Friday, 4 July 2025
กัมพูชา

‘ศอ.ปชด.’ ยกระดับ!! มาตรการป้องกัน และปราบปรามฯตามแนวชายแดน ‘ไทย-กัมพูชา’ ควบคุมจุดผ่านแดนเข้มงวด

(8 มิ.ย. 68) จากสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณตามแนวชายแดนไทยกับกัมพูชา โดยปัจจุบันมีกำลังติดอาวุธ ของฝ่ายกัมพูชาได้วางกำลังรุกล้ำอธิปไตยของไทยทั้งนี้ รัฐบาล กระทรวงกลาโหมและกองทัพบก ได้ใช้ความพยายาม อย่างถึงที่สุดในการคลี่คลายความตึงเครียดตามแนวชายแดน โดยใช้กลไกทวิภาคีที่มีการตกลงกันไว้ กับกัมพูชา แตไม่ได้รับการตอบสนองในเชิงบวกจากฝายกัมพูชา ทั้งยังปรากฏว่ากัมพูชาได้มีการเพิ่มเติมกำลังพล อาวุธและยุทโธปกรณเขามาประชิดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และมีการดัดแปลงที่มั่นทางทหารซึ่งอาจมีความเสี่ยง ที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบแก่พี่น้องประชาชนตามแนวชายแดน กองทัพบกและกองทัพเรือ ภายใต้มติสภาความมั่นคงแห่งชาติและตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม 

จึงได้กำหนดมาตรการควบคุมการเปิด-ปิด จุดผ่านแดนทุกประเภทเพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดน ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 806/2568 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2568 และคำสั่งกองทัพเรือ (เฉพาะ) ที่ 447/2568 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2568 ดังนั่น เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการควบคุมการเปิด-ปิดจุดผ่านแดนดังกล่าว จึงให้หน่วยงานภายใต้กลไก ศอ.ปชด. ดำเนินการดังนี้ 1. ให้จังหวัดชายแดนในฐานะศูนยสั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านดานกัมพูชา และหนวยงาน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ให้การสนับสนุนกองกำลังสุรนารี กองกำลังบูรพา และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี และตราด ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและดำเนินการตามมาตรการควบคุมการเปิด-ปิดจุดผ่านแดนดังกล่าว 2. ใหสำนักงานตรวจคนเขาเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มงวดการผ่านเข้า-ออก ตามแนวชายแดน ไทย-กัมพูชา ของบุคคลและกลุมบุคคล โดยเฉพาะพื้นที่ ที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีและบอนการพนัน อาทิ พื้นที่ชายแดนอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร อำเภอบานกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว อำเภอโปงน้ำรอน จังหวัดจันทบุรี และอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด นอกจากนั้นยังปรากฏข้าวสารว่ามีบุคคลและกลุ่มบุคคลยังคงมีการกระทำผิดด้านอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี และการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการบอนทำลายสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทั้งภายในประเทศไทย และประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั่นเพื่อให้การปองกันและปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยีและการค้ามนุษย์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ศอ.ปชด. จึงมีมาตรการ ดังนี้ 

1. แจ้งใหฝ่ายกัมพูชาเร่งรัดปราบปรามผูกออาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการค้ามนุษย์ในทุกพื้นที่ทันที จับกุมและบังคับใชกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดรวมถึงผู้สนับสนุนทั้งหมด 

2.จะได้ยกระดับมาตรการป้องกันและปราบปรามฯ อาทิเช่น การตัดกระแสไฟ้ฟ้า การระงับสัญญาณ อินเตอร์เน็ตที่ส่งเข้าไปในพื้นที่ ที่เป็นบอนการพนันและสแกมเมอร์ การควบคุมสิ้นค้าและยุทโธปกรณที่อาจจะนำไปใช้ในการก่ออาชญกรรมทางเทคโนโลยีและอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ โดยจะได้นำเสนอมาตรการดังกล่าวต่อ สภาความมั่นคงแห่งชาติต่อไป ทั้งนี้ ศอ.ปชด. จะอำนวยการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดข้างตน ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติโดยไม่ให้กระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ของพี่น้องประชาชนบริเวณชายแดน พรอมทั้งจะได้ติดตามสถานการณ์อยางใกล้ชิดและพิจารณาเพิ่มเติมมาตรการ ที่จำเป็นจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายต่อไป

