Wednesday, 15 May 2024
ค่าไฟแพง

การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง “สำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็น” วาทกรรมฮิตใช้โจมตีรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย หากสำรองไฟฟ้าไว้ไม่เพียงพอ

ประเด็น ‘ค่าไฟฟ้าแพงมหาโหด’ กลายเป็นข่าวใหญ่ของสื่อหลายสำนัก เป็นประเด็นหาเสียงของนักการเมืองและพรรคการเมือง และถูกหยิบยกขึ้นมาโจมตีของนักเคลื่อนไหว โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นคือจัดให้มีกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นประเด็นที่ใช้โจมตีว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรองกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เป็นจำนวนมาก เป็นพฤติกรรมและพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุนพลังงาน กระทั่งมีคนบางพวกบางกลุ่มกล่าวหาว่า มีการสมรู้กันทุจริตฉ้อโกงประเทศชาติและฉ้อโกงประชาชนด้วยการกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองมากจนล้นเกิน

ทำไมประเทศไทยจึงต้องจัดให้มีกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เป็นจำนวนมาก? เพราะหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนย่อมต้องทราบดีว่าแต่ละปี แต่ละห้วงเวลา ประเทศไทยต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องเตรียมกระแสไฟฟ้าปริมาณเท่าใด เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ของผู้บริโภคในทุกฤดูกาล เมื่อประเทศจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าและจำเป็นต้องมีการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ให้เพียงพอต่อการใช้สอยโดยไม่ขัดสน ซึ่งปริมาณการสำรองที่พอเหมาะพอดีจะมีผลต่อประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำกำไรของการประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับไฟฟ้า ซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้สติปัญญาความสามารถและเปี่ยมด้วยความรับผิดชอบจึงจะสามารถรักษาประโยชน์แห่งรัฐและองค์กร ตลอดจนประโยชน์ของประชาชนได้ 

เพราะหากการสำรองกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้แล้วก็จะเกิดผลกระทบต่อการให้บริการแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะถ้ากระทบต่อการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็จะกลายความเสียหายมากมาย ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากมีการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้จนมากเกินต่อความจำเป็น และเกินกว่าอัตรามาตรฐานปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ควรสำรอง ก็จะเกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน เพราะทุกจำนวนที่มีการสำรองกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้จำหน่าย ไม่ว่าจะมีการใช้กระแสไฟฟ้านั้นหรือไม่ก็ตาม เพราะปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุดย่อมต้องทราบดีอยู่แล้ว เพราะสถิติบันทึก จึงสามารถประมาณการความต้องการกระแสไฟฟ้าได้ 

‘การสำรองไฟฟ้า’ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ
1. กำลังผลิตสำรองของระบบผลิตไฟฟ้า (Standby Reserve) เป็นโรงไฟฟ้าสำรองตามแผนการผลิตไฟฟ้า โดยมาตรฐานสากลจะกำหนดไว้ราว 15 เปอร์เซ็นต์ ของความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเนื่องจากในการวางแผนการผลิตไฟฟ้า จะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างรอบคอบ อาทิ ความต้องการไฟฟ้าที่อาจเพิ่มสูงกว่าการพยากรณ์ การหยุดซ่อมโรงไฟฟ้า การเสื่อมสภาพของโรงไฟฟ้า ความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิง ข้อจำกัดของระบบส่งในแต่ละพื้นที่ และลักษณะทางเทคนิคของ โรงไฟฟ้าแต่ละประเภท

2. กำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย (Spinning Reserve) เป็นกำลังผลิตสำรองจากโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องอยู่ หรือ สามารถ สั่งเพิ่มการจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีที่ระบบมีความต้องการ ซึ่งตามมาตรฐานจะอยู่ที่ 800-1,600 เมกะวัตต์ หรือ อย่างน้อยมากกว่า กำลังผลิตของโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุด เพื่อรองรับหากเกิดเหตุการณ์ขัดข้องที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่ เช่น กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติก็สามารถสั่งจ่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทันที ป้องกันปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ ซึ่งอาจลุกลามจนเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง (Blackout) ได้

