Saturday, 11 May 2024
บุหรี่ไฟฟ้า

5 หน่วยงานร่วมแถลงข่าวสร้างความชัดเจน 'บุหรี่ไฟฟ้า'

​วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30 น. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ และกรมควบคุมโรค ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวเพื่อสร้างความรับรู้ความเข้าใจกรณีการบังคับใช้กฎหมายกับบุหรี่ไฟฟ้าและพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ณ ห้องประชุม 4 ชั้น ๒ อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ​กรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับ “บุหรี่ไฟฟ้า การสูบ - ครอบครอง ไม่ได้นำเข้า - ผลิต - ขาย ผิดกฎหมาย หรือไม่ ” ขอชี้แจงข้อเท็จจริง
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้​​

​1.) กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งที่  9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ผู้ใดขายหรือให้บริการ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มสส.ร่วมกับสสส.ถก 'สางปม บุหรี่ไฟฟ้า' ชี้สุดอันตรายและไม่ช่วยเลิกบุหรี่มวน

มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ (มสส.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดประชุมโฟกัสกรุ๊ปเรื่อง 'สางปม บุหรี่ไฟฟ้า... หลากปัญหา รอวันแก้'

(13 ก.พ.66) มูลนิธิสื่อเพื่อสุขภาวะ(มสส.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดประชุมโฟกัสกรุ๊ปเรื่อง "สางปม บุหรี่ไฟฟ้า... หลากปัญหา รอวันแก้" ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพ รัชดา โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ นายเลิศศักดิ์ รักธรรม ผู้อำนวยการส่วนบังคับคดี หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมพูดคุย พร้อมด้วยนายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ สื่อมวลชนอาวุโส เป็นผู้ดำเนินรายการ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่ากฎหมายไทยกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามทั้งการนำเข้า จำหน่ายหรือให้บริการ ในปี 2564 มี 32 ประเทศทั่วโลกที่ประกาศใช้กฎหมายห้ามเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าจากที่ในปี 2557 มีเพียง 13 ประเทศ เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าทั่วโลกตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าเพราะมีข้อมูลชัดเจน เช่น เด็กมัธยมปลายอเมริกันสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มจาก 1.5%ในปี2554 เป็น19.6%ในปี 2563 ประเทศนิวซีแลนด์เด็กอายุ14-15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มจาก 1.9%ในปี 2560เป็น9.6 %ในปี 2564 ส่วนเด็กมัธยมต้นของไทยอายุ13-15 ปีสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มจาก3.3% ในปี2558 เป็น8.1%ในปี 2564 

รายงานการวิจัยเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลกส่วนใหญ่สรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและระบบทางเดินหายใจเพราะละอองลอยมีสารโลหะหนักหลายชนิด เช่น เหล็ก ทองแดง นิกเกิล สังกะสี โครเมี่ยม และตะกั่วที่กระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังพบว่าสารนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของสมองเด็กและวัยรุ่น บุหรี่ไฟฟ้าหลายยี่ห้อมีสารนิโคตินเท่ากับสูบบุหรี่ 20 มวน และบางยี่ห้อมีสารนิโคตินเท่ากับการสูบบุหรี่ถึง50 มวน          

ส่วนข้ออ้างที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ในการช่วยเลิกบุหรี่มวนนั้น ก็ไม่เป็นความจริง ในปี 2564 องค์การอนามัยโลกระบุว่าหลักฐานที่บอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ยังสรุปไม่ได้ ส่วนองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกายืนยันเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาว่าไม่เคยรับรองให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียก็ระบุว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ สอดคล้องกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2564-2565 ไม่มีข้อสรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ หนำซ้ำยังพบว่า 60 %ของคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่กลับมาสูบบุหรี่ชนิดมวนใหม่ 

ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่าปัญหาใหญ่สุดของบุหรี่ไฟฟ้าคือทำให้เด็กที่ไม่เคยสูบบุหรี่เข้ามาสูบบุหรี่ไฟฟ้าและเด็กที่เริ่มต้นสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงที่จะสูบบุหรี่ธรรมดามากกว่าเด็กที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า 2-4 เท่า รวมทั้งคนที่เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาไปแล้วจะกลับมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน ดังนั้นสื่อมวลชนต้องช่วยกันเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง หาแนวทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควบคุมการโฆษณาในสื่อสมัยใหม่ทุกรูปแบบเพราะบริษัทบุหรี่ไฟฟ้ามักใช้สื่อออนไลน์และสนับสนุนเงินในการจัดกิจกรรมดึงดูดกลุ่มเยาวชน

นายเลิศศักดิ์ รักธรรม ผู้อำนวยการส่วนบังคับคดี หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ สคบ. กล่าวว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคมีหมวดที่ว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการทำให้มีการออกคำสั่งของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ดังนั้น ผู้ใดขายหรือให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนรวมถึงการซื้อมาเพื่อขายต่อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  นอกจากนี้ผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ายังมีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่ และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กับให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้านั้นด้วย และยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

'กรมศุลฯ' จับมือ 'ตร.' เตรียมทำลายบุหรี่ไฟฟ้า ทลายโกดังสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ มูลค่า 150 ล้านบาท!!

(23 ก.พ. 66) ที่อาคารสโมสร ศุลกากร กรมศุลกากร นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา และบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงผลการทำลายบุหรี่ไฟฟ้าของกลางที่คดีสิ้นสุด และผลการตรวจยึดสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า พร้อมของกลาง น้ำยา-อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก รวมมูลค่ากว่า 72 ล้านบาท และสินค้าแบรนด์เนม อาทิ กระเป๋า, เสื้อผ้า, พรม, รองเท้า, น้ำหอม แบรนด์ดัง รวมมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 150 ล้านบาท

นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา และบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า...

คดีแรก คือ การระดมการกวาดล้างบุหรี่ไฟฟ้า และทำลายของกลางในความผิดตามกฎหมายศุลกากรที่คดีสิ้นสุดแล้ว มูลค่ากว่า 72 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ กรมศุลกากรทำงานร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ได้จับกุมและตรวจยึดสินค้าจากห้างร้าน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงโกดัง ซึ่งประกอบด้วย เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หัวบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับดูด และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยมาโดยตลอด และมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุด ซึ่งของกลางดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินและรอการทำลาย โดยของกลางที่นำไปทำลายครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หัวบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับดูด และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 874,535 ชิ้น มูลค่าความเสียหาย 72,019,523.46 บาท

'ชัยวุฒิ' ชี้ช่องดึง 'เว็บพนันออนไลน์-บุหรี่ไฟฟ้า' ขึ้นมาบนดิน แก้กฎหมาย เปลี่ยนส่วยเป็นภาษี พารัฐกระเป๋าตุง

จากคอลัมน์ 'เจ้าพระยา' ในสยามรัฐ ได้พูดถึงกรณีทุนสีเทาที่บานปลาย และแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีการเสนอแนวคิดจาก นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ว่า...

บานปลายกลายเป็นมหากาพย์กระทบต่อผลการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ สำหรับกรณี 'ทุนจีนสีเทา' หลังนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.ก้าวไกลรับข้อมูลจากนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ไปอภิปรายในศึกซักฟอกรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทว่า ที่เจอแรงกระแทกมากสุด กลับเป็นแกนนำพรรคพลังประชารัฐ และพรรคร่วมฝ่ายค้านไปเสียงั้น 