‘อ.เจษฎา’ โพสต์ข้อความ!! เป็นห่วงการท่องเที่ยว ชี้!! ถ้าปั่นกันหนัก นักท่องเที่ยวจะหายหมด

(8 มิ.ย. 68) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า …

ถ้าปั่นกันหนัก จนเหมือนเตรียมเข้าสู่สงคราม … 

นักท่องเที่ยวที่ไหน จะอยากมาไทย  ยิ่งน้อยๆ อยู่

สื่อนอกแฉ ‘สภากาชาดกัมพูชา’ รับเงินมิจฉาชีพ ‘เจ้าพ่อ-แก๊งต้มตุ๋น’ แห่บริจาค ใช้เป็นเครื่องมือสร้างภาพ

(9 มิ.ย. 68) เว็บไซต์ Commsrisk รายงานการตรวจสอบจาก Radio Free Asia (RFA) โดยพบว่ามีผู้บริจาคให้สภากาชาดกัมพูชากว่า 7.2 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสแกมเมอร์ (scam compounds) และกิจกรรมการค้ามนุษย์ ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สภากาชาดกัมพูชา (CRC) ยังเป็นสมาชิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (IFRC)

รายงาน RFA เปิดเผยว่า CRC ได้เผยแพร่คำขอบคุณต่อผู้บริจาคผ่านช่องทางออนไลน์หลายครั้ง ซึ่งมีทั้งเจ้าพ่อธุรกิจ นักพนัน กาสิโน ไปจนถึงกลุ่มต้มตุ๋นออนไลน์ เช่น Huang Le Casino และคอมปะนีที่พัวพันกับการใช้แรงงาน ซึ่งสร้างความกังวลในระดับนานาชาติว่าการบริจาคที่ดู 'ถูกกฎหมาย' จริงแล้วเป็นเครื่องมือเพื่อฟอกภาพลักษณ์ของแก๊งมืด

นักวิจารณ์ เช่น เจคอบ ซิมส์ (Jacob Sims) จาก RFA ระบุว่า การกุศลในลักษณะนี้กลายเป็น “กลไกของระบบอุปถัมภ์เชิงนิเวศการเมือง” (elite patronage) โดยช่วยให้บุคคลและองค์กรที่มีฉากหลังไม่ชอบธรรม ได้ความชอบธรรมและความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลกัมพูชาผ่าน CRC 

แม้จะมีข้อกังวลจากสื่อต่างชาติและองค์กรตรวจสอบ แต่ CRC ยังคงดำเนินกิจกรรมสาธารณะ เช่น แจกถุงยังชีพดูแลผู้ประสบภัยน้ำท่วม และมีบทบาทในการประสานงานด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ชนบท โดยไม่ปรากฏว่ามีมาตรการหรือการสอบสวนจาก IFRC หรือหน่วยงานอิสระที่เข้มงวดตามมา

กระนั้น รายงานจาก Commsrisk ชี้ชัดว่าการบริจาคเงินผ่าน CRC อาจเป็น “กลยุทธ์ฟอกภาพลักษณ์” สำหรับกลุ่มธุรกิจมืด การค้ามนุษย์ และแก๊งไซเบอร์ โดยสร้างตัวตนให้กับรัฐบาลกัมพูชาในการดึงดูดทุนและความร่วมมือจากชาติตะวันตก แม้จะมีข้อครหาเรื่องจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง 

‘รัฐบาลกัมพูชา’ ปัดข้อกล่าวหา..เป็นภัยคุกคามโลก ยันไม่เกี่ยวขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ

(9 มิ.ย. 68) รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาจากรายงานของสื่อตะวันตกที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะธุรกิจหลอกลวงออนไลน์ การค้ามนุษย์ และการฟอกเงิน พร้อมยืนยันว่าไม่มีนโยบายสนับสนุนกิจกรรมผิดกฎหมาย และถือว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่มีแรงจูงใจทางการเมือง

รายงานจาก Humanity Research Consultancy (HRC) และหนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ อ้างว่ามีเครือข่ายหลอกลวงออนไลน์ในกัมพูชาซึ่งสร้างรายได้มหาศาล คิดเป็นกว่า 60% ของ GDP โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล รวมถึงผู้ใกล้ชิดพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) มีบทบาทเอื้อประโยชน์ให้เครือข่ายเหล่านี้ดำเนินกิจการอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองสีหนุวิลล์