อย่างไรก็ตาม ‘การสำรองไฟฟ้า’ ในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันขึ้นกับเงื่อนไขและฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีเสถียรภาพด้านพลังงานไฟฟ้าจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการค่อนข้างสูง โดย กฟผ. ได้ศึกษาระบบการผลิตไฟฟ้าของหลายประเทศเอาไว้ ดังนี้ (ข้อมูลของปี พ.ศ. 2563)

-สเปน มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 100% เทียบกับ ค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 80% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 180%

-อิตาลี มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 81% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 55% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 136%

-โปรตุเกส มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 65% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 65% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 130%

-เดนมาร์ค มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 32% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 98% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 130%

-เยอรมนี มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 13% เทียบกับ ค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบอีก 98% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 111%

-เนเธอร์แลนด์ มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 65% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 28% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 93%

-สวิสเซอร์แลนด์ มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 81% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 11% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิต ที่มากกว่าความต้องการ 92%

-จีน มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 68% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 23% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 91%

-ออสเตรเลีย มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 44% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 21% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 65%

-สวีเดน มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 36% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 21% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการ 57%

-มาเลเซีย มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 47% เทียบกับค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 4% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 51%

-ไทย มีกำลังผลิตที่มากกว่าความต้องการที่ใช้รักษาความมั่นคงของระบบ (Firm) 22% เทียบกับ ค่าวางแผนที่ 15% และมีพลังงานทดแทนเสริมเข้ามาในระบบ 17% ทำให้โดยรวมมีกำลังผลิตที่มากกว่า ความต้องการ 39% 
(ที่มา : The Bangkok Insight)

‘ไพบูลย์’ แจง อยู่คนละพรรคกับ ‘ลุงตู่’ ไม่รู้ไม่เห็นเรื่องค่าไฟแพง แต่ยืนยัน!! หาก ‘พปชร.’ เป็น รบ.จะลดค่าไฟเหลือ 2.50 บาท ทันที

(21 เม.ย. 66) นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้กล่าวถึง กรณีที่ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดว่า พรรคพลังประชารัฐนั้นมีส่วนร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการทำให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งนายไพบูลย์ ก็ได้ออกมาชี้แจงอย่างชัดเจน โดยมีใจความว่า…

กกต.ไม่ขัด!! หาก ‘นายกฯ’ ชงงบแก้ 'ค่าไฟแพง' ด้าน 'สมชัย' ขวาง!! กกต.ไฟเขียว มีสิทธิ์ติดคุก

(21 เม.ย.66) จากกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าว่าจะต้องขออนุมัติจาก กกต. เนื่องจากเป็นการใช้งบประมาณในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ด้านพันตำรวจตรีณัฐวัตน์ เสงี่ยมศักดิ์ รองเลขาธิการฯ ด้านกิจการพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระบุว่า เรื่องดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมาย หากเรื่องใดที่คณะรัฐมนตรีช่วงรักษาการ อนุมัติเกี่ยวกับเรื่องเงิน ก็ต้องผ่านความเห็นชอบจาก กกต. ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนและ กกต.ก็จะพิจารณา ไม่มีอะไรซับซ้อน

ด้านนายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. กล่าวกรณีรัฐบาลเตรียมทำเรื่องถึง กกต. เพื่อขออนุมัติใช้งบประมาณช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาค่าไฟแพง ว่า หากเสนอมาก็ต้องนำเข้ากกต. ซึ่งจะมีเกณฑ์การพิจารณาอยู่ ยืนยันว่าไม่เป็นปัญหาต่อกกต.แต่อย่างใด เพราะเราต้องพิจารณาไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้

