Friday, 10 May 2024
หยก

‘เนติวิทย์’ ขอพรเสด็จพ่อ ร.5 คุ้มครอง ‘หยก-กลุ่มนักเรียนเลว’ ให้ปฏิรูปการศึกษาไทยสำเร็จ พร้อมขอพระองค์ดลใจน้องๆ เรียนต่อจุฬา

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 66 นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า…

“วันนี้เวลา 18 นาฬิกา 15 นาที ผมได้เดินทางไปสักการะพระบรมรูปเสด็จพ่อ ร.5 ที่ลานพระบรมสองรัชกาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผมคุ้นเคยเป็นอย่างดี (โดยยืน มิได้หมอบกราบแต่อย่างใด เพราะจะขัดพระบรมราชโองการของพระองค์)

ในการนี้ผมได้ขอพรเสด็จพ่อ ขอให้พระบารมีคุ้มครองรักษาน้องหยกและนักเรียนเลวคนอื่นๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยให้ประสบความสำเร็จ

ขอให้พระองค์ดลใจน้องๆ เหล่านี้ให้มาศึกษาต่อที่จุฬาฯ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ในการทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่รับฟังเสียงของนิสิตนักศึกษาและชุมชน ไม่ให้มีใครต้องถูกไล่ที่อีก รวมถึงรับใช้สังคมและประชาชนอย่างที่ควรจะเป็นซึ่งผู้บริหารจุฬาฯ ไม่เคยทำได้ ไม่เคยเป็นแบบอย่างได้ และคงไม่สนใจจะทำด้วย”

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวถึงแนวทางการดูแล ‘หยก ธนลภย์’ เพื่อป้องกันความขัดแย้งบานปลายในสังคม โดยกล่าวว่า…

“สิ่งที่ต้องเร่งทำ คือการหาตัวผู้ปกครองที่เหมาะสมกับเด็ก ตามกลไลทางกฎหมาย เพื่อคุ้มครองเด็ก ตามสิทธิเด็กที่พึงมี โดยไม่อาจปล่อยให้เด็กเป็นเหยื่อ ขณะเดียวกันเห็นว่าบรรดาพรรคการเมือง ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับเด็ก และควรหยุดนำเด็กมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แบบรายบุคคล แต่ควรกลับไปคิดเชิงระบบของการแก้ไขปัญหาเด็ก ว่าควรจะทำอย่างไรให้เยาวชนเป็นพลเมืองที่ดีมีภูมิคุ้มกันทางสังคม

ทั้งนี้ จะเห็นว่า คำว่า ‘ชุดนักเรียน’ หรือการแต่งกาย ไม่ได้เป็นข้อจำกัดทางการศึกษาอยู่แล้ว บริบทของปัญหามีความหลากหลายไม่มีถูกผิด เช่น ในตามพื้นที่ห่างไกล ยากไร้ การใส่ชุดนักเรียน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย และในโรงเรียนที่ร่ำรวย และเด็กส่วนใหญ่มีเศษสถานะที่ดี การสวมชุดนักเรียน ช่วยให้เด็กอยู่ระเบียบ และลดความเหลื่อมล้ำในแต่ละครอบครัว”

‘ดร.อานนท์’ รวบรวมเสียงสะท้อน จากนักเรียนเตรียมพัฒน์ ถึงพฤติกรรมของ ‘หยก’

วันที่ 23 มิ.ย.2566 - ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีน้องหยก ธนลภย์ อายุ 15 ปีว่า ผมให้น้องศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการลงไปถามน้องนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นอื่น ทั้งที่เรียนห้องเดียวกันกับหยกและต่างห้อง น้องๆ ได้แสดงความคิดเห็นมาดังนี้ ลองฟังเสียงจากน้องๆ เตรียมพัฒน์กันนะครับ ผมว่าน่าสนใจมากครับ
ความเห็นน้องๆในโรงเรียน

-เอือมระอากับพฤติกรรมของน้อง และกลุ่มที่อยู่หน้าโรงเรียน
-เพื่อนๆในห้องไม่คุยกับหยก
-บรรยากาศการเรียนการสอน อาจารย์จะตักเตือน ตำหนิ เพราะน้องทำผิดกฎโรงเรียน มันทำให้นักเรียนคนอื่นเสียเวลาเรียน
เพื่อนในห้องจะรู้สึกว่าทำไมต้องมาเสียเวลากับคนแบบนี้
-เพื่อนๆในห้องแยกโต๊ะหยกออกไปนั่งแยกคนเดียว
-มีคนเตือนหยกแต่หยกไม่ฟัง
-ทำให้เดือดร้อนกับคนที่เดินเข้ามาในโรงเรียน นักเรียนบางคนรู้สึกกลัว หวาดระแวงกับบุคคลที่อยู่หน้าโรงเรียน
-นักเรียนหลายคนรู้สึกไม่โอเคกับการที่มีนักข่าวมารอหน้าโรงเรียนเต็มไปหมด
-พ่อแม่หลายคนเป็นห่วงลูกระหว่างการเดินเข้า-ออกภายในโรงเรียน
-อยากให้โรงเรียนtake action
-รู้สึกไม่พอใจที่มาเหยียดหยามยาม ครู และบุคลากรในโรงเรียน
-เรามีสิทธิที่เราจะแสดงออก มีความคิดที่แปลกใหม่ในปัจจุบัน เรามีสิทธิที่จะผลักดันทุกเรื่องให้เกิดขึ้นได้แต่ ในการผลักดันนั้น มันจะต้องมองทุกๆคนในสังคมการที่คนรุ่นใหม่บางคนมองว่าคนรุ่นเก่ามีความคิดที่โบราณ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เขาลืมคิดไปคือแล้วคนโบราณเหล่านั้นไม่ใช่คนที่อยู่ในประเทศไทยหรอ? ไม่ใช่คนที่มีสิทธิเหมือนกับพวกคุณหรอ เด็กรุ่นใหม่บางคนยังไม่ตรรหนักพอที่จะปรับเปลี่ยนได้ คนรุ่นใหม่ยังคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างนึงเราควรจะมองทุกคนในสังคมว่าเขาเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเขาก็ยังมีชีวืตอยู่ มีสิทธิมีเสียงเหมือนกัน
-การยกเลิกเครื่องแต่งกาย ยกเลิกทรงผม ความคิดส่วนตัวผม ผมเห็นด้วยนะ แต่มันจะต้องมาในกระบวนการที่ถูกต้อง ถูกจุดของมัน นี่มันถึงจะทำให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้ รู้สึกว่าน้องหยกทำแบบนี้มันกลายเป็นว่าจากเดิมมันเหมือนจะดี กลายเป็นส่งผลเสียให้กับโรงเรียน จนมันลามไปเรื่อยๆ ไม่สามารถหยุดคนพวกนี้ได้แล้ว ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะช่วยหยุดเหตุการณ์พวกนี้ได้อย่างไร ฝากความหวังไว้กับโรงเรียน
-ตัวแทนนักเรียนบอกจะมีกิจกรรมคอนเสิร์ตในโรงเรียน ตั้งใจประสานงานกับทางโรงเรียนและผู้จัด เพื่อให้กระทบตารางเรียนน้อยที่สุด เตรียมจัดคอนเสริ์ตมานาน แต่ไมได้จัดเพราะมีเหตุการณ์แบบนี้ กลัวว่าในอนาคตงานปัจฉิมนิเทศ หรืองานกิจกรรมต่างๆถ้าเกิดจะเชิญศิลปินมา หรือขอสปอนเซอร์จากบริษัทต่างๆ เขาจะมาร่วมกับเราไหม ในเมื่อโรงเรียนเกิดข่าวเสียหายแบบนี้ จากกลุ่มคนพวกนี้

