Sunday, 12 May 2024
บุหรี่ไฟฟ้า

‘บุหรี่ไฟฟ้า’ อาจช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้!! ถึงแม้ว่าผู้สูบจะไม่ได้ตั้งใจเลิกก็ตาม

ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์โดย JAMA Network Open พบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันช่วยกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่ค่อย ๆ เลิกสูบบุหรี่ได้ แม้ว่าพวกเราจะไม่มีแผนที่จะเลิกบุหรี่ก็ตาม

ข้อมูลจากกลุ่มผู้สูบบุหรี่จำนวน 1,600 คน ที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษาวิจัย โดย 28% ของผู้สูบบุหรี่ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน สามารถหยุดสูบบุหรี่แบบเดิม ๆ ได้ภายใน 12 เดือน ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน สามารถเลิกสูบบุหรี่แบบธรรมดาได้เพียง 6%

นักวิจัยกล่าวว่า จากการศึกษาผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายวันมีโอกาสเลิกบุหรี่แบบเดิม ๆ ได้ถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน

คาริน คาสซา นักวิทยาศาสตร์ จากศูนย์วิจัยและรักษามะเร็งครบวงจร รอสเวล พาร์ค ในบัฟฟาโล นิวยอร์ก และผู้ร่วมทำการวิจัยกล่าวว่า "ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันอาจทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่แบบธรรมดาเป็นประจำทุกวัน มีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้ ซึ่งถือเป็นหนทางที่ดีในการเลิกบุหรี่ เนื่องจากผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าตระหนักว่าพวกเขาสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องสูบบุหรี่เพราะได้รับนิโคตินจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว”

ตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค มีผู้สูบบุหรี่เป็นประจำในสหรัฐอเมริกาประมาณ 45 ล้านคน รวมถึงวัยรุ่น วัยกลางคน และเด็กมัธยมประมาณ 5 ล้านคน จากการประเมินระบุว่า 1 ใน 4 ของผู้สูบบุหรี่กลุ่มนี้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า

นอกจากนี้การศึกษาถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ของบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ด้วยผลลัพธ์ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่นงานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้ผู้ใหญ่เลิกบุหรี่ได้ แต่อาจทำให้คนหนุ่มสาวเริ่มติดบุหรี่ไฟฟ้าได้

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ คาสซาและทีมได้ทำการศึกษาผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีผลกระทบต่อผู้ที่สูบบุหรี่ทุกวันและไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า และไม่มีแผนที่จะเลิกสูบบุหรี่ในช่วงเริ่มต้นของการวิจัย จากกลุ่มผู้ใหญ่เกือบ 2,500 คน โดย 38% ของผู้เข้าร่วมสูบบุหรี่ 20 ถึง 29 มวนต่อวัน และ 13% สูบบุหรี่ 30 มวนขึ้นไปต่อวัน โดยผู้เข้าร่วมเกือบ 2,300 คนเริ่มใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ทุกวันในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา ขณะที่ส่วนที่เหลือไม่ได้ใช้ เมื่อสิ้นสุดโครงการนักวิจัยพบว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพียง 6% เท่านั้นที่เลิกสูบบุหรี่ได้

 

ดีอีเอส เร่งเครื่องปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้า ส.ส. ก้าวไกล - เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าหนุน 

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าหนุน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ตั้งคณะทำงานศึกษาปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้า ชี้ผลดีในการเก็บภาษีเข้าประเทศและให้ทางเลือกกับประชาชนในแง่การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ ชี้ชัดโลกเทรนด์โลกเปลี่ยนไป จับเท่าไหร่ก็ไม่หมด ประเทศชาติเสียประโยชน์ทั้งด้านสาธารณสุขและด้านภาษี และเปิดให้ผู้สนับสนุนร่วมกันลงชื่อเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม 