เมื่อถามว่าการพิจารณาของกกต.อาจถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ปลดล็อกให้รัฐบาล นายอิทธิพร กล่าวว่า อาจจะถูกมองเช่นนั้นได้ แต่ในพิจารณา ถ้าเราเห็นว่ามันเป็นการทำที่ถูกต้อง เราก็อนุมัติไป และเราก็ต้องรับผลกระทบไป เพราะมันเป็นหน้าที่ของเรา แต่ถ้าเราเห็นว่าไม่ใช่ เราก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ ไม่ได้ แค่นั้นเอง

“เรายืนอยู่ตรงกลางอยู่แล้ว ผลสุดท้ายถึงเวลาจริง เขาก็ต้องให้เราทำ ซึ่งไม่คิดว่ากกต.ถูกยืมมือเป็นเครื่องมือใคร แต่กกต.คิดว่าเป็นเรื่องบทบาทหน้าที่ของเราที่ต้องทำ และการตัดสินของเรามีทั้งถูก ทั้งผิด มีทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ซึ่งผลจะออกมาเป็นอย่างไร เมื่อเราตัดสินแล้วก็ต้องรับผิดชอบและเราไม่ตัดสินก็ไม่ได้ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าถ้ามีเหตุผลดีและสนับสนุนคำขอก็ต้องตัดสินว่าให้อนุญาต และเราก็รับผลไปเมื่อมีผู้ไม่เห็นด้วย แต่หากเราเห็นว่าไม่ควรทำเรื่องนี้ ในเวลานี้เราก็บอกรัฐบาลว่าไม่ได้” นายอิทธิพร กล่าว

เมื่อถามต่อว่า มีผู้มองว่าเรื่องนี้ควรเป็นการพิจารณาของรัฐบาลหน้า นายอิทธิพร กล่าวว่า หากเสนอเรื่องมาที่กกต. เราก็ต้องพิจารณาไป จะไปหลบใต้โต๊ะ บอกว่าไม่พิจารณาก็ไม่ได้

การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง (2) เหตุใด ‘คสช.’ ไม่ใช้ ม.44 จัดการ ปม ‘ไฟฟ้าสำรอง’ ที่แม้ไม่ได้ดึงพลังงานมาใช้ แต่รัฐก็ต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า

 

ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ผู้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ก็ถูกโจมตีเรื่องค่าไฟฟ้าแพงเป็นอย่างหนัก โดยถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนพลังงานไฟฟ้า ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้ในสภาวะอากาศร้อนขนาดนี้บ้านเรายังคงมีไฟฟ้าใช้อย่างไม่ขาดแคลน ด้วยเพราะมาตรการจัดการสำรองกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงแข็งแกร่งทางพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประเด็นที่นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวมากมายหลายคนมักจะหยิบยกขึ้นมาพูดคือ โรงงานไฟฟ้าสำหรับผลิตไฟฟ้าของกลุ่มทุนพลังงานไฟฟ้าบางโรงนั้นไม่ได้ผลิตไฟฟ้าเลย แต่ก็ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าให้ด้วย แน่นอนสถานการณ์ที่กระแสไฟฟ้าพอใช้โรงงานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองจึงไม่ต้องเดินเครื่องทำงาน เพราะไม่มีความจำเป็น หากแต่กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งานแล้วโรงงานเหล่านั้นถึงจะเดินเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า แต่โรงงานเหล่านั้นสร้างขึ้นโดยผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาต มีการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งมากมายมหาศาล ซึ่งเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าต้องจ่ายเอง ไม่ใช้เงินงบประมาณของรัฐแต่อย่างใด คนที่พูดนั้นไม่ได้รับผิดชอบต้องการลงทุนมูลค่ามหาศาลเหล่านี้เลย แถมยังเจตนาจงใจที่จะไม่พูดถึงอีกด้วย 