‘ดร. หิมาลัย’ ชี้ ‘หยก’ ยังมีทางเลือก หากไม่อยากใส่เครื่องแบบ แนะให้เรียน กศน.- Home School

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 66 ดร. หิมาลัย ผิวพรรณ ผู้ประสานงานพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้เล่าถึงประเด็น เสรีภาพทางการศึกษา ผ่านรายการ ‘คุยกับ ดร. หิมาลัย’ โดยระบุว่า…

เรื่องของเสรีภาพในสถานศึกษา ซึ่งนำเอาน้องหยกมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งเราก็จะรู้จักเขาในมุมของนักต่อสู้ ที่แสดงออกตามความเชื่อความคิดของตัวเอง ที่โดดเด่นที่สุดก็คือการต่อสู้ในการเรียกร้องเพื่อการต่อต้านมาตรา 112 น้องหยกมีการต่อสู้ที่ชัดเจนและรุนแรง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างรวดเร็ว

สำหรับเรื่องสิทธิเสรีภาพในโรงเรียน ซึ่งน้องหยกย้อมผมไปเรียนแต่งตัวไปรเวทตามสบายไปเรียน และเลือกเข้าเรียนเฉพาะวิชาที่ตัวเองชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ ที่น้องหยกกำลังเรียกร้องนั้นมันมีความถูกต้องหรือว่ามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน ในปี 2559 นั้นเคยมีงานวิจัย ซึ่งทำการวิจัยในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีการทำวิจัยว่าการแต่งเครื่องแบบนักเรียนนั้นมีผลต่อการเรียนอย่างไร ซึ่งก็ได้ผลออกมาว่าการแต่งเครื่องแบบนักเรียนนั้นจะเพิ่ม การเข้าเรียนของนักเรียนในระดับชั้นมัธยม ในขณะเดียวกันนั้นก็เพิ่มการอยู่ในห้องเรียนของครูในระดับประถม นักเรียนเมื่อใส่เครื่องแบบนักเรียนแล้วจะมีการเข้าเรียนที่ตรงเวลามากขึ้น การตั้งใจเรียนก็มีมากขึ้นและการส่งเสียงรบกวนในห้องเรียนนั้นก็มีน้อยลง เครื่องแบบนักเรียนนั้น เป็นแบรนด์เนมที่ราคาถูกที่สุดในโลก การใส่เครื่องแบบ นักเรียนนั้นจะได้รับความเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้าง เมื่อใส่เครื่องแบบนักเรียนแล้วสังคมรอบข้างจะช่วยกันดูแล สังเกตได้ว่าเมื่อใส่เครื่องแบบนักเรียนแล้วและมีปัญหา ก็จะมีผู้ใหญ่เข้ามาถามว่ามีปัญหาอะไรมีอะไรให้ช่วยหรือไม่

ถ้าเราไม่อยากใส่เครื่องแบบนักเรียนนั้นเราก็ยังมีทางเลือกเช่นการเรียน กศน. การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเราไม่ต้องแต่งเครื่องแบบเลย ก็แค่แต่งชุดให้สุภาพในการเข้าห้องสอบ หรือเลือกเรียนในระบบ Home School ทางเลือกเหล่านี้น้องหยกก็สามารถเลือกที่จะเรียนได้

เรื่องของหยกนั้น ยังมีกรณีเรื่องของผู้ปกครองอีกด้วย ซึ่งถ้าบุคคลที่อ้างตัวเป็นผู้ปกครองของน้องหยกนั้นไม่ใช่ผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายการมอบตัวของน้องหยกก็ย่อมจะ ไม่ถูกต้องตามไปด้วย

‘ปิยบุตร’ ชื่นมื่น ฉลองครบรอบแต่งงาน 7 ปีกับภรรยาชาวฝรั่งเศส ชาวเน็ตอวยแซะ!! ขอให้รักสดใส มีลูกชายหญิงเหมือน ‘เพนกวิน-รุ้ง’

(6 ส.ค. 66) นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า อดีตผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัวชื่อ ‘Piyabutr Saengkanokkul’ พร้อมแนบรูปที่ถ่ายคู่กับภรรยาชาวฝรั่งเศส ระบุข้อความว่า…

“ครบรอบ 7 ปีแต่งงาน 🧡🧡🧡🧡🧡🧡🧡”

ภายหลังจากทวีตข้อความไปแล้ว ก็มีผู้ติดตามเข้ามาแสดงความคิดเห็นและอวยพรมากมาย เช่น 

- น่ารักค่อดๆ อะค้าบ
- Happy Anniversary! ครับ
- มีความสุขตลอดไปนะคะอาจารย์
- อาจารย์ป๊อกมีความสุขมากๆ ค่า🧡🙏🏻🎉 happy anniversary 🍾

นอกจากนี้ ก็ยังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันเข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยเช่นกัน เช่น

- ขอให้ได้ไปอยู่ฝรั่งเศสเมืองในฝันโดยเร็วครับ
- ขอให้มีลูกที่น่ารักเหมือนน้องหยกนะบองป๊อก ✨✨✨✨✨🥰
- มีลูกให้เหมือนนังหยกเด็กนรก ที่ทุกวันนี้พวกคุณเข้าไปล้างสมองจนกู่ไม่กลับ ขออวยพรให้ ดั่งที่เราให้พร
- ขออวยพร ใครที่ทำร้ายชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ ขอให้ได้รับแต่ความฉิบหาย 7 ชั่วโคตร...นะฉิบหาย โมตายโหง พุทเข้าโลง ธาดับสูญ ยะสลายกลายเป็นดิน...