“ปัญหาเรื่องทุนสีเทาเป็นปัญหาที่มีมานานแล้วหลายสิบปี เป็นปัญหาที่เราก็รู้กันอยู่ว่าธุรกิจที่ผิดกฎหมายในเมืองไทยมันมีเยอะ แล้วก็ทุกคนก็วิ่งเข้าหาผู้มีอํานาจ เพื่อจ่ายส่วย หรือว่าหาคนมาดูแลคุ้มครอง โดยรัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง รัฐบาลพยายามแก้ปัญหานี้อยู่ ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ ก็เห็นตรงกันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่นอกจากแก้ด้วยการให้เจ้าหน้าที่ลงไปเอาจริงเอาจังในการปราบปรามแล้ว บางเรื่องอาจต้องมีการปรับแก้กฎหมายเพื่อเปลี่ยนส่วยเป็นภาษี เพราะต้องยอมรับว่า บางสิ่งบางอย่างในต่างประเทศเขาถูกกฎหมาย เช่น เรื่องธุรกิจบริการ ผับบาร์ที่เปิดตอนกลางคืน ประเทศอื่นเปิดหลังเที่ยงคืนได้ ขายเหล้าหลังเที่ยงคืนได้ เป็นเมืองไทยทําไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย ก็ทําให้ชาวต่างชาติที่มาลงทุน มาท่องเที่ยวในเมืองไทย หรือชาวต่างชาติที่ต้องการดื่มหลังเที่ยงคืนจะต้องจ่ายส่วยเพื่อจะได้เปิดบริการกันได้ก็เกิดทุนสีเทา เกิดธุรกิจผิดกฎหมายขึ้นมา เรื่องนี้เป็นตัวอย่างว่า เราควรต้องทบทวน ปรับแก้กฎหมายเพื่ออะไรที่เราคิดว่ารับได้ อะไรคิดว่าเป็นเรื่องสากล"

‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ภัยทันสมัยในม่านควัน หรือวาทกรรมที่ถูกปั้นเพื่อให้คนกลัว

“...แวดวงนักกลืนควันในอดีต เวลาจุดบุหรี่สูบก็ต้องสูบให้หมดมวน แต่บุหรี่ไฟฟ้าสูบคำสองคำก็พอ ทำให้ลดการสูบลง” คือคำพูดของเด็กหนุ่มใกล้ตัวที่คุยกับผม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ได้รับความนิยมอย่างสูงในแวดวงนักกลืนควันวันนี้ ทั้งที่รู้อยู่เต็มบอกว่ามันก็มีอันตรายไม่แตกต่างจากบุหรี่ (จริง)

บรรพบุรุษของบุหรี่รุ่นแรกมีหน้าตาค่อนไปทางซิการ์ คือ มวนโตและห่อพัน (ใบยาสูบ) ด้วยใบยา (อีกที) และดูเหมือนจะมีมาก่อนในดินแดนเม็กซิโกและอเมริกากลาง ราวศตวรรษที่ 9 ซึ่งก็คือบริเวณที่ชาวมายาและแอซเท็กเริ่มสูบยา รวมถึงใบยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทกับพิธีกรรมทางศาสนา โดยพบหลักฐานภาพวาดบนเครื่องปั้นดินเผาและภาพแกะสลักบนวิหาร เป็นภาพนักบวชหรือเทพเจ้ากำลังสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งซิการ์กับบุหรี่คือ วัฒนธรรมของชนชาวพื้นเมืองแถบแคริบเบียน, เม็กซิโก, อเมริกากลาง และใต้ ก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลกเพียงไม่กี่ทศวรรษ

“สูบบุหรี่แก้ขวย ช่วยเข้าสังคม” คือคำโฆษณาจากรัฐบาลยุคมาลานำไทย เชิญชวนให้คนสูบบุหรี่ (ซึ่งเป็นกิจการของรัฐ) นัยว่าช่วยพัฒนาประเทศทางอ้อม ด้วยภาพลักษณ์ของการสูบบุหรี่ยังดูโก้เก๋ ทันสมัย มีอารยะ