เราท่านในฐานะเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้งอันมีค่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ ก่อนการใช้สิทธิกาบัตรลงคะแนนจึงต้องคิด ทบทวน และพิจารณาโดยใช้สติและปัญญาอย่างรอบคอบด้วยเหตุและผลที่ถูกต้องและแท้จริงประกอบ ผู้เขียนได้เคยเสนอบทความเรื่อง ‘การเลือกตั้งกับค่าไฟแพง “สำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็น” วาทกรรมฮิตใช้โจมตีรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงความเสียหาย หากสำรองไฟฟ้าไว้ไม่เพียงพอ’ https://thestatestimes.com/post/2023042021 ซึ่งผู้อ่านสามารถใช้เพื่อประกอบการพินิจพิจารณาให้รอบด้านและถูกต้องได้ 

อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกันก็คือ แล้วทำไมรัฐบาลคสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. จึงไม่นำ ม.44 มาใช้ในกรณีนี้ หากเราท่านได้ย้อนไปดูถึงการใช้ ม.44 ของรัฐบาลคสช. นั้น ส่วนใหญ่มาก ๆ จะใช้เป็นคำสั่งในทางปกครองเพื่อให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วแทนที่กระบวนการปกติซึ่งมีความล่าช้า ด้วยกระบวนการปกติมีระบบระเบียนขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย การบริหารบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความถูกต้องโปร่งใส ลดการทุจริตโกงกิน แก้ปัญหาความล่าช้าในการแก้ปัญหาอันเป็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนให้รวดเร็วขึ้น ต่างจากการใช้กฎหมายพิเศษลักษณะนี้ในอดีต อาทิ ม.17 (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์) ม. 21 และ ม.27 (พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่) ซึ่งมักจะถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและอาชญากรรม เช่น ใช้ประหารชีวิตผู้กระทำผิดคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ ต่อประชาชน ฯลฯ ซึ่งการใช้ ม.44 แตกต่างไปโดยสิ้นเชิงดังที่ได้กล่าวมา ด้วยไม่มีใครที่บาดเจ็บล้มตายด้วย ม.44 ของรัฐบาลคสช.เลย

การใช้ ม.44 โดยรัฐบาลคสช.ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีน้อยเรื่องน้อยรายมากในกรณีที่มีผลกระทบสร้างความเดือดร้อนแกประชาชนจริง ๆ อย่างเช่นกรณีการใช้ ม.44 ในการปิดเหมืองทองคำชาตรีที่ดำเนินกิจการโดยบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ด้วยเหตุผลว่าทางเหมืองทองคำชาตรีสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบต่าง ๆ หลายด้าน แต่ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559 ได้ถูกเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่สัมปทานเหมืองล้วนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างปัญหามลพิษปัญหาสุขภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการเคลื่อนไหวคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่และหยุดกิจการเหมือง จากปัญหาร้องเรียนจากชาวบ้านซึ่งเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากมลพิษจากเหมือง ที่ให้เกิดปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารพิษปนเปื้อนที่มากับดิน น้ำ และอากาศ รวมถึงยังมีสภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากเสียงของอุตสาหกรรม และกลายเป็นข้อพิพาทต่อมาอีกหลายปี

ถ้าการทำรัฐประหารแล้วกลุ่มทุนผูกขาดประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีแต่กลุ่ม SM ที่ผูกขาดแทบทุกธุรกิจ การที่รัฐบาลคสช.ไม่ได้ยกเลิกสัญญาการผลิตกระแสไฟฟ้าสำรอง โดยใช้ ม.44 ถือเป็นการใช้กฎหมายพิเศษอย่างถูกต้อง เหมะสม ไม่ลุแก่อำนาจ ด้วยการใช้กระบวนการทางศาลปกติ ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตีความมานานแล้วว่า สัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถยกเลิกได้ และถ้าหากรัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 กับเอกชนในทางธุรกิจ จะทำให้นานาชาติไม่ยอมรับประเทศไทย และไม่มีบริษัทต่างชาติใดเข้ามาลงทุนเลย ด้วยประเทศล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ ดังเช่นประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเพียงแค่รัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 ยกเลิกการทำเหมืองทองชาตรี โดย บมจ.อัคครา ชั่วคราว เพื่อให้ปรับปรุงเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็มีสารพัดกลุ่มทั้งไทยและฝรั่งร้อง คัดค้าน ต่อต้าน กันจนระงม หรือ ถ้า รัฐบาลคสช.ใช้ ม.44 ยกเลิกสัมปทานขุดน้ำมันในอ่าวไทย กับเชฟรอน จากสหรัฐอเมริกา จะเกิดอะไรขึ้น นั้นจึงเป็นเหตุผลที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลคสช. ไม่นำ ม.44 มาบังคับใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