- ขอให้ภรรยาคุณเหมือนคุณเจี๊ยบ อมรรัตน์ ขอให้ถ้ามีบุตรและธิดาขอให้มีนิสัยแบบแพนกวินกะหยก และสุดท้ายขอให้คุณปิยบุตรสมหวังได้ไปที่ชอบ ที่ชอบ สาธุ

- ขออวยพรให้คู่ของอาจารย์ ซื่อสัตย์ต่อกันเหมือนคุณเอกซื่อสัตย์ต่อภรรยา ขอให้ภรรยาของอาจารย์ใจกว้างต่อบริวารเหมือนคุณเจี๊ยบปฏิบัติต่อสารถี ขอให้มีบุตรชายหญิงที่มีพยาธิสภาพน่ารักเหมือนน้องกวิ้น-น้องรุ้งและมีกิริยาน่าเอ็นดูเหมือนน้องหยก มีวาจาคมคายเหมือนคุณไอซ์ค่ะ 🤗🤗🤗

‘จอม ไฟเย็น’ แฉ!! ‘บุ้ง ทะลุวัง’ ถามห่วงเด็กหรือหวังอะไรแน่? ให้ ‘หยก’ คัดทะเบียนบ้าน หวังสวมรอยผู้อุปการะ ทั้งที่คุณสมบัติไม่ถึง

(9 ส.ค. 66) จากกรณีที่ทวิตเตอร์ของ น.ส.เบญจมาภรณ์ นิวาส หรือ ‘พลอย’ อดีตแกนนำกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ‘กลุ่มทะลุวัง’ ออกมาวิจารณ์การเคลื่อนไหวของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ ‘บุ้ง ทะลุวัง’ อายุ 26 ปี แกนนำกลุ่มทะลุวัง ที่รับสมอ้างเป็นผู้ปกครอง เพื่อใช้ประโยชน์จากเยาวชนออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยความรุนแรง โดยมีเบื้องหลังเพื่อไปขอทุนเคลื่อนไหว แต่เงินทุนกลับส่งไม่ถึงเยาวชนเหล่านั้น

นายนิธิวัต วรรณศิริ หรือ ‘จอม ไฟเย็น’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักร้อง และนักดนตรีวงไฟเย็น ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ที่ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีสาระสำคัญ คือ ปัญหาความพยายามแย่งสิทธิ์การเป็นผู้ปกครองของ ‘หยก’ เยาวชนอายุ 15 ปี มีหลายคนตั้งคำถามว่า “แม่หยกหายไปไหน?” ยืนยันว่าแม่หยกไม่ได้หายไปไหน แค่ถูกคุกคามจากฝ่ายความมั่นคง กลุ่มปกป้องสถาบันฯ และสภาพจิตใจเปราะบางจากการถูกพรากลูกไปจากบ้าน จนต้องเก็บตัวไม่พร้อมออกสื่อหรือพื้นที่สาธารณะใดๆ

โดย ‘จอม ไฟเย็น’ กล่าวว่า แม่หยกเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ใช่ส… วงไฟเย็นรู้จักแม่หยกมาก่อนไม่ต่ำกว่า 2 ปี ทางบ้านหยกครอบครัวพอมีฐานะ ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่าห้องพัก มีเชื้อสายตระกูล ณ สงขลา ฐานะครอบครัวไม่เดือดร้อนสามารถส่งลูกเรียนเอกชนตั้งแต่อนุบาล-ประถม และสอบเข้ามัธยมได้ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ หยกเริ่มสนใจการเมืองจากการชุมนุมปี 2563 แม่หยกก็ไม่ได้ปิดกั้น เพียงแต่หากจะไปร่วมชุมนุม ขอให้มีคนที่แม่รู้จักหรือไว้ใจได้ไปรับ-ไปส่งด้วยเสมอ

หยกถูกคดีมาตรา 112 จากการเขียนชอล์คบนพื้นที่การชุมนุมเสาชิงช้าเมื่อ 13 ต.ค. 2565 จากคำปราศัยสุดท้ายของ นายวัฒน์ วรรลยางกูร ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวหยกเริ่มถูกตำรวจคุกคามหลังจากหยกเริ่มออกไปชุมนุมครั้งแรก ที่งานรำลึกอาลัย วัฒน์ วรรลยางกูร โดยฝ่ายความมั่นคงได้ไปคุกคามหยกถึงที่โรงเรียนและคุกคามครอบครัวที่บ้าน เคยกดดันกึ่งข่มขู่พ่อแม่ว่า ถ้ามีลูกแบบนี้ตนผูกคอตายไปนานแล้ว แม่หยกเป็นคนไล่ตำรวจที่มาส่งหมายเรียกคดี 112 ที่บ้าน ให้กลับไปในครั้งแรกเพราะตำรวจอ่านชื่อมั่ว และครอบครัวหยกยังถูกตำรวจนอกเครื่องแบบตามป้วนเปี้ยนคุกคามที่บ้านเป็นระยะ

วันที่ 28 มี.ค. หยกขออนุญาตแม่ไปเที่ยวสวนสยามกับเพื่อนๆ ตอนเช้า แม่อนุญาตเฝ้ารอลูกกลับบ้านในตอนเย็น แต่ไม่ได้กลับบ้านเพราะถูกตำรวจ สน.พระราชวังจับกุม จากการติดตามไปสังเกตการณ์เหตุพ่นสีกำแพงวังที่ถูกจับขึ้นรถตำรวจไป ตำรวจพยายามยัดคดีพ่นสีกำแพงวังให้หยกแต่ไม่สำเร็จ และอ้างหมายจับคดีแรก ที่ออกมา 1 เดือน ถูกจับกุมอย่างรุนแรงและมีการล่วงละเมิดทางร่างกายจากตำรวจชายชุดจับกุม 8 นาย ยึดอุปกรณ์สื่อสารและเอกสารประจำตัวทั้งหมดไป

