เราไปดูกันว่าคนไทยใครเป็นหนี้ และมีหนี้อะไรบ้าง
(13 ส.ค. 67) รู้หรือไม่ว่าคนไทยกว่า 1 ใน 3 หรือกว่า 25.5 ล้านคนของคนทั้งประเทศคือคนที่มีหนี้ จากข้อมูลของเครดิตบูโรได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีหนี้ครัวเรือนรวมกันมากถึง 91% ของ GDP ซึ่งเทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้วเเละประชากรมีรายได้ต่อหัวที่สูงอย่างเนเธอร์แลนด์เลยทีเดียว และหนี้กว่า 67% นั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และที่แย่ไปกว่านั่นคือ 23% เป็นหนี้เสีย
โดยสาเหตุหลักๆของปัญหาหนี้สินคนไทยประกอบไปด้วย
-การเป็นหนี้เร็ว โดย 1 ใน 2 คนของคนที่เริ่มทำงานมีหนี้
-การเป็นหนี้เกินตัว โดย 40% ของลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลและบัครเครดิต จ่ายขั้นต่ำ ทำให้หนี้ยิ่งพอกพูน
-การเป็นหนี้เพราะเหตุจำเป็น กว่า 50% ของคนไทยไม่มีเงินสำรองไว้ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
-การเป็นหนี้นาน กว่า 25.7% ของคนที่เกษียณแล้วแต่ยังใช้หนี้ไม่หมด
-การเป็นหนี้นอกระบบ ที่ผ่านมามีคนมาลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบของกระทรวงมหาดไทยมากถึง 1.46 แสนราย คิดเป็นเงินกว่า10,475 ล้านบาท
และถ้าถามว่าเราควรกังวลกับเรื่องนี้ได้หรือยัง? คำตอบคือใช่ค่ะ เพราะจากงานวิจัยของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements: BIS) ชี้ให้เห็นว่า หนี้ครัวเรือนที่สูงเกิน 80% ต่อ GDP มีแนวโน้มจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวลดลง และทุกๆ หนี้ที่เพิ่มขึ่น 1% จะส่งผลให้ GDP ลดลงมากถึง 0.1% อีกทั้งไทยเองยังมีปัญหาที่รออยู่ทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจที่ต่ำจากปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งสังคมผู้สูงอายุ คุณภาพแรงงานและคุณภาพและการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวต่อหัวที่ลดลง นี่จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการการแก้ไขเพื่อให้เศรษฐกิจของเราสามารถไปต่อและโตเท่าเทียมประเทศอื่นๆ ได้ค่ะ