คะแนนเสียงของเราท่านจะมีค่ามากที่สุดในอีกประมาณ 20 วันเท่านั้น ทุกคะแนนเสียงจะสามารถกำหนดอนาคตและความเป็นไปของชาติบ้านเมืองได้ทั้งสิ้น ใช้คะแนนของท่านสร้างประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง ด้วยการเลือกพรรคการเมืองและนักการที่ดีที่สุด ไม่ทุจริตโกงกิน ไม่สร้างปัญหา ให้กับชาติบ้านเมืองในอนาคต 

 

'กรณ์' สวน 'สุพัฒนพงษ์' ค่าไฟแพง คนนั่งคาตำแหน่งต้องรับผิดชอบ  ชี้!! ต้นทุนไฟลด ไม่ต้องเก็บค่า FT ปล่อยสะท้อนต้นทุนแท้จริง

(27 เม.ย.66) นายกรณ์ จาติกวาณิช แคนดิเดทนายกรัฐมนตรี หัวหน้าชาติพัฒนากล้า กล่าวระหว่างลงพื้นที่ช่วยผู้สมัครหาเสียงที่จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงกรณีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่เห็นด้วยกับการงดเก็บค่าเอฟทีในฤดูร้อนนี้ ตามที่พรรคชาติพัฒนาเสนอไป ว่า การลักไก่คิดค่าไฟแพงตั้งแต่ ม.ค.- เม.ย.66 ที่ 4.72 บาทนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว เพราะก๊าซถูกในอ่าวไทยผลิตมากขึ้น ราคา LNG  นำเข้าราคาลดลง เงินบาทก็แข็งค่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจึงลดตั้งแต่ ธ.ค.65 เป็นต้นมา แต่รอบบิล ม.ค.- เม.ย.66 รัฐไม่ยอมลดค่าไฟให้ แต่ผลักภาระให้ประชาชนแทนในช่วงหน้าร้อนนี้

นายกรณ์ กล่าวต่อว่า ได้ทักท้วงเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นปีช่วงอากาศหนาว ที่คนใช้ปริมาณไฟน้อย แต่มาแจ็กพอตแตกก็เดือนเมษาหน้าร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ใช้ไฟมากขึ้น แต่เมื่อต้นทุนถูกลงแล้ว จึงควรลดค่าเอฟที 93.43 สตางค์/หน่วยเป็น 0 บาท 3 เดือนได้ ซึ่งสอดคล้องตามต้นทุนจริง ส่วนการขาดทุนของ กฟผ. 

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า ในฐานะรักษาการรองนายกเศรษฐกิจเอง กำกับดูแลกระทรวงการคลังอยู่แล้วก็สามารถมาช่วยปรับโครงสร้างต้นทุนการเงินของ กฟผ. ได้ไม่ใช่มาผลักภาระให้ประชาชนแบบนี้

‘อรรถวิชช์’ แฉ!! ไทยสำรองไฟเกือบ 60% เหตุเกรงนายทุน ชี้!! ยุคปูเกี่ยว แต่ ‘บิ๊กตู่’ ก็เอี่ยวเซ็นเพิ่มทั้งที่รู้ว่าสำรองเกิน

(27 เม.ย. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 6 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เดลินิวส์ ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ และสำนักกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งมีการจัดเวทีประชันนโยบายพรรคการเมืองเพื่อคนรุ่นใหม่ หัวข้อ ‘New Voter เกมอนาคตกำหนดได้’ #ReadySetGo เวทีดีเบตเพื่อคนรุ่นใหม่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยมี 9 พรรคการเมือง ส่งตัวแทนผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและคนรุ่นใหม่เข้าร่วมเวทีประชันวิสัยทัศน์