คนไทยโบราณไม่ว่าหญิงหรือชายจะมีของติดตัวกันแทบทุกคน สำหรับสตรีไทย คือ ‘กระทายหมาก’ หรือ ‘เชี่ยนหมาก’ ส่วนของบุรุษก็คือ ‘กลักบุหรี่’ หรือ ‘กระป๋องใส่บุหรี่’ ที่ยังไม่ได้มวนพร้อมสูบ สมัยนั้นเวลาจะสูบบุหรี่สักที ก็ต้องนั่งมวนต่อมวน แล้วจุดด้วยไฟที่เกิดจากการตี ‘หินเหล็กไฟ’ จนเกิดประกายติดใส่นุ่นในหลอดที่มีพร้อมอยู่ข้างกาย จึงจะได้สูบบุหรี่สำเร็จได้ดังใจนึก

บุหรี่หรือยาสูบ เคยถูกใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนควบคู่กับ ‘หมาก - พลู’ โดยเห็นได้จากคำกล่าว “หมากพลู บุหรี่” รับแขกบนชานเรือนของตน ก่อนการแพทย์และสาธารณสุขจะล่วงรู้ถึงภัยร้ายของควันบุหรี่ จนกระทั่งสังคมก็เริ่มเสื่อมความนิยมต่อ ‘บุหรี่’ ลงเป็นลำดับ

แต่หากดูตามสถิติ ‘นักสูบหน้าใหม่’ ก็ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยหันหาสิ่งที่เรียกว่า ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ มากขึ้น ๆ และด้วยความเชื่อว่า ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ มีภัยต่อร่างกายน้อยกว่า ‘บุหรี่’ จริง

‘กลุ่มหนุนบุหรี่ไฟฟ้า’ มอบดอกไม้ให้กำลังใจ ‘ชูวิทย์’ เผย ชื่นชมในความกล้า ไม่เกรงกลัวอำนาจมืด

(28 ก.พ. 66) หน้าทำเนียบรัฐบาล กลุ่มผู้สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฏหมาย ได้เข้ามอบช่อดอกกุหลาบ และยื่นหนังสือชื่นชมในความกล้าของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ที่ออกมาต่อสู้กับแนวทางที่ผิดรูปผิดรอย และทำเพื่อความถูกต้องที่แท้จริง อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้เยาวชน ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจมืด

หนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฏหมาย กล่าวว่า ขอสนับสนุนความคิดในเรื่องการคัดค้านกัญชา เพราะกัญชามีมุมมืด มีโทษต่อร่างกายและจิตใจ และมีผลเสียต่อเด็กและเยาวชน โดยปัจจุบันการหาซื้อกัญชาง่ายกว่าบุหรี่ไฟฟ้า อีกทั้ง ยังมีกฎหมายรองรับและไม่ได้ควบคุมการใช้กัญชาสำหรับเด็กด้วย เราจึงเห็นข่าวมากมายว่า เด็กมีการแพ้อย่างรุนแรง ถึงขั้นอาจเสียชีวิตเนื่องจากกินอาหารผสมกัญชาเข้าไปโดยไม่รู้ตัว

และกล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากนี้ตนและเพื่อนในกลุ่ม จะเคลื่อนไหวยื่นหนังสือต่อพรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคภูมิใจไทย, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย เพื่อผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าให้เป็นนโยบายที่ถูกกฎหมาย และชี้ให้เห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยเราควรถูกกฎหมาย ให้เหมือนกับบุหรี่มวนและกัญชาที่ถูกกฎหมายอยู่ในขณะนี้

'ชัยวุฒิ' ถกประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า ยัน!! ผลักดันรับรองให้ถูกต้อง  ซัด!! กฎหมายต้องไม่ล้าหลัง ควรสอดคล้องวิถีชีวิต-หลักสากล

สมาคมสื่อ MEDIA ASSOCIATION FOR SOCIETY OFFICE ร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการบุหรี่ไฟฟ้ากับอนาคตของประเทศ พร้อมจัดอบรมในวันนี้ (7 มี.ค.66) ณ ห้องประชุมกานเฉ่า ชั้น ๒ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมี อาจารย์อับดุลฮาลีม อาแด อาจารย์ประจำสาขาการสอนอิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นผู้นำบรรยาย และ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ร่วมวิดีโอคอล งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการบุหรี่ไฟฟ้ากับอนาคตของประเทศไทย ทั้งนี้มีเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 60 คนเข้าร่วมกิจกรรม 