กระทรวงมหาดไทยของกัมพูชาระบุว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่มีมูลความจริง และไม่สอดคล้องกับความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งที่ผ่านมากัมพูชาได้ดำเนินการจับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวนมาก รวมถึงมีความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและองค์กรนานาชาติในการสืบสวนและกวาดล้างเครือข่ายผิดกฎหมาย

กัมพูชายืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ไม่เคยสนับสนุนหรือละเลยต่อการกระทำผิด และยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายเพื่อยกระดับมาตรการปราบปรามอาชญากรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเรียกร้องให้สื่อระหว่างประเทศรายงานข่าวอย่างเป็นธรรมและอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง

(สุรินทร์) บรรยากาศเปิดด่านช่องจอมวันแรก มีชาวกัมพูชาที่ตกค้างฝั่งไทย และรถบรรทุกขนส่งสินค้า ทยอยจ่อคิวเพื่อข้ามฝั่งยาวเป็นกิโล

(9 มิ.ย.68) ที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรด่านช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์  ซึ่งในช่วงก่อนเวลา 08.00 น.ได้มีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากร และเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายไทย ได้อยู่ประจำจุดที่ทำการเพื่อเตรียมรับชาวกัมพูชาที่จ้องกสรเดินทางเข้ามายังฝั่งไทย กระทั่งในเวลา 08.00 น.ตามกฏข้อบังคับ 

โดยทหารฝ่ายไทยได้ทำการไขกุญแจและเปิดประตูด่านทั้ง 2 บาน โดยได้ปล่อยให้ประชาชนชาวกัมพูชาออกเพท่อกลับประเทศ แต่ทางฝ่ายกัมพูชา กลับไม่ยอมเปิดรั้วของทางฝั่งกัมพูชาเอง โดยยังรอท่าทีการเปิดรั้วเหล็ก โดยอ้างว่ารอคำสั่งจากผู้ว่าจังหวัดอุดรมีชัย ในเวลานี้  09.00 น. ถึงจะทำการเปิดกุญแจรั้วได้ ท่ามกลางการเฝ้าสังเกตการณ์ของ เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองและฝ่ายปกครองของไทย ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ประชาชนชาวกัมพูชารอทางฝ่ายกัมพูชาเปิดประตูนั้น จะมีเคสนักเรียนของทางกัมพูชาต้องเข้าสอบ และประชาชนบางรายท้องแก่ คนป่วย ต้องนั่งตากแดดรอให้ฝั่งกัมพูชาเปิดประตู 

ทั้งนี้นักเรียนชาวกัมพูชา ที่ต้องการข้ามจากฝั่งไทย เพื่อไปสอบ ต่างโอดครวญกลัวไปสอบไม่ทัน เพราะเจ้าหน้าที่เขมร ที่ไม่ยอมเปิดประตู อ้างยังรอคำสั่งจาก นายเมียน ยาดา ผู้ว่าอุดรมีชัย กระทั่งเมื่อเวลา 09.00 น. เจ้าหน้าที่ฝ่ายกัมพูชาทำการเปิดประตูรั้วเหล็กในเวลา 09.00 น. ท่ามกลางความอึดอัดของชาวกัมพูชา นักเรียน คนท้องใกล้คลอดที่รอการเปิดรั้วเหล็กซึ่งรอคำสั่งจาก นายเมียน ยาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย และพลโทโปเฮง ผบ.ภูมิภาคทหารที่ 4 กัมพูชา ก่อนทำการเปิดล็อคกุญแจรั้วและเปิดให้ชาวกัมพูชาเข้าไปได้ 

กัมพูชาโกยรายได้จาก ‘คอลเซ็นเตอร์-สแกมเมอร์’ พุ่งแตะ 6.2 แสนล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้น 85% จากปี 67

(11 มิ.ย. 68) กรมสรรพากรของกัมพูชาเปิดเผยว่า รายได้จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์และสแกมเมอร์ในประเทศสูงถึง 60% ของ GDP หรือประมาณ 620,000 ล้านบาทต่อปี กลายเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาล แซงหน้าอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งเคยเป็นรายได้หลักดั้งเดิมของประเทศ