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) หนึ่งในผู้ร่วมประชันวิสัยทัศน์บนเวที ได้ตอบคำถามจากนักศึกษา ที่ถามว่า กรณีที่ค่าไฟแพง หากได้เป็นรัฐบาลจะมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังมีโรงงานเอกชนจำนวนเยอะมากเกินความจำเป็น จะมีแนวทางอย่างไรบ้างนั้น โดย นายอรรถวิชช์ ตอบคำถามว่า “ค่าไฟแพง หรือค่าไฟสำรองนั้น ปกติการเก็บค่าไฟสำรองจะอยู่ที่ 15% แต่ประเทศไทยสำรองไว้เกือบ 60% และที่สำรองเกินก็เพราะเกรงกลัวนายทุน และถึงแม้จะมีการเซ็นเกินมาเยอะในสมัยคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ทราบในเรื่องนี้ว่าเกิน แต่ก็ยังมีการเซ็นเพิ่ม ถ้าน้องนักศึกษาได้รับชมมาร์เวล (Marvels) จะรู้ว่าใครคือธานอสตัวจริง”

กกต. ตีกลับ หนังสือขออนุมัติ 1.1 หมื่นล้าน แก้ค่าไฟแพง หลังตรวจพบ เอกสารไม่ได้ผ่านมติของคณะรัฐมนตรี

(28 เม.ย.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเสนอ กกต. ขออนุมัติวงเงิน 11,112 ล้านบาท ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าให้ประชาชน มีรายงานเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2566 ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือนำส่งหนังสือของกระทรวงพลังงาน ที่ขอให้ กกต. พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบในการที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติใช้งบกลาง 11,112 ล้านบาท เพื่อช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน มายังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)   

‘กรณ์’ จวก!! ‘ก.พลังงาน’ เกรงใจทุนใหญ่ ปล่อยค่าไฟแพงพุ่ง ชี้!! ทางออกคือเปลี่ยนผู้มีอำนาจในรัฐฯ ให้เป็นอิสระจากทุนผูกขาด

เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 66 นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า เข้าร่วมดีเบต ‘เวลาของเศรษฐกิจปากท้อง’ ทางช่อง 3 ดำเนินรายการโดย นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา โดยได้หยิบยกประเด็นค่าไฟแพงมาดีเบต โดยนายกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าแพง รัฐบาลแก้ได้ทันที แต่ไม่ยอมแก้ เพราะเกรงใจนายทุนใหญ่ และโครงสร้างระบบพลังงานมีปัญหา เพราะค่าไฟ สะท้อนปัญหาระบบโครงสร้างของเศรษฐกิจเรา พรรคชาติพัฒนากล้า เรียกร้องมาตั้งแต่ค่าการกลั่น ราคาน้ำมันแพงเกินจริง ถ้าแก้วันนั้นสามารถลดราคาทันที 8 บาท ก็ไม่ทำ เราเสนอให้เก็บภาษีลาภลอย ก็ไม่ทำ ซึ่งเรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไม่ชี้แจง และไม่ยอมมาขึ้นเวทีดีเบตที่ไหนเลย ค่าไฟฟ้ามีปัญหาตั้งแต่เดือนมีนาคม ถ้าดำเนินการตอนนั้น วันนี้ก็ไม่ต้องมาเสนอ กกต.ขอใช้งบกลางเพื่อช่วยลดภาระให้กับประชาชน ซึ่งมันไม่ใช่ทางออก