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า "ผมในนามกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีได้เข้าร่วมพูดคุย โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการบุหรี่ไฟฟ้ากับอนาคตของประเทศไทย ซึ่งผมก็ได้ติดตามมามาพอสมควรช่วงที่ตนเองเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีดิจิทัลฯ ในช่วงแรกได้มีการดำเนินคดีกับสิ่งผิดกฎหมายบนออนไลน์ ซึ่งหนึ่งในนั้นมี “บุหรี่ไฟฟ้า” ที่ผิดกฎหมาย พบว่าการจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ ตามสื่อ Social เป็นจำนวนมาก

ต่อมาเมื่อตนเองได้ศึกษาประเด็นดังกล่าวและได้มีประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เข้าพบเพื่อถกประเด็นดังกล่าวกับตนเองจึงพบว่ามี “ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า” ในประเทศไทยน่าจะทำให้ถูกกฎหมาย เนื่องจากมีผู้ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีคนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริง และจากการพิสูจน์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ยุโรป, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา เป็นต้น มีการอนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกฎหมายได้ แต่ในประเทศไทยยังผิดกฎหมาย เป็นเรื่องที่ขัดกับวิถีชีวิตและหลักสากล ทำให้ควบคุมได้ยากมาก คนหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่เชื่อว่าบุหรี่มวนอันตรายและไม่อยากสูบบุหรี่จริง และที่สำคัญมีการลักลอบขายกันจนมาก จนคิดว่าเป็นเรื่องที่ ดัดจริต ที่ว่าสูบไม่ได้ แต่ก็เห็นสูบกันกันทั่วไป 

ดังนั้นตนเองจึงอยากเห็นงานเสวนาในครั้งนี้หารือแนวทางผลักดันบุหรี่ไฟฟ้าให้เข้ามาอยู่ในระบบให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยดูว่ามีประเด็นติดขัดเรื่องอะไรบ้าง เพื่อรวบรวมความเห็นจากหลากหลายกลุ่ม ในการพัฒนาเป็นกฎหมายที่คุ้มครองวิถีชีวิตคนไทยต่อไป สุดท้ายนายชัยวุฒิได้เน้นย้ำว่า บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่คิดว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริงก็ให้พวกเขาได้ใช้ ซึ่งมีจำกัดทางกฎหมาย ทำให้เราไม่สามารถแก้ปัญหาเปลี่ยนส่วยเป็นภาษีได้ ในขณะที่บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย แต่เราสูบอย่างอื่นได้มีหลายอย่างที่อันตรายกว่า ทั้งที่บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า กลับไม่ให้บริโภค ทางรัฐบาลและผมเองก็เห็นว่าหลายสิ่งหลายอย่างในประเทศไทยมีข้อจำกัด เรื่องกฎหมายที่ล้าสมัย นำมาปฏิบัติจริงไม่ได้ ขัดกับวิถีชีวิตของประชาชน  การสัมมนานี้จะช่วยให้เกิดประเด็นในสังคมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 
 

กฎหมายต้องไม่ล้าหลัง!! ‘ชัยวุฒิ’ ชี้ ปิดกั้นบุหรี่ไฟฟ้าต่อไปไม่ได้แล้ว ย้ำชัด ถึงเวลาทำให้ถูก กม. ช่วยแก้ปัญหารีดส่วย

ชัยวุฒิ’ ซุ่มร่วมเวทีเสวนา กัญชาเสรีแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมายยัง? ย้ำกฎหมายต้องไม่ล้าหลัง