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ” (ECST) และเฟซบุ๊กเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 1000,000 คน เผยหลังพบกับ รมต. ดีอีเอส ว่า “พวกเราสนับสนุนความตั้งใจของ รมต. ชัยวุฒิ ในการตั้งคณะทำงานที่เป็นกลางเพื่อศึกษาทางเลือกในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบถูกกฎหมาย เช่นเดียวกับที่มีการปลดล็อกกระท่อมและกัญชา ทั้งที่เป็นยาเสพติดมาก่อน และหวังว่าการตั้งคณะทำงานในครั้งนี้จะมีความโปร่งใส เปิดรับฟังเสียงจากประชาชนอย่างแท้จริง และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล เราเชื่อว่าการปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้าและนำมาควบคุมให้ถูกกฎหมายจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดอัตราการสูบบุหรี่ ช่วยให้คนในสังคมห่างไกลอันตรายจากควันบุหรี่ ป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนได้ และกรมสรรพสามิตสามารถเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษที่อัตราการสูบบุหรี่ลดลงได้ เพราะมีการสนับสนุนให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้นิวซีแลนด์และฟิลิปปินส์ที่ต้องการลดปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศ ก็ได้ร่างกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบไร้ควันให้แตกต่างจากการควบคุมบุหรี่และไม่แบนด้วย” นายอาสา ศาลิคุปต กล่าว 

ผลวิจัย “บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเซ็กส์เสื่อม” ไม่ถูกต้อง เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าโวย ให้ข้อมูลผิด อันตรายยิ่งกว่า

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ECST เผยแพทย์ออสซี่ โต้ข้อสรุปว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงเซ็กส์เสื่อมไม่ถูกต้อง ชี้การวิจัยไม่ได้แบ่งกลุ่มผู้ทำการศึกษาว่าเป็นผู้สูบบุหรี่มาก่อนหรือไม่ วอนกลุ่มต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าเลิกให้ข้อมูลที่ผิดๆ กับสังคมหรืออ้างงานวิจัยแค่ฉบับเดียวมาทำข่าว เพราะจะทำให้คนใช้บุหรี่ไฟฟ้าหันกลับไปสูบบุหรี่อีก ซึ่งอันตรายกว่าเดิม แนะนโยบายบุหรี่ไฟฟ้าไทยควรขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ถูกต้องดีกว่าการสร้างความหวาดกลัว

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” หรือ ECST และแอดมินเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน กล่าวว่า “ผลวิจัยที่สรุปว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ถูกต้อง ซึ่ง ดร.คอลิน เมนเดลซอห์น แพทย์ชาวออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่ ชี้แจงว่าความจริงแล้วอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากผู้ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน แต่งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้มีการแยกกลุ่มตัวอย่างเป็นคนที่สูบบุหรี่อย่างเดียว คนที่เลิกสูบบุหรี่แล้วเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า และคนที่ใช้แต่บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้การสรุปผลมีความคลาดเคลื่อนได้”

ดร. เมนเดลซอห์น ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างแผนควบคุมบุหรี่แห่งชาติของออสเตรเลีย ยังเสริมว่าการศึกษานี้สอบถามผู้ชายจำนวน 13,700 คนซึ่งมีเพียง 4.8% เท่านั้นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า แต่การศึกษานี้มีข้อที่กังขาหลายประการ อันดับแรก รูปแบบการศึกษาที่เป็น cross sectional study ที่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ไม่ได้เป็นการทำการทดลองเพื่อหาความสัมพันธ์กัน อีกทั้งไม่มีการเปรียบเทียบอัตราการเกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) ในกลุ่มผู้ใข้บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่เคยสูบบุหรี่ กับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน เพื่อดูว่าแนวโน้มการเกิดอาการ ED ที่มากขึ้น นั้นที่แท้แล้วมาจากการสูบบุหรี่หรือเปล่า และอีกประการคือการศึกษายังพบว่าอัตราการเกิด ED ในผู้ชายที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่มีสัดส่วนที่พอกัน ซึ่งน่าแปลกใจ เพราะเป็นทราบกันดีอยู่แล้วว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

โต้งานวิจัย! “บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่” มั่วนิ่ม!! ยกตัวอย่างอังกฤษและผู้ใช้ตัวจริงในไทย หยุดสูบบุหรี่ได้จริง เพราะบุหรี่ไฟฟ้า!!