นายกรณ์ กล่าวว่า ปัญหาค่าไฟเป็นประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานยังไม่ได้ตอบ คือ ค่าก๊าซที่ทาง กฟผ.ซื้อแพงกว่าปิโตรเคม เพราะต้นตอปัญหามาจากการผูกขาด ต้องมาดูว่าใครมีอำนาจขายก๊าซแต่เพียงผู้เดียว ดูว่าใครถือหุ้นใหญ่ จะได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ตรงจุด พรรคชาติพัฒนากล้าเราเสนอให้ยกเว้นค่าเอฟทีไปเลย 3 เดือน เพราะขณะนี้ต้นทุนก๊าซลดลงอย่างรวดเร็ว กำลังการผลิตในอ่าวไทยก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และตอนที่ผลิตได้ลดก็เพราะความผิดพลาดที่มีการโอนสัมปทานให้เชฟรอน ทำให้ต้องไปนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ในช่วงที่มีราคาแพงมากเนื่องจากภาวะสงคราม มันไม่ใช่ความผิดของประชาชน แต่ถูกโยนให้แบกภาระต้นทุนค่าไฟอย่างไม่เป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่การดีเบตดำเนินการไปอย่างเข้มข้น นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้โทรศัพท์เข้ามาเพื่อขอชี้แจง โดยผู้เข้าร่วมดีเบตทุกคนต้องการให้นายสุพัฒน์พงษ์ เข้ามาชี้แจงเอง แต่เจ้าตัวบอกติดภารกิจที่พรรคจึงไม่สะดวก จึงขอชี้แจงทางโทรศัพท์แทน ซี่งนายกรณ์ ได้ถามว่า ทำไมถึงเพิ่งเริ่มคิดเยียวยาค่าไฟในช่วงนี้ ซึ่งในสุพัฒน์พงษ์ กล่าวว่า ได้ดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางมาตั้งแต่ปีที่แล้ว  และที่ต้องขึ้นค่าไฟเดือนพฤษภาคม ก็เพราะกว่าจะทราบว่าต้นทุนค่าไฟเท่าไรคือวันที่ 1 เมษายน ซี่งนายกรณ์ บอกว่าตนทราบว่า กกพ.มีมติจะขึ้นค่าไฟตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นไปไม่ได้ที่ท่านจะทราบเดือนเมษายน เพราะมติ กกพ.ออกมาวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา มีการอนุมัติราคาใหม่มาแล้ว พอมีการท้วงติงท่านก็ลนลานมาแก้ปัญหาลดราคาให้ประชาชน 2 สตางค์ แต่ไม่ได้มีมาตรการชดเชยเยียวยาให้กับประชาชนแต่อย่างใด 

นายกรณ์ กล่าวด้วยว่า ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีการลงนามในสัญญากับเอกชนผลิตไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์ ในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งเป็นความผิดปกติ และผิดพลาด ที่ทำให้ต้นทุนค่าไฟที่เพิ่มขึ้น แล้วโยนภาระนี้ให้ประชาชนแบกมันไม่เป็นธรรม เราตกอยู่ในสภาพที่ทุนใหญ่อยู่เหนือการเมืองผูกขาดมาโดยตลอด ทางออกในเรื่องนี้ คือ ต้องเปลี่ยนผู้มีอำนาจในรัฐบาลที่เชื่อมโยงกับทุนผูกขาด เพื่อให้การเมืองเป็นอิสระจากทุนผูกขาดทุกรูปแบบ 

'บิ๊กตู่' เผย ครม.เห็นชอบแก้ค่าไฟแพง ส่ง กกต.อีกครั้ง เชื่อ!! จะดำเนินการเร็วที่สุด อาจทันรอบบิล พ.ค.นี้ 

(2 พ.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ในที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเรื่องการขอใช้งบกลางช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางเรื่องค่าไฟฟ้า จำนวน 1.1 หมื่นล้านบาทแล้ว โดย ครม.ได้ให้ความเห็นชอบ และจะส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการพิจารณาต่อไปในเรื่องการใช้งบกลางหมื่นกว่าล้านบาท ส่วน กกต.จะส่งกลับมาทันหรือไม่นั้น เชื่อว่าจะเร็ว เพราะในเบื้องต้นก็ขอให้ทำถูกต้องตามขั้นตอน ให้ตรงกับมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ เท่าที่รับทราบสิ่งใดที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนก็ไม่น่าจะมีปัญหา 

‘เศรษฐา’ อัด รบ.บริหารพลังงานผิดพลาด ทำค่าไฟพุ่ง พร้อมชูมาตรการระยะสั้น-ยาว แก้ค่าไฟแพง คลายทุกข์ ปชช.