แม่หยกทราบข่าวก็ตกใจอย่างมาก เพราะเดิมหยกมีนัดรายงานตัวตามหมายในอีก 12 วัน แม่ได้คุยโทรศัพท์กับหยกภายหลังเมื่อทนายความมาถึง หยกแจ้งแม่ว่าไม่ต้องห่วง ขอร้องไม่ต้องมาประกันตัว เพราะจะใช้แนวทางปฏิเสธอำนาจศาล ซึ่งเป็นโมเดลของนายประเวศ ประภานุกูล ทนายความ ที่ได้ศึกษามาอย่างละเอียด หยกจึงประกาศขณะตำรวจอ่านแถลงบันทึกจับกุมว่า ไม่ขอแต่งตั้งทนายความเข้าร่วมกระบวนการ และไม่ยื่นประกันตัวใดๆ หยกได้ขอร้องให้แม่เคารพการต่อสู้กับมาตรา 112 ด้วยตัวเอง ขอให้แม่ไม่ออกมาปรากฎตัวต่อหน้าสื่อใดๆ เพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายความมั่นคงคุกคามอีก แม่หยกก็ยังลังเลแต่เลือกที่จะเคารพและเชื่อมั่นในแนวทางการต่อสู้ แม้จะเจ็บปวดที่ไม่ได้ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเหมือนที่ทำมาตลอด 15 ปี

ส่วนเรื่องคดีความ แม่หยกเคยเซ็นมอบอำนาจผู้ปกครองชั่วคราวไว้เพียงครั้งเดียวให้กับ เก็ท โมกหลวงริมน้ำ (นายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง) เนื่องจากหยกเคยช่วยงานกลุ่มโมกหลวงมาก่อน แม่พอรู้จักเก็ทจากข่าวการเคลื่อนไหวกิจกรรมมาบ้าง และเก็ทอยู่เป็นเพื่อนหยกตลอดในช่วงวันแรกที่ถูกควบคุมตัว ตลอดช่วงเวลาที่น้องถูกควบคุมตัว แม่ติดตามข่าวสารหยกทุกวันในทุกช่องทาง เป็นธรรมดาของแม่ที่จะเป็นห่วงถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่สบาย ล้มป่วย กระทบกระเทือนสภาพจิตใจ ซึ่งในความเป็นจริง เพียงแม่หยกเซ็นประกันตัว หยกก็กลับบ้านได้ เพราะคดีเกิดตอนอายุ 14 ปี ไม่ผิดอาญาอยู่แล้ว และศาลไม่ค้านประกัน แต่แม่เคารพแนวทางการต่อสู้ของหยก จึงต้องหักห้ามใจไม่ให้เผลอไปเซ็นประกันตัว แล้วทำลายการต่อสู้

ตลอด 51 วันที่หยกถูกคุมขัง แม่หยกโทร.มาระบาย เล่าถึงความหลังมากมายความภาคภูมิใจในตัวลูกและเชิดชูในความกล้าหาญของลูก แม่หยกแค่อยากไปเยี่ยมก็ยังไม่กล้าและทำไม่ได้ เพราะรับปากไว้ว่าจะไม่ไปยุ่ง ไปปรากฎตัว หากจะไปเยี่ยมก็ไม่มั่นใจว่าจะทนเห็นสภาพลูกถูกขังได้ไหม เกรงว่าจะไม่สามารถห้ามใจไม่ให้ยื่นประกันได้ ซึ่งจะทำลายแนวทางการต่อสู้ที่หยกตั้งใจไว้ แม่หยกจึงเลือกไม่ปรากฎตัวสาธารณะตามที่หยกขอไว้ ได้แต่โทร.ปรับทุกข์ อัปเดตข่าวสาร เล่าเรื่องราวความหลัง ซึ่งตนก็ทำหน้าที่ประสานกับเก็ท ได้ข้อมูลว่าหยกชอบทานอะไร เพื่อคนข้างนอกจะได้หาซื้อไปเยี่ยม

แม่หยกเริ่มมีปัญหาสภาวะจิตใจหนักขึ้น เวลาซื้อกับข้าวหรือขนมที่เคยกินกันสองคนก็แทบจะกินไม่ลงหรือกินได้คำสองคำแล้วก็ร้องไห้ หลายวันเข้าก็เริ่มไม่อยากกินอะไรเลย จนปวดหัว หน้ามืด น้ำหนักลด ช่วงหลังมาจึงอาศัยการเข้าวัดทำบุญฟังธรรมเพื่อสงบจิตใจไม่ให้เครียดเรื่องลูกไปมากเกินจนทำอะไรในชีวิตประจำวันปกติไม่ได้ ซึ่งแม่หยกฝากขอบคุณทุกคนที่ร่วมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้หยกได้รับอิสรภาพมาตลอด

ช่วงใกล้วันมอบตัวชั้น ม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ หยกยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการปล่อยตัว แม่และน้าของหยกได้ไปที่โรงเรียนวันเดียวกับที่เก็ทไปเพื่อขอโอกาสผ่อนผันเลื่อนวันมอบตัวของหยก เนื่องจากหยกถูกคุมขังอยู่ที่บ้านปราณี ซึ่งอาจารย์ก็เข้าใจและไม่ต้องการตัดโอกาสการเรียนของเด็ก จึงได้ทำเอ็มโอยูเป็นเงื่อนไขไว้กับแม่และน้าว่า หยกได้ปล่อยตัวเมื่อไหร่ให้แม่กับน้าพามามอบตัวกับโรงเรียนแล้วค่อยชำระค่าเทอมภายหลังก็ได้ แต่โรงเรียนจะยังไม่ตัดสิทธิ์เรียนแน่นอน แม้ไม่ได้มามอบตัวตามกำหนดเดิม เป็นเหตุหลักที่ทางโรงเรียนยืนยันมาตลอดว่าให้ผู้ปกครองจริงๆ เป็นผู้พาหยกมามอบตัวเท่านั้นตามเอ็มโอยู เนื่องจากระเบียบราชการถ้าผู้ปกครองตามกฎหมายไม่ได้เซ็นยินยอมมอบตัวกับโรงเรียน ก็ไม่สามารถรับเด็กมาดูแลในช่วงเวลาเรียนได้ เป็นเรื่องสำคัญทางเอกสารราชการที่อาจถูกฟ้องร้องภายหลังได้

เมื่อเปิดเทอมไปได้สักพักหนึ่ง หยกได้รับการปล่อยตัว ‘บุ้ง’ (น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้าไปเยี่ยมหยกหลายครั้ง ก็ได้ไปรับตัวและพาหยกกลับคอนโดมิเนียม โดยตอนแรกแจ้งกับสาธารณะว่าแค่จะรีบพาไปหาหมอ พอได้ออกมาแม่หยกได้คุยกับหยกทางโทรศัพท์ตั้งแต่คืนแรก และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอด แต่แม่หยกไม่เคยคุยกับบุ้งเพราะไม่รู้จัก ไม่รู้ว่าบุ้งคือใคร ซึ่งการที่บุ้งกล่าวกับสื่อมวลชนว่าติดต่อแม่หยกไม่ได้ หาแม่หยกไม่เจอ หยกไม่มีผู้ปกครองนั้นเป็นเรื่องโกหก วันแรกหยกขอพักกับพี่ๆ ก่อน แม่หยกก็ยังไม่ได้ว่าอะไร ปรากฎว่าวันต่อมาบุ้งพยายามแนะนำให้หยกแอบไป “คัดทะเบียนบ้านออกจากบ้านแม่ไปอยู่บ้านบุ้ง” โดยไม่บอกแม่หยกก่อน

