอลงกรณ์..และพี่น้องทุกคนในครอบครัวอยู่เคียงข้างพรรคเสมอมา ผมจำได้จำแม่นตั้งแต่ปี2535 -ปัจจุบันการปรับครม.ครั้งนี้

หาก รมช.มหาดไทย..เป็นคุณอลงกรณ์..นอกจากจะเก่ง..เป็นประชาธิปัตย์มืออาชีพ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้แน่นอน

ผมมั่นใจว่า ประชาธิปัตย์ภาคกลาง..จะกลับมาได้ ได้สส.มากขึ้นแต่นอน..เพชรบุรี..ประจวบกลับมาหมดแน่
สมุทรสาคร  สมุทรสงคราม ราชบุรี..กาญจนบุรี..จะดีขึ้นมากๆครับ..และวงการสื่อวงการข่าว  จะกลับมาเชียร์แน่นอน..เกษตรกรชอบท่านอลงกรณ์..ข้าราชการ ก็ชอบทำงานกับท่านอลงกรณ์..เพราะไปช่วยเขาทำงานครับ..ประวัติท่านดีมากๆ..เป็นดารา..ในวงการเมืองในสายตาประชาชน คอการเมือง.. นอกจากนี้ยังมีสมาชิกพรรคกลุ่มหนึ่งได้โพสต์ข้อความเป็นหนังสือถึงคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ให้พิจารณาเลือกนายอลงกรณ์ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.เป็นรมช.มหาดไทยโดยอ้างเหตุผลว่า
 

'อลงกรณ์' พอใจ 62 จว.คืบหน้าพัฒนาเกษตรฯยั่งยืน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.ทั้งในเมือง - ชนบท

'อลงกรณ์' พอใจ 62 จังหวัดเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองคืบหน้ากว่า 500 โครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ควบคู่กับการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในชนบท 7,255 ตำบลทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ (20 ต.ค. 65) ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting โดยมี นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ พร้อมทั้งหน่วยงานทั้งภาคราชการ ภาคสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมี นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นเลขานุการการประชุม

โดยที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัด ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการ โดย ณ วันที่ 25 ก.ย. 2565 มีจำนวน 591 แห่ง ใน 62 จังหวัดประกอบด้วย (1) พื้นที่วัด จำนวน ๑๙ แห่ง (2) พื้นที่โรงเรียน สถานศึกษาและมหาวิทยาลัย จำนวน 372 แห่ง (3) พื้นที่โรงพยาบาล จำนวน 13 แห่ง (4) พื้นที่ชุมชน จำนวน 90 แห่ง และ (5) พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ของหน่วยงานราชการและพื้นที่เอกชน จำนวน 97 แห่ง

นายอลงกรณ์ได้แสดงความพอใจต่อความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองระดับจังหวัดโดยยกตัวอย่างรายงานการดำเนินงานของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนโครงการต่อที่ประชุมดังนี้ 1.โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) มีแปลงปฏิบัติการวิจัยพืชสวน พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ และสิ่งแวดล้อม รวม 74 ไร่ และฐานการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเป็น “แหล่งเรียนรู้ สร้างรายได้เสริม พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน” 

2. โครงการโรงเรียนสีเขียว (Green School) “เก่ง ดี มีทักษะ (ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต) มีสุขภาพดี” โดยฝึกการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตรกรรมสำหรับการปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ น้ำนิ่ง หรือการปลูกพืชแบบไร้ดิน เป็นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช การเลี้ยงปลาดุก และกบในวงบ่อ รวมถึงการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งผลผลิตที่ได้ทั้งในส่วนของพืชผัก ปลาดุก กบและไข่ไก่นำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และนำส่วนที่เหลือจำหน่าย เป็นการสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและเป็นการสร้างนิสัยในการออมทรัพย์โดยฝากไว้กับธนาคารของโรงเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างทักษะอาชีพแก่นักเรียนที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งและเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนที่สนใจได้มาเรียนรู้