(3 พ.ค. 66) นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อ ‘เศรษฐา ทวีสิน - Srettha Thavisin’ ในหัวข้อ ‘พิษการบริหารจัดการค่าไฟฟ้า : ฤดูร้อนที่ประชาชนชาวไทยหนาว’ โดยระบุว่า…

ฤดูร้อนในประเทศไทยเรานี้อากาศร้อนขึ้นทุกปี ๆ พี่น้องประชาชนไทยก็ต้องพึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพื่อคลายร้อนกันถ้วนหน้า ซึ่งเมษายนที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด พี่น้องหลาย ๆ ท่านคงอดกังวลถึงบิลค่าไฟที่แพงขึ้นไม่ได้ เพราะแค่ค่าไฟเดือนมีนาคมก็เปลี่ยนอากาศร้อนกลายเป็นหนาวได้เลยทีเดียว

ที่จริงแล้ว ไม่ใช่แค่ปีนี้ แต่เป็นเวลานานติดต่อกันหลายปี สำหรับประเด็นเรื่องค่าพลังงาน ที่ส่งผลเดือดร้อนทั้งกับพี่น้องประชาชนในเรื่องค่าครองชีพ และทั้งกับภาคธุรกิจที่ต้นทุนสูงขึ้น

ต้องบอกว่าปัญหาทั้งหมดนี้ เกิดจากการบริหารพลังงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลปัจจุบัน ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพุ่งขึ้นสูง และต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีราคาสูงเข้ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก ซึ่งถ้าให้ร่ายรายละเอียดความผิดพลาดก็มีหลายเรื่องครับ
อย่างแรก ปัญหาการรับช่วงต่อสัมปทานการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นที่อ่าวไทยจาก บริษัท เชฟรอน ทำให้ผลิตก๊าซธรรมชาติ (LNG) ได้น้อยลงกว่าที่เคยทำได้ รวมถึงเรื่องการที่เรานำ ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ราคาถูกจากอ่าวไทยไปผลิต ปิโตรเคมี แทนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้แล้ว ต้องบอกว่ารัฐบาลชุดนี้รู้อยู่แล้วว่า ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ในอ่าวไทยจะไม่เพียงพอสำหรับการผลิตไฟฟ้า แต่กลับไม่ได้เร่งต่อรองกับกัมพูชาเพื่อขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และท้ายสุดแล้วคือ เรื่องของสัญญาค่าความพร้อมที่เซ็นล่วงหน้า โดยไม่มีการประมาณการความต้องการไฟฟ้าอย่างละเอียด จากปกติที่ควรจะมีไฟฟ้าสำรองแค่ 15% แต่ตอนนี้เรากลับมีไฟฟ้าสำรอง มากกว่า 50% หนำซ้ำรัฐบาลที่ผ่านมายังไปเซ็นใบอนุญาตผลิตไฟเพิ่มอีกกว่า 16% ของความต้องการไฟฟ้าก่อนจะยุบสภาฯ เป็นเหมือนการซ้ำเติมความบอบช้ำของประชาชนให้หนักขึ้นไปอีก

ปัญหาเรื่องนี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล เรามีมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจัดการปัญหาอย่างทันที

ในระยะสั้น เราจะลดราคาค่าไฟฟ้าทันที และตรึงราคาค่าไฟฟ้าไปก่อน เพราะราคาพลังงานมีแนวโน้มที่อาจจะปรับลง จากภาวะเศรษฐกิจของโลกที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และค่อยประเมินอีกทีในช่วงปีถัดไป เราจะเจรจาหาข้อยุติในกรณีพิพาทเรื่องการส่งมอบสัมปทานในพื้นที่อ่าวไทย และดำเนินการหยุดให้ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าทุกชนิด จนกว่าสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการจะลดลง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top