แม่หยกได้ทราบก็ตกใจว่า ทำไมอยู่ๆ จะให้หยกคัดทะเบียนบ้านออก แล้วไม่มาถามแม่หยกซึ่งเป็นเจ้าบ้านและผู้ปกครองตามกฎหมายก่อนสักคำว่ายินยอมหรือไม่ บุ้งอ้างกับหยกว่า ตอนแรกจะให้หยกย้ายมาอยู่กับบุ้งเพราะจะใช้ในการมอบตัวเข้าเรียน รับหมายเรียก เอกสารต่างๆ ซึ่งความจริงมาทราบภายหลังว่า บุ้งก็ใช้วิธีการคล้ายกันนี้กับพลอย (น.ส.เบญจมาภรณ์ นิวาส) คือให้คัดทะเบียนบ้านออกมาอยู่กับบุ้ง เพื่อได้สิทธิ์ในการดูแลเป็นผู้ปกครอง หรือดำเนินธุรกรรมต่างๆ แทนผู้ปกครองจริงได้หากอยู่ทะเบียนบ้านเดียวกัน ซึ่งหยกก็อยากมีอิสรภาพมากกว่าเดิมตอน ม.ต้น หลังจากถูกกระทบกระเทือนจิตใจเพราะถูกคุมขังมา 51 วัน และหยกอยากเคลื่อนไหวการเมืองต่อแบบหนักๆ ซึ่งก็เข้าทางบุ้งพอดี

แต่ปัญหาคือ แม่หยกในฐานะเจ้าของบ้านและผู้ปกครองตามกฎหมายไม่ได้ให้ความยินยอม แผนให้หยกคัดทะเบียนบ้านออกเพื่อได้สิทธิ์เป็นผู้ปกครองใหม่ก็เป็นอันล่มไป แต่จุดนี้ก็เป็นจุดที่หยกเริ่มถูกมานิพูเลท (Manipulate หรือถูกหลอกใช้) ให้รู้สึกไม่โอเคกับแม่ที่แม่ไม่ยอมให้เสรีภาพในการย้ายทะเบียนบ้านออกไปอยู่กับบุ้งตามที่คาดหวังไว้ เช้าวันแรกที่บุ้งพาหยกไปโรงเรียนเอง โดยไม่ยอมพาหยกกลับบ้านไปส่งแม่หยกก่อน โรงเรียนซึ่งทำเอ็มโอยูผ่อนผันการมอบตัวล่าช้าเอาไว้ให้กับแม่และน้าของหยก จึงไม่สามารถให้บุ้งมาฉีกเอ็มโอยูเก่าแล้วมอบตัวแทนแม่หยกที่มาขอโอกาสไว้ได้

ซึ่งทางโรงเรียนก็ได้รับหยกเข้าเรียนไว้ก่อน แต่ผ่อนผันให้หยกมามอบตัวพร้อมผู้ปกครองตัวจริงตามเอ็มโอยูให้ถูกต้อง โดยแจ้งกำหนดระยะวันเวลาหมดเขตกับหยก แต่จนท้ายที่สุดบุ้งก็ไม่ยอมพาหยกกลับไปส่งแม่ เพื่อให้ได้เซ็นมอบตัวตามเอ็มโอยูเดิม ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายความมั่นคงสบช่องทำลายโอกาสทางการศึกษาของหยกโดยที่ไม่ควรจะต้องเสีย

เช้าวันนั้น บุ้งอ้างกับสื่อมวลชนว่า “หาแม่น้องไม่เจอ-ติดต่อแม่น้องไม่ได้-น้องไม่มีผู้ปกครองมา” ความจริงคือ

1.) แม่หยกยังพำนักบ้านเดิม แค่มีคนพาหยกไปพักที่อื่น ไม่พากลับบ้าน
2.) หยกกับแม่ยังติดต่อกันได้ตลอดตั้งแต่ออกมา แม่เขาแค่ไม่คุยกับบุ้งเพราะเป็นใครก็ไม่รู้ อยู่ๆ มาฉีกเอ็มโอยูที่ไปของทำไว้กับโรงเรียน ด้วยการพาหยกไปมอบตัวทั้งที่ไม่เกี่ยวข้อง
3.) หยกไม่มีผู้ปกครองมา เพราะบุ้งไม่ได้พาหยกไปส่งบ้านผู้ปกครอง ซึ่งแม่หยกเตรียมการพาหยกมอบตัวกับโรงเรียนตามที่ขอทำเอ็มโอยูไว้แล้ว แต่กลับพยายามให้หยกคัดทะเบียนบ้านออกแทน นี่คือจุดเริ่มต้นของการโกหกใส่ร้ายแม่หยก ซึ่งนำมาซึ่งความโกลาหลทั้งหลายต่างๆ ต่อจากนั้นดำเนินต่อมาเรื่อย เพื่อคงไว้ให้การโกหกครั้งแรกยังเป็นความจริง

หลังจากนั้น บุ้งไปออกช่องวอยซ์ทีวี พูดโจมตีให้คนเข้าใจว่าครอบครัวหยกใช้ความรุนแรง หยกเลยออกมา เพื่อบุ้งจะได้หาทางสวมเป็นผู้อุปการะใหม่ และจากการที่หลายฝ่ายได้ฟังจากบุ้งด้านเดียว ก็แทบหลงทางในการแก้ปัญหาเรื่องสิทธิ์การเข้าเรียน บางฝ่ายถึงกับจะหาทางไปแจ้งความจับแม่หยก ข้อหาทอดทิ้งบุตร เพื่อให้บุ้งได้กลายเป็นผู้ปกครองตัวจริงแทนเสียด้วยซ้ำ ไปกันใหญ่มากๆ โดยที่แม่หยกแทบไม่ทราบเลยว่ากำลังตกเป็นจำเลยสังคมโดยไม่ทันรู้ตัวและยังไม่ได้ทำอะไรผิด