ในปี 2024 กัมพูชาเก็บภาษีจากธุรกิจกาสิโนและการพนันรวม 63.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2,061 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 85% จากปีก่อนหน้า โดยมีกาสิโนที่ได้รับใบอนุญาต 195 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่บริเวณชายแดน เช่น บาเวตและปอยเปต เพื่อรองรับนักพนันต่างชาติ โดยเฉพาะชาวไทย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากองค์กรต่างประเทศชี้ว่า อุตสาหกรรมอาชญากรรมไซเบอร์ในกัมพูชามีผู้เกี่ยวข้องกว่า 150,000 คน และเชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ข้ามชาติจากกว่า 70 ประเทศ โดยมีการฟอกเงินผ่านธุรกิจพนัน ส่งผลให้รัฐบาลฮุน เซน ถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม

ทั้งนี้ ภายใต้แรงกดดันจากข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา กองทัพไทยได้ใช้มาตรการตัดไฟฟ้า สัญญาณอินเทอร์เน็ต และจำกัดการข้ามแดน เพื่อกดดันอุตสาหกรรมผิดกฎหมาย ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของกัมพูชา แม้รัฐบาลจะปฏิเสธความเกี่ยวข้อง แต่รายงานระบุว่ารายได้จากกิจกรรมเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้ในโครงการของรัฐและการควบคุมทางการเมืองภายในประเทศ

มันมีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่าง การทูตเชิงบวก เน้นสันติภาพ กับ การทูตหน่อมแน้ม

(15 มิ.ย. 68) รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Aksornsri Phanishsarn ระบุว่า ...

มันมีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่าง การทูตเชิงบวก เน้นสันติภาพ กับ การทูตหน่อมแน้ม

#การทูตหน่อมแน้ม ในยุคที่รัฐบาลข้างบ้าน #ขวาจัดสุดโต่ง กระหน่ำซัดเราอย่างหนักรายวัน

'ฮุนเซน' ยืนกรานนำ 4 ข้อพิพาทขึ้นศาลโลกแน่นอน ชี้ คุยกันเอง 100 ปีก็ไม่จบ ต้องยุติความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านกระบวนการยุติธรรม ยกตัวอย่างหลายประเทศในอาเซียนยอมรับกติกาศาลโลก ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2568 ก่อนการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา #JBC ครั้งที่ 6 จะมีขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สมเด็จฮุน เซน ประธานวุฒิสภา โพสต์ข้อความถึงชาวกัมพูชาและมิตรสหายชาวต่างชาติ

สมเด็จฮุน เซน กล่าวว่า ตนเชื่อมาโดยตลอดว่า วันหนึ่งประเทศไทยอาจกระทำการบางอย่างซ้ำรอยกับเหตุการณ์ระหว่างปี 2008 ถึง 2011 และในวันนี้ เราเริ่มเห็นพฤติกรรมที่ละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และมีลักษณะรุกรานอย่างชัดเจน ดังนั้น การตัดสินใจของตนในขณะนั้น จึงสามารถเข้าใจได้ในบริบทของชุมชนนานาชาติที่ยึดมั่นในหลักนิติธรรม รวมถึงในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับประเทศไทยในอนาคต

"กัมพูชาขอเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ที่ยึดมั่นในนโยบายต่างประเทศภายใต้หลักนิติธรรม สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ และเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ กัมพูชา ขอให้ประเทศที่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ สนับสนุนให้ประเทศไทยแก้ไขข้อพิพาทเขตแดนร่วมกับกัมพูชาผ่านกระบวนการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) โดยเฉพาะใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่:

1. พื้นที่สามเหลี่ยมมรกต หรือช่องบก ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างกัมพูชา ลาว และไทย

2. ปราสาทตาเมือนธม

3. ปราสาทตาเมือนโต๊ด

4. ปราสาทตาควาย

สมเด็จฮุน เซน กล่าวว่า กัมพูชาไม่ได้ร้องขออาวุธหรือกระสุนที่นำไปสู่การนองเลือดกับประเทศไทย แต่กัมพูชาต้องการการสนับสนุนให้หันหน้าเข้าสู่แนวทางสันติวิธี ผ่านการเจรจาทวิภาคีและกระบวนการทางกฎหมาย

"เส้นเขตแดนระหว่างกัมพูชา-ไทยมีความยาวมากกว่า 800 กิโลเมตร แต่กัมพูชาเพียงขอให้พิจารณา 4 พื้นที่ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงต่อความขัดแย้งทางทหารในอนาคต และต้องได้รับการแก้ไขล่วงหน้าผ่านกระบวนการศาล เพราะปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขได้แม้ภายใน 100 ปีหากอาศัยเพียง #กลไกทวิภาคี ดังนั้น มีเพียง #ศาลโลก เท่านั้นที่สามารถตัดสินข้อพิพาทเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาด"