วันนี้ (8 มีนาคม 2566), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตจังหวัดปทุมธานี - นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ กัญชาเสรีแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมาย หรือยัง?โดยผู้จัดงานได้กล่าวว่า ปัจจุบันได้เกิดข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในประเด็นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าหลังจากที่มีการประกาศห้าม การนําเข้าและครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าออกมาจากทางรัฐบาล โดยมีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย ที่ว่า บุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์การสูบชนิดหนึ่งที่มีสารเคมีต่าง ๆ ผสมอยู่ซึ่งให้โทษต่อผู้ที่สูบไม่น้อยกว่าบุหรี่มวน อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน เนื่องจากผิดกฎหมาย แต่ก็ยังพบเห็นการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะกันทั่วไปทั้งในและนอก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ขณะที่ นายชัยวุฒิ ได้แสดงความเห็นว่า อยากให้มีการจัดงานเวทีเสวนาแบบนี้ เพื่อส่งเสียงของประชาชนให้ถึงผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ตนเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารที่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น นิโคตินต่อร่างกาย แต่หากคิดในมุมอันตรายต่อร่างกายอย่างเดียวหลายเรื่องก็ไปไหนไม่ได้ เพราะภายในกาแฟก็มีคาเฟอีน ซึ่งหากดื่มมาก ๆ ก็เป็นอันตรายต่อร่างกายเหมือนกัน แต่เราควรมองในมุมที่ว่าหากต้องการเลิกสูบบุหรี่จริง แล้วต้องการหาบุหรี่ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ตนจึงอยากให้สิ่งนี้ถูกกฎหมาย  

โดยนายชัยวุฒิ ได้เน้นย้ำว่า “เราต้องยอมรับว่าการปิดกั้นบุหรี่ไฟฟ้าต่อไปมันล้มเหลวโดยสิ้นเชิง” ไม่สามารถที่จะตรวจสอบการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าได้ เกิดการรับส่วยเป็นระบบขบวนการ นอกจากนี้นายชัยวุฒิได้แจ้งต่อว่ายังมีฏหมายอีกหลายอย่างที่ล้าหลังที่ประเทศไทยต้องปรับ เช่น การซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เดลิเวอรี่ หรือ การพนันออนไลน์ที่คนไทยมีการเล่นพนันจริง ๆ แต่เราไม่สามารถปิดกั้นได้ เพราะผู้ให้บริการเปิดระบบข้างนอกประเทศไทย แล้วทำไมเราไม่ลองทำของเราเอง ดังนั้นจึงอยากฝากให้ทุกคนช่วยกันส่งเสียงเรื่องที่ควรแก้ไขให้มีการปรับปรุงต่อไป 

‘ตัวแทนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า’ ยื่นหนังสือร้องถึง พปชร. เร่งแก้กฎหมาย - ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน

(9 มี.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ทีมโฆษกพรรคพลังประชารัฐ รับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า พร้อมนายศิระ อวยศิลป์ หัวหน้าพรรคไทยเป็นหนึ่ง ยื่นหนังสือต่อ เพื่อให้ทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม

นายรัฐภูมิ ระบุว่า พรรคไทยเป็นหนึ่ง ได้ส่งเรื่องให้กับพรรคพลังประชารัฐ ช่วยผลักดันการจำหน่าย และใช้บุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย เพราะมีประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก เมื่อใช้แล้วก็ถูกจับ อีกทั้งข้อกฎหมายบางข้อไม่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน

นายศิระ กล่าวว่า เรากำหนดนโยบายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามกฏหมายตั้งแต่เริ่มตั้งพรรค และนโยบายของเราได้รับสนับสนุนจากกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า เห็นว่านายชัยวุฒิ จะเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ ตนมีนโยบายคล้ายกัน จึงอยากจะร่วมผลักดันให้เรื่องนี้ถูกต้องตามกฏหมาย หากบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย จะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้า ทำให้ไม่เกิดผลเสียหรือผลกระทบ พรรคพลังประชารัฐและพรรคไทยเป็นหนึ่ง มีจุดยืนร่วมกัน เป็นโอกาสดีที่จะให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาพบกันแล้วคุยกับข้อเรียกร้องต่าง ๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top