หลังจากนั้น ตนก็ได้คุยกับแม่หยกไม่กี่ครั้ง ซึ่งทุกครั้งก็ไม่ได้ยินยอมใดๆ กับการที่หยกจะไปอยู่กับใครก็ไม่รู้ จะมาเอาลูกไปได้ยังไง ซึ่งพักหลังสภาพจิตใจของแม่หยกก็ค่อนข้างย่ำแย่ลงไปมาก จากการขบวนที่บอกเป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันพรากลูกไปจากอ้อมอกยาวนาน พอเรื่องราวหยกกับที่โรงเรียนเริ่มใหญ่โต ข้อมูลจากฝ่ายบุ้งทำให้สังคมหันมาโทษใส่แม่หยกกันเสียมาก อาจารย์และผู้ปกครองที่มีแนวคิดส… ในโรงเรียนบางส่วนก็ผสมโรง กลุ่ม ศชอ. ก็ปักหมุดลงบ้านล่าแม่มดครอบครัวน้องกันอีกระลอกใหญ่ ลามไปถึงพ่อหยกที่อยู่ต่างจังหวัดก็ถูกตามถึงบ้าน แม่หยกซึ่งอยู่ในสภาวะจิตใจย่ำแย่อยู่เดิมก็ต้องหาพื้นที่หลบทั้งตำรวจที่ตามคุกคาม ทั้งพวกล่าแม่มด ทั้งสื่อที่ตามขุดคุ้ย เพราะไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนสาธารณะในสภาพไม่พร้อมและเสี่ยงถูกคุกคามจากกระแสสังคมเข้าใจผิด

ข้อสรุปในเรื่องนี้คือ การพาหยกไปอยู่ที่อื่นที่กำลังทำกันอยู่นี้ไม่ได้ผ่านการได้รับยินยอมจากแม่ของหยก ซึ่งเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายที่ได้ทำเอ็มโอยูขอมอบตัวหยกล่าช้าไว้กับโรงเรียน เป็นปัจจัยเสริมทำให้สูญเสียสถานภาพนักเรียนไป จากที่ฝ่ายความมั่นคงพยายามมาแต่แรกที่จะขังหยกจนเลยวันมอบตัว พูดถึงเรื่องสิทธิเด็กและเยาวชน ถ้าหยกยังอายุเพียง 15 ปี ไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ กฎหมายก็ไม่ได้ให้สิทธิ์หยกเลือกผู้ปกครองใหม่ได้ตามใจชอบ ต่อให้หยกไปด้วยอย่างเต็มใจ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกฎหมาย ถ้าผู้ปกครองไม่ยอม เทียบกับคดีพรากผู้เยาว์ การล่อลวงด้วยสิ่งใดให้เด็กรู้สึกเต็มใจไปด้วย หรือแม้แต่เด็กอยากไปด้วยเอง หากผู้ปกครองไม่ได้ยินยอมก็ผิดอยู่วันยังค่ำ

ทำไมแม่ทิ้งน้อง? ตอบว่า แม่ไม่เคยทิ้งหยกเลยตลอดมาตั้งแต่หยกถูกจับขัง การถูกตำรวจคุกคามทางเพศ การถูกลิดรอนเสรีภาพอย่างรุนแรงในคดี 112 และการที่ถูกบุ้งมานิพุเลทจนหยกได้รับอิทธิพลทางลักษณะนิสัยมา “ประท้วงแม่” ตอนที่ทนายสิทธิมนุษยชนพยายามพาหยกกลับไปคุยกับแม่ นั่นต่างหากที่ทำให้เรื่องบานปลายมาขนาดนี้

ทำไมแม่น้องไม่แจ้งความ? ตอบว่า แม่หยกเป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกัน ไม่ได้ต้องการทำร้ายพี่ๆ เพื่อนๆ ของลูกสาวตน เพราะมันจะสร้างบาดแผลในใจที่ยากจะสมานในระยะยาว แม้จะเจ็บปวดก็จำต้องกล้ำกลืนเพราะยังแคร์หัวใจลูก ถ้าสมมติในอนาคตมีกฎหมายให้เด็กอายุ 15-18 ปี สามารถเลือกผู้ปกครองใหม่ได้เองตามใจ ตนจะยกกรณีนี้มาพิจารณาใหม่

“ถ้าบุ้ง ทะลุวัง คือขบวน คุณคือขบวนที่เลวร้ายมากที่ใส่ร้ายครอบครัวน้องที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกัน เพื่อหวังกับประโยชน์เฉพาะหน้า และเป็นขบวนที่ทิ้งเหยื่อคนอื่นๆ อย่างแม่น้อง ครอบครัวน้องเอาไว้ข้างหลัง ในวันที่แม่น้องถูกข่มขู่ ขุดคุ้ย คุกคาม โดยไม่มีแม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว ที่คิดจะช่วยเซฟสวัสดิภาพทางร่างกายและจิตใจให้ครอบครัวน้อง ในขณะที่ตัวเองได้รับประโยชน์จากลูกเขาเต็มๆ” จอม ไฟเย็น ระบุ

จอม ไฟเย็น กล่าวว่า ปัจจุบันตนติดต่อแม่หยกไม่ได้แล้ว แต่ครั้งสุดท้ายที่คุยในแชท ญาติของหยกยืนยันว่าแม่หยกไม่เคยไปตกลงอะไรใดๆ กับบุ้งไว้ ตามที่มีคนพยายามอ้างว่า “น้องตกลงกันกับแม่แล้วว่าจะให้แม่หายไป” ทั้งสิ้น อันตรายที่สุดอย่างไรหากยังพยายามไม่ให้แม่กับหยกได้ปรับความเข้าใจกันให้เร็วที่สุด?

หากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เข้ามาแทรกแซงเรื่องนี้ หยกจะไม่ได้อยู่ทั้งกับแม่หรือบุ้ง แต่จะกลายเป็นบ้านปราณีที่เคยขังหยก ระหว่างที่รอ พม. หาผู้อุปการะใหม่ ซึ่งสภาพบุ้งเองไม่ผ่านเกณฑ์ผู้รับอุปการะบุตรบุญธรรมของ พม. แน่นอน

พม.จะเข้าแทรกแซงจังหวะไหน? ตอบว่า หลังจากหยกถูกปล่อยตัว นายอานนท์ กลิ่นแก้ว แกนนำกลุ่ม ศปปส. ไปแจ้งความคดี 112 กับหยกเพิ่มไว้อีก 6 คดี หมายเรียกฉบับที่ 1 ที่ 2 กำลังทยอยมา แต่บุ้งก็จะไม่มีทางรู้ว่าวันไหนเมื่อไหร่ และมารู้อีกทีตอนตำรวจถือหมายจับมาล็อกตัวหยกไปแล้ว ถ้า พม. มาพร้อมตำรวจแล้วพบว่าเด็กไม่มีผู้ปกครองหรือผู้รับมอบอำนาจอยู่ด้วย มันจะจบที่บ้านปราณีโดยที่ยังไม่ต้องเริ่มคดี 112 เลยด้วยซ้ำ