‘ฮุน มาเนต’ โพสต์เฟซ!! โชว์หนังสือถึง ‘ศาลโลก’ เผย!! เลือกใช้ กฎหมายระหว่างประเทศ และสันติภาพ

(15 มิ.ย. 68) พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โพสต์เฟซบุก Hun Manet โชว์ภาพหนังสืออย่างเป็นทางการ ถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพื่อช่วยหาทางแก้ไขข้อพิพาทชายแดนในบริเวณปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และบริเวณมุมไบ หรือช่องบก-สามเหลี่ยมมรกต เป็นภาษากัมพูชาและภาษาอังกฤษ หัวข้อเรื่อง “กัมพูชาเลือกกฎหมายระหว่างประเทศและสันติภาพ” โดยมีเนื้อหาระบุว่า ...

วันนี้ (15 มิ.ย. 68) รัฐบาลกัมพูชาได้ส่งหนังสือทางการไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพื่อช่วยหาทางออกปัญหาพัฒนาชายแดนในปราสาทตาเมืองธม ปราสาทตาเมืองโต๊ด ปราสาทตาควาย และพื้นที่มุมไบแล้วในวันที่ 15 มิถุนายน 1962 เป็นวันประวัติศาสตร์เมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)ตัดสินว่ากัมพูชาชนะประเด็นวัดพระวิหาร

แม้ว่าทั้งสองเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นห่างกัน 63 ปี แต่มันก็เป็นความจริงที่จิตวิญญาณและวัตถุประสงค์เดียวกัน ដោយ กัมพูชาเลือกที่จะตั้งถิ่นฐานอย่างสงบสุขบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศผ่านกลไกศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ICJ สําหรับการแก้ไขปัญหาชายแดนในพื้นที่ที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ของความขัดแย้งติดอาวุธ ซึ่งกลไกทวิภาคีไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับในเขตวัดพระวิหาร เมื่อ 60 ปีก่อน และบริเวณปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาควาย และบริเวณมุมไบ 

วันนี้กัมพูชาต้องการความยุติธรรม ยุติธรรม ชัดเจนเท่านั้น ที่จะกําหนดแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลูกหลานจะได้ไม่ประสบปัญหาด้วยกันไม่สิ้นสุด

ขอความกรุณา เพื่อนร่วมชาติทุกท่าน เชื่อมั่นในรัฐบาลในการทํางานนี้ด้วยความเต็มใจและรับผิดชอบอย่างยิ่ง เพื่อปกป้องความมั่นคงของแผ่นดิน และประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนชาวกัมพูชา ขอให้เพื่อนร่วมชาติของเราเชื่อมั่นในรัฐบาลกัมพูชาในความพยายามที่จะทํางานนี้ด้วยความตั้งใจและความรับผิดชอบอย่างเข้มแข็งเพื่อปกป้องความซื่อสัตย์ในดินแดนของเราและเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนกัมพูชา

ปัญหาชายแดน ‘ไทย-กัมพูชา’ ที่รัฐบาลทำงานไม่คืบหน้า นี่คือกุญแจที่ไขคำตอบว่า กองทัพรัฐประหารทำไม

(15 มิ.ย. 68) สุดท้ายการประชุม JBC ไทย-กัมพูชาก็เป็นอย่างที่เอย่าคาด คือฝ่ายกัมพูชาจะตีกินเพื่อล่มการประชุมนี้และจะพยายามดึงให้ไทยเข้าสู่ศาลโลก 

เอาเป็นว่าก่อนมาถึงตรงนี้เอย่ามาย้อนความกันก่อนดีกว่าว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง

ทุกอย่างเริ่มจากทหารกัมพูชารุกล้ำชายแดนไทยแล้วอ้างว่าปราสาทตาเมืองธมและปราสาทตาควายเป็นของกัมพูชา ทางกองทัพไทยก็ไม่รอช้าส่งกองทัพเข้าประชิดชายแดนส่งทหารพรานปักธงชัยลงพื้นที่ทันที

ฝั่งกัมพูชาเห็นท่าไม่ดีก็เลยสั่งให้กองทัพตนเองร่นลงมา  สุดท้ายพยายามดิ้นว่าจะฟ้องศาลโลก