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ECST โต้ผลการศึกษาจากการสังเกตการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาที่ตีพิมพ์ในวารสาร บีเอ็มเจ มีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด ทำให้ข้อสรุปไม่ถูกต้อง ชี้อังกฤษยังยืนยันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่ไฟฟ้า แนะการให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่างานวิจัยชิ้นเดียว

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนกลุ่มลาขาดควันยาสูบ หรือ ECST (Ends Cigarette Smoke Thailand) และแอดมินเพจ บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไรที่มีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน เผยว่า “ผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งอังกฤษออกมาชี้แจงว่างานวิจัยสถาบันมะเร็งมอเรส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้น้อยกว่าการใช้นิโคตินทดแทนมีวิธีทำการวิจัยที่ยังไม่ถูกต้อง ทำให้ได้ข้อสรุปขัดแย้งกับการศึกษาในผู้ใช้จริง (การศึกษาทางคลินิก) ซึ่งมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยสำหรับผู้อยากเลิกบุหรี่มวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ เอฟเฟกต์ทีฟ ควิทติ้ง เอด (effective quitting aids) และทางหน่วยงานสุขภาพระดับชาติของอังกฤษก็รับรองผลและชี้แนะว่าควรนำไปใช้ด้วย”

คำชี้แจงดังกล่าวของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ จอห์น บริตตัน จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ได้รับการเผยแพร่ในนิตยสารทางการแพทย์ Science Medical Centre โดยระบุว่า “ผลการศึกษาจากการสังเกตการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าและการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกามีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด เพราะเป็นการพิจารณาตัวแปรที่สุดโต่ง คือในผู้สูบบุหรี่ที่เสพติดขั้นรุนแรง และผู้สูบบุหรี่ที่ขาดแรงจูงใจในการพยายามเลิกหรือลดการเสพติดบุหรี่มวน หรือผู้ที่เคยล้มเหลวจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเพื่อเลิกบุหรี่มาก่อนแล้ว จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลวิจัยไม่เห็นความสำเร็จในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (clinical trials) ที่มีการออกแบบการทดลองอย่างรอบคอบ ภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบคำถามว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้ผู้เสพติดบุหรี่ที่มีสารอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าได้จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ศ.กิตติคุณ บริตตัน ยังระบุว่าข้อสรุปจากการวิจัยทางคลินิกที่แสดงผลชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือช่วยบำบัดผู้อยากเลิกบุหรี่มวนได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การปรับนโยบายสาธารณสุขของทางฝั่งอังกฤษ ที่ได้รับรองการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และมีคำแนะนำการใช้ที่เหมาะสมไว้ใน คู่มือการเลิกบุหรี่ หรือไกด์ไลน์ฉบับล่าสุดปี 2021 ของสถาบันสุขภาพและการดูแลสุขภาพแห่งชาติ ของสหราชอาณาจักร หรือ NICE  (UK National Institute for Health and Care Excellence)

 

เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้าร่อนจดหมายโต้กรมควบคุมโรค แจง “10 เหตุผล” ไทยควรปลดล๊อคบุหรี่ไฟฟ้า

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ECST” เผย 10 เหตุผลไทยไม่ควรแบนบุหรี่ไฟฟ้า ชี้รณรงค์เลิกบุหรี่มานาน แต่ไม่ได้ผลเพราะยังมีคนจำนวนมากที่ไม่อยากเลิก แนะดูตัวอย่างอังกฤษ อเมริกา กรีซ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ที่ให้ทางเลือกผู้สูบบุหรี่พร้อมกับควบคุมได้ดีจึงไม่มีปัญหาการใช้ในเด็กและตลาดใต้ดิน

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า หรือ ECST และเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 102,000 ราย เผยว่า กรมควบคุมโรคยังคงใช้ข้ออ้างเรื่องอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าและการป้องกันเด็ก รวมถึงความไม่พร้อมด้านงบประมาณ เพื่อให้คงการแบนบุหรี่ไฟฟ้าไว้ โดยไม่มองความก้าวหน้าของเทคโนโลยี วิธีควบคุมของต่างประเทศ และความต้องการของผู้สูบบุหรี่ ทำให้มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพและบังคับใช้จริงไม่ได้ เพราะเราก็ยังเห็นกันอยู่ว่ายังมีคนใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าเราจะห้ามนำเข้าและจำหน่ายมา 7-8 ปีแล้ว 

สำหรับในประเทศไทย เรามีแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติฉบับแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 แต่เรากลับพลาดเป้าหมายในการลดอัตราผู้สูบบุหรี่ที่ตั้งไว้มาโดยตลอด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีเพิ่งผ่านร่างแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565-2570 โดยพุ่งเป้าที่การดำเนินงานตาม 6 ยุทธศาสตร์เดิม ภายใต้เงินงบประมาณ 498 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ให้เหลือไม่เกิน 14% โดยไม่ยอมรับความจริงว่าคนที่สูบบุหรี่กว่า 52% จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติไม่เคยคิดที่จะเลิกบุหรี่เลย ทำให้มาตรการและการรณรงค์ที่ผ่านมาแทบจะไม่ตอบโจทย์ผู้สูบบุหรี่ ดังนั้น หากประเทศไทยจะยังคงทำตามแนวทางเดิม โดยไม่พิจารณาวิธีการใหม่ เราก็คงจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ต่างจากเดิม