“ลองถามตัวเองว่าคุณห่วงเด็กจริงๆ หรือกำลังห่วงอะไรกันแน่?” จอม ไฟเย็น กล่าวทิ้งท้าย

'อันฮุย' ขุดพบ 'เครื่องมือหิน' ช่วยขุดเจาะหาหยกในอดีต ทึ่ง!! เป็นเทคนิคการเจาะขั้นสูงสมัยเกือบ 6 พันปีก่อน

เหอเฝย, 10 ส.ค. (ซินหัว) — เครื่องมือหินที่ขุดพบจากแหล่งโบราณวัตถุหลิงเจียทาน เมืองหม่าอันซาน ในมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน เผยเทคนิคการขุดเจาะขั้นสูงของจีนโบราณ โดยเชื่อว่าเคยถูกใช้เพื่อประดิษฐ์เครื่องหยก

เจี่ยเหล่ย ไกด์นำเที่ยวประจำแหล่งโบราณวัตถุฯ เผยว่าเครื่องมือหินดังกล่าวยาว 6.3 เซนติเมตร ทำมาจากหินกรวด มีชิ้นส่วนทรงเกลียวที่ปลายทั้งสองด้าน และยังพบร่องบนตัวเครื่องซึ่งเชื่อว่าใช้สำหรับรัดเชือกหรือสายคาดขณะทำเครื่องหยก

อนึ่ง แหล่งโบราณวัตถุหลิงเจียทาน เป็นที่ตั้งถิ่นฐานจากยุคหินใหม่ มีอายุราว 5,300-5,800 ปี ครอบคลุมพื้นที่ราว 1.6 ล้านตารางเมตร และมีชื่อเสียงจากเครื่องหยกที่ขุดพบในการขุดค้นหลายครั้งก่อน นับตั้งแต่มีการค้นพบสถานที่แห่งนี้ในปี 1985

‘โบว์ ณัฏฐา’ วิเคราะห์ 3 ความเป็นไปได้ ‘แม่ของหยก’ แต่ไม่ว่าทางไหน ก็หนีความรับผิดชอบไม่ได้

(8 ก.ย. 66) น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก Bow Nuttaa Mahattana ระบุข้อความว่า ประเด็นแม่ของหยก ประเมินได้สามทาง

1. แม่เป็นผู้ปกครองแบบอยากใช้ไม้แข็ง รอให้หยกสิ้นหนทางจนต้องกลับบ้านเอง เป็นวิธีปราบที่ใช้ได้กับเด็กบางคน แต่ไม่ได้กับเด็กทุกคน ซึ่งผู้ปกครองบางคนดันทุรังใช้วิธีแบบนี้เพราะเข้าใจว่าจะได้ผล สุดท้ายคือเสียลูก

2. แม่เป็นคนขี้ขลาดตาขาว กลัวแรงกดดันจากสังคม ไม่กล้าเผชิญหน้า ใช้วิธีหนีปัญหา

3. ความเป็นไปได้อื่น ๆ เช่น เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ เล่นบทหลบเพื่อให้กลุ่มและหยกสร้างประเด็นต่อไป ด้วยข้ออ้างว่าหยกไม่มีผู้ปกครองดูแล ฯลฯ

ไม่ว่าจะอย่างไร หนีความรับผิดชอบไม่ได้ค่ะ

‘หยก’ โพสต์ทวงความชัดเจนสถานภาพจากโรงเรียน จี้ถาม “ทำไมคุณครูปล่อยเพื่อนๆ ทำอะไรต่างๆ กับหนู”

เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 66 จากเฟซบุ๊ก ‘Thanalop Phalanchai’ ของ ‘หยก ธนลภย์’ เยาวชนนักเคลื่อนไหวการเมืองและผู้ต้องหา ม.112 อายุ 15 ปี ได้โพสต์ข้อความระบุว่า...

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 6 กันยายน 2566

วันนี้หนูมาโรงเรียน ที่โรงเรียนให้หนูเข้ามาที่ห้อง แต่ห้องปิดไฟ ดับไฟ ไม่มีใครอยู่ในห้อง แต่ห้องข้างๆ เรียนกันอยู่ แต่ห้องหนูเพื่อนหายไปหมด หนูมาทราบทีหลัง ผู้ปกครอง-ครู บอกว่า “เพื่อนไม่สบาย”

หนูเลยนั่งเรียนพยายามอ่านหนังสือไปเอง ไม่ได้ไปตามหาว่าเพื่อนไปไหน สักพักจากนั้นผู้ปกครองของเด็กที่อุ้มหนูก็เข้ามา ผู้ปกครองคนอื่นก็เข้ามา รอง 2 คนของโรงเรียนก็เข้ามา เขาเริ่มพูดถึงด้วยการว่าพี่บุ้ง และบอกว่าคนแบบนี้สุดท้ายเป็นยังไง ก็ต้องลี้ภัย จนหนูทนไม่ไหวเลยไปนั่งริมหน้าต่าง แล้วบอกให้เขาออกไป ตอนแรกเขาก็ออก แต่ต่อมาก็เอาครูคนอื่นมาพูดใส่หนู หนูเลยใส่หูฟังนอนก้มหน้าหลับตาไป

ช่วงประมาณก่อนเที่ยง หนูหลับไป อาจเป็นเพราะไม่ค่อยสบาย พี่คนนึงที่มาก็ขึ้นมาดูหนู แต่หนูไม่รู้ หนูหลับอยู่ พี่อีกคนที่ตามมาดูหนูก็เดินเข้ามา หนูถามว่าเข้ามาได้ไง พี่เค้าก็เล่าว่าหน้าโรงเรียนมีคนให้เข้ามาเลย พอผ่านประตูมาก็มีครูมารับแล้วพาเดินมาหาหนู หนูก็นั่งในห้องเรียน พี่เค้าอยู่ด้วย ส่วนครูกับผู้ปกครองที่เคยเดินเข้ามาว่าก็ไม่มาแล้วพอพี่เขามา ต่อมาก็มีเพื่อนนักเรียนผู้หญิงสองคนนั่งเฝ้าหน้าห้อง แต่หนูไม่รู้ว่ามาเองหรือโรงเรียนให้มานั่งเฝ้า จนบ่ายสามโมง เวลาเลิกเรียนหนูก็ออกมา