ฝั่งไทยกร้าวขึ้นประกาศปิดด่านชายแดน  ฝั่งกัมพูชาเริ่มปล่อยข่าวแบนสินค้าไทย แต่ไม่เป็นผลจึงเปลี่ยนมาใช้มาตรการตัดเนตตัดไฟที่เคยซื้อจากฝั่งไทย 

ดูฝั่งรัฐบาลไทยก็พยายามจะกีดกันกองทัพไม่ให้เข้ามายุ่งโดยอ้างว่าจะไปตกลงกันในที่ประชุม JBC และสุดท้ายเป็นอย่างไรละก็ตามที่นักวิเคราะห์คาดเลยว่าฝั่งกัมพูชาจะล้มโต๊ะการประชุม JBC

ถามว่างานนี้ผู้นำไทยรู้เห็นไหมคงไม่อาจทราบได้  แต่มีนักวิเคราะห์หลายคนบอกว่าเรื่องราวนี้ถ้าไม่มีการผลักจากฝั่งรัฐบาลไทย  เราก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปรับอำนาจศาลโลกเหมือนที่เคยเสียเปรียบและเสียดินแดนมาแล้วในอดีต

ความไม่ไว้วางใจก่อปัญหารุนแรงมากขึ้นเพราะทุกคนในประเทศไทยนี้รู้ดีถึงสายสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้นำของไทยและกัมพูชา จนเรียกได้ว่าปัญหานี้แก้ง่ายมากแค่บินไปกินข้าวบ้านญาติสักมื้อก็น่าจะจบ

แต่หากคิดอีกมุมว่านี่คือแผนฮุบแผ่นดินของครอบครัวนี้ โดยสุดท้ายหากมีการขึ้นศาลโลกและตัดสินแบ่งดินแดนไปคนละครึ่ง บ้านฝั่งกัมพูชาก็จะได้อวดว่านี่ไงฉันไปเอาแผ่นดินที่เคยเป็นของเรามาได้ตั้ง 500,000 ตารางกิโลเมตร ในขณะครอบครัวฝั่งไทยจะอ้างว่านี่ฉันหยุดความสูญเสียทั้งสงคราม เศรษฐกิจระหว่างประเทศไว้เชียวนะ

ถามว่ามาแนวนี้นักวิเคราะห์หลายคน  ประชาชนหลายกลุ่มก็ดูออกเพราะทุกวันนี้ก็ยังไม่เห็นรัฐบาลนี้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักเรื่อง

เผลอๆเหตุการณ์ครั้งนี้อาจจะเป็นคำตอบให้ประชาชนหลายคนที่อาจจะลืมไปแล้วว่าตอนนั้นลุงตู่ต้องทำรัฐประหารเพราะอะไร ให้กลับมาเห็นก็ได้ว่าการรัฐประหารมันไม่ได้แย่หากทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

‘อนุวัต’ บ่นดัง!! ‘กัมพูชา’ ทำตามแผน นำข้อพิพาท ฟ้องศาลโลก ในขณะที่ ‘ไทย’ ด่ากันเองไปมา เดินหน้าแย่งชิง เก้าอี้รัฐมนตรี

(15 มิ.ย. 68) นายอนุวัต เฟื่องทองแดง ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "อนุวัต จัดให้" ระบุว่า บ่นดังๆ !! วันนี้ในขณะที่กัมพูชา นำข้อพิพาทเขตแดน 4 พื้นที่ ยื่นศาลโลกทำทุกอย่างตามแผนที่วางไว้  หันกลับมาบ้านเรา นักการเมืองไทยกลับแย่งชิงเก้าอี้ รมต. ด่ากันไปมา!! น่าอนาถ!!  ตอนนี้สิ่งสำคัญคือ ซัพพอร์ตแนวหน้า และช่วยประชาชนให้เต็มที่มากกว่านี้ (ตอนนี้เหมือนมีแต่ภาคประชาชนที่ช่วยบริจาคกัน ) 

- ท่านรู้ไหมครับ หลุมหลบภัยเราไม่เพียงพอ ทั้งในหมู่บ้าน และโรงเรียน 

- ท่านรู้ไหม หน้าฝน ทหารแนวหน้าไม่สบาย ต้องการยา 

- และอีกมากมายที่ขอเข้ามา 

คำถามคือ ทำไม ???? 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top