เครือข่ายฯ ยังได้เผยแพร่ 10 เหตุผลที่บุหรี่ไฟฟ้าควรได้รับการควบคุมอย่างถูกกฎหมายตอบโต้ข้อมูลที่กรมควบคุมโรคได้เคยชี้แจงไว้ก่อนหน้า มีดังนี้ 1. ประเทศส่วนใหญ่ในโลกกว่า 79 ประเทศเลือกที่จะควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมายแทนที่จะแบน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่ามีเพียง 32 ประเทศเท่านั้นที่แบนผลิตภัณฑ์ ENDS ขณะที่อีก 79 ประเทศมีมาตรการควบคุมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กำหนดอายุผู้ซื้อ ห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์ และอีก 84 ประเทศที่ยังไม่มีนโยบายใด ๆ 2. ประชาชนควรมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายน้อยกว่า 3. การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมายช่วยแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น การจับกุมรีดไถ และขจัดธุรกิจใต้ดินที่มีมูลค่ามหาศาล 4. บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นต้นทางของการสูบบุหรี่ธรรมดาของเด็กและเยาวชน ดูได้จากประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าสามารถขายได้ถูกต้องตามกฎหมาย จำนวนเด็กและเยาวชนที่สูบบุหรี่กลับไม่ได้เพิ่มขึ้น

ผลวิจัยชี้ 'สูบบุหรี่ไฟฟ้า' เสี่ยงเบาหวานเพิ่ม 22% อันตรายเท่าสูบ 'บุหรี่' ธรรมดา 

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยงานวิจัยใหม่จาก มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ที่พบว่า “การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนเบาหวาน หรือ Prediabetes” โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการใช้ข้อมูลสำรวจสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนอเมริกา (Behavioral Risk Factor Surveillance System Survey : BRFSS) ซึ่งถือว่าเป็นการสำรวจที่ใหญ่ที่สุดมีกลุ่มตัวอย่างกว่า 600,000 คนทั่วประเทศ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการ สูบบุหรี่ไฟฟ้า กับภาวะก่อนเบาหวาน (การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแต่ยังไม่เข้าเกณฑ์ของโรคเบาหวาน)

ซึ่งผลการศึกษาพบว่า คนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีความเสี่ยงต่อการมีระดับ น้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติหรือภาวะก่อนเบาหวานเพิ่มขึ้น 22% ส่วนในคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยที่ไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ธรรมดามาก่อนเลย ยิ่งพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 54% โดยคนที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน มีแนวโน้มสูงที่จะเป็น เบาหวาน ในอนาคต

งานวิจัยใหม่เมืองผู้ดียัน บุหรี่ไฟฟ้าไม่ทำคนสูบบุหรี่เพิ่มเครือข่ายฯ แนะยิ่งปล่อยใต้ดิน ยิ่งคุมลำบาก  

เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเผยผลศึกษาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในคนวัยหนุ่มสาวของอังกฤษ ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราการสูบบุหรี่ ชี้อังกฤษมีมาตรการควบคุมที่ดีทำให้จำกัดการใช้อยู่ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ได้ ขณะที่ไทยยังปล่อยให้บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายแต่กลับเติบโตอย่างมากในตลาดใต้ดิน ทำให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น ยากต่อการควบคุม

นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” และเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าล่าสุดที่ทำในประเทศอังกฤษ ว่า “งานวิจัยล่าสุดของอังกฤษชี้ชัดว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ทำให้คนหันมาสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น หมายความว่าข่าวที่เรามักจะอ่านเจอว่าต้องแบนบุหรี่ไฟฟ้า​ เพราะจะยิ่งทำให้คนไทยสูบบุหรี่มากขึ้นนั้นไม่จริง ตรงกันข้าม อังกฤษกลับยืนยันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำที่มีอายุระหว่าง 16 ถึง 24 ปี นั่นหมายความว่า เราสามารถตัดข้ออ้างบุหรี่ไฟฟ้าทำให้คนมาสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นออกไปได้เลย”