“เฉลิมชัย”มอบนโยบายกรมปศุสัตว์แก้ไขปัญหาลิงแสมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคลิงสู่คน

”อลงกรณ์”เดินหน้าทันทีนำกรมปศุสัตว์ประชุมจังหวัดเพชรบุรี  1 พฤศจิกายนนี้แก้ปัญหาลิงแสมพระนครคีรีพร้อมฟื้นฟูการท่องเที่ยวการค้าธุรกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนภายใต้เพชรบุรีโมเดล
  
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบนโยบายให้กรมปศุสัตว์แก้ไขปัญหาประชากรลิงแสมเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในชุมชนเมืองของหลายจังหวัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงและโรคอื่นๆที่ลิงเป็นพาหะสู่คนซึ่งกรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการและแผนงานตามข้อสั่งการเสร็จแล้วโดยจะเริ่มดำเนินการในพื้นที่พระนครคีรีเป็นโครงการนำร่องโดยตนจะนำทีมกรมปศุสัตว์ประชุมกับจังหวัดเพชรบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและทุกภาคีภาคส่วนในช่วงเช้าวันที่ 1 พ.ย.นี้ก่อนนำคณะลงพื้นที่เขาวังจากนั้นช่วงบ่ายจะไปประชุมและสำรวจพื้นที่สำหรับจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาลิงแสมที่อำเภอแก่งกระจาน จะเน้นแนวทางสวัสดิภาพคนและสวัสดิภาพสัตว์(Animal welfare)ตามมาตรฐานสากลในการดำเนินการ

   นายอลงกรณ์กล่าวต่อไปว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่28ตุลาคมที่ผ่านมาได้นำทีมเพชรบุรีโมเดลลงพื้นที่สำรวจปัญหาลิงแสมที่พระนครคีรีและสอบถามปัญหากับผู้ประกอบการร้านค้าและชุมชนรอบบริเวณเขาวังรวมทั้งเจ้าอาวาสวัดมหาสมณารามราชวรวิหาร (วัดเขาวัง)พบว่าลิงแสมอาศัยอยู่ได้เพิ่มจํานวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วคาดว่า จะมีไม่น้อยกว่า 2,000ตัว ถึง3,000 ตัวลงมาหาอาหารยังพื้นที่ด้านล่างและสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการรอบบริเวณพระนครคีรี (เขาวัง) รวมทั้งนักทองเที่ยวส่งผลกระทบต่อการค้าการท่องเที่ยวจนซบเซานานนับสิบปีแม้จะมีความพยายามดำเนินการทำหมันลิงแต่ไม่บรรลุเป้าหมายตรงข้ามกลับมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
     ประการสำคัญคือ ลิงแสมเป็นพาหะของโรคฝีดาษลิง โรคบาดทะยัก โรควัณโรค เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคพิษ สุนัขบ้าพ.ศ.๒๕๓๕และพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์พ.ศ.๒๕๕๘ หากประชาชน พ่อค้าแม่ค้าและนักท่องเที่ยวทั้งเด็ก และผู้ใหญถู่ก
ลิงแสมกัดทําร้ายก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่เสียชีวิตได้

กระทรวงเกษตรฯ ผนึกจังหวัดเพชรบุรีเดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมพระนครคีรีเป็นตัวอย่างต้นแบบ

'อลงกรณ์' นำทีมกรมปศุสัตว์สำรวจเขาวังและเกาะลิงแก่งกระจานพร้อมดึงมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าร่วมทีม หวังฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเพชรบุรีโดยเร็ว

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งวันนี้ว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานการประชุมและลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม 'โครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี' โดยประชุมหารือร่วมกับ นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระวุฒิ สุวัฒน์เชาว์ ที่ปรึกษากรมปศุสัตว์ด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ นายสมเกียรติ พันธ์ศรี ผู้อำนวยการกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตว์แพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ นางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายกรรัตน์ คุ้มกระ ปศุสัตว์จังหวัด Mr.Edwin Wiek ประธานมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ผู้แทนกรมปศุสัตว์แจ้งต่อที่ประชุมว่าดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายให้กรมปศุสัตว์เร่งแก้ไขปัญหาประชากรลิงแสมที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในชุมชนเมืองของหลายจังหวัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงและโรคอื่น ๆ ที่ลิงเป็นพาหะสู่คน โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรีซึ่งจะเป็นโครงการนำร่องภายใต้เพชรบุรีโมเดล จึงได้จัดทำโครงการทั้งแผนงานและงบประมาณเสร็จแล้วและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาลิงแสมบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรีโดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นรองประธาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบุรี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนครคีรีหน่วยงานภายใต้กรมปศุสัตว์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หน่วยราชการในจังหวัดเพชรบุรีองค์กรภาคประชาชนและองค์กรภาคประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการ โดยมีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ บูรณาการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายโดยเร็วที่สุด

นายอลงกรณ์ได้กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในโครงการนี้ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดโรคต่างๆที่ลิงเป็นพาหะสู่คน ยังช่วยฟื้นฟูธุรกิจการค้าและพระนครคีรีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเพชรบุรีที่ซบเซามาหลายปีรวมทั้งทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนดีขึ้นมีรายได้และอาชีพเพิ่มขึ้น

จากนั้น ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ ได้นำคณะลงพื้นที่สำรวจลิงแสมที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เขาวังและร้านค้าตลอดจนบ้านเรือนชุมชนและวัดจากนั้นเดินทางไปขึ้นเรือกรมประมงสำรวจเกาะลิงซึ่งอยู่ในเขื่อนแก่งกระจาน เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ของลิงแสมโดยมีรองนายกอบต.แก่งกระจานร่วมสำรวจพื้นที่เกาะต่างๆที่มีความเหมาะสมสำหรับการจัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ลิงแสมเพื่อการเรียนรู้กรณีมีความจำเป็นต้องย้ายลิงแสมจากเขาวังออกจากพื้นที่เดิม นอกจากนี้นายอลงกรณ์และคณะได้เยี่ยมชมศูนย์ช่วยเหลือและอนุรักษ์สัตว์ป่าของมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า (Wildlife Friends Foundation)ที่อำเภอท่ายางและหารือถึงความร่วมมือในการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ ประสบการณ์การย้ายลิงออกจากพื้นที่ เทคนิคการทำหมันลิง ซึ่งในพื้นที่กว่า500ไร่ของมูลนิธิมีโรงพยาบาลสัตว์ พื้นที่พักฟื้นและพักพิงสัตว์ต่างๆกว่า800ตัวรวมทั้งลิงกว่า 300 ตัว โดยมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเกือบ100 คนที่มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะให้การสนับสนุนโครงการ

'อลงกรณ์' ดึง อตก.ผนึก กทม. และ การเคหะ เร่งเปิดตลาดเกษตรกร(Farmer Market) 50 เขตและตลาดน้ำคลองบางซื่อ

ภายใต้โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Agriculture) เน้นเกษตรปลอดภัยอาหารปลอดภัย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมฯ ครั้งที่ 5/2565 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting วันนี้ว่าที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 