หนูเห็นสมาคมผู้ปกครองโรงเรียนออกจดหมายถึงหนู หนูเห็นด้วยกับสิ่งที่เค้าเรียกร้องกับโรงเรียน เรื่องขอความชัดเจนในสถานะของหนู เพราะหนูก็อยากรู้ หนูก็เห็นว่าการไม่แจ้งอะไรเป็นตัวหนังสือหลักฐานมาเลย แต่ก็อ้างว่าอยากช่วย ‘เด็กที่ไม่มีชื่อในระบบ’ ให้เริ่มต้นใหม่ คือการให้หนูมาเจออะไรแบบนี้เหรอ ทำไมหนูถึงไม่มีชื่อ เป็นความผิดใคร มอบตัวแล้วเกิดความผิดพลาดไม่ให้เรียนอยู่ๆ ก็คืนเงินได้เลยใช่ไหม โรงเรียนมีแผนการอะไรหรือให้ความชัดเจนอะไรได้ และทำไมมันถึงไม่มีความชัดเจนมาจนวันนี้ คือโรงเรียนอาจจะเคยไปบอกเพื่อนๆ ลับหลังหนูว่าหนูไม่ใช่นักเรียน แต่หนูไม่เคยได้เอกสารแจ้งชัดเจนเลยนะคะ และไม่มีการอธิบายด้วยว่าเพราะอะไรถึงมอบตัวไม่สำเร็จ แค่เพราะไม่มีผู้ปกครองมาใช่ไหม

นอกจากเห็นด้วยกับสมาคมผู้ปกครองในเรื่องนี้แล้ว หนูอยากเรียกร้องพ่อแม่ของเพื่อนๆ คนอื่นเหมือนกัน ว่าบางทีครูอาจจะทำไม่ถูก บางเรื่องที่เป็นความไม่ปลอดภัยหรือการสนับสนุนพฤติกรรมของนักเรียน คุณครูไม่น่าจะทำ และคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนๆ น่าจะต้องเป็นกังวลกับเรื่องนี้ ที่คุณครูปล่อยหรือสนับสนุนให้เพื่อนๆ ทำอะไรต่างๆ กับหนู

สุดท้าย จดหมายที่สมาคมผู้ปกครองบอกให้หนู “ขอโทษ” หนูไม่เห็นด้วยเลย หนูเองไม่เคยได้รับคำอธิบายจากศาลเยาวชนฯ จากบ้านปรานีฯ จากโรงเรียน จากคุณครู ไม่เคยมีใครบอกอะไรกับหนู และไม่เคยมีใครมาขอโทษหนูเหมือนกัน กับทุกๆ เรื่องที่ผ่านมา และหนูคิดว่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับหนูไม่ใช่เรื่องปกติ และนอกจากหนูในโรงเรียนนี้แล้วก็มีเด็กคนอื่นๆ ที่เจอเรื่องแบบนี้อยู่ทั่วประเทศ เช่นเด็กที่ถูกพักการเรียน 1 ปี เพราะใส่ชุดไปรเวท 1 วัน หรือเด็กที่โรงเรียนทำให้ออกจากโรงเรียน เพราะโดนมาตรา 112

หนูไม่ใช่คนไม่กล้าที่จะพูดคำว่าขอโทษ หนูเคยพูดคำนี้ในชีวิตมาแล้ว เมื่อพิจารณาแล้วมีเหตุผลสมควรที่จะพูด คำว่าขอโทษ ถ้าสมควรจะพูดหนูก็สามารถพูดได้ ไม่ต้องใช้ความกล้าหาญใดๆ

‘โบว์ ณัฏฐา’ ชี้!! สังคมพูดเรื่อง ‘หยก’ โดยไม่ดูข้อเท็จจริง ฟากพ่อแม่นิ่งเฉย ส่วนโรงเรียนต้องรับมือความปั่นป่วนรายวัน

(12 ก.ย. 66) น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์เฟซบุ๊ก ‘โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา - Nuttaa Mahattana’ ระบุข้อความว่า…

หลายคนพูดเรื่องหยกโดยไม่ดูข้อเท็จจริงเลยค่ะ ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจตรงกันคือ 

📍โรงเรียนจะรับเด็กให้มีสถานะเป็นนักเรียนของโรงเรียนได้จะต้องมีผู้ปกครองมารับรอง เพราะการดูแลนักเรียนคือการทำงานร่วมกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน หากไม่มีผู้ปกครอง เด็กจะต้องอยู่ในความดูแลของรัฐและได้รับการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิเพื่อสวัสดิภาพของเด็ก

📍แม่ของหยกเคยไปยืนยันความเป็นผู้ปกครองไว้กับโรงเรียนเพื่อขอผ่อนผันการมอบตัวแล้ว โรงเรียนจึงไม่สามารถรับรองบุคคลอื่นที่อ้างตนเป็นผู้ปกครองโดยปราศจากการมอบอำนาจได้ โดยเฉพาะบุคคลที่มีอายุห่างกับเด็กไม่ถึง 15 ปีและมีปัญหาคุณสมบัติหลายประการ 

📍ก่อนครบกำหนดการมอบตัว โรงเรียนพยายามติดต่อแม่และมีครูฝ่ายปกครองเดินทางไปตามที่บ้านไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง โดยปราศจากความร่วมมือของหยกและบุ้งในการประสาน 

📍หลังจากนั้นมีการโอนเงินค่าเทอมจากบัญชีรับบริจาคของกลุ่มทะลุวังเข้าบัญชีโรงเรียน เมื่อการมอบตัวไม่เคยเกิดขึ้น โรงเรียนจึงโอนเงินคืน แต่ยังต้องรับมือกับสถานการณ์ความปั่นป่วนอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏในข่าว

📍นักเรียนในโรงเรียนเริ่มทนไม่ไหวหลังอยู่กับสถานการณ์มาสี่เดือน โรงเรียนได้รับความกดดันทั้งจากนักเรียนและผู้ปกครองให้ปกป้องสิทธิของเด็ก ๆ ที่เหลือในโรงเรียน ให้สามารถมีสมาธิเรียนในบรรยากาศที่เป็นปกติ ปราศจากการรบกวนของกลุ่มบุคคลภายนอก 

📍กระบวนการแก้ปัญหาตามกฎหมายเรื่องการมีผู้ปกครองยังต้องดำเนินอยู่โดยปราศจากความร่วมมือของหยกและกลุ่มบุคคลที่น้องไปอาศัยอยู่ด้วย และโรงเรียนยังต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและอาคารสถานที่ในการรับมือกับสถานการณ์รายวัน 

📍เพราะคำว่า ‘เด็ก’ และแรงกดดันจากคนบางกลุ่ม จึงไม่มีใครกล้าดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ผลเสียนั้นเกิดต่อตัวเด็กเอง และน่าจะคลี่คลายในเร็ววัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top