การศึกษาดังกล่าว จัดทำโดยคณะผู้วิจัยจากสถาบันระบาดวิทยาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ “Addiction” ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในคนหนุ่มสาว เปรียบเทียบกับอัตราการสูบบุหรี่ที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้สูบบุหรี่เป็นประจำรวมถึงผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนด้วย โดยคณะผู้วิจัยให้เหตุผลว่า ถ้าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นการดึงดูดให้คนหันมาสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจริง จะต้องเห็นอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งผลการวิจัยสรุปชัดเจนว่า อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำในระหว่างปี 2007-2018 ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ อายุระหว่าง 16 ถึง 24 ปี

นอกจากนี้ หนึ่งในทีมวิจัยเห็นว่า หากพิจารณาความเป็นไปได้แบบสุดโต่งจะคาดการณ์ได้ว่า จากจำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีอายุระหว่าง 16​ - 17 ปีในอังกฤษทั้งหมด 74,000 คน อาจมีผู้ใช้ 7,000 คนหันมาสูบบุหรี่ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีผู้สูบบุหรี่ถึง 5 หมื่นคนต่อปีจะเลิกสูบบุหรี่เพราะการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ชาวเน็ตซัดแรง ค้านอนุทินแบนบุหรี่ไฟฟ้า ส.ส. ก้าวไกลหนุนปลดล็อคให้ถูกกฎหมาย

หลังมีข่าวนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แสดงจุดยืนไม่ดันบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ชาวเน็ตจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง เข้าไปแสดงความคิดเห็นในเพจต่างๆ ที่เสนอข่าวดังกล่าว โดยให้ความเห็นว่าการแบนบุหรี่ไฟฟ้าเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับหลายประเทศที่เริ่มให้ความสำคัญกับการออกนโยบายสุขภาพจากพื้นฐานของข้อมูลวิชาการที่ชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงน้อยกว่าบุหรี่มวน บางส่วนก็ตั้งคำถามถึงเรื่องของผลประโยชน์ และความตั้งใจในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพของ รมต. สาธารณสุข ซึ่งสนับสนุนการปลดล็อคกัญชา แต่กลับแบนบุหรี่ไฟฟ้า ขณะที่บุหรี่ซึ่งอันตรายกว่าและโรงงานยาสูบยังขายได้ตามปกติ
โดยความคิดเห็นของนายสมบัติ ระบุว่า “แน่จริงปิดโรงงานยาสูบครับ”
 
ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือดว่า “รอแบ่งเค้กกันก่อนครับ ประเทศนี้ถูกกฎหมายได้ทุกอย่าง ถ้าแบ่งเค้กกันลงตัวแล้ว”
 
ขณะที่บัญชีเฟซบุ๊กรายอื่นๆ คอมเม้นท์ว่า “มีขายเต็มไปหมด มีแต่ท่านๆๆ นั้นล่ะครับหาชื้อไม่ได้ ไม่รู้ว่าใครขาย”
“ที่กัญชาใบกระท่อมทำให้ถูกกฎหมายได้ นายทุนรวยกันเป็นแถบๆ บุหรี่ไฟฟ้าน่าจะทำ จะได้ภาษีมาอีกหลายเลยนะ”
“ช่วยบอกโทษของบุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่ธรรมดาให้ฟังหน่อยครับว่าต่างกันยังไง ทำไมอันหนึ่งขายได้อีกอันขายไม่ได้”
“บุหรี่ที่ถูกกฎหมาย​ตอนนี้กับบุหรี่ไฟฟ้าที่ผิดกฎหมาย​ อันไหนโทษรุนเเรงต่อสุขภาพมากกว่ากันครับ แต่ภาษีที่ได้จากบุหรี่ มันมากมายมหาศาล..จึงยอมแลกกับชีวิตประชาชน”
“แล้วแต่ทินเลย กันชา ใบท่อม ทินดันให้ถูกกฎหมาย แต่บุหรี่ไฟฟ้า ทินบอกอันตราย”
 
ด้านนายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ” และเฟซบุ๊กเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เผยว่า “ผิดหวังกับจุดยืนของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ที่ไม่สนับสนุนการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกกฎหมาย ทั้งๆ ที่นโยบายของพรรคภูมิใจไทยสนับสนุนการปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติด และให้มีกฎหมายควบคุมการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการแพทย์ และวิสาหกิจชุมชน แต่ยังหวังว่านายอนุทินจะเปิดใจศึกษาข้อมูลทางวิชาการของบุหรี่ไฟฟ้า เช่นเดียวกับเมื่อครั้งผลักดันนโยบายกัญชาเสรี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของหลายๆ ประเทศที่ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกกฎหมาย”