1. ความคืบหน้าโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้นและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน กทม. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน ภาคประชาชน ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ กทม. แล้ว 177,246 ต้น โดยมีเป้าหมายปลูกให้ครบ 1 ล้านต้น ภายใน 4 ปี ในพื้นที่ทั้ง 50 เขต รวมทั้งพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตสวนสาธารณะของ กทม.ด้วย ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพื้นที่กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการกรรมการโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank)รวมทั้งมอบหมายให้คณะทำงานอื่นๆเช่นคณะทำงานโรงเรียน-วิทยาลัยสีเขียว(Green  School-Green College) คณะทำงานมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) เป็นต้นร่วมสนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้ในกรุงเทพมหานครและอาจเพิ่มโครงการเป็น2ล้านต้นตามข้อเสนอของผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2. การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการปลูกผักสวนครัวเกษตรพอเพียงในสวนสาธารณะนำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ 1) สวนจตุจักร เขตจตุจักร มีการทำศูนย์เรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร และเลี้ยงไก่ 2) สวนเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (ฝั่งพระนคร) เขตบางคอแหลม มีการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก และให้ความรู้ แก่ผู้ที่สนใจ 3) สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง ศูนย์เรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว 4) สวนสราญรมย์ เขตพระนคร เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้และศึกษาดูงานแก่ประชาชนและผู้ที่สนใจ 5) สวนสันติภาพ เขตราชเทวี เป็นแหล่งเรียนรู้และเปิดรับแลกขยะรีไซเคิล

3. ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการตลาดเกษตรกรหรือฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต (Farmer Market )ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีการขยายตลาดในรูปแบบตลาดเกษตรกรให้ครอบคลุม 50 เขต ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอผู้ว่าราชการฯ ซึ่งมอบหมายสำนักงานสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขต 50 เขต ให้พิจารณาสถานที่ที่เหมาะสม และโครงการปลูกพืชผักเกษตรปลอดสารพิษ 200 แปลง อีกทั้ง กิจกรรม Bangkok Green Market ตลาดสุขใจ “Green Clean Craft” มียอดจำหน่ายในช่วงเดือนตุลาคม – 20 พฤศจิกายน รวม 250,961 บาท ร้านค้าผู้ประกอบการ 185 ร้าน และผู้ใช้บริการฝึกอาชีพจำนวน 1,560 คน

4. ผู้แทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ประชาสัมพันธ์และเชิญร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งมีการจัดแสดงสินค้าผลผลิตเกษตร และมอบกระเช้าของขวัญแก่ผู้บริหาร และผู้ร่วมงาน ซี่งเป็นผลผลิตจากการดำเนินโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
5. ผู้ช่วยผู้ว่าการเคหะแห่งชาติแจ้งว่าการเคหะพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งตลาดเกษตรกรในโครงการการเคหะดินแดงซึ่งมีผู้อยู่อาศัย6,000ยูนิต
รวมทั้งโครงการอื่นๆ

ทั้งนี้ประธานฯ แจ้งว่าจะประสานกับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)และคณะอนุกรรมการธุรกิจเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ.ให้มาสนับสนุนโครงการตลาดเกษตรกรหรือฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต(Farmer Market) 50 เขตในกรุงเทพมหานครรวมทั้งการร่วมพัฒนาโครงการตลาดน้ำของอตก.ในคลองบางซื่อเป็นตลาดเกษตรกรประเภทตลาดน้ำซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ.โดยให้ฝ่ายเลขาประสานงานการลงพื้นที่พร้อมกับผู้ว่ากทม.และผู้ว่าการเคหะฯ.สำรวจพื้นที่ตลาดน้ำอตก.และโครงการเคหะดินแดง

“อลงกรณ์” คิกออฟโครงการ ”ฮับปลาสวยงาม”ส่งเสริมอาชีพใหม่

“อลงกรณ์”คิกออฟโครงการ”ฮับปลาสวยงาม”ส่งเสริมอาชีพใหม่ ตั้งเป้าพัฒนาเพชรบุรีเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาและแหล่งผลิตจำหน่ายปลาสวยงามปัอนตลาดในและต่างประเทศเจาะตลาดหมื่นล้านสร้างอาชีพและรายได้ใหม่ให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทยเปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามโดยว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นการคิกออฟโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาสวยงาม วันนี้เรื่องปากท้องเรื่องอาชีพเรื่องการสร้างรายได้สำคัญที่สุด โดยตั้งเป้าให้เพชรบุรีเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาและแหล่งผลิตจำหน่ายปลาสวยงามปัอนตลาดในและต่างประเทศสร้างอาชีพและรายได้ใหม่ให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชนผ่านช่องทางตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยคาดหมายว่าจะเป็นการเริ่มต้นอาชีพทางเลือกใหม่และจะส่งเสริมให้มีธุรกิจปลาสวยงามและสตาร์ทอัพปลาสวยงามเกิดขึ้นในปีนี้

เพชรบุรีมีศักยภาพสูงมากสามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดน้ำทะเลเช่น ปลาเวียน ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลาการ์ตูน เป็นต้นซึ่งเป็นปลาสวยงามที่ตลาดต้องกาาโดยเพชรบุรีมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลียง สัตว์น้าชายฝั่งเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาต่อยอดให้เพชรบุรีเป็นศูนย์กลางของปลาสวยงาม

ทั้งนี้จากข้อมูลผู้เพาะเลี้ยงมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน ทบ. 1 (สัตว์น้ำสวยงาม) กับกรมประมง ในปี 2562 จํานวน 1,625 ราย , ปี 2563 มีจํานวน 1,919 ราย และ ปี 2564 มีจํานวน 2,442 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามอยู่ในจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, กรุงเทพฯ และปริมณฑล, นครสวรรค์ และ สุพรรณบุรี ในปี 2564 เกษตรกรขึ้นทะเบียนฯ รับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ สวยงาม (GAP) จำนวน 350 ฟาร์ม, สอ.3 จํานวน 189 ราย และสอ.4 จํานวน 83 ราย
โดยแหล่งผลิตและตลาดปลาสวยงามที่มากที่สุด ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีชื่อว่า ”Fish Village” เป็นตลาดกลางปลาสวยงาม และสัตว์เลี้ยง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 
และมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำสวยงามที่ปรากฎในข้อมูลของกรมประมง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 700–1,000 ล้านบาทต่อปี แต่มูลค่าซื้อขายกันจริงๆ สูงกว่าที่ปรากฏ 5 - 10 เท่า
และประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามจากประเทศไทยอันดับต้นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ อิหร่าน ญี่ปุ่น รัสเซีย โปแลนด์ ไต้หวัน เยอรมนี ฯลฯ โดยเฉพาะจีนเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อ และอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่นำเข้าสัตว์น้ำสวยงามจากประเทศไทยมากที่สุดต่อเนื่องอย่างยาวนาน
โดยชนิดปลาสวยงามที่ส่งออกมากที่สุด คือ ปลากัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เมื่อ 5 ก.พ. 2562 และรองจากปลากัดลงมา ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลาลูกผึ้ง และปลาหมอสี เป็นต้น

วอนสังคมให้อภัย ‘อลงกรณ์’ ขอโทษสังคม ปม ‘ส.ส.ชัยชนะ’ ปราศรัยพลาดพลั้ง เชื่อ ‘ปชป.’ ได้บทเรียน พร้อมปรับรูปแบบการหาเสียงให้ดีขึ้น

(6 มี.ค. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนวันนี้ กรณีที่นายชัยชนะ เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวปราศรัยหาเสียงทางการเมืองในทำนองดูแคลนผู้สมัครจากพรรคการเมืองคู่แข่ง ว่าสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ไม่ได้จบการศึกษาจากต่างประเทศ จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียน ถึงความไม่เหมาะสมในคำพูดและทัศนคติอย่างกว้างขวางว่า เข้าใจดีถึงปฏิกิริยาไม่เห็นด้วยและการตำหนิติเตียนต่อคำปราศรัยดังกล่าวซึ่งสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ก็มีความรู้สึกไม่แตกต่างกันและเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นบทเรียนราคาแพงทั้งของ ส.ส.ชัยชนะและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งต้องขอโทษและขออภัยมา ณ โอกาสนี้

“ความผิดพลาดในการปราศรัยบนเวทีการเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกคน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว รู้สำนึกหรือไม่ และจะแก้ไขอย่างไร สำหรับ ส.ส.ชัยชนะ รู้ถึงความผิดพลาดโดยสำนึกผิด แถลงขอโทษต่อสังคม และขอขมาต่อมหาวิทยาลัยทักษิณทันที ซึ่งแสดงถึงความรู้ผิดชอบชั่วดี ผิดพลาดแล้วแก้ไข

“อลงกรณ์”ปลื้มเกษตรกรขานรับนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งเป้าเป็นพรรคขวัญใจเกษตรกรผู้นำแห่งการปฏิรูปภาคเกษตร

แย้มเตรียมคลอดนโยบายชุดต่อไปยกระดับเมืองเกษตรเป็นเมืองอาหารพลิกโฉมหน้าภาคเกษตรครั้งใหญ่นำไทยสู่มหาอำนาจทางอาหารของโลก

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคและที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.เขียนในเฟสบุ๊คและไลน์วันนี้ว่าหลังจากพรรคประชาธิปัตย์ประกาศ 16 นโยบาย 2ชุดแรก ภายใต้ยุทธศาสตร์ สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติปรากฎว่ามีเสียงสะท้อนผ่านช่องทางเฟสบุ้ค-ไลน์และเวที”ฟัง-คิด-ทำ”ตอบรับจากผู้นำเกษตรกร ผู้นำชาวนากลุ่มต่างๆ  เช่น ศูนย์ข้าวชุมชน เกษตรแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่(Young Smart Farmer) กลุ่มแม่บ้านเกษตรสหกรณ์ สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน อาสาสมัครเกษตร(อกม.)ภาคเอกชนภาควิชาการ โดยแสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพการบริหารแบบทำได้ไวทำได้จริงของพรรคตลอด4ปีที่ผ่านมา


โดยเฉพาะนโยบายประกันรายได้เกษตรกร นโยบายเทคโนโลยีเกษตรอินเตอร์เน็ตฟรี1ล้านจุดทุกหมู่บ้าน นโยบายธนาคารหมู่บ้านธนาคารชุมชน2ล้าน นโยบายยกระดับเกษตรแปลงใหญ่3ล้านบาท นโยบายชาวนารับ30,000บาทต่อครัวเรือน นโยบายปลดล็อคพรก.ประมง นโยบายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น1แสนบาท นโยบายค่าตอบแทนอกม.1พันบาท


นโยบายนมโรงเรียน365วัน เป็นต้นโดยมองว่าเป็นนโยบายที่สามารถเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิตแก้หนี้แก้จนได้ในระดับฐานรากของประเทศซึ่งครอบคลุมครอบครัวเกษตรกรกว่า 20 ล้านคนภายใต้ยุทธศาสตร์สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมเชิงโครงสร้างและระบบแบบครบวงจรอย่างยั่งยืนซึ่งภาคเกษตรเป็นหนึ่งในศักยภาพสำคัญที่สุดของประเทศไทยที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุด้วยว่า ยังมีนโยบายชุดต่อไปที่จะเป็นคานงัดการปฏิรูปภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงเพื่อยกระดับประเทศไทยจากเมืองเกษตรเป็นเมืองอาหาร ด้วย


“เราตั้งเป้าให้ประชาธิปัตย์เป็นพรรคขวัญใจเกษตรกรเป็นพรรคผู้นำการปฏิรูปภาคเกษตรจึงประกาศนโยบาย2ชุดแรกมุ่งเน้นการสนับสนุนส่งเสริมภาคเกษตรกรรมและเกษตรกรเป็นสำคัญครอบคลุมทั้งสาขาพืช ประมงและปศุสัตว์


เป็นการสานต่อผลงานการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของไทยตลอด4ปีที่พรรคประชาธิปัตย์บริหารกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์โดยการนำของหัวหน้าพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคและรัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์


เช่นการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC: Agritech and Innovation Center) 77 จังหวัด การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agriculture Big Data Center) การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร การพัฒนาเกษตรแปลงย่อยเป็นเกษตรแปลงใหญ่ การส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง การส่วเสริมเกษตรอินทรีย์ การจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น การพัฒนาปศุสัตว์ครบวงจร การพัฒนาผลไม้จนส่งออกทุเรียนผลสดทะลุแสนล้านบาทเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์และการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารกว่า1.2ล้านล้านบาทต่อปีจนเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอันดับ13ของโลกแม้เผขิญกับผลกระทบและอุปสรรคจากวิกฤติโควิดและสงครามรัสเซีย-ยูเครนโดยใช้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร4.0และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง เป็นต้น

“อลงกรณ์”เผยบอร์ดเกลือมีมติกำหนดราคาขั้นต่ำเกลือทะเลเป็นครั้งแรก เร่งพัฒนานาเกลือด้วยแนวทางBCGโมเดลเน้น”เพิ่มมูลค่า-คุ้มค่า-ยั่งยืน”

วันนี้ (15 มี.ค. 2566) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ได้ประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/ 2566 แบบ Hybrid Meeting ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบการประชุมออนไลน์ zoom cloud meeting 
นายอลงกรณ์ ได้กล่าวหลังการประชุมว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคาเกลือผันผวนมีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวนาเกลือ คณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ


1. การกำหนดราคาขั้นต่ำเกลือทะเลใน 3 ชนิดเกลือ ดังนี้ (1) ราคาเกลือขาว 1,800 บาท (2) เกลือกลาง 1,500 (3) เกลือดำ 1,300 บาท และขอให้ออกเป็นประกาศของคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย โดยเป็นราคาขั้นต่ำที่กำหนดเป็นเกณฑ์ในการซื้อขายเกลือทะเล


2. คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในหลักการ มาตรการการจัดการและป้องกันแก้ไขปัญหาเกลือทะเล ปีการผลิต 2565/66 เพื่อรองรับสภาพปัญหาการผลิตเกลือทะเลไทย


3.คณะกรรมการ ฯ ยังได้รับทราบแนวทางการพัฒนาเกลือทะเลไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีแนวทาง มาตรการ และกลไกการดําเนินงานรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี 2564 – 2570 เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นการพัฒนาห่วงโซ่การเพิ่มมูลค่าเกลือทะเลไทย (BCG Value Chain เกลือทะเลไทย) คำนึงถึงการสร้างมูลค่า การหมุนเวียนใช่ทรัพยากรและความสมดุลและยั่งยืน โดยกำหนดกิจกรรมในทุกกระบวนการ ตั้งแต่ตอนน้ำ จนถึงปลายน้ำได้แก่

ต้นน้ำ (เกษตรกร) โดยพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตเกลือทะเลให้เป็น smart farmer กระบวนการผลิตเกลือทะเลได้รับมาตรฐาน GAP รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการผลิตดอกเกลือและดีเกลือ ใช้พลาสติกปูพื้นนาเกลือเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำประมงน้ำกร่อย เชื่อมโยง กลางน้ำ (องค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ) พัฒนาในส่วนของผู้ประกอบการและองค์กรเกษตร ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นองค์กรเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วยแนวทางดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเกลือทะเลไทยตามรูปแบบโมเดลเศรษฐกิจ ใน 3 ด้าน ได้แก่

(1) ด้านการเพิ่มมูลค่า ภายใต้เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (value creation) ของเกลือทะเล โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

(2) ด้านความคุ้มค่า ภายใต้เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่เกิดของเหลือใช้จากกิจกรรมการทำนาเกลือ

(3) ด้านความสมดุลความยั่งยืน ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ทรัพยากรธรรมชาติ ลดมลพิษ เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวของกับเกลือทะเล


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top