'เท่าพิภพ' อึ้ง!! เจอต่างชาติถาม ไทยแบนบุหรี่ไฟฟ้า แต่ทำไมกัญชาเสรี

​ส.ส.เท่าพิภพ ชี้ชาวต่างชาติตั้งคำถามกับกฎหมายไทย เมื่อกัญชาถูกกฎหมาย ในขณะที่บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ด้านชาวเน็ตเข้ามาสนับสนุนอยากเห็นนโยบายที่ก้าวหน้า

​นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา เนื้อความเชิงตั้งคำถามถึงเหตุผลของการที่กฎหมายไทยกำหนดให้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ขณะที่บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ซึ่งเจ้าตัวระบุว่า นี่เป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติต่างก็สงสัย แต่เจ้าตัวไม่สามารถให้คำตอบหรือเหตุผลได้

​“คนมาเล งง ว่าที่ไทยกัญชาถูกกฎหมาย แต่ vape กับบุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมาย ร้องถามว่า Why? กันหมด ผมก็ไม่รู้จะตอบยังไงอะครับ”

​ข้อความดังกล่าวมีการรีทวิตต่อกันไปกว่า 1.8 พันครั้ง ด้านผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมากต่างก็เข้ามาสนับสนุนและตั้งคำถามถึงเรื่องผลประโยชน์ของรัฐบาลที่ยังทำให้บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่สามารถขายได้ รวมถึงมีการเชื่อมโยงไปถึงกรณี พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า และ sex toy และหวังให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกรอบความคิดเดิม ๆ และก้าวไปข้างหน้า รวมถึงอ้างอิงถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ที่เพิ่งออกกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพและป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชนอีกด้วย

นายกฯ สั่ง 4 หน่วยงานพิจารณาข้อมูลการแบนบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าย้ำต้องฟังเสียงประชาชน

ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเฮ! หลังนายกฯ สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และกรมสรรพสามิต ทบทวนประเด็นการห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ผู้แทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ “ECST” และแอดมินเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนรายเผยภายหลังได้รับหนังสือตอบกลับจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ว่า “ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของประชาชนคนไทย โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่กว่า 9.9 ล้านคนที่อาจต้องเสียชีวิตถึงปีละกว่า 7 หมื่นคนเพราะควันจากการเผาไหม้ของการสูบบุหรี่ และไม่ทอดทิ้งผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่า 5 แสนคนในปัจจุบัน”

“จดหมายสั่งการจากนายกรัฐมนตรีฉบับนี้เป็นสัญญาณอันดีที่แสดงให้เห็นถึงการเปิดรับฟังเสียงของประชาชนอย่างรอบด้านของท่านนายกฯ มากกว่ารับฟังข้อมูลจากนักวิชาการและแพทย์บางกลุ่มฝ่ายเดียว เพราะที่ผ่านมา การแบนบุหรี่ไฟฟ้าเกิดจากการผลักดันของเอ็นจีโอและแพทย์ที่รับทุน จาก สสส. โดยไม่ได้มีการทบทวนผลกระทบและประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งที่ประเทศไทยมีการแบนบุหรี่ไฟฟ้ามาแล้ว 8 ปี แต่คนใช้เพิ่มมากขึ้นกว่า 600% แถมรัฐบาลยังไม่สามารถป้องกันการเข้าถึงของเยาวชนได้จริง ไม่สามารถเก็บภาษีและควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยให้ประชาชนได้ ในขณะที่การลักลอบซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ก็มากขึ้นและยังทำให้เกิดปัญหาการจับกุมรีดไถและการคอรัปชั่น แสดงถึงความล้มเหลวของมาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้า”

รายละเอียดในหนังสือฉบับดังกล่าวระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลและได้สั่งการเรื่องดังกล่าว หลังจากก่อนหน้านี้มีกลุ่มแพทย์นำเสนอข้อมูลแต่เพียงด้านเดียวต่อท่านนายกฯ เพื่อให้คงการแบนบุหรี่ไฟฟ้าไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ส่งเรื่องให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง พิจารณาและรายงานผลกราบเรียนนายกรัฐมนตรี
2. มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้แทนกลุ่ม